[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 08:49:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และตำนานสิงห์ล้านนา  (อ่าน 3273 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 ธันวาคม 2555 14:06:19 »

.




ตำนานพระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
ตามตำนานมูลศาสนาชินกาลมาลินี  กล่าวว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับ ณ เมืองพาราณสี เพลาเช้าพระองค์ทรงจับบาตรแลจีวร  เสด็จลำพังแต่ผู้เดียวโดยนภากาศ (เหาะ)  เที่ยวโคจรบิณฑบาตไปในอัฏวีคามแห่งหนึ่ง   ฝูงชนชาวบ้าน ณ แห่งนั้นมีศรัทธาเลื่อมใส   ถวายโภชนาหารแก่พระพุทธองค์    พระพุทธองค์ทรงดำรัสธรรมเทศนาแก่ชาวบ้านเหล่านั้น ให้ดำรงตนตั้งอยู่ในพระไตรสรณาคมและศีลห้า   แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินโดยอากาศมาจากที่นั้น    เสด็จลงในที่แห่งหนึ่ง  ทรงตั้งบาตรลงไว้เหนือแผ่นศิลา  กระทำซึ่งภัตกิจ (ฉันอาหาร)  เสร็จแล้วจึ่งมีพระพุทธพยากรณ์ไว้ว่า  เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว  นานไปเบื้องหน้า ณ ที่แห่งนี้จักเป็นพระมหานครอันใหญ่  พญาอาทิจราช (อาทิตยราช)  จักได้เสวยพระราชสมบัติในพระนคร   ที่อันนี้ตรงนี้ จะเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุของพระตถาคต     พญากาเผือกได้ยินเช่นนั้น จึงได้บอกกล่าวข่าวนี้แก่ลูกหลานของตนว่า ให้ช่วยกันเฝ้ารักษาสถานที่แห่งนี้สืบต่อไป


ครั้นจุลศักราช ๔๐๙ ปี   พญาอาทิจราช ได้ราชาภิเษกครองเมืองหริภุญไชย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสาทกลางพระนครนั้น  

วันหนึ่งพระองค์เสด็จไปสู่เวจศาลา (ส้วม)  กากะปักษี (อีกา) ตัวหนึ่งถ่ายมูลคูธตกลงเหนือเศียรเกล้าแห่งพระองค์  พระองค์แลขึ้นไปพลางตรัสให้เสนาอำมาตย์จับตัวกาให้ได้เร็วๆ  กาตัวนั้นก็ถ่ายมูลคูธให้ตกลงในพระโอษฐ์อีก  พระองค์ทรงพิโรธนักหนา รับสั่งราชบุรุษทั้งหลายให้ตามจับกาให้จงได้ เมื่อได้กามาถวายแล้ว ทรงจะฆ่ากานั้นเสีย อมัจ์เจ ปุจ์ฉิ ยุต์ ตรูโป  นวายํ  พระองค์ตรัสถามอำมาตย์ว่า เราควรจะฆ่ากาตัวนี้ควรหรือมิควรประการใด  อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่าอย่าเพิ่งฆ่า ควรถามผู้รู้ซึ่งเหตุเบื้องหน้าก่อน โหรัญ์ญุโน  ปุจ์ฉก โหรทั้งหลายทูลถวายพยากรณ์ว่า ให้เลี้ยงกานั้นไว้  อันความสวัสดีจักมีแก่พระองค์  พญาอาทิตยราชจึงให้ทำกรงใส่กานั้นเลี้ยงไว้   ครั้นราตรี ก็ทรงพระสุบินว่า มีเทพยดาองค์หนึ่งมาทูลแก่พระองค์ว่า แม้นพระองค์ใคร่จะรู้ซึ่งเหตุนั้น ให้นำทารกอันเกิดได้ ๗ วัน มาเลี้ยงไว้และให้นอนใกล้กรงกา  พระองค์จะสามารถรู้ซึ่งเหตุนั้นได้
 

สมเด็จพระบรมกษัตริย์ก็ทรงทำตามพระสุบินนิมิตทุกประการ  ครั้นทารกนั้นอายุได้ ๗ ปี  ก็รู้ซึ่งภาษาของกาและมนุษย์ พระองค์จึงถามถึงเหตุนั้นแก่ทารก ทารกก็สนทนาพูดจากับกา  กาก็เล่าให้ทารกนั้นฟังว่า ปู่ของเราเป็นพญากาเผือก บัดนี้อยู่ป่าหิมพานต์ แก่หง่อมแล้ว  พญากาปู่เรานั้นบังคับเราว่า ที่นี้เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแห่งพระชินสีห์เจ้า เจ้าจงอยู่เฝ้ารักษาที่แห่งนี้ ท่านสอนเราเท่านี้ ทารกได้ฟังคำแห่งพญากา จึงทูลเหตุทั้งปวงนั้นแก่พญาอาทิจราช  

พญาอาทิจราชได้ฟังแล้ว จึงมีรับสั่งให้รื้อเวจศาลา ทำพื้นที่ให้ราบเรียบเสมอกัน รมด้วยเครื่องหอมทั้งปวงให้สถานที่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วให้ตีกลองป่าวชาวพระนคร ส่วนพระองค์ทรงเครื่องอลังการแห่งกษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปในที่นั้น อันเป็นที่ประชุมชนชาวพระนครและภิกษุ ทรงประทับเป็นองค์ประธาน ยกอัญชลีน้อมนมัสการบูชาสถานที่แล้วตั้งสัตยาธิษฐานให้พระบรมธาตุสำแดงพระปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่มหาชนคนทั้งปวงบัดนี้เถิด  

สธาตุโก สุวัณ์ณกรัณ์ฑโก เมื่อจบคำอธิษฐานแห่งพระมหากษัตริย์  ด้วยเทวานุภาพผอบทองพระบรมธาตุอันพระเจ้าอโสกราชบพิตร์ทำไว้ด้วยเทวานุภาพก็เลื่อนลอยขึ้นไปประมาณ ๓ ศอก เปล่งฉัพพรรณรังสีอยู่ในที่นั้น ประชุมชนชาวพระนครทั้งหลายมีพระเจ้าอาทิจราชเป็นประธานเห็นเหตุมหัศจรรย์ก็ยิ่งโสมนัส สรรเสริญสาธุการด้วยบุบผามาลาธูปเทียน  

ขณะนั้น พระเจ้าอาทิจราชมีพระทัยปรารถนาจะนำผอบพระบรมธาตุไปไว้ยังที่แห่งอื่น ธาตุรัณ์ฑโก ผอบพระบรมธาตุแห่งสมเด็จพระชินสีห์ ก็บันดาลแทรกทรุดหายลงไปในพื้นพสุธา    

เหตุดังนั้น พญาอาทิจราชจึงกระทำอาราธนาด้วยเครื่องสักการบูชาต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง  ผอบทองพระบรมธาตุก็เสด็จผ่อนผันขึ้นมาพ้นเหนือพื้นปฐพีสูงประมาณ ๓ ศอกฉัพ์พัณ์ณรํ  สิโย  สิสัช์เชสิ เปล่งฉัพพรรณรังษีพระรัศมีหกประการแล้วก็ประดิษฐานเลื่อนลอยอยู่ ณ ที่นั้น   ฝ่ายพญาอาทิจราชจึ่งเอาพระหัตถ์ทั้งสอง ค่อยๆ ประคองรองรับซึ่งผอบพระบรมธาตุ  วางลงเหนือพื้นแผ่นศิลาอันหนึ่ง อันสะอาดบริสุทธิ์  แล้วมีพระราชโองการสั่งให้สร้าง ปาสารทถูปํ ปราสาทสถูปพระองค์หนึ่ง  สูง ๑๒ ศอก มีพระทวารบานประตูเข้าออกทั้งสี่ทิศ  เสา ๔ เสา ขึ้นไว้บนแผ่นศิลานั้น เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ในสกลชมพูทวีปทั้งปวง   อันพระมหาธาตุก็บังเกิดมีในเมืองหริภุญไชย  ในกาลเมื่อพญาอาทิจราชราชาภิเศกได้ ๑๖ ปี  เป็นปีที่พระพุทธศาสนาล่วงได้ ๑๓๘๓ พระวรรษา ถ้าจะนับถอยหลังลงไปตั้งแต่ปีที่สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานมานั้น ก็นับได้ ๑๖๐๐ พระวรรษา



พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ  อันมีธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อย เต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนาย  

เมื่อพญามังรายตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรงขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา  ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๗๒๒ พระเจ้าสัพพสิทธิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้สร้างโกศทองเสริมต่อขึ้นไปอีกหนึ่งศอก รวมเป็นสูงสี่ศอก และสร้างพระมณฑปสูงต่อขึ้นอีก ๒ วา รวมเป็นห้าวา พร้อมทั้งสร้างทองจังโก (แผ่นทองแดงปนนาก) หุ้มตลอดองค์พระเจดีย์ จำนวน ๑๕,๐๐๐ แผ่น  ในปี พ.ศ. ๒๐๐๐ พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้สร้างสันติบัญชร (ระเบียงหอก) จำนวน ๕๐๐ เล่ม ล้อมเป็นรั้วไว้ ณ ฐานล่างสองชั้น ต่อมาในสมัยพระยาอุปโย เจ้านครเชียงใหม่  พระราชโมลีมหาพรหม และพระสังฆราชา ได้ชักชวนชาวเมืองทำสันติบัญชรต่อเพิ่มเติมอีก ๗๐๐ เล่ม จนแล้วเสร็จสมบูรณ์  



อาทิจ์จัส์ส รัญ์โญ ปน อัค์คมเหสี ปทุมวดีนาม เทวี  
พระนางปทุมวดี  พระราชเทวีแห่งสมเด็จพระเจ้าอาทิจวงษ์  
ทรงมีพระราชศรัทธาให้สร้างพระสุวรรณเจดีย์อีกองค์หนึ่งไว้ในพระศาสนา
เพื่อเป็นที่สักการบูชาแก่เทพยดาและเหล่ามนุษย์ทั้งปวง


สัพ์พาสิท์ธิราชา
พระเจ้าสรรพสิทธิราช ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระมหาธาตุปราสาทเจดีย์
ที่สมเด็จพระไอยกา (พญาอาทิจราช) ทรงสร้างไว้แต่กาลก่อน

------------------------------------------------





ตำนานสิงห์ แห่งวัดล้านนา
เกี่ยวกับสิงห์แห่งวัดล้านนา อาจารย์สนั่น ธรรมธิ นักวิชาการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีผลงานดีเด่นการอนุรักษ์ด้านภาษาและวรรณกรรมล้านนา อรรถาธิบายไว้ว่า รูปอนุสรณ์สัตว์ชนิดหนึ่งที่พบเห็นโดยทั่วไปในเขตล้านนา โดยเฉพาะประตูวัด ได้แก่รูปสิงห์ ซึ่งรูปอนุสรณ์ดังกล่าวอาจมีมานานแล้ว

ในโคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งเป็นโคลงเก่าแก่อายุราว ๕๐๐ ปี มีกล่าวถึงรูปสิงห์ ๒ ตัวที่ประตูวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ในบทที่ ๑๑ ว่า "ลาเถิงปราสาทสร้อย สิงห์สอง" อย่างไรก็ตาม ความเป็นมาของรูปสิงห์ยังไม่มีการศึกษาโดยละเอียด แต่เชื่อกันว่าเป็นความนิยมที่รับจากพม่า โดยมีเรื่องเล่าว่า

นานมาแล้ว ณ นครแห่งหนึ่ง พระราชามีพระธิดาที่ทรงแต่งงานกับเจ้าชายหนุ่มและมีพระโอรสกับพระธิดา ๒ องค์ กาลนั้นมีราชสีห์ตัวหนึ่งมีความพึงพอใจในตัวเจ้าหญิง รวมถึงพระโอรสและพระธิดา จึงเข้าลักพาทั้งสามพระองค์ไปเลี้ยงดูอย่างดีในป่า ราชสีห์รักพระโอรสและพระธิดาเสมือนลูก เมื่อทั้งคู่เจริญวัยราชสีห์ได้สอนสรรพวิชาโดยเฉพาะเวทมนตร์และวิชาการใช้ธนูที่เรียกว่า ธนูสิงห์ แก่พระโอรสจนมีความสามารถแก่กล้า
 
แต่ตลอดมา ๒ พระองค์มีความสงสัยว่า ทำไมตนและพระมารดามาอยู่กับสัตว์ พระบิดาเป็นใคร เมื่อทูลถามพระมารดา เจ้าหญิงก็ทรงเล่าความจริงให้ฟัง พระโอรสจึงพยายามเดินสำรวจป่าอยู่หลายวัน จนทราบเส้นทางดี วันหนึ่งขณะที่ราชสีห์ออกไปหากิน พระโอรสก็ทรงพาพระมารดาและพระขนิษฐาหนีออกจากป่าจนถึงบ้านเมือง เมื่อไปถึงพระราชวังปรากฏว่าพระราชาเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าชายสวามีได้เป็นพระราชาสืบราชสมบัติแทน ทั้งสี่พระองค์ดีพระทัยมากที่ได้พบกันอีกครั้ง

กล่าวถึงราชสีห์ เมื่อกลับมาไม่พบเจ้าหญิง พระโอรสและพระธิดา จึงออกตามหาด้วยความแค้นเคืองใจเป็นกำลัง มันเข้าไปในเมืองด้วยความบ้าคลั่ง พบเจอมนุษย์ตรงไหนก็คำรามแผดสีหนาทซึ่งเป็นเสียงมรณะใส่มนุษย์นั้น
 
กล่าวกันว่าเสียงคำรามของราชสีห์ใครได้ยินจะสิ้นใจในพริบตา ราชสีห์ฆ่ามนุษย์มาตามทาง ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พระราชาจึงทรงสั่งให้ปราบทันที แต่ไม่มีใครทำอะไรได้เพราะราชสีห์มีฤทธิ์มาก พระโอรสทรงรำพึงว่าที่ผู้คนล้มตายเพราะตนเป็นต้นเหตุจึงอาสาไปปราบ

พระโอรสออกไปประจันหน้ากับราชสีห์ เตรียมประหัตประหารกัน แต่เหล่าเทวดาไม่อยากให้พระโอรสฆ่าผู้มีพระคุณ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ราชสีห์ฆ่าพระโอรสที่จะสืบราชสมบัติ จึงบันดาลให้ทั้งสองฝ่ายใจอ่อน ทั้งสองจึงต่อสู้กันธรรมดา แต่การต่อสู้กันนั้นเนิ่นนานไม่มีใครแพ้ชนะ ที่สุดราชสีห์ระงับอารมณ์ไม่อยู่จึงอ้าปากเพื่อจะแผดสีหนาท พระโอรสเห็นจึงยิงธนูสิงห์เข้าไปในปาก ราชสีห์ก็ล้มลงสิ้นใจตายทันที

ชาวเมืองเซ็งแซ่สรรเสริญพระปรีชาสามารถ ตั้งแต่นั้นมาบ้านเมืองก็สงบสุข และเมื่อพระราชาสวรรคตพระโอรสได้ขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ประชวรมีพระอาการปวดพระเศียรเสมอ แพทย์หลวงก็มิอาจรักษาได้ ทรงทุกขเวทนามาก (บางตำราว่าบ้านเมืองเกิดอาเพศด้วย)

กระทั่งมีปุโรหิตาจารย์ทูลว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะบาปกรรมที่ทรงฆ่าผู้มีพระคุณที่เคยเลี้ยงดูมา ทางแก้คือต้องสร้างรูปสิงห์ไว้บูชา แต่ด้วยพระองค์เป็นกษัตริย์มนุษย์จะสร้างรูปสัตว์ไว้บูชาย่อมไม่สมควรกระทำ แต่เพื่อให้หายจากโรคร้ายจึงทรงเลี่ยงไปสร้างรูปราชสีห์ไว้ตามประตูวัดแทน

เรื่องไม่ได้เล่าต่อว่าพระราชาทรงหายปวดพระเศียรหรือไม่ แต่ก็เกิดธรรมเนียมการสร้างรูปราชสีห์หรือรูปสิงห์เป็นสิงห์คู่ปรากฏอยู่ตามวัดทั่วไป ในเขตล้านนาอย่างที่พบเห็น

ทั้งนี้โบราณาจารย์ล้านนามีความเชื่อเป็นข้อห้ามสืบต่อกันว่า ห้ามมีรูปสัตว์ ๕ ประเภทอยู่ในบ้าน หนึ่งในนั้นคือรูปสิงห์ ดังที่ปรากฏในตำราสัพพะขึด ว่า "รูปอันบ่ดีอยู่ในบ้านมี ๕ ประการ คือว่ารูปช้าง นาค เสือ ราชสีห์และรูปราหู หลอนมีไว้ดั่งอั้น ก็ขึดนักแล" ถ้าเชื่อตามนี้รูปสิงห์ควรอยู่ในวัดเท่านั้น
ที่มา : เหนังสือพิมพ์ข่าวสด










Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กันยายน 2558 14:37:52 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระเจดีย์ ศรีวิชัยจอมคีรี ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 1311 กระทู้ล่าสุด 29 สิงหาคม 2564 18:15:37
โดย Kimleng
วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 297 กระทู้ล่าสุด 22 พฤษภาคม 2566 14:30:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.397 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้