[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 05:25:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อดีของการไปบริจาคเลือด  (อ่าน 8921 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 02:28:46 »

เนื่องจากwondermay นอนไม่หลับ ........เปิดโทรทัศน์เจอข่าววันใหม่ ได้ยินข่าวว่า
สภากาชาดไทยออกมาขอร้องให้ประชาชนออกมาช่วยบริจาคเลือด เพราะปริมาณคงคลังถือว่าน้อยมากและยอดเฉลี่ยบริจาคต่อวันต่ำกว่าเกณฑ์
จึงเกิดความสนใจ และคิดว่าโตมาจนป่านนี้ก็น่าจะลองไปบริจาคดูซักทีเป็นไร ก่อนไปต้องหาข้อมูลเสียก่อนนนน!!




หือ ?20 คำถามก่อนบริจาคเลือด หือ ?
แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้
เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่า
เลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ
ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี
2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด
5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า
    บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ
6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่
   ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้
7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้
    จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด
8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่
    ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว
9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง
    และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้

- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด

10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้
11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV
12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม
      ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด
13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย
14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง
15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต
     ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด
16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่
      การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี
17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง
18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน
19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน
20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป

พิจารณาจบ 20 ข้อนี้แล้ว สำหรับคุณที่ผ่านเกณฑ์ว่ามีเลือดมาตรฐานก็ยินดีด้วย
แต่สำหรับคุณบางคนที่ยังไม่แน่ใจก็อย่าเสียใจที่ไม่ได้ทำกุศลยิ่งใหญ่นี้เลย เพราะยังมีอีกหลายทางให้คุณได้เผื่อแผ่บุญกุศลค่ะ
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today



ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากสภากาชาดไทย สำหรับผู้จะไปบริจาคโลหิต

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย
  หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต
-สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ
  ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

หลังบริจาคโลหิต
-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
-ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที
  หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 พฤศจิกายน 2555 02:32:36 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 02:35:23 »


>คือเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นจริง ๆ
>เป็นผลมาจากการบริจาคโลหิตโดยแท้ !!
>
>รุ่นพี่ของผมคนหนึ่ง อายุประมาณ 35 ปี ทำงานอยู่ที่ ทีพีไอ สำนักงานใหญ่
> ซึ่งบริษัทมีสวัสดิการให้พนักงานตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี
>ผลการตรวจล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว
>ปรากฎว่าพี่เค้าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว
>ซึ่งคุณหมอก็งงเหมือนกัน เพราะเกือบทั้งหมดของคนที่เป็นโรคนี้
>มักเป็นมาแต่กำเนิดหลังทราบผล พี่เค้าก็ไปปรึกษาคุณหมอ สรุปว่า
>ทางเดียวที่จะรอดได้ก็ต้องผ่าตัด
>เพื่อดูว่าสามารถซ่อมลิ้นหัวใจได้หรือไม่
>ถ้าไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนใหม่
>
>หลังจากปรึกษาที่รพ.เซ็นหลุยส์
>ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดประมาณ 3 – 4 แสนบาท
>จึงลองไปปรึกษาที่รพ.จุฬาฯ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 แสนกว่า ๆ
>จึงตัดสินใจไปผ่าตัดที่รพ.จุฬา ฯ
>
>แต่ก่อนหน้านี้
>พี่เค้าบริจาคเลือดทุก ๆ 3 เดือนมาโดยตลอด
>รวมทั้งหมดที่บริจาคก็ 49 ครั้ง
>และพี่เค้าก็ได้รับคำแนะนำมาว่า ทางสภากาชาดจะช่วยเหลือในส่วนของ
>ค่าห้องในการพักรักษาตัวได้
>จึงได้ไปขอจดหมายรับรองจากสภากาชาดไว้
>ว่าได้บริจาคเลือดจำนวนครั้งเท่านี้จริง
>
>อย่างน้อยก็จะได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้บ้างพี่เค้าเพิ่งได้รับการผ่าตัดเรียบร้อ
> ย
>เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 48 นี้เอง
>วันที่ออกจากรพ. ก็ต้องไปเคลียร์ค่าใช้จ่าย
>ซึ่งทั้งหมดเป็นเงิน 110,000 บาทแต่พี่เค้าต้องจ่ายจริง
>คือค่ายาเพียง 9,800 บาทเท่านั้น
>เพราะสรุปว่าสภากาชาดออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้
>
>เจ้าหน้าที่ของรพ.แจ้งว่า
>ได้รับสิทธิ์เหมือนกับข้าราชการคนหนึ่ง
>ส่วนของค่ายาที่ต้องจ่ายเองนั้นเพราะเป็นยาบัญชีประเภทสอง
>ซึ่งถึงจะเป็นข้าราชการก็ต้องจ่ายส่วนนี้เองเหมือนกัน
>เจ้าหน้าที่ยังแนะนำอีกว่า เพียงแค่คุณบริจาคเลือด
>กับสภากาชาดอย่างน้อย 24 ครั้ง
>คุณก็จะได้รับสิทธิประโยชน์นี้เหมือนเหมือนกับข้าราชการคนหนึ่ง
>
>นี่ถือเป็นโชค 2 ชั้นเลยนะ ได้บุญจากการบริจาคเลือดแล้ว
>ยังเหมือนได้ประกันแถมมาอีก
>ถ้าใครมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ก็พยายามไปบริจาคเลือดไว้นะ
>แต่ขอย้ำว่านับเฉพาะที่บริจาคไว้กับ
>สภากาชาดเท่านั้นนะ
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 02:40:19 »


"บริจาคเลือดครบ 36 ครั้ง" เข้ารับประทานเข็มจากพระองค์เจ้าโสมสวลี!!!

มีท่านหนึ่งในบล๊อคโอเคเนชั่น ได้มีโอกาสเข้าพิธีประทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย
สำหรับผู้บริจาคครั้งที่ 36 และครั้งที่ 108 ได้รับประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ


ไปลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีแล้วได้โบแดงติดหมายเลขสำหรับผู้บริจาคครบ 36 ครั้ง ได้ลำดับที่ 750
ซึ่งวันนั้นมีผู้บริจาคครบ 36 ครั้งเข้ารับประทานเข็ม 1,283 คน

เมื่อลงทะเบียนก็ได้ใบประกาศนียบัตรนี้มาเลย
เข็มที่ระลึก 36 ครั้ง รับประทานจากพระหัตถ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
เมื่อลงทะเบียนได้รับคูปองอาหารนี้ด้วย เป็นข้าวกล่อง มีข้าวสวย 1 ถุง ไข่พะโล้ 1 ถุง และผัดพริกปลาอีก 1 ถุง

บันทึกการเข้า
คำค้น: บริจาคเลือด สภากาชาดไทย  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.506 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 11:33:18