[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:07:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระโพธิสัตว์กวนอิม  (อ่าน 5583 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 มกราคม 2553 16:54:20 »


心经(孟庭苇)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 18:54:44 »


เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับ
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายาน
ในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่อง
พระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึง
ความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของ
มารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง
เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาค
เพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์
มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับ
เทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
"คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ
ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์
จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่
คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 18:56:49 »


พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน

พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน
เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์
เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม
องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัย
แน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9
พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอด
ราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ
อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด

ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้
ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด
พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว
และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว
ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า
พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาว
จนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 18:59:37 »


พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์
คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหาร
จึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้า
พระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับ
เจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก

ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน
ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียร
เครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดา
เข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก

ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษา
ให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบ
เคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธ
การกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษา
พระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน
เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ
ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็น
เทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 19:02:57 »


พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ (กวนอิมพู่สัก) พระโพธิสัตต์ผู้มากล้นด้วยความเมตตา


เรื่องของพระโพธิสัตต์พระองค์นี้ มิใช่สิ่งแปลกปลอมในพุทธศาสนา แต่เป็นพระโพธิสัตว์
องค์สำคัญที่ได้รับการสักการะบูชามากที่สุด ที่อินเดียรูปเคารพมักจะเป็นภาพเขียน ปูนปั้น
หินและไม้แกะสลัก ซึ่งปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ วัดวาอาราม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และ
วิทยาลัยทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนาลันทา , วิกรมศาลา ไม่จำเพาะแต่ที่อินเดียเท่านั้น
ในเอเชียกลาง อาฟกานิสถานก็ปรากฏอย่างมากมาย

ลักษณะของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ในอินเดีย พระพักตร์ พระวรกาย และพระอิริยาบท
ตลอดจนการฉลองพระองค์อยู่ในรูปลักษณะของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจักรพรรดิเป็นมหาราช
มิได้มีฉลองพระองค์จนอ่อนพลิ้วอย่างจีน หรืออย่างที่พบกันในปัจจุบันของเมืองไทย
ก็ได้อิทธิพลมาจากจีนทั้งสิ้น

เนื่องด้วยพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ ทรงมีพระกตัญญู (เมตตากรุณาธิคุณ) คอยปลดเปลื้อง
ความทุกข์ภัยของสัตว์โลก จึงมีพระเนมิตตกนาม ( นามที่ได้จากลักษณะและคุณสมบัติ )
ตามภาษาจีนเรียกว่า พระกวนอิมพู่สัก แปลว่า พระโพธิสัตต์ที่มีพระกรรณาวธานโลกาศัพท์
หรือเรียกง่ายๆก็คือ ผู้คอยเงี่ยหูสดับรับฟังความทุกข์ของสัตว์โลก
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 19:04:35 »


ในพระพุทธศาสนามหายาน คณะสงฆ์จีนนิกาย กล่าวไว้ว่า สามารถเนรมิตกายได้ 32 กาย
แล้วแต่ว่าจะไปโปรดใคร มิใช่มีรูปร่างเป็นหญิงดังที่ปรากฏเท่านั้น ที่สำคัญ มี 6 ร่าง คือ

1. อวโลกิเตศวร (กวนอิมพู่สัก)
2. สหัสหัตถสหัสเนตรอวโลกิเตศวร
3. เอกาทสมุขีอวโลกิเตศวร
4. หัยครีวอวโลกิเตศวร
5. จัณฑิอวโลกิเตศวร
6. จินดามณีจักรอวโลกิเตศวร

มงกุฏเหนือเศียรเกล้าแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์มหาสัตต์ หลังพุทธศตวรรษที่ 14
มักจะเป็นรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิแทบทั้งสิ้น ในกรณีที่เป็นพระโพธิสัตต์มีหลายเศียร
เศียรบนสุดอย่างไรเสียก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าอมิตภะ ไม่สามารถเลี่ยงหรือแส่ส่ายไปทางอื่น
ดอกบัวสัญญลักษณ์ของกวนอิม คือ บัวสีชมพู สีขาวใช้กับพระมัญชุศรีโพธิสัตต์เท่านั้น
ด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่า
" พระปัทมปาณีโพธิสัตต์ "
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 19:06:22 »


ด้วยความเมตตา กรุณาต่อสรรพสัตว์อันประมาณมิได้นี้เอง ก่อให้เกิดแนวใน
การสร้างพระกวนอิมพันมือพันตาในเวลาต่อมา โดยขนานนามพระองค์ท่านว่า
พระสหัสสหัตถ์สหัสสเนตรอวโลกิเตศวร หรือถ้าเป็นปาง 4 พระกร เรียก จตุหัตถ์อวโลกิเตศวร

ส่วนพระคาถาสรรพราเชนทร์ ด้วยถ้อยความศักดิ์สิทธิ์ 6 พยางค์ " โอม มณี ปัทเม หุม " นั้น
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ษฑักษรีมหาวิทยา " โดยกำหนดให้ปางหนึ่งของ
พระอวโลกิเตศวร หรือพระษฑักษรีโลเกศวร เป็นพระโพธิสัตต์ผู้รักษามนตราศักดิ์สิทธิ์ 6 พยางค์นี้

ในพุทธศาสนามหายานนั้น ยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ ว่าเป็นพระผู้ได้รับธรรมจักร
มาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นผู้นำในการรักษาพระพุทธศาสนา และหมุนธรรมจักรต่อไป

พระคัมภีร์สำคัญๆของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานประกอบด้วย คัมภีร์มหาสุขาวดีวยุหสูตร ,
จุลสุขาวดีวยุหสูตร , อมิตายุรธยานสูตร , ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร , พระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

เพราะฉะนั้นโดยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของอินเดียและชนชาวจีนแตกต่างกันมาก
ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องแปลคัมภีร์เหล่านี้ จึงต้องใช้เวลาในการปรับความเข้าใจในหลักคิดและ
การใช้ภาษาเป็นอย่างมาก เพื่อมิให้ผิดเพี้ยนไปตามความหมายเดิม แต่คัมภีร์และแนวคิด
เกี่ยวกับพระอวโลกิเตศวรนั้น ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างมากเกือบ 800 ปี ตั้งแต่เริ่มต้น
คริศตศักราชมาจนถึงจุดสูงสุดในราชวงศ์ถัง ( ราว ค.ศ. 7-8 )
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.245 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 23:56:12