[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:19:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝุ่นบนกระจก  (อ่าน 3148 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 01:56:09 »

[ คัดลอกมาจากบทความในเวบเก่าของเรา โพสท์โดย อ.เงาฝัน ]




ฝุ่นบนกระจก


โศลก 2 บทในศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ถูกอ้างถึง และส่งผลสะเทือนต่อโลกทัศน์
ของคนจำนวนมากในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็คือ

โศลกว่าด้วยละอองฝุ่นบนกระจกของ เว่ยหลาง หรือ ฮุ่ยเล้ง สังฆปริณายกองค์ที่ 6 กับ เซ่งสิ่ว

เมื่อท่านฮ่งยิ่ม พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 จะหาผู้สืบทอดธรรมะและฐานะสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น
ท่านสั่งให้ศิษย์เขียนโศลกขึ้นบทหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องตัดสิน

 เซ่งสิ่วจรดความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังช่องทางเดินด้านทิศใต้ของอารามว่า

กายนี้อุปมาเหมือนดั่งต้นโพธิ์

ใจนี้อุปมาเหมือนดังกระจกเงาใส

จงหมั่นเช็ดถูอยู่ทุก-ทุกกาลเวลา

อย่าให้ฝุ่นละอองเข้าจับคลุมได้


เมื่อฮุ่ยเล้ง คนป่าบ้านนอก ไร้การศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นคนหางแถวประจำอาราม
วันๆ ทำหน้าที่อยู่แต่ในห้องครัว ได้ยินคนท่องบ่น ก็วานคนให้เขียนความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังว่า

ต้นโพธิ์เดิมหามีไม่

ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใส

มูลเดิมไม่มีอะไรสักอย่าง

แล้วฝุ่นจะจับลงอะไร


ท่านฮ่งยิ่ม กล่าวว่า เซ่งสิ่วไปถึงแค่ปากธรณีประตูธรรม ขณะที่ฮุ่ยเล้งล่วงเข้าสู่ประตูนั้นแล้ว







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 01:56:29 »



โก้วเล้ง ราชานวนิยายกำลังภายใน ยกความนัยของโศลก 2 บทนี้มาใช้บรรยายฉากการปะทะกันระหว่าง เซี่ยงกัวกิมฮ้ง และ ลี้คิมฮวง ใน ฤทธิ์มีดสั้น ผ่านปากผู้เฒ่า เทียนกีเล่านั้ง เจ้าของกระบองสมปรารถนา เจ้าของศาสตราวุธอันดับ 1 ของแผ่นดิน ตัวละครอีกตัวในเรื่องดังกล่าวอย่างสุดพิสดาร

เทียนกีเล่านั้งระบุว่า โศลกของพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น จึงนับว่าเป็นแก่นธรรมอันเลอเลิศ แก่นแท้ของวิชาการต่อสู้และสรรพเรื่องราวนั้น "เมื่อถึงขั้นสุดยอด หลักเหตุผลความเป็นจริงไม่แตกต่าง ดังนั้นไม่ว่าการกระทำเรื่องราวใด ต้องดำเนินถึงขั้นไร้คนไร้เรา ลืมวัตถุลืมเรา ค่อยบรรลุถึงจุดสุดยอด สู่ความสำเร็จขั้นล้ำลึก"

ลำพังขั้น "ในมือไร้ห่วง ในใจมีห่วง" นั้น เป็นเพียงขั้นแรกเริ่มเพิ่งก้าวข้ามประตู หากคิดเข้าสู่ห้องหับรโหฐานยังไกลอีกมากนัก

ว่ากันว่า เว่ยหลางบรรลุตั้งแต่อายุ 24 ปี ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ชายคาสำนักปฏิบัติธรรมของท่านฮ่งยิ่ม ตั้งแต่เดินกลับจากตัดฟืนแล้ว ได้ยินเสียงคนสาธยายสูตรเก่าว่าด้วยการตัดราวกับเพชรสำหรับตัด หรือวัชรเฉจทิกสูตรว่า
 

"คนเราควรใช้จิตไปในทางอิสระทุกเมื่อ"

(เส้นทางสาย ZEN จากปรมาจารย์ตั๊กม้อ ถึง เว่ยหลาง : เสถียร จันทิมาธร สำนักพิมพ์มติชน)
 

คนมีปัญญาฟังโศลกของท่านเว่ยหลางแล้ว อาจบรรลุอย่างฉับพลันทันที เหมือนสารีบุตรมานพ พบประทับใจในกิริยาพระอัสสชิ จึงถามถึงคำสอนของผู้เป็นอาจารย์ พระอัสสชิตอบว่า พระพุทธองค์สอนว่า

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุพระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น"

เพียงเท่านั้นสารีบุตรมานพ ก็ล่วงธรณีประตูธรรม

แม้จะพบความนัยที่ซ่อนอยู่ในโศลกของท่านเหว่ยหลาง แต่ฝุ่นก็จะจับกระจกอยู่ดี เหตุเพราะถึงเข้าใจแต่ก็ยังมีกระจกอยู่ เพียงแค่เข้าใจ มันไม่ได้ทำให้กระจกหายไป เข้าใจไม่ได้ทำให้ถึงจิตเดิมแท้ เพราะยังไม่ถึงจิตเดิมแท้จึงยังมีกระจกเงาให้ฝุ่นเกาะจับอยู่

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อ่านพระสูตรของเว่ยหลางแล้ว ท่านเรียบเรียง จิต คือ พุทธะ ขึ้น โดยมีความตอนหนึ่งว่า

"...จิตของเรานั้น ถ้าทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นจากการนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันจะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่า มันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้ โดยทางอายตนะ ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายลงได้เลย..."

ผู้รู้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน ให้ทางไว้ว่า ให้มีสติรู้ทันอารมณ์ จะรู้ทันก็ต้องรู้อารมณ์เดียวก่อน เพราะเมื่อรู้ว่าจิตเคลื่อนจากอารมณ์ที่คอยรู้อยู่ก็จะ 'รู้ทัน' เมื่อรู้ทันมันก็จะไม่แส่ส่าย รู้อย่าไปอยากเพราะยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ รู้อารมณ์ก็ไม่ใช่ไปนึกเอา ให้รู้เหมือนเข้าใกล้ไฟแล้วกายรู้สึกร้อน ไม่ใช่นึกเอาจากคำบัญญัติว่าร้อน หรือคิดถึงความร้อนนั้น การรู้ตรงตามสภาวะที่มันกำลังเป็นอยู่ ไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น

นั่นเอง คือ การรู้สภาวะธรรม รู้ตามความเป็นจริง นั่นเอง ทำให้รู้ว่าธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ รู้แล้ว สติสมบูรณ์แล้วไม่ต้องละกิเลสเพราะขณะสติสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสให้ละ
 

รู้แล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีตัวตน (วิถีแห่งการรู้แจ้ง : พระปราโมทย์ ปาโมชโช)

" ไม่มีตัวตนก็ไม่มีกระจกให้ฝุ่นลงจับอีกต่อไป "






Credit by : http://wirayuth.exteen.com/20040916/entry

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ฝุ่นบนกระจก ข้อคิด แง่คิด 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โศลก ว่าด้วย ฝุ่นบนกระจก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2745 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2553 13:14:41
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.334 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 18:52:09