[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:07:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของ ผีอำ  (อ่าน 2294 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2553 00:53:51 »

คนที่เคยถูก “ผีอำ “จะเจอเหตุการณ์นี้ตอนหลับ นั้นแสดงว่าผีอำเกี่ยวข้องกับการนอน ดังนั้น ก่อนที่จะกล่าวถึงสาเหตุ ของการเกิดภาวะผีอำ เรามาทำความเข้าใจกับเรื่องการนอนหลับ ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์กันก่อน

โดยปกติการหลับของคนเราแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑. ลักษณะแบบตาไม่กระตุก ( non – rapid eye movement sleep หรือ non – REM หรือ synchronized sleep )
๒. ลักษณะแบบตากระตุก ( rapid eye movement sleep หรือ desynchronized sleep หรือ fast wave sleep )

เมื่อคนเราเริ่มหลับ การหลับจะเริ่มด้วยแบบตาไม่กระตุกก่อน ประมาณ ๖๐ – ๙๐ นาที แล้วเปลี่ยนเป็นแบบตากระตุกประมาณ ๕ – ๑๐ นาที แล้วจะเปลี่ยนเป็นแบบตาไม่กระตุกใหม่ สลับกันไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ โดยช่วงที่หลับแบบตาไม่กระตุกจะสั้นลง ๆ และช่วงที่หลับแบบตากระตุกจะยาวขึ้น ๆ เมื่อใกล้ตื่น
โดยเฉลี่ยช่วงที่หลับแบบตาไม่กระตุก รวมทั้งหมดจะประมาณ ร้อยละ ๗๕ – ๘๐ ของเวลาหลับทั้งหมด ส่วนช่วงที่หลับแบบตากระตุก รวมทั้งหมดจะประมาณร้อยละ ๒๐- ๒๕ และการหลับช่วงสุดท้ายก่อนที่จะตื่นขึ้นตามธรรมชาตินั้นจะเป็นการหลับแบบตากระตุก

การหลับแบบตาไม่กระตุก
การหลับแบบตาไม่กระตุก แบ่งออกได้เป็น ๔ ลักษณะ ตามลักษณะของคลื่นไฟฟ้าสมอง คือ
ระยะที่ ๑ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองเริ่มช้าลง เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ง่าย แม้เพียงแค่เรียกชื่อเบา ๆ แตะตัวเบา ๆ หรือปิดประตูเบา ๆ
ระยะที่ ๒ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองช้าลงอีก และเป็นลักษณะคลื่นหลับ เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยากขึ้น
คนที่อยู่ในระยะที่ ๑- ๒ คือคนที่กำลังจะหลับ หรือ หลับ ๆ ตื่น ๆ ซึ่งตาจะกลอกไปมาช้า ๆ ในขณะที่หลับอยู่ซึ่งการหายใจในช่วงนี้จะไม่สม่ำเสมอและอาจจะมีการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองช้าและใหญ่ขึ้นอย่างมาก และพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบนี้อย่างน้อยร้อยละ ๒๐ แต่ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของคลื่นไฟฟ้าสมองที่บันทึกได้ ระยะนี้กินเวลาเพียงไม่กี่นาที ก็จะเข้าระยะที่ ๔
ระยะที่ ๔ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองที่ช้าลงและใหญ่มากนี้จะพบได้เกินร้อยละ ๕๐ และระยะนี้จะกินเวลา ประมาณ ๒๐- ๔๐ นาที
ระยะที่ ๓ -๔ นี้ เป็นระยะที่คนหลับลึก หลับสนิท ตาทั้ง ๒ ข้างหยุดการเคลื่อนไหว การหายใจจะเปลี่ยนเป็นแบบสม่ำเสมอและหายใจช้าลง ๆ หัวใจ ( ชีพจร ) จะเต้นช้าลง ๆ ความดันเลือดจะลดลง ๆ กล้ามเนื้อจะอ่อนตัวลง แต่ไม่ถึงขั้นอัมพาต
การหลับที่เข้าสู่ระยะที่ ๓ -๔ นี้ เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยาก คนที่หลับอยู่ในระยะนี้ ถ้าถูกปลุกอย่างรุนแรงจนตื่นจะมีอาการสับสนเลอะเลือน ละเมอเพ้อพก หรือจำในสิ่งที่ตนเองทำไปไม่ได้เลยอย่างเช่น การเดินละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน หรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟันขณะหลับ
ประมาณกันว่าในคืนหนึ่ง ๆ คนเราจะมีการพลิกตัว ขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าทางการนอนอย่างน้อย ๘ – ๙ ครั้ง เมื่อลักษณะการหลับเปลี่ยนจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง ( จากแบบตาไม่กระตุกเป็นแบบตากระตุก )

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2553 00:56:03 »

การหลับแบบตากระตุก
การหลับแบบตาไม่กระตุก เป็นการหลับที่คลื่นไฟฟ้าสมองมีลักษณะเหมือนกับในขณะที่ตื่นอยู่ การหลับแบบนี้เป็นการหลับที่ประกอบด้วยการกระตุก ( การเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ) ของตาทั้ง ๒ ข้างเป็นพัก ๆ ภายใต้หนังตาที่หลับอยู่ ช่วงนี้การหายใจจะไม่สม่ำเสมอและช้าลงกว่าแบบตาไม่กระตุก มีการหายใจทางท้อง ( หายใจโดยใช้กระบังลม ) เป็นสำคัญ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเอนตัวลงมากเหมือนเป็นอัมพาต ยกเว้นกล้ามเนื้อตาที่ยังทำงานให้ตากระตุกเป็นพัก ๆ
ในขณะที่หลับแบบตากระตุกนี้ เป็นช่วงที่ปลุกให้ตื่นได้ง่าย หรือบางคนก็อาจจะตื่นเอง และมักจะจดจำความฝันต่างๆ ในช่วงก่อนตื่นได้ ( เพราะฝันในช่วงที่หลับแบบตากระตุกนี้ )

ผีอำ......หรือผีจริง

ตอนเป็นเด็กผู้เขียนเคยได้ยินผู้ใหญ่รุ่นก่อน ๆ พูดให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่าอย่านอนหลับตอนเวลาโพล้เพล้ หรืออย่านอนขวางประตูเดี๋ยวจะถูก “ ผีอำ “ ความจริงตัวเองก็นอนหลับในช่วงเวลาเย็น บ่อยๆ แต่ไม่เคยถูกผีอำสักที
วันหนึ่งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้เจอสภาวะผีอำเป็นครั้งแรก ( และครั้งเดียว ) ในชีวิต ตอนนั้นเผลอหลับไปในช่วงใกล้ค่ำ แถมยังนอนขวางกลางประตูห้องอีกต่างหาก แล้วในขณะที่กำลังจะตื่นเพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับหลายชั่งโมงแล้ว ก็พยายามจะลุกขึ้น แต่ขยับตัวไม่ได้ แขน ขาทำไมถึงอ่อนเปลี้ย ไปหมด แล้วก็เห็นคนมายืนคร่อมศีรษะอยู่
ตอนนั้นผู้เขียนกลัวมาก คิดว่าถูกผีเจ้าที่หลอก พยายามตะโกนร้องให้คนช่วย แต่ไม่มีใครได้ยิน สักพักก็รู้สึกตัวตื่น ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเกิดขึ้นจริง เล่าให้คนในบ้านฟัง เขาก็บอกว่านั้นแหละถูกผีอำเข้าให้แล้ว แต่ที่ไม่มีคำตอบให้คือ สิ่งที่เราเจอนั้นมันคือผีจริงหรืออะไรกันแน่
เวลาผ่านไปนานมาก......นานจนลืม วันหนึ่งมีคนมาถามว่ามีข้อมูลเรื่องผีอำไหม ช่วยหาให้หน่อยซิ ผู้เขียนก็ไปค้นคว้าและสอบถามผู้รู้ ( เพราะอยากรู้คำตอบเหมือนกัน ) ก็ได้ความว่าเรื่องนี้ต้องไปคุยกับจิตแพทย์ และจิตแพทย์ที่เป็นผู้ไขข้อข้องใจเรื่องผีอำให้เราทุกคนได้ทราบ ก็คือ นายแพทย์ เทอดศักดิ์ เดชคง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาบริการสุขภาพจิต สำนักพัฒนาบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข

“ผีอำเป็นปัญหาในการนอน เป็นความผิดปกติในการนอน คือการนอนมีหลายประเภท เช่น นอนปกติ นอนแล้วฝัน ฝันร้าย หรืออยู่ดีๆ ก็ร้องขึ้นมา ซึ่งเราจะเจอในเด็ก ส่วนฝันร้ายเจอได้ทุกอายุ
ผีอำนั้นเป็นสภาวะที่คล้าย ๆ กับการฝัน เพราะขณะที่ถูกผีอำคนคนนั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้ ต้องเข้าใจนิดนึงงนะครับว่า มันจะมีสภาวะการหลับที่เราเรียกว่า non-REM ซึ่งช่วงนั้นเวลานอนตาเราไม่ได้กลอก เพราะฉะนั้นเรายังพอมีกำลังขยับตัวได้ พลิกตัวได้ ช่วงเวลานั้นถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราจะลุกขึ้นมาได้
แต่ในภาวะหลับตาแบบตากระตุก ( REM sleep ) จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ยกเว้นต้องตื่น คำว่าตื่น หมายถึงต้องมีการเขย่าตัวรุนแรง แล้วในช่วงเวลานั้นถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้เราไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบายนักก็จะมีการแปลภาวะนั้นเป็นความไม่สบาย แล้วบางทีก็ไปผูกเรื่องกับความฝัน ทำให้เขาอยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นในภาวะอย่างนั้น ก็จะเป็นสภาวะที่เขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับเขา มันเป็นสภาวะที่หลีกหนีไปไม่ได้ แต่สักพักนึงเขาจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง คนถูกผีอำ ยังไงก็ตามไม่ตายหรอก ! ต้องฟื้นมาแน่ แต่สิ่งที่เขาจะกลัวก็คือ เป็นแล้วอาจจะเป็นอีก ซึ่งเราเจอได้บ่อย ๆ “

โรคทางกายหรือโรคทางใจ
ประเด็นนี้คิดว่าหลายคนคงอยากทราบเหมือนกันว่า “ผีอำ “ เกี่ยวข้องกับโรคทางด้านจิตใจ หรือโรคทางร่างกายบ้างหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอเทิดศักดิ์ได้ให้คำอธิบายว่า

“ ผีอำโดยทั่วไปมักจะเกี่ยวข้องกับการนอน และสัมพันธ์กับสถานการณ์ ในชีวิตประจำวัน เช่น สถานการณ์ที่ทำให้เขากังวล ตื่นเต้น พูดได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่คนจะถูกผีอำได้ ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตใจอะไรหรอก เป็นเพียงตะกอนความคิดที่เกิดจากชีวิตประจำวัน บางคนหาทางออกไม่ได้ ก็ไปออกในช่วงที่นอน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคนคนนั้นเริ่มมีภาวะความเครียด แล้วเดี๋ยวร่างกานก็ปรับสมดุลของมันไปเอง ไม่มีที่นอนแล้วผีอำทุกวัน ไม่ถือเป็นโรค ไม่มีอะไรน่ากลัวแล้วมันจะหายเอง
ยกเว้นบางรายที่เป็นมาก พวกนี้แสดงว่าปัญหาเยอะ แล้วมักจะเก็บไปฝัน ซึ่งบางคนอาจจะมาในแง่ฝันร้าย คือว่าถ้าฝันร้ายแล้วหลับสนิท เขาก็จะเล่นไปในฝันนั้นแหละ แต่ถ้าตื่นขึ้นมานิดนึงก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะ ! ทำไมขยับตัวไม่ได้ คือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น กำลังเคลิ้ม ๆ เหมือนจริง นั้นคือสภาวะของผีอำ “

การรักษาภาวะ “ผีอำ “
ตามธรรมชาติ คนทั่วไปจะต้องเคยโดนผีอำกันมาบ้าง แต่อาจจะจำไม่ได้แล้ว “ ผีอำ “ มักจะนานๆ เป็นสักครั้ง แล้วก็หายไปเอง แต่สำหรับคนที่เป็นบ่อย ๆ คุณหมอ เทอดศักดิ์ บอกว่าในทางจิตเวชก็มีวิธีช่วย

“ วิธีการง่าย ๆ คือการผ่อนคลายความเครียด นั้นคือก่อนนอนสัก ๑- ๒ ชั่งโมง อย่าไปทำอะไรที่มันตื่นเต้น ( เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ ) ก่อนนอนอาจจะอาบน้ำอุ่น หรือดื่มนมอุ่น ๆโดยเฉพาะนมถั่งเหลือง จะทำให้หลับสบายขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีสะกดจิตเข้าช่วยดดยการโปรแกรมจิตใหม่ก็จะช่วยได้
กรณีที่มีอาการมาก ๆ เราก็มียาให้เหมือนกัน เป้นพวกยาคลายเครียด หรือยาต้านเศร้า ซึ่งจะทำให้เขาหลับสนิทข็นโดยไม่ฝันมากนัก คือคนที่ผีอำจะฝันปนอยู่ด้วย เราก็ทำความฝันนั้นให้น้อยลง อาการผีอำก็จะลดลงเหมือนกัน หลักง่าย ๆ เวลาโดนผีอำให้นอนเฉย ๆ สักพักอาการจะหายไปเอง “

ส่วนความเชื่อที่ผู้ใหญ่มักเตือนว่า อย่านอนเวลาโพล้เพล้นั้น เกี่ยวข้องกับ “ ผีอำ “ อย่างไรเรื่องนี้มีคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว

“ เวลาเย็น ๆ หรือเวลา โพล้เพล้ มันเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสง คือธรรมชาติของคนในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสงนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการนอน คือถ้าเรานอนตอนกลางคืน หรือกลางวันไปเลยจะไม่ค่อยมีปัญหา สิ่งที่ผู้ใหญ่พูดเป้นสิ่งที่ถูกต้องนะ เพราะไม่ใช่เรื่องผีอำย่างเดียวหรอกอาจจะนอนฝันร้ายก็ได้ เพราะว่าหลับไม่สบาย หลับไม่สนิท “

เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่อยากเจอสภาวะ “ ผีอำ “ ก็ต้องทำใจให้สบายก่อนนอน โดยอาจจะสวดมนต์ไหว้พระ แล้วคิดแต่เรื่องดี ๆ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การนอนของเราในแต่ละคืน จะได้เป็นการพักผ่อนที่แท้จริง

การหลับ คือการหยุดพักของร่างกายชั่วคราวโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งนอกจากความฝันแล้ว ยังเกิดอาการต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ ในขณะที่คนเรานอนหลับ เช่น ละเมอ เดินละเมอ ฝันร้าย ปัสสาวะขณะหลับ นอนกัดฟัน โขกศีรษะขณะหลับ ผีอำ องคชาตแข็งตัวจนเจ็บ ปวดศีรษะ และอื่นๆ เช่น หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอกกลางคืน เม็ดเลือดแดงแตกขณะหลับ หรือขย้อนขณะหลับ เป็นต้น
ปฏิกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับคนบางคนซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดมหัศจรรย์หรือถูกผีเข้า อย่างที่เข้าใจผิดกันมานานแล้ว




ขอขอบคุณที่มา : เวบไซท์หมอชาวบ้าน
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ผีอำ อำ โดนอำ ผี วิทยาศาสตร์ ภาวะ นอน การนอน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องของ " นิมิต " จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 0 3263 กระทู้ล่าสุด 07 มิถุนายน 2553 12:52:54
โดย เงาฝัน
บทความดี ๆ - เรื่องของ ... แม่
สุขใจ จิบกาแฟ
หมีงงในพงหญ้า 1 3067 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2554 21:23:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
เรื่องของ " นิมิต " จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
หมีงงในพงหญ้า 0 2325 กระทู้ล่าสุด 27 กรกฎาคม 2553 14:11:13
โดย หมีงงในพงหญ้า
"Sleep Paralysis" ไม่จิตสัมผัส ก็โดน ‘ผีอำ‘ ได้
สุขใจ ห้องสมุด
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 2523 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2556 13:20:46
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
เรื่องของ "น้ำมนต์"
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
Kimleng 0 43 กระทู้ล่าสุด 09 มีนาคม 2567 15:41:55
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.239 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤศจิกายน 2566 06:33:14