[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:52:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม  (อ่าน 2734 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2553 14:40:11 »





๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม

 "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยว่า เราจะสรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมสรรเสริญความเจริญ ไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา(ความเชื่อ) ศีล(ความเป็นปกติทางกาย วาจา) สุตะ(ความสดับตรับฟัง) จาคะ(ความสละ) ปัญญา(ความรู้) ปฏิภาณ(ความไหวพริบ) ธรรมเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทังหลาย อย่างนี้แล คือความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่เสื่อมไป ย่อมไม่เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนันว่าเป็นความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อมเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อมไป. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่หยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม."



ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๑


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2553 15:51:07 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เติมคำที่ขาดไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2553 14:53:02 »


๗๗. ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน

 
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนัน พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในกระจก อันบริสุทธิ์ผ่องใสหรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็ย่อมพยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว. ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยเหตุนี้แล ว่าเป็นลาภของเราหนอ เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอดังนี้ ฉันใด.

              "ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย

              ๑. เรามีอภิชฌา(ความโลภ) หรือไม่มีอภิชฌา(ความโลภ) อยู่โดยมากหนอ
              ๒. เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) หรือไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมากหนอ
              ๓. เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึงรัด หรือปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมากหนอ
              ๔. เราฟุ้งสร้าน หรือไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมากหนอ
              ๕. เรามีความลังเลสงสัย หรือข้ามพ้นความลังเลสงสัย อยู่โดยมากหนอ
              ๖. เรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธ อยู่โดยมากหนอ
              ๗. เรามีจิตเศร้าหมอง หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมากหนอ
              ๘. เรามีกายกระสับกระส่าย หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย อยู่โดยมากหนอ
              ๙. เราเกียจคร้าน หรือปรารภความเพียร อยู่โดยมากหนอ
              ๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่น อยู่โดยมากหนอ

              "ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

              ๑. เรามีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
              ๒. เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) อยู่โดยมาก
              ๓. เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึกรัด อยู่โดยมาก
              ๔. เราฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
              ๕. เรามีความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
              ๖. เรามีความโกรธ อยู่โดยมาก
              ๗. เรามีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
              ๘. เรามีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
              ๙. เราเกียจคร้าน อยู่โดยมาก
              ๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่น อยู่โดยมาก" ดังนี้

              ภิกษุนั้นก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะ อันมีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นเสีย เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้า หรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น.

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า

              "๑. เราไม่มีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
              ๒. เราไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมาก
              ๓. เราปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมาก
              ๔. เราไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
              ๕. เราข้ามพ้นความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
              ๖. เราไม่มีความโกรธ อยู่โดยมาก
              ๗. เราไม่มีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
              ๘. เราไม่มีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
              ๙. เราปรารภความเพียร อยู่โดยมาก
              ๑๐. เรามีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก" ดังนี้

              ภิกษุนั้นก็ควรทำความเพียร เพื่อดำรงอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."


ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๒-๑๐๔
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2553 15:06:10 »


๗๘. ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในเงากระจกอันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็พยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนา ด้วยเหตุนั้นแล ว่าเป็นลาภของเราหนอ. เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอ ดังนี้ ฉันใด."

              "ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย

              ๑. เราได้เจโตสมถะ (ความสงบแห่งจิต) ในภายใน หรือไม่ได้หนอ?

              ๒. เราได้อธิปัญญา(ปัญญาอันยิ่ง) อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ หรือไม่ได้หนอ?"

              "ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน และเพื่ออธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ." ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และย่อมได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

              "แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่อธิปัญญา อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรม" ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะอันมีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น. เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้าหรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น. ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

              "แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."



ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๔-๑๐๖
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2553 15:55:15 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เติมคำที่ขาดไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2553 15:20:01 »


๗๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร?

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือลัทธิอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ มีอะไรเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านี้ว่าอย่าไร?"

              ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ธรรมะของข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล เป็นแบบแผน เป็นที่พึ่ง. ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงยังอรรถแห่งสุภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยดีเถิด พระเจ้าข้า. ภิกษุทั้งหลายสดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้."

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำไว้ในใจให้ดี."

              เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือศาสนาอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ หยั่งลงสู่อะไร มีอะไรเป็นปริโยสาน." เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

             ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวง มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล, มีการทำไว้ในใจเป็นแดนเกิด, มีผัสสะ(ความกระทบ) เป็นต้นเหตุให้เกิด, มีเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) เป็นที่รวม, มีสมาธิเป็นประมุข, มีสติเป็นใหญ่, มีปัญญาเป็นยอดเยี่ยม, มีวิมุติ(ความหลุดพ้น) เป็นสาระ หยั่งลงสู่อมตะ มีนิพพานเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลายพึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้แล."


ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๑๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2553 15:56:30 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เติมคำที่ขาดไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2553 15:29:08 »


๘๐. ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลธรรม ๑๐ อย่าง คือ

              ๑. ราคะ ความกำหนัดยินดี
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง
              ๔. โกธะ ความโกรธ
              ๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
              ๖. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณท่าน
              ๗. ปลาสะ ความตีเสมอ
              ๘. อิสสา ความริษยา
              ๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่
              ๑๐. มานะ ความถือตัว

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แลไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."

๘๑. ละธรรม ๑๐ อย่างได้จึงควรเป็นพระอรหันต์

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ได้ จึงควรทำให้แจ้งอรหัตตผล. ธรรม ๑๐ อย่าง คือ

              ๑. ราคะ ความกำหนัดยินดี
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง
              ๔. โกธะ ความโกรธ
              ๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
              ๖. มักขะ ความลบบุญคุณท่าน
              ๗. ปลาสะ ความดีเสมอ
              ๘. อิสสา ความริษยา
              ๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่
              ๑๐. มานะ ความถือตัว

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้แลได้ จึงควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."


ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๒๒๔

 ยิ้ม  http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part3.4.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2553 16:01:10 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เติมคำที่ขาดไปค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น: ไม่ทรงสรรเสริญ ความหยุดอยู่ ในกุศลธรรม  พระไตรปิฎก 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.315 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 22:11:39