[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 มีนาคม 2567 18:40:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของ " นิมิต " จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน  (อ่าน 2323 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2553 14:11:13 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ จากบอร์ดเก่า ]



นิมิต

 

 
 
นิมิต

 
 
 
 
 
แปลว่าเครื่องหมาย คือรูปเครื่องกำหนดจิต จับเป็นอารมณ์นิมิตนี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายของกสิณ แต่ทว่า กรรมฐานหมวดอื่น ๆก็มีเหมือนกัน เช่น อสุภกรรมฐานก็มีรูปอสุภนิมิต อาหาเรปฏิกูลสัญญาก็มีรูปอาหารเป็นนิมิต อย่างนี้ รวมความว่านิมิตนั้น แยกออกเป็น ๒ อย่างคือ นิมิตที่เป็นเครื่องหมายกำหนดนิมิตจำเป็นที่นักปฏิบัติจำเป็นต้องกำหนดอย่างหนึ่ง นิมิตเลื่อนลอย เป็นนิมิตตัดรอนความดีที่นักปฏิบัติควรละประการหนึ่ง จะขออธิบายในนิมิตทั้งสองพอเข้าใจไว้ดังต่อไปนี้
 
 
นิมิตจำเป็นต้องรักษา นิมิตที่จำเป็นต้องรักษาคือ กรรรมฐานหมวดใดที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ เช่นกสิณ เป็นต้น เมื่อเริ่มปฏิบัติกรรมฐานกองนั้น ทานให้ถือนิมิตอะไรเป็นสำคัญ ต้องรักษานิมิตนั้นให้มั่นคง คือกำหนดภาพนั้นให้ติดใจ จะกำหนดรู้เมื่อไรให้เห็นได้ชัดเจนแจ่มใสตามสภาพเดิมที่กำหนดจดจำไว้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " บริกรรมนิมิต " จัดเป็นสมาธิได้ในสมาธิเล็กน้อย ที่เรียกว่า " ขณิกสมาธิ "
 
นิมิตใดที่นักปฏิบัติเพ่งกำหนดจดจำไว้ มีความชำนาญมากขึ้น จนภาพนิมิตนั้นชัดเจนแจ่มใสสามารถบังคับให้สูงต่ำ ใหญ่เล็ก ได้ตามความประสงค์ แล้วต่อไปนิมิตนั้นค่อยเปลี่ยนสีจากสีเดิมไปทีละน้อย ๆ จนกลายเป็นสีใสสะอาด อย่างนี้ท่านเรียกว่า " อุคคหนิมิต " ถ้าเรียกเป็นสมาธิก็เรียกว่า " อุปจารฌาน "
 
นิมิตใดที่นักปฏิบัติเพ่งพิจารณากำหนดอยู่จนติดตาติดใจ จนนิมิตนั้นกลายจากสีเดิม มีสีขาวใสสวยสดงดงาม มีประกายคล้ายดาวประกายพรึก อารมณ์จิตแนบสนิทไม่เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวย ภาพนิมิตที่สดสวยนั้นหนาทึบเป็นแท่ง อารมณ์จิตไม่กวัดแกว่ง ไปตามเสียงที่เข้ามากระทบโสตประสาท แม้เสียงจะดังกังวานเพียงใด จิตใจก้ไม่หวันไหว คงมีอารณ์สงบเงียบ กำหนดจำนิมิตไว้ได้ดี อาการอย่างนี้เรียกเป็นนิมิต ท่านเรียกว่า " ปฏิภาคนิมิต " ถ้าเรียกเป็นสมาธิท่านเรียกว่า " อัปปนาสมาธิ "
 
ถ้าเป็นฌาน ท่านเรียกว่า่ " ปฐมฌาน " นิมิตตามที่ท่านกำหนดให้ยึดถือตามกฏของปฏิบัติกรรมฐานกองนั้น ๆ อย่างนี้ เป็นนิมิตที่จำเป็นต้องกำหนดจดจำและทำให้ถึงขั้นถึงระดับ นิมิตที่จำต้องละ นิมิตที่จำต้องละก็คือ นิมิตเลื่อนลอย เมื่อจิตมีสมาธิเล็กน้อย เช่น ขณิกสมาธิ ตอนปลายใกล้จะถึงอุปจารสมาธิก็ดี หรือจิตเข้าสู่สมาธิก็ดี
 
 

ตอนนี้จิตเราจะเริ่มเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์ เพราะอารมณ์นิวรณ์เริ่มสงัดจากจิต จิตก็จะเริ่มเห็นภาพบ้าง แสงสีต่าง ๆ บ้าง ความสว่างไสวบ้าง ซึ่งเป็นของใหม่ของจิต เพราะเป็นของใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนนั่นเอง ความปลาบปลื้มลิงโลดจึงปรากฏมีแก่นักปฏิบัติที่ประสบพบเห็น พากันละอารมณ์ภาวนา หรือการพิจารณาเสีย ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปตามภาพหรือแสงสีที่เห็น จนภาพนั้นเลือนรางหายไป
 
วันต่อไปถ้าทำไม่เห็น เพราะมีความติดอกติดใจในภาพและแสงสีนั้น นั่งคิดนอนมองใคร่จะได้เห็นภาพและแสงอีก เมื่อความใคร่เกิดขึ้นแทนที่จะได้เห็นอีกกับไม่ได้ประสบพบเห็น บางรายเมื่อไม่ได้เห็นภาพอีก ถึงกับเสียอกเสียใจ ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ กลายเป็นโรคประสาทหลอนไปก็มี จัดว่าเป็นความเสียหายหนักของนักปฏิบัติ ทางที่ถูกแล้ว สำหรับภาพนอกองค์กรรมฐานที่กำหนดเดิมนั้น ท่านสอนไม่ให้สนใจ เพราะกรรมฐานกองที่ปฏิบัติอยู่นั้น เป็นกรรมฐานที่มีนิมิตอะไรเป็นอารมณ์ก็ต้องยึดถือนิมิตเดิมเป็นสำคัญ
 
ถ้ามีนิมิตอื่นแปลกปลอมเข้ามาก็ต้องกำจัดไปเสีย วิธีกำจัดก็ไม่สนใจไยดีในภาพนั้นๆ นั่นเอง เพราะถ้าสนใจเข้า จักทำให้สมาธิฟั่นเฟือน ควรถือว่าเป็นนิมิตทำลายความดี ไม่ควรคบหาสมาคม ให้ยึดถือนิมิตที่กำหนดเดิมเป็นสำคัญ
ถ้ากรรมฐานที่กำลังปฏิบัติอยู่ เป็นกรรมฐานไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์
ถ้ามีนิมิตเกิดแทรกขึ้นมาก็จงตัดทิ้งไปเสียอย่าสนใจเพราะกรรมฐานใดที่ไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์

 
เมื่อปรากฏนิมิตแทรกขึ้นมาต้องถือว่านิมิตนั้นเป็นศรัตรูของกรรมฐานที่กำลังปฏิบัติอยู่[/SIZE]นักปฏิบัติที่เอาดีถึงระดับฌานไม่ได้ ก็เพราะมาติดอกติดใจหลงใหลใฝ่ฝันในนิมิตเป็นสำคัญ ความจริงจิตที่จะเห็นนิมิตได้นั้นก็เป็น่จิตที่เริ่มเข้าระดับดีบ้างแล้ว คือเริ่มมีสมาธิเล็กน้อย การเห็นภาพก็เพราะจิตเริ่มมีสมาธิ แต่ที่เห็นนิมิตแล้วทิ้งคาถาภาวนาหรือทิ้งการกำหนดลมหายใจเข้าออก ปล่อยให้ใจเลื่อนลอยไปตามภาพนิมิตนั้นเป็นการบ่อนทำลายนิมิตและสมาธิโดยตรง
 
การเห็นจะทรงอยู่ได้นานก็เพราะสมาธิ ทรงตัวนาน ถ้าเห็นแวบเดียวหายไป ก็แสดงว่าจิตเรามีสมาธินิดเดียว ที่ภาพนั้นหายไป ไม่ใช่ภาพนั้นหนีไป ความจริงไม่ได้หนี สมาธิเราไม่ทรงตัวต่างหาก เมื่อสมาธิสลายตัว จิตก็มีอารมณ์มืดเพราะไม่มีสมาธิ จิตที่มีอารมณ์สว่างสามารถเห็นภาพได้ก็เพราะจิตมีสมาธิ
 
ถ้านักปฏิบัติรู้เท่าทันแล้ว เมื่อเห็นภาพแทนที่จะมั่นใจในภาพ กลับกำหนดอารมณ์ในสมาธิให้มากขึ้น โดยไม่สนใจ ภาพเลยอย่างนี้ ภาพนั้นจะชัดเจนแจ่มใสอยู่ได้นานจนกว่าสมาธิจะเคลื่อน ขอสรุปย่อเข้าเพื่อเข้าใจง่ายว่า ภาพนิมิตใดที่นอกเหนือไปจากภาพนิมิตที่กรรมฐานนั้นๆ มีกฏให้กำหนดแล้ว ถ้าปรากฏมีขึ้นในขณะเจริญสมาธิ ท่านไม่ให้สนใจกับภาพนั้น ๆ เลย มุ่งหน้ากำหนดภาวนาไปตามปกติ ภาพนั้นจะทรงอยู่หรือหายไปอย่างไรก็ช่าง อย่างนี้จึงจะถูกต้อง และเข้าถึงระดับฌานได้รวดเร็วตรงตามความประสงค์ในการปฏิบัติสมาธิเพื่อดำรงฌาน
 
 
(จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดย โฮมเพ็จศรัทธาธรรม)

 



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: นิมิต หนังสือ คู่มือ ปฏิบัติ พระกรรมฐาน กรรมฐาน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.552 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 05:25:04