[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 12:38:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์  (อ่าน 1719 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 มกราคม 2556 10:50:36 »

.



ไปไม่กลับ

ตาลปัตรพัดที่พระใช้บังหน้าเวลาสวดพระอภิธรรมศพสมัยนี้  หลายวัดนิยมใช้ที่ปักคำว่า ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น

พระสวดเป็นภาษาบาลี ความจริงเป็นข้อธรรมะชั้นดี น่าเสียดายคนฟังไม่รู้เรื่อง บางวัดสวดแปล ธรรมะข้อหนึ่งได้ยินแล้วจับใจนัก

อย่าร้องไห้พิร่ำพิไรไปเลย ไม่ว่าจะเสียน้ำตาสักเท่าใด ก็ช่วยคนตายไม่ได้  เขาจะไปสู่ภพที่ดีหรือภพที่ไม่ดีก็ด้วยกรรมที่เขาทำไว้”  คำสอนพุทธศาสนาคือ คนตายแล้วก็ตายลับ ไม่กลับมาอีก  ความเชื่อนี้ คนไทยแม้กลัวผีแต่ก็ยังไม่มากเหมือนคนสมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งกลัวผีเกินประมาณ

เมื่อกว่า ๔ พันปีก่อนคริสตกาล  ฝังศพคนตายในตะกร้าสานจากกิ่งไม้เล็ก ๆ ที่ถักร้อยเป็นเปีย  ตะกร้าสานต้นแบบโลงศพเกิดขึ้น เพราะคนเป็นกลัวคนตาย

ในยุโรปเหนือมีมาตรการเพื่อกันคนตายไม่ให้เป็นผีมาหลอกหลอนเข้มงวดมาก  มีการมัดร่างกายและตัดศีรษะกับเท้าของคนตาย เพื่อให้มั่นใจว่าจะหาทางกลับบ้านไม่ถูก  เส้นทางตอนหามศพไปสุสานก็จะทำให้วกไปเวียนมาน่าสับสน  ตั้งใจทำให้คนตายหลง

หลาย ๆ วัฒนธรรม ญาติพี่น้องจะแบกคนตายออกจากบ้านทางช่องที่เจาะขึ้นโดยเฉพาะ  และช่องนี้จะถูกปิดให้เหมือนสภาพเดิมทันทีที่นำศพออก  แม้ศพจะถูกฝังลงในดินลึกถึง ๖ ฟุต  ซึ่งน่าจะเป็นความลึกที่พอเพียง แต่กระนั้นเมื่อบรรจุศพลงในโลงก็ยังต้องเพิ่มมาตรการเพื่อความมั่นใจ มีการตอกตะปูปิดฝาโลงเป็นการใหญ่  

นักโบราณคดีพบว่า โลงศพยุคแรก ๆ มีตะปูตอกจำนวนมากเกินจุดประสงค์ที่กันฝาโลงหล่นเลื่อนระหว่างแห่ศพไปสุสาน เมื่อหย่อนโลงศพที่ตอกตะปูแน่นหนาลงในหลุมลึกแล้ว มาตรการขั้นสุดท้ายก็ยังต้องวางหินก้อนใหญ่ไว้บนฝาโลงแล้วจึงขุดดินกลบปากหลุม เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้ศพเปิดโลงออกมา ด้วยความกลัวเป็นประการสำคัญ

ในสมัยต่อมาคนเป็นกลัวคนตายน้อยลง หินก้อนที่ใช้วางฝาโลงถูกยกขึ้นมาไว้เหนือหลุมฝังศพ มีจารึกข้อความแสดงความไว้อาลัยรักต่อผู้ตาย จนเป็นธรรมเนียมให้ลูกหลานญาติพี่น้องถือดอกไม้ไปวาง  ก้อนหินก้อนเดียวกันที่เคยสื่อความกลัว ก็กลายเป็นหินก้อนใหม่ที่สื่อถึงความรักความผูกพัน

ธรรมเนียมไทย แม้สมัยก่อนจะกลัวผี แต่ก็คงกลัวน้อยกว่าฝรั่ง มีการมัดตราสังศพ ตอกตะปูปิดฝาโลงแน่นหนาเหมือนกัน ทอดเวลาให้ความรักอาลัยเจือจาง เมื่อถึงเวลาก็ไปขุดศพขึ้นมาเผา แล้วเก็บแต่เถ้ากระดูกไว้ให้ลูกหลานกราบไหว้ในบ้าน แสดงว่าคนไทยไม่กลัวผี กล้าอยู่กับผี    ทั้งศพไทยศพฝรั่ง แม้จะถูกฝังถูกเก็บไว้ต่างกัน แต่ที่เหมือนกันก็คือ เรื่องของกรรมที่ทำไว้ก่อนตาย  ผู้เฒ่าคนไทยมักสอนลูกหลาน
“นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์  สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา"

ข้อมูล : “ไปไม่กลับ” คอลัมน์ ชักธงรบ  โดยกิเลน  ประลองเชิง หน้า ๓ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันเสาร์ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.233 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มกราคม 2567 03:48:19