[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 05:48:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพชรตัดทำลายมายา : ดอกกุหลาบมิใช่ ดอกกุหลาบ วิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตา  (อ่าน 2852 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2553 14:51:01 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ จากบอร์ดเก่า ]


 
 
" ไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า บุคคลเช่นนั้นไม่ยึดมั่นอยู่กับ
ความคิดเนื่องด้วยตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ เขาไม่ยึดมั่น
อยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรมและอธรรม ไม่ยึดมั่นว่านี่คือรูป
ลักษณะ นั่นมิใช่รูปลักษณะ เช่นนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่า
ถ้าบุคคลยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรม จิตบุคคลนั้นก็ยัง
ผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ ถ้าเขายึดมั่นอยู่กับ
ความคิดว่าไม่มีธรรม จิตของเขาก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล
สัตวะ และชีวะอยู่ "


รูปลักษณะในที่นี้หมายถึงมโนทัศน์ เมื่อเราเกิดมโนทัศน์เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง ภาพลักษณ์ ของสิ่งนั้นจะปรากฏอยู่ในมโนทัศน์ เช่นเมื่อเรามีมโนทัศน์เกี่ยวกับโต๊ะ เรานึกเห็นภาพลักษณ์ ของโต๊ะ แต่เราต้องจำไว้ว่ามโนทัศน์ของเราไม่ใช่สิ่งนั้น เป็นเพียงความจำได้หมายรู้ของเรา ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะแตกต่างจากโต๊ะมาก อย่างเช่นปลวกอาจมองโต๊ะว่าเป็นงานเลี้ยงสนุก นักฟิสิกส์อาจมองว่าเป็นมวลของอนุภาคซึ่งเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ส่วนพวกเราซึ่งอยู่บน เส้นทางการปฏิบัติพุทธธรรมนั้น เคยผ่านการฝึกมองอย่างลึกซึ้ง เราอาจมีทัศนะที่ผิดน้อยกว่า และความจำได้หมายรู้ของเราอาจเกือบ ๆ สมบูรณ์ใกล้เคียงความจริงมากกว่า แต่ก็ยังเป็น ความจำได้หมายรู้อยู่นั่นเอง

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว พุทธศาสนานิยามคำ ธรรม ว่าคือ ปรากกฏการณ์ใด ๆ ที่สามารถทรงลักษณะ เฉพาะตัวของมันไว้ ไม่ทำให้เข้าใจผิดไปว่าเป็นปรากฏการณ์อื่น ความโกรธ ความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล หรือปรากฏการณ์ทางจิตทั้งหลาย เรียกว่า จิตธรรม โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน ยอดเขา แม่น้ำ และปรากฏการณ์ทางกายภาพทั้งหลายเรียกว่า รูปธรรม ปรากฏการณ์ซึ่งไม่เป็นทั้ง ปรากฏการณ์กายภาพหรือปรากกการร์ทางจิต เช่น การได้ การเสีย ความเป็น ความไม่เป็น จัดว่าเป็น จิตวิประยุกตสังสการธรรม ปรากฏการณ์ซึ่งไม่ปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยใดเรียกว่า อสังสกฤตธรรม ( หรือภาษาบาลีเรียกว่า อสังขตธรรม )

พุทธศาสนาสำนักสรวาสติวาทินกล่าวว่า อวกาศเป็น อสังขตธรรม เพราะมีธรรมชาติอันไม่เกิด ไม่ตาย ไม่มีรูปปรุงแต่ง แต่นี่เป็นเพียงวิธียกตัวอย่างของพวกเขา แท้จริงแล้วอวกาศก็ประกอบ ด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น กาลเวลา และวิญญาณ ดังนั้นอวกาศจึงมิใช่ธรรมไร้ปัจจัยปรุงแต่งอย่างแท้ จริง สำนักสรวาสติวาทินเรียก " ความเป็นเช่นนั้น " ว่า เป็นธรรมไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน แต่ถ้ามองอย่างลึกซึ้งเราก็จะเห็นว่า มโนทัศน์ของ " ความเป็นเช่นนั้น " มีเพราะเรามีมโนทัศน์ ของ " ความไม่เป็นเช่นนั้น " ถ้าเราคิดว่าความเป็นเช่นนั้นแตกต่างจากธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด มโนทัศน์ความเป็นเช่นนั้นของเราก็เกิดจากมโนทัศน์ความไม่เป็นเช่นนั้นนั่นเอง เมื่อมีข้างบน ย่อมมีข้างล่าง เมื่อมีข้างในย่อมมีข้างนอก เมื่อมีความถาวรย่อมมีความไม่ถาวร ตามกฏแห่ง ความสัมพันแล้ว ทัศนะทั้งหลายของเราถูกนิยามด้วยสิ่งตรงข้ามเสมอ

แต่ในวิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตา เราจำเป็นต้องพูดสิ่งตรงข้าม " เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่มันเป็น มันจึงเป็นอย่างที่มันเป็น " เมื่อเรามองเข้าไปในธรรมแล้วเห็นทุกสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม นั่นคือเราเริ่ม เห็นธรรมแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับธรรมมโนทัศน์ ( มโนทัศน์ว่ามีธรรม ) หรือแม้กับอธรรมมโนทัศน์ ( มโนทัศน์ว่าไม่มีธรรม )

อาตมายกตัวอย่างความคิดเกี่ยวกับอธรรม ( ความเชื่อว่าไม่มีธรรม ) มาอธิบาย ก็เพื่อช่วยให้ พวกเราก้าวพ้นจากความคิดเกี่ยวกับธรรม แต่ก็อย่าไปยึดมั่นอยู่กับอธรรมมโนทัศน์ เมื่อเห็น ดอกกุหลาบ เรารู้ว่าดอกกุหลาบคือธรรม การจะเลี่ยงไม่ให้หลงยึดอยู่กับมโนทัศน์ " กุหลาบ " เราต้องจำไว้เสมอว่า กุหลาบดอกนี้ไม่อาจมีชีวิตอยู่เดี่ยว ๆ ได้ มันไม่ได้เป็นชีวิตอิสระ หากแค่มีธาตุซึ่งไม่ใช่ดอกกุหลาบมาประกอบอยู่ด้วยกัน เรารู้ว่าดอกกุหลาบไม่ใช่ธรรม ที่แยกตัวออกมาโดด ๆ แต่เมื่อเราละทิ้งมโนทัศน์ที่ว่าดอกกุหลาบสามารถอยู่ได้อย่างอิสระ แล้ว เราก็อาจไปหลงยึดความคิดว่าไม่มีดอกกุหลาบได้อีก เราจึงต้องเป็นอิสระจากอธรรม มโนทัศน์ด้วย





วิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตา มีอยู่ 3 ขั้นตอน

( 1 ) ดอกกุหลาบ
( 2 ) ไม่ใช่ดอกกุหลาบ
( 3 ) นั่นคือดอกกุหลาบ



ดอกกุหลาบ ในขั้นที่สามแตกต่างจาก ดอกกุหลาบ ในขั้นแรกอย่างมาก คำพูดว่า " ว่างจากความว่าง " ( สุญญตา ) ในคำสอนของปรัชญาปารมิตาสูตรมุ่งหมายที่จะช่วยเรา ให้พ้นจากมโนทัศนืของความว่าง ก่อนปฏิบัติจิตภาวนา เราเห็นภูเขาว่าเป็นภูเขา พอเริ่มปฏิบัติ เราเห็นภูเขาว่าไม่ใช่ภูเขาอีกแล้ว เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง เราจะเห็น ภูเขากลับเป็นภูเขาอีก แต่ตอนนี้ภูเขาเป็นอิสระยิ่ง จิตเรายังอยู่กับภูเขาแต่ไม่ผูกพันธ์ กับสิ่งใด ภูเขาในขั้นที่สามไม่เหมือนกับภูเขาในขั้นแรก ในขั้นที่สามภูเขาเปิดเผยตัว อย่างอิสระ เราเรียกภาวะนี้ว่า " ความเป็นที่แท้จริง " ซึ่งพ้นไปจากความเป็นและไม่เป็น ภูเขายังอยู่ตรงนั้นเผยตัวอย่างพิเศษยิ่ง แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นมายา เมื่อพระพุทธเจ้า เห็นดอกกุหลาบ ดอกกุหลาบที่พระองค์ทรงเห็นคือความอัศจรรย์ เป็นดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นอยู่แท้จริง แต่ดอกกุหลาบที่เธอกับอาตมาเห็นอาจเป็นตัวตนดอกกุหลาในความ นึกคิด คำว่าความว่างในวรรณกรรมปรัชญาปารมิตานั้นลึกซึ้งยิ่งนัก พ้นไปจากโลกมายา แห่งความเป็นและความไม่เป็น ใช่และไม่ใช่ เรียกว่า " ความว่างที่แท้ " ความว่างที่แท้ ไม่ใช่ความว่าง ความว่างที่แท้คือความเป็นที่แท้จริง

เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งทวิลักษณ์ เราจึงติดอยู่ในเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเพื่ออาตมา กล่าวว่า " เพื่อนของผมเสียชีวิต " แล้วเราร้องไห้ เราเป็นทาสอยู่ในโลกของการมา และการไป โลกแห่งปัจจัยปรุงแต่งย่อมเต็มไปด้วยทัศนะผิด ๆ ด้วยการฝึกมองให้ ลึกซึ้งเข้าไปในธรรมชาติของสรรพสิ่งเท่านั้น เราจึงจะเป็นอิสระจากมโนทัศน์ของ ไป-มา มีอยู่-ไม่มีอยู่ เกิด-ตาย หนึ่งเดียว - มากมาย ข้างบน-ข้างล่าง เหล่านี้ล้วน หายไป เมื่อเราเป็นอิสระแล้ว โลกนี้ก็ยังมีอยู่ในตัวเราและรอบตัวเรา แต่ตอนนี้โลก นั้นได้กลายเป็นโลกของความว่างที่แท้ไปแล้ว หลักการณ์เกี่ยวกับรูปลักษณะเปรียบได้ กับยอดของต้นไม้ ส่วนโลกของความเป็นที่แท้จริงคือราก หลักการณ์เกี่ยวกับรูปลักษณะ เป็นมูลฐานของมโนทัศน์เกี่ยวกับตัวตน ดังนั้นเราจึงต้องฝ่าทั้งตาข่ายธรรมและตาข่าย อธรรม ไปให้พ้นจากความสำคัญมั่นหมายและความไม่สำคัญมั่นหมาย





" ฉะนั้นบุคคลจึงไม่พึงยึดถือผูกพันอยู่กับธรรมหรือคิดว่าหรือคิดว่าธรรม
เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ นี่คือนัยยะความหมายเมื่อตถาคตกล่าวว่า ' ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ ว่า ธรรมที่เราตรัสแสดงมีอุปมาดังพ่วงแพ '
แม้สิ่งที่ตถาคตสอนก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงสิ่งที่ไม่ได้กล่าวเทศนา "


ประโยคแรกหมายความว่า เราไม่ควรยึดถืออยู่กับความเป็นความไม่เป็น เพราะทั้งเป็น และไม่เป็นล้วนเป็นมายา เมื่อเราไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดผิด ๆ เหล่านี้ เราก็จะลุถึงฝั่ง อันอัศจรรย์ของโลกแห่งความว่างที่แท้จริง

ตรงนี้ วัชรสูตร ได้กล่าวย้ำสิ่งที่กล่าวไว้ใน " อลคัททูปสูตร " ( สูตรที่เปรียบการศึกษา เหมือนงูพิษ ) พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระสูตรหลังนี้ว่า คำสอนของพระองคืเปรียบ เหมือนลำแพที่เราต้องสละเมื่อข้ามไปถึงฝั่งแล้ว คำว่า " นัยยะความหมาย " พบเฉพาะ พระสูตรภาษาสันสกฤต ไม่พบในฉบับภาษาจีน เมื่อพระพุทธองค์ประทานพระธรรมเทศนา เป็นไปได้ว่าผู้ฟังอาจยึดมั่นอยู่กับคำสอนทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นและไม่เหมาะที่จะทำอย่างนั้น การฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกับการจับงูพิษ ถ้าเธอไม่รู้วิธี เธออาจจับ ส่วนหางก่อน งูก็จะแว้งกัดเอาได้ ถ้าเธอรู้วิธีจับงู เธอต้องใช้ไม้ง่ามตรึงตัวมันไว้ แล้วจึง จับคอมัน อย่างนี้แล้วงูก็ไม่อาจกัดเธอได้ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำนองเดียวกัน ถ้าไม่ชำนาญพอเธออาจเจ็บตัว เธอต้องระวังอย่าไปยึดติดออยู่กับคำสอน ความคิดเกี่ยว กับความว่าง ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ล้วนเกื้อกูลให้ประโยชน์ แต่ถ้าเธอนำมาใช้ อย่างไม่เข้าใจลึกซึ้งแจ่มแจ้ง เธออาจเกิดทุกข์และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ด้วย


คัดบางส่วนจาก เพชรตัดทำลายมายา ของท่าน ติช นัท ฮัน

จาก

http://board.agalico.com/forumdisplay.php?f=169

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: เพชรตัดทำลายมายา วิภาษวิธี ปรัชญาปารมิตา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.359 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 กุมภาพันธ์ 2567 00:44:13