[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 23:59:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายของ "ตำนาน"  (อ่าน 13254 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 10 มกราคม 2556 14:45:07 »

.


ตำนาน

ตำนาน เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทหนึ่ง  เดิมเป็นเพียงการจดจำบอกเล่าเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาในรูปแบบของ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า”  ต่อมาภายหลังจึงได้มีการจดบันทึกเรื่องราวของตำนานต่างๆ ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อให้เกิดประโยชน์ในการรับรู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของสังคมแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาค อันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจและเป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมากขึ้นโดยลำดับ

จารีตการเขียนตำนาน
ในระยะแรกราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ นั้น  ตำนานเป็นงานเขียนที่บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตที่ไกลมากแล้ว  ในระยะนี้มีการนำเรื่องพุทธศาสนามาเป็นแกนกลางสำคัญในการเขียนเรื่อง โดยสอดแทรกเรื่องราวของพุทธประวัติ การเผยแพร่พุทธศาสนา ตลอดจนคำสอนต่างๆ ไว้ในเนื้อเรื่อง  ตำนานประเภทนี้พบมากในงานเขียนของล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑    ด้วยเหตุที่เป็นระยะที่พุทธศาสนาลังกาวงศ์ในล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก งานเขียนจำนวนมากเขียนขึ้นโดยพระสงฆ์ที่เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา  ดังนั้น เรื่องราวของตำนานต่างๆ จึงมักปรากฏอิทธิพลจากการเผยแพร่แนวคิดเรื่องพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เป็นสำคัญ  เช่น ชินกาลมาลีปกณ์ แต่งโดยพระรัตนปัญญา จามเทวีวงศ์  แต่งโดย พระโพธิรังสี เป็นต้น  นอกจากนี้ ในส่วนของดินแดนอื่นที่ได้รับอิทธิพลจากการเผยแพร่พุทธศาสนาลังกาวงศ์ เช่น สุโขทัย อยุธยา ก็ปรากฏงานเขียนที่มีลักษณะเช่นเดียวกับตำนาน แต่มิได้ตั้งชื่อว่าเป็น “ตำนาน” ก็มี เช่น พงศาวดารเหนือ เป็นต้น

ประเภทของตำนาน
ตำนานแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
๑.ตำนานที่มีเนื้อหาดึกดำบรรพ์  เป็นตำนานที่เขียนด้วยภาษาไทยยวน มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองและการสลายตัวของเมืองต่างๆ ในเขตล้านนา ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘  นอกจากนี้ยังปรากฏเรื่องราวปรัมปราของกำเนิดมนุษย์ ตลอดจนเรื่องราวของกษัตริย์และบรรดาราชวงศ์  ตำนานประเภทนี้ไม่สามารถระบุชื่อผู้แต่งและเวลาที่แต่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานสิงหนวัติกุมาร เป็นต้น

๒.ตำนานที่มีเนื้อหาแบบประวัติศาสตร์สากล หมายถึงตำนานที่มีเนื้อหาหลากหลาย  ในส่วนแรกจะเริ่มเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติมาจนถึงการเผยแผ่พุทธศาสนาในลังกาและล้านนา  บางครั้ง อาจกล่าวถึงการสังคายนาพุทธศาสนาในสมัยต่างๆ อีกด้วย  เนื้อเรื่องส่วนต่อมาจะเป็นเรื่องราวของราชวงศ์มังราย โดยเริ่มตั้งแต่กำเนิดราชวงศ์  พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระราชกรณียกิจทางศาสนาอันเป็นการแทรกแนวความคิดและความเชื่อทางพุทธศาสนาในเนื้อเรื่องมาโดยลำดับ  ตำนานกลุ่มนี้มักจะระบุชื่อผู้แต่ง และระยะเวลาที่แต่งได้แน่นอน เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดยพระรัตนปัญญา แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๐ เป็นต้น

๓.ตำนานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ เป็นกลุ่มตำนานที่มีจำนวนมากที่สุด เนื้อหาจัดอยู่ในกรอบพุทธศาสนาเช่นกัน แต่มีขอบเขตมุ่งเน้นอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ เช่น ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ  ตำนานพุทธสิงหิงค์ เป็นต้น

คุณค่าของตำนาน ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ชั้นต้น  แม้ว่าจะมีส่วนบกพร่องในเรื่องข้อเท็จจริงอยู่บ้าน แต่หากนำมาวิเคราะห์เทียบเคียงกับเอกสารร่วมสมัย หรือหลักฐานอื่นๆ ประกอบกัน อาทิ หลักฐานทางด้านโบราณคดี หรือมานุษยวิทยา ก็อาจช่วยอธิบายเรื่องราวของอดีตให้คลี่คลายและนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนประวัติความเป็นมาของสังคมแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตำนานเป็นงานที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมทางความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนทัศนคติของคนหลายยุคสมัยสืบต่อกันมา ดังนั้น ตำนานจึงเปรียบเสมือนผลงานทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ได้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้อันมีคุณค่าประเมินมิได้
 


ข้อมูล : หนังสืออักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย  หน้า ๓๘๘ - ๓๙๑  จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 11:42:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 15:43:43