[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:46:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "พิธีจุลกฐิน" วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม นครสวรรค์  (อ่าน 6083 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555 13:22:37 »





พิธีจุลกฐิน
วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม  ถนนมาตุลี  อำเภอเมือง  จังหวัดนครสวรรค์

กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง  คือไม้แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อตัดเย็บจีวร   ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว  เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน   โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์  ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร  แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร * จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ
 
ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ภิกษุผู้กรานกฐินย่อมได้อานิสงส์วินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา)  ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔)  และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น

ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้นเรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ)  สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ  เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐินก็มี

ก่อนจะถึงเขตกฐิน หรือกฐินกาล ผู้ประสงค์จะถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า  การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือองค์ครอง

 

อุโบสถ วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม

ความเป็นมาของกฐิน
ในคัมภีร์พระวินัยปิฏกกฐินขันธกะ  กล่าวว่า มีพระภิกษุจากเมืองปาฐารัฐ หรือ ปาไถยรัฐ จำนวน ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด  ได้พากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ด้วยมีความประสงค์จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นได้พำนักอยู่ ณ พระเชตวัน มหาวิหาร   ภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาถึงเมืองสาเกตซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีเป็นระยะทางประมาณ ๖ โยชน์  หรือประมาณ ๙๖ กิโลเมตรก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี ทำให้ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้  ต้องอยู่จำพรรษาที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ  ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง  ดังนั้น พอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางต่อ การเดินทางในสมัยพุทธกาลในเขตประเทศอินเดีย เป็นการเดินทางด้วยเท้าไม่มีพาหนะอื่นใดจึงเดินทางได้ช้าและลำบาก  และระยะนั้นมีฝนตกชุก  หนทางเดินเปียกแฉะไปด้วยน้ำและโคลนตม ทำให้สบง จีวร ของพระภิกษุเหล่านั้นต่างก็เปียกชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝน บางท่านก็จีวรขาดทะลุและเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลน จนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสมความประสงค์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น   จึงเรียกประชุมสงฆ์และยกเรื่องราวของพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นเป็นเหตุ  แล้วจึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่า ให้พระภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน) ให้รับผ้ากฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะว่าแม้ออกพรรษาแล้วก็ตามฝนก็ยังไม่หมดเสียเลยทีเดียว ถ้าไม่มีความจำเป็นมากก็ให้อยู่รับผ้ากฐินเสียก่อนแล้วจึงเดินทางไปยังที่อื่น แล้วทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐินไว้ว่าตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ สามารถรับผ้ากฐินได้ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือประมาณไม่เกิน ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา

โดยความเป็นจริงแล้วเรื่องผ้ากฐินตามพระบาลีนั้นเป็นเรื่องของพระสงฆ์ที่จะทำผ้า ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระภิกษุไปได้ผ้ามาจากที่ต่างๆ  ซึ่งในสมัยนั้นผ้าส่วนใหญ่ได้จากผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่พิจารณามาจากผ้าห่อศพ   เมื่อได้แล้วนำมารวมกัน แล้วเลาะออกเป็นท่อนผ้า แล้วซัก กะ ตัด เป็นอันตรวาสกหรืออุตราสงค์ เย็บ และย้อม ให้เสร็จในวันนั้น  และเนื่องจากผ้ามีจำนวนน้อยและหายากการทำเป็นจีวรจึงทำได้เพียงผืนเดียว  เมื่อภิกษุผู้เย็บจีวรหรือเรียกว่า ผู้กราน ได้เย็บจีวรนั้นเสร็จแล้ว จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันให้ยกผ้าอันไม่พอแจกแก่กัน ให้ภิกษุรูปหนึ่งในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา

ในธรรมบทภาค ๔  กล่าวว่า ในครั้งพุทธกาล  เมื่อครั้งพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสุกุลมา มีการประชุมใหญ่ในการจะทำผ้าจีวรสำหรับเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปประทับเป็นประธาน  ในวันนั้น พระอสีติมหาสาวกก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้า   พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า  พระสารีบุตรนั่งอยู่ท่ามกลางผ้า  พระอานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า  พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้ายสำหรับเย็บ พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม  พระโมคคัลลานะเป็นผู้อุดหนุนกิจการทั้งปวง  ประชาชนต่างนำสิ่งของไปถวาย  เมื่อผ้าทำเสร็จแล้วจึงมีการประชุมสงฆ์ทำสังฆกรรมเกี่ยวกับผ้ากฐิน

ต่อมา มีผู้ศรัทธาในอินเดียนำผ้ากฐินมาถวายแต่ไม่ปรากฏนามว่าผู้ใดเป็นผู้ได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรกหลังจากพระพุทธเจ้าทรงมีพระบรมพุทธานุญาต   สำหรับในประเทศไทยประเพณีการทอดกฐินมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์  โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี  ในปัจจุุุบันการถวายผ้ากฐินเพื่อสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป  แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่ง
 
ผ้าที่ควรทำเป็นผ้ากฐินมี ๕ ชนิด คือ
        ๑. ผ้าใหม่        
        ๒. ผ้าเทียมใหม่  
        ๓. ผ้าเก่า
        ๔. ผ้าบังสุกุล
        ๕. ผ้าตกตามร้าน


ประเภทของกฐิน
กฐินหลวง คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน ๑๖ วัด  ได้แก่ ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร  ๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ๓. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ๔. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ๖. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ๗. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ๘. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ๙. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ๑๐. วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร ๑๑. วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ๑๒. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ๑๔. วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๕. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

• กฐินต้น คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดถวายตามพระอารามที่ทรงพอพระราชหฤทัย โดยจะเป็นพระอารามหลวงหรือวัดชั้นราษฎร์ก็สุดแท้แต่พระราชอัธยาศัย

• กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพาร หรือหน่วยราชการต่าง ๆ นำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ แทนพระองค์ เช่น วัดอนงคาราม วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น

• กฐินราษฏร์ คือ กฐินที่ราษฎร หรือประชาชนจัดขึ้นเป็นการส่วนตัว หรือเป็นหมู่คณะ แล้วนำไปทอดถวายตามวัดต่าง ๆ  และวัดนั้นเป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น
 
• กฐินสามัคคี คือ กฐินที่พุทธศาสนิกชนร่วมแรงร่วมใจจัดขึ้นเป็นหมู่คณะและนำไปทอดถวายยังวัดใดวัดหนึ่ง ด้วยความพร้อมเพรียงกัน
 
• กฐินทรงเครื่อง คือ กฐินที่มีผ้าป่าไปทอดสมทบ เรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน มีมหรสพสมโภชในบุญพิธีกฐิน
 
• กฐินโจร คือ กฐินที่เจ้าภาพนำไปทอดโดยมิได้แจ้งให้ทางวัดทราบล่วงหน้า พอผ่านไปพบวัดใดวัดหนึ่งที่ยังไม่มีกฐิน ไม่มีผู้จองกฐิน และจวนจะหมดเขตกฐิน  ก็จู่โจมเข้าไปทอดถวายคล้ายกับโจรปล้นมิให้เจ้าของทรัพย์รู้ตัว หรือจะเรียกอีกอย่างว่า กฐินตกค้าง
 
• จุลกฐิน หรือกฐินน้อย  คือ กฐินที่ต้องทำด้วยความรีบร้อนฉุกละหุก เป็นงานต้องทำกันอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันตามเวลาอันจำกัด ตั้งแต่การปั่นฝ้าย ทอเป็นผืนผ้า กะผ้า ตัด เย็บ ย้อม และนำถวายสงฆ์ที่จำพรรษาเป็นจีวรครอง หรือจีวรกฐินให้เสร็จภายในวันเดียว  


ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศ ผ้าพระกฐินทรงเติมผ้าขาวพับกำกับไปกับไตรด้วย   ผ้าขาวผ้ากฐินนั้น ต้องซักน้ำก่อนแล้วกระพือให้แห้ง  แล้วจึงตัดเป็นสบง แล้วต้องนำไปถวายเจ้าอาวาสเย็บ หรือเนาให้ติดกันก่อนพอเป็นพิธีอย่างน้อย ๗-๙ ผุด  ต่อไปผู้อื่นจึงเย็บจนเสร็จ  เย็บแล้ว จัดการย้อมให้ได้สีตามพระวินัยบัญญัติ  แล้วตีระฆัง  พระสงฆ์ลงพระอุโบสถทำวัตรค่ำจบแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งขึ้นธรรมาสน์ อ่านกฐินขันธก จบแล้ว ท่านผู้กรานกฐินถือเอาผ้ากฐินนั้นพาดบ่า นั่งคุกเข่า (เฉพาะองค์เดียว) หันหน้าไปสู่พระประธาน กราบ ๓ หน ตั้งนโม ๓ จบแล้ว  นำผ้าสบงนั้นลงจากบ่า ถือลูบคลำไปมาว่าคำกราน ๓ จบแล้ว  หนฺท มยํ, นโม  พระสงฆ์ทั้งปวงต่างนั่งคุกเข่าตั้งนโม ๓ จบพร้อมกันแล้ว  ท่านผู้กรานกฐินหันหน้ามาสู่พระสงฆ์ว่า อุตฺตํ ฯลฯ  เสนออนุโมทนา ๓ หนแล้ว  พระสงฆ์ทั้งปวงว่าอนุโมทนารูปละ ๑ จบ  ตามลำดับพรรษาแล้วท่านผู้กรานกฐินว่าเสนออนุโมทนาซ้ำอีก ๓ จบ  แล้วพระสงฆ์ทั้งปวง อนุโมทนาพร้อมกัน ๓ จบ เพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จพิธีกฐิน

คำถวายผ้ากฐิน
คำถวายผ้ากฐิน แบบสั้น ว่า : อิมํ,  สปริวารํ,  กฐินจีวรทุสฺสํ,  สงฺฆสฺส,  โอโณชยาม (ว่า ๓ จบ)   แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์

แบบยาว ว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวาจ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.  แปลว่า  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์  ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้  เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ


* จีวร  คือ ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้  ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร  คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ)  ผ้าห่ม (ตราสงค์)  และผ้านุ่ง (อันตรวาสก)

-----------------------------------------------

ที่มา ๑. หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : โดย พระราชวรมุนี (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)
           มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดย “ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์”
       ๒. หนังสือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ : บริษัท นานมีบุคส์พับลิเคชั่น จำกัด
       ๓. หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพ
           ครอบ ๒๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๕๔๗
       ๔. เว็บไซต์ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ  อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
       ๕. เว็บไซต์ วิกิพีเดีย - สารานุกรมเสรี



กว่าจะเป็นผืนผ้าไตร ต้องทำอะไรกันบ้าง


ต้นฝ้าย การทอผ้าไตรใช้ดอกฝ้ายเป็นวัสดุสำคัญ


เครื่องทอผ้า


การหีบดอกฝ้าย หรือการอิ้วดอกฝ้าย


ในถาดคือดอกฝ้าย  ที่เก็บมาจากต้นฝ้าย สำหรับทอผ้าไตรจีวร


เครื่องมือแยกเมล็ดฝ้าย...ต้องฝ้ายนำเข้าเครื่องแยกเมล็ดฝ้ายซึ่งเรียกว่า "การอิ้วดอกฝ้าย"
ปุยสีขาวฟู ๆ  คือปุยฝ้ายซึ่งเครื่องได้รีดเมล็ดฝ้ายออกไปเรียบร้อยแล้ว


การดีดฝ้าย


อุปกรณ์ดีดฝ้าย ลักษณะคล้ายคันธนู


ใช้มือ หรือไม้ท่อนกลมเล็กขนาดประมาณคืบ ดีดที่เส้นเชือกซึ่งขึงตึงรั้งปลายทั้งสองข้างของเครื่องดีดเบา ๆ  
ถ้ายิ่งดีดฝ้ายนานเท่าใด ฝ้ายจะยิ่งขาวเนียนขึ้นๆ จากของเดิมออกสีขาวหม่น


ใยฝ้ายที่ได้จากการดีด ฟูเบา ขาวเนียน
นอกจากนำไปทอเป็นผืนผ้า ใยผ้ายนี้ยังใช้ทำสำลี
ชนิดต่างๆ เช่น สำลีก้าน สำลีก้อน สำลีแผ่น หรือ ฯลฯ


การม้วนด้าย


นำไปวางบนกระดานแผ่นยาว ม้วนด้วยไม้กลมๆ แล้วดึงไม้ออก


มีลักษณะใยฝ้ายเป็นหลอดเล็กๆ ตามภาพที่เห็นวางเรียงในถาด  


การเข็นฝ้าย (การทำให้เป็นเส้นด้าย)


นำใยฝ้ายที่ม้วนไว้ มาเข้าเครื่องเข็นฝ้าย เพื่อให้ใยฝ้ายม้วนตัวออกมาเป็นเส้นด้าย
ซึ่งยังใช้ไม่ได้ ต้องนำไปเข้าเครื่องระวิงอีกครั้งหนึ่ง


ด้ายสีขาว (ลักษณะสามเหลี่ยมทรงพีรามิด) ได้จากการนำใยฝ้ายที่ม้วนไว้เป็นหลอด ๆ
ส่งเข้าไป แล้วใช้มือขวาหมุนเครื่องระวิง ซึ่งจะเป็นเส้นด้ายออกมา  แต่เส้นยังไม่สม่ำเสมอเท่ากัน


การปั่นฝ้าย
ด้วยเครื่องมือปั่นฝ้าย ที่เรียกว่า หลา หรือ ไน




การนำเส้นด้าย ที่ได้จากการปั่นฝ้ายด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าระวิง






ปั่นให้เส้นเรียบตรง เป็นเงามัน ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "หลา หรือ ไน"
ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำเส้นไหมไปถักทอเป็นผืนผ้า


งานถักรัดปะคด




งานย้อมผ้า รีดผ้า




ย้อมผ้า แล้วนำไปผึ่งลมหรือปั่นพอหมาด ๆ


รีดให้เรียบ


ย่ามพระ


ผึ่งลมให้แห้งสนิท


พับให้เรียบร้อย จัดวางบนพานผ้าไตร สำหรับถวายพระสงฆ์ต่อไป


เป็นอันเสร็จพิธีทำผ้ากฐิน








หลวงปู่เฉลิม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พ.ศ.2558)
อายุ 80 ปีเศษ  พรรษา 60 กว่า (ผู้โพสท์จำไม่ได้จริงๆ เคยกราบเรียนถามท่านหลายปีแล้ว)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กันยายน 2558 15:53:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
แสดงโชว์การเป่าใบไม้เป็นเพลง ภายในงานตรุษจีน นครสวรรค์ 2558
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
หมีงงในพงหญ้า 0 2018 กระทู้ล่าสุด 18 กุมภาพันธ์ 2558 11:20:36
โดย หมีงงในพงหญ้า
ประวัติ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ประชาชนไทย 0 1812 กระทู้ล่าสุด 22 พฤษภาคม 2558 11:49:30
โดย ประชาชนไทย
หลวงพ่ออุย อภิวัฑฒโน วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม อ.เมือง จ.นครสวรรค์
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1266 กระทู้ล่าสุด 29 เมษายน 2559 20:38:27
โดย ใบบุญ
"เครื่องปั้นดินเผา" หัตถกรรมชาวมอญ นครสวรรค์
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 1910 กระทู้ล่าสุด 08 มกราคม 2563 19:20:06
โดย Kimleng
"อุโบสถไม้" วัดคร่อเรียงราย ต.พนมเศษ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 179 กระทู้ล่าสุด 19 ธันวาคม 2566 17:14:10
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.623 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 10:23:49