[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 08:32:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของ "แซ่" นามสกุลของคนจีน  (อ่าน 2676 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 23.0.1271.97 Chrome 23.0.1271.97


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มกราคม 2556 13:03:32 »

ที่มาของ "แซ่" นามสกุลของคนจีน



คนไทยเรานั้น นอกจาก “ชื่อ” แล้ว ยังต้องมี “นามสกุล” กำกับอยู่ด้วยเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า ตนถือกำเนิดขึ้นในตระกูลใด คนจีนก็เช่นเดียวกัน คือต้องมี “แซ่” หรือนามสกุล ซึ่งเริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อน ตามพระบัญชาของจักรพรรดิ จึงถือว่าเป็นชนชาติแรกที่มีนามสกุลใช้กันอย่างเป็นทางการ
แต่เดิมคนจีนมีเพียงชื่อที่ใช้เรียกเพื่อบ่งบอกตัวบุคคล ต่อมาเมื่อสังคมจีนขยายตัว จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชื่อที่ใช้เรียกตัวบุคคลจึงซ้ำไปซ้ำมาเป็นจำนวนมาก จนเกิดความสับสนในการระบุตัวบุคคล ประกอบกับบรรดาขุนศึก ขุนนาง และชนชั้นสูงในสังคมจีนยุคจ้านกว๋อ หรือยุคเลียดก๊ก (พ.ศ.66 - 321) ต้องการสะสมกำลังคนเพื่อสร้างฐานอำนาจให้กับตนเอง จึงตั้งชื่อตระกูลหรือ “แซ่” ขึ้น แล้วรวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่ในแซ่เดียวกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นกว่าการเป็นนายและบ่าวแบบเดิม

จากนั้นก็เริ่มมีการใช้แซ่กันอย่างแพร่หลายขึ้น จนกระทั่งในรัชสมัย “สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู” (พ.ศ.337 - 348) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนาง พ่อค้า ไปจนถึงไพร่สามัญชน โดยให้แซ่ถ่ายทอดจากฝ่ายบิดาลงมาสู่บุตร ตั้งแต่นั้นประเทศจีนจึงมีการใช้แซ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 23.0.1271.97 Chrome 23.0.1271.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มกราคม 2556 13:05:14 »

แม้คนจีนทุกคนจะมีแซ่ใช้กันอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แต่จำนวนแซ่กลับมีอยู่ไม่มาก เพราะไม่ตั้งกันขึ้นมาอย่างพร่ำเพรื่อ แต่ใช้การสืบทอดต่อๆ กันมานานนับพันปี จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์พบว่าในอดีตเคยมีแซ่อยู่ประมาณ 24,000 แซ่ แต่ปัจจุบันหายสาบสูญไปมาก เหลือที่ใช้กันจริงอยู่ประมาณ 5,000 แซ่ แต่แซ่ที่พบเห็นได้บ่อยๆ มีอยู่เพียงประมาณ 2,000 แซ่เท่านั้น ในขณะที่คนจีนมีอยู่มากถึง 1 ใน 4 ของประชากรโลก ทำให้หนึ่งแซ่หรือหนึ่งตระกูลของคนจีนมีจำนวนสมาชิกอยู่มากมายมหาศาล

เมื่อปี พ.ศ.2550 รัฐบาลจีนได้ทำสำรวจแซ่ตระกูลจีนที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน พบว่า แซ่ที่มีการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศจีนคือ แซ่หวัง (เฮ้ง), หลี่ (หลี) และจาง (เตีย) ซึ่งมีผู้ใช้รวมกันเกือบ 300 ล้านคน หรือประมาณแซ่ละ 100 ล้านคน ซึ่งเพียงแค่แซ่เดียวก็มากเกือบเป็นสองเท่าของประชากรไทยทั้งประเทศแล้ว
รองลงมาก็คือ
หวัง (เฮ้ง) 王
หลี่ (หลี) 李
จาง (เตีย) 张
หลิว (เล่า) 刘
เฉิน (ตั้ง) 陈
หยาง (เอี๊ย) 杨
หวง (อึ๊ง) 黄
จ้าว (เตี๋ย) 赵
อู๋ (โง้ว) 吴
โจว (จิว) 周
โดยแต่ละแซ่มีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคน

10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศจีน ได้แก่
ส่วนคนจีนในประเทศไทยหรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงใช้แซ่ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อปี พ.ศ.2535 มีการสำรวจพบว่า แซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศไทยคือ
แซ่เฉิน (ตั้ง),
หลิน (ลิ้ม) ประมาณแซ่ละ 80,000 คน
และแซ่หลี่ (หลี) ประมาณ 50,000 คน
ส่วนอันดับต่อมาอีก 7 อันดับ มีผู้ใช้อยู่ในหลักหมื่นคน

10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่
นอกจากนั้นยังใช้การแปลความหมายของแซ่เป็นภาษาไทย แล้วตั้งเป็นนามสกุลใหม่ เช่น “บรรหาร ศิลปอาชา” แซ่เดิมคือ “หม่า” (เบ๊) ที่แปลว่าม้า (อาชา) จึงแปลงเป็นนามสกุลไทยว่า “ศิลปอาชา” หรือนามสกุล “อัศวเหม” ที่แปลว่าม้าทองคำ ก็มาจากแซ่ “หม่า” (เบ๊) เช่นเดียวกัน
เฉิน (ตั้ง) 陈
หลิน (ลิ้ม) 林
หลี่ (หลี) 李
หวง (อึ๊ง) 黄
อู๋ (โง้ว) 吴
สวี่ (โึค้ว) 徐
จาง (เตีย) 张
เจิ้ง (แต้) 郑
หลิว (เล่า) 刘
หวัง (เฮ้ง) 王
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2556 13:07:22 โดย Compatable » บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 23.0.1271.97 Chrome 23.0.1271.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 มกราคม 2556 13:06:31 »

ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากได้แปลงแซ่มาเป็นนามสกุลตามภาษาไทย
เพื่อให้กลมกลืนกับคนไทยมากขึ้น แต่บางนามสกุลก็ยังพอที่จะสืบไปถึงแซ่เดิมได้อยู่ เช่น
“ป๋วย อึ๊งภากรณ์” มีแซ่เดิมคือ “หวง” (อึ๊ง) ก็ใช้การเติมคำไทยต่อท้ายแซ่ กลายเป็น “อึ๊งภากรณ์”
หรือ “สนธิ ลิ้มทองกุล” มีแซ่เดิมคือ “หลิน” (ลิ้ม) ก็กลายเป็น “ลิ้มทองกุล”

 

ที่มาข้อมูล dek-d
ที่มารูปภาพ topicstock.pantip.com
บันทึกการเข้า
คำค้น: ชื่อ แซ่ นามสกุล สกุล จีน คนจีน ชาวจีน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประวัติ ที่มาของ "ดินสอ" ของที่ใช้อยู่ทุกวัน
สุขใจ ห้องสมุด
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 3 5063 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2553 13:19:56
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ที่มาของ “ลอดช่องสิงคโปร์”
สุขใจ ห้องสมุด
wondermay 1 8680 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2555 00:29:46
โดย หมีงงในพงหญ้า
ที่มาของ แพะรับบาป ทำไม "แพะ" ต้องรับบาปแกะรับแทนไม่ได้หรอ
สุขใจ ห้องสมุด
Compatable 0 1750 กระทู้ล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2555 12:40:44
โดย Compatable
ที่มาของ "เบี้ยแก้ "เครื่องรางของขลังจากภูมิปัญญาพระเกจิคณาจารย์ของไทย
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
Maintenence 3 11376 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2558 09:07:09
โดย Maintenence
ที่มาของ "เข้ากระดูกดำ"
สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
ฉงน ฉงาย 0 1006 กระทู้ล่าสุด 26 มกราคม 2564 10:58:50
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.27 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 ชั่วโมงที่แล้ว