[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:17:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศิลปสมัยของญี่ปุ่น  (อ่าน 3433 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2555 22:52:17 »

จะขอยกเนื้อหาและตารางแสดงยุคสมัยจากวิกิพิเดีย เพื่อประกอบการสืบค้นข้อมูลต่อไป ขอบคุณค่า ปิ๊ง ๆ

http://i614.photobucket.com/albums/tt226/artkicksass/Hokusai-The-Great-Wave-Off-Kanagawa.gif
ศิลปสมัยของญี่ปุ่น

ศิลปสมัยของญี่ปุ่น
日本の歴史





คำนำ
        อันที่จริงแล้วประเทศญี่ปุ่นเองก็เหมือนจะมีที่มาที่ไปของอารายธรรมมานานไม่แพ้เพื่อนบ้านในเอเชียด้วยกัน โดยมีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยยุคหิน
จนกระทั่งมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่อยมาจนปัจจุบัน(ที่แทบจะมีการพัฒนาไปจนเกือบถึงขีดสุดแทบทุกด้าน) ดังนั้นจะขอทำการสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการจดบันทึก
ไว้บ้างแล้ว หรือเป็นช่วงที่มีช่วงเวลาเดียวกันกับยุคสมัยขอประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งอาจจะทำให้เราได้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศไม่มากก็น้อย



ยุคเฮอัง
        ญี่ปุ่นได้สร้างอารยธรรมใหม่ขึ้นพร้อมๆ กับการล่มสลายของนะระ โดยยุคถัดมาคือ ยุคเฮอัง (平安時代, เฮอังจิได) เมื่อเมืองหลวงใหม่ซึ่งเลียนแบบเมืองหลวงของประเทศจีน "เฮอังเกียว"
ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 1337 (ค.ศ. 794) การย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเฮอังเกียว นับเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮอันซึ่งดำรงอยู่ยาวนาน รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยหนึ่งของการพัฒนาการ
ในประเทศญี่ปุ่น การติดต่อกับประเทศจีนหยุดชะงักลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 และอารยธรรมญี่ปุ่นเริ่มที่จะมีลักษณะและรูปแบบเป็นของตนเอง
      
        สิ่งเหล่านี้นับเป็นกระบวนการของการผสมกลมกลืนและการปรับเปลี่ยน โดยที่สิ่งต่างๆ ซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภายนอกค่อยๆ กลายเป็นรูปแบบของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ตัวอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไป
ของกระบวนการนี้ คือการพัฒนาของตัวอักษรญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน ความซับซ้อนของการเขียนของจีนทำให้นักเขียนและพระคิดค้นรูปพยางค์ขึ้นสองระบบโดยยึดรูปแบบอย่างของจีน ภายในกลางสมัยเฮอัน
ได้มีการปรับปรุงพยัญชนะที่เรียกกันว่า ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่นการนำมาเขียนในวรรณคดีเรื่องนิทานเกนจิ (源氏物語) นับเป็นการเปิดทางให้แก่งานเขียนที่มีรูปแบบ
เป็นของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแทนถ้อยคำสำนวนที่ยืมมาจากภาษาจีน

        ชีวิตในเมืองหลวงเป็นชีวิตที่หรูหราและสะดวกสบาย ขณะที่ราชสำนักใช้เวลาทั้งหมดไปกับศิลปะและความสุขทางสังคม อำนาจที่เคยมีเหนือกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในหัวเมืองต่างๆ
จึงเริ่มจะคลอนแคลน อำนาจในการควบคุมอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพได้หลุดมือไป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 อำนาจการปกครองบ้านเมืองได้หลุดไปอยู่ในมือของตระกูลฟุจิวะระ และได้กลายเป็น
สิ่งล่อใจสำหรับตระกูลนักรบที่เป็นปรปักษ์ต่อกันในช่วงปลายยุค ได้แก่ ตระกูลมินะโมะโตะ และไทระ ซึ่งเป็นตระกูลที่สืบทอดเชื้อสายมาจากจักรพรรดิองค์ก่อนๆ ทั้งสองตระกูล ตระกูลมินะโมะโตะและไทระ
ได้ต่อสู้ในการรบที่โด่งดังที่สุด และมีความรุนแรงมากในยุคกลางอันวุ่นวายสับสนของญี่ปุ่น ในที่สุดตระกูลมินะโมะโตะเป็นฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ทำลายล้างตระกูลไทระจนพินาศในศึกดันโนะอุระ
(Battle of Dannoura) อันเกริกก้องและเลื่องลือในปี พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นจุดจบของยุคเฮอัง

ยุคคะมะกุระ
        ยุคคะมะกุระ (鎌倉時代, คะมะกุระจิได) เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) ต่อมาในปี พ.ศ. 1735 (ค.ศ. 1192) โยะริโตะโมะ หัวหน้าตระกูลมินะโมะโตะที่เป็นผู้ชนะสงครามได้สถาปนา
ระบบโชกุน หรือรัฐบาลทหารขึ้น ที่เมืองคะมะกุระใกล้กับนครหลวงโตเกียวในปัจจุบัน และยึดอำนาจบริหารบางประการที่เคยเป็นอำนาจของจักรพรรดิในกรุงเกียวโตะ เพื่อต้านสิ่งที่ถือว่าเป็นความเสื่อม
ของเกียวโตะที่ได้ฝักใฝ่ในสันติภาพ โชกุนที่เมืองคะมะกุระได้สนับสนุนความมัธยัสถ์อดออมและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ตลอดจนความมีระเบียบวินัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะฟื้นฟูอำนาจการควบคุมทั่วทั้ง
แผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพกลับคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในจังหวัดที่อยู่ไกลออกไป สมัยคะมะกุระ ซึ่งเป็นชื่อเรียกยุคของระบบโชกุนของโยริโตะโมะเป็นยุคที่
มีแนวคิดในเรื่องของความกล้าหาญและรักเกียรติยศ (bushido) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของซามูไร

        ในปี พ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1213) อำนาจที่แท้จริงได้เปลี่ยนมือจากตระกูลมินาโมะโตะไปยังตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยาของโยะริโมะโตะโดยเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน
ตระกูลโฮโจค้ำจุนรัฐบาลที่เมืองคะมะกุระไว้ได้จนถึง พ.ศ. 1876 (ค.ศ. 1333) ในระหว่างนั้นกองทัพมองโกลได้บุกตอนเหนือของเกาะคิวชูถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และ
พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ถึงแม้ว่าจะมีอาวุธที่ด้อยกว่าแต่นักรบญี่ปุ่นก็สามารถรักษาพื้นที่ไว้ได้และป้องกันไม่ให้ผู้รุกรานบุกลึกเข้าไปตอนในของประเทศ หลังจากที่กองทัพเรือส่วนใหญ่ของชนเผ่า
มองโกลประสบความเสียหายอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นที่ญี่ปุ่นเรียกว่า "คะมิคะเซ่" ในการบุกญี่ปุ่นทั้งสองครั้ง กองทัพมองโกลจึงได้ถอยทัพไปจากญี่ปุ่น และอำนาจของค่ายทหารคะมะกุระก็หมดลง
ในปีเดียวกันนั้นเอง

ยุคมุโระมะจิ
        ถัดจากยุคคะมะกุระ ก็เข้าสู่ยุคการฟื้นฟูอำนาจการปกครองโดยจักรพรรดิในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 1876 จนถึง พ.ศ. 1879 แล้วต่อมาก็เข้าสู่ ยุคมุโระมะจิ (室町時代, มุโระมะจิจิได)
ตระกูลอะชิคะงะได้ขึ้นเป็นตระกูลโชกุน โดยมีโชกุนคนแรกคืออะชิคะงะ ทะกะอุจิ มี บะกุฮุ (幕府) หรือค่ายทหารอยู่ที่มุโระมะจิในกรุงเกียวโต ยุคนี้มีการพัฒนาระบบชลประทาน การเพาะปลูก
และเกิดการเติบโตของกิจการค้าขายและบริการ ในยุคนี้ระเบียบวินัยที่เคร่งครัดของลัทธิบุชิโดแสดงให้ปรากฏทั้งในด้านความงามทางศิลปะและศาสนา และมีอิทธิพลลึกล้ำต่อศิลปะของประเทศ
ลักษณะเด่นซึ่งคงอยู่แม้ในปัจจุบันนี้คือลักษณะของความอดกลั้น และความเรียบง่าย ยุคนี้ยังเป็นยุคแรกที่ชาวตะวันตกกลุ่มแรก ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาสู่ญี่ปุ่นในปี
        แต่ในปี พ.ศ. 1984 (ค.ศ. 1441) เกิดการลอบสังหารโชกุนขึ้น ทำให้การปกครองระบอบโชกุนเสื่อมถอยลง และเกิดเป็นสงครามกลางเมื่องขึ้นในปี พ.ศ. 2019 (ค.ศ. 1476)
สงครามดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี จนญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคย่อยๆ เรียกว่ายุคเซงโงะกุที่มีความหมายว่ายุคสงครามกลางเมือง ในปี พ.ศ. 2111 โนะบุนะงะ โอะดะ ซึ่งอยู่ในสถานะเจ้าเมืองได้เป็นใหญ่
ในบริเวณตอนกลางของเกาะฮนชูและต้องการรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น ในปีเดียวกันนั้นเขาจึงเริ่มกำจัดอิทธิพลอำนาจของมุโระมะจิ และสร้างอารยธรรมอะซุจิโมโมะยะมะขึ้นมาแทน
ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นคงแก่ตนด้วย ในปี พ.ศ. 2116 อารยธรรมมุโระมะจิหายไป อารยธรรมอะซุจิโมโมะยะมะขึ้นมาแทนที่ ดังนั้นช่วง พ.ศ. 2111 - 2116 จึงเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในปฏิทินเหตุการณ์ญี่ปุ่น พ.ศ. 2086 (ค.ศ. 1543)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ธันวาคม 2555 08:10:59 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2555 23:04:34 »

ยุคอะซุจิโมโมะยะมะ
          ญี่ปุ่นเข้าสู่ ยุคอะซุจิโมโมะยะมะ (安土桃山時代, อะซุจิโมะโมะยะมะจิได) ในปี พ.ศ. 2116 (ค.ศ. 1573) เป็นยุคสั้นๆ ที่มีผู้สถาปนาคือ โอะดะ โนะบุนะงะ
เขามีเจตนารมณ์ที่จะรวมประเทศญี่ปุ่นที่ยังไม่เป็นปึกแผ่นให้อยู่ในผู้นำเพียงคนเดียว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่วัดฮนโนในปี พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) โนะบุนะงะเสียชีวิต โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ
นายพลนายหนึ่งของเขาจึงได้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมา และสามารถรวบรวบประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) ยุคนี้เป็นยุคที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เซรามิก
ภาพวาด เครื่องเงิน อุปกรณ์เกี่ยวกับชา ฯลฯ ซึ่งทำให้นับได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่หรูหราที่สุดยุคหนึ่งของญี่ปุ่น วัฒนธรรมใหม่ๆ จากตะวันตก เช่นการใช้ปืนคาบศิลา การสอนคริสต์ศาสนาก็ได้เจริญรุ่งเรือง
ในยุคนี้ด้วย แต่ได้ไม่นาน สุขภาพที่ไม่ดี และอำนาจต่างๆ ในตัวฮิเดะโยะชิได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการยกทัพบุกเกาหลีที่ไม่ประสบความสำเร็จ และปัญหารอบตัวที่รอบล้อมตัวเขาอยู่
เจ้าเมือง 5 เมืองจึงตั้งตนเป็นใหญ่และสงครามแย่งชิงอำนาจกันอีกครั้ง การรบสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) โดยเจ้าเมือง โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ

ยุคเอะโดะ
          อิเอะยะสึตั้งตนเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นทั้งประเทศที่มีอำนาจอย่างแท้จริง โดยขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนที่เมืองเอโดะ ล้มล้างอารยธรรมโมโมะยะมะ และสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้น
ทำให้ยุคอะซุจิโมโมะยะมะจบลงใน ค.ศ. 1603 และปีเดียวกันนั้นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคเอะโดะ (江戸時代, เอะโดะจิได) ซึ่งเป็นจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
โชกุนอิเอะยะสึได้สร้างแบบแผนแทบจะทุกแง่มุมของวิถีชีวิตของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการเมืองและสังคมให้เป็นแบบอย่างต่อมาอีก 265 ปี
           การที่โชกุนโทะกุงะวะดำเนินการปิดประเทศจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) นับเป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาเสถียรภาพของโครงสร้างทางสังคมและการเมือง
ที่อิเอะยะสึได้ก่อตั้งขึ้น ชาวตะวันตกกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงชายฝั่งญี่ปุ่นในศตวรรษก่อนคือในสมัยมุโรมาจิ พ่อค้าชาวโปรตุเกสขึ้นบกที่เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นในปี
พ.ศ. 2086 (ค.ศ. 1543) โดยได้นำอาวุธปืนเข้าในประเทศญี่ปุ่น อีกไม่กี่ปีต่อมาคณะผู้สอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนำโดยนักบุญ ฟรานซิสโก ซาเวียร์ ตลอดจนชาวสเปนอีกหลายกลุ่ม
ได้เดินทางเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น กลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ และอังกฤษก็ได้เข้ามาตั้งรกรากในแผ่นดินญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
           การหลั่งไหลเข้ามาของชาวยุโรปมีผลกระทบต่อญี่ปุ่นอย่างมาก คณะผู้สอนศาสนาทำให้ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนศาสนากันมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โชกุนตระหนักดีว่าศาสนาคริสต์
อาจจะมีอานุภาพในการทำลายทัดเทียมกับอาวุธปืนที่เข้ามาในญี่ปุ่น ในที่สุดได้มีการสั่งห้ามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น และโชกุนโทะกุงะวะได้ออกคำสั่งห้ามชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศญี่ปุ่น
ยกเว้นกลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่ถูกจำกัดบริเวณอยู่ที่เกาะเดะจิมะที่อ่าวนะงะซะกิ ตลอดจนชาวจีนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นะงะซะกิ และทูตจากราชวงศ์ลีของประเทศเกาหลี
ที่เดินทางมาญี่ปุ่นเป็นครั้งคราว เป็นเวลา 250 ปีที่ญี่ปุ่นได้ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านกลุ่มคนเหล่านี้เท่านั้น นักวิชาการญี่ปุ่นได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์ตะวันตกและวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ โดยผ่านทางกลุ่มพ่อค้าที่เมืองเดะจิมะในระหว่างระยะเวลาแห่งการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวอันยาวนานของประเทศ

ประชากรทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 ระดับ เรียกกันว่า "มิบุงเซ" (身分制) ประกอบด้วย:

นักรบ (武士, บุชิ) หรือ ซามูไร (ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด)
ชาวไร่ชาวนา (農民 , โนมิง, ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด)
ช่างฝีมือ (職人, โชะกุนิง)
พ่อค้า (商人, โชนิง)


           สำหรับช่างฝีมือและพ่อค้านั้นบางครั้งจะเรียกรวมกันว่า ชาวเมือง (町人, โจนิง) และอยู่ใต้การปกครองของเหล่านักรบ มีเพียงชาวนาเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในชนบท
ที่เหลืออีกสามชนชั้นจะอาศัยอยู่ในเมืองซึ่งสร้างอยู่รายรอบปราสาทของไดเมียวในแต่ละท้องถิ่น
           ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ใหม่ๆ ขึ้นมาไปเป็นทางของตนเอง
มีการแสดงคะบุกิเกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีการวาดภาพอุกิโยะที่แสดงถึงชีวิตประจำวันของชาวเมืองและชาวนา ซึ่งแตกต่างจากภาพที่ชนชั้นปกครองเขียนอย่างชัดเจน
พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้เกิดความนิยมในการเรียนวิทยาการใหม่ๆ เช่น แพทยศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ชาวนาเองที่มีหน้าที่ทำนายังต้องมาศึกษา
วิทยาการเหล่านี้เพื่อคิดคำนวณผลกำไรที่ตนเองได้ การศึกษาที่เสมือนกับการเรียนพิเศษที่เรียกว่า เทระโกะยะ (寺子屋) จึงได้รับความนิยมอย่างมาก
            ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เปิดประเทศสู่โลกภายนอก อีกทั้งโครงสร้างทางสังคมและการเมือง
อันเข้มงวดที่อิเอะยะสึเป็นผู้กำหนดขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น ก็เริ่มที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดอันเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป  ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) พลเรือจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี
แห่งสหรัฐอเมริกา นำกองเรือ 4 ลำเข้ามาในอ่าวโตเกียว พลเรือจัตวาแมทธิวกลับมาอีกครั้งในปีถัดมา และประสบความสำเร็จในการชักจูงให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับ
ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง ญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันกับประเทศรัสเซีย อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นจึงเป็นการเปิดประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง
สี่ปีต่อมาสนธิสัญญาเหล่านี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสนธิสัญญาทางการค้า และญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันนี้กับประเทศฝรั่งเศสด้วย
            ผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้ เพิ่มความกดดันแห่งกระแสทางสังคมและการเมือง ซึ่งกัดกร่อนรากฐานของโครงสร้างระบบศักดินาทีละน้อย ความวุ่นวายครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นกินเวลา
ประมาณทศวรรษ จนกระทั่งระบบศักดินาของโชกุนโตกุงาวะได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) และได้ถวายอำนาจอธิปไตยทั้งมวลคืนพระจักรพรรดิในการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration)
ในปีต่อมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ธันวาคม 2555 23:09:48 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2555 23:10:45 »

ยุคเมจิ
           การปฏิรูปเมจิ ทำให้ยุคเอะโดะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) และปีเดียวกันนั้นนับเป็นการเริ่มต้นของยุคเมจิ เป็นสมัยที่เด่นที่สุดสมัยหนึ่งในบรรดาประวัติศาสตร์ของประเทศ
ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ญี่ปุ่นได้บรรลุความสำเร็จในการพัฒนาประเทศโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ กล่าวคือการสร้างสรรค์ประเทศให้เข้าสู่ยุคใหม่ด้วยอุตสาหกรรม
พัฒนาสถาบันทางการเมืองและรูปแบบของสังคมแบบใหม่ ทั้งที่ประเทศตะวันตกต้องใช้เวลาพัฒนานานนับศตวรรษ ในช่วงปีแรกๆ ของการครองราชย์ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวง
จากกรุงเกียวโตไปอยู่ที่เมืองเอโดะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลระบบศักดินาที่ผ่านมา และได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็นโตเกียว ซึ่งแปลว่า "เมืองหลวงตะวันออก" มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ตลอดจนตั้งคณะรัฐมนตรี และสถาบันนิติบัญญัติระบบสองสภา ยกเลิกการแบ่งชนชั้นแบบเก่าของสมัยศักดินา ญี่ปุ่นทั้งประเทศทุ่มเทพลังงานและความกระตือรือร้นในการศึกษาและรับอารยธรรม
ตะวันตกมาใช้

           การปฏิรูปเมจิเหมือนกับการทลายของเขื่อนที่กอปรด้วยพลังและแรงผลักดันสะสมมานับศตวรรษ ต่างชาติเองรู้สึกถึงความรุนแรงและความตื่นตัวที่เกิดจากการปลดปล่อยพลังเหล่านี้
ออกมาในฉับพลัน ก่อนจะสิ้นศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ. 1894-95 ซึ่งลงเอยด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น ผลของสงครามคือญี่ปุ่นได้ไต้หวันมาจากจีน
สิบปีต่อมาญี่ปุ่นประสบชัยชนะอีกครั้งหนึ่งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1904-05 และยึดได้ซัคคาลินตอนใต้ ซึ่งยกให้รัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1875 เพื่อแลกกับเกาะคูริล และทำให้ชาวโลก
รับรู้ว่าญี่ปุ่นมีความสนใจในดินแดนแมนจูเรียเป็นพิเศษ หลังจากที่ได้กำจัดอำนาจอื่นๆ ที่จะมามีอิทธิพลเหนือเกาหลีแล้ว ในตอนแรกญี่ปุ่นได้จัดการให้เกาหลีเป็นดินแดนในอารักขา และผนวกเกาหลี
ในเวลาต่อมาคือในปี ค.ศ. 1910

           สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงปกครองประเทศด้วยความเข้าใจถ่องแท้และสร้างสรรค์ ซึ่งการปกครองของพระองค์ช่วยนำประเทศให้ผ่านพ้นช่วงทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง
พระองค์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1912 ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อสงครามโลกครั้งนี้สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก เพราะญี่ปุ่นได้
เข้าร่วมสงครามโลกเนื่องจากได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับประเทศอังกฤษไว้เมื่อปี ค.ศ. 1902 และสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ใน
ค.ศ. 1912 ทำให้ปี 1912 นับเป็นปีสิ้นสุดของยุคเมจิ และเป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคไทโช และจักรพรรดิไทโชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1926 และสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต
ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช ซึ่งทำให้ปี 1926 เป็นจุดสิ้นสุดสมัยไทโช และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโชวะ

ยุคไทโช และโชวะ
          สมัยโชวะได้เริ่มต้นด้วยบรรยากาศแห่งความหวัง อุตสาหกรรมของประเทศยังคงเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง และดูเหมือนว่าการเมืองของญี่ปุ่นหยั่งรากลึกด้วยการปกครองระบบสภา
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่มั่นคง ความเชื่อมั่นในพรรคการเมืองของประชาชนได้ลดน้อยลง
หลังจากมีการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่อง พวกหัวรุนแรงใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในช่วงนี้ และกลุ่มทหารฉวยโอกาสที่เปิดให้พวกตนในช่วงเวลาอันสับสนวุ่นวาย อิทธิพลของพรรคการเมือง
ค่อยๆ ลดน้อยลง หลังจากเหตุการณ์ลูกั๋วเฉียว (Lugouqiao Incident) ซึ่งก่อให้เกิดสงครามกับจีน พรรคการเมืองเหล่านี้ถูกบีบให้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อความร่วมมือในยามสงคราม
และในที่สุดได้มีการยุบพรรคการเมืองทั้งหมด และตั้งพรรคการเมืองแห่งชาติขึ้นมาแทน เนื่องจากสภาไดเอ็ตถูกลดบทบาทจนไม่ต่างจากตรายางเท่าใดนัก ทำให้ไม่มีการคัดค้านจาก
ทางสภานิติบัญญัติเกี่ยวกับกระแสเหตุการณ์ทั้งหลายที่นำไปสู่การเกิดสงครามแปซิฟิกในปี ค.ศ. 1941
        
          ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นซึ่งเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้าจากลงครามโลกครั้งที่สอง ได้ยอมรับข้อตกลงยอมแพ้สงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร และประชาชนได้วางอาวุธตาม
พระราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นเวลานานกว่า 6 ปี หลังจากแพ้สงคราม ญี่ปุ่นตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนใหญ่ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้อำนาจของฝ่าย
ยึดครองซึ่งนำโดย พลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์ ห้ามมีกองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ เว้นแต่กองกำลังความมั่นคงภายในประเทศ ญี่ปุ่นต้องชาติแห่งประชาธิปไตยเท่านั้นถ้าไม่พอใจผู้นำคนใด
ใช้ประชาธิปไตยในการตัดสิน และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สหประชาชาติและรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุนญี่ปุ่น ในด้านการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
ประเทศ ของญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ ยูเนสโก และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุน ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนาเปลี่ยนในทางที่ดีให้กับญี่ปุ่น
ให้รวดเร็วทันต่อโลกาภิวัฒน์ และสนับสนุนอาริยะ ห้ามชนชาติหรือปถุชนองค์กรใดๆ มาทำการแยกประเทศหรือถือกรรมสิทธิ์ใดๆในญี่ปุ่นเด็ดขาด เว้นแต่ ทางธุรกิจและข้อตกลงในกฎหมายเท่านั้น
ข้าราชการทุกๆกระทรวงในญี่ปุ่นนอกจากได้รับเงินเดือนแล้วยังได้รับ เงินพิเศษ ค่าคอมมิชชั่น และทำธุรกิจอื่นๆได้ ผสานด้วยกฎหมายญี่ป่น แต่ห้าม สร้างผลกระทบทางด้าน เศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนา ต่อญี่ปุ่นเด็ดขาด สหประชาชาติต้องคุ้มครองการรุกรานต่างๆให้กับญี่ปุ่น
ขอให้สหประชาชาติจงเป็นพยานให้กับสนธิสัญญาสันติภาพ ซานฟรานซิสโก ณ ครั้งนี้ ให้คงธำรงไว้ตลอด ในปี ค.ศ. 1951 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ซานฟรานซิสโก ซึ่งแสดงว่าญี่ปุ่น
ได้กลับคืนสู่ประชาคมนานาชาติในฐานะที่เป็นรัฐปฏิรูป จากการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ญี่ปุ่นได้สิทธิในการบริหารกิจการต่างประเทศคืนมาหลังจากที่ได้ถูกตัดสิทธิไประหว่างการถูกยึดครอง
งานเร่งด่วนที่สุดประการหนึ่งที่จะต้องดำเนินการหลังสงครามโลก ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ ด้วยความสนับสนุนและเห็นอกเห็นใจจากสหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ ญี่ปุ่นได้เข้าเป็นสมาชิกของ
องค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าเสรีหลายฝ่ายระหว่างประเทศ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่เข้มแข็งทางเศรษฐกิจเพียงพอ
ที่จะแข่งขันในตลาดเสรีของโลกได้เป็นอย่างดี พร้อมๆ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ญี่ปุ่นใช้ความพยายามในการปรับปรุงสถานะทางการทูตระหว่างประเทศ เริ่มต้นด้วยเมื่อญี่ปุ่นได้
เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1956 ญี่ปุ่นได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมอภิปรายระหว่างประเทศทางด้านการเมืองตลอดจนเศรษฐกิจและสังคม ในปี ค.ศ. 1960
ได้มีการทบทวนสนธิสัญญาทางด้านความมั่นคงที่ทำไว้กับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 เพื่อจะได้อำนวยประโยชน์ต่อกันและกันยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นได้ชำระเงินค่าปฏิกรรมสงครามจนครบภายใน
กลางทศวรรษที่ 1960 หลังจากการเจรจาหลายครั้งที่ยืดเยื้อ ญี่ปุ่นได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสาธารรณรัฐเกาหลีในปี ค.ศ. 1965 เพียง 20 ปีหลังจากแพ้สงคราม
ญี่ปุ่นก็ฟื้นตัวจากความพินาศอันเกิดจากสงครามได้เกือบจะสมบูรณ์ มหกรรมกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี ค.ศ. 1964 ที่โตเกียว เป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นใหม่ของชาวญี่ปุ่น และบทบาท
ของประเทศก็เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาคมระหว่างประเทศ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นมีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอย่างเห็นได้ชัด พรรคอนุรักษนิยมมีเสียงข้างมากในสภาไดเอ็ตเป็นนิจ
ยกเว้นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ญี่ปุ่นมีรัฐบาลสังคมนิยมในปี ค.ศ. 1947 และ 1948

             หลังจากช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาใหม่ๆ หลายประเภททั้งภายในและภายนอก เมื่อมีความพอใจในปัจจัยจำเป็นในชีวิตแล้ว ประชาชนเริ่มจะแสวงหาเป้าหมายอื่นๆ
โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพชีวิต นักเรียนนิสิตนักศึกษาแสดงความไม่พอใจต่อโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ประชาชนหลายกลุ่มเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
และปัญหามลพิษซึ่งเกิดจากการที่ประเทศมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้น
 
             เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีอัตราการเติบโตต่ำ ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ทรุดหนักลงเรื่อยๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของชาวญี่ปุ่น
โดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และการดำเนินชีวิต ชาวญี่ปุ่นมีค่านิยมที่ต่างกันไปมากขึ้น และชาวญี่ปุ่นจำนวนมากให้ความสำคัญกับการแสดงออกและการแสวงหาเป้าหมายส่วนบุคคล
การที่สหรัฐอเมริกาคืนโอกินาวา (เกาะริวกิว และเกาะไดโตะ) ให้ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1972 และการฟื้นสัมพันธไมตรีกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีเดียวกัน จัดว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญสอง
เหตุการณ์ในช่วงทศวรรษที่ 1970 สำหรับบทบาทของญี่ปุ่นในเศรษฐกิจโลก ญี่ปุ่นดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อเปิดตลาดการค้าของตน ในฐานะที่เป็นสมาชิกสำคัญของความตกลงทั่วไปเกี่ยวกับ
อัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade) และองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation
and Development) ซึ่งมุ่งที่จะรักษาการค้าเสรี ทำให้ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในด้านการค้า การเงิน และความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975
ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของการประชุมสุดยอดประจำปีระหว่าง 7 ประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้เคยจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ในปี ค.ศ. 1979 และ 1986 เมื่อพิจารณาถึงกำลังของประเทศ
และความคาดหวังของประเทศอื่นๆ ต่อบทบาทระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นนี้ ดังนั้นจากช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีท่าทีที่แน่ชัดในการขยายความช่วยเหลือแก่ประชาคมโลก
ใน ค.ศ. 1989 จักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จสวรรคต จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์ต่อ ทำให้ปี 1989 นี้ เป็นปีสิ้นสุดของยุคโชวะ และเป็นจุดเริ่มต้นของเฮเซ และญี่ปุ่นก็คงอยู่ในเฮเซจนถึงปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ธันวาคม 2555 23:15:17 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 23.0.1271.97 Chrome 23.0.1271.97


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2555 08:09:51 »

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ญี่ปุ่น 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.369 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 09:12:42