[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:34:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การอบรม ไตรสิกขา :dhammahome  (อ่าน 2946 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กันยายน 2555 21:08:52 »





การอบรม ไตรสิกขา :dhammahome

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง โดยเฉพาะหนทางการดับกิเลส ดังนั้นในเรื่อง
ของศีล สมาธิ และปัญญา ก็ต้องเข้าใจว่า คืออะไร

ศีล มีหลายอย่าง หลายระดับ ทั้ง ศีลที่เรามักเข้าใจกันทั่วไป
คือการงดเว้นจากการทำบาป ทางกาย วาจา เป็นต้น
แต่ มีศีลที่ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ที่เป็นศีล ที่เรียกว่า อธิศีล อันเป็นศีล
ที่เกิดพร้อมกับ สมาธิและปัญญา
สมาธิ โดยทั่วไป ก็เข้าใจกันว่า คือ การนั่งสมาธิให้สงบ แต่ในทางพระพุทธศาสนา
จะใช้คำว่า อธิจิตสิกขา หรือ บางครั้งใช้คำว่า สัมมาสมาธิ ที่มุ่งหมายถึง การเจริญ
สมถภาวนา
และ สมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญาในปัญญาขั้นวิปัสสนา
ปัญญา ปัญญาในพระพุทธศาสนา ก็มีหลายระดับ คือตั้งแต่ ความเห็นถูก เช่น
เชื่อกรรมและผลของกรรม ปัญญาขั้นการฟัง การศึกษา
ปัญญาขั้น   สมถภาวนา และปัญญาขั้น   วิปัสสนาภาวนา

เมื่อพูดถึงหนทางการดับกิเลส จะใช้คำว่า การอบรมไตรสิกขา คืออธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดังนั้นศีลโดยทั่วไป ที่งดเว้นจากบาป
ศาสนาอื่นๆก็มี ไม่ใช่ หนทางที่จะดับกิเลส ไม่ใช่ อธิศีลสิกขา
สมาธิ ที่เป็นการเจริญสมถภาวนาจนได้ฌาน แม้ก่อนพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้น
ก็มีการเจริญสมถภาวนา แต่ สมาธินั้นไม่ใช่ อธิจิตสิกขา
ส่วนปัญญาที่จะเป็นไตรสิกขา อันเป็นหนทางการดับกิเลส
ก็จะต้องเป็น ปัญญา ระดับ  วิปัสสนาภาวนา  ครับ

ดังนั้นเมื่อว่าโดยความละเอียดแล้ว ไม่ได้หมายความว่า
การจะเจริญหนทางการดับกิเลส ที่เรียกว่าไตรสิกขา
จะต้องรักษาศีลก่อน แล้วค่อยอบรมสมาธิ และจึงจะไปเจริญวิปัสสนา
ได้ที่เป็นปัญญาครับ ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่า จิตเมื่อเกิดขึ้น
จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายดวง แม้ขณะที่เป็นสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา
ขณะนั้นก็เป็นจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายดวง
ขณะที่ สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

ทั้ง 2 นี้ เป็น(อธิปัญญา) และมีสัมมาวิริยะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ
(เป็นอธิจิต หรือสมาธิ) และมีเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับ สติปัฏฐาน
ที่เป็นองค์ของสมาธิ ด้วย และมีศีลด้วยในขณะที่สติปัฏฐานเกิด
คือ อินทรียสังวรศีล ศีลที่เป็นการสำรวมทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
ในขณะนั้น ครับ เป็นอธิศีล หรือ สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ
ซึ่งเป็นอธิศีล ก็เกิดพร้อมกับสมาธิและปัญญา ในขณะที่อริยมรรคเกิด

ดังนั้น มีศีล สมาธิ ปัญญาเกิดพร้อมกัน ในการอบรมเจริญวิปัสสนา
ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด และ ขณะมรรคจิตเกิดพร้อมกันครับ
แสดงให้เห็นถึงความละเอียดของธรรมและ
ความละเอียดลึกซึ้งของหนทางการดับกิเลส ครับ

ที่สำคัญ หากไม่มีปัญญา ความเข้าใจเป็นเบื้องต้นแล้ว
ศีล นั้น ก็ไม่ใช่อธิศีลที่เป็นไปในการดับกิเลส
สมาธิ สมถภาวนา ก็ไม่ใช่อธิจิต ที่เป็นไปในการดับกิเลส
เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงจะต้องเริ่มจาก
การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ
จนเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาภาวนาเกิด ขณะนั้น ก็มี
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไตรสิกขาในขณะนั้นแล้ว
โดยไม่ต้องไปทำศีลก่อน เรียงลำดับเลย ครับ เพราะฉะนั้น ปัญญา
จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก ต่อการดำเนินหนทางการดับกิเลส ครับ
ดังนั้น มีศีล มีสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาได้
แต่ เมื่อมีปัญญา ขั้นวิปัสสนา ก็มี ศีล มีสมาธิ  ด้วยครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา



เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่เป็นคำบรรยายโดยท่านอาจารย์สุจินต์ได้ดังนี้ ครับ

ไตรสิกขา และ ความสำคัญของปัญญา
การเจริญสติปัฏฐาน...เป็นการเจริญไตรสิกขา 
การเจริญสติปัฏฐานเป็นไตรสิกขา 
ศีล สมาธิ ปัญญา 
อธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา

อธิจิตตสิกขา
อธิ ( ยิ่ง , ละเอียด ) + จิตฺต ( จิต ) + สิกฺขา ( สภาพที่พึงศึกษา )
สภาพที่พึงศึกษาคือจิตอันยิ่ง  หมายถึง เอกัคคตาเจตสิก
ซึ่งเป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์คือ นามธรรมหรือรูปธรรม
ที่กำลังปรากฏในขณะที่สติปัฏฐานหรือวิปัสสนาญาณเกิด
ขณะนั้นเอกัคคตาเจตสิกอันเป็นตัวสมาธิ ซึ่งทรงแสดงในหัวข้อของ
จิตอันยิ่ง  คือเป็นสมาธิที่ละเอียดเพราะปราศจากความเป็นตัวตน
ไม่เป็นที่ตั้งของตัณหาและทิฏฐิ  สมาธิโดยทั่วไป
แม้ถึงขั้นฌานจิต   ก็ไม่เป็นอธิจิต  เพราะยังเป็นที่ตั้ง
ของตัณหาและทิฏฐิ ยังเป็นเราที่มีสมาธิหรือเป็นฌานจิตของเรา



เชิญคลิกฟังคำบรรยายและเนื้อหาคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ครับ

ศีล สมาธิ ปัญญา
ไตรสิกขาไม่แยกกัน
ไตรสิกขา
ไตรสรณะ - ไตรสิกขา - ไตรลักษณะ
ขออนุโมทนา

คลิกเพื่อ.. อ่าน-ฟัง ค่ะ - http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21629




ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในชีวิตประจำวัน กุศลจิตกับอกุศจิตก็เกิดดับสลับกัน แต่สำหรับ
ผู้ที่เป็นปุถุชนแล้ว อกุศลจิตย่อมเกิดมากกว่า จะเห็นได้ว่ากุศลจิตเกิดน้อยมากจริง ๆ,
ในเรื่องของกุศล ไม่ได้จำกัดเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
เพราะเหตุว่าสภาพจิตที่ดีงามนั้นย่อมเป็นไปในทาน การสละวัตถุสิ่งของ
เพื่อประโยชน์สุข แก่บุคคลอื่นเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าไม่มีวัตถุที่จะให้
ก็ไม่ต้องเดือดร้อน ให้เมื่อตนเองพร้อม เพราะว่าทาน
ไม่ได้มีเฉพาะวัตถุทานเท่านั้น ยังมีอภัยทาน คือไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธผู้อื่น
ให้อภัยในความผิด ที่ผู้อื่นได้กระทำ ก็เป็นทานเหมือนกัน เป็นไปในศีล

ความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม งดเว้นทุจริตประการต่าง ๆ
และประพฤติสุจริตประการต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปทางกายและทางวาจา
ผู้ที่จะมีศีล ๕ ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยที่ไม่มีการก้าวล่วงอีกเลย ต้องเป็น
พระโสดาบัน แต่ในฐานะที่เป็นปุถุชน ย่อมมีการล่วงศีลบ้าง
เป็นบางครั้งบางคราว แต่ก็สามารถที่จะเริ่มต้นขัดเกลาตัวเองใหม่ได้

ด้วยความตั้งใจจริงที่จะไม่ก้าวล่วงอีก เป็นไปในภาวนา
คือ การอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก
ในลักษณะของสภาพธรรม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ภาวนานั้นจะขาดปัญญาไม่ได้เลย
การอบรมเจริญปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อละความเห็นผิด
ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะแท้ที่จริงแล้ว
ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นไปตามลำดับ
ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่ากุศลเป็นสิ่งที่ดี
เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ควรเจริญให้มีขึ้น
ดังนั้นผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน
ท่านจะไม่เว้นโอกาสของการเจริญกุศลเลย
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น (โดยที่ไม่หวังสิ่งใดๆ เลย)
บางคราวเป็นโอกาสของทาน บางคราวเป็นโอกาสของศีล
และที่สำคัญจะไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม
เพื่อความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ตามความเป็นจริง  ครับ

                      ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น: ศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.474 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มกราคม 2567 20:31:53