[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 16:47:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แคว้นตามพรลิงค์ ชุมชนโบราณภาคใต้  (อ่าน 17061 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 มกราคม 2556 11:47:10 »

.


เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)

แคว้นตามพรลิงค์ ชุมชนโบราณภาคใต้

ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตามหลักฐานโบราณคดี พบว่ามีแคว้นเกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย ๔ แคว้นคือ แคว้นไชยา แคว้นตามพรลิงค์ หรือแคว้นนครศรีธรรมราช  แคว้นสทิงพระ และแคว้นทางปัตตานียะลา

แคว้นไชยา ตั้งแต่อำเภอท่าชนะถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอพุนพิน แต่ไม่ถึงอำเภอพระแสงและอำเภอเวียงสระ วัฒนธรรมในแคว้นนี้ มีทั้งฮินดูและพราหมณ์ สัมพันธ์กับทางภาคกลาง เพราะว่าศิลปะแบบทวาราวดีมีพบในแคว้นนี้มาก เช่น พระพิมพ์ดินดิบที่อำเภอพุนพิน พบธรรมจักร พบพระพุทธรูปมากมายที่ถ้ำอำเภอกาญจนดิษฐ์ พระพิมพ์ดินดิบมีลักษณะศิลปะแบบทวาราวดี

แคว้นตามพรลิงค์ หรือแคว้นนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เขตอำเภอสิชลจนถึงนครศรีธรรมราช มีลักษณะแตกต่างจากเขตไชยา มีอิทธิพลฮินดูมาก โดยเฉพาะเขตสิชล ท่าศาลา ศาสนสถานส่วนใหญ่เป็นฮินดู และที่นครศรีธรรมราชนั้นแปลก คือพบของทวารวดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนย้ายมามากกว่า

แคว้นสทิงพระ อยู่ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระและพัทลุง คือบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา

แคว้นสุดท้าย ตั้งแต่ปากน้ำปัตตานี เรื่อยไปถึงยะลา ไม่ปรากฏชื่อแคว้น

ตามหลักฐานทางโบราณคดี ถือว่าแคว้นตามพรลิงค์หรือแคว้นนครศรีธรรมราช เป็นแคว้นสำคัญที่สุด  เพราะนครศรีธรรมราชเป็นด่านสำคัญ  บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชพบวัฒนธรรมซึ่งผสมกันระหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายตะวันออก โดยมีนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง แล้วผ่านเขตกระบี่ ตรัง ทุ่งสง มาถึงนครศรีธรรมราช

จากแคว้นตามพรลิงค์
มาเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช
 
กำเนิดอาณาจักรตามพรลิงค์ จากหลักฐานทางโบราณคดีหรือหลักฐานเอกสารหนังสือจดหมายเหตุ ที่ได้บันทึกจัดทำขึ้นแต่แรกนั้น นอกจากมีน้อยแล้ว ส่วนใหญ่ก็ชำรุดสูญหายไป ที่พอมีอยู่ก็มักคลุมเครือไม่ให้ความการะจ่าง หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็น่าจะเป็นหนังสือคัมภีร์บาลีมหานิทเทศที่ได้กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ครั้งแรก  อาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งต่อมากลายเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขนาดย่อมกว่าเล็กน้อยถ้าเทียบกับเมืองสำคัญในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง แต่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและถือว่าเก่าแก่ที่สุดบนแหลมมลายู ซึ่งหมายความว่าอาณาจักรตามพรลิงค์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช จะต้องกำเนิดอยู่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ ก่อนที่จะบันทึกไว้ในคัมภีร์บาลีมหานิทเทศ หรือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่ชาวอินเดียจะเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์

ในเขตอาณาจักรตามพรลิงค์ ได้พบศิลาจารึกหลายแห่งโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน ได้พบศิลาจารึกโบราณอย่างน้อย ๕ หลัก คือ
จารึกหลักที่ ๒๓ พบที่วัดเสมาเมือง เป็นภาษาสันสกฤต สลักเมื่อ พ.ศ. ๑๓๑๘
จารึกหลักที่ ๒๗ พบที่วัดมเหยงคณ์  เป็นภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือ หลังจากนี้
จารึกหลักที่ ๒๘ พบที่วัดพระมหาธาตุ เป็นอักษรรุ่นเก่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑
จารึกหลักที่ ๒๙ พบที่วัดพระมหาธาตุ เป็นภาษาทมิฬ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ หรือหลังจากนี้

อาณาจักรตามพรลิงค์ หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองและสำคัญยิ่งบนแหลมมลายู และมีอำนาจยากจะหาเมืองใดเทียบได้  ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ เช่น ขวานหิน กำไล หม้อ ตะคัน ลูกปัด โครงกระดูก ในเกือบทุกจังหวัด  อาณาจักรตามพรลิงค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน หรือเป็นเมืองเดียวกันกับที่ฝรั่งชาติโปรตุเกสเรียกว่าลิกอร์  มีหลักฐานว่าเมืองไขยาก็มีลักษณะคล้ายกับจะเป็นศูนย์กลางอาณาจักรอีกแห่งหนึ่ง ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒๘  พบที่ศาลตาปะหมอใต้โคนต้นสำโรงใหญ่ริมรั้ววัดเวียงไชยา เป็นภาษาสันสกฤตสลักขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓ กล่าวว่าพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช พระราชาแห่งประเทศตามพรลิงค์โปรดให้จารึกขึ้นโดยกล่าวแสดงถึงสิ่งที่อุทิศถวายแด่ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา โดยเหตุที่ตำแหน่ง “ศรีธรรมราชเป็นตำแหน่งเฉพาะของผู้ครองนครศรีธรรมราช และพระนาม “จันทรภาณุ” ก็เป็นตำแหน่งมหาอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชโดยตรง จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ศิลาจารึกนี้ น่าจะอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยสับเปลี่ยนกันกับศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ วัดเสมาเมือง

การเลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งเมืองก็อยู่ในทำเลที่เหมาะสมและแปลกมาก นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย หรือทางฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู ค่อนมาทางตอนเหนือของแหลมมลายูเล็กน้อย บ้านเรือน  ศาสนสถาน ตั้งอยู่บนแนวสันทรายอันเป็นที่ดอนริมชายทะเล  มีเทือกเขานครศรีธรรมราชที่มีทรัพย์ยากรอุดมสมบูรณ์เป็นฉากหลังของอาณาจักร และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำลำคลองหลายสายที่สามารถใช้เพาะปลูก และเป็นเส้นทางคมนาคม จึงเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าค้าขายชายทะเล  อาณาจักรตามพรลิงค์จึงเป็นเสมือนประตูทางผ่านหรือชุมทางเดินเรือ    

ชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรตามพรลิงค์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช มีเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ตามความรู้ความเข้าใจและสำเนียงภาษาของชนชาติ ซึ่งเคยเดินทางผ่านมาต่างระยะเวลากัน ชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรตามพรลิงค์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช มีดังนี้
๑.ตามพลิงคม หรือ ตมพลิงคม เป็นภาษาบาลีปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิทเทศ เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณ กล่าวถึงการเดินทางของนักเผชิญโชค เพื่อแสวงหาโชคลาภ ความร่ำรวยยังดินแดนต่างๆ อันห่างไกลในเอเชียอาคเนย์

๒.ตามพรลิงค์ เป็นภาษาสันสกฤต  เป็นศิลาจารึก ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือหลังจากนี้ และปรากฏในหลักศิลาจารึกสมัยต่อมา เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๒๔

๓.มัทธมาลิงคัม เป็นภาษาทมิฬ ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ที่พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ กษัตริย์แห่งคาดารัมในอินเดียภาคใต้ โปรดให้จารึกไว้ที่เมืองตันชอร์ ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๗๓-๑๕๗๔ ภายหลังที่ทรงส่งกองทัพไปปราบเมืองต่างๆ ในอาณาจักรศรีวิชัย จนได้รับชัยชนะหมดแล้ว ในบัญชีรายชื่อเมืองท่าต่างๆ ที่พระองค์ทรงตีได้นั้น มีเมืองตามพรลิงค์อยู่ด้วย

๔. ตัน-มา-ลิง  เป็นชื่อที่เฉาจูกัวและวังตาหยวน-นักจดหมายเหตุจีน ได้เขียนหนังสือชื่อ เต่า-อี-ชี-เลี้ยว นอกจากนี้นักจดหมายเหตุจีนรุ่นก่อนก็เคยบันทึกไว้  ดังปรากฏในหนังสือ สุงชี  ซึ่งบันทึกไว้ว่า อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ส่งทูตไปติดต่อทำไมตรีกับเมืองจีเมื่อ พ.ศ.๑๕๔๔ ศาสตราจารย์ชิลแวง เลวี  มีความเห็นว่า คำ ตมะลี  ที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศ อาจตรงกับคำ ตมภลิง ที่เกิดของท่านพุทธปาลิตผู้คงแก่เรียน และเป็นคำเดียวกับคำว่าตามพรลิงค์ ตามที่ปรากฏในที่อื่นๆ

๕.สิริธรรมนคร ซึ่งหมายถึงชื่อเมืองหรือนคร ถ้าหมายถึงชื่อกษัตริย์ก็จะเรียกว่าพระเจ้าสิริธรรม หรือพระสิริธรรมนคร หรือพระเจ้าสิริธรรมราช เป็นชื่อที่ปรากฏในหนังสือบาลีเรื่องจามเทวีวงศ์ ซึ่งพระโพธิรังสี พระเถระชาวเชียงใหม่แต่งประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑  นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งท่านรัตนปัญญาพระเถระชาวเมืองเชียงใหม่ แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๑  ส่วนในหนังสือนิทานพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระโพธิรังสีแต่งไว้เป็นภาษาบาลีประมาณระหว่าง พ.ศ.๑๙๔๕-๑๙๘๔  ในรัชกาลพระเจ้าสามฝังแกนหรือพระเจ้าวิไชยดิส  ครองราชย์ในนครเชียงใหม่ อาณาจักรลานนาไทย เรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมราช ซึ่งก็เป็นคำเดียวกัน

๖.ลิกอร์ (Ligor) เป็นชื่อที่พ่อค้าชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นชาติแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้เรียกต่างไปเป็นละกอร์ก็มี  คำว่าลิกอร์นี้ฝรั่งเรียกเพี้ยนไปจากคำ “นคร”  ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อย่อของเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากชาวโปรตุเกสไม่ถนัดในการออกเสียง –น.-  ถนัดออกเสียง –ล-

๗.นครศรีธรรมราช เป็นชื่อที่คนไทยฝ่ายเหนือเรียกขนานนามราชธานี “ศรีธรรมราช” ตามนามอิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนคร และได้เรียกกันมาตราบจนทุกวันนี้

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เมืองหลวงของอาณาจักรตามพรลิงค์ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบันนี้ คือตรงละติจูด ๘ องศา ๑๘ ลิปดา ซึ่งเดิมเรียกกันว่า ลิกอร์ และอีกหลายชื่อ  หลักฐานที่สำคัญได้แก่ ซากเมืองโบราณ ตลอดจนที่ตั้งชุมชนโบราณขนาดใหญ่หลายแห่งในท้องที่นครศรีธรรมราช



ที่มา : สารนครศรีธรรมราช ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔     

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 11:32:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.347 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 16:19:31