[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 14:34:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตวัว ภาพปริศนาธรรม อุปมาเหมือนการฝึกจิต ( เซน )  (อ่าน 15841 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:26:57 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ จากบอร์ดเก่า ]



 
 
๑. มองหาวัว





 
 

 
 
๒. พบรอยเท้าวัว
 
 
 
 
 
 
 

 
 
๓. เห็นวัว
 
 
 
 
 
 
 

 
๔. จับวัว
 
 
 
 
 
 
 

 
 
๕. เลี้ยงวัว หรือทำให้มันเชื่อง


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กรกฎาคม 2553 14:39:06 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:27:17 »


 
 
๖. ขี่วัวกลับบ้าน
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
๗. กลับบ้านพักผ่อน ลืมวัว
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
๘. ลืมทั้งตัวเองและวัว
 
 
 
 
 

 
๙. คนเลี้ยงวัวอยู่ในธรรมชาติที่แท้จริงของตน
หรืออยู่ในที่อาศัยที่แท้จริง
 
 
 
 
 
 

 
 
๑o . กลับมายังโลก " ด้วยมือที่สละความสุขสำราญ "


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:28:42 »

อันนี้อีกเวอร์ชั่นครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:28:52 »


 
 
 
มีหลายเวอชั่น เอามาฝาก  หัวเราะลั่น
 
 
 

 
 
 
 

 
 
 
 

 
 
 





จาก
http://www.terebess.hu/english/oxherding.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:33:49 »


 
พุทธทาสภิกขุ กับ ภาพปริศนาธรรมเซ็น
 
 
 
 
ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นพระมหาเถระองค์สำคัญที่นำเอาคำสอนนิกายเซ็นมาเผยแผ่ในหมู่
พุทธบริษัทชาวไทย นอกเหนือจากการแปลหนังสือคำสอนของฮวงโปและสูตรของเว่ยหล่าง
ปรามาจารเซ็นสำคัญของจีนออกมาตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ท่านยังได้แปลนิทานเซ็นอื่น ๆ
อีกหลายเรื่องเพื่อนำมาใช้เป็นสื่อสอนธรรมแก่เยาวชนไทย ทำให้เรื่องเซ็นกลายเป็นแสง
สว่างอย่างใหม่ในการปลุกจิตสำนึก และสติปัญญาของชาวพุทธอย่างสำเร็จประโยชน์
 
 
ในโรงมหรสพทางวิญญาณ ท่านอาจารย์พุทธทาสค้นคว้านำเอาภาพปริศนาธรรมเซ็นมา
คัดลอกไว้บนฝาผนังโรงมหรสพทางวิญาณแห่งนั้นหลายภาพ ตัวอย่างเช่น
 
 
http://board.agalico.com/showthread.php?t=11424
 
 
นอกจากภาพปริศนาธรรมที่กล่าวมานี้แล้ว ยังมีภาพปริศนาจีนอื่น ๆ ซึ่งท่านแปลและให้นำ
มาบันทึกไว้สอนธรรมะคนบนฝาผนังของโรงมหรสพทางวิญาณอีกมากหมาย
 
 
การสะท้อนธรรมคำสอนในนิกายเซ็นของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุนั้นท่านมุ่งหมายความ
สำเร็จประโยชน์โดยธรรมเป็นสำคัญ โดยที่ท่านมิได้แบ่งแยกนิกายของศาสนา หรือแบ่งแยก
ลัทธิคำสอนของศาสนาใด ๆ
 
 
เมื่อตอนที่ข้าพเจ้า ( ผู้เรียบเรียง - รวบรวม ) บวชจำพรรษาอยู่ในสวนโมกขพลาราม เมื่อปี
๒๕o๙ นอกเหนือจากการที่ท่านอาจารย์พุทธทาส มอบหมายให้เขียนภาพปริศนาธรรม
" ปฏิจจสมุปบาท " ของธิเบตไว้หลังจอหนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์พุทธทาสก็นำ
เอาภาพปริศนาธรรมเซ็นอีกชุดหนึ่งมาให้ข้าพเจ้าดู ภาพปริศนาธรรมเซ็นชุดนั้น ชื่อว่า
ชุด " จับวัว " หรือ " ฝึกวัว "
 
 
ภาพชุดจับวัวหรือฝึกวัวนี้ ท่านอธิบายว่า มีความสำคัญแก่ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นปริศนาธรรม
ที่เรียกว่า " จิตว่าง " หรือ " สุญญตา " นั่นเอง
 
 
จุดมุ่งหมายสำคัญที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นการสอนธรรมะด้วยภาพ
เพื่อให้เข้าใจธรรมะได้เร็ว และง่ายขึ้น .
 
 
การสอนธรรมทางภาพนี้ ช่วยให้ได้รับความสนุกบันเทิง เรียนรู้ธรรมโดยไม่รู้เบื่อหน่าย
ถ้าจะทำถูกวิธีแล้วย่อมเสียเวลาน้อยแต่กลับเข้าใจลึกซึ้งกว่าการอ่านหนังสือล้วน ๆ
หรือฟังธรรมด้วยปาก ทั้งยังประโยชน์ในแง่ของศิลปะอีกด้วย ทั้งที่เป็นศิลปะแห่งการ
ใช้เส้นสี และศิลปะแห่งการระบายความคิดอันเป็นนามธรรมออกมาเป็นภาพ ซึ่งควร
จัดเป็นศิลปะชั้นสูงทำได้แต่ธรรมเมธีที่เป็นทั้งปราชญ์และศิลปินเท่านั้น การใช้ภาพ
ปริศนาธรรมสอนผู้คนในสวนโมกข์ จึงเป็นการนำเอาสื่อศิลปะเข้าไปสู่จิตใจคนช่วย
ให้คนรู้ธรรมะ
 
 
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ อธิบายความหมายภาพปริศนาธรรมชุด " จับวัว " ให้ข้าพเจ้า
ฟังโดยย่อ ๆ ว่าภาพชุดนี้เป็นของจีน มีทั้งหมด ๑o ภาพ แต่ละภาพเคยเขียนบรรจุอยู่ใน
จานโบราณของจีน อิริยาบทของภาพแต่ละภาพ แสดงให้เห็นขั้นตอนของการจับวัวป่า
มาฝึกให้เชื่องอุปมาการฝึกจิตแห่งตนฉะนั้น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:34:11 »


 
 
 
วัวป่า คืออะไร ? วัวป่าก็คือจิตที่ยังมืดบอดด้วยอวิชชา ไม่รู้ ไม่ประสีประสาอะไร เปรียบ
เสมือนจิตของคนเรา ที่โลดเแล่นไปตามอำนาจกิเลสทั้งหลายนั้นเอง
 
 
ภาพที่ ๑ : เป็นรูปคนเดินอยู่กลางป่า สายตาสอดส่าย สงสัย หวาดกลัว ว้าเหว่ เก้ ๆ กัง ๆ
ดูราว กับว่า เดินหาร่องรอยอะไรซักอย่างหนึ่ง ในมือของบุคคลผู้นี้มีเชือกม้วนถืออยู่
อย่างกระชับมั่นว่า จะตามหาวัวป่า คือ ตามหาให้พบร่องรอย เชือกนั้นคือปัญญา
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:34:42 »


 
 
ภาพที่ ๒ : บุรุษผู้นี้เดินลึกเข้าไปในป่า มีภูผาและหมู่เมฆปกคลุมอยู่เบื้องหลัง สอดส่าย
สายตาก้มลงดูที่พื้นดิน สายตาพบว่าเห็นรอยเท้าวัวอยู่ตรงหน้า จิตก็มีความหวังขึ้นมาว่า
เราเริ่มเห็นร่องรอยเท้าวัวตัวนี้แล้ว เมื่อมีรอยเท้ามันจะต้องมีวัวอยู่ข้างหน้า
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:35:38 »


 
 
ภาพที่ ๓ : เมื่อเห็นรอยเท้าวัว จิตก็เริ่มมั่นใจว่าจะได้พบตัววัวป่า สะกดรอยเท้าตามไป
อย่างกระชั้นชิด แล้วก็แลเห็นหลังวัวป่าวิ่งหลบไปข้างหน้าอยู่ลัด ๆ หางวัวปลิวสะบัด
อยู่ไหว ๆ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:35:59 »


 
 
ภาพที่ ๔ : บุรุษผู้ตามจับวัวกระชับเชือกไว้ในมืออย่างมั่นคง เชือกหมายถึงสติปัฏฐาน
หรือปัญญา ที่จะเป็นเครื่องมือจับวัวป่า เขารีบเหวี่ยงบ่วงบาศเชือกไปคล้องคอวัวตัวนั้น
ไว้ได้อย่างแม่นยำ
 
วัวป่าที่พยายามดิ้นรนสุดแรงเกิด แต่คนจับวัวรู้ดีว่าจะต้องสู้เอาชนะมันให้ได้ ด้วยจิตใจ
ที่เข้มแข็ง และการยื้อยุดฉุดรั้งระหว่างคนกับวัวเป็นไปด้วยความพยายามและเหน็ดเหนื่อย
แต่ผลสุดท้ายก็ทำให้วัวป่าเริ่มเชื่องช้า และหมดฤทธิ์ ปล่อยให้คนใช้เชือกร้อยจมูกชักจูงได้
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:36:22 »


 
 
ภาพที่ ๕ : คนจับวัวประสบความสำเร็จในการจับวัวป่า จิตที่เข้มแข็งด้วยสติ และปัญญา
สามารถ หยุดยั้งสัญชาติญาณดิบของวัวป่าได้เป็นผลสำเร็จ วัวยอมแพ้ คนชนะใจวัว
สามารถจูงวัวเดินกลับบ้านได้ เหมือนจิตที่ถูกฝึกจนดีแล้ว จะควบคุมไปในทิศทางใด
ก็ย่อมทำได้ตามประสงค์ คนก็จูงวัวไปใหน ๆ ได้ตามที่ตนต้องการ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:36:57 »


 
ภาพที่ ๖ : คนจับวัวมาฝึกให้ละพยศ ลดสันดานดิบแห่งป่า มันเริ่มตอบรับเชือกแห่งปัญญา
ของมนุษย์ ละทิฏฐิมานะที่จะดื้อดึงให้เชือกขาดแล้วกระโจนเข้าป่าต่อไปอีก หากแต่ว่าวัว
ตัวนี้กลายเป็นวัวเชื่องที่ยอมอยู่กับเจ้าของเชือก วัวไว้วางใจคนมากขึ้น ยินยอมให้คนขึ้นนั่งขี่
บนหลังได้ ยิ่งไปกว่านั้น คนก็ไม่ต้องจับเชือกจูงวัวอีกแล้ว แต่สามารถนั่งเป่าขลุ่ยบนหลังวัว
อย่างสบายไม่กลัวตกหล่น มีปีติเพลิดเพลินใจ วัวก็เดินไปอย่างกระฉับกระเฉง เหมือนกาย
กับจิต หรือเหมือนนายกับบ่าว เปรียบเสมือนการฝึกจิตให้เข้ารูปเข้ารอย เกิดความสะอาด
สว่าง สงบ เย็นในชีวิต
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:37:29 »


 
 
ภาพที่ ๗ : จิตที่ได้รับการฝึกฝนจนสงบเย็นดีแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เกิดขึ้น เปรียบเสมือน
ดวงจันทร์สว่างนวลเหนือท้องฟ้า อำนาจแห่งอวิชชาของราตรีกาลไม่อาจบดบังแสงจันทร์
แห่งปัญญาได้ บัดนี้คนฝึกวัวบรรลุธรรมแล้ว ไม่ต้องมีวัวอยู่อีกต่อไป ไม่มีวัวที่ถูกฝึก
ไม่มีคนผู้ฝึกวัว เหมือนคนพายเรือถึงฝั่งไม่ต้องแบกเรือไว้บนหลัง ลืมวัว ลืมความสุข อย่าง
โลก ๆ ไม่มีตัวเอง ไม่มีตัวกู ของกู อยู่ในจิตอีกต่อไป
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:37:51 »


 
 
 
 
ภาพที่ ๘ : เมื่อไม่มีวัว ไม่มีผู้ฝึกวัว ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีตัวกู ของกู ภาพที่ ๘ นี้จึง
เป็นภาพของ " สุญญตา " ธรรม คือ " ว่าง " ในวงกลมนี้ไม่มีภาพอะไร เหมือนกระจกใส
สะอาด สว่าง ไร้ใฝฝ้า หรือฝุ่นละอองมาจับต้อง นี่คือปริศนาธรรมที่สะท้อนธรรมที่ว่า
" สุญญตา " คือความว่าง ว่างจากคน ว่างจากวัว ว่างจากความสุขอันเกิดจากผู้บริโภคอย่าง
โลกียสุข แต่เป็นโลกุตรสุขที่ไม่สิ้นสุด หรือเป็นอนันตกาล
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:38:12 »


 
 
ภาพที่ ๙ : ภาพตอไม้ที่หงิกงอและหักโค่นด้วยกาลเวลา ร่องรอยแห่งชราและมรณะปรากฏ
อยู่ที่พื้นดินและหินผา เปรียบประดุจดังต้นไม้เฒ่า และต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิดอกเบ่งบาน ต้อน
รับฤดูกาลแห่งมรรคผล แห่งปัญญาอันสูงสุดของผู้บรรลุธรรม
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:38:34 »


 
 
ภาพ ๑o : เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติธรรม หรือผู้ฝึกวัวป่าบรรลุธรรมมีปัญญาติดตัวมากพอที่พกพา
ไปใหน ๆ ได้แล้ว วิญญาณโพธิสัตว์ก็จะเกิดขึ้นแก่คนฝึกวัวว่า ปัญญาที่มีอยู่ควรจะนำไปแจก
จ่ายให้แก่เพื่อนมนุษย์ผู้มืดบอดทั้งหลาย ห่อผ้าที่ผูกติดปลายไม้เท้าของคนฝึกวัวนั้นเปรียบ
เสมือนหนึ่งปัญญาวิมุตติ หรือวิชชาที่นำไปเจือจานเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ ผู้ร่วมทุกข์เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ต่อไป
 
 
รูปปรามาจารย์ เซ็น ที่ยืนถือตะเกียงอยู่ตรงหน้า และถุงผ้าใหญ่ผูกไม้เท้าแบกอยู่ข้างหลังนั้น
เปรียบเสมือนปัญญาที่มากล้น ของพระคณาจารย์เช็น นั่นเอง
 
( โปรดสังเกตุว่า ห่อผ้าที่เล็กของคนฝึกวัวสำเร็จ ปัญญาน้อยกว่า ปรามาจารย์เซ็น
ที่มีห่อผ้าใหญ่กว่า ปัญญามากกว่า แจกได้มากกว่า )
 
 
 
ปริศนาธรรมฝึกวัว หรือจับวัวทั้ง ๑o ภาพที่อธิบายมานี้ ข้าพเจ้าได้รับรู้จากท่านอาจารย์
พุทธทาสภิกขุ ซึ่งท่านเมตตาอธิบายย่อ ๆ ให้ฟังก่อนจะลงมือเขียนภาพฝาผนังชุดนี้ไว้
ขนาบสองข้างของภาพปฏิจจสมุปบาทธิเบตหลังจอหนังของโรงมหรสพทางเวิญาณเมื่อ
ปี ๒๕o๙
 
 
 
 
 
ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่า คำอธิบายภาพปริศนาธรรมจับวัวหรือฝึกวัว ทั้ง ๑o ภาพนี้ ข้าพเจ้า
เขียนขึ้นโดยเนื้อหาที่ท่านอธิบายย่อ ๆ ไม่ใช่ตามถ้อยคำ หรือตัวพยัญชนะของท่าน ฉะนั้น
การที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในปริศนาธรรมเซ็นชุดนี้ ควรจะได้อ่านคำอธิบายภาพปริศนา
ธรรมชุด จับวัว ( เกิดมาทำไม ) ซึ่งตีพิมพ์จากอรรถและพยัญชนะจากท่านอาจารย์พุทธทาส
โดยตรงก็จะสำเร็จประโยชน์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
 
 
 
 
 
เมื่อกล่าวถึงการเขียนภาพปริศนาธรรมชุด จับวัวหรือฝึกวัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕o๙ ข้าพเจ้า
อยากจะบันทึกไว้ว่า สำหรับท่านที่เคยชมภาพชุดนี้ในโรงมหรสพทางวิญาณ ท่าจะเห็นว่า
ภาพปริศนาธรรมตั้งแต่ภาพที่ ๑ ถึงภาพที่ ๑o ซ้าย ๕ ภาพ : ขวา ๕ ภาพ จะมีรูปแบล็ก
กราวด์เป็นคล่นบุญ - คลื่นบาปอยู่บบนพื้นหลังของภาพวงกลมทั้ง ๑o คลื่นบุญ - บาป
เป็นความคิดของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
 
 
 
 
 
 
ท่านอาจารย์พุทธทาสต้องการให้แบล็คกราวด์ของปริศนาธรรมชุดฝึกวัว มีความหมาย
ทางธรรม ท่านจึงนำภาพตัวอย่างซึ่งเป็นงานเขียนของญี่ปุ่นมาให้ขาพเจ้าดู เพื่อใช้เป็น
แบบสำหรับเป็นแนวเขียนภาพคลื่นบุญ - คลื่นบาป
 
 
 
 
 
เมื่อข้าพเจ้าเขียนภาพชุดปริศนาธรรม ฝึกวัวครบ ๑o ภาพแล้ว ต่อจากนั้นจึงลงมือเขียน
ภาพคลื่นบุญ - คลื่นบาปนั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสยืนดูอยู่ข้างล่าง ข้าพเจ้าเขียนอยู่บน
นั่งร้านสูง ดูเหมือนท่านจะสังเกตุเห็นว่า เส้นสายของคลื่นสีขาวที่เรียกว่า คลื่นบุญตัดกับ
คลื่นบาปที่เป็นพื้นสีดำนั้น ช่วงที่คลื่นม้วนตัวพลิ้วไหวเป็นวงน้ำวนนั้น ท่านให้ความเห็น
ว่ามันแข็งไป ท่านจึงบอกให้ข้าพเจ้ารู้ เพื่อจะได้แก้ไข ให้เส้นบางลงกว่าเดิม
 
 
 
 
 
" เส้นคลื่นที่พลิ้วบางตรงที่มันม้วนตัวพลิกมันแข็งไป คุณต้องเขียนให้มันบางกว่านี้ แล้ว
มันจะดูไหว เหมือนวงน้ำกระเพื่อมไหว"
 
 
 
 
 
ท่านพูดให้ฟังข้างล่าง แล้วท่านก็หยิบช็อคมาเขียนตัวอย่างให้ดูที่พื้น ข้าพเจ้าก้มมองดู
ก็เข้าใจคำแนะนำที่ท่านบอก ซึ่งมันก็จริงอย่างที่ท่านพูด คลื่นมันแข็งเป็นอะไรไม่รู้ มัน
เหมือนลายผ้า มันไม่ใช่สายน้ำที่กระเพื่อมไหว ข้าพเจ้าจึงรีบแก้ไขตามที่ท่านอจารย์
พุทธทาสแนะนำทุกประการ
 
 
 
 
 
ข้อที่น่าอัศจรรย์ในการเขียนภาพฝาผนังของโรงมหรสพทางวิญาณในครั้งนั้นก็คือ ท่าน
อาจารย์พุทธทาสภิกขุไม่เคยเป็นช่างเขียนไม่เคยเรียนด้านศิลปะ แต่จิตของท่านรู้ และเห็น
ความงามของศิลปะอย่างน่าอัศจรรย์ ตรงทางขึ้นบันไดชั้นบนของโรงมหรสพทางวิญญาณ
ด้านซ้ายและด้านขวา ๒ ภาพ ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขสีสดใสขึ้น โดยอาจารย์โกวิท
หรือท่านเขมานันทะ รวมทั้งภาพปริศนาธรรมไทยอีก ๒ - ๓ ภาพ ที่ชั้นล่างมุมตึกด้าน
ทิศเหนือผนังด้านทิศตะวันออก
 
 
 
 
ปริศนาธรรมเซ็น และปริศนาธรรมอื่น ๆ ภายในโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นความสำเร็จ
ที่เกิดจากภูมิธรรมอันล้ำลึกของท่านอาจารย์พุทธทาส แม้วันนี้มม่านจะจากไปแล้ว แต่ผล
งานที่เป็นธรรมทัศน์ของท่านก่อให้เกิดผลคุณูปการให้แก่พุทธบริษัทและเยาวชนไทย ผู้ซึ่ง
ท่านหวังไว้ว่าจะเป็นตัวแทนแห่งสันติภาพของโลกในอนาคต
 
 
สัมพันธ์ ก้องสมุทร : ผู้บันทึกและเขียนภาพ
 
 
ที่มาของภาพ สาธุ
 
http://www.shokoku-ji.or.jp/english/e_museum/collections/painting/jyugyuzu.html
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: จิต จิตวัว ภาพ ปริศนาธรรม อุปมา ฝึกจิต  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.575 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 15:06:34