[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:45:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

สุขใจในธรรม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


.:::

ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

:::.
หน้า:  [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  (อ่าน 199357 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2556 19:26:27 »

.


ภาพ : www.easyinsurance4u.com

บุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล
๑. พระอัสสชิเถระ : อาจารย์พระสารีบุตร

พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรพราหมณ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ทั้ง ๘ ที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช   โกณฑัญญพราหมณ์ คนเดียวในจำนวน ๘ คน ครั้งนั้น ผู้เชื่อมั่นว่าเจ้าชายจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงชวนท่านอัสสชิพร้อมสหายไปเฝ้าปรนนิบัติ  ขณะเจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้เรียกว่า ถ้ำดงคิริ)

เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าทรงเลิกทุกรกิริยา  ท่านอิสสชิจึงได้ติดตามโกณฑัญญะหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และหลังจากพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ว่าด้วยอริยสัจ ๔) โปรด  ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง ๔

หลังจากบรรลุพระอรหัตแล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก ๖๐ รูป ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนารุ่นแรก  ท่านได้ไปสั่งสอนประชาชนตามคามนิคมต่างๆ เป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน จึงไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวาย

ท่านออกบิณฑบาตในเช้าวันหนึ่งในเมืองราชคฤห์ อิริยาบถอันสงบสำรวม ขณะเดินบิณฑบาตอยู่ ได้ประทับใจมาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเห็นเข้าโดยบังเอิญ   อุปติสสะผู้นี้มีสหายชื่อ โกลิตะ เป็นศิษย์อาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร หนึ่งในจำนวน “ครูทั้ง ๖” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น

อุปติสสะและโกลิตะ เห็นความไม่มีแก่นสารแห่งคำสอนของสำนักตน จึงตกลงกันเงียบ ๆ ว่าจะแสวงหาแนวทางใหม่ ถ้าใครพบก่อนก็จะบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

อุปติสสะคิดว่าตนได้พบผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ของตนแน่แล้ว จึงติดตามท่านไปห่างๆ  ครั้นได้โอกาส ขณะพระเถระนั่งฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการ เรียนถามธรรมะจากท่าน  พระเถระออกตัวว่า ท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้  อุปติสสะกราบเรียนท่านว่าแสดงแต่โดยย่อก็ได้

พระเถระจึงกล่าวคาถาอันแสดงถึง “แก่น” แห่งอริยสัจ ๔ ความว่า
           เย ธมฺม  เหตุปฺปภวา เตสํ       เหตุง  ตถาคโต (อาห)
            เตสญฺ จ โย นิโรโธ จ            เอวํวาที  มหาสมโณ
           
            ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
            และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้


อุปติสสะได้ฟังเพียงแค่นี้ก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” (เกิดธรรมจักษุ) คือบรรลุโสดาปัตติผล จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้สหาย  โกลิตะได้ฟังคาถานั้นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเช่นเดียวกัน ทั้งสองจึงไปชวนอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตรไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

เมื่ออาจารย์ปฏิเสธ จึงได้พากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ณ พระเวฬุวัน ดังทราบกันทั่วไปแล้ว

พระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ เพราะไม่มีชื่อในทำเนียบเอตทัคคะ

ท่านเป็นพระที่ภาษาชาวบ้านสมัยนี้เรียกกันว่า “สมถะ” คือ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง ท่านมีบุคลิกน่าเลื่อมใส  สำรวมอินทรีย์  “การคู้ การเหยียด ซึ่งมือและเท้า การเหลียวดู เป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง”  ดังความคิดของอุปติสสะ เมื่อเห็นท่านเป็นครั้งแรก  เพราะเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงจากอุปติสสะ ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตรเถระ   เมื่อทราบว่าท่านพำนักอยู่ ณ ทิศใด พระอัครสาวกจะนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น เพื่อถวายความเคารพ “อาจารย์” ของท่าน

ไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบๆ  โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ไหนเลย  ในส่วนที่ไม่กล่าวถึงบ่อยนัก แต่ไม่มีใครลืมได้ ก็คือ คุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้พระอัครสาวกทั้งสองมาบวช เพื่อเป็นกำลังของพระพุทธศาสนา


ข้อมูล  : บทความพิเศษ โดย อาจารย์ เสฐียรพงษ์  วรรณปก


http://www.igetweb.com/www/watkomafai/private_folder/1223526253.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ภาพจาก : tamroiphrabuddhabat.com

๒. พระมหาปชาบดีโคตมี
พระอรหันต์หญิง ผู้ปฏิบัติได้กฎเหล็ก ๘ ประการ

พระนางมหาปชาบดีโคตมี  เป็นราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา  พระพุทธมารดา  เป็นพระน้านางของเจ้าชายสิทธัตถะ

เมื่อเจ้าชายประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็ได้สิ้นพระชนม์  พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบภาระให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านาง เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะประดุจหนึ่งว่าเป็นพระโอรสของพระองค์เอง พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีพระโอรสกับพระนางมหาปชาดีโคตมีองค์หนึ่ง พระนามว่า นันทะ และพระธิดาอีกองค์หนึ่ง พระนามว่า รูปนันทา

เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จนิวัตพระนครกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ และหลังจากได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในแคว้นมคธแล้ว  เจ้าชายในศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ อาทิ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายมหานามะและเจ้าชายเทวทัตได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์

พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระประสงค์จะบวชบ้างแต่ถูกพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

พระนางมิได้ย่อท้อ ยังคงมีปณิธานอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบวชให้ได้

ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่กุฎาคาร ในป่ามหาวัน นอกเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล้านางสากิยานีจำนวนมาก ปลงผม นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ พากันเดินมุ่งหน้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลขออุปสมบท

พระนางมหาปชาบดีโคตมี เจ้งความประสงค์ให้พระอานนท์พุทธอนุชาทราบ และให้นำความกราบทูลพระพุทธองค์ขออุปสมบท  พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต พระอานนท์ทูลอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่อนุญาต

ในที่สุดพระอานนท์กราบทูลถามว่าบุรุษกับสตรีมีความสามารถไม่ทัดเทียมกันใช่หรือไม่ สตรีไม่สามารถบรรลุมรรคผลชั้นสูงเฉกเช่นบุรุษใช่หรือไม่

พระพุทธองค์ตรัสว่า ในเรื่องนี้ไม่มีข้อแตกต่างกัน สตรีก็ทัดเทียมกับบุรุษ  พระอานนท์จึงทูลถามว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมพระองค์มิทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวช ในเมื่อพระนางก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลชั้นสูงได้  พระพุทธองค์จึงทรงยินยอมตามที่พระอานนท์ทูลขอ

แต่ก็ทรงวางกฎเหล็กกันเรียกว่า “ครุธรรม ๘ ประการ” ไว้ว่า ถ้าปชาบดีโคตมีสามารถปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ พระองค์ก็ทรงยินดีประทานอุปสมบทให้ เมื่อพระนางมหาปชาบดีทราบก็กราบทูลยืนยันว่า ยินดีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ครุธรรม ๘ ประการนั้น คือ
๑. ภิกษุณีแม้จะมีพรรษา ๑๐๐ ก็ต้องกราบไหว้พระภิกษุซึ่งบวชในวันนั้น
๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓. ภิกษุณีจงไปถามวันอุโบสถ และฟังโอวาทจากภิกษุ
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษา แล้วต้องปวารณาสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้งสามคือ โดยได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย
    (ในข้อนี้หมายความว่าต้องยอมให้ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนได้ ถ้าได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าภิกษุณี ทำผิดสิกขาบทนั้นๆ)
๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก (ทำผิดวินัยร้ายแรง) ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย
    (คือ ลงโทษกักบริเวณตัวเอง ตามกรรมวิธีของสงฆ์) เป็นเวลา ๑๕ วัน
๖. ภิกษุณีจะต้องได้รับอุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย (คือบวชจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง แล้วให้ภิกษุสงฆ์บวชอีกครั้งหนึ่ง)
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่ากรณีใดๆ
๘. ภิกษุณีไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณีได้

ทั้งนี้ เพราะพระพุทธองค์ไม่มีพุทธประสงค์จะให้มี “พระผู้หญิง”  ทรงเกรงว่าถ้าอยู่ใกล้ชิดกันมากจะมีปัญหาในหมู่ภิกษุและภิกษุณี เพราะ “พรหมจรรย์”   จะต้องเว้นขาดจากความเกี่ยวข้องทางกามารมณ์ พระภิกษุและภิกษุณีที่ยังมีภูมคุ้มกันไม่แข็งแรงพอ ก็อาจจะเผลอไผลละเมิดสิกขาบทได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า สำหรับบุรุษสตรีเป็นความเศร้าหมองของพรหมจรรย์ ในทำนองเดียวกันสำหรับสตรีบุรุษก็เป็นอันตรายของพรหมจรรย์เช่นกัน

พระนางมหาปชาบดีโคตมียืนยันว่า จะบวชและปฏิบัติตาม “กฎเหล็ก” นั้น  พระพุทธองค์จึงประทานอุปสมบทให้พระนาง และรังสั่งให้ภิกษุสงฆ์บวชให้สตรีบริวาร เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามภายหลังถึงเหตุผลที่ทรงรีรอให้การประทานอุปสมบทแก่สตรี พระพุทธองค์ทรงให้เหตุผลว่า พรหมจรรย์จะอยู่ไม่ได้นาน ถ้าสตรีบวชในพระพุทธศาสนา

หลังจากอุปสมบทแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับเอากรรมฐานจากพระพุทธองค์ไปปฏิบัติ ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล แม้ภิกษุณีที่อุปสมบทพร้อมกับพระเถรี ต่างก็ได้บรรลุธรรมในวาระแตกต่างกัน ในเวลาต่อมา

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเคยนำผ้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พระนางเสียใจมาก เมื่อพระอานนท์เข้าไปกราบทูลถาม ทรงแนะให้นำไปถวายพระสงฆ์  ทรงอธิบายว่า การถวายแก่พระสงฆ์มีอานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระพุทธเจ้า ในฐานที่เป็นปัจเจกบุคคลเสียอีก  ทรงแสดงทักขิณาวิภังคสูตร ทรงสรรเสริญสังฆทาน (การถวายแก่สงฆ์ส่วนรวม) ว่ามีอานิสงส์มากกว่าปาฏิบุคลิกทาน (การถวายเป็นส่วนตัว)  ที่จริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาต่อพระน้านางมาก เวลาพระนางประชวรพระพุทธองค์ก็เสด็จไปเยี่ยมดูแล ดังหนึ่งเป็นพระพุทธมารดานั่นเอง

พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็มีความเคารพในพระพุทธองค์ยิ่ง ถึงกับกราบทูลว่าในทางรูปกาย พระนางเป็นมารดาผู้ให้น้ำนมเลี้ยงดูพระองค์มา แต่ในทางนามกาย คือในทางธรรม พระพุทธเจ้าทรงเป็นบิดาของพระนาง

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี ในอัตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “รัตตัญญู”   คือ ผู้รู้ราตรีนาน  คล้ายๆ จะบอกว่ายกย่อง ให้เป็นผู้อาวุโสกว่าภิกษุอื่นๆ  แต่ความหมายที่แท้จริงน่าจะหมายถึง ความเป็นผู้มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ใช่แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  หากแต่เป็นผู้แก่เฒ่าที่มีประสบการณ์ชีวิตมากมาย อันจะเป็นประโยชน์ในการแนะนำพร่ำสอนแก่คนรุ่นหลัง

พระนางมหาปชาบดีโคตมี นิพพานเมื่ออายุได้ ๑๒๐ ปี

พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระเถรีที่มีปฏิปทา ควรถือเป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น
๑. เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่  พระนางตั้งใจจะบวชก็ไม่ย่อท้อ แม้ตอนแรกๆ จะได้รับการปฏิเสธ ก็พยายามจนกระทั่งได้รับพุทธานุญาตในที่สุด
๒. มีความอดทนเป็นเลิศ  พระนางมีความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบาก ต้องเดินเท้าเปล่าจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปยังเมืองไพศาลี เพื่อทูลขอบวช
    แม้พระพุทธองค์ทรงวาง ครุธรรม ซึ่งยากต่อการปฏิบัติ พระนางก็เต็มใจปฏิบัติด้วยความอดทนยิ่ง
๓. มีความเคารพในธรรมอย่างยิ่ง แม้พระนางจะเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า ก็มิได้แสดงตนในฐานะเป็น “แม่” ของพระองค์  
    กลับวางตนเป็นสาวิกาที่ดีคอยฟังพระพุทธโอวาท และปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำ




ที่มา : บทความพิเศษ “อรหันต์หญิง มหาปชาบดีโคตมี ผู้ปฏิบัติได้ซึ่งกฎเหล็ก ๘ ประการ”  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก  หนังสือมติชน สุดสัปดาห์

* ลองนั่งลำดับประวัติของพระเถรีแล้ว “พึง” เอาความดีของพระเถรีออกมาเป็นแบบอย่างแห่งการปฏิบัติ


http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1291557955.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ภาพจาก : www.bloggang.com  

๓. สามเณรกัณฏกะ
ผู้เป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงวางกฎเข้มงวด
ไม่ให้สามเณรทั้งหลายประพฤติเอาเยี่ยงอย่าง

ในพระวินัยปิฎก กล่าวว่า เดิมทีเหล่าภิกษุอุปสมบทให้แก่เด็กๆ จำนวน ๑๗ คน เรียกว่า “สัตตรสวัคคีย์” (พวก ๑๗ คน) เด็กเหล่านี้มีอุบาลีเป็นหัวหน้า เป็น “พระเด็ก” รุ่นแรกก็ว่าได้

พอบวชมาได้ไม่กี่วัน ก็ร้องไห้กระจองอแงหิวข้าวขึ้นมาก็ร้องจะกินข้าว กินขนม อุปัชฌาย์กับอาจารย์ก็ปลอบว่า ยังไม่ถึงเวลาฉัน รอให้รุ่งเช้าก่อนจึงจะฉันได้ ก็ไม่ยอม ร้องทั้งคืน  บ้างก็อึรด ฉี่รดที่นอนเหม็นหึ่งไปหมด

พระพุทธเจ้าทรงสดับเสียงร้องของ “พระเด็ก” เหล่านี้ จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบความแล้ว จึงตรัสห้ามว่าต่อไปห้ามทำการอุปสมบทแก่เด็กชายอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์

เพราะฉะนั้น เวลา “นาค” จะเข้ามาบวช พระกรรมวาจาจารย์จึงถามว่า “ปริปุณฺณวีสติวสฺโสสิ”  ท่านอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์หรือเปล่า   นาคต้องตอบยืนยันว่า “อาม ภนฺเต” ครบขอรับ (อ่าน “อามะ พันเต”)  ท่านจึงจะอนุญาตให้บวช

อีกคราวหนึ่ง ตระกูลหนึ่งป่วยด้วยอหิวาตกโรคตายกันเกือบหมด  เหลือแต่พ่อกับลูกชายตัวเล็กๆ พ่อกับลูกชายจึงบวช  เมื่อไปบิณฑบาตด้วยกัน เวลาพ่อได้อาหาร ลูกชายก็ร้องขอจากพ่อ  ชาวบ้านเห็นแล้วก็ติเตียนว่า พระรูปนี้พาเด็กมาบิณฑบาตสงสัยเด็กคนนี้คงเป็นลูกนางภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเป็นแน่  พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงทรงบัญญัติห้ามว่า ต่อไปอย่าให้เด็กบวชพระ

เมื่อเด็กอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ถูกห้ามมิให้บวชเป็นพระภิกษุ พระสารีบุตรจึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้า (เมื่อคราวที่ตรัสสั่งให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร) ว่า “จะให้บวชด้วยวิธีไหนพระเจ้าข้า”  พระองค์จึงตรัสว่า “บวชด้วยการถึงสรณคมน์ก็แล้วกัน”  ราหุลกุมารผู้มีพระชนมายุ ๗ พรรษาจึงได้บวชเป็นสามเณรรูปแรก
เมื่อสามเณรรูปแรกอายุ ๗ ขวบ  ก็เลยถือเป็นประเพณีว่า ผู้จะบวชเณรควรอายุตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไป

ในพระวินัยปิฎกอีกนั่นแหละ เล่าต่อว่า คนในตระกูลอุปัฏฐากพระอานนท์ ตายหมด  เหลือแต่เด็กชายเล็กๆ ๒ คน พระอานนท์มีความสงสารก็คิดจะให้เด็กทั้งสองบวชสามเณร เข้าใจว่าอายุคงไม่ครบ ๗ ขวบ เหมือนสามเณรราหุล  พระอานนท์จึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความประสงค์ของตน พระพุทธองค์ตรัสถามว่า เด็กทั้งสองนั้นโตพอไล่กาได้ไหมอานนท์

“ ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ถ้าเช่นนั้น เธอให้บรรพชาเป็นสามเณรได้”

อรรถกถาอธิบายว่า เด็กอายุเท่าไรไม่สำคัญ “เด็กใดถือก้อนดินด้วยมือซ้าย นั่งแล้ว อาจเพื่อจะไล่กาทั้งหลาย ซึ่งพากันมาให้บินหนีไป แล้วบริโภคอาหารซึ่งวางไว้ข้างหน้าได้ เด็กนี้จัดว่าผู้ไล่กาไป จะให้เด็กนั้นบวชก็ควร”  สรุปก็คือ เด็กพอรู้เดียงสา สามารถไล่กา ที่จะมาแย่งอาหารจากจานข้าวได้ ก็บวชเป็นเณรได้

ในคัมภีร์ บันทึกพฤติกรรมของสามเณรกัณฏกะ (สามเณรหนาม) ไว้เป็นนิทัศน์อุทาหรณ์  ดังนี้

สามเณรหนาม มีประวัติเป็นมาอย่างไรไม่แจ้งชัดรู้แต่ว่าเป็นศิษย์พระอุปนนท์ แห่งศากยวงศ์

ท่านอุปนนท์ เป็นพระ “ดัง” (ในทางไม่ค่อยดี) รูปหนึ่ง  ท่านเป็นพระนักเทศน์ รูปงาม ชอบสอนให้ลูกศิษย์ออกไปนั่งกรรมฐาน บ้างเดินจงกรมบ้างตามลานวัด ตนเองก็เข้ากุฏิปิดประตูนอน

พอเหล่าศิษย์บำเพ็ญเพียรจนเหนื่อยแล้ว คิดจะกลับมาเอนหลังสักหน่อย ท่านอุปนนท์ก็ตื่นขึ้นมาพอดี ออกมาไล่ให้ไปจงกรมหรือนั่งสมาธิต่อ จนพระลูกศิษย์ออกปากว่า อาจารย์เข้มงวดเหลือเกิน  

บังเอิญศิษย์รูปหนึ่งแอบรู้พฤติกรรมของอาจารย์เข้า จึงบอกต่อๆ กันไป จึงได้รู้ทั่วกันว่า อาจารย์ของพวกตนเป็นประเภท “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”  

เรื่องรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสสอนว่า
            ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน  แล้วค่อยสอนคนอื่น
            ถ้าทำได้อย่างนี้  บัณฑิตจึงจะไม่มัวหมอง


กัณฐกะ สามเณรอยู่ใกล้ชิดพระอุปนนท์ ก็คงถอดแบบจากอาจารย์  สามเณรกัณฏกะจึงไม่ค่อยสำรวมสมเป็นสมณะที่ดี ปากคอเราะร้าย พบเจอนางภิกษุณี วันดีคืนดีก็ทำอนาจารกับภิกษุณีนามว่า กัณฏกี จนมีเรื่องฉาว

พระบาลีใช้คำว่า ภิกฺขุนึ  ทูเสสิ = ประทุษร้ายภิกษุณี  อนาจารํ  อาจริสฺสติ = ประพฤติอนาจาร

ความประพฤติของสามเณรกัณฏกะ ศิษย์พระอุปนนท์ เป็นที่รับรู้กันทั่วไป  จนพระพุทธเจ้าทรงวางบทบัญญัติไว้เพื่อกวดขันสามเณรต่อไป คือ

๑. ให้ทำทัณฑกรรม (คาดโทษ) แก่สามเณรผู้มีพฤติกรรม ๕ ประการ คือ
     ๑) ความพยายามเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
     ๒) พยายามเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย
     ๓) พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
     ๔) ด่า บริภาษ ภิกษุทั้งหลาย
     ๕) ยุยงให้ภิกษุต่อภิกษุแตกกัน

๒. ให้นาสนะ (ให้ฉิบหาย, คือไล่ศึก) แก่สามเณรผู้มีพฤติกรรม ๑๐ ประการ คือ
    ๑) ทำลายสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป (ฆ่าสัตว์)
    ๒) ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ (ลักทรัพย์)
    ๓) กระทำการอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ (เสพกาม)
    ๔) กล่าวเท็จ
    ๕) ดื่มสุราเมรัย
    ๖) กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
    ๗) กล่าวติเตียนพระธรรม
    ๘) กล่าวติเตียนพระสงฆ์
    ๙) มีความเห็นผิด
   ๑๐) ประทุษร้ายนางภิกษุณี

ความซุกซนของสามเณรกัณฏกะ มองในแง่บวกก็เป็นผลดีแก่พระพุทธศาสนา คือ เป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงวางกฎเข้มงวดไม่ให้สามเณรทั้งหลายเอาเยี่ยงอย่างต่อไป

พระพุทธบัญญัติเรื่องนี้เรียกว่า “สามเณรสิกขา” = สิ่งที่สามเณรทั้งหลายพึงสำเหนียกปฏิบัติ   ซึ่งสามเณรทั้งหลายในสยามประเทศสวดเตือนสติตัวเองทุกวัน หลังทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นจนกระทั่งปัจจุบันนี้


ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณรกัณฏกะ   หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก


http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal_8.%20THE%20GREAT%20LEADER%20OF%201,000%20ASCETICS.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ภาพจาก : www.dhammajak.net

๔. พระกุมารกัสสปเถระ
พระธรรมกถึก ที่สามารถเทศนากลับใจคน

พระกุมารกัสสป เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในการเทศนากลับใจคนที่มีมิจฉาทิฐิให้เข้าใจถูกต้อง  ท่านรูปนี้มีชีวิตค่อนข้างพิสดารก่อนที่จะมาบวช

ท่านเป็นบุตรนางภิกษุณี  นางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของท่านตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวมาก่อนบวช  บวชมาแล้ว เมื่อครรภ์โตขึ้นปรากฏต่อสายตาประชาชน  พระเทวทัตผู้ดูแลภิกษุณีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีมารดาของท่านรวมอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจให้ท่านลาสิกขาโดยไม่สอบถามรายละเอียด

นางภิกษุณีเชื่อมั่นว่าตนบริสุทธิ์ จึงอุทธรณ์เรื่องต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอุบาลีเป็นประธานพิจารณา  ท่านพระอุบาลีจึงขอแรงนางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี ช่วยคลี่คลายคดี

นางวิสาชา จึงได้ตรวจสอบอย่างละเอียด  และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีมติว่านางตั้งครรภ์ก่อนบวช นำความกราบเรียนพระเถระ พระเถระอาศัยข้อมูลนั้นเป็นหลักฐานประกอบคำวินิจฉัย ตัดสินให้นางภิกษุณีบริสุทธิ์

เมื่อนางคลอดบุตรมาก็เลี้ยงดูในวัดนั้นเอง  พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปพบเข้า จึงขอไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม

กุมารน้อย จงมีชื่อว่า กุมารกัสสปะ (กัสสปะ ผู้เป็นพระกุมารในพระราชวัง)  เมื่อเติบโตมารู้เบื้องหลังชีวิตของตนเอง จึงสลดใจไปบวชเป็นสามเณร ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์

ข้างฝ่ายภิกษุณีมารดา มัวแต่คิดถึงลูก การปฏิบัติธรรมจึงมิได้ก้าวหน้าแม้แต่น้อย วันหนึ่งเห็นสามเณรบุตรชายขณะออกบิณฑบาต จึงรี่เข้าไปหา ร้องเรียกลูก

สามเณรอรหันต์คิดว่า ถ้าพูดดีๆ กับแม่ แม่ก็จะไม่สามารถตัดความรักฉันแม่กับลูกได้ การปฏิบัติธรรมก็ไม่ก้าวหน้า จึงพูดอย่างเย็นชาว่า “อะไร จนป่านนี้แล้ว แค่ความรักระหว่างแม่กับลูกยังตัดไม่ได้ จะทำอะไรได้สำเร็จ” ว่าแล้วก็เดินจากไป

ทิ้งให้ภิกษุณีผู้มารดาเป็นลมสลบ ณ ตรงนั้น

ฟื้นขึ้นมาก็ “ตัดใจ” ว่า เมื่อลูกไม่รักเราแล้ว เราจะมัวคิดถึงเขาทำไม กลับสำนักภิกษุณีคร่ำเคร่งปฏิบัติภาวนา ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุพระอรหัต

เป็นอันว่าสามเณรหนุ่มได้ช่วยพามารดาของท่านลุถึงฝั่งแล้ว

เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ฟังพระโอวาทของพระพุทธองค์เรื่องปริศนาธรรม ๑๕ ข้อ (วันมิกสูตร) ได้บรรลุพระอรหัต

เข้าใจว่าในช่วงท้ายๆ พุทธกาล  เพราะคัมภีร์บันทึกว่า หลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก มีเจ้านครเสตัพยะ นามว่า ปายาสิ มีความเห็นผิดอันเป็นภัยร้ายกาจต่อพระศาสนาและระบบศีลธรรมจรรยา คือ เธอเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง บุญบาปไม่มี ชาติก่อนชาติหน้าไม่มี

ปายาสิเธอเป็นนักพูด มีวาทะคารมคมคาย จึงสามารถหักล้างสมณพราหมณ์ได้เป็นจำนวนมาก  พระเถระอรหันต์หลายต่อหลายรูป ท่านก็หมดกิเลสเท่านั้น ไม่มีปฏิภาณปัญญาจะไปโต้ตอบกับเธอได้ จึงถอยห่างออกไป

พระกุมารกัสสปะจึงไปโต้วาทะกับปายาสิราชันย์ ใช้เหตุใช้ผลอธิบายประกอบอุปมาอุปไมย ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของปายาสิ

ในที่สุดปายาสิยอมจำนน ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ดูรายละเอียดใน ปายาสิราชัญญสูตร – ที.ม. ๑๐/๑๐๓-๑๓๐)  

เจ้าปายาสิเชื่อว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี โดยทดสอบจากชีวิตจริงของคน คือสั่งนักโทษประหาร (ที่แน่ใจว่าตายแล้วต้องตกนรกแน่ เพราะทำกรรมชั่วไว้มากมาย ดังสมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวสอนกัน) ว่า ถ้าตายไปตกนรกจริงก็ให้กลับมาบอก นักโทษคนนั้นรับปากแล้วก็ไม่เห็นกลับมาบอก จากนั้นก็ทดลองเช่นเดียวกันกับอุบาสกผู้มีศีลธรรมว่า หลังจากไปเกิดในสวรรค์แล้วให้กลับมาบอก ก็ไม่กลับมาบอกเช่นเดียวกัน

โดยวิธีนี้เจ้าปายาสิจึงสรุปว่า นรกไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี

พระเถระอธิบายโดยยกอุปมาอุปไมยว่า เพียงแค่นักโทษประหารจะขออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปสั่งเสียลูกเมีย แล้วจะกลับมาให้ประหารทางการก็ไม่อนุญาต นักโทษประหารมีมีอิสระเสรีภาพจะไปไหนได้ตามชอบใจ  สัตว์นรกยิ่งกว่านั้น หาโอกาสจะไปไหนไม่ได้ ถึงเขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เขาก็ไม่สามารถกลับมาบอกได้ฉันใด ฉันนั้น

ครั้นถูกแย้งว่า สัตว์นรกไม่มีอิสระก็พอฟังขึ้น แต่คนที่ตายไปเกิดบนสวรรค์มีอิสรเสรีเต็มที่ แต่ทำไมยังไม่มาบอก  

เหตุผลที่พระเถระยกมากล่าวในข้อนี้ คือ กำหนดระยะเวลาบนสรวงสวรรค์นั้นช้ากว่าในโลกมนุษย์ (ว่ากันถึงขนาดว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาเท่ากับหนึ่งร้อยปีของโลกมนุษย์) ถึงแม้เขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เพียงคิดว่า รอสักครู่ค่อยกลับไปบอก “สักครู่” ของเทวดา ก็เป็นสิบเป็นร้อยปี  

พระกุมารกัสสปะตอบคำถาม หักล้างความคิดเป็นของเจ้าปายาสิ ท่านใช้หลายวิธี เช่น อธิบายตรงๆ ยกอุปมาอุปไมย หรือใช้วิธีอนุมาน  จึงสามารถทำให้นักปราชญ์อย่างเจ้าปายาสิยอมรับและถวายตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในเวลาต่อไป

นัยว่าท่านพระกุมารกัสสปะ ได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล

ท่านดำรงชีวิตจนถึงอายุขัยแล้วนิพพาน


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระกุมารกัสสปเถระ : พระธรรมกถึก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : tamroiphrabuddhabat.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤศจิกายน 2556 09:50:27 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2556 15:08:58 »

.


ภาพจาก : tamroiphrabuddhabat.com

๕. พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
พระผู้เฒ่าอดีตโหราจารย์

พระอัญญาโกณฑัญญะ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลโทณวัตถุ เมืองกบิลพัสดุ์ เรียนจบไตรเพท  เชี่ยวชาญในพยากรณ์ศาสตร์จึงได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะด้วยผู้หนึ่ง

ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมด ๘ คนนั้น ท่านโกณฑัญญะหนุ่มแน่นกว่าพราหมณ์ทั้งหมด  ในขณะที่พราหมณ์อื่นๆ ทำนายเป็นสองคติว่า ถ้าเจ้าชายอยู่ครองเพศฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก

พราหมณ์หนุ่มโกณฑัญญะกลับยืนยันว่า ถ้าเจ้าชายอยู่ครองเพศฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก

พราหมณ์หนุ่มโกณฑัญญะกลับยืนยันว่า เจ้าชายจะเสด็จออกผนวช และจะได้เป็นศาสดาเอกแน่นอน

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช  โกณฑัญญะจึงชวนบรรดาลูกๆ ของพราหมณ์ทั้ง ๗ ได้ ๔ คน ตามไปบวชคอยเฝ้าปรนนิบัติพระองค์

คัมภีร์ไม่บอกเวลาแน่นอนว่าโกณฑัญญะและสหายตามไปทันพระพุทธองค์ในช่วงไหน พอถึงตอนทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็มีกล่าวถึงพราหมณ์ทั้ง ๕ ในฐานะเป็นศิษย์ใกล้ชิดแล้ว

สมัยนั้นเชื่อกันว่า การจะบรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิตได้ ต้องดำเนิน ๒ ทาง คือ ทางหนึ่งผ่านความสุขทางเนื้อหนังมังสา อันเรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค  อีกทางหนึ่งผ่านการทรมานตนเองด้วยตบะวิธีต่างๆ อันเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

พระพุทธเจ้าทรงผ่านทางแรกมาตั้งแต่อยู่ในพระราชวังแล้ว ทรงเห็นว่าทางนั้นไม่ทำให้บรรลุธรรมได้ มีแต่ทำให้ “จม” อยู่ในห้วงความทุกข์ จึงเสด็จออกผนวชแล้วไปบำเพ็ญทางจิต (ระบบโยคะ) อยู่กับดาบสทั้งสองทางนี้  พระองค์ทรงเห็นว่าดาบสทั้งสองนำไปไม่ถึงจุดหมาย จึงลองมาอีกทางหนึ่ง คือ การทรมานตนเอง  ทรมานจนถึงขั้นสุดท้าย คือ อดอาหาร

ในที่สุดก็ทรงเห็นว่าทางนี้ก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงย้อนกลับมาหาระบบโยคะใหม่ หลังจากทรงได้พระสติว่า “ทุกอย่างต้องพอดีจึงจะดี”  คราวนี้ไม่ก้าวเลยไปจนถึงสมาบัติ ๘ หากเข้าสมาธิจนได้ฌาน ๔ แล้ว ก็ทรงใช้ฌาน ๔ นั้น เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เมื่อทรงหันไปทางวิปัสสนา ในไม่ช้าไม่นานก็ได้ตรัสรู้

ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ พราหมณ์ทั้งห้า อันได้นามเรียกรวมว่า “ปัญวัคคีย์” ก็หมายใจว่าพระองค์คงจะได้สำเร็จโพธิญาณ  ครั้นทรงเลิกทุกรกิริยาหันมาเสวยพระกระยาหารก็ผิดหวังโดยเฉพาะโกณฑัญญะผู้เคยเชื่อมั่นมาตั้งแต่แรก ถึงกับประณามว่า  พระองค์ทรง “คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมาก” คนไม่เอาไหนแล้ว

เมื่อพราหมณ์ทั้งห้าจากไป กลายเป็นผลดีแก่พระองค์ เพราะมีแต่ความสงบสงัด สะดวกแก่การบำเพ็ญเพียรทางจิต ในไม่ช้าก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  หลังตรัสรู้แล้วก็ทรงรำลึกถึงอุปการคุณของปัญจวัคคีย์ที่เคยรับใช้พระองค์มา จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ) เพื่อแสดงธรรมโปรด

ทันทีที่เสด็จไปถึง ปัญจวัคคีย์อันมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า พูดกันว่า “มาแล้ว ท่านผู้คลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมาก คงไม่มีใครดูแล จึงบากหน้ามาหาเรา เราอย่าต้อนรับ ปูแต่อาสนะไว้ อยากนั่งก็นั่งไม่อยากนั่งก็ตามใจ”

ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงจริง ต่างก็ลืมตัว ลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ แต่ปากยังแข็งอยู่ เรียกพระองค์ว่า “อาวุโส โคดม”  พระองค์ตรัสปรามว่า “อย่าเรียกเราเช่นนั้น เราได้ตรัสรู้แล้ว นั่งลง จะแสดงธรรมให้ฟัง”  ท่านทั้งห้าไม่เชื่อ ขนาดอดข้าวแทบตายยังไม่บรรลุ นี่กินข้าวจนอิ่มอ้วนแล้ว จะมีทางบรรลุได้อย่างไร

พระพุทธองค์ตรัสให้รำลึกว่า ตั้งแต่อยู่ด้วยกันมา เคยมีครั้งไหนบ้างไหมที่พระองค์ตรัสคำนี้ ทำให้ปัญจวัคคีย์ชักจะเชื่อแล้วว่าน่าจะเป็นความจริง จึงนั่งลงฟังธรรม

พระพุทธองค์ตรัสแสดงอริยสัจ ๔ ให้ปัญจวัคคีย์ฟัง เนื้อหาเริ่มด้วยตรัสถึงทางสองทางที่ไม่ควรดำเนิน คือ การหมกมุ่นในกาม กับการทรมานตนเอง  แล้วตรัสถึงทางที่ควรดำเนิน คือ มัชฌิมาปฏิปทา (คืออริยมรรคมีองค์แปด) เสร็จแล้วก็ทรงแสดงอริยสัจ ๔ ครบวงจรโดยละเอียด

สิ้นสุดพระธรรมเทศนา โกณธัญญะได้  “ดวงตาเห็นธรรม” คือ รู้เห็นตามเป็นจริงว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา" พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ  โกณฺฑญฺโญ  อญฺญาสิ  วต  โภ  โกณฺฑญฺโญ”  แปลว่า ท่านผู้เจริญ  โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ เพราะตรัสดังนี้ คำว่า “อัญญา”  จึงกลายมาเป็นชื่อหน้าของท่าน หลังจากท่านได้บวชแล้ว

โกณฑัญญะทูลขอบวช  พระองค์ทรงบวชให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เอหิภิกขุ อุปสัมปทา”  เพราะตรัสสั้นๆ เพียงว่า “จงมาเป็นภิกษุด้วยกันเถิด” วิธีบวชแบบนี้พระพุทธองค์เท่านั้นทรงใช้ และใช้มาระยะหนึ่งก็ทรงเลิก จากนั้นประทานให้การบวชเป็นหน้าที่ของภิกษุสงฆ์ทำกันเอง

ทรงใช้วิธีเอหิภิกขุครั้งสุดท้าย เมื่อครั้งบวชให้สุภัททปริพาชกก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ท่านอัญญาโกณฑัญญะกว่าจะได้บวชก็อายุมากแล้ว พระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เอตทัคคะ (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “รัตตัญญู”   (แปลกันว่า ผู้รู้ราตรีนาน)  หมายถึงผู้มีประสบการณ์มาก อยู่มานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก บางท่านว่า รัตตัญญูนี้เป็นตำแหน่งโหร ซึ่งย่อมาจาก “อโหรัตตัญญู” (แปลว่า ผู้รู้กลางวันและกลางคืน หมายถึง โหราจารย์) ว่าอย่างนั้น

ท่านทูลลาพระพุทธองค์ไปจำพรรษาอยู่ริมฝั่งน้ำมนทากินีในป่าฉัททันต์ เชิงเขาหิมพานต์ ตลอดสิบสองปี นานๆ จะมาเฝ้าพระพุทธองค์ ท่านมีหลานชายผู้ฉลาดเฉียบแหลมคนหนึ่ง นามปุณณะ บุตรนางมันตานีพราหมณี น้องสาวท่าน ท่านเห็นว่าจะเป็นกำลังแห่งพระศาสนาได้อย่างดี จึงไปนำมาบวชเป็นภิกษุ

พระปุณณมันตานีบุตร ภายหลังได้เป็นพระธรรมกถึกชั้นยอด ทำงานเผยแพร่พระพุทธศาสนาร่วมกับพระสาวกอื่นๆ อาทิ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งจะเล่าให้ฟังภายหลัง

พระอัญญาโกณฑัญญะมีอายุยืนยาวถึง ๙๐ ปี จึงนิพพานที่เชิงเขาหิมพานต์อันเป็นสถานที่ที่ท่านชอบอยู่ประจำนั้นแล

นัยว่าพระอนุรุทธเถระเป็นประธานในการจัดการเผาศพท่านแล้วนำอัฐิท่านไปถวายพระพุทธองค์ที่พระเวฬุวัน พระพุทธองค์ทรงให้ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ ให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนต่อไป


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระอัญญาโกณฑัญญะ : พระผู้เฒ่าอดีตโหราจารย์ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : www.dhammajak.net

๖. พระสารีบุตรเถระ
อัครสาวกเบื้องขวา

ผู้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม

พระสารีบุตร เป็นชาวเมืองราชคฤห์โดยกำเนิด  มารดาท่าน คือนางสารีพราหมณี  บิดาท่านนามว่า วังคันตพราหมณ์  เป็นนายบ้านอุปติสสะคาม

อุปติสสะมีสหายรักคนหนึ่งนาม โกลิตะ  เป็นบุตรแห่งบ้านโกลิตะคาม ทั้งสองเป็นเพื่อนเที่ยว เพื่อนกิน หาความสำราญจากการดูการละเล่น มหรสพต่างๆ ตามประสาลูกผู้มีอันจะกิน

วันหนึ่ง หลังจากไปดูมหรสพที่เล่นอยู่บนยอดเขา เกิดความเบื่อหน่าย เห็นว่าชีวิตนี้ไร้แก่นสาร จึงชวนกันไปสมัครเป็นศิษย์ของอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร

สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นเจ้าสำนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงหนึ่งในบรรดา “ครูทั้ง ๖” คือ ปุรณกัสสปะ, นิครนถนาฏบุตร, มักขลิโคสาละ, อชิตเกสกัมพล, ปกุธกัจจายนะ, สัญชัยเวลัฏฐบุตร

ท่านได้ศึกษาอยู่กับอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตรอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ก็จบความรู้ของอาจารย์  อาจารย์ชักชวนให้อยู่ช่วยสอนศิษย์รุ่นหลังๆ ต่อไป  แต่ท่านกับสหายมีความรู้สึกว่า วิทยาการที่ได้รับถ่ายทอดจากอาจารย์ ยังไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดที่นำพาให้พ้นจากความทุกข์ได้ จึงตกลงกันเงียบๆ กับโกลิตะผู้สหายว่า จะแยกย้ายกันไปแสวงหาอาจารย์ที่สอนแนวทางที่ดีกว่านี้  และให้สัญญากันว่าใครพบก่อนให้บอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ น้องสุดท้องแห่งปัญจวัคคีย์ ขณะท่านกำลังออก “โปรดสัตว์” อยู่  เห็นอิริยาบถอันสำรวมน่าเลื่อมใส จึงคิดว่าท่านผู้นี้คงจะมีอุตริมนุสสธรรม (ธรรมอันยิ่งที่มนุษย์ทั่วไปไม่มี)  จึงเข้าไปนมัสการขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง  

พระเถระออกตัวว่า ท่านเป็นพระนวกะอยู่ แสดงธรรมโดยพิสดารไม่ได้ ท่านจึงขอให้พระเถระแสดงแต่พอสังเขป พระเถระได้แสดงคาถาอันเป็น “แก่น” แห่งอริยสัจ ๔ ว่า

           เย  ธมฺมา  เหตุปฺปภวา         เตสํ  เหตุง  ตถาคโต (อาห)
          เตสัญฺจ  โย  นิโรโธ  จ        เอวํวาที  มหาสมโณ


ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้

อุปติสสะได้ฟังคาถานั้นก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” คือ บรรลุโสดาปัตติผล ท่านได้รีบไปกล่าวคาถานั้นแก่โกลิตะ  โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน ทั้งสองจึงไปชวนอาจารย์ให้ไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

เมื่ออาจารย์ปฏิเสธ จึงพากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ที่พระเชตวัน  หลังจากบวชได้ ๑๔ วัน  อุปติสสะ ซึ่งบัดนี้เพื่อนพรหมจารีเรียกขานในนาม “สารีบุตร” ก็ได้บรรลุพระอรหัต (ช้ากว่าโกลิตะ หรือ พระโมคคัลลานะ ๗ วัน)

การบรรลุธรรมของท่านค่อนข้างประหลาด คือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เรื่อง เวทนาปริคคหสูตร โปรดทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน  พระสารีบุตรอยู่ ณ ถ้ำสูกรชาตา (ถ้ำหมูขุด หรือ ถ้ำคางหมู) เชิงเขาคิชฌกูฏ  ขณะนั้น พระสารีบุตรถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่ กำหนดตามกระแสพระธรรมเทศนาไปด้วย พอทรงแสดงธรรมจบ ท่านพระสารีบุตรก็ได้บรรลุพระอรหัต ในขณะที่ปริพาชกหลานท่านถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะเท่านั้น

การบรรลุธรรมของท่าน เปรียบเสมือนการบริโภคอาหารที่จัดเตรียมไว้เพื่อผู้อื่น ฉะนั้น  และการบรรลุธรรมมีขึ้นในวันเดือนมาฆะพอดี

ณ ราตรีวันนั้น ได้มีการประชุมใหญ่อันเรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” (การประชุมใหญ่อันประกอบด้วยองค์) ณ พระเวฬุวัน พระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทปาติโมกข์ (พระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ) แก่ที่ประชุม พระอรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป

โอวาทปาติโมกข์นั้นมีทั้งหมด ๑๓ หัวข้อ  สรุปลงเป็น ๔ ประเด็น คือ
๑. ว่าด้วยอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา (พระนิพพาน)
๒. ว่าด้วยหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนา (ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส)
๓. ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา (รู้ประมาณในโภชนะ  อยู่อย่างสงัด  เคร่งครัดในระเบียบวินัย  ฝึกจิตอยู่เสมอ)
๔. ว่าด้วยเทคนิควิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนา (ไม่ว่าร้ายเขา  ไม่เบียดเบียนเขา  มีความอดทน  ใช้สันติวิธีในการประกาศพระพุทธศาสนา)

โอวาทปาติโมกข์นี้ ปราชญ์ไทยโบราณได้คัดเอาหลักการทั่วไป “ไม่ทำชั่ว  ทำดี  ทำใจให้ผ่องใส” มาเป็น “หัวใจ”  พระพุทธศาสนา

เหตุการณ์วันที่ท่านพระสารีบุตรบรรลุพระอรหัต ได้กลายมาเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา   โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงบัญญัติขึ้นและถือปฏิบัติมาจนบัดนี้

พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม  สามารถแสดงธรรมหักล้างความคิดเห็นผิด และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจได้แจ่มแจ้ง  เป็นผู้มีปัญญามากที่สุด รองจากพระพุทธองค์ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธองค์เป็น “อัครสาวกเบื้องขวา” เลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญาคู่กับพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้เลิศในทางมีฤทธิ์

คุณธรรมที่เด่นของท่านพระสารีบุตร นอกจากความเป็นผู้มีปัญญามากแล้ว ท่านยังมีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นเลิศอีกด้วย  ท่านถือว่าพระอัสสชิเป็นอาจารย์รูปแรกที่นำท่านเข้ามาสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา ท่านจึงมีความเคารพในพระอาจารย์ของท่านมาก เวลาท่านจะนอน ถ้ารู้ว่าอาจารย์ของท่านอยู่ ณ ทิศใด ท่านจะหันศีรษะไปทางทิศนั้น

ภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทราบความจริง พากันตำหนิท่านว่าเป็นถึงอัครสาวก ยังไหว้ทิศอยู่เหมือนสมัยเป็นคฤหัสถ์

ครั้งหนึ่ง มีพราหมณ์เฒ่าคนหนึ่ง นาม ราธะ อยากบวช แต่ไม่มีใครรับรอง  พระสงฆ์จึงไม่สามารถบวชให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า มีใครรู้จักพราหมณ์คนนี้ไหม  พระสารีบุตรกราบทูลว่า จำได้ว่าพราหมณ์คนนี้เคยใส่บาตรท่านทัพพีหนึ่ง ท่านรู้จัก จึงขอรับรอง  พระพุทธองค์ทรงมอบภาระให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์ บวชแก่ราธะพราหมณ์

หลังจากบวชแล้ว พระราธะได้เป็นสัทธิวิหาริกผู้ว่าง่ายรูปหนึ่ง นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งแสดงถึงความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตา  แม้อุปการะเล็กน้อยท่านก็ยังเห็นความสำคัญ น่าเป็นแบบอย่างที่ดีของคนรุ่นหลัง

พระสารีบุตร ปรารถนาอยากให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน อำนวยประโยชน์แก่มหาชนอย่างกว้างขวาง จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม  ซึ่งพระองค์ก็ทรงทำเมื่อถึงเวลาสมควรในกาลต่อมา  ท่านได้นำคำสอนของพระพุทธองค์จัดหมวดหมู่ตั้งแต่หมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม ... จนถึงหมวดสิบ และหมวดเกินสิบ  ดังปรากฏอยู่ใน สังคีติสูตร  และ ทสุตตรสูตร

ในเวลาต่อมา ท่านได้แสดงสังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ท่ามกลางภิกษุสงฆ์จำนวนมาก และได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์อีกด้วย

พระสารีบุตร จึงเป็นพระเถระรูปแรกที่คิดทำ “สังคายนา” พระธรรมวินัย   แต่ยังไม่ทันสำเร็จดี ท่านก็ด่วนนิพพานไปก่อน  พระมหากัสสปะจึงได้รับช่วงสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านจนสำเร็จบริบูรณ์ในกาลต่อมา

ในบั้นปลายชีวิต  พระสารีบุตรพร้อมด้วยพระจุนทะน้องชาย ได้กลับไปยังตำบลนาลันทา บ้านเกิดของท่าน เพื่อโปรดมารดา ซึ่งยังไม่นับถือพระพุทธศาสนาให้บรรลุธรรม แล้วก็นิพพาน ณ ห้องที่ท่านถือกำเนิดนั่นเอง


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระสารีบุตรเถระ : อัครสาวกเบื้องขวา หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : watphut.blogspot.com

๗. พระอนุรุทธเถระ
สดมภ์หลักในวาระสุดท้ายแห่งพระพุทธองค์

พระเถระรูปนี้เป็นพระ “สหภูมิ” (คือถือกำเนิดในเมืองกบิลพัสดุ์  อันเป็นเมืองมาตุภูมิของพระพุทธองค์) รูปหนึ่งที่ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า  ท่านเป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ  พระอนุชาธิราชของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระเชษฐาร่วมพระอุทร คือ เจ้าชายมหานามะ และกนิษฐา คือ นางโรหิณี  เจ้าชายอนุรุทธะเป็นคนที่สุขุมาลชาติมาก ว่ากันว่าคำว่า “ไม่มี” ไม่เคยได้ยิน อยากได้อะไรก็มักจะถูก “ประเคนให้”  หมดตามต้องการ

วันหนึ่ง เจ้าชายอนุรุทธะกับบรรดาศากยกุมารทั้งหลาย เล่นลูกขลุบพนันกันตามประสาเด็ก  อนุรุทธะแพ้อยู่เรื่อย ส่งคนไปเอาขนมจากพระมารดา  พระมารดาก็จัดขนมส่งให้ถึง ๓ ครั้ง  พอครั้งที่ ๔  พระมารดาบอกคนไปว่า “ขนมไม่มี”  เมื่อเขาทูลว่า “ขนมไม่มี” ก็ร้องบอกไปว่า “ขนมไม่มี นั่นแหละเอามา”

พระมารดาได้ยินรายงานดังนั้น จึงคิดว่า บุตรเราไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี จึงสั่งเอา “ขนมไม่มี” เราจะให้บุตรเรารู้ความจริงด้วยวิธีนี้

ว่าแล้วก็เอาถาดเปล่าครอบด้วยถาดอีกใบ สั่งให้คนนำไปให้โอรสของตน

ว่ากันว่าเทวดาที่รักษาพระนคร ทนไม่ได้ที่จะให้เจ้าชายอนุรุทธะเห็นถาดเปล่า จึงเอาขนมที่มีรสอร่อยที่สุดใส่ลงไปในถาด  พอเปิดถาดออกเท่านั้น กลิ่นอันหอมหวนชวนรับประทานของขนมทิพย์ก็โชยไปทั่ว เจ้าชายน้อยเสียพระทัยมาก กลับไปต่อว่าพระมารดาว่าไม่รักตน เมื่อพระมารดาว่ารักยิ่งกว่าชีวิตของท่านเสียอีก จึงแย้งว่า
“ถ้าเสด็จแม่รักลูกจริง ทำไมไม่เคยเอาขนมไม่มีให้ลูกกินเหมือนวันนี้บ้าง”

เท่านั้นแหละ พระนางก็เลยรู้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ อาจเป็นเพราะบุญญาบารมีของโอรสของตนก็ได้ จึงได้แต่นิ่งเงียบอยู่

เมื่อเจ้าชายแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ อันมีเจ้าชายภัททิยะ, ภคุ เป็นต้น  ปรารภอยากบวชตามพระพุทธองค์  เจ้าชายมหานามะจึงกล่าวว่า ตระกูลเราควรจะมีใครสักคนบวช อนุรุทธะจึงถามว่า บวชเป็นอย่างไร

ได้รับคำบอกเล่าจากพระเชษฐาว่า ผู้บวชต้องอยู่ตามป่า ตามโคนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ เที่ยวภิกขาจารขออาหารเขายังชีพ  ก็ร้องว่า พี่บวชเถอะ น้องไม่เอาด้วยแล้ว อยู่ครองเรือนดีกว่า

พระเชษฐาจึงสอนว่า การจะอยู่ครองเรือนนั้นยิ่งมีกิจที่ต้องจัดต้องทำมากมาย ยากกว่านักบวชอีก  เจ้าชายอนุรุทธะจึงตัดสินใจบวช   บวชแล้วท่านเจริญสมาธิภาวนาได้ทิพจักขุญาณ (ตาทิพย์)  ภายหลังได้รับคำแนะนำจากพระสารีบุตรเกี่ยวกับมหาปุริสวิตก ๘ ประการ  ท่านได้เดินทางไปสู่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี  สามารถทำได้บริบูรณ์ ๗ ข้อ  ส่วนข้อสุดท้ายไม่สามารถทำได้ ได้รับคำแนะนำจากพระพุทธองค์  จึงเข้าใจ และในที่สุดได้บรรลุพระอรหัตผล

ท่านชอบเจริญอาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่างเป็นประจำ จึงมีความเชี่ยวชาญเรื่องทิพพจักขุมาก จนพระพุทธองค์ตรัสยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางมีทิพพจักขุ

เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่ามกลางพุทธบริษัทที่เฝ้าอยู่ด้วยความอาลัยนั้น พระอนุรุทธะเข้าฌานสมาบัติตามพระพุทธเจ้า แล้วบอกพุทธบริษัท อันมีพระอานนท์เป็นประธานในขณะนั้นว่า พระพุทธองค์ทรงเข้าและออกจากฌาน จนกระทั่งวาระสุดท้าย  พระองค์ “ทรงดับสนิท” ในช่วงไหน  

เพราะความที่ท่านอนุรุทธะนั้น มีความเชี่ยวชาญในการเข้าฌานสมาบัติ จึงเป็น “หลัก”  แก่พุทธบริษัทได้ในวาระสำคัญเช่นนี้  เมื่อพระอนุรุทธะบอกว่า พระพุทธองค์ทรง “ดับสนิท” แล้วเท่านั้น พุทธบริษัทที่ยังเป็นปุถุชน และเสขบุคคลบางจำพวก ก็ร้องไห้คร่ำครวญอาลัยในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระเจ้าก็คอยแสดงธรรมปลอบโยนให้เข้าใจถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง

ภาษิตที่ท่านกล่าวในโอกาสนี้มีว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ไม่หวั่นไหว ทรงหมดลมหายใจแล้ว

พระมุนีเจ้าทรงทำกาละอย่างสงบแล้ว พระองค์มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงระงับเวทนาได้ มีพระทัยหลุดพ้น ทรงดับสนิทแล้ว ดุจเปลวประทีปดับ ฉะนั้น

แสดงให้เห็นธรรมดาของสังขารว่า มีเกิดแล้วมีแปรเปลี่ยนและดับสลายไปในที่สุด แม้แต่องค์พระบรมศาสดาเอกแห่งไตรภพ ยังถึงวัน “ดับสนิท” ท่านเตือนให้พุทธบริษัทคิดได้ และได้คิด  เพื่อที่จะไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต ขวนขวายเพื่อทำที่พึ่งแก่ตนให้ได้

พระอนุรุทธะนิพพานหลังพุทธปรินิพพานนานเท่าใด ไม่ปรากฏหลักฐาน


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระอนุรุทธเถระ: สดมภ์หลักในวาระสุดท้ายแห่งพระพุทธองค์ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : th.wikipedia.org 

๘. พระมหาโมคคัลลานเถระ
อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีฤทธิ์มาก


พระมหาโมคคัลลานเถระ นามเดิมว่า “โกลิตะ”   เป็นบุตรพราหมณ์   หัวหน้าหมู่บ้านโกลิตะคาม  ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านอุปติสสะคาม

ท่านมีเพื่อนกินเพื่อนเที่ยวด้วยกันชื่ออุปติสสะ  ชีวิตในวัยหนุ่มของท่าน ก็เช่นเดียวกับชีวิตพระสารีบุตร  คือ ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร 

เมื่อเบื่อหน่ายลัทธิคำสอนของอาจารย์สัญชัย ก็พากันแสวงหาทางใหม่ 

อุปติสสะได้พบกับพระอัสสชิ และได้ฟังธรรมจากท่าน จนบรรลุโสดาปัตติผล จึงนำมาบอกแก่โกลิตะ  โกลิตะได้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน  ทั้งสองจึงพากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า  (ดังรายละเอียดเล่าไว้แล้ว)

หลังจากบวชแล้ว  โกลิตะได้นามเรียกขานในหมู่บรรพชิตว่า โมคคัลลานะ  ท่านไปบำเพ็ญเพียรทางจิต ณ หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แต่ไม่สามารถบังคับจิตให้เป็นสมาธิได้ เพราะถูกความง่วงครอบงำ  พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาประทานโอวาทบอกวิธีแก้ง่วง ๗ ประการให้ท่านดังนี้
     ๑. ถ้ามีสัญญาอย่างไรอยู่ เกิดความง่วง ให้นึกถึงสัญญานั้นให้มาก  หมายความว่า ถ้านึกคิดเรื่องใดอยู่แล้วเกิดความง่วงก็ให้กำหนดสิ่งนั้นให้มากกว่าเดิม แล้วความง่วงจะหาย
     ๒. ถ้ายังไม่หาย ให้พิจารณาถึงเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังมา  หรือที่เล่าเรียนมา ความง่วงจะหาย
     ๓. ถ้ายังไม่หาย  ให้ท่องข้อความที่กำลังอ่านอยู่ หรือนึกถึงอยู่ดังๆ ความง่วงก็จะหาย
     ๔. ถ้ายังไม่หาย  ให้ยอนหูทั้งสองข้าง คือเอาอะไรแยงหู  แหงนดูทิศทั้งหลาย ความง่วงจะหาย
     ๕. ถ้ายังไม่หาย  ให้ลุกขึ้นเอาน้ำล้างหน้า  แหงนดูทิศทั้งหลาย ความง่วงจะหาย
     ๖. ถ้ายังไม่หาย  ให้นึกถึง “อาโลกสัญญ” คือ วาดภาพถึงแสงสว่าง ความง่วงจะหาย
     ๗. ถ้ายังไม่หาย ให้เดินจงกรม  คือ เดินกลับไปกลับมา  ความง่วงก็จะหาย

พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้ปฏิบัติตามวิธีทั้ง ๗ นี้ ความง่วงจะหายไปแน่นอน แต่ถ้าไม่หายจริง ๆ ก็ให้นอนท่าสีหไสยาสน์ คือ ให้นอนเสีย (รับรองว่าคราวนี้หายสนิท ถึงขึ้นกรนครอกฟี้ทีเดียว)

จากนั้น พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทให้ท่านพิจารณาถึงเวทนาว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ท่านปฏิบัติตามพระโอวาทแล้วได้บรรลุพระอรหัต ในวันที่ ๗ หลังจากอุปสมบท

ผลพวงจากการได้บรรลุพระอรหัตผลของท่าน ก็คือท่านได้อภิญญา (ความสามารถพิเศษ) คือ มีอิทธิฤทธิ์ด้วย จึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางมีฤทธิ์มาก และได้รับแต่งตั้งเป็น “อัครสาวก” เบื้องซ้ายคู่กับพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา

ความที่ท่านมีฤทธิ์มาก ท่านจึงได้ใช้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็น “สื่อ” หรือเป็น “เครื่องมือ” ชักจูงคนมิจฉาทิฐิที่มีฤทธิ์ ให้คลายจากความเห็นผิด แล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนามากมาย

บางครั้งก็ได้รับพุทธบัญชาไป “ปราบ” ผู้มีฤทธิ์ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ทำให้เกียรติคุณของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว มีผู้เข้ามาบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์มากขึ้นตามลำดับ

ข้อนี้แลได้สร้างผลกระทบต่อลัทธิอัญเดียรถีย์อื่นๆ มาก จนถึงกับว่าจ้างพวกโจรมาฆ่าพระโมคคัลลานะ เพื่อ “ตัดมือตัดเท้า” ของพระพุทธเจ้า

พวกโจรมาล้อมกุฏิของพระโมคคัลลานะถึง ๓ ครั้ง แต่ท่านก็เข้าฌานเหาะหนีไปได้ทั้ง ๓ ครั้ง

 ครั้งที่ ๔ ท่านไม่หนี จึงถูกพวกโจรทุบจนกระดูกแหลกละเอียด  พวกโจรนึกว่าท่านตายแล้วจึงพากันหนีไป

พระเถระดำริว่า ยังไม่กราบทูลลาพระพุทธเจ้า จะนิพพานไม่ได้ จึงประสานร่างให้คงคืนตามเดิมด้วยอำนาจฌานสมาบัติ  เหาะไปกราบทูลลาพระพุทธองค์

..........แล้วก็นิพพาน


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระมหาโมคคัลลานเถระ : อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีฤทธิ์มาก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 12:44:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556 18:42:02 »

.


ภาพจาก : mediacenter.mcu.ac.th

๙. พระเขมาเถรี
ผู้เลิศในทางมีปัญญามาก


พระเขมาเถรี เป็นธิดาแห่งตระกูลกษัตริย์ เกิดที่เมืองสาคละ แคว้นมัททะ มีรูปร่างสวยงามผิวพรรณผุดผ่องดังทอง เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นมเหสีพระองค์หนึ่งในจำนวนหลายพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

ว่ากันว่า เป็นมเหสีคนโปรดของพระเจ้าพิมพิสารด้วย

พระนางเขมาเป็นผู้ที่ภาคภูมิใจในความสวยงามของตนมาก มากจนกระทั่งหลงว่าไม่มีใครงามเกินตนไปได้

พระราชสวามีนั้นเป็นคนเคร่งศาสนา หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดแสดงธรรมให้พระองค์ฟัง พระองค์ก็ได้ปฏิญญาตนเป็นพุทธมามกะผู้เคร่งครัด ถึงสละสวนไผ่อันรื่นรมย์นอกเมืองราชคฤห์ให้เป็นวิหาร (วัด) ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ นามว่า “วัดพระเวฬุวัน” เมื่อยามว่างจากราชกรณียกิจก็จะเสด็จไปเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเสมอ

พระราชสวามีทรงชักชวนพระนางเขมาไฟธรรมทุกครั้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธทุกครั้งเช่นกัน

พระนางเขมาได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้ามักจะตรัสตำหนิความสวยความงามอยู่เสมอ มักจะตรัสว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  เป็นของไม่เที่ยงแท้และแน่นอน เกิดมาแล้วก็ย่อมแปรผันและเสื่อมสลายไปในที่สุด ซึ่งพระนางทรงรับฟังไม่ได้ เพราะเท่ากับมานั่ง “ฟังด่า” พระนางคิดอย่างนั้น จึงไม่ยินดีไปฟังธรรมที่พระเวฬุวัน

พระราชสวามีได้ปรึกษากับกวีเอกแห่งราชสำนัก ถึงอุบายที่จะจูงใจให้พระมเหสีคนโปรดไปฟังธรรมโดยสมัครใจ  กวีเอกแห่งราชสำนักได้แต่งเพลงบรรยายถึงความน่ารื่นรมย์แห่งพระเวฬุวัน ว่าสวยงาม น่าเที่ยวชมน่าอภิรมย์ใจเพียงใดได้อย่างกินใจ และท่วงทำนองการขับเพลงก็ไพเราะรื่นหู

ในที่สุดทุกอย่างก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ พระนางเขมากราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า อยากไปดูพระเวฬุวัน
พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปพระเวฬุวันพร้อมกับพระมเหสี  วันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาให้ทั้งสองพระองค์ฟัง ทรงเนรมิตภาพนางอัปสรสวยงามมากนางหนึ่ง ยืนถวายงานพัดพระพุทธองค์ขณะแสดงธรรม ไม่มีใครมองเห็นนอกจากพระนางเขมาพระองค์เดียว

พระนางจ้องภาพนั้นไม่กะพริบพระเนตร ทรงรำพึงว่า นางช่างสวยงามจริงๆ สวยกว่าตัวพระนางอีก ขณะที่พระนางจ้องดูอยู่นั้น นางอัปสรก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากเด็กสาวสวยวัยรุ่น เป็นสาวใหญ่ เป็นหญิงวัยกลางคน เป็นหญิงแก่หง่อม หนังเหี่ยว ฟันเหยิน ผมหงอก หลังโกง จนกระทั่งล้มลงนอนตายอยู่ใกล้ๆ พระพุทธองค์
จิตของพระนางเขมาเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ จากการยึดติดในความสวยงามจนกระทั่งเกิดความสะอิดสะเอียนในความน่าเกลียดของร่างกาย

พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความเปลี่ยนแปลงภายในจิตของพระนาง จึงตรัสเตือนสติแผ่วเบาว่า

“เขมา สรรพสิ่งไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน มีเกิดก็มีแปรเปลี่ยนและเสื่อมสลายไปในที่สุด ดูอย่างสาวน้อยคนนี้ ในที่สุดก็ถึงซึ่งความตาย”

พระนางเข้าใจถึงความจริงของสรรพสิ่ง  ทรงส่งจิตไปตามกระแสธรรมเทศนา และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วไม่ควรอยู่ครองเรือน พึงบวชในวันนั้น หาไม่เพศฆราวาสจะไม่สามารถ “ธาร” (ทรง) ภาวะแห่งพระอรหันต์ได้ จะต้องนิพพานในวันนั้นหรือไม่ก็ต้องบวช จึงจะดำรงชีวิตต่อไปได้

พระนางจึงทูลของพระบรมราชานุญาตจากพระราชสวามีบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งก็ได้รับพระราชทานอนุญาต
นางบวชเป็นภิกษุณีแล้ว ได้รับยกย่องในเอตทัคคะ (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางมีปัญญามาก

พระเขมาเถรีใช้ปัญญาอันแตกฉานของพระองค์เป็นเครื่องมือในการให้คำปรึกษาแก่ภิกษุณีอื่นๆ และในการประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายกว้างขวางออกไป

วันหนึ่งพระเขมาเถรีพำนักอยู่ที่โตรณะวัตถุ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองสาเกต  พระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราช กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถีบังเอิญเสด็จผ่านไปทางนั้น ทรงทราบว่าพระเขมาเถรีพำนักอยู่ที่เมืองนั้น จึงเสด็จไปสนทนาธรรมด้วย

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหาธรรมหลายข้อ อาทิ พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย ภายหลังจากนิพพานแล้วจะยังคง “ดำรงอยู่” หรือไม่

ได้รับการวิสัชนาอย่างแจ่มแจ้งจากพระเขมาเถรี เป็นที่พอพระทัย ภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเล่าถึงบทสนทนาระหว่างพระองค์กับพระเขมาเถรีถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสรับรองว่าที่พระเขมาเถรีวิสิชนานั้นถูกต้องแล้ว และทรงอนุโมทนาด้วย

หลักฐานไม่ปรากฏว่า พระเถรีนิพพานเมื่อพระชนมายุเท่าไร ณ ที่ไหน

แต่ไม่ว่าจะมีพระชนมายุสั้นหรือยาวแค่ไหน พระอรหันต์ผู้เพียงพร้อมด้วยวิชชา (ความรู้) และจรณะ (ความประพฤติดีงาม) ก็ได้ทำประโยชน์แก่มนุษย์ชาติสมบูรณ์ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว

ดังพุจธวจนะว่า คนที่ไม่เข้าถึงธรรม บรรลุอมตบท (พระนิพพาน) ถึงจะอยู่ร้อยปี ก็สู้คนที่เข้าถึงธรรมบรรลุอมตบท ที่มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวไม่ได้...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระเขมาเถรี : ผู้เลิศในทางมีปัญญามาก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก


http://www.larnbuddhism.com/atatakka/tere/pasta.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ภาพจาก : dhammajak.ne

๑๐. พระกุณฑลเกสีเถรี
อดีตปรัชญาเมธี

คำว่า “ปรัชญาเมธี”  (sophis)  มีพฤติกรรมคล้ายกับนักบวชเร่ร่อนประเภทหนึ่ง คือ ปริพาชก (ผู้หญิงเรียกว่าปริพาชิกา)  พวกนี้ตั้งเป็นสำนัก “โต้วาที”  ชอบสัญจรไปโต้วาทะกับผู้รู้ทั้งหลายตามหัวเมืองต่างๆ

พระกุณฑลเกสีเถรี หรือบางครั้งเรียก กุณฑลเกสา  เดิมนามว่า ภัททา เคยเป็นสาวิกาของสำนักนี้มาก่อน ว่ากันว่าที่ได้นามว่า กุณฑลเกสี เพราะเมื่อบวชในสำนักปริพาชก  ถูกเอาแปรงตาลครูดผมออก (แทนที่จะโกน) เมื่อผมขึ้นมาใหม่จึงหยิกเป็นลอนๆ หลังพ่ายแพ้ในการโต้วาทะกับพระสารีบุตรอัครสาวก จึงมาบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา

สมัยยังครองเรือนอยู่ ท่านเป็นลูกสาวของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งเห็นราชบุรุษแห่นักโทษประหารประจานไปตามท้องถนน เกิดจิตปฏิพัทธรักใคร่อยากได้มาเป็นคู่ครอง จึงบอกบิดามารดาว่า ถ้าไม่ได้เขามาเป็นสามีก็จักไม่มีชีวิตอยู่ บิดามารดาก็รักลูกสาวมาก กลัวลูกสาวจะคิดสั้น จึงยินยอมให้สินบนแก่ผู้คุมให้ปล่อยนักโทษนำเขามาอยู่ในบ้าน  ข้างฝ่ายราชบุรุษหรือผู้คุมนักโทษ ก็หา “แพะ มาประหาร  แล้วกราบทูลพระราชาว่า ภารกิจในการนำนักโทษไปประหารนั้น สำเร็จลุล่วงตามพระราชประสงค์แล้วทุกประการ

มหาโจรรอดชีวิตมา และได้อยู่บนปราสาทอันโอ่อ่า ในฐานะสามีของกุณฑลเกสีผู้เลอโฉม ก็น่าจะพอใจในโชคชะตาที่พลิกผันอย่างน่ามหัศจรรย์  แต่โจรก็คือโจร เมื่อได้มาเห็นสมบัติพัสถานอันมากมาย เห็นภรรยาตกแต่งเครื่องพัสตราภรณ์อันสวยงามล้ำค่า ก็เกิดความโลภ อยากได้ไว้คนเดียว นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายวัน วันหนึ่งจึงแสร้งทำตัวเป็นไข้นอนซม ข้าวปลาไม่แตะต้อง

ภรรยาถามว่าเป็นอะไร  มหาโจร ตอบนางว่า ก่อนที่จะถูกนำไปประหารนั้น ได้บนกับเทพเจ้าบนเขาไว้ว่าถ้ารอดชีวิตจะแก้บน จนบัดนี้ยังไม่ได้แก้บนเลย จึงไม่สบายใจ

กุณฑลเกสี จึงว่า เรื่องแค่นี้เองจะเอาอะไรไปแก้บน บอกมา จะจัดการให้

มหาโจรกล่าวว่า “พี่บนด้วยข้าวมธุปายาสอย่างดี ข้าวตอกดอกไม้”

นางจัดแจงเครื่องพลีกรรม หรือเครื่องแก้บนให้สามีจนครบถ้วน แล้วแต่งตัวด้วยพัสตราภรณ์ สวมเครื่องประดับล้ำค่าสวยงามติดตามด้วยบริวารหลายคนเดินทางมุ่งหน้าไปยังเขา “ทิ้งโจร” ที่สามีนางอ้างว่าได้บนเทพเจ้าบนหุบเขานั้นไว้

พอเดินทางไปถึงตีนเขาสามีก็ขอให้นางบอกให้บริวารกลับ เพราะการแก้บนนั้นจะต้องทำพิธีกันสองคนเท่านั้น

เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขา มหาโจรก็ออกลาย นั่งนิ่งเฉยไม่ทำอะไร เมื่อภรรยากล่าวว่า ทำไมไม่ทำพิธี ก็ตอบทันควันว่า พิธีอะไรกันข้ามิได้บนเทพเจ้าที่ไหนไว้ ข้าหลอกเจ้าต่างหาก
 
เมื่อถามว่า หลอกนางเพื่ออะไร ก็พูดแสยะยิ้มว่า หลอกมาฆ่าเอาเพชรนิลจินดาสิ ถามได้

นางตกใจสุดขีด แต่ยังทำใจดีสู้เสือ เจรจาอย่างไพเราะว่า “สมบัติของดิฉันก็เป็นของพี่ด้วย ไม่เห็นจะต้องทำอย่างนี้เลย พี่อยากได้อะไรก็บอก”
  
มหาโจรพูดว่า “เธอยกให้แล้วอาจเสียดายเอาคืนไปก็ได้ เพื่อให้แน่ ฆ่าเธอเลยดีกว่า”

เมื่อเห็นว่าไม่มีทางโน้มน้าวให้มหาโจรเชื่อแล้ว ก็ฉุกคิดว่า เราจงใช้ปัญญาหาทางเอาตัวรอดให้ได้ คิดดังนี้แล้วจึงกล่าวกับมหาโจรว่า “ถ้าเช่นนั้น ก่อนฉันจะตาย ก็ขอให้ไหว้ท่านก่อน” ว่าแล้วก็เดินประทักษิณ (เวียนขวา)  มหาโจรครบสามรอบ ก้มลงกราบสามีผู้ยืนหันหลังให้ด้วยความประมาท แล้วก็ผลักมหาโจรตกเขาตายในทันใด

ว่ากันว่าเทพยดาที่สิงสถิตบนเขาได้ให้สาธุการแก่นาง กล่าวคาถา (โศลก) ว่า
        “ใช่ว่าบุรุษจะเป็นบัณฑิตเท่านั้นไม่
        แม้สตรีผู้มีปัญญาแจ้งประจักษ์
        ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์นั้นๆ
        ก็เป็นบัณฑิตได้เช่นเดียวกัน”


นางเดินลงเขา ไม่คิดกลับบ้าน เพราะเกรงบิดามารดาจะทำโทษ จึงไปบวชเป็นพาชก สำนักปริพาชก   นางเรียนจบเคล็ดวิชาทั้งหมดจากอาจารย์แล้วก็สัญจรไปยังเมืองต่างๆ เพื่อโต้วาทะกับผู้รู้  ปรากฏว่า ไม่มีใครหักล้างวาทะของนางได้ ชื่อเสียงความเป็นผู้มีปฏิภาณยอดเยี่ยมของนางแพร่ขจายไปอย่างรวดเร็ว วันหนึ่ง นางผ่านไปยังหมู่บ้านหนึ่ง จึงปักกิ่งหว้าไว้กลางทาง กล่าวว่าใครสามารถโต้วาทะกับเรา จงเหยียบกิ่งหว้านี้ เด็กๆ พากันเฝ้าดูคนสัญจรไปมาว่าจะมีใครกล้าเหยียบหรือไม่ ก็ไม่มีใครกล้า

พระสารีบุตรอัครสาวก เดินผ่านมาเห็นเด็กๆ ล้อมวงกันอยู่ จึงถามไถ่ทราบเรื่องแล้ว บอกให้เด็กเหล่านั้นเหยียบกิ่งหว้า  พวกเด็กก็พากันเหยียบย่ำกิ่งหว้าของนางกันสนุกสนาน  นางเจ้าของกิ่งหว้ามาพบเข้า จึงดุด่าเด็กเหล่านั้น เมื่อรู้ว่าพระสมณะรูปหนึ่งสั่งให้เหยียบ จึงตามไปจนทัน ถามว่าท่านสั่งให้เด็ก ๆ เหยียบกิ่งหว้าของดิฉันหรือ

“ใช่แล้ว ปริพาชิกา”

“ท่านสามารถตอบปัญหาของดิฉันหรือ จึงสั่งให้เหยียบกิ่งหว้า"

“เราตอบได้ ปริพาชิกา ถามมาสิ”  พระเถระตอบอย่างสงบ

นางกุณฑลเกสี จึงถามปัญหายากๆ ที่นางได้เล่าเรียนมาจากสำนักอาจารย์  ถามกี่ข้อๆ พระเถระก็ตอบได้หมด เสร็จแล้วพระเถระถามว่า “เธอถามเรามามากแล้ว เราขอถามบ้าง” ว่าแล้วท่านก็ถามว่า “อะไรชื่อว่าหนึ่ง”

นางมืดแปดด้าน จึงเรียนถามท่านว่า นี้เรียกว่าอะไร  พระเถระตอบว่า นี้เรียกว่า “พุทธมนต์”  พระเถระเรียนมาจากพระพุทธเจ้า เมื่อนางขอให้สอนให้บ้าง พระเถระจึงบอกว่าจะสอนให้เฉพาะคนที่ถือเพศบรรพชิต (คือบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น)

นี้แลคือสาเหตุที่นำนางมาสู่พระพุทธศาสนา  นางบวชในสำนักนางภิกษุณี ปรากฏนามว่า กุณฑลเกสีเถรี   บวชเพียงสองสามวันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทา หลังจากฟังพระธรรมเทศนาสั้นๆ จากพระพุทธองค์

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในวันหนึ่งว่า พระกุณฑลเกสีเก่ง สามารถเอาชนะมหาโจรโหดร้ายได้ แม้มาบวชแล้วฟังธรรมเพียงสั้นๆ ก็บรรลุพระอรหัตได้  พระพุทธองค์ตรัสว่า “ธรรมะของตถาคต ไม่จำกัดว่าสั้นหรือยาว น้อยหรือมาก  ย่อมอำนวยประโยชน์ได้ทั้งนั้น และคนที่นับว่าเก่งคือคนชนะกิเลสได้ ไม่ใช่ชนะโจรภายนอกได้”  แล้วตรัสโศลกความว่า  “ผู้ที่กล่าวโศลกตั้งพัน  แต่ไม่ทำให้ผู้ฟังสงบระงับได้ ไม่ประเสริฐ พระธรรมบทเดียวที่ฟังแล้วทำให้ใจสงบระงับประเสริฐกว่า ผู้ที่ชนะข้าศึกในสงครามเป็นพันๆ หาชื่อว่าเป็นยอดผู้พิชิตไม่ ผู้ที่ชนะตนนั้นแลนับเป็นยอดผู้พิชิตแท้จริง

ประวัติมิได้บอกว่าพระเถรีเป็นเลิศในทางใด แต่จากอรรถกถาเถรีคาถา ได้ทราบว่า มีคาถาหรือโศลกธรรมของพระเถรีจำนวนมาก บรรยายถึงการสัญจรไปแสดงธรรมแก่ประชาชนยังแคว้นต่างๆ เช่น แคว้นอังคะ กาสี และโกศล แสดงให้เห็นถึงฉันทะอันแรงกล้าในการช่วยพระพุทธองค์ประกาศพระพุทธศาสนา

พระเถรีดำรงอยู่จนจวบอายุขัย แล้วก็นิพพานเหลือทิ้งไว้แต่คุณงามความดีให้พุทธศาสนิกชนได้อนุสรณ์ถึงชั่วกาลนาน...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระกุณฑลเกสีเถรี : อดีตปรัชญาเมธี หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : nitipatth.blogspot

๑๑. พระจูฬปันถกเถระ
พระปัญญาทึบผู้แตกฉาน

คุณสมบัติของท่านฟังดูแล้วขัดแย้งกัน คนปัญญาทึบ ทำไมจึงมีปัญญาแตกฉาน....ปัญญาทึบมาก่อนแต่ภายหลังเป็นผู้ฉลาด มีปัญญาแตกฉาน…

พระจูฬปันถกเถระ ท่านเป็นบุตรของธิดาธนเศรษฐีแห่งเมืองราชคฤห์  มารดาท่านเป็นบุตรสาวคนเดียวของตระกูล จึงอยู่ในความกวดขันดูแลของพ่อแม่อย่างเคร่งครัด มิให้มีโอกาสคบกับบุรุษใดๆ เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียอันจักเกิดขึ้นแก่วงศ์ตระกูล

แต่การเข้มงวดเช่นนั้นกลับกลายเป็นผลร้ายในภายหลัง หญิงสาวได้มีจิตรปฏิพัทธ์แอบได้เสียกับคนรับใช้ในตระกูล เมื่อกลัวพ่อแม่รู้ความเข้าในภายหลัง จะต้องถูกลงโทษ จึงชวนสามหนีไปอยู่ที่อื่น อยู่กันตามประสายากในชนบท

พักหนึ่ง นางก็ตั้งครรภ์ เมื่อจวนคลอด ก็นึกถึงพ่อแม่ เกรงว่าคลอดลูกออกมาแล้วจะไม่ปลอดภัยและลำบาก จึงชวนสามีกลับบ้าน แต่สามีเกรงภัยจะมาถึงตัวจึงไม่ยินยอม นางฉวยโอกาสที่สามีไม่อยู่ หนีกลับบ้าน

สามีตามมาทันระหว่างทาง พากลับไปยังที่อยู่ของตน บังเอิญนางคลอดบุตรระหว่างทาง บุตรน้อยจึงได้นามว่า “ปันถก” (แปลว่า ผู้คลอดระหว่างทาง)

ต่อมาเมื่อตั้งครรภ์บุตรคนที่สอง ก็เกิดเรื่องทำนองเดียวกัน  บุตรก็คลอดระหว่างทางเช่นกันกับคนแรก และได้ตั้งชื่อ “ปันถก” เหมือนกัน  เพื่อให้เรียกไม่สับสน คนโตจึงมีชื่อว่า “มหาปันถก”  (ปันถกคนโต)  คนน้องได้ชื่อว่า “จูฬปันถก” (ปันถกคนเล็ก)

ต่อมาสองสามีภรรยานำมหาปันถกและจูฬปันถกไปฝากให้ตาและยายเลี้ยง เพราะทั้งสองไม่กล้ากลับไปสู้หน้าพ่อแม่ จึงไปมีชีวิตอยู่ตามยถากรรม  ข้างฝ่ายมหาปันถกเกิดศรัทธาในพระศาสนา ขออนุญาตลาไปบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าตั้งแต่อายุยังน้อย

เมื่ออายุครบบวช ก็ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธองค์ บำเพ็ญสมณธรรมด้วยความพากเพียรไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมปฏิสัมภิทา (ความแตกฉาน)

ท่านได้รับ “เอตทัคคะ” (ตำแหน่งความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางมีความฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ (คือ ฉลาดเชี่ยวชาญในวิปัสสนา) นี้เป็นเรื่องของพระผู้พี่  

ส่วนเรื่องราวของพระผู้น้อง เมื่อพระมหาปันถกได้บรรลุธรรม มีความแตกฉานแล้ว ก็นึกถึงน้องชาย จึงไปขออนุญาตโยมตาเอาน้องชายมาบวชอยู่ด้วย  จูฬปันถกน้องชายท่าน มีคุณสมบัติไม่เหมือนกับพี่ชาย คือ เป็นคนมีปัญญาทึบ หัวช้า ท่องจำอะไรไม่ค่อยได้

บวชมาแล้วก็ไม่สามารถท่องบ่นสาธยายอะไรได้ กระทั่ง “คาถา” (คือโศลก) ๔ บาท  ใช้เวลาตั้ง ๓-๔ เดือน ก็ยังจำไม่ได้ คาถานั้นมีความว่า
          ปทฺมํ ยถา โกกนทํ สุคนฺธํ   ปาโต  สิยา  ผุลฺลมวีตคนฺธํ
          องฺคีรสํ  ปสฺส วิโรจมานํ   ตปนฺตมาทิจฺจมิวมนฺตลิกฺเข
         
          ดอกบัวโกกนท  มีกลิ่นหอม บานแต่เช้า มีกลิ่นอบอวลฉันใด
          เธอจงดูพระอังคีรสเจ้า (พระพุทธเจ้า) ผู้รุ่งโรจน์ดุจพระอาทิตย์สว่างกลางหาว ฉะนั้น


ท่านพยายามท่องอยู่ตั้ง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้  พระมหาปันถกผู้พี่ชาย จึงออกปากขับไล่ ด้วยเกรงว่าน้องชายผู้มีปัญญาทึบจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง

จูฬปันถก ถูกขับไล่ออกจากวัด ไม่รู้จะไปที่ไหน จึงได้แต่ยืนร้องไห้อยู่นอกพระอาราม

ในเวลานั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปหาพระมหาปันถกในฐานะที่ท่านเป็น “ภัตตุทเทศก์” (ผู้จัดพระไปกิจนิมนต์) ขอนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมด อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน  ท่านก็จัดการให้ตามประสงค์ โดยเว้นจูฬปันถกน้องชายท่านไว้

เมื่อได้เวลา หมอชีวกให้คนยกภัตตาหารเข้าไปถวายพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์  พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ชีวกยังมีพระภิกษุอยู่ในวัด มิใช่หรือ”

พระมหาปันถกกราบทูลว่า “พระภิกษุมาด้วยกันหมดแล้วพระเจ้าข้า ไม่มีอีกแล้ว”

พระพุทธองค์คงถามย้ำอยู่เช่นเดิม หมอชีวกจึงให้คนไปที่วัด เขากลับมารายงานว่าที่วัดมีพระเต็มไปหมด  พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่าให้ถามว่ารูปไหนชื่อจูฬปันถก  เขาไปแล้วกลับมารายงานว่า ทุกรูปต่างก็บอกว่าตนชื่อจูฬปันถก  พระองค์จึงตรัสบอกว่าสังเกตดูรูปไหนอ้าปากตอบก่อนให้จับแขนรูปนั้นทันที

เขาไปอีกครั้ง ทำตามพระพุทธองค์ทรงตรัสบอก พระรูปอื่นจำนวนมากหาบวับไปกับตา  เหลือแต่ท่านจูฬปันถกรูปเดียว และท่านก็ได้ตามไปยังคฤหาสน์หมอชีวกโกมารภัจจ์ในวันนั้น

ถามว่า ท่านจูฬปันถกยืนร้องไห้อยู่ก่อนหน้านี้ ทำไมตอน (ที่กล่าวถึง) นี้  จึงกลายเป็นพระผู้มีฤทธิ์มากมายปานนั้น  คำตอบก็คือ ขณะที่ท่านยืนร้องไห้อยู่นั้น พระพุทธเจ้าเสด็จมา ทรงซักถามปัญหาของท่านแล้วช่วยเหลือท่านด้วยพระมหากรุณา

คือ ให้ท่านนั่งลง เอามือลูบผ้าขาว พร้อมบริกรรมว่า “รโช หรณํ” (อ่านว่า “ระโชหะระนัง”  แปลว่า ผ้าเช็ดธุลี)  ติดต่อกัน  ท่านนั่งลูบผ้าขาว พลางบริกรรมไปพลาง (คือท่องเบาๆ)  ว่า “รโช หรณํๆๆ”

เมื่อระยะเวลาผ่านไป จิตของท่านก็เป็นสมาธิ ลืมโลกภายนอกหมด  เมื่อผ้าขาวหมองคล้ำเพราะเหงื่อมือปรากฏให้เห็น ก็ได้ความคิดเปรียบเทียบว่า ผ้าที่ขาวสะอาดเมื่อกี้นี้ บัดนี้กลับเศร้าหมอง เพราะเหงื่อมือฉันใด  จิตคนเราเดิมสะอาดอยู่แล้ว เมื่อถูกราคะ โทสะ โมหะ มาครอบงำ  ย่อมกลายเป็นจิตที่เศร้าหมอง ฉันนั้น

พิจารณาเห็นไตรลักษณ์เข้าสู่ทางวิปัสสนา  ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมอภิญญา (ความสามารถพิเศษ เหนือสามัญวิสัย)  เพราะเหตุนี้แล  เมื่อคนของหมอชีวกไปในวัด ท่านจึงเนรมิตร่างกายให้มีเป็นร้อยเป็นพันอยู่เต็มวัด จนเขาวิ่งหน้าตาตื่นไปรายงานหมอชีวก

เรื่องของพระจูฬปันถก ให้แง่คิดอย่างดีสำหรบครูที่ไม่รู้นิสัย อุปนิสัย และอธิมุติ (ความถนัด)  ของศิษย์ย่อมสอนศิษย์ไม่สำเร็จผล   ครูจะต้องเรียนรู้จุดเด่นจุดด้อยของศิษย์ และมีเทคนิควิธีสอนที่เหมาะกับผู้เรียน การสอนจึงจะสัมฤทธิ์ผล

พระพี่ชายไม่รู้จักน้องชายดี  จึงสอนน้องชายไม่ถูกทาง  คนหัวไม่ดีเกณฑ์ให้ท่องหนังสือ ย่อมยากที่จะท่องได้

แต่พระพุทธเจ้าท่านทรงใช้วิธีอื่น ไม่ให้ท่านท่อง คือ ทรงให้ท่านลูบผ้าขาว  ซึ่งก็คือทรงบอกวิธีปฏิบัติกรรมฐานนั้นเอง  เพียงแต่ไม่ตรัสบอกโดยตรงเท่านั้น  เมื่อไม่ต้องท่องให้ทำเฉยๆ  ท่านจูฬปันถกก็มีกำลังใจ เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น  หลังจากปฏิบัติตามพระพุทธองค์แล้ว ก็เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในที่สุดดังกล่าวแล้ว

พระจูฬปันถก ได้รับเอตทัคคะในทางผู้มีมโนมยิทธิ (มีฤทธิ์ทางใจ)  เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเวลาก็นิพพานไปตามอายุขัย...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระจูฬปันถกเถระ : พระปัญญาทึบผูัแตกฉาน หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก


.


ภาพจาก : www.sookjai.com

๑๒. พระอานนทเถระ
พุทธอนุชา

พระอานนทเถระ พระอานนท์เป็นโอรสของเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระกนิษฐภาดา (น้องชาย) ของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาของท่านนาม กีสาโคตมี  พระอานนท์จึงมีปกติเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า

ท่านออกบวชพราหมณ์กับเจ้าชายศากยะและเจ้าชายโกลิยะ ๕ องค์ คือ ภัททิยะ ภคุ กิมพิละ อนุรุทธะ เทวทัต รวมเป็น ๖ กับนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี

การอุปสมบทในครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จนิวัติจากการไปโปรดพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์แล้ว โดยทั้ง ๗ ท่านนั้นได้ติดตามพระพุทธองค์มาทันที่อนุปิยะนิคม แคว้นมัลละ  เจ้าชายทั้ง ๖ ได้ให้อุบาลีนายภูษามาลาบวชก่อน นัยว่าเพื่อขจัดทิฐิมานะของตน

หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล

หลังจากบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ได้มารับหน้าที่ “พุทธอุปัฏฐาก” ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม จึงยังคงเป็นพระโสดาบันอยู่นาน จนกระทั่งหลังพุทธปรินิพพาน จึงสามารถทำที่สุดแห่งพรหมจรรย์ได้

ตลอดระยะเวลาประมาณ ๒๐ ปี หลังตรัสรู้พระพุทธองค์ไม่มีอุปัฏฐากประจำพระสาวก ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่รับใช้พระพุทธองค์

ต่อมาพระสงฆ์เห็นว่าควรจะมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ พระเถระทั้งหลายต่างก็เสนอตัวเข้ารับหน้าที่ถูกพระพุทธองค์ปฏิเสธ เพราะทรงมีพระประสงค์จะให้พระอานนท์รับหน้าที่นี้ แต่พระอานนท์ก็มิได้เสนอตน คิดว่าถ้าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ก็จะตรัสเรียกเอง

พระสงฆ์จึงขอร้องให้ท่านพระอานนท์รับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (ยื่นเงื่อนไข) ๘ ประการ ก่อนเข้ารับหน้าที่ คือ
     ๑. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน
     ๒. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน
     ๓. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระพุทธองค์
     ๔. ต้องไม่นำท่านไปในที่นิมนต์ด้วย
     ๕. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
     ๖. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที
     ๗. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ
     ๘. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้ำให้ท่านฟังด้วย

เหตุผลที่ท่านขอพร ๘ ประการ ก็คือ
พรที่ ๑-๔ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ

พรที่ ๕–๗ เพื่อแสดงว่า ท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของพระพุทธองค์และพุทธบริษัท

โดยเฉพาะสองข้อสุดท้าย เพื่อเปลื้องครหาอันอาจมีว่า อยู่ใกล้ชิดพระพุทธองค์ยังไม่รู้ว่าเรื่องใดทรงแสดงแก่ใครที่ไหน มีเนื้อหาอย่างไร

อานิสงส์ของพรสองข้อสุดท้ายนี้เอง ทำให้พระอานนท์กลายเป็น “ทรัพยากรบุคคล” ที่สำคัญที่สุด เพราะทรงจำพุทธวจนะได้มากกว่าใคร

พระอานนท์ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างดี ไม่ขาดตกบกพร่อง จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ในเอตทัคคะ (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ๕ ด้านด้วยกัน คือ
     ๑. เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)
     ๒. เป็นผู้มีสติ
     ๓. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)
     ๔. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
     ๕. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ

การบรรลุพระอรหัตของพระอานนท์นั้นแปลกพิสดารกว่าสาวกรูปอื่น คือ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ท่านเร่งทำความเพียรเพื่อสำเร็จมรรคผลให้ทันการประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ที่พระมหากัสสปะกำหนดขึ้นพยายามอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ รู้สึกเหนื่อยจึงหยุดเพื่อพักผ่อนชั่วครู่

ขณะกำลังเอนลงนอน เท้าไม่ทันพ้นพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ท่านก็ “สว่างวาบภายใน” ความสงสัยทั้งปวงหายไปฉันพลัน กิเลสอาสวะทั้งหลายได้หมดไปจากจิตสันดาน บรรลุถึงวิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง

การบรรลุพระอรหัตของท่าน จะเรียกว่าเกิดขึ้นในขณะยืน เดิน นั่ง นอน อย่างใดอย่างหนึ่งก็หาไม่ นับว่า “พ้นจากอิริยาบถทั้งสี่” โดยแท้ทีเดียว

ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของพระพุทธองค์ พระอานนท์ได้ตามเสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองกุสินารา ได้รับถ่ายทอดพระพุทธโอวาทมากมาย ที่ยังมิเคยตรัสที่ไหนมาก่อน

หลังจากพุทธปรินิพพาน ท่านก็ได้ถ่ายทอดให้ที่ประชุมสงฆ์อันประกอบด้วยพระอรหันต์ทรงอภิญญา ๕๐๐ รูปฟัง และในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้  ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม ทำให้การทำสังคายนาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เมื่อท่านอายุได้ ๑๒๐ พรรษา ถึงเวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้ำโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตน พระอานนท์จึงเข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองกบิลพัสดุ์ อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนำอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุไว้บูชา

มิเพียงแต่การบรรลุธรรม แม้การจะ “ดับสนิท” ของท่านพระอานนท์ก็แปลกไปจากพระสาวกรูปอื่นๆ ด้วยประการฉะนี้...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระอานนทเถระ : พุทธอนุชา หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 12:50:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 มีนาคม 2556 11:42:37 »

.

ภาพจาก : dhammajak.net

๑๓. พระมหากัสสปเถระ
พระเถระผู้เฒ่าผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา

พระมหากัสสปเถระเดิมท่านมีนามว่า ปิปผลิมาณพ  เป็นบุตรกบิลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งแห่งมหาติตถคาม (บางแห่งเขียนมหาติฏฐะ) แคว้นมคธ  มารดาท่านนามว่าสุมนาเทวี

ท่านได้สมรสกับ นางภัททกาปิลานี บุตรของพราหมณ์โกสิยโคตร แห่งเมืองสาคละ ผู้มีสกุลเสมอกันด้วยการจัดการของผู้ใหญ่ทั้งสองตระกูล ทั้งสองสามีภรรยา ไม่มีจิตใจยินดีในโลกียวิสัย ถึงจะแต่งงานกันแล้ว ก็เป็นสามีภรรยากันแต่ในนามเท่านั้น มิได้ยุ่งเกี่ยวกันในทางกามคุณแต่อย่างใด

เมื่อบิดามารดาของทั้งสองคนสิ้นชีวิตแล้ว ปิปผลิมาณพจึงปรึกษากันว่าจะออกบวชแสวงหาโมกขธรรมดีกว่า

ทั้งสองจึงจัดแบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้คนในเรือนอย่างยุติธรรมโดยทั่วหน้ากัน แล้วก็ออกจากมหาติตถคาม เพื่อแสวงหาอาจารย์ผู้จะชี้แนะแนวทางแห่งชีวิตใหม่

เมื่อมาถึงทางสองแพร่งแห่งหนึ่ง จึงแยกย้ายกันไปคนละทาง นางภัททกาปิลานีไปบวชเป็นภิกษุณีในสำนักภิกษุณีสงฆ์

ส่วนปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่ม “พหุปุตตนิโครธ (ต้นกร่าง) ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน  รู้สึกเลื่อมใสในบุคลิกอันสง่างามจึงเข้าไปกราบนมัสการโดยยังไม่ทราบว่าเป็นใคร

พระพุทธองค์ทรงประทานพระโอวาท ๓ ประการคือ
     ๑. จงตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพระเถระมัชฌิมะและนวกะ (คือให้ละอายชั่ว กลัวบาป เคารพพระภิกษุทุกระดับชั้น)
     ๒. เมื่อฟังกุศลธรรมข้อใดข้อหนึ่ง พึงฟังโดยความเคารพ กำหนดพิจารณาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
     ๓. ให้บำเพ็ญกายคตาสติอย่างสม่ำเสมอ
นัยว่าพระพุทธโอวาทนี้แลเป็นการอุปสมบทของท่าน คือ การน้อมรับพุทธโอวาทนี้ไปปฏิบัติ เป็นพิธีอุปสมบทของท่าน หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัต

พระมหากัสสปะบวชเมื่ออายุมากแล้ว ท่านมีนิสัยชอบอยู่อย่างสงบ จึงสมาทานธุดงควัตร ๓ ข้อ เป็นนิตย์ คือ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (หาเศษผ้ามาทำจีวรไม่รับผ้าที่ทายกถวาย) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และถือบิณฑบาตเป็นวัตร จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทาง “มีวาทะขัดเกลา” (ธูตวาทะ)

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ท่านพระมหากัสสปะนั้นมีความลำบากในการทรงผ้าบังสุกุล (เนื่องจากจีวรที่ทำจากเศษผ้าต่างๆ มักจะหนาและหนัก)  พระองค์จึงประทานผ้าสังฆาฏิให้ท่าน (บางแห่งว่าประทานบาตรด้วย อันเป็นเหตุให้เกิดธรรมเนียมมอบบาตรและจีวรแก่ศาสนทายาทในพุทธศาสนานิกายเซนในการต่อมา) และทรงรับเอาจีวรของท่านมาใช้เอง เป็นพระมหากรุณาที่ประทานแก่พระมหากัสสปะโดยเฉพาะ

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก ใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหากัสสปะอยู่ต่างเมืองได้ทราบข่าว จึงชวนภิกษุจำนวนมากเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ ระหว่างทางทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธองค์ ภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็นั่งสงบปลงธรรมสังเวช

ฝ่ายที่เป็นปุถุชนก็ร้องไห้อาลัยอาวรณ์ในพระองค์ มีขรัวตารูปหนึ่ง นาม สุภัททะ กล่าวปลอบภิกษุทั้งหลายมิให้ร้องไห้ พระศาสดาปรินิพพานไปก็ดีแล้ว ต่อไปนี้เราจะทำอะไรก็ได้ตามปรารถนา

คำกล่าว “จ้วงจาบ” พระธรรมวินัยนั้น ทำให้ท่านมหากัสสปะหวนรำลึกถึงพระมหากรุณาที่ทรงมอบความไว้วางพระทัยแก่ท่าน จึงดำริจะทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย จรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไป

หลังถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ท่านก็ได้คัดเลือกพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาจำนวน ๕๐๐ รูป กระทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยให้เป็นแบบฉบับ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยการท่องจำ สืบอายุพระพุทธศาสนายืนยาวมาจนบัดนี้

การทำสังคายนาครั้งแรกนี้ ได้ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ  พระมหากัสสปะเป็นประธานซักถาม พระอุบาลีเถระทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เถระทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม ท่ามกลางพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๕๐๐ รูป

สังคายนาเริ่มทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๗ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ กล่าวกันว่าพระมหากัสสปะเคร่งครัดในธุดงควัตรมาตลอด แม้พระพุทธองค์เคยตรัสให้ลดหย่อนหรือเลิกถือก็ได้ เพราะท่านเป็นอเสขบุคคล (พระอรหันต์) แล้ว ไม่จำต้องถือธุดงค์ก็ได้

ท่านกราบทูลพระพุทธองค์ว่า ท่านมิได้ถือธุดงค์เพื่อตัวท่านเอง หากเพื่อเป็นแบบอย่างของอนุชนภายหลัง

นับว่าท่านเป็น “ครู” ที่สมบูรณ์แบบ คือ สอนเขาเช่นใด ทำได้เช่นนั้น เหมาะสมที่สุดแล้วที่พระพุทธองค์ทรง “มอบ” ภารกิจสำคัญให้ปฏิบัติหลังพุทธปรินิพพาน

พระมหากัสสปะมีชีวิตยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี ก็นิพพาน ณ เขากุกกุฎสัมปาตบรรพต เมืองราชคฤห์ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระมหากัสสปเถระ : พระเถระผู้เฒ่าผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : www.songtoday.com

๑๔. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
ผู้แสดงฤทธิ์ถูกพระพุทธองค์ตำหนิ

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : พระเถระรูปนี้เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล (คือ พราหมณ์ระดับเศรษฐี) เมืองราชคฤห์ เรียนสำเร็จไตรเพท ภายหลังออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมด้วยความพากเพียรไม่นานก็บรรลุพระอรหัต ปราศจากกิเลส

ท่านได้อรหัตผลพร้อมอภิญญา (ความสามารถเหนือสามัญวิสัย) มีอิทธิฤทธิ์ ท่านถึงกับประกาศอย่างองอาจว่า “ใครสงสัยในเรื่องมรรค ผล นิพพาน ให้มาถามข้าพเจ้าได้”

ความที่ท่านเป็นพระอรหันต์มีอิทธิฤทธิ์ คราวหนึ่งก็เกิดเรื่องทำให้ท่านได้แสดงฤทธิ์เป็นที่อัศจรรย์  แต่ถูกตำหนิโดยพระพุทธเจ้า

เรื่องมีว่า เศรษฐีคนหนึ่งได้บาตรไม้จันทร์มา ต้องการทดสอบว่า มีพระอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์จริงหรือไม่ จึงเอาบาตรไปแขวนไว้บนต้นไม้ ประกาศให้พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์เหาะมาเอาภายใน ๗ วัน หากเกินนั้นไปแล้ว จะตกลงใจว่าไม่มีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์จริง มีแต่ราคาคุย ว่าอย่างนั้นเถอะ

ย่างเข้าเช้าวันที่ ๗ พระโมคคัลลานะกับพระปิณโฑลภารทวาชะ กำลังเดินบิณฑบาตอยู่ ได้ยินเสียงคนเขาพูดเชิงดูหมิ่นว่าไม่มีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์จริง พระโมคคัลลานะจึงให้พระปิณโฑละแสดงฤทธิ์ไปเอาบาตรให้ประชาชนดู

ท่านก็เข้าฌาน มีอภิญญาเป็นบาท เหาะไปเอาบาตรใบนั้น  เศรษฐีก็เลื่อมใสถวายอาหารและบาตรไม้จันทน์ให้ท่าน

เมื่อท่านกลับวัด ประชาชนก็แห่แหนตาม ส่งเสียงอื้ออึง  ความทราบถึงพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสเรียกท่านปิณโฑละมาตำหนิแล้วรับสั่งให้ทำลายบาตร เอาผงจันทน์มาบดทำยา และทรงห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เพื่อลาภลักการะอีกต่อไป

ท่านปิณโฑละ นอกจากมีฤทธิ์แล้ว ท่านยังมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นเยี่ยม  ครั้งหนึ่งท่านเหาะไปพักยังอุทยานของพระเจ้าอุเทน เมืองโกสัมพี  ขณะนั้นพระเจ้าอุเทนกำลังบรรทมหลับท่ามกลางนางสนมกำนัลจำนวนมาก นางสนมทั้งหลายเหป็นพระเถระมา ก็พากันละทิ้งพระเจ้าอุเทนไปกราบไหว้ท่านหมด ยกเว้นนางหนึ่งซึ่งกำลังถวายงานพัดอยู่ นางเขย่าพระอุเทนตื่นบรรทม

เมื่อเห็นนางสนมทั้งหลายทิ้งพระองค์ไปแวดล้อมสมณะหนึ่งอยู่ จึงทรงคิดอกุศลหวังจะเอารังมดแดงไปโปรยใส่ศีรษะพระสมณะ จึงทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปหักเอารังมดแดง

ทันใดนั้น มดแดงก็พรูขึ้นมากัดศีรษะและพระวรกายของพระองค์จนปวดแสบปวดร้อนไปหมด  นางสนมกำนัลทั้งหลายได้ช่วยกันเอาออกให้

พระเถระได้ฌานเหาะหนีไปแล้ว พระเจ้าอุเทนตรัสกับนายอุทยานบาลว่า ถ้าสมณะรูปนั้นมาอีกให้บอกด้วย จะขอขมาที่คิดล่วงเกิน และเมื่อทรงพบท่าน จึงทรงสนทนาธรรมกับท่าน ตรัสถามว่าเพราะเหตุไร สมณะหนุ่มในพระพุทธศาสนาจึงบวชอยู่ได้ตลอดชีวิต ทั้งๆ ที่สตรีสวยงามมีจำนวนมาก ก็ไม่ยินดีในความสวยงามเลย

พระเถระตอบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้คิดว่าเป็นมารดาในสตรีที่อายุปูนมารดา คิดว่าเป็นพี่สาว น้องสาว ในสตรีที่อายุปูนพี่สาว น้องสาว ท่านเหล่านั้นจึงประคองพรหมจรรย์ไว้รอดปลอดภัย

พระราชาตรัสว่า บางครั้งบางคราวความรักก็เกิดขึ้นได้กับสตรีอายุปูนแม่ หรือปูนพี่สาว น้องสาว ก็ได้

พระเถระตอบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาร่างกายโดยความไม่งาม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ว่า เป็นสิ่งปฏิกูล ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ด้วยเหตุนี้ภิกษุเหล่านั้นก็สามารถประคองตนให้อยู่รอดปลอดภัยได้

พระเจ้าอุเทนซักว่า สำหรับพระเถระ หรือผู้อบรมจิตจนกล้าแข็งแล้วก็ยกไว้เถิด แต่พระหนุ่มที่จิตยังไม่กล้าแข็งพอก็รู้สึกจะยาก  พระเถระตอบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาว่า เห็นสักแต่เห็น ได้ยินสักแต่ได้ยิน รู้สึกสักแต่รู้สึก อย่าใส่ความยินดียินร้ายลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ภิกษุเหล่านั้นก็ประคองพรหมจรรย์อยู่รอดปลอดภัยได้

พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสในวิธีการแสดงธรรมของพระเถระ ว่าท่านสามารถหาวิธีแสดงให้พระองค์ทรงเข้าใจแจ่มแจ้งได้ดี จึงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่นั้นมา

พระปิณโฑลภารทวาชะ  ได้รับการยกย่องในเอตทัคคะจากพระบรมศาสดาในทางเป็นผู้บันลือสีหนาท คือ เปล่งออกมาด้วยความมั่นใจในอรหัตผลที่ท่านบรรลุ ด้วยความองอาจกล้าหาญในมรรค ผล นิพพาน ที่ท่านได้บรรลุ และความเป็นผู้มีความสามารถในการแสดงอิทธิฤทธิ์ ท่านจึงได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตของท่าน

เฉพาะการแสดงอิทธิฤทธิ์ที่พระองค์ทรงห้ามสาวกแสดงนั้น ทรงห้ามเฉพาะแสดงฤทธิ์เพื่อ “ผลของฤทธิ์” คือ แสดงเพื่อให้เขาอัศจรรย์ว่าเก่งจริง และแสดงเพื่อลาภสักการะ

แต่ถ้าแสดงเพื่อเป็นสื่อชักจูงคนนอกศาสนาเข้ามาสู่พระศาสนา เป็นเครื่องปราบคนเมาฤทธิ์ให้สยบ แล้วจูงเขาเข้าสู่พุทธธรรม ย่อมสมควรกระทำได้

อ่านถึงตรงนี้แล้ว คงพอมองออกได้ว่า ที่บางคน บางสำนัก อวดอ้างปาฏิหาริย์ (ที่สร้างขึ้นเอง) เพื่อให้คนนำเงินมาถวายมากๆ นั้น ผิดพุทธประสงค์หรือไม่?...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : ผู้แสดงฤทธิ์ถูกพระพุทธองค์ตำหนิ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



ภาพจาก : www.kalyanamitra.org

๑๕. สามเณรสังกิจ (“เกี่ยว”) ผู้กล้าหาญ

ในครั้งพุทธกาล :ไม่ทราบว่ามีสามเณรมากน้อยเพียงใด

แต่คัมภีร์ระดับอรรถกถา เช่น ธัมมปทัฏฐกถา (อรรถกถาธรรมบท) เล่าเรื่องสามเณรเก่งๆ ไว้หลายรูป ทำนองจะให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องเกิดครั้งพุทธกาล แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เป็นที่สงสัยกันอยู่   หลายท่านสันนิษฐานว่า นิทานธรรมบทแต่งขึ้นที่ศรีลังกานี้เอง แต่โยงกลับไปไกลถึงสมัยพุทธกาล ว่ากันอย่างนั้น

พระสารีบุตรดูจะถูกเกณฑ์ให้เป็นอุปัชฌาย์สามเณรอยู่องค์เดียว ไม่ว่าจะเล่าเรื่องสามเณรใด ก็ล้วนแต่บอกว่าเป็นลัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรทั้งนั้น  ดังสามเณรสังกิจ (ที่จะเล่าต่อไปนี้) เป็นตัวอย่าง

สามเณรสังกิจ เป็นบุตรลูกสาวเศรษฐี  ขณะท้องแก่มารดาสิ้นชีวิตลง  ญาติพี่น้องนำไปเผาที่ป่าช้ามอบภาระให้สัปเหร่อจัดการ  ตกดึกสัปเหร่อเอาขอแทงศพและพลิกไปมาเพื่อให้ไฟไหม้ทั่วถึง หารู้ไม่ว่าในท้องศพนั้น เด็กยังมีชีวิตอยู่

รุ่งเช้าขึ้นมาสัปเหร่อไปดูว่าศพไหม้เรียบร้อยหรือยัง ก็ปรากฏว่ามีเด็กน้อยคนหนึ่งนอนอยู่บนกองฟอน สัปเหร่ออัศจรรย์ใจที่เด็กในท้องศพไม่ตายและไม่ถูกเผาไปด้วย  จึงอุ้มเด็กไปบ้าน พินิจดูอย่างละเอียดแล้ว มีเพียงหาตาเท่านั้นเป็นแผลเพราะถูกปลายขอเกี่ยว  แกจึงเลี้ยงดูเด็กน้อยเป็นลูก  ตั้งชื่อว่า สังกิจ (แปลว่าเด็กชาย “เกี่ยว”  เพราะหางตาถูกขอเกี่ยวเป็นแผลเป็น)

หมอดูหมอเดาทำนายว่า เด็กคนนี้ถ้าอยู่ครองเรือนจะทำให้ครอบครัวพ่อแม่ (เลี้ยง) เจริญก้าวหน้า ถ้าบวชก็จะเป็นใหญ่ในพระศาสนามีบริวารจำนวนมาก

เมื่ออายุ ๗ ขวบ เด็กน้อยรู้ประวัติความเป็นมาของตน แล้วก็เกิดความสลดใจคิดอยากบวช จึงขออนุญาตพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงบวชเป็นศิษย์พระสารีบุตร ซึ่งคุ้นเคยอยู่กับครอบครัวนี้

ว่ากันว่า เด็กน้อยคนนี้มีบุญญาธิการสั่งสมมาแล้วแต่ชาติปางก่อน ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่จะได้บรรลุถึง “ที่สุดแห่งกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล" คือจะได้เป็นพระอรหันต์

ผู้ที่เกิดมาในชาติสุดท้ายและจะได้เป็นพระอรหันต์นี้ ท่านเรียกว่า “ปัจฉิมภวิกสัตว์”  ถ้ายังไม่บรรลุแน่นอน ต่อให้เอาเขาพระสุเมรุทับก็ไม่ตาย...ว่ากันถึงขนาดนั้น
เพราะเหตุนี้เอง ขณะที่เผาศพมารดา เด็กน้อยจึงมิได้เป็นอันตรายแม้แต่น้อย เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เรื่องผลของบุญของบาปนี้ มันลึกซึ้งมหัศจรรย์เกินวิสัยปุถุชนจะนึกถึงหรือเข้าใจ

พระพุทธองค์ตรัสว่า ในโลกนี้มีเรื่อง ๔ เรื่อง ถึงคิดจนหัวแตกก็ไม่มีทางเข้าใจ คิดมากก็อาจเป็นบ้าได้ (อุมฺมาทสฺส ภาคี อสฺส) ต้องผู้ที่บรรลุอภิญญา ระดับบุพเพนิวาสนุสสติญาณ (ญาณระลึกชาติหนหลังได้)  นั่นแหละจึงจะรู้จะเห็น

เด็กชายเกี่ยวรับกรรมฐานจากอุปัชฌาย์แล้ว บรรลุอรหัตผลทันทีที่คมมีดโกนจดศีรษะ  หมายความว่า พอมีดโกนจ่อศีรษะจะโกนผมเท่านั้น เธอก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทันที นี้ก็เพราะผลแห่งบุญกุศลที่ได้สั่งสมมา

ในระหว่างนั้น มีพระภิกษุจำนวน ๓๐ รูป มาทูลลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญธรรมในป่า พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าจะเกิดอันตรายแก่พวกเธอ และสามเณรสังกิจจะช่วยได้ จึงรับสั่งให้พวกเธอไปลาพระสารีบุตรก่อน พระเหล่านั้นไปลาพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ทราบเช่นกันว่า พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์อย่างไร จึงบอกให้พระเหล่านั้นพาสามเณรสังกิจไปด้วย พวกเธอไม่เต็มใจให้สามเณรไปด้วย

พระสารีบุตรกล่าวว่า “พาสามเณรไปเถิด เมื่อคราวมีอันตรายสามเณรจะช่วยพวกท่านได้”  พวกเธอจึงพาสามเณรไปด้วย ทั้งๆ ที่ยังงงๆ อยู่ว่า สามเณรตัวเล็กแค่นี้จะช่วยอะไรพวกเธอได้

พระเหล่านั้นไปพำนักอยู่ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีญาติโยมดูแลเรื่องอาหารบิณฑบาตอย่างดี   ชายเข็ญใจคนหนึ่งผ่านมา ได้กินอาหารของเหลือจากพระฉัน เห็นว่าวัดแห่งนี้มีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงขออาศัยอยู่เป็นเด็กวัดคอยรับใช้พระ พระคุณเจ้าก็ไม่ขัดข้อง  

อยู่ได้สองเดือนชายเข็ญใจก็คิดถึงลูกสาว จึงลาพระคุณเจ้าไปเยี่ยมลูกสาว  บังเอิญต้องเดินผ่านดงแห่งหนึ่ง ซึ่งมีโจรชุกชม พวกโจรได้บวงสรวงเทพเจ้าว่า ไม่ว่าใครเดินผ่านมาทางนี้ พวกเขาจะจับฆ่าบูชายัญ  ชายเข็ญใจรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็กลัวตาย จึงต่อรองว่าเขาเป็นคนยากจน กินอาหารไม่ดี เนื้อและเลือดในกายของเขาคงไม่อร่อยเป็นที่ถูกใจเทพเจ้าแน่นอน  ห่างจากนี้ไปพอสมควร มีพระอยู่ ๓๐ รูป ล้วนเกิดจากสกุลสูง ฉันอาหารประณีต อ้วนท้วนสมบูรณ์ เนื้อและเลือดของพระภิกษุเหล่านั้นคงอร่อยหวานมันถูกใจเทพเจ้า

หัวหน้าโจรบอกให้ลูกน้องพาชายเข็ญใจไปยังวัดดังกล่าว ไปถึงเขาก็ตีระฆังให้สัญญาณ พระภิกษุทั้งหลายที่กระจายนั่งสมาธิอยู่ตามที่ต่างๆ ได้ยินเสียงระฆัง นึกว่าเกิดอันตรายขึ้นกับใครคนหนึ่ง จึงพากันมาประชุมกัน  เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ต่างก็เสนอตัวไปกับพวกโจร

สามเณรเกี่ยวบอกว่า ตนเท่านั้นต้องรับภาระนี้ เมื่อพระสงฆ์ไม่ยอม จึงบอกให้พวกท่านย้อนรำลึกความหลัง ว่า "...สังกิจ จะช่วยพวกท่านได้เมื่อมีอันตราย..."

พระคุณเจ้าก็จนด้วยเหตุผล และยินยอมให้สามเณรไปกับพวกโจร  สามเณรก็มิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด  พวกโจรนำสามเณรไปขังไว้รอเวลาทำพิธี ทำให้สามเณรมีเวลาเข้าสมาธิอย่างแน่วแน่ เมื่อได้เวลาหัวหน้าโจรก็ชักดาบฟันคอสามเณรหมายเอาเลือดบวงสรวงเทพเจ้าตามที่บนบานไว้  ดาบที่ฟันลงเกิดบิดงออย่างน่าอัศจรรย์  เขาดัดดาบให้ตรงแล้วแทงหมายให้ทะลุถึงหัวใจ  ปรากฏว่าดาบงอจนถึงโคนดุจใบตาลก็มิปาน

พวกโจรเห็นปาฏิหาริย์เช่นนั้นก็ “ถอดใจ”  ทิ้งดาบก้มกราบขอขมาสามเณร  พร้อมชักชวนบริวาร ขอบวชพร้อมกัน

สามเณรเกี่ยวได้เป็นอุปัชฌาย์บวชเณรให้โจรเหล่านั้น  อ่านมาถึงตรงนี้ก็ให้สงสัยครามครันว่า เณรเป็นอุปัชฌาย์บวชเณรได้ด้วยหรือ  คิดอีกที การบวชเณรสำเร็จด้วยการเปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์ (พระรัตนตรัย)  ไม่ว่าผู้ทำพิธีให้จะเป็นพระหรือเณรก็คงจะได้... ถึงตอนนี้สามเณรเกี่ยวเธอมีศิษย์ถึง ๕๐๐ รูป (จำนวนจริงอาจไม่ถึง คำว่า “๕๐๐” คงเป็นสำนวนภาษาแปลว่า “จำนวนมาก” เท่านั้น)

จึงพาพวกเธอไปเยี่ยมพระภิกษุ ๓๐ รูปเพื่อให้พวกท่านเบาใจว่าตนไม่มีอันตรายแต่ประการใด ตรงกันข้าม กลับสามารถกลับใจพวกโจรอีกด้วย  สามเณรเกี่ยวอำลาพระคุณเจ้าทั้งหลายพาพวกศิษย์ไปหาพระสารีบุตรผู้เป็นอุปัชฌาย์ แล้วไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ตรัสปฏิสันถารกับสังกิจสามเณร และสามเณรอดีตโจรเหล่านั้นว่า การกลับใจมาถือศีลแม้เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่ามีชีวิตอยู่อย่างคนทุศีลตั้งร้อยปี
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณร "เกี่ยว" ผู้กล้าหาญ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๑๖. พระอุบาลีเถระ : ผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย

พระอุบาลีเถระ :เป็นนายภูษามาลาในราชสำนักแห่งศากยวงศ์ กรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อคราวที่ขัตติยราชกุมารทั้ง ๖ (อันมี เจ้าชายภคุ ภัททิยะ กิมพิละ อนุรุทธะ อานนท์ และเทวทัต) ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ที่อนุปิยะอัมพวัน หรืออนุปิยะนิคม แคว้นมัลละ  อุบาลีได้ออกบวชด้วย

เพื่อกำจัดการถือมานะจากใจ เจ้าชายทั้ง ๖ อนุญาตให้อุบาลีภูษามาลาบวชก่อน ท่านพระอุบาลีจึงเป็นผู้มีพรรษามากกว่ารูปอื่น บวชแล้วได้รับกรรมฐานจากพระพุทธองค์ ไปฝึกปฏิบัติไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต

พระอุบาลีเถระสนใจพระวินัย หรือระเบียบข้อบังคับของพระสงฆ์เป็นกรณีพิเศษ ท่านได้ศึกษาจากพระพุทธองค์จนมีความรู้แตกฉาน จนกระทั่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ในเอตทัคคะว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่น ในทางทรงจำพระวินัย

ท่านได้วินิจฉัยอธิกรณ์สำคัญ ๓ เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องภารุกัจฉกภิกษุ เรื่องอัชชุกภิกษุ และเรื่องภิกษุณีโยมมารดาของพระกุมารกัสสปะ  การวินิจฉัยของท่านเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของพระพุทธบริษัท

ขอนำเรื่องการตัดสินอธิกรณ์เรื่องที่ ๓ มาเล่าให้ฟัง ดังนี้

ภิกษุณีสาวรูปหนึ่งอยู่ในปกครองของพระเทวทัต  ตั้งท้องขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เรื่องรู้ถึงพระเทวทัต พระเทวทัตสั่งให้สึกทันที โดยมิได้ไต่สวนอะไรเลย หาว่านางภิกษุณีต้องปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุณีแล้ว
 
นางภิกษุณีกราบเรียนท่านว่านางมิได้กระทำเรื่องเลวร้ายดังกล่าวหา นางเป็นผู้บริสุทธิ์

พระเทวทัตกล่าวว่าบริสุทธิ์อะไรกัน ก็ประจักษ์พยานเห็นชัดๆ อยู่อย่างนี้ ยังจะมายืนยันว่าตนบริสุทธิ์อยู่หรือ

แม้ว่านางจะวิงวอนอย่างไร พระเทวทัตก็ไม่สนใจ สั่งให้สึกอย่างเดียว นางภิกษุณีจึงอุทธรณ์ต่อพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงทราบก่อนแล้วว่าอะไรเป็นอะไร แต่เพื่อให้เป็นที่กระจ่างแจ้งและยอมรับกันโดยทั่วไป จึงทรงแต่งตั้งให้พระอุบาลีเถระเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

เนื่องจากเป็นเรื่องของสตรี ท่านเองก็ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ท่านจึงขอแรงนางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐีให้ช่วยเหลือ

นางวิสาขาได้ตรวจร่างกายของนางภิกษุณี  ซักถามวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย วันที่ประจำเดือนหมดครั้งสุดท้าย ตลอดถึงตรวจตราดูความเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกอย่าง แล้วลงความเห็นว่า นางภิกษุณีได้ตั้งครรภ์ก่อนออกบวช โดยที่ตนเองไม่ทราบ จึงรายงานให้อุบาลีเถระทราบ

พระเถระได้ใช้ความเห็นของเหล่าคฤหัสถ์นั้น เป็นฐานของการพิจารณาตัดสินอธิการณ์  ได้วินิจฉัยว่านางภิกษุณีบริสุทธิ์ มิได้ต้องปาราชิกดังถูกกล่าวหา

พระพุทธองค์ทรงทราบการวินิจฉัยของอุบาลีเถระแล้ว ทรงประทานสาธุการว่า วินิจฉัยได้ถูกต้องแล้ว  นางภิกษุณีรูปนี้จึงไม่ต้องลาสิกขาตามคำสั่งของพระเทวทัต

นางคลอดบุตรแล้ว ก็เลี้ยงดูในสำนักนางภิกษุณีชั่วระยะเวลาหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาพบเข้าในภายหลัง จึงทรงขอเด็กไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรมในพระราชสำนัก
เด็กน้อยคนนี้มีนามว่า กุมารกัสสปะ  ต่อมากุมารกัสสปะได้ออกบวชเป็นสามเณร บรรลุพระอรหัตตั้งแต่อายุยังน้อย และได้แสดงธรรมโปรดภิกษุณีผู้เป็นมารดาให้บรรลุพระอรหัตด้วย

เมื่ออุปสมบทแล้ว พระกุมารกัสสปะ เป็นพระเถระที่มีความสามารถในการแสดงธรรมได้วิจิตรพิสดารมาก ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในทางกล่าวธรรมอันวิจิตร ได้โต้ตอบกับปายาสิราชันย์ ผู้มีมิจฉาทิฐิ (ผู้ความเห็นผิดว่า บุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี) จนปายาสิยอมจำนน สละมิจฉาทิฐินั้น หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด

กล่าวถึงพระอุบาลีเถระ เมื่อครั้งพระมหากัสสปะ รวบรวมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป กระทำสังคายนาหลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน  ท่านพระอุบาลีก็ได้รับเลือกเข้าประชุม และมีบทบาทสำคัญ คือเป็นผู้วิสัชนาพระวินัยให้ที่ประชุมสงฆ์ฟัง ทำให้การสังคายนาพระธรรมวินัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระวินัยของท่านได้รับยกย่องและนับถือสืบมาในวงการสงฆ์ยาวนาน จนกลายเป็น “ธรรมเนียมปฏิบัติ” เพราะพระวินัยถือว่าเป็น “รากแก้ว” ของพระพุทธศาสนา”  เวลาจะส่งพระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างแดน มักจะไม่ละเลยพระเถระที่มีความเชี่ยวชาญทางพระวินัย

ดังส่งพระอุบาลีเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังลังกาเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมณศักดิ์ที่ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์”  (อาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเหมือนพระอุบาลี) ก็คิดขึ้น โดยยึดท่านพระอุบาลีเถระเป็นต้นแบบ และจะพระราชทานให้เฉพาะพระเถระที่ทรงพระวินัย มีศีลาจารวัตรงดงาม น่าเลื่อมใสเท่านั้น

ถึงตรงนี้ก็ขอสรุปว่า คนดีนั้นใครๆ ก็อยากเอาเยี่ยงอย่าง
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระอุบาลีเถระ ผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 12:59:54 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 29 มีนาคม 2556 11:54:41 »

.

ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์  วรรณปก


ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์  วรรณปก   เป็นอาจารย์ หรือนักวิชาการทางด้านพุทธศาสนาและภาษาบาลี  ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์  และยังเป็นนักเขียนบทกวี ตำรา และบทความในนิตยสารหลายฉบับ

ประวัติและการศึกษา  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่บ้านโนนสูง ตำบลเลิงแฝก (ปัจจุบันคือ ตำบลหนองแวง) อำเภอบรบือ (ปัจจุบันคืออำเภอกุดรัง) จังหวัดมหาสารคาม

เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ศึกษานักธรรมและบาลีไวยากรณ์กับอาจารย์มหาบุดดี  ปุญญกโร เจ้าอาวาส จนกระทั่งสอบได้นักธรรมโท จึงได้ย้ายไปศึกษาต่อที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  โดยเป็นลูกศิษย์พระมหาชม ธมฺมธีโร (พระราชปริยัตยาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครพนม)

สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยค  หลังจากนั้นกลับไปอยู่ที่วัดอัมพวันในบ้านเกิดสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค แล้วจึงเดินทางมาศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นศิษย์ของพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ

พ.ศ. ๒๕๐๘  ได้เดินทางไปศึกษาภาษาสันสกฤต ณ วิทยาลัยตรีนิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Trinity College,  Cambridge University)  ประเทศอังกฤษ  และได้รับทุนจากมูลนิธิเอเชียและมูลนิธิการศึกษาวัดทองนพคุณ พ.ศ. ๒๕๑๒  สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยม)  

เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ได้สอนพระปริยัติธรรม ณ วัดทองนพคุณ ดังเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ลาสิกขาและรับราชการเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม  ต่อมาโอนไปเป็นอาจารย์สอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบที่คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  และโอนกลับไปคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามเดิม  จนได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ ๙ ก่อนจะลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕



วิทยฐานะ
เปรียญธรรม ๙  ขณะเป็นสามเณร (รูปแรกในรัชกาลที่ ๙  สมัยเริ่มสอบด้วยข้อเขียน และเป็นรูปที่สามในสมัยรัตนโกสินทร์)  อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์
ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ปริญญาโท  สาขาภาษาตะวันออกโบราณ (บาลี – สันสกฤต) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  ประเทศอังกฤษ
ดุฏฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๔๘
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์ แห่งคณะมหานิกาย) พ.ศ. ๒๕๕๐


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 13:11:40 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2556 14:10:42 »

.



๑๗. พระนันทเถระ : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แลกนางฟ้า

พระนันทะ : เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมหาปชาบดีโคตมี ท่านมีขนิษฐานามว่า รูปนันทา

เมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคต หลังจากทรงมีพระประสูติกาล ๗ วัน เจ้าชายสิทธัตถะก็อยู่ในการเลี้ยงดูของพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระแม่น้า ซึ่งได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะสืบแทนพระราชมารดาของพระองค์

พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระโอรสและพระธิดาสององค์ คือ นันทะ กับ รูปนันทา

ทั้งสององค์พี่น้องรูปร่างหล่อเหลา และสวยงามมาก เพราะเหตุนี้ จึงมีนามว่า “นันทะ-นันทา”  ซึ่งแปลว่าหล่อและสวยงาม
 
โดยเฉพาะรูปนันทา กนิษฐาของเจ้าชายนันทะนั้น หลงใหลได้ปลื้มในความสวยงามขอตนมาก ขนาดไปบวชเป็นภิกษุณีแล้ว ไม่ยอมไปฟังพระพุทธองค์เทศน์  เพราะเกรงว่าเสด็จพี่ของตนจะเทศน์ตำหนิความสวยงามของร่างกาย

หลังจากกาฬุทายี ทูตคณะสุดท้ายของสมเด็จพระพุทธบิดา ไปอัญเชิญเสด็จนิวัตเมืองกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยเสด็จนิวัตเมืองมาตุภูมิ เพื่อโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติ โดยมีกาฬุทายี ซึ่งขณะนั้นได้บวชแล้ว และภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งโดยเสด็จ

วันที่ ๔ หลังจากเสด็จไปถึง ได้มีงานอาวาหมงคลระหว่างเจ้าชายนันทะ กับเจ้าหญิงชนปทกัลยาณี  พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ได้รับอาราธนาไปประกอบพิธีมงคล หลังเสร็จภัตกิจ (เสวยเสร็จ) ประทานอนุโมทนา แล้วก็เสด็จกลับไปยังนิโครธาราม ที่ประทับชั่วคราวซึ่งอยู่นอกเมือง ทรงประทานบาตรให้นันทะกุมารอุ้มตามไปส่ง

ขณะนั้น พระชายาของเจ้าชายนันทะ ตะโกนบอกว่า “เจ้าพี่รีบกลับมานะ”  เจ้าชายอุ้มบาตรโดยเสด็จไปจนถึงที่ประทับ เพราะไม่กล้ากราบทูลให้ทรงรับบาตรระหว่างทาง พอไปถึงนิโครธาราม พระพุทธองค์ตรัสถามคำถามที่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ปฏิเสธเท่าใดนัก คือ ตรัสถามว่า
       “นันทะ เธออยากบวชมิใช่หรือ”
       “พระเจ้าข้า” จำต้องตอบรับไป ด้วยเกรงพระทัย

เท่านั้นเอง พระพุทธองค์ก็ประทานการอุปบทให้พระภาดาของพระองค์เป็นภิกษุในทันใด บวชแล้วก็ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังพระเชตวัน เมืองสาวัตถี  พระหนุ่มไม่เป็นอันประพฤติพรหมจรรย์ เพราะหูแว่วแต่เสียงเพรียกของชายาว่า เจ้าพี่รีบกลับมานะ

พระพุทธเจ้าทรงทราบความในใจของพระหนุ่ม  วันหนึ่งจึงตรัสถามขณะอยู่สองต่อสองว่า
       “นันทะ ดูเธอไม่มีสมาธิปฏิบัติธรรม เธอคิดถึงอะไรอยู่หรือ”
       “คิดถึงชนปทกัลยาณี พระเจ้าข้า” ภิกษุหนุ่มบอกตามตรง
       “คิดถึงเรื่องอะไร”
       “คิดถึงว่า ข้าพระองค์ผิดสัญญาต่อนาง รับปากว่าจะรีบกลับก็ไม่กลับตามสัญญา”
       “นันทะ ชายาของเธอสวยมากหรือ เธอจึงครุ่นคิดถึง”
       “สวยมาก พระเจ้าข้า ไม่มีนางใดทัดเทียมอีกแล้วในโลกนี้”

จากนั้น พระพุทธองค์จึงจับแขนพระนันทะลับหายไปจากพระเชตวัน  ภิกษุหนุ่มรู้แต่ว่ากำลังเหาะลิ่วๆ ผ่านสถานที่ที่ตนไม่เคยรู้จัก มองไปเห็นนางลิงรุ่นหางกุดตัวหนึ่งนั่งจับเจ่าอยู่บนตอไม้แล้วก็ผ่านเลยไป เห็นเหล่าสาวงามมากมายเป็นที่ตื่นตาตื่นใจมาก
       “นันทะ เห็นสาวงามเหล่านั้นไหม”
       “เห็นพระเจ้าข้า”
       “สวยไหม”
       “สวยพระเจ้าข้า นางพวกนี้เป็นใครพระเจ้าข้า”
       “นางเหล่านี้เป็นอัปสรกัญญาบนสรวงสวรรค์ เทียบกับชายาของเธอ ใครสวยกว่า”
       “ชนปทกัลยาณี  ถ้าอยู่ต่อหน้านางอัปสรกัญญาเหล่านี้แล้ว ก็มิต่างกับนางลิงรุ่นหางกุดตัวที่เห็นระหว่างทาง พระเจ้าข้า”
       “อยากได้ไหม นันทะ”
       “อยากได้ พระพุทธเจ้าข้า”
       “ถ้าเช่นนั้นกลับวัด เราตถาคตมีวิธีให้เธอได้นางเหล่านี้”

ว่าแล้วก็พากันเหาะลิ่วๆ ลงมายังพระอารามที่ประทับ ทรงสอนกรรมฐานให้พระนันทะฝึกปฏิบัติ โดยมิได้ตรัสบอกว่าเป็นกรรมฐาน  พระนันทะเข้าใจแต่เพียงว่า ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วจะได้นางอัปสรกัญญาเป็นสมบัติ ก็คร่ำเคร่งปฏิบัติไปทุกวัน

ข่าวว่าพระนันทะปฏิบัติธรรมแลกนางฟ้า ก็ได้ยินไปถึงหูพระหนุ่มเณรน้อยที่ยังเป็นปุถุชนหลายรูป ท่านเหล่านั้นก็พูดว่าพระนันทะว่า ภิกษุรับจ้างบ้าง ภิกษุบวชแลกนางฟ้าบ้าง

พระนันทะพากเพียรฝึกปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต  พอถึงจุดนี้จึงรู้ว่า ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ทำนั้น คือแนวทางตรัสรู้ธรรม มิใช่วิธีได้นางอัปสรกัญญา หากเป็น “กุศโลบาย” หรือเทคนิควิธีฝึกสอนสาวกของพระองค์วิธีหนึ่งเท่านั้นเอง

วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพบพระนันทะ จึงพูดเย้าว่า “ท่านนันทะใกล้จะได้นางฟ้าหรือยัง เห็นคร่ำเคร่งปฏิบัติเหลือเกิน”  พระนันทะตอบว่า ท่านไม่ต้องการนางอัปสรกัญญาเหล่านั้นแล้ว  ท่านได้บรรลุถึงสิ่งที่ประเสริฐกว่าแล้ว

ภิกษุหนุ่มทั้งหลายหาว่าพระนันทะพยากรณ์อรหัตผล (อวดว่าตนได้บรรลุพระอรหัต) จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า นันทะมิได้อวดอ้างว่าบรรลุพระอรหัตผลดอก ที่เธอพูดนั้นเป็นความจริง บัดนี้จิตของนันทะพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย    ภิกษุทั้งหลาย ที่แล้วๆ มา จิตของนันทะเป็นดุจเรือนที่มุงไม่ดี ฝนตกมาก็รั่ว  บัดนี้ จิตของเธอเป็นดุจเรือนแก้วที่มุงบังดีแล้ว ฝนตกหนักอย่างไรก็ไม่รั่ว แล้วพระองค์ก็ตรัสคาถาธรรมว่า

       เรือนที่มุงเรียบร้อย
       ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไปไม่ได้
       จิตที่อบรมเป็นอย่างดี
       ราคะไม่มีวันครอบงำ

พระนันทเถระ   เป็นพระเถระที่สงบเสงี่ยม สำรวมอินทรีย์ แม้จะเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยมีทิฐิมานะว่าเป็นสำคัญ หากถือตนว่าเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ความที่ท่านเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ท่านช่วยพระพุทธองค์ประกาศพระพุทธศาสนา โดยการสอนที่ไม่ต้องสอน นั่นคือ ดำรงตนให้สงบสำรวมเป็นตัวอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่สงบสุข ให้คนได้เห็นและทำตาม การสอนแบบนี้มีผลยิ่งกว่าการพูดสอนเสียด้วยซ้ำ

ไม่มีหลักฐานระบุว่า ท่านดำรงชีวิตอยู่กี่พรรษาจึงนิพพาน และนิพพาน ณ ที่ใด
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระนันทเถระ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แลกนางฟ้า,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๑๘. พระโสณะโกฬิวิสเถระ

พระโสณะโกฬิวิสเถระ : เป็นบุตรของเศรษฐี เมืองจำปา  ซึ่งเชื่อกันว่าสมัยนั้นอยู่ในครอบครองของพระเจ้าพิมพิสารมหาราชแห่งมคธรัฐ

ท่านมีรูปงาม ผิวพรรณดั่งทอง จึงมีนามว่า โสณะ (แปลว่าทองคำ)

และที่น่าประหลาดคือ ฝ่าเท้าทั้งสองของท่านนั้น มีสีแดงดุจดอกชบา มีขนสีนิลละเอียดขึ้นเต็มไปหมด

บิดามารดาได้สร้างปราสาทสามฤดูให้อยู่ เป็นที่นิยมในสมัยโบราณ  ถ้าใครรวยมาก ต้องการเอาใจบุตรชาย ก็มักจะสร้างปราสาทสามฤดูให้อยู่ พร้อมด้วยเครื่องบันเทิงเริงใจ เช่น ดนตรี ซึ่งประกอบด้วยสตรีล้วน ร่ายรำ ขับกล่อม คอยปรนนิบัติให้สุขสบายคลายเครียด

กิตติศัพท์ของเด็กหนุ่มผู้มีฝ่าเท้าพิสดารเล่าลือขจรไปไกล จนถึงพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร
 
วันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารมีพระบรมราชโองการให้พราหมณ์ผู้นำ ๘ ตำบล ในพระราชอาณาจักรของพระองค์เข้าเฝ้าด้วยพระกรณียกิจบางอย่าง

ในการประชุมครั้งนี้ ทรงมีพระบรมราชโองการให้โสณะเข้าเฝ้าด้วย รับสั่งว่านอกจากพระราชภารกิจที่จะทรงหารือกับพราหมณ์ผู้นำ ๘ ตำบลแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรฝ่าเท้าของโสณะด้วย

มารดาของท่านสอนบุตรชายว่า เวลาเข้าเฝ้า เจ้าอย่าเหยียดเท้าไปทางพระที่นั่ง เพราะเป็นการไม่สมควร เจ้าพึงนั่งคู้บัลลังก์ (นั่งสมาธิเพชร) ต่อหน้าพระที่นั่ง  แล้วเท้าทั้งสองของเจ้าก็จะหงายขึ้นเอง  พระราชาก็จะสามารถทอดพระเนตรได้ เด็กหนุ่มได้ทำตามมารดาสอน

พระเจ้าพิมพิสารทรงพอพระทัยที่ได้เห็นฝ่าเท้าประหลาดของเด็กหนุ่มโสณะ รับสั่งพราหมณ์ผู้นำ ๘ ตำบล ให้เข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก่อนกลับไปยังที่อยู่ของตน

พวกพราหมณ์รวมทั้งโสณะด้วย ขอร้องให้พระสาคตะพุทธอุปัฏญฐากเข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่บนเขาคิชฌกูฏ ขอเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรม

พระสาคตะท่านแสดงอิทธิฤทธิ์มุดลงไปใต้ดิน ไปโผล่บนเขาคิชฌกูฏ กราบทูลพระพุทธเจ้า ครั้นได้รับพระพุทธานุญาตแล้วก็ชำแรกภูเขาลงมาโผล่ขึ้นท่ามกลางพวกพราหมณ์ เชิญพวกพราหมณ์ขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์

บรรดาพวกพราหมณ์ทั้งหลาย เมื่อไปถึงสำนักของพระพุทธองค์ ไม่มีใครสนใจพระพุทธเจ้า เพราะมัวแต่อัศจรรย์ในอิทธิฤทธิ์ของพระสาคตะ พระพุทธองค์ทรงทราบความคิดของพวกเขาดี จึงมีพุทธบัญชาให้พระสาคตะแสดงอิทธิฤทธิ์อีกครั้ง

ท่านได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ เดินจงกรมบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บัดเดี๋ยวก็ปรากฏตัว บัดเดี๋ยวก็หายตัวไปอยู่บนอากาศ เป็นที่อัศจรรย์มาก แล้วก็ลงมากราบถวายบังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ประกาศเสียงดังว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์มีนามว่าสาคตะ เป็นสาวกของพระพุทธองค์พระเจ้าข้า”

พวกพราหมณ์ได้เห็นและได้ยินดังนั้น จึงอัศจรรย์ใจว่า “โอ ท่านสาคตะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า พระสาวกยังมีฤทธิ์มากปานนี้ พระศาสดาจะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์สักปานใดหนอ” พวกเขาได้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างยิ่ง ตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาที่ทรงพระมหากรุณาแสดงให้ฟัง  

ซาบซึ้ง ดื่มด่ำโดยทั่วหน้ากัน

โสณะหนุ่มเลื่อมใสยิ่งนัก เมื่อพวกพราหมณ์กลับกันหมดแล้ว ไม่ยอมกลับ เข้าไปกราบทูลขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์รับสั่งให้ไปขออนุญาตบิดามารดาก่อน จึงกลับไปขออนุญาตผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง  ซึ่งก็ได้รับอนุญาตโดยดี จึงกลับไปบวชในสำนักของพระพุทธองค์ บวชแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อบรรลุมรรคผลที่ต้องการ ไม่ว่าท่านจะพากเพียรอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายิ่งห่างไกลเป้าหมายทุกที จนแทบท้อแท้

วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้างอย่างหนัก จนเท้าทั้งสอง (ซึ่งละเอียดอ่อนอยู่แล้ว)  พองและแตก มีเลือดไหล ประสบทุกขเวทนายิ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทานพระพุทธโอวาทแก่ท่าน ยกอุปมาอุปไมยด้วยพิณสามสายดังนี้
     “โสณะ เธอเคยสดับเสียงพิณสามสายบ่อยมิใช่หรือ เมื่อสมัยเป็นคฤหัสถ์”
     “บ่อย พระพุทธเจ้าข้า” พระหนุ่มกราบทูล
     “โสณะ เวลาเขาขึงสายพิณตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป เสียงพิณไพเราะหรือไม่”
     “ไม่เลย พระเจ้าข้า”
     “โสณะ ถ้าเขาขึงสายพิณพอดีๆ เสียงพิณฟังไพเราะหรือไม่”
     “ไพเราะ พระเจ้าข้า”
     “โสณะ การบำเพ็ญเพียรก็ดุจดังดีดพิณนั่นแล ถ้าหากบุคคลพากเพียรมากเกินไปก็จะประสบทุกขเวทนา จิตใจฟุ้งซ่าน
       ถ้าหากบุคคลมีความเพียรย่อหย่อนเกินไป ก็จะเกียจคร้านโงกง่วง พึงบำเพ็ญเพียรแต่พอดีๆ ควรปรับอินทรีย์
       ให้พอเหมาะพอดีกัน คือศรัทธาให้สมดุลกับปัญญา วิริยะ ให้สมดุลกับสมาธิ มีสติให้มากทุกกรณี”

ท่านสดับพระพุทธโอวาทแล้ว จากนั้นก็พยายามปรับการปฏิบัติของท่านให้พอเหมาะพอดี ให้ธรรมะทั้ง ๕ ประการ สมดุลซึ่งกันและกันไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสกับพระโสณะโกฬิวิสะว่า โสณะ เธอเป็นคนสุขุมมาลชาติ ฝ่าเท้าของเธอนั้นละเอียด เราตถาคตอนุญาตให้เธอใช้รองชั้นเดียวได้ พระโสณะปฏิเสธ กราบทูลว่า ถ้าจะประทานให้เป็นกรณีพิเศษไม่ขอรับ ถ้าจะประทานพุทธานุญาตก็ให้ประทานแก่พระสงฆ์ทั้งปวงด้วย

จากนั้น พระพุทธองค์จึงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ เข้าใจว่าแต่แรกทีเดียว พระไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้า ต่อมาทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าชั้นเดียวได้ และใช้หลายชั้นได้ ในชนบทที่มีพื้นที่ขรุขระ
 
พระโสณะโกฬิวิสะ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเลิศกว่าผู้อื่นในด้านมีความเพียรกล้า สมกับเป็นพระพุทธชิโนรส ดังพุทธวจนะตรัสไว้ในที่หนึ่งว่า ศาสนาของพระองค์เป็นศาสนาของผู้พากเพียร ใครเกียจคร้านย่อมอยู่ในศาสนาของพระองค์ไม่ได้

มีข้อคิดนิดหนึ่งเกี่ยวกับท่านโสณะ คือเรื่องความเพียร พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญความเพียรเจริญ แต่ต้องเป็นความเพียรที่ถูกต้อง พอเหมาะพอดีไม่ใช่เพียรจนกลายเป็นความหักโหม

อุปมาอุปไมย ดุจดังพิณสามสายนั้น ทำให้เห็นภาพชัดเจน และเห็นแนวปฏิบัติชัดเจนเช่นกัน สามารถนำไปปรับใช้กับทุกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระโสณะโกฬิวิสเถระ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๑๙. สามเณรนิรนาม สมัยพุทธกาล

สามเณรนิรนามอีกรูปหนึ่ง ผู้มีฤทธิ์มาก เหาะเหินเดินหาวได้ด้วยอิทธิฤทธิ์ แต่ท้ายสุดก็เสื่อมจากฤทธิ์ เพราะวัยหนุ่มเป็นเหตุ

เรื่องราวเกิดขึ้นสมัยหลังพุทธกาล คงราว พ.ศ. ๙๐๐ กว่า ยุคที่อรรถกถา (หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก) รุ่งเรือง ในอรรถกถา “สัมโมหวิโนทนี” เล่าไว้ว่า พระเถระอรหันต์รูปหนึ่ง พร้อมกับสามเณรผู้ติดตามเดินทางจากชนบท ไปยังวัดในเมืองหลวงอันชื่อว่า ปิงครบริเวณ เพื่อนมัสการพระเจดีย์และต้นพระศรีมหาโพธิ์

ขณะที่พระเถระทั้งหลายพากันไปไหว้พระเจดีย์ พระเถระจากชนบท ท่านไม่ได้ไปด้วย รอให้ผู้คนกลับกันหมดแล้ว กลางคืนดึกสงัด ท่านจึงลุกขึ้นไปไหว้พระเจดีย์แต่เพียงผู้เดียวเงียบๆ ไม่ให้รู้แม้กระทั่งสามเณร

สามเณรเฝ้าดูอาการของพระเถระด้วยความแปลกใจ จึงแอบเดินตามหลังไปเงียบๆ พระเถระกราบพระเจดีย์แล้ว ก็ลุกขึ้นยืนประคองอัญชลีจ้องพระเจดีย์ด้วยความเคารพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งสามเณรกระแอมกระไอขึ้น จึงหันมาถามว่า สามเณรมาเมื่อไร

“มาพร้อมท่าน ขอรับ”

“เหรอ ฉันไม่ทันสังเกต”

“ท่านอาจารย์ไหว้พระเจดีย์ ไม่เห็นมีดอกไม้เลยขอรับ”

“ถ้ามีก็ดี แต่เมื่อไม่มี ด้วยจิตใจที่เลื่อมใส ก็เสมือนบูชาด้วยดอกไม้นั่นแหละ สามเณร”

“ถ้าท่านอาจารย์ประสงค์ดอกไม้ กระผมจะไปนำมาถวาย” ว่าแล้วก็เข้าฌานเหาะไปยังป่าหิมพานต์นำดอกไม้หลากสีใส่ธมกรก (กระบอกกรองน้ำดื่ม) มาถวายพระเถระ พระเถระเกลี่ยดอกไม้ลงยังแท่นบูชา กล่าวว่า “ดอกไม้มีน้อยนะ สามเณร”

“ท่านอาจารย์ขอรับ ขอให้ท่านรำลึกถึงพระคุณอันมหาศาลของพระพุทธเจ้าแล้วบูชาเถิด” สามเณรกล่าว

พระเถระก้าวขึ้นตามบันไดไปยังมุขด้านทิศปัจฉิม แล้วเกลี่ยดอกไม้ลงแท่นบูชา ทันใดนั้นแท่นบูชาเต็มไปด้วยดอกไม้ แถมยังหล่นลงมากองบนพื้นข้างล่างอีกสูงท่วมเข่า พระเถระเดินลงยังพื้นชั้นล่างวางดอกไม้บนฐานพระเจดีย์  ดอกไม้ก็แผ่เต็มบริเวณพระเจดีย์

“สามเณร ดอกไม้ยิ่งวางก็ยิ่งมีมาก” พระเถระหันมาพูดกับสามเณร สามเณรกราบเรียนท่านว่า “ท่านอาจารย์จงคว่ำธมกรกลง” พระเถระก็ทำตามทันใดนั้นดอกไม้ก็หมดไป

พระเถระอรหันต์ทรงอภิญญา ทราบว่า สามเณรหนุ่มนี้ต่อไปจักเสื่อมจากฤทธิ์เพราะมาตุคาม จึงกล่าวเตือนว่า “สามเณร เธอมีฤทธิ์มาก แต่ถ้าเธอประมาท ต่อไปเธอก็จะเสื่อมจากฤทธิ์ เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างทอหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำแล้ว”

สามเณรขัดใจนึกตำหนิว่า “พระผู้เฒ่านี้พูดอะไร ไม่เห็นเข้ารูหูเลย” ไม่ใส่ใจ เดินหนีไป

เมื่อพระเถระจะเข้าไปบิณฑบาต ให้สามเณรถือบาตรตามหลัง  สามเณรถามว่าท่านจะไปหมู่บ้านไหน เมื่อพระเถระบอกชื่อหมู่บ้าน สามเณรก็บอกว่านิมนต์ท่านอาจารย์ไปก่อนเถอะ ปล่อยให้พระเถระเดินไป จวนจะเข้าหมู่บ้านแล้ว จึงเหาะตามไปเอาบาตรถวายพระเถระ

พระเถระกล่าวเตือนสามเณรผู้คะนองด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ มันหวั่นไหว เสื่อมได้ ถ้าคะนองเมื่อมันเสื่อมแล้วจะเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ในที่สุด

“พระผู้เฒ่าพูดอะไร ไม่เข้ารูหู” สามเณรหนุ่มบ่นอีกด้วยความรำคาญ ไม่ยอมฟัง

วันหนึ่งสามเณรเหาะลิ่วๆ ผ่านไปสระบัวแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงหญิงสาวร้องเพลงไพเราะจับใจ ยังกับเธอกำลังออกคอนเสิร์ตกลางสระน้ำก็มิปาน สามเณร “ลอยคว้าง” กลางอากาศ  ตำราเปรียบว่า “เหมือนแมลงตาบอดติดอยู่ในรสหวาน” ไปไหนไม่ได้ ด้วยกำลังแห่งสมาบัติที่เหลืออยู่ถึงแม้ฤทธิ์จะเสื่อมแล้ว แต่ก็ไม่หล่นตุ๊บลงบนพื้นน้ำ  สามเณรผู้ต้องศรกามเทพค่อยๆ ลงมายืนริมฝั่ง สติยังมีอยู่บ้าง จึงรีบกลับวัดมาลาอาจารย์ว่าตนมีความจำเป็นจะต้องจากไป

พระเถระรู้ล่วงหน้าแล้วว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่เอ่ยปากทัดทานแม้คำเดียว ถึงห้ามก็คงไม่ฟัง  ดังพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่ว่า “ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิว์ขังไว้ ย่อมโลดและแล่นไป มิยอมอยู่ ณ ที่ขัง” ฉะนั้นแล

สามเณรถอดสบงจีวรทิ้ง ยืนคอยหญิงสาวอยู่ริมสระ หญิงสาวขึ้นจากสระน้ำรู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงขอร้องให้สามเณรกลับไปอยู่วัดอยู่วาตามเดิม ชีวิตครองเรือนมันมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบดังสามเณรฝันดอก

ก็คงพูดปัดไปตามประสา แต่ใจจริงหญิงสาวก็มีใจปฏิพัทธ์สามเณรหนุ่ม เมื่อสามเณรยืนยันจะอยู่เคียงข้างน้องนาง ไม่ว่าจะเข้าดงกุหลาบหรือดงอุตพิตก็ตาม

“ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด”  ว่าอย่างนั้นเถอะ

ทั้งสองก็พากันกลับไปยังเรือนของหญิงสาว พ่อแม่หญิงสาวกว่าวว่า “พ่อหนุ่มเอย เราเป็นช่างหูกจนๆ พ่อหนุ่มจะอยู่กับเราได้หรือ พ่อหนุ่มเคยบวชเรียนอยู่ในเพศสมณะสบายๆ จะทนลำบากไหวหรือ”

พ่อหนุ่มผู้มีรักเป็นสรณะยืนยันแข็งขัน  จึงยกลูกสาวให้

ทั้งสองอยู่ครองรักกันต่อมา จนพ่อตาแม่ยายเสียชีวิต พ่อหนุ่มก็ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวรับมรดกช่างทอหูกสืบไป ครอบครัวอื่นเขามีคนใช้หรือผู้ช่วยงานครอบครัว  ของอดีตสามเณรมีกันเพียงสองคน เมื่อครอบครัวอื่นเขาให้คนนำอาหารไปให้สามีของเขาที่โรงทอหูกแต่เช้า ภรรยาของอดีตสามเณรหนุ่ม ทำงานบ้านก่อน กว่าจะนำอาหารไปให้สามีก็สาย  สามีรอจนโมโหหิว เหตุการณ์มักจะเป็นอย่างนี้แทบทุกวัน

จนวันหนึ่งสามีทนไม่ได้ จึงดุด่าเอาแรงๆ ภรรยาก็เถียงเอาบ้าง   เท่านั้นเอง อดีตสามเณรผู้มีฤทธิ์ ก็ออกฤทธิ์แบบชาวบ้าน คือ หยิบกระสวยขว้างแม่ยอดยาหยี  ปลายกระสวยทิ่มตาข้างหนึ่ง เลือดไหลเป็นทาง ตาบอด ร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บปวด

อดีตสามเณร เห็นดังนั้น ก็ร้องไห้ครวญครางไม่แพ้ภรรยา ชาวบ้านต่างก็มาปลอบโยนทั้งสองคนว่า เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว ทำคืนไม่ได้อย่าได้ถือสากันเลย  ถึงเมียตาบอดข้าง ก็ยังมีอีกข้างมองเห็นอยู่

อดีตสามเณรครางว่า “ฉันมิได้ร้องไห้เพราะเหตุนี้ดอก  ฉันร้องไห้เพราะนึกถึงคำพูดของพระเถระอาจารย์ของฉัน ท่านบอกว่า ต่อไปฉันจะกินน้ำข้าวที่ช่างทอหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำ  อาจารย์ท่านมองเห็นล่วงหน้าแล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น อุตส่าห์ตักเตือน แต่ฉันไม่ฟัง”

....ดูเหมือนอดีตสามเณรหนุ่มแว่วเสียงของอาจารย์มาแต่ไกลฉะนี้แล
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณรนิรนาม สมัยพุทธกาล,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก

http://trang82.files.wordpress.com/2011/01/83.jpeg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


๒๐. พระองคุลิมาลเถระ : ผู้ “ต้นคดปลายตรง”

พระองคุลิมาลเป็นบุตรปุโรหิตแห่งราชสำนักพระเจ้าปเสนทิโกศล บิดาท่านนามว่าคัคคะ มารดานามว่า มันตานี วันที่ท่านเกิดนั้นบิดาเฝ้าอยู่ในสำนักพระราชวัง เกิดแสงรุ่งโรจน์ขึ้นที่พระคลังแสงเป็นที่อัศจรรย์ บิดาแหงนหน้าขึ้นดูท้องฟ้า เห็นดาวโจรลอยเด่นอยู่ จึงกราบทูลว่าเด็กที่เกิดขึ้นเวลานี้จะเป็นมหาโจรชื่อดัง

พระราชาตรัสถามว่า เป็นโจรธรรมดา หรือโจรชิงราชสมบัติ (ท่านใช้ศัพท์ว่า เอกโจร กับ รัชชทูสกโจร) เอกโจร ก็โจรเอกชน รัชชทูสกโจร ก็โจรปล้นราชบัลลังก์ อาจจะมีหลายคน
ปุโรหิตกราบทูลว่าโจรธรรมดา พระราชาก็ไม่สนพระทัย เพราะยังไงก็ไม่เดือดร้อนถึงพระองค์

เมื่อปุโรหิตก้าวเท้าขึ้นบ้าน คนในบ้านก็รายงานว่าท่านได้บุตรชายแล้ว ก็รู้ทันทีว่าเด็กที่ตนกล่าวถึงเมื่อครูใหญ่ๆ นั้นคือ บุตรชายของตน กลับไปกราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบและขอพระบรมราชานุญาตกำจัดเสีย ซึ่งก็ได้รับการทัดทานจากพระเจ้าปเสนทิโกศล

บิดาจึงตั้งชื่อแก้เคล็ดว่า “อหิงสกะ” (ผู้ไม่เบียดเบียน)  อหิงสกะก็ทำท่าไม่เบียดเบียนใคร เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ประพฤติดี เรียนเก่ง พ่อส่งไปศึกษาอยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์แห่งตักกศิลา ก็ตั้งใจเรียน เป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง

จนศิษย์ร่วมสำนักอิจฉา หาทางยุยงอาจารย์ให้เกลียดและกำจัดเสีย

ในที่สุดอาจารย์ก็เชื่อคำยุยงของศิษย์อื่นๆ เรียกอหิงสกะไปกระซิบบอกว่าจะถ่ายทอด “วิษณุมนตร์” ให้เป็นการเฉพาะ แต่ให้ไปฆ่าคน เอานิ้วมือมา ๑,๐๐๐ นิ้ว จึงจะประกอบพิธีประสิทธิ์ประสาทมนตร์ให้ได้

ศิษย์เชื่ออาจารย์เพราะความอยากได้มนตร์ จึงออกไปฆ่าคนเพื่อที่จะเอานิ้วมือ เมื่อฆ่าคนได้มากเข้า จิตใจก็เหี้ยมเกรียมขึ้น นิ้วมือที่ตัดเอามาก็เน่าหลุดไปก่อนจะครบจำนวนที่กำหนด จึงเอาเถาวัลย์มารอยเป็นพวงแขวนคอไว้ จนปรากฏเสียงเล่าลือกันทั่วไปว่า มีโจร “องคุลิมาล” (พวงมาลัยนิ้วมือคน) ไล่ฆ่าคนที่ผ่านดง “ชาลินี” เป็นประจำ  เป็นที่ครั่นคร้ามของประชาชน จนไม่มีใครกล้าสัญจรผ่านไปทางนั้น

ความร้ายกาจขององคุลิมาลเล่าขานกันทั่วไป จนพระเจ้าปเสนทิโกศลต้องตัดสินพระทัยยกกองทัพย่อยๆ ไปปราบด้วยพระองค์เอง มารดาของท่านทราบข่าวด้วยความรักลูก จึงลอบออกจากเมืองเพื่อไปบอกข่าวให้ลูกระวังตัว

พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า บัดนี้องคุลิมาลเกิดสติฟั่นเฟือนแล้ว พบใครก็จะต้องฆ่าเพื่อเอานิ้วมือให้ได้ เธออาจจะทำอนันตริยกรรม ทำให้ถลำลึกลงไปอีก จึงเสด็จไปดักหน้าองคุลิมาล ก่อนที่มารดาท่านจะมาถึง

มหาโจรเห็นคนเดินมา พระสงฆ์องค์เจ้าก็ไม่สนใจ ขอให้ได้นิ้วมืออีกสักนิ้วก็ครบ ๑,๐๐๐ นิ้วแล้ว จึงชูดาบวิ่งไล่ พระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปตามปกติ แต่ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ไม่ให้องคุลิมาลไล่ทัน องคุลิมาลจึงตะโกนว่า “หยุด สมณะ หยุด”
 
พระองค์ตรัสว่า “เราหยุดแล้ว แต่เธอยังไม่หยุด” เมื่อเขาสงสัย จึงตรัสต่อว่า “เราหยุดทำบาป แต่เธอยังไม่หยุด” เท่านั้นแหละ มหาโจรก็วางดาบ เข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท รับฟังพระโอวาท พระองค์ตรัสสอน แล้วประทานอุปสมบทให้ นำท่านกลับไปยังพระเชตวัน

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะเสด็จไปปราบองคุลิมาล ทรงทราบว่า องคุลิมาลบัดนี้ได้วางดาบแล้วมาบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ก็ปวารณาพระองค์เป็นอุบาสกถวายความอุปถัมภ์

แรกๆ พระองคุลิมาลบิณฑบาตไม่ได้ข้าว เพราะประชาชนจำได้ก็พากันวิ่งหนี หรือไม่ก็เอาก้อนดินก้อนอิฐขว้างปา ได้รับความเจ็บปวด พระพุทธองค์ตรัสสอนให้ท่านอดทนเพราะเป็นเศษกรรมของท่าน

วันหนึ่ง ท่านเห็นหญิงมีครรภ์แก่เดินเหินลำบาก จึงมากราบทูลพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสบอกให้ท่านแผ่เมตตาจิตให้นาง รุ่งเช้าขึ้น ท่านไปบิณฑบาตพบสตรีครรภ์แก่คนนั้น ท่านได้ยืนสงบใกล้ๆ เธอ เปล่งวาจาตั้งสัตยาธิษฐานว่า (ขออนุญาตคัดลอก เพราะสำคัญมาก)
     ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

     “ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่ราเกิดมาในชาติเป็นอริยะ (ตั้งแต่บวช) เราไม่เคยคิดทำลายชีวิตสัตว์ใดเลย
     ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้ความสวัสดีจงมีแก่ท่านและบุตรในครรภ์ของท่าน”


ว่ากันว่าสตรีท่านนั้นคลอดบุตรอย่างง่ายดาย จนเป็นที่เล่าขานกันต่อมาว่า ท่านเป็นผู้มี “มนตร์” ทำให้คลอดบุตรง่าย มาถึงตอนนี้ไม่มีใครกลัวท่านอีกต่อไปแล้ว

น่าสังเกตว่า คำกล่าวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน ในชื่อว่า อังคุลิมาลปริตร ใช้สวดเพื่อเป็นสิริมงคลโดยเฉพาะ เพื่อทำให้คลอดบุตรง่ายมาจนบัดนี้

ท่านพระองคุลิมาล ได้รับสรรเสริญว่าเป็นพระเถระประเภท “ต้นคดปลายตรง” คือ เบื้องต้นประมาทพลาดพลั้ง แต่ต่อมากลับเนื้อกลับตัวเป็นสาวกที่ดีเป็นตัวอย่างของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างดี

คนประเภทนี้เข้าลักษณะ “มืดมา สว่างไป” พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระองคิลุมาลเถระ : ผู้ “ต้นคดปลายตรง”,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 13:18:25 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2556 09:32:03 »

.

หลวงพ่อพระธรรมเจดีย์  อาจารย์ของผมไม่ยอมบวชให้คนแก่ที่เข้ามาบวชเป็น “พระหลวงตา”  เพราะท่านนั้นเคยมีประสบการณ์อันเจ็บแสบเกี่ยวกับหลวงตา

เมื่อครั้งที่ท่านได้รักษากฐินพระราชทาน  ในทุกๆ ปี พระทุกรูปต้องลงรับกฐิน โบสถ์คับแคบไม่พอที่จะจุพระ ท่านจึงให้เฉพาะพระเปรียญมานั่งรับกฐิน พระที่เหลือค่อยลงมาอนุโมทนาภายหลัง

หลวงตาทั้งหลายนึกว่าพวกตนจะได้รับกฐินกะเขา (ได้ซองปัจจัยตามธรรมเนียมทุกปี) ก็โกรธ หาว่าสมภารใหม่เป็นใครมาจากไหน ฉันเคยรับทุกปี (นี่หว่า) พอถึงวันประชุมซ้อมรับกฐิน บรรดาหลวงตาก็พากันยกม็อบมาต่อว่าต่อขาน กว่าจะชี้แจงกันเข้าใจก็เล่นเอาเหนื่อย

ท่านจึงไม่ยอมบวชให้ผู้สูงอายุมาแต่บัดนั้น เหตุผลของท่านก็คือ พระแก่นั้นว่ายากสอนยาก

แล้วยกพระพุทธวจนะมาประกอบว่า “พระแก่ว่าง่ายหายาก พระแก่มักน้อยหายาก พระแก่เป็นพหูสูตหายาก..”

ผมไปเปิดคัมภีร์พระไตรปิฎกดู อ้อ จริงดังท่านว่า มีพุทธวจนะตรัสตำหนิพระแก่หรือหลวงตาไว้มากพอดู  วันนี้ขอเล่าเรื่อพระแก่ว่าง่ายสักรูป ถือว่ายกเว้นครับ
•...ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก  





๒๑. พระราธเถระ : พระผู้เฒ่าผู้ว่าง่าย

พระราธเถระ : ท่านผู้นี้เกิดมาในสกุลพราหมณ์ มีครอบครัว ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวจนอยู่ดีมีสุข เมื่อแก่ตัวรู้ว่าสังขารร่างกายสู้งานไม่ไหว เพราะเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปแถมลูกเมียก็แสดงความรังเกียจ ไม่ค่อยดูแลด้วย ก็เลยนึกน้อยใจ หนีครอบครัวมาอาศัยพระอยู่ ช่วยรับใช้พระ เช่น ปัดกวาดลานวัด ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้ ต้มน้ำร้อนให้พระ เป็นต้น อาศัยข้าวก้นบาตรยังชีพไปวันๆ

พราหมณ์เฒ่าปรารถนาอยากบวช ขอพระบวชพระท่านก็ไม่ยอมบวชให้หาว่าแก่ไป จะบำเพ็ญกิจสมณะอะไรไหว จึงเฉยเสีย พราหมณ์เฒ่าก็ไม่ท้อถอยตั้งใจปรนนิบัติพระสงฆ์อย่างดี เผื่อว่าท่านจะเห็นใจ อนุญาตให้บวชบ้าง

พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระญาณ ค่อนรุ่งวันหนึ่ง พราหมณ์เฒ่าปรากฏในข่ายคือ พระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงทราบว่าพราหมณ์เฒ่ามีอุปนิสัยสมควรที่จะโปรดให้บรรลุธรรมได้ จึงเสด็จไปยังสถานที่ที่ราธพราหมณ์อยู่ ตรัสถามว่า “พราหมณ์ เธอมาทำอะไรอยู่ที่นี่”
     “มารับใช้พระสงฆ์พระเจ้าข้า” พราหมณ์เฒ่ากราบทูล
     “เธอต้องการอะไร จึงมารับใช้พระสงฆ์”
     “ต้องการบวชเป็นภิกษุ พระเจ้าข้า แต่พระสงฆ์ท่านไม่บวชให้” พราหมณ์กราบทูล

พระพุทธองค์จึงทรงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ในวันหนึ่ง ตรัสถามว่า มีใครรู้จักพราหมณ์ชื่อ ราธะ บ้างไหม

พระสารีบุตรกราบทูลว่า ท่านรู้จัก ราธพราหมณ์คนนี้เคยใส่บาตรท่านด้วยข้าวทัพพีหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญูรู้อุปการคุณที่คนอื่นกระทำเธอนั้นแหละจงจัดการให้ราธพราหมณ์อุปสมบท เท่ากับทรงให้พระสารีบุตรรับรอง

เมื่อมีผู้รับรอง การอุปสมบทของราธพราหมณ์ก็เป็นไปโดยง่าย พระสารีบุตรก็รับหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์บวชให้ราธพราหมณ์ด้วย “ญัตติจตุตถกัมมวาจาอุปสมบท” (การบวชด้วยการสวดประกาศสี่ครั้ง รวมทั้งญัตติหรือข้อเสนอ) นับว่าราธพราหมณ์เป็นคนแรกที่ได้รับบวชด้วยวิธีนี้

ก่อนหน้านี้ การบวช พระพุทธเจ้าทรงทำเอง และทรงอนุญาตให้สงฆ์บวชด้วยการถึงสรณคมน์ (ติสรณคมนูปสัมปทา)  ในบางครั้ง การบวชด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจานี้ พระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี มีอุปัชฌาย์ มีคู่สวด มีพระอันดับ ดังที่เราทราบกันในปัจจุบัน

เมื่อบวชแล้วพระราธะได้รับพระพุทธโอวาทสั้นๆ ว่า “ราธะขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร เธอจงละความกำหนัดยินดีในขันธ์ ๕ นั้นเสีย จะได้ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร”

ท่านได้ติดตามพระสารีบุตรผู้เป็นอุปัชฌาย์ไปยังที่อยู่แห่งหนึ่งใกล้ๆ หมู่บ้านที่มีอาหารบิณฑบาตไม่ขาดแคลน ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอุปัชฌาย์ โดยเคารพฝึกปฏิบัติอย่างเข้มงวด ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต

วันหนึ่งพระสารีบุตรพาท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า “สารีบุตร สัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของเธอเป็นอย่างไรบ้าง
     “ว่านอนสอนง่ายดี พระพุทธเจ้าข้า แม้ถูกตำหนิแรงๆ ก็ไม่โกรธ ทำตามโอวาทอุปัชฌาย์อย่างดี”
     “สารีบุตร ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นอย่างราธะนี้ เธอจะรับสักกี่รูป”
     “รับได้จำนวนมาก พระเจ้าข้า”

นี้แสดงว่าหน้าที่อุปัชฌาย์ที่ดีนั้นเป็นภาระหนัก ถ้ามีศิษย์หัวดื้อสักคนสองคนพูดปากเปียกปากแฉะคนเดียวก็เหนื่อยแล้ว แต่ถ้าศิษย์ว่านอนสอนง่าย สอนอะไรก็ปฏิบัติตามด้วยดี จะมีสักร้อยคนก็ยินดีรับสอน ดังกรณีพระราธะนี้

เป็นอันว่าพระราธะลบคำพูดที่ว่า “พระแก่ว่าง่ายหายาก” ได้โดยสิ้นเชิง

ท่านได้รับยกย่องชมเชยทั่วไปว่า เป็นพระแก่ที่น่ารัก ว่านอนสอนง่าย เป็นพระแก่ที่ทรงคุณความรู้ เป็นพหูสูตที่ขยันขันแข็ง อุปัชฌาย์คือพระสารีบุตร ก็ได้รับความชื่นชมโดยทั่วไป ว่าเป็นพระเถระที่มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศมาก่อนแล้ว โดยที่เวลานอนก็หันศีรษะไปทิศทางที่พระอัสสชิ พระอาจารย์ของท่านอยู่ ท่านรับรองราธพราหมณ์บวช และให้ความอุปการะช่วยเหลือเธอจนบรรลุพระอรหัต เกียรติคุณด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรมของท่านก็ยิ่งปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น

เล่าเรื่องพระราธะรูปเดียวก็จริง แต่เราผู้อ่านได้คุณธรรมที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่สำคัญถึง ๒ ข้อด้วยกัน คือ โสวจัสสตา (ความเป็นคนว่าง่าย) และกตัญญูกตเวทิตา (ความรู้คุณและตอบแทนคุณ)

ข้อแรก จากปฏิปทาของพระราธะผู้ศิษย์  ข้อที่สอง จากปฏิปทาของพระสารีบุตรผู้อุปัชฌาย์  ศิษย์อาจารย์คู่นี้ เป็นแบบอย่างแห่งการปฏิบัติตนให้เป็นอุดมมงคลที่เราพุทธศาสนิกชนพึงดำเนินตามเป็นอย่างยิ่ง
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระราธเถระ : พระผู้เฒ่าผู้ว่าง่าย,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๒๒. พระมหากัจจายนะ : ผู้เลิศในการขยายความ

พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของปุโรหิตเมืองอุชเชนี (หรืออุชชายินี) แคว้นอวันตีในครอบครองของพระเจ้าจัณฑปัชโชต สมัยยังเป็นเด็กท่านเป็นคนรูปงามเป็นคนใฝ่รู้ ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทจนมีความเชี่ยวชาญแต่ยังหนุ่ม

เมื่อบิดาสิ้นชีวิตท่านได้รับตำแหน่งปุโรหิตในราชสำนักสืบแทนบิดา

พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญเสด็จมาโปรดเมืองอุชเชนี จึงรับสั่งให้ท่านกัจจายนะไปกราบทูลเชิญเสด็จ

ท่านกัจจายะได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตอุปสมบทด้วย เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ท่านได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมบริวาร ๗ คน ฟังพระธรรมเทศนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วทูลขออุปสมบท

หลังจากอุปสมบทไม่นาน ท่านพระมหากัจจายะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปยังเมืองอุชเชนี พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “กัจจายนะ เธอนั่นแหละจงไป เมื่อเธอไปแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส” ท่านจึงเดินทางกลับไปยังเมืองมาตุภูมิ พร้อมด้วยภิกษุ ๗ รูป

ไปถึงเมืองอุชเชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงต้อนรับด้วยความเคารพ พระมหากัจจายนะได้แสดงธรรมให้พระราชาพร้อมพสกนิกรจำนวนมากฟัง

พระราชาทรงเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และได้ถวายความอุปถัมภ์ และทนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญมั่นคงในพระราชอาณาจักรของพระองค์ชั่วเวลาไม่นาน

อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นๆ ท่านพระมหากัจจายนะประสบความลำบากในการวางรากฐานพระพุทธศาสนาอยู่บ้าง เพราะยังไม่มีผู้เกิดศรัทธาถึงขั้นเข้ามาบวช จำนวนพระสงฆ์ที่มีนั้นไม่พอจะกระทำอุปสมบทกรรมได้ เมื่อศิษย์ของท่านนามโสณะกุฏิกัณณะ จะบวช ต้องเสียเวลานานถึง ๔ ปี จึงหาพระสงฆ์ครบจำนวนกระทำอุปสมบทกรรมได้ ซึ่งในช่วงแรกนั้น พระสงฆ์ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะประกอบพิธีอุปสมบทแก่กลบุตรได้

แต่ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงผ่อนผันให้พระสงฆ์จำนวน ๕ รูปขึ้นไปประกอบพิธีอุปสมบทในปัจจันตชนบท ปัญหาดังกล่าวจึงหมดไป

ครั้งหนึ่งพระมหากัจจายนะได้แสดง ภัทเทกรัตตสูตร ที่พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อให้พระสมิทธิฟังโดยพิสดาร พระสมิทธิมีความเข้าใจแจ่มแจ้ง หมดความสงสัย จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า “ถ้าให้ตถาคตแสดง ก็จะแสดงเช่นเดียวกับกัจจายนะ” เป็นการประทานเกียรติ และรับรองความสามารถของพระมหากัจจายนะ

เพราะความสามารถนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางขยายความแห่งภาษิตโดยพิสดาร
การที่ท่านมีรูปงามและคล้ายพระพุทธองค์มาก ทำให้พระสาวกอื่นๆ เมื่อเห็นท่านแต่ไกล เข้าใจผิดว่าพระพุทธองค์เสด็จมา จึงพากันลุกรับเก้อบ่อยครั้ง

และครั้งหนึ่งเกิดเรื่องประหลาดขึ้น คือ บุตรเศรษฐีเมืองโสเรยยะ เห็นท่านรูปงาม จึงพูดด้วยความคะนองปากว่า “สมณะรูปนี้งามนัก ถ้าได้เป็นภรรยาก็จะดีไม่น้อย”

ทันใดนั้นเขาก็กลายเพศเป็นสตรีทันที เพราะล่วงเกินต่อพระอริยเจ้า ด้วยความละอายเขาจึงหนีไปเมืองตักศิลา ได้แต่งงานกับบุตรเศรษฐีในเมืองนั้น จนมีบุตรหนึ่งคนต่อมาได้ขอขมาท่าน จึงกลับเพศเป็นชายตามเดิม

ว่ากันว่าตั้งแต่บัดนั้นมา ท่านพระมหากัจจายนะได้อธิษฐานให้ร่างกายท่านอ้วนท้วนสมบูรณ์ เพื่อจะได้ไม่เป็นสาเหตุให้ปุถุชนต้องทำบาปโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดอกุศลต่อท่าน

ชาวพุทธในภายหลังได้สร้างพระอ้วนลงพุงเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเรียกกันว่า “พระสังกัจจายน์” หรือ “พระสังกระจาย”

เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ขอนำเอาข้อความในภัทเทกรัตตสูตรมาสรุปให้ฟังตรงนี้  พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่พระเชตวันให้ภิกษุทั้งหลายฟัง พระธรรมเทศนาเป็นโศลกไพเราะดังนี้
“ไม่พึงย้อนนึกถึงอดีต ไม่พึงห่วงหาอนาคต อดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ผู้เห็นแจ้งปัจจุบันธรรม ณ สภาวะนั้นๆ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน พึงพอกพูนความสงบ พึงรีบทำความเพียรแต่บัดนี้ ใครเล่าจะรู้ว่าจะตายพรุ่งนี้ (หรือไม่) จะผัดผ่อนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ก็ไม่ได้ คนที่มีความเพียรอยู่อย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน สัตบุรุษทั้งหลายเรียกเขาว่า คนมีราตรีเดียวเจริญ”

ข้อความย่อๆ นี้ พระมหากัจจายนะได้นำไปขยายให้พระสมิทธิฟังอย่างพิสดารจนท่านสมิทธิเข้าใจแจ่มแจ้งแดงแจ๋ ชื่นชมพระมหากัจจายนะมาก นำความกราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ทรงสรรเสริญดังกล่าวแล้วข้างต้น

พระมหากัจจายนะดำรงอยู่ควรแก่อายุขัยแล้วก็นิพพาน ไม่ทราบว่าก่อนหรือหลังพุทธปรินิพพาน แต่เข้าใจว่าคงก่อน เพราะในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ไม่ปรากฏว่าท่านมีบทบาทอะไร แต่เท่าที่ทราบกัน เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี ได้กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน จนถึงพุทธศตวรรษที่สอง ในการทำสังคายนาครั้งที่สอง พระเถระจากแคว้นอวันตีมีบทบาทสำคัญหลายรูป

เฉพาะท่านมหากัจจายนะเอง ได้รับการยอมรับจากชาวพุทธ นิกายสรวาสติวาทิน (นิกายอภิธรรม) ว่าท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญรูปหนึ่งในการถ่ายทอดอภิธรรมนอกเหนือจากพระมหากัสสปะและพระสารีบุตร และตำราไวยากรณ์ อันชื่อว่ากัจจยานมูล (หรือมูลกัจจายน์) ก็มีผู้โยงไปถึงท่านว่าท่านเป็นผู้แต่ง

ถ้าจริงก็ไม่มีปัญหา ถ้าไม่จริง ก็แสดงว่าความสามารถของท่านในการขยายความ เป็นที่ยอมรับนับถือกันมากในหมู่ชาวพุทธ แม้กระทั่งใครจะแต่งขยายความเรื่องอะไรที่สำคัญ ก็มักยืม “ชื่อ” ของท่านไปใช้

ถ้ามองในแง่นี้ก็ไม่น่าเสียหาย เป็นการถวายเกียรติแก่ผู้ที่ตนเคารพ
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระมหากัจจายนะ : ผู้เลิศในการขยายความ ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก



http://picdb.thaimisc.com/p/prakruang/24229-11.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


๒๓. พระสีวลีเถระ : พระผู้มีลาภมาก

พระสีวลีเถระ เป็นพระที่ชาวพุทธนับถือกันในทางมีลาภมาก  ทำไมพระสีวลีจึงได้ชื่อว่าเป็นพระให้ลาภ ก็เพราะท่านได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” ว่า เป็นผู้เลิศในทางมีลาภ
 
บางครั้งเดินทางไปในที่ทุรกันดาร พระพุทธองค์ยังต้องให้พระสีวลีตามเสด็จไปด้วย เพื่อมนุษย์และเทวดาจะได้นำพาภัตตาหารมาถวายพระสงฆ์

เรื่องราวของท่านพระสีวลีนั้นก็ค่อนข้างแปลก ท่านเป็นบุตรของนางสุปปวาสา พระธิดาของเจ้าโกลิยวงศ์พระองค์หนึ่ง บิดาของท่านคือ เจ้ามหาลิลิจฉวี ขณะที่ท่านอยู่ในครรภ์ก็นำลาภมาให้มารดาเสมอ แต่ประหลาดตรงที่อยู่ในครรภ์นานถึง ๗ ปี ไม่ยอมคลอดลูกก็ได้ จึงคิดที่จะทำบุญกุศล บอกสวามีให้ไปทูลอาราธนาพระพุทธองค์ และสั่งว่า ถ้าพระพุทธองค์รับสั่งอย่างใดให้จำไว้ด้วย

สวามีไปกราบทูลอาราธนา เพื่อให้เสด็จมาเสวยพระกระยาหาร พระพุทธองค์ตรัสว่า “ขอให้สุปปวาสาจงมีความสุขปราศจากโรค และคลอดบุตรผู้ปราศจากโรคเถิด”

พระสวามีกราบถวายบังคมลา กลับไปถึงวังก็ทราบว่าพระกุมารได้ประสูติก่อนแล้ว นางสุปปวาสาทราบพระพุทธดำรัสก็ปลื้มปีติอย่างยิ่ง บอกให้สวามีไปทูลอาราธนาพระองค์มาเสวยพระกระยาหารติดต่อกัน ๗ วัน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองบุตรเกิดใหม่ด้วย

ว่ากันว่า พระกุมารน้อยได้ช่วยเอาธรรมกรกกรองน้ำดื่มถวายพระสงฆ์หลังจากเกิดมาไม่นาน เป็นที่อัศจรรย์ บางท่านก็ว่าเพราะกุมารอยู่ในครรภ์ถึง ๗ ปี คลอดออกมาแล้วก็ย่อมมีความสามารถดุจเด็กอายุ ๗ ขวบ

แต่คัมภีร์กล่าวว่า เพราะบารมีที่กุมารบำเพ็ญมาแต่ปางก่อน จนคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้กลายเป็น “ธรรมดา” ของกุมารไป มิใช่เรื่องมหัศจรรย์อันใด หากเป็นผลสัมฤทธิ์ของบุญ

พระประยุรญาติทั้งหลายได้ขนานนามพระกุมารว่า “สีวลี”  สีวลีเจริญอายุมาได้ ๗ ขวบ รู้ความเป็นมาของตน กอปรกับบุญญาธิการแต่ปางหลังเตือน จึงสลดใจคิดอยากบวช ปรารภความนี้กับพระสารีบุตร พระสารีบุตรจึงขออนุญาตนางสุปปวาสาพระมารดา นางก็อนุญาต

สามเณรสีวลีก็สำเร็จพระอรหัตผลทันทีที่ปลงผมสำเร็จ นับแต่วันที่ท่านบรรพชามา ปัจจัยสี่ได้เกิดขึ้นแก่ท่านมากมาย ลาภผลเหล่านั้นได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์ทั้งปวงด้วย

ไม่ว่าท่านพระสีวลีจะไปที่ไหน ไม่ว่าจะทุรกันดารเพียงใด ก็มักจะมีผู้นำเอาอาหารบิณฑบาตมาถวายเสมอ แม้จะไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ต่างก็มีอาหารฉันอย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน

ความที่ท่านเป็นผู้มีลาภมากได้เลื่องลือไปทั่ว จนพระพุทธองค์ทรงประทานตำแหน่งเอตทัคคะในด้านเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางมีลาภมาก

สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก เสด็จเพื่อไปเยี่ยมพระเรวตะ (ขทิรวนิยเรวตะ) ผู้อยู่สงัดวิเวกรูปเดียวในป่าสะแก ไปถึงทางแยกแห่งหนึ่งพระอานนท์กราบทูลว่า ทางหนึ่งเป็นทางอ้อม ระยะทางไกลถึง ๖๐ โยชน์ ตามรายทางมีหมู่บ้านคนอยู่ แต่อีกทางหนึ่งเป็นทางตรง ระยะทางเพียง ๓๐ โยชน์ ไม่มีคนอยู่เลย เป็นทางทุรกันดาร เราจะไปทางไหน

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “สีวลีมากับเราด้วยหรือเปล่า”

“มา พระพุทธเจ้าข้า” พระอานนท์กราบทูล

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้นเราไปทางลัด” แล้วพระองค์ก็เสด็จดำเนินนำหน้าไป ที่พระพุทธองค์ไปทางลัดเพราะทรงทราบว่า ไม่ว่าจะไปทางไหน ถ้ามีพระสีวลีไปด้วยย่อมไม่ลำบาก ด้วยอาหารบิณฑบาต

ซึ่งก็จริงตามนั้น เหล่าเทวดาที่สิงอยู่ในป่า ต่างก็นำอาหารมาถวายพระพุทธองค์และพระสงฆ์ตลอดทางที่ผ่านไป เพราะผลบุญของพระสีวลี

การที่พระสีวลีมีลาภมากก็ดี ต้องอยู่ในครรภ์พระมารดาถึง ๗ ปี กว่าจะคลอดก็ดี ล้วนเป็นเพราะผลบุญและบาปที่ทำไว้ในปางก่อน ในคัมภีร์อุปาทาน ท่านได้เล่าอัตชีวประวัติไว้ว่า

ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเป็นกษัตริย์เมืองหนึ่ง ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วตั้งความปรารถนาอยากได้เอตทัคคะในทางเป็นผู้มีลาภมาก

ต่อมาอีกในชาติหนึ่ง ท่านเกิดเป็นกุลบุตรผู้ยากไร้ ได้ถวายน้ำผึ้งกับนมส้มแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ด้วยศรัทธาอย่างยิ่ง

ด้วยอานิสงส์แห่งผลทานนั้น ท่านจึงเป็นผู้มีลาภมากในชาตินี้

ในส่วนที่ท่านต้องทุกข์ทรมานอยู่ในครรภ์ถึง ๗ ปี จึงคลอดนั้น ท่านมิได้กล่าวไว้ แต่พระสงฆ์ได้ทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงเล่าว่า ในชาติหนึ่งพระสีวลีเกิดเป็นกษัตริย์ ยกทัพไปล้อมเมืองข้าศึก เพื่อเอาเป็นเมืองขึ้น ล้อมอยู่ ๗ ปี  กษัตริย์เมืองที่ถูกล้อม ไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งชาวเมืองเดือดร้อนมาก จึงลุกฮือจับพระราชาของตน ยกเมืองให้กษัตริย์ผู้บุกรุก เพื่อยุติปัญหา

เพราะผลบาปที่ทำไว้นั้น ท่านจึงต้องอยู่ในครรภ์ถึง ๗ ปี กว่าจะคลอด หลังจากเสวยผลกรรมในนรกมานาน

พิเคราะห์ตามประวัติของท่านพระสีวลี ท่านมีลาภมากเพราะผลทานที่ถวายด้วยจิตเลื่อมใส ก็จะให้ความคิดแก่เราชาวพุทธว่า ถ้าเราอยากได้อะไรเราก็ควรให้ก่อน การทำบุญทำทานคือการให้ ยิ่งให้มากก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่ได้ “ยิ่งให้ยิ่งได้” นี้คือกฎธรรมชาติ

เพราะฉะนั้น ท่านที่อยากได้ลาภ ถึงกับอุตส่าห์ไปเช่าพระสีวลีมาบูชา ก็ควรจะปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านพระสีวลีนั้นคือ ให้รู้จักทำบุญทำทานมากๆ  ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มาก ไม่เห็นแก่ตัว เมื่อนั้นแหละลาภผลก็จะหลังไหลมาสู่ท่านไม่รู้จักหมดสิ้น

คนที่เอาแต่ได้ บุญทานไม่เคยทำ ถึงจะแขวนพระสีวลีเต็มคอ ก็คงหาลาภไม่ได้อยู่ดี
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระสีวลีเถระ : พระผู้มีลาภมาก ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๒๔. พระภัททกาปิลานีเถรี
ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ด้วยตนเอง 

พระภัททกาปิลานีเถรี พระสาวกรุ่นแรกสุดถัดจากพระปัญจวัคคีย์ เห็นจะเป็นพระมหากัสสปะเถระพระผู้เฒ่าท่านนี้ ที่เคร่งครัดในธุดงควัตรมาก

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นประธานสังคายนาพระธรรมวินัย ตั้งเป็นระบบสืบทอดต่อมา

ทางฝ่ายพุทธนิกายเซน ยกให้พระมหากัสสปะเป็นผู้ได้รับถ่ายทอด “เซน” โดยตรงจากพระพุทธเจ้าด้วย

ส่วนมากก็ลืมนึกไปว่า เมื่อปิปผลิมาณพ (ซึ่งต่อมาก็คือพระมหากัสสปะ) ออกบวชนั้น สตรีนางหนึ่งมีนามว่า ภัททกาปิลานี (หรือภัททากาปิลานี) ได้ออกบวชร่วมกับสามีด้วย

แต่เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีภิกษุณีสงฆ์ พระมหาปชาบดีโคตมียังไม่ได้บวช ภัททกาปิลานีจึงเพียงแต่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ถือบวชเอง ยังไม่ได้รับการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ต่อเมื่อมีภิกษุณีสงฆ์แล้ว นางจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีโดยสมบูรณ์

ตรงนี้ก็ฝากไว้เป็นที่สังเกตว่า สมัยก่อนใครคิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาสก็ถือเพศบรรพชิตเอาเองเลย รูปแบบนักบวชคงมีหลายรูปแบบ  ในสมัยนั้นใครชอบใจแบบไหน (เช่น แบบปริพาชก แบบโยคี ฤาษีชีไพร ก็ตามสบาย) ไม่มีกฎหมายห้ามเลียนแบบพระสงฆ์เหมือนสมัยนี้  สมัยนี้ใครจะถือตามชอบในอย่างนั้นไม่ได้ ผิดกฎหมาย

ภัททกาปิลานีเป็นบุตรรีของพราหมณ์โกลิยโคตร ในเมืองสาคละ (ฟังชื่อแล้วคงอยู่ทางเหนือของชมพูทวี)

วันหนึ่งนางพร้อมบริวารไปอาบน้ำที่ท่าสำหรับอาบประจำ อาบน้ำเสร็จแล้วก็ขึ้นไปบนศาลา ผลัดเสื้อผ้า แล้วก็พักอยู่ในห้องพักที่ศาลา บรรดาพี่เลี้ยงก็ลงอาบน้ำด้วย พอเดินกลับมาจะขึ้นศาลา เห็นรูปปั้นยืนอยู่ใกล้ทางเดิน นึกว่าเป็นภัททกาปิลานี พี่เลี้ยงคนหนึ่งจึงเอามือตบหลังเบาๆ พูดว่า “ทำไมนางมายืนอยู่ที่นี้ไม่ไปอยู่บนศาลา” เมื่อมือไปสัมผัสรูปปั้นก็รู้ว่ามิใช่นายหญิงของตน  จึงร้องขึ้นด้วยความประหลาดใจ พวกพราหมณ์ทั้ง ๘ คน ที่ซ่อนตัวอยู่ก็ปรากฏกาย ถามว่า รูปนี้เหมือนใครหรือ

“เหมือนหนูภัททกาปิลานี นายหญิงของเรา” พี่เลี้ยงตอบ

ความเดิมที่ว่า พ่อแม่ของปิปผลิมาณพต้องการสตรีที่มีรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติพร้อมเสมอบุตรชายของตนมาเป็นสะใภ้ จึงสั่งให้หล่อรูปสาวงามด้วยทองคำแล้วให้พราหมณ์ ๘ คน นำรูปนั้นไปค้นหาสตรีที่มีรูปงามเหมือนในรูป พราหมณ์ทั้งแปดนำรูปปั้นขึ้นรถตระเวนไปยังเมืองต่างๆ

จนในที่สุดมาถึงเมืองสาคละ แคว้นมัทรัฐ จึงพากันเอารูปปั้นไปวางไว้ข้างทางไปสู่ท่าน้ำ ด้วยคิดว่าท่าน้ำมีคนไปมามาก คนเห็นรูปแล้วคงจะพูดว่าเหมือนพี่เลี้ยงของภัททกาปิลานี ก็ได้เข้าใจรูปปั้นนั้นผิด คิดว่าเป็นนายหญิงของตน ดังกล่าวข้างต้น

พราหมณ์ทั้งแปดจึงตามพี่เลี้ยงของนางไปยังศาลา เห็นรูปโฉมของนางสวยงามดังรูปปั้นไม่ผิดเพี้ยน จึงแจ้งความประสงค์ แล้วตามนางไปยังบ้านของนางไปถึงก็แจ้งให้พราหมณ์โกลิยะทราบถึงความประสงค์ พราหมณ์โกลิยะก็ตกลงยกลูกสาวให้เป็นคู่ครองของปิปผลิมาณพ บอกให้ทางฝ่ายชายจัดแจงตามประเพณีต่อไป

ฝ่ายปิปผลิมาณพทราบข่าวการ “คลุมถุงชน”  ใกล้จะเป็นความจริงแล้ว ซึ่งตนไม่ปรารถนาจะอยู่ครองเรือน จึงคิดหาทางหนีไปบวชก่อนที่พิธีอาวาหมงคลจะเกิดขึ้น (เมืองแขก เวลาแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะต้องมาอยู่ตระกูลสามี “นำเจ้าสาวมา” จึงเรียกอาวาหมงคล)  เขียนจดหมายฝากคนไปบอกภรรยาในอนาคตว่า เขากำลังจะหนีไปบวช ไม่ปรารถนาจะอยู่ครองเรือน ขอให้นางจงหาชายใหม่เถิด

หารู้ไม่ว่าฝ่ายภัททกาปิลานีก็คิดเช่นเดียวกัน ได้ฝากจดหมายกับคนของนางมาเช่นกัน ผู้ถือข่าวสารทั้งสองฝ่ายไปพบกันระหว่างทาง ด้วยความอยากรู้ว่าหนุ่มสาวทั้งสองนั้นเขียนจดหมายรักมีสำนวนหวานหยดย้อยขนาดไหน จึงพากันเปิดดู (รู้สึกว่าจะเสียมารยาทไม่น้อย ไม่น่ากระทำ)

เมื่อเปิดจดหมายออกมา ปรากฏข้อความว่าทั้งสองคนต่างปฏิเสธการแต่งงาน จึง “รวมหัวกัน” แปลงสารใหม่เขียนจดหมายรักหยดย้อยหยาดเยิ้มให้กันและกัน

เมื่อจดหมายไปถึงบุคคลทั้งสอง ต่างก็นึกว่าอีกฝ่ายปรารถนาจะแต่งงานกับตน จึงจำต้องทนยอมทำตามประเพณี

เมื่อแต่งงานแล้ว ทั้งสองได้ทราบความประสงค์ของกันและกัน เพื่อมิให้บุพการีทั้งสองฝ่ายเสียใจ จึงยับยั้งอยู่ก่อนไม่ออกบวชในทันที ทั้งสองเป็นสามีภรรยาแต่ในนามเท่านั้น มิได้เหมือนสามีภรรยาทั่วไป คอยเวลาอันสมควรที่จะออกบวช
เมื่อพ่อแม่ของปิปผลิมาณพล่วงลับไป ทรัพย์สมบัติทั้งหมดตกเป็นของปิปผลมาณพ ปิปผลิมาณพเห็นว่าถึงเวลาทำตามปณิธานที่ตั้งไว้แล้ว จึงยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ภรรยา

ภรรยาของเขาก็บอกว่า นางก็ไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติ ต้องการจะบวชเช่นกัน ทั้งสองจึงมอบทรัพย์สมบัติให้กับคนในตระกูล แล้วก็นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมน้ำฝาด) บวชอุทิศพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทั้งสองออกเดินทางเพื่อแสวงหา “พระอรหันต์” ที่ตนจะรับเป็นอาจารย์ (ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นใคร) ปิปผลิเดินหน้า ภัททกาตามหลัง ผ่านหมู่บ้านนิคมต่างๆ ต่อมาทั้งสองได้ตกลงแยกทางกันไปเพื่อแสวงหา “อาจารย์”

พระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นปิปผลิมาณพในข่าย ก็คือพระญาณ จึงเสด็จไปดักหน้า ประทับอยู่ใต้ต้น “พหุปุตตนิโครธ” (ต้นกร่าง)
เมื่อปิปผลิมาณพมาพบพระพุทธองค์ ก็รู้ด้วยสัญชาตญาณว่าท่านผู้นี้แหละคือพระอรหันต์ผู้จะเป็นอาจารย์ของตน จึงเข้าไปกราบถวายบังคมฟังโอวาท ในที่สุดได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุสาวกของพระพุทธองค์

ซึ่งต่อมาปรากฏนามในหมู่เพื่อนพรหมจรรย์ว่า “พระมหากัสสปะเถระ”

ข้างฝ่ายภัททกาปิลานี ภายหลังเดินทางไปอยู่ที่ “ติตถิยาราม” (วัดของพวกนักบวชนอกพุทธศาสนา) ใกล้ๆ พระเชตวัน ภายหลังได้เข้ามาพระเชตวัน เพื่อขอบวชเป็นภิกษุณี แต่ก็ต้องรออยู่ระยะหนึ่ง เพราะช่วงนั้นพระพุทธองค์ยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีเป็นภิกษุณี

ต่อเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมี ได้รับอนุญาตบวชเป็นภิกษุณี นางจึงขอบวชตามบ้าง (เข้าใจว่าบวชในคราวเดียวกันนั้น) หลังจากอุปสมบทแล้วพระเถรีก็ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

พระเถรีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการระลึกชาติได้ ต้องการระลึกได้กี่ชาติๆ ก็สามารถระลึกได้หมด พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องในเอตทัคคะ (ความเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางระลึกชาติได้

นอกจากนี้ พระเถรียังเป็นพระธรรมถึก (สตรีน่าจะเรียกว่า พระธรรมกถิกา) ชั้นเลิศ มีพระธรรมกถิกาอีกรูปหนึ่ง มีชื่อเสียงพอกันคือ พระถูลนันทาเถรี (นันทาอ้วน)  แต่รูปหลังนี้มักไม่สำรวมเป็นต้นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทต่างๆ เสมอ และศิษย์ของภัททกาปิลานีหลายรูปไปนิยมชมชอบพระถูลนันทาเถรี ถูกชักพาทำผิดพระวินัยบ่อยๆ

ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการระลึกชาติได้ พระเถรีได้รำลึกนึกถึงอดีตชาติของตน บางชาติก็ทำกุศล บางชาติก็ทำอกุศล ทำให้เกิดสลดสังเวชในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของเหล่าสัตว์

เช่น ในชาติหนึ่ง นางอิจฉาน้องสามีที่ชอบทำบุญตักบาตร จึงแกล้งเอาของสกปรกใส่ถาดให้น้องสามีจะใส่บาตรถวายพระ ภายหลังสำนึกว่าไม่ควร จึงเทของสกปรกทิ้ง ล้างถาดให้สะอาด แล้วบรรจุอาหารอย่างดีให้นางแทน

วิบาก (ผล) แห่งกรรมครั้งนั้น ทำให้นางเกิดเป็นสตรีงามแต่กลิ่นตัวแรง แต่งงานกับใคร สามีไม่ยอมรับเลี้ยง ต้องเปลี่ยนสามีหลายคน เพราะต่างทนกลิ่นอันร้ายแรงของนางไม่ได้

นางจึงเอาทองคำทั้งหมดที่มีมาหลอมเอาไปช่วยสร้างพระวิหารถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ จึงได้อานิสงส์เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามมีกลิ่นตัวหอมหวน เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั้งปวง

นี้เป็นต้นอย่างของบุพกรรมของนางที่นางรำลึกได้แล้ว นำมาเล่าให้เหล่าศิษย์ฟัง เพื่อระมัดระวังไม่ทำบาปอกุศล

พระภัททกาปิลานีเป็นพระเถรีที่ใช้ความสามารถพิเศษของตน ทำประโยชน์แก่พุทธศาสนามากมาย ดำรงชนม์อยู่จึงถึงอายุขัย (นานเท่าใดไม่แจ้ง) แล้วก็นิพพาน
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระภัททกาปิลานีเถรี : ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ด้วยตนเอง ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 13:29:04 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Sunny7855
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 21.0 Firefox 21.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2556 10:52:00 »

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2556 15:29:24 »

.



๒๕. พระราหุลเถระ
ผู้มีความใคร่ในการศึกษา

พระราหุลเถระเป็นพระสาวกรูปแรกที่บวชแต่อายุเพิ่ง ๗ ขวบ จึงเป็น “บิดา” แห่งสามเณรทั้งหลาย

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จนิวัติไปโปรดพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์นั้น พระมารดาของท่าน (พระนางยโสธราพิมพา)  ได้บอกกับพระราหุลกุมารว่า ตั้งแต่พระบิดาเสด็จออกผนวช ขุมทรัพย์ที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับการประสูติของพระองค์ได้หายไป ขอให้ราหุลกุมารไปทูลขอขุมทรัพย์นั้น

ขณะที่พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จำนวนมาก เสด็จออกบิณฑบาตอยู่ในเมือง ราหุลกุมารก็ติดตามพระบิดาไป พลางร้องว่า “สมณะ ขอขุมทรัพย์ๆ” พระพุทธองค์มิได้ตรัสตอบ คงเสด็จดำเนินไปเรื่อย

จนกระทั่งไปถึงนิโครธาราม สถานที่ประทับชั่วคราวอยู่นอกเมือง ราหุลกุมารเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธองค์ มีความรู้สึกสงบและร่มเย็นอย่างประหลาด จนถึงกับอุทานออกมาว่า “สมณะ ร่มเงาของของท่านสบายจริงๆ (สุขา เต สมณ ฉายา)

พระพุทธองค์ทรงดำริว่า อันทรัพย์สมบัตินั้นๆ ในโลกย่อมไม่จีรังยั่งยืน อย่ากระนั้นเลย เราจะให้อริยทรัพย์แก่ราหุลดีกว่า แล้วพระองค์จึงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตรบวชให้ราหุลกุมาร

เนื่องจากไม่เคยมีเด็กบวชมาก่อน พระเถระจึงกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้บวชด้วยการเปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์

การบวชของราหุลจึงมีชื่อว่า ติสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม

ต่อมาการบวชแบบนี้ได้ใช้สำหรับการบวชสามเณรเท่านั้น บวชแล้วสามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษามาก
ว่ากันว่าในทุกๆ เช้าสามเณรน้อยลงมากอบทรายเต็มกำมือ แล้วอธิษฐานดังๆ ว่า “วันนี้ขอให้เราได้ฟังโอวาทจากพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์มากมาย ดุจเมล็ดทรายในกำมือเรานี้”

พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านว่าเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา

สามเณรราหุลไม่เคยถือตนว่าเป็นโอรสพระพุทธเจ้า ท่านเป็นคนว่าง่ายและมีความเคารพในพระสงฆ์ ครั้งหนึ่งพระจากชนบทจำนวนหนึ่งมาพักที่พระเชตวัน เนื่องจากพระวินัยห้ามภิกษุนอนในที่เดียวกับอนุปสัมบัน จึงไล่ให้สามเณรราหุลไปข้างนอก โดยไม่คำนึงว่าสามเณรน้อยจะไปอยู่ที่ไหน

สามเณรราหุลไม่มีที่อยู่ จึงเข้าไปพักอยู่ที่วัจกุฎี (ส้วม) ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เสด็จไปพบเข้ากลางดึก จึงนำท่านกลับมาพักที่พระคันธกุฎีของพระองค์

จากเหตุการณ์ครั้งนั้น พระองค์จึงทรงลดหย่อนผ่อนปรนสิกขาบทข้อที่ว่า ด้วยห้ามภิกษุอยู่ในที่มุงบังเดียวกับอนุปสัมบันเกินหนึ่งคืน ขยายเวลาออกเป็นสามคืน

ท่านได้ฟังพระพุทธโอวาทหลายครั้ง พระโอวาทองค์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ครั้งหนึ่งน่าสนใจมาก ก็เพราะทรงสอนให้ใช้สื่อเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเหมาะแก่อุปนิสัยของเด็กเป็นอย่างยิ่ง นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับโทษของการพูดเท็จ

พระพุทธองค์ทรงจับขันน้ำล้างพระบาทขึ้น แล้วทรงเทน้ำลงหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า
     “ราหุล เห็นไหม น้ำที่เราเทลงหน่อยหนึ่งนี้”
     “เห็น พระเจ้าข้า” สามเณรน้อยกราบทูล
     “ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ เทคุณความดีออกจากตนที่ละนิด เหมือนเทน้ำออกจากขันนี้”
     “ราหุล เห็นไหม น้ำที่เราเทออกหมดนี้” ตรัสถาม หลังจากทรงเทน้ำหมดขัน
     “เห็น พระเจ้าข้า”
     “ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมเทน้ำคุณความดีออกหมด เหมือนเทน้ำที่เราเทออกหมดนี้”

เสร็จแล้วทรงคว่ำขันลง ตรัสถามว่า
     “ราหุล เห็นไหม ขันที่เราคว่ำลงนี้”
     “เห็น พระเจ้าข้า”
     “ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมคว่ำคุณธรรมออกหมดเหมือนขันคว่ำนี้”

เสร็จแล้ว ทรงหงายขันเปล่าขึ้น แล้วตรัสถามว่า
     “ราหุล เห็นไหม ขันเปล่าที่เราหงายขึ้นนี้ ไม่มีน้ำเหลือเลย”
     “เห็น พระเจ้าข้า”
     “ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งที่รู้ ย่อมไม่มีคุณความดีเหลืออยู่เลย ดุจขันเปล่านี้”

ทรงสอนโดยใช้สื่อประกอบเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งทำให้เด็กน้อยได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง คำว่า “คุณความดี” ที่คนพูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ เทออกจากตนนี้ ท่านใช้ศัพท์ว่า สามญฺญํ แปลว่า ความเป็นสมณะหรือความเป็นพระนั่นเอง

คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมเทความเป็นพระออกทีละนิดๆ จนไม่มีเหลือ กลายเป็น”คนโกหกหลอกลวง” หรืออลัชชีในที่สุดนั้นแล

ครั้งสุดท้ายท่านได้ฟังจุฬราหุโลวาทสูตรที่ ๒ เนื้อหาว่าด้วยขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ท้ายพระสูตรได้บันทึกไว้ว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตจากการฟังพระโอวาทนี้

ไม่ได้บอกว่าท่านบรรลุพระอรหัตเมื่ออายุเท่าไหร่ คาดว่าคงจะอายุประมาณ ๑๘ ปี และเมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ (เข้าใจว่าพระสารีบุตรอัครสาวก คงจะเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม)

พระราหุลเถระมีสมญานามที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายขานอีกอย่างหนึ่งว่า ราหุลภัททะ แปลว่า ราหุลผู้โชคดี หรือ ราหุลผู้ดีงาม

พระราหุลเถระยอมรับว่า คำพูดนี้เป็นความจริง เพราะท่านนับว่ามีโชคดีถึงสองชั้น  

โชคชั้นที่หนึ่ง ได้เป็นโอรสของเจ้าชายแห่งศากยวงศ์

โชคชั้นที่สอง ได้เป็นโอรสในทางธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระราหุลเถระนิพพานเมื่ออายุเท่าไร ไม่มีบันทึกไว้ที่ไหน ทราบแต่ว่าท่านนิพพานก่อนพระอุปัชฌาย์ และก่อนพุทธปรินิพพาน ถ้าเช่นนั้นท่านก็คงนิพพานเมื่ออายุไม่มากนัก

สถานที่นิพพานของท่าน คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระราหุลเถระ : ผู้มีความใคร่ในการศึกษา ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๒๖. สามเณรนิรนาม สมัยกัสสปะ พุทธเจ้า

วันนี้ขอเล่าประวัติสามเณร “นิรนาม” รูปหนึ่ง มีชีวิตอยู่ก่อนพุทธกาลนี้ คือในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ว่าอย่างนั้น

ความว่า ในอารามแห่งหนึ่ง มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่อาศัยอยู่ ภิกษุทั้งหลายถือ “วัตร” อย่างเคร่งครัด คือตื่นเช้าขึ้นมาก็จะจับไม้กวาดกวาดลานวัด ลานเจดีย์ เก็บขยะไปทิ้ง อย่างพร้อมเพียงกัน วัดวาอารามสะอาดสะอ้านน่ารื่นรมย์ สมนาม “อาราม”

อาราม แปลตามศัพท์ว่า สถานที่ที่คนมาแล้วรื่นรมย์ (อาคนฺตฺวา รมนฺติ เอตฺถาติ อาราโม = สถานที่ใดที่คนทั้งหลายมาถึงแล้วมีความรื่นรมย์ สถานที่นั้นเรียกว่า อาราม)

ส่วนสถานที่ใดแม้ว่าจะมีพระสงฆ์อยู่ คนเข้าไปถึงแล้ว มีแต่ความหงุดหงิดรำคาญใจ เหลียวไปไหนก็มีแต่ขยะ และรอยขีดเขียนคำไม่สุภาพตามกำแพง และมีกลิ่นปัสสาวะเหม็นคลุ้ง แถมยังมีเสียงเพลงลูกทุ่งลอยมากับสายลม  อ้อ ตามลานวัดก็มีตลาดสด หรือไม่ก็เป็นลานจอดมากกว่าจะทำเป็นสวนหย่อม มีต้นไม้ใบหนา ให้คนที่มาถึงได้นั่งพักให้ร่มรื่นชื่นอารมณ์ สถานที่ดังว่านี้ไม่สมนามว่า อาราม ดอกครับท่าน

วันหนึ่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกวาดลานวัดอยู่อย่างขะมักเขม้น เรียกสามเณรน้อยรูปหนึ่งมาสั่งว่า สามเณรเอาขยะไปทิ้งที สามเณรน้อยทำเป็นไม่ได้ยิน ภิกษุหนุ่มนึกว่าสามเณรไม่ได้ยินจริงๆ จึงเรียกตั้งสามครั้ง เจ้าสามเณรน้อยรูปนี้ก็แกล้งเอาหูทวนลมเสีย

ภิกษุหนุ่มจึงเอาด้ามไม้กวาดตีสามเณรพร้อมคำรามว่า “มันดื้อจริงวะ เณรน้อยรูปนี้” บังคับให้เธอเอาขยะไปทิ้งจนได้

สามเณรน้อยร้องไห้พลางขนขยะไปทิ้งพลาง แล้วตั้งความปรารถนา (อธิษฐาน) ดังๆ ว่า “ด้วยบุญคือการนำขยะไปทิ้งนี้ ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังไม่บรรลุพระนิพพาน ไม่ว่าจะเกิดในชาติภพใด ก็ขอให้เป็นผู้มีศักดิ์ (อำนาจ) มากดุจแสงพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน”

เมื่อทิ้งขยะเสร็จแล้ว จึงไปอาบน้ำยังแม่น้ำ เห็นคลื่นมันก่อตัวแล้วซัดเข้ามาฝั่งแล้วๆ เล่าๆ จึงตั้งความปรารถนาว่า “ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุพระนิพพาน ไม่ว่าจะเกิดในชาติภพใด ขอให้มีปฏิภาณเฉียบคมไม่รู้หมดสิ้นดุจเกลียวคลื่นเหล่านี้”

ฝ่ายภิกษุหนุ่ม ไปอาบน้ำเหมือนกัน ได้ยินสามเณรน้อยอธิษฐาน ดังนั้น  ก็ยิ้มนึกในใจ (นึก “ในใจ” ทั้งนั้นแหละ “นอกใจ” ไม่มีดอก)  ว่าเณรเปี๊ยกนี้ ทิ้งขยะก็เพราะเราใช้ให้ทำ ถ้ามีอานิสงส์จากการทิ้งขยะ เราควรจะได้ก่อน ว่าแล้วก็อธิษฐานดังๆ ว่า "ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังไม่บรรลุพระนิพพาน ไม่ว่าจะเกิดในชาติภพใดขอให้มีปฏิภาณไม่รู้หมดรู้สิ้นดุจคลื่นเหล่านี้ และขอให้สามารถแก้ปัญหาทุกข้อที่สามเณรนี้จะพึงถาม”

ทั้งสอง คือ ทั้งภิกษุหนึ่งและสามเณร ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏตลอดพุทธันดรหนึ่ง ตกมาถึงพุทธกาลนี้ สามเณรนิรนามนั้นมาเกิดเป็นพระยามิลินท์ (เป็นชาวกรีก นามว่า เมนานเดอร์) ภิกษุหนุ่มมาเกิดเป็นบุตร โสณุตตรพราหมณ์ แห่งหมู่บ้านกชังคละ เชิงเขาหิมาลัย  เด็กน้อยมีนามว่า นาคเสน

พราหมณ์ผู้เป็นพ่อเป็นพราหมณ์นับถือศาสนาฮินดู มิได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่เคยทำบุญในพระพุทธศาสนา แม้จะมีพระภิกษุรูปหนึ่งยืนที่หน้าบ้านของตน แกก็มิได้สนใจ รำคาญเข้าก็ไล่ตะเพิด พระท่านก็ไม่ว่าอะไร เช้าวันรุ่งขึ้นก็มายืนสงบหน้าบ้านแกอีก แกก็ไล่ไปเหมือนเดิม

ถามว่า พระไปบิณฑบาต ไปยืนรอหน้าบ้านเขาได้หรือ ตอบว่า ธรรมเนียมโบราณสมัยพุทธกาลนั้น พระไปยืนหน้าบ้าน ถ้าเขามีอาหารและมีจิตศรัทธา ก็จะออกมาใส่บาตร ถ้าเขาไม่มีใส่ หรือไม่มีศรัทธาเขาก็จะบอกว่า “นิมนต์ไปข้างหน้าเถิด” แล้วพระท่านก็จะไปที่อื่น

ธรรมเนียมไทยไม่เช่นนั้น ถ้าเห็นพระมายืนรอรับบิณฑบาตก็นินทาแล้ว “อะไรกัน ทำไมไม่เดินบิณฑบาต มายืนรอทำไม อย่างนี้ไม่ถูกต้อง”

ครับไม่ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย แต่มิได้ผิดวัฒนธรรมพุทธนะขอรับ


ถามอีกว่า ทำไมพระเถระรูปนี้จึงทนทู่ซี้มายืนหน้าบ้าน พราหมณ์คนนี้ตั้งนาน (ว่ากันว่าเป็นเวลา ๗ ปี) ตอบว่า เพราะท่านถูกทำ “พรหมทัณฑ์” คือในช่วงที่พระอรหันต์ทั้งหลายประชุม “วางแผน” เกี่ยวกับอนาคตพระพุทธศาสนานั้น ท่านรูปนี้มัวแต่เข้าฌานสมาบัติอยู่ ไม่ได้มาประชุมด้วยจึงถูกสงฆ์ลงโทษ ให้หาวิธีเอาเด็กน้อยนาคเสนมาบวชให้ได้ เพื่อจะได้เป็นกำลังพระพุทธศาสนา ปราบคนมิจฉาทิฐิที่เห็นผิดอย่างพระยามิลินท์ที่พูดถึงนี้

วันหนึ่งท่านเดินกลับวัด สวนทางกับพราหมณ์โสณุตตระ พราหมณ์ถามท่านว่า สมณะ วันนี้ท่านไปบ้านข้าพเจ้าหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่า ไป จึงถามว่า “ได้อะไรบ้างไหม”

ถามไปอย่างนั้นเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่มีใครใส่บาตรดอก แต่ผิดคาด พระเถระตอบเบาๆ ว่า “วันนี้อาตมาได้ โยม”

ได้ยินดังนั้นก็หูร้อนทันทีรีบไปบ้านถามคนในบ้านด้วยความโกรธว่า “ใครให้ข้าวสมณะ”  เมื่อทุกคนปฏิเสธว่ามิ “ได้ให้เลย” ก็ยิ่งโกรธกำลังสองคือโกรธสมณะ หาว่าพูดเท็จ พรุ่งนี้เถอะ ข้าจะจับผิดสมณะรูปนี้ให้ได้

รุ่งเช้าขึ้นมา แกก็นั่งรอพระเถระแต่เช้า พอเห็นหน้าก็ต่อว่าหาว่าท่านโกหก เมื่อวานนี้ไม่มีใครให้อะไรท่านเลย ท่านกลับบอกว่าได้

“อาตมาได้จริงๆ โยม” พระตอบสงบ

“ได้อะไร”

“ได้คำพูดไพเราะ เมื่อวานนี้ภรรยาของท่านกล่าวกับอาตมาว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด ตลอด ๗ ปี อาตมาไม่ได้รับการต้อนรับด้วยไมตรีเลย มาเมื่อวานนี้ได้คำพูดอ่อนหวานว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด อาตมาหมายเอาคำพูดนี้ อาตมาจึงบอกโยมว่าอาตมาได้”

ฟังพระเถระอธิบาย พราหมณ์ก็อึ้ง นึกไม่ถึงว่าสมณศากยบุตรนั้นเป็นผู้มีจิตใจละเอียดอ่อนปานนั้น มีจิตใจกตัญญูรู้คุณอะไรปานนั้น เพียงแค่ได้คำพูดอ่อนหวานฉันไมตรีจิต ก็ยังซาบซึ้งว่าเป็นบุญคุณ จึงเกิดความเลื่อมใสนิมนต์ขึ้นไปฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นประจำ แต่วันนั้นมาพระเถระก็กล่าวธรรมกถาวันละเล็กละน้อยโปรดโยมอุปัฏฐากของท่าน

เด็กน้อยนาคเสน เห็นพระเถระนุ่งห่มแปลกๆ ก็เข้ามาซักถามทำไมนุ่งห่มอย่างนี้ ทำไมไม่ไว้ผมเหมือนคนอื่น พระเถระก็อธิบายให้ฟังว่าพระในพระพุทธศาสนาต้องครองเพศอย่างนี้ ถามว่าท่านรู้ไตรเพทไหม ท่านบอกว่าท่านรู้ เมื่อถามไถ่เรื่องราวของไตรเพท พระเถระก็ตอบได้หมด พอพระเถระถามบ้างก็ตอบไม่ได้ จึงอยากจะขอเรียนจากพระเถระ

พระเถระว่า จะไม่สอนให้แก่คนที่ไม่ถือเพศอย่างเดียวกับตน เด็กน้อยนาคเสน อยากเรียนจากพระเถระ จึงตัดสินใจบวช ไปขออนุญาตพ่อแม่ไม่ได้รับอนุญาตในเบื้องต้น จึงประท้วงด้วยการอดอาหาร ยื่นคำขาดว่า ถ้าไม่ได้บวชก็ขออดอาหารตายดีกว่า

พ่อแม่กลัวลูกตาย และคิดอีกทีว่า ลูกชายของตนเป็นคนใฝ่รู้มาก เมื่ออยากได้ความรู้แล้ว ไม่มีใครห้ามได้ เธอบวชเรียนได้ความรู้จากพระเถระแล้วก็คงสึกออกมา จึงอนุญาตให้ลูกชายบวช

ลืมบอกไปว่า พระเถระที่เทียวไล้เทียวขื่อตลอดเวลา ๗ ปี กว่าจะได้เด็กน้อยนาคเสนมาเป็นศิษย์รูปนี้ นามว่าพระโรหนเถระ  ท่านโรหนะได้ให้เด็กน้อยนาคเสนบวชเป็นสามเณร ขณะนั้นอายุเพียง ๗ ขวบ บวชแล้วก็ให้การศึกษาอบรมอย่างดี โดยให้เรียนอภิธรรมก่อน

ว่ากันว่า อภิธรรม ๗ คัมภีร์  สามเณรน้อยนาคเสนใช้เวลา ๗ เดือนก็เรียนจบและมีความแตกฉานอย่างดีเยี่ยม เธอได้สาธยายให้พระอรหันต์ทั้งหลายฟังอย่างแม่ยำ ไม่ผิดพลาด

เมื่ออายุครบบวชพระ ก็ได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีพระโรหนะเป็นพระอุปัชฌายะ

ตามประวัติดูเหมือนว่า นาคเสนขณะยังเป็นสามเณรอยู่ได้ศึกษาเฉพาะอภิธรรม ต่อเมื่อบวชแล้วจึงถูกส่งไปศึกษาปิฎกอื่น (พระสูตรและพระวินัย) จาก พระอัสสคุต และ ธัมมรักขิต จนเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกอย่างหาผู้เปรียบปานได้ยาก

ภายหลังถูกพระธัมมรักขิตเตือนว่า “อย่าเป็นเพียงเด็กเลี้ยงโค รับค่าจ้างเลี้ยงโคให้เขา แต่มิได้ดื่มรสน้ำนมโค”  ความหมายก็คือ อย่าบำเพ็ญตนเป็นเพียงพหูสูต รู้หลักทฤษฎีเท่านั้น จงนำเอามาปฏิบัติจนได้รู้เห็นด้วยตนเองด้วย

ท่านจึงคร่ำเคร่งบำเพ็ญสมาธิวิปัสสนาจนในที่สุดได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา (ความแตกฉานใน ๔ ด้าน คือ แตกฉานในอรรถ ในธรรม ในภาษา และในปฏิภาณ)


 ในช่วงที่กล่าวถึงนี้ คู่ปรับเก่าในอดีตชาติ (พระยามิลินท์) ได้โต้วาทะหักล้างนักปราชญ์ต่างๆ จนไม่มีใครสู้ได้ต่างหลบหน้าไปหมด พระหนุ่มนาคเสน จึงได้เดินทางไปยังเมืองสาคละ เพื่อโต้วาทะกับพระยามิลินท์

การโต้วาทะอันลือลั่นครั้งนั้น ได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อว่า มิลินทปัญหา อยากทราบไหวพริบปฏิภาณของพระหนุ่มอดีตสามเณรน้อยนามว่า นาคเสน ว่าเฉียบคมอย่างไร หาอ่านจากหนังสือเล่มนี้ ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณรนิรนาม สมัยกัสสะปะ พุทธเจ้า ,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก





๒๗. สามเณรสุมนะ

คราวนี้มาว่าถึงสามเณรน้อยนามสุมนะ สามเณรอรหันต์ทรงอภิญญา ๖ ประการ หลานพระเจ้าอโศกมหาราช

ชื่อ สุมนะ ค่อนข้างจะดาษดื่นในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สามเณรอรหันต์ในสมัยพุทธกาลรูปหนึ่งก็คือ สุมนะ    สุมนะ เป็นพระนามของอดีตพุทธะก็มี เป็นนามของพระปัจเจกพุทธะก็มี ชื่อของเศรษฐีก็มาก ชื่อคนยากก็เยอะ

สุมนะ สามเณรน้อยหลานกษัตริย์แห่งเมืองปาตลีบุตรรูปนี้ ประวัติท่านมีไม่มาก บอกเพียงแต่ว่าเป็นบุตรของ นางสังฆมิตตา และอัคคิพราหมณ์  ท่านเป็นบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมอภิญญา ๖ ประการในขณะเป็นสามเณร

เมื่อพระเจ้าอโศก เสด็จตา (ใช้ราชาศัพท์แบบลิเก)  ทรงอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๓ และส่งพระธรรมทูต ๙ คณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศ ธรรมทูตสายหนึ่งไปยังเกาะลังกา หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันนี้

ธรรมทูตที่ส่งไปย่อมไปเป็นคณะ เรียกว่า คณะธรรมทูต  คงมิใช่ส่งพระไปเพียงรูปสองรูปเป็นแม่นมั่น  เนื่องจากได้อ่านหนังสือที่ใครๆ แต่ง ก็มักจะไม่พูดถึงคณะธรรมทูต พูดถึงพระเถระรูปสองรูปเท่านั้น เช่น พระโสณะและอุตตระมายังสุวรรณภูมิ (มาแค่สองรูปเท่านั้น) พระมหินทเถระไปยังลังกา (รายนี้ฉายเดี่ยว)

แต่เมื่อเปิดดูต้นฉบับดั้งเดิมจริงๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านไปเป็นคณะมีพระสงฆ์ มีอุบาสกทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกร คอยอำนวยความสะดวกให้แก่พระสงฆ์ ธรรมทูตสายที่ไปยังลังกาทวีป ประกอบด้วย

พระมหินทเถระ โอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นหัวหน้าคณะ
พระอัฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระภัทรสาลเถระ พระสัมพลเถระ และสามเณรชื่อ สุมมะ ผู้ทรงอภิญญา ๖ ประการมีฤทธิ์มาก ติดตามมาด้วย

และยังมีอุบาสกนามว่า ภัณฑกะ เป็นไวยาวัจกร

ทั้งคณะมีจำนวน ๗ ท่านด้วยกัน

สมัยนั้น เกาะศรีลังกายังคงนับถือผีสางตามเรื่อง ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าเทวานัมปิยะติสสะ ครองราชย์ต่อจากพระเจ้ามุฏสีวะพระราชบิดา อันพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะพระองค์นี้เป็น “อทิฏฐสหาย” กับพระเจ้าอโศก คือ เป็นพระสหายที่เจริญสัมพันธไมตรีกัน ยังไม่เคยพบปะกันมาก่อน

ว่ากันว่า พระมหินทเถระพร้อมคณะไปยังเกาะลังกา ไปพำนักอยู่ที่มิสสกบรรพตก่อน ยังไม่ไปหาพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทันที พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เสด็จออกล่าเนื้อ มุ่งตรงไปยังสถานที่ที่พระคุณเจ้าและคณะอาศัยอยู่ พระมหินทเถระเห็นอุบายที่จะให้พระเจ้าแผ่นดินลังกาเลื่อมใสจึงจำแลงร่างเป็นละมั่งน้อยตัวหนึ่งวิ่งผ่านกษัตริย์ลังกาไป

พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะเสด็จตามละมั่งไป พลัดหลงกับข้าราชบริพารเสด็จถึงสถานที่ที่พระเถระทั้งหลายอาศัยอยู่ พระมหินทเถระบันดาลให้ละมั่งน้อยหายไป อธิษฐานจิตให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นท่านเพียงผู้เดียว เรียกเสียงดังว่า “ติสสะ ติสสะ มาทางนี้”
พระราชาทรงฉงนพระทัยว่า ใครวะ บังอาจเรียกชื่อจริงเรา สาวพระบาทเข้ามาใกล้ ทอดพระเนตรเห็นสมณะรูปหนึ่ง ท่าทางสำรวม สง่ายืนอยู่ข้างหน้า กำลังจะตรัสถามอยู่พอดีว่า สมณะนี้เป็นใคร พระเถระชิงถวายพระพรเสียก่อน

“ขอถวายพระพร อาตมภาพคือ มหินทเถระ โอรสแห่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป มาที่นี่เพื่ออนุเคราะห์มหาบพิตรและประชาชนชาวเกาะลังกา” พอได้สดับว่า สมณะรูปนี้เป็นโอรสพระอทิฏฐสหายของพระองค์ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงเสด็จเข้าไปถวายบังคม

ขณะพระเถระสนทนาอยู่กับพระราชา พระเถระที่เหลือพร้อมสามเณรสุมนะและภัณฑกอุบาสกก็ปรากฏ  พระราชาทรงสงสัยว่า ท่านเหล่านี้มาได้อย่างไร พระเถระถวายพระพรว่าความจริงท่านเหล่านี้ก็อยู่ ณ ที่นี้เอง  แต่เพิ่งจะปรากฏต่อคลองจักษุของพระองค์ ณ บัดนี้ พระราชาจึงทรงทราบว่า สมณะเหล่านี้มีอิทธิฤทธิ์ จึงตรัสถามว่า พระคุณเจ้ามายังเกาะลังกาโดยทางไหน

     “ขอถวายพระพร มิใช่ทางบก มิใช่ทางน้ำ”
     “ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้ามาทางอากาศสินะ”

พระเถระทั้งหลายรับโดยดุษณีภาพ เพื่อทดสอบพระปฏิภาณของพระราชาว่าสมควรที่จะถวายความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาหรือไม่พระเถระชี้ไปที่ต้นมะม่วงต้นหนึ่งถามว่า
     “มหาบพิตร ต้นไม้นี้ชื่ออะไร”
     “ต้นมะม่วง ขอรับ” พระราชาตรัสตอบ
     “มะม่วงต้นอื่นนอกจามะม่วงต้นนี้มีหรือไม่”
     “มีอยู่จำนวนมาก ขอรับ”
     “นอกจากมะม่วงต้นนี้และมะม่วงต้นอื่น มีต้นไม้อื่นไหม”
     “มี แต่ไม้เหล่านั้นมิใช่ต้นมะม่วง”
     “นอกจากมะม่วงอื่น และที่มิใช่มะม่วง ยังมีต้นไม้อื่นไหม”
     “ก็ต้นมะม่วงต้นนี้ไงเล่า พระคุณเจ้า” พระราชาตอบ

เพื่อทดสอบอีก พระเถระถามปัญหาต่อไปว่า
     “มหาบพิตร พระญาติของมหาบพิตรมีอยู่หรือ”
     “มีหลายคน พระคุณเจ้า” พระราชาตรัสตอบ
     “นอกจากพระญาติเหล่านี้ ผู้ที่มิใช่พระญาติยังมีอยู่หรือ”
     “มีมาก พระคุณเจ้า”
     “นอกจากพระญาติของมหาบพิตร และผู้ที่มิใช่พระญาติ ยังมีใครอื่นอีกไหม”
     “ก็โยมนี่ไง พระคุณเจ้า”

 พระเถระกล่าวสาธุการว่า สาธุๆ มหาบพิตรทรงมีพระปรีชาสามารถเฉียบแหลมยิ่ง จากนั้นพระเถระได้แสดง จุฬหัตถิปโทปมสูตร แด่พระราชา (และข้าราชบริพารที่ตามมาภายหลัง) จบพระธรรมเทศนา พระราชาทรงตั้งอยู่ในสมณะสาม ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา

หลังจากพระราชาเสด็จนิวัติพระนครแล้ว พระมหินทเถระสั่งให้สุมนสามเณรประกาศกาลฟังธรรม สุมนสามเณรเข้าญานมีอภิญญาเป็นบาท ออกจากญานแล้วอธิษฐานจิตว่า ขอให้เสียงประกาศกาลฟังธรรมนี้ได้ยินไปทั่วตัมพปัณณิทวีป  (คือเกาะลังกา) เสียงประกาศกาลฟังธรรมนี้ได้ยินไปทั่วพระนคร พระราชาตกพระทัยนึกว่าเกิดอันตรายแก่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงเสด็จมาตรัสถาม พระเถระถวายพระพรว่า หามีอันตรายใดๆ แก่พวกอาตมภาพไม่ เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงประกาศกาลฟังธรรม

เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลของการบันดาลแห่งอิทธิฤทธิ์ เฉพาะผู้มีฤทธิ์เท่านั้นย่อมทำได้ ปุถุชนคนธรรมดาทำอะไรไม่ได้ก็อย่าได้ดูถูกว่าเหลวไหล

มีด๊อกเตอร์บางคนจบปรัชญามาจากต่างประเทศคิดว่าที่ตัวเรียนที่ตัวรู้นั่นคือยอดแห่งความรู้ แล้วก็เที่ยวไปกล่าวหาคนที่เขาเชื่อเรื่องเหนือสามัญวิสัยอื่นๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยเครื่องมือทางวัตถุว่าโง่เง่าเต่าตุ่น ถามด้วยความองอาจห้าวหาญว่า “อาจารย์ก็เชื่อเรื่องอย่างนี้ด้วยหรือ” ครั้นถามตอบว่า “แล้วคุณเชื่อเรื่องอะไรล่ะ ปรัชญาดีกรีด๊อกเตอร์ของคุณหรือ” ก็ได้แต่อึดอักๆ ตอบไม่ได้

รู้กันหรือเปล่าไม่ทราบ ทฤษฎีที่เราจำขี้ปากเขามานั้น ปรัชญาเมธีเจ้าของทฤษฎีเองบางคนยังไม่เชื่อทฤษฎีของตัวเสียด้วยซ้ำ แล้วเรามิใช่ผู้คิดค้นทฤษฎีนั้นเองกลับเกาะติดว่านี่คือสัจจะที่แท้ยิ่งกว่าตุ๊กแกเกาะผนังเสียอีก


พระเจ้าเทวานัมปิยตัสสะได้ถวายอุทยานเมฆวันให้เป็นวัดที่อยู่อาศัยของพระมหินทเถระและคณะ พระเถระได้ทำการอุปสมบทแก่อริฏฐอำมาตย์ และพี่ชายน้องชายจำนวน ๕๕ คน จำพรรษาที่เมฆวัน ออกพรรษาปวารณาแล้วถวายพระพรพระราชาให้ทรงปรึกษากับสุมนสมเณรว่าจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานยังลังกาทวีปอย่างไร

พระราชาตรัสถามสามเณรน้อยว่า จะได้พระบรมสารีริกธาตุแต่ที่ไหน สามเณรถวายพระพรว่า เบาพระทัยเถิด มหาบพิตรไว้เป็นภาระของอาตมภาพ ว่าแล้วสามเณรน้อยก็เข้าญานหายวับไปกับตา ปรากฏตัวอีกทีที่ชมพูทวีป ณ พระราชวังของพระอัยกา ขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระเจ้าอโศก ได้พระบรมสารีริกธาตุแล้วไปยังสำนักท้าวสักกเทวราช ขอพระธาตุรากขวัญเบื้องขวา จากพระองค์แล้วไปปรากฏตัวที่ตัมพปัณณิทวีป

พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจติยคิรี แล้วจัดงานสมโภชเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร
ตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลังกา สามเณรสุมนะ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพระมหินทเถระประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ เกาะแห่งนี้

หลังจากสามเณรน้อยผู้บุตรมาไม่นาน มารดาสามเณรน้อยซึ่งบัดนี้เป็นพระเถรีนามว่า สังฆมิตตาเถรี ลงเรือมาปลูกยังเกาะลังกา และได้เป็น “ปวัตตินี” (อุปัชฌาย์) บวชให้แก่กุลสตรีชาวเมืองอนุราธบุรีจำนวนมาก สืบสถาบันภิกษุณีสงฆ์ในเกาะลังกามาแต่บัดนี้.

ไปไหว้พระรากขวัญเบื้องขวา และต้นพระศรีมหาโพธิทีไร ชาวพุทธที่รู้ความเป็นมา ก็อดรำลึกถึงคุณูปการของสองแม่ลูกนี้เสียมิได้
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณรนิรนาม สมัยพุทธกาล,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 13:46:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2556 13:29:27 »

.



๒๘. สามเณรสังฆรักขิต

วันนี้วันนี้ขอนำเด็กที่ถูกจับบวชเป็นสามเณรแล้วก็อยู่ต่อจนเป็นพระ เป็นพระแล้วก็ “กระสัน” อยากสึก มาเล่าให้ฟัง

เด็กน้อยชื่อ สังฆรักขิต ชื่อเดิมจะว่าอย่างไรไม่ทราบ หลังจากบวชแล้วเขาเรียกท่านว่า สังฆรักขิต หรือ ภาคิไนยสังฆรักขิต = สังฆรักขิตผู้เป็นหลาน

ท่านเป็นหลานของพระเถระนามว่า สังฆรักขิต พระเถระรูปนี้เป็นพระอรหันต์ ทรงอภิญญา ไปเยี่ยมครอบครัวญาติพี่น้องของตน เห็นหลานชาย (บุตรน้องชาย) หน่วยก้านดีจึงพาไปบวชเป็นสามเณร สามเณรสังฆรักขิต ปรนนิบัติหลวงลุงซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ของตนด้วยอย่างดีเสมอมา เมื่ออายุครบบวชหลวงลุงก็เป็นอุปัชฌาย์บวชให้

วันหนึ่งท่านสังฆรักขิตผู้หลาน กลับไปเยี่ยมโยมบิดามารดา โยมถวายผ้ากัมพลเนื้อดีมาสองผืนตั้งใจว่ากลับไปถึงวัด จะถวายผืนใหญ่แก่อุปัชฌาย์จึงนำไปถวาย ขณะบอกถวายผ้าแก่อุปัชฌาย์ ท่านสังฆรักขิตกำลังนวดเท้าอาจารย์เสร็จแล้วนั่งพัดวีให้ท่านอยู่ อุปัชฌาย์ปฏิเสธ บอกให้หลานชายเก็บไว้ใช้เองเถิด เพราะท่านมีจีวรมากพออยู่แล้ว อ้อนวอนอย่างไรหลวงลุงก็ไม่ยอมรับท่าเดียว

สังฆรักขิต จึงน้อยใจ คิดว่าเมื่อหลวงลุงไม่ยินดีรับผ้าที่เราถวาย เราจะบวชอยู่ต่อไปทำไม สึกไปครองเรือนดีกว่า

และแล้วความคิดของเธอก็เตลิดไปไกล

ข้าสึกไปแล้ว เอาผ้าสองผืนนี้ไปขายเอาเงิน ได้เงินจำนวนหนึ่งแล้ว ก็จะไปซื้อแม่แพะมาสักตัว

ธรรมดาแม่แพะย่อมตกลูกเร็ว เมื่อมีลูกแพะหลายๆ ตัว ข้าก็จะขายได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จะใช้จ่ายสร้างบ้าน (เรือน) งามๆ สักหลัง

ซื้อที่นาสักแปลง พอที่จะปลูกข้าวไว้กิน ซื้อโคเทียมเกวียนสักคู่ สำหรับช่วยไถนาและขนทัพสัมภาระ

เมื่อมีทุกอย่างแล้วก็จะแต่งงานกับหญิงสาวที่สวยงามสักคนหนึ่ง เราทั้งสองก็จะอยู่ครองเรือนกัน ช่วยกันคนละไม้คนละมือ สร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา

จากนั้นไม่นาน เราก็จะมีลูกชายน่าเกลียดน่าชังมาสักคนหนึ่ง..เอ... เราจะตั้งชื่อลูกชายว่าอย่างไรหนอ...เอาชื่อหลวงลุงนี่แหละมาเป็นชื่อลูกชาย

เมื่อลูกชายโตมาอีกหน่อย เราสองคนสามีภรรยา ก็จะพาลูกชายมานมัสการหลวงลุงโดยข้าจะขับยาน ภรรยานั่งอุ้มลูกอยู่ภายในประทุน

ขณะขับเกวียนไประหว่างทาง ข้าอยากอุ้มลูก อยากหอมแก้มลูก  เมียข้าไม่ยอม บอกว่าพี่ขับเกวียนไปสิ ฉันจะอุ้มเอง ไปได้สักระยะหนึ่ง เมียข้าอุ้มลูกจนเมื่อย จึงวางลูกบนพื้นเกวียน เกวียนมันกระแทกเหวี่ยงไปมาเพราะหนทางมันขรุขระ ลูกก็ร้องจ้าด้วยความตกใจและเจ็บปวด

ข้าโมโหเมีย ที่ทำให้ลูกร้อง จึงเอาปฏักเคาะหัวเมียดังโป๊ก

ขณะที่ฟุ้งซ่านมาถึงนี่ มือก็กำลังพัดวีหลวงปู่อยู่ ก็จับด้ามพัดฟาดลงบนศีรษะหลวงลุงพอดี

เธอรู้ตัว ตกใจแถมหลวงลุงยังพูดว่า “สังฆรักขิต เธอโกรธมาตุคาม (สตรี) แล้วทำไมมาตีหัวเรา พระแก่อย่างเรามีความผิดอะไรด้วยเล่า”

เธอนึกว่าที่เธอคิดฟุ้งซ่านมาทั้งหมดนี้ หลวงลุงรู้หมดแล้ว มีความละอายจึงรีบลงกุฏิหนีไปพระหนุ่มเณรน้อยวิ่งตามจับมาหาหลวงลุง หลวงลุงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสถามเธอว่า

“สังฆรักขิต ทำไมเธอจึงหนีอุปัชฌาย์ไป”

“ข้าพระองค์ละอายใจที่คิดฟุ้งซ่าน จนหลวงลุงทราบหมด พระเจ้าข้า”

“แล้วเธอจะหนีไปไหน”

“สึกไปเป็นคฤหัสถ์ พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ตรัสปลอบใจเธอว่า สังฆรักขิต ปุถุชนก็อย่างนี้แหละ คิดโน่นคิดนี่ สร้างวิมานในอากาศไปเรื่อย จิตใจตกเป็นทาสของกิเลสตัณหาไม่รู้จบสิ้น เธอไม่ต้องละอายดอกใครๆ เขาก็เป็นอย่างนี้ แต่ขอให้พยายามบังคับจิตมิให้มันวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่พยามเข้าไว้ ไม่นานก็จะสามารถทำได้เอง ของอย่างนี้มันต้องค่อยฝึกค่อยทำ ว่าแล้วพระองค์ก็ตรัสโศลกบทหนึ่ง สอนภิกษุหนุ่มว่า
         ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
          เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา      

         จิตนี้เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ (ร่างกาย)
          ชนเหล่าใดสำรวมระวังจิตได้ เขาเหล่านั้นก็จักพ้นบ่วงมาร


ว่ากันว่า พอทรงเทศน์จบ สังฆรักขิต ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน กลับใจไม่ยอมสึก พากเพียรพยามปฏิบัติธรรมอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนาต่อไป ข้อมูลไม่บอกเราว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตผลในกาลต่อมาหรือไม่  แต่เชื่อกันว่าคงได้เป็นพระอรหันต์แน่นอน
...



ขอแถมนิด สมัยผม
(อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก) เป็นพระหนุ่ม เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโนทยมหาเถระ) วัดสระเกศ  ทูลถามว่า พระองค์เคยสึกบ้างไหม (จำได้ว่า อาจารย์ ส. ศิวรักษ์ ไปเฝ้าด้วย)

สมเด็จฯ รับสั่งว่า “เคย มีคนเอากางเกงมาให้แล้วด้วย เราลองเอามานุ่งดู มองตัวเองแล้วรู้สึกว่าน่าสังเวช เลยตัดใจไม่สึก

เมื่อทูลถามว่า “ทำไมตัดใจได้ง่ายปานนั้น” รับสั่งว่า “นึกถึงพระพุทธวจนะที่ตรัสสอนพระอยากสึกในคัมภีร์ เลยเกิดอุตสาหะอยากอยู่ต่อไป

เรียกสั้นๆ ว่า ทรงได้พระพุทธวจนะเป็น “กัลยาณมิตร” ว่าอย่างนั้นเถอะ พระผู้ใหญ่บางรูปได้เด็กวัดเป็นผู้เตือนสติ พระมหาทองสุก แห่งวัดชนะสงคราม อยากสึก หันมาถาม ส.ธรรมยศ ซึ่งตอนนั้นเป็นเด็กวัด “ถ้าหลวงพี่สึก เธอจะว่าอย่างไร”

ส.ธรรมยศ ตอบว่า “อย่าสึกเลย หลวงพี่ หลวงพี่มีความเป็นคนน้อย สึกไปก็เอาตัวไม่รอด”

ได้ยินคำตอบ หลวงพี่ฉุนกึก นึกว่าลูกศิษย์ด่า แต่ลูกศิษย์อธิบายว่า หลวงพี่มีความเป็นพระมาก มีความเป็นคนครองเรือนน้อย พูดง่ายๆ ว่าปรับตัวเข้ากับโลกของคนไม่ได้ อยู่เป็นพระนี่แหละ เจริญก้าวหน้าในศาสนาแน่นอน

จริงอย่างที่ลูกศิษย์ว่า ท่านบวชอยู่ต่อมาจนได้เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ เป็นสังฆมนตรี (ตามพระราชบัญญัติปกครองสงฆ์สมัยนั้น) นี้ เพราะอานิสงส์คำเตือนของเด็กวัดนักปราชญ์แท้ๆ


ข้อมูล : บทความพิเศษ  สามเณรสังฆรักขิต,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก




๒๙. สิคาลกมาตาเถรี
มารดาของมาณพต้นตำรับทิศหก

ทิศตามศัพท์แปลว่า “ทางซึ่งถือดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกเป็นเกณฑ์”  พจนานุกรมให้คำจำกัดความว่าอย่างนั้น

แต่ทิศในทางพระพุทธศาสนาหมายความว่าเอาแนวทางปฏิบัติต่อบุคคลที่เราเกี่ยวข้องให้ถูกต้องเหมาะสม

เป็นหลักคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ผู้ครองเรือนได้นำไปปฏิบัติเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

ผู้ที่ได้รับคำสอนนี้เป็นคนแรกชื่อ สิคาลกมาณพ (อ่าน สิ-คา-ละ-กะ)  เป็นเด็กหนุ่มที่กตัญญูต่อบิดามาก เมื่อบิดาจะสิ้นชีวิตได้สั่งเสียลูกชายว่า “พ่อตายไปแล้วลูกจงไหว้ทิศทั้ง ๖ เป็นประจำทุกวัน

เรื่องการไหว้ทิศนั้นมิใช่ของแปลก เพราะโยคีอินเดียตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไหว้ทิศกันอยู่ ไปอินเดียก็จะเห็นทุกๆ เช้า ที่ท่าน้ำเมืองพาราณสี เป็นต้น  โยคีจะมายืนไหว้พระอาทิตย์ ปากก็พร่ำบ่นมนต์พึมพำๆ มีท่าโยคะท่าหนึ่ง เรียกว่า “สุรยมนัสการ” (ท่าไหว้พระอาทิตย์) แสดงการไหว้ทิศมิใช่เรื่องประหลาด แต่ถ้าใครมายกมือไหว้ทิศปลกๆ ทุกเช้าที่เมืองไทย คนอาจหาว่าสติสตังไม่ดีก็ได้

วันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาต (ราชาศัพท์ว่า “ทรงบาตร”) ผ่านมายังสถานที่ที่เด็กหนุ่มหน้ามนคนนี้ไหว้พระอาทิตย์อยู่ จึงตรัสถามว่า “พ่อหนุ่มเธอกำลังทำอะไร” เด็กหนุ่มรู้ว่าผู้ถามคือพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ (ตอนนั้นแกยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา) จึงกราบทูลว่า “ไหว้ทิศ พระเจ้าข้า”   “ไหว้ทำไม” รับสั่งถามอีก   “บิดาสั่งให้ไหว้ทุกวัน พระเจ้าข้า” เขาตอบอย่างนอบน้อม   “ดีแล้ว เธอทำตามคำสั่งสอนของพ่อ นับว่าเป็นบุตรกตัญญู แต่พ่อเจ้าคงมิได้หมายความว่าให้เจ้าไหว้ทิศภายนอกดอกกระมัง”... รับสั่งชวนให้คิด

เมื่อเห็นว่าเขาทำท่างง พระองค์จึงตรัสอธิบายว่า พ่อเจ้าต้องการให้เธอไหว้ทิศภายใน คือปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหน้าที่ที่มีอยู่ในสังคม ว่าแล้วก็ทรงแสดง “ทิศหก” ดังนี้
     ทิศตะวันออก   คือ บิดามารดา
     ทิศตะวันตก     คือ สามีภรรยา
     ทิศเหนือ        คือ มิตรสหาย
     ทิศใต้           คือ ครูบาอาจารย์
     ทิศเบื้องบน     คือ สมณชีพราหมณ์
     ทิศเบื้องล่าง    คือ คนใช้และคนงาน

การที่เราอยู่ในโลกนี้ ก็คืออยู่ในสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะเพื่อนมนุษย์ที่อยู่รอบตัวเรา มนุษย์ที่อยู่รอบตัวเราย่อมมีฐานะต่างๆ กัน   เปรียบคนทั้งหลายที่อยู่ในฐานะต่างๆ ก็เหมือนกับทิศน้อยทิศใหญ่ที่เราจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ให้ถูกต้อง จึงจะมีชีวิตอยู่ด้วยดี มีความสุข ความเจริญ การไหว้ทิศ ก็คือปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ให้ถูกต้องนั่นเอง

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทิศหกในแนวใหม่ให้ฟัง เด็กหนุ่มก็เลื่อมใส น้อมรับเอามาเป็นหลักปฏิบัติ หลังจากได้กล่าวปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

มารดาของสิคาลกมาณพ ซึ่งชื่อเรียงเสียงใดไม่ระบุ ใครๆ ก็เรียกเธอว่า “สิคาลกมาตา” (มารดาของสิคาลกะ) เป็นบุตรีเศรษฐี เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ แต่งงานแล้ว มีบุตรชายคนเดียว ชื่อ สิคาลกะ (ดังกล่าวข้างต้น)

วันหนึ่ง นางได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และมีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์มาก นางเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุรุษที่มีรูปร่างสวยงาม น่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง นับว่าสิคาลกมาตาเป็นบุคคลประเภท “รูปัปปมาณิกา” (ถือรูปร่างเป็นสำคัญ หรือ แปลง่ายๆ ก็คือชอบคนรูปหล่อ)

คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา (คนไทยเรียกกันสั้นๆ ว่า อรรกถาธรรมบท) กล่าวว่า คนจะเลื่อมใสในพระศาสนามีอยู่ ๔ ประเภท คือ
๑. รูปัปปมาณิกา ถือรูปเป็นประมาณ เห็นใครๆ รูปร่างสวยงาม แต่งตัวดี บุคลิกดี ก็เลื่อมใสคนประเภทนี้ มีศรัทธาแก่กล้า ดังวักกลิ
มานพน้อยคนหนึ่ง ทันทีที่เห็นพระพุทธองค์ก็ติดใจในความหล่อของพระพุทธองค์ ตามไปเฝ้าดูไม่ยอมห่าง เพื่อให้ได้ดูตลอดเวลา จึงตามไปบวชอยู่ด้วย ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ทรงใช้วิธี “หนามยอกเอาหนามบ่ง” วักกลิก็ได้บรรลุ  สิคาลกมาตาก็เป็นประเภทเดียวกันกับวักกลิ

๒. โฆสัปปมาณิกา  ถือเสียงเป็นประมาณ บางคนก็เลื่อมใสเพราะได้ยินเสียงเทศน์เสียงเจรจาอันไพเราะของพระภิกษุบางรูป ว่ากันว่าพระโสณะกุฏิกัณณะสวดธรรมไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง มีผู้ชื่นชอบฟังท่านแสดงธรรมมาก

๓. ลูขัปปมาณิกา  ถือข้อปฏิบัติเคร่งครัดเศร้าหมองเป็นประมาณ เช่น ชอบคนที่ถือธุดงค์อยู่อย่างขัดเกลา เห็นพระห่มจีวรสีคล้ำๆ ปักกลดอยู่ริมทางก็เลื่อมใสว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว บางทีไม่ทันพิจารณาเสียด้วยซ้ำว่า ธุดงค์แท้ หรือธุดงค์ปลอม กว่าจะรู้ก็โดนอาจารย์เลขเด็ดหลอกไปหลายเงิน อย่างนี้ก็มี

๔. ธัมมัปปมาณิกา ถือธรรมเป็นประมาณ คือ ไม่คำนึงว่าท่านจะเทศน์เสียงไพเราะหรือไม่ ถือธุดงค์เคร่งครัดขนาดไหน บุคลิกหล่อเหลาขนาดไหน  แต่จะดูว่าสิ่งที่ท่านพูดท่านแสดงนั้นมีสาระหรือไม่ สามารถนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางดำเนินชีวิตได้จริงหรือไม่ คนพวกนี้ก็มีเป็นจำนวนมากในโลก

สิคาลกมาตา เป็นประเภทรูปปัปปมาณิกา ถือบุคลิกองอาจสวยงามเป็นสำคัญ ที่ไปฟังธรรมบ่อยๆ ก็เพราะ “ประทับใจ” ในจุดนี้ ที่ออกบวชเป็นภิกษุณีก็เพราะเรื่องนี้ แรกๆ ก็มิได้ใส่ใจเนื้อหาสาระที่ทรงแสดงเท่าไร พระพุทธองค์ก็ทรงปล่อยให้เวลาผ่านไประยะหนึ่ง รอให้ “อินทรีย์แก่กล้า” (ให้มีความพร้อม) แล้วพระองค์จึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง ไม่บอกว่าพระองค์ทรงแสดงพระสูตรอะไรให้นางฟัง แต่เข้าใจว่าทรงใช้ศรัทธานั้นแหละเป็นแนวทาง

คนที่มีศรัทธาเลื่อมใสในบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากๆ มักจะ “ติดครูอาจารย์” จนแกะไม่ออก สิคาลกมาตาก็คงประเภทเดียวกัน พระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมที่ไหนก็ตามไปฟัง แต่มิได้ใส่ใจในเนื้อหาธรรมที่ทรงแสดงเท่าไร หากจ้องมองพระพุทธองค์ด้วยความชื่นชมมากกว่า

พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เธอเห็นความเป็นปฏิกูลเน่าเหม็นของร่างกาย จนนางรู้เห็นตามสภาพเป็นจริง คลายความกำหนัดยินดีในร่างกายอันเปื่อยเน่าผุพังเป็นธรรมดาได้ .... ในที่สุดได้บรรลุพระอรหัต หมดสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลาย

ผู้ที่จะบรรลุธรรมระดับสูงนั้น ท่านว่ามีบารมีอันสั่งสมมาแล้วมากในอดีตชาติ พระคัมภีร์กล่าวว่า นางเคยเกิดเป็นบุตรีของเสนาบดีในสมัยพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมมุตตระ ตามบิดาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ยินคนเขาสรรเสริญถึงภิกษุณีรูปหนึ่งว่าเป็นอรหันต์ในทาง “สัทธาธิมุต” (มีศรัทธามาก และบรรลุธรรมเพราะศรัทธา) จึงตั้งความปรารถนาอยากเป็นเช่นนั้นบ้าง จึงพยายามทำความดีตลอดมา

ด้วยปณิธานและความดีงาม ที่สั่งมาตลอดเวลายาวนานจนนับไม่ถ้วน ในชาตินี้นางจึงได้มาเลื่อมใสในพระพุทธองค์ และได้บรรลุธรรมขั้นสูงในที่สุ

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสิคาลกมาตาว่า เป็นเอตทัคคะ (ผู้ที่เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านหลุดพ้น เพราะมีศรัทธาแก่กล้า (สัทธาธิมุต)

พระสิคาลกมาตาเป็นพระเถรีเป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ตราบอายุขัยก็นิพพาน
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  สิคาลกมาตาเถรี มารดาของมาณพต้นตำรับทิศหก,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก





๓๐. พระโสณาเถรี
ภิกษุณีเฒ่าผู้พากเพียรสูง

พระพุทธองค์ตรัสไว้หลายวาระว่า ผู้บวชเมื่อแก่นั้นมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น ผู้บวชเมื่อแก่นั้นว่าง่ายหายาก ผู้บวชเมื่อแก่คงแก่เรียนหายาก ผู้บวชเมื่อแก่มีอาจาระงดงามหายาก ผู้บวชเมื่อแก่มักน้อยหายาก อะไรเหล่านี้

แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นอย่างนี้กันทุกรูป พระหลวงตาราธะบวชอยู่กับพระสารีบุตรกลับได้รับยกย่องชมเชยว่าเป็นผู้ว่าง่ายที่สุด ท่านผู้นี้อยากบวช แต่พระสงฆ์ไม่ยอมให้บวช เพราะหาผู้รับรองไม่ได้

จนกระทั่งวันหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “ใครเคยรู้จักพราหมณ์แก่คนนี้บ้าง”

พระสารีบุตรกราบทูลว่า “รู้จักพราหมณ์แก่คนนี้ เคยใส่บาตรท่านทัพพีหนึ่ง” พระพุทธองค์จึงให้พระสารีบุตรรับรองและท่านก็ได้บวช เมื่อบวชแล้วก็เป็นพระผู้เฒ่าหรือหลวงตาที่น่ารักที่สุด รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์อย่างนอบน้อม

พระพุทธองค์ตรัสถามพระสารีบุตรในวันหนึ่งว่า สารีบุตร สัทธิวิหาริก เธอเป็นอย่างไร (ทรงเป็นห่วงเกรงว่าหลวงตาราธะจะดื้อรั้น)  พระสารีบุตรจึงกราบทูลว่า “ราธะ เธอว่าง่าย พระเจ้าข้า” รับฟังโอวาทและอนุศาสน์เป็นอย่างดี

โอวาท หมายถึงว่ากล่าวตักเตือนครั้งเดียว ส่วนอนุศาสน์ หมายถึงว่ากล่าวตักเตือนซ้ำๆ หลายครั้ง คำหลังนี้มาจากอนุ (เนืองๆ) + ศาสน์ (สั่งสอน) รวมแล้วอนุศาสน์ คือ การสอนบ่อยๆ สอนเนืองๆ

ข้างฝ่ายภิกษุณีเล่าว่า พระโสณา ก็เป็นผู้ว่าง่ายที่สุดรูปหนึ่ง

สมัยเป็นคฤหัสถ์ ท่านมีบุตรหลายคน สามีก็ออกบวชอีกต่างหาก นางจึงต้องเลี้ยงลูกมาคนเดียว เมื่อลูกๆ แต่งงานออกเหย้าออกเรือนกันไปหมดแล้ว จึงแบ่งสมบัติที่มีอยู่ให้ลูกๆ ทุกคน ไม่เหลือไว้เพื่อตนเองแม้แต่น้อย คิดว่าตัวคนเดียวลูกๆ อาจช่วยกันดูแล คงไม่ลำบากอะไร

แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ บรรดาลูกๆ ต่างก็เกี่ยงงอน เมื่อไปอยู่บ้านลูกชายคนโต ลูกสะใภ้ก็คอยยุยงสามีและพูดกระทบกระเทียบต่างๆ นานาว่า คุณแม่คงเห็นว่าเราร่ำรวยกว่าลูกๆ คนอื่นกระมัง ทั้งๆ ที่ก็แบ่งสมบัติให้เท่ากันหมดทุกคน นางทนฟังคำบาดหูไม่ได้ จึงย้ายไปอยู่กับลูกคนรอง ก็โดนแบบเดียวกันอีก จนกระทั่งในที่สุดก็มาอยู่กับลูกคนเล็ก

ใหม่ๆ ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี เพราะลูกคนเล็กก็เอาใจใส่ดูแลแม่อย่างดี  ไปๆ มาๆ ก็เข้าอีหรอบเดิม คุณยายโสณาก็มานึกปลงถึงความเป็นอนิจจังแห่งชีวิต จิตใจน้อมไปในบรรพชาแต่บัดนั้น จึงบอกลูกว่าอยากบวช ลูกๆ ก็ดีใจหายที่แม่อยากบวช (เพราะได้ไล่แม่โดยทางอ้อม)  จึงพาคุณแม่ไปบวชอยู่ในสำนักนางภิกษุณี

หลังจากบวชเป็นภิกษุณีแล้ว เหล่าภิกษุณีทั้งหลายก็ไม่ได้ใส่ใจสั่งสอนนาง เพราะเห็นว่าแก่แล้ว สั่งให้ปัดกวาดลานวัด ต้มน้ำร้อนให้พระเถรีที่เป็นพระเถระผู้คงแก่เรียนอาบ เวลาภิกษุไปฟังธรรมจากพระเถระ พวกเธอก็ไม่ให้นางไปด้วย สั่งให้เฝ้าวัดอยู่คนเดียว

วันหนึ่งนางภิกษุณีเฒ่าได้ข่าวว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงแสดงพระธรรมเทศนาจึงขอไปฟังธรรมกับเหล่าภิกษุณีทั้งหลายด้วย แต่ถูกปฏิเสธ “คุณยายไม่ต้องไปดอกแก่เฒ่าแล้ว เดินเหินลำบาก อยู่เฝ้าวัดดีกว่า คอยต้มน้ำร้อนไว้ให้พระเถรีท่านอาบ”

เมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้ตามไป นางก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานตามที่สั่ง ผ่าฟืนพอที่จะต้มน้ำ แล้วก็นั่งพักผ่อนสักครู่  บังเอิญว่าบรรยากาศยามนี้สงบสงัดเหมาะแก่การทำสมาธิอย่างยิ่ง เพราะไม่มีเสียงรบกวน นางจึงนั่งสมาธิ  สักพักจิตก็ดิ่งลงสู่ความแน่วแน่ทั้งๆ ที่หลับตาอยู่ ปรากฏมีแสงสว่างวาบเข้ามา จนต้องลืมตาขึ้น ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนใกล้ๆ พระสุรเสียงกังวานว่า “โสณา ชีวิตของผู้ที่ปรารภความเพียร มองเห็นความจริงแห่งสรรพสิ่งแม้วันเดียวก็ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยวันของผู้ไม่เห็นธรรม”

พระภิกษุณีผู้เฒ่ามีความปลื้มปีติ ที่พระพุทธองค์เสด็จมาแสดงธรรม โปรดบุญบารมีที่นางได้สั่งสมมาแต่อดีต ก็รวมเป็นพลวปัจจัย (เงื่อนไขที่มีพลัง) ทำให้นางได้บรรลุธรรมในที่สุด

เป็นอันว่า ณ บัดนี้ ภิกษุณีผู้เฒ่าได้กลายเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่เหล่าภิกษุณีไม่มีใครทราบ

พอกลับมาถึง ภิกษุณีทั้งหลายจึงเรียกหาน้ำร้อน เพื่อผสมน้ำให้ภิกษุณีเถรีอาบ เมื่อเห็นกองฟืนยังกองอยู่ น้ำในกาก็เย็น จึงเอะอะโวยวายขึ้นว่า “คุณยายทำไมป่านนี้ยังไม่ต้มน้ำ แล้วพระเถรีอาจารย์จะเอาน้ำที่ไหนอาบ เหลวไหลจริงเชียว”

พระเถรีผู้เฒ่าก็เกรงว่า ภิกษุณีเหล่านี้จะประสบบาปมิใช่น้อย เพราะดุด่าพระอรหันต์ จึงบันดาลด้วยฤทธิ์ให้น้ำในการ้อนขึ้น กล่าวอย่างเยือกเย็นว่า “ลูกเอ๋ย อย่าได้วิตกกังวลเลย น้ำร้อนมีอยู่ในกานั้นแล้ว และในตุ่มก็อุ่น พออาบทีเดียว”

เมื่อพวกเธอไปจับกาน้ำ (ซึ่งเมื่อครู่นี้ยังเย็นเฉียบอยู่เลย) อีกครั้ง ก็ปรากฏว่าน้ำนั้นร้อนอย่างมหัศจรรย์ ครั้นไปดูที่ตุ่ม น้ำใส่ตุ่มก็อุ่นพออาบพอดิบพอดี จึงประหลาดใจไปตามๆ กัน หรือว่า...ใช่แล้วคุณยายคงได้บรรลุอรหัตผลแล้ว

พวกเธอจึงพากันมาก้มกราบขอขมาคุณยายที่พวกเธอเคยใช้ทำโน่นทำนี่จนเหนื่อย

ตามหลักแล้ว การว่าร้ายพระอริยะเป็นบาป เรียกว่า “อริยุปวาท” ผู้ว่าร้ายล่วงเกิน จะถูกถอนรากถอนโคนไม่สามารถงอกงามในพระธรรมวินัยได้ ทันทีที่รู้ตัวว่าได้ล่วงเกินพระอริยะ ต้องรีบขอขมา เมื่อท่านยกโทษให้ทุกอย่างก็จะกลับเป็นดังเดิม

ขอขมาไม่ทันขณะท่านยังมีชีวิต ก็ให้ไปขอขมา “ศพ” ท่าน อย่างนี้ท่านก็ว่าพ้นได้เหมือนกัน คงเพราะนี้กระมังจึงมีธรรมเนียมไปเผาศพผู้ตาย เพื่อขอขมาเผื่อบางทีท่านผู้วายชนม์ที่เราอาจได้ล่วงเกินไปโดยไม่รู้ตัวนั้นเป็นพระอริยะ เราก็จะได้พ้นจาก “อริยุปวาท” ดังกล่าว ทำเผื่อไว้เป็นดีที่สุด

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระโสณาภิกษุณีว่าเป็นเอตทัคคะ (ผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “ปรารภความเพียร” คือ เป็นผู้มีความพากเพียรสูงยิ่ง
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  พระโสณาเถรี  ภิกษุณีเฒ่าผู้พากเพียรสูง,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 13:55:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 27.0.1453.116 Chrome 27.0.1453.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2556 12:32:44 »

สาธุ สาธุ สาธุครับ เย้
บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2556 15:42:16 »

.



๓๑. จาปาเถรี
อดีตภรรยาของอุปกาชีวก

อดีตสามีของจาปาชื่อ อุปกะ เป็นนักบวชประเภทอาชีวก  อาชีวกเป็นนักบวชเร่ร่อน ดูเหมือนมีสองประเภท ประเภทที่ไม่นุ่งห่มผ้า เรียก “อเจลก” ประเภทนุ่งห่มผ้าเรียก “อาชีวก” หรือ “อาชีวิกา” (สตรี)

อุปกะพบพระพุทธเจ้าระหว่างทาง ขณะพระพุทธองค์เสด็จพุทธดำเนินเพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์ ได้สอบถามถึงครูบาอาจารย์ของพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่มีครูอาจารย์ พระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะ (ตรัสรู้ชอบเอง) อุปกะ (ตามตำนานไทยว่า) ไม่เชื่อสั่นศีรษะแล้วหลีกไป
 
แต่ถ้าดูตามคำพูดที่อุปกะพูดว่า “ผู้มีอายุ ที่ท่านพูดนั้นอาจเป็นไปได้ ถ้าอย่างนั้นท่านก็เป็นอนันตชินะ” และการสั่นศีรษะแล้ว แสดงว่าอุปกะเชื่อพระพุทธเจ้า เพราะตามธรรมเนียมแขก การสั่นศีรษะหมายถึงการยอมรับ

เมื่ออุปกะจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไปอยู่ในหมู่บ้านนายพรานใกล้ฝั่งน้ำแห่งหนึ่ง ตกหลุมรักลูกสาวนายพราน สึกมาอยู่ด้วยกันจนมีบุตรชายนามว่า สุภัททะ นางจาปา ผู้ภรรยา เวลาโกรธลูกชายที่ไม่อยู่ในโอวาท มักด่าลูกกระทบพ่อว่า “ไอ้ลูกฤาษีขี้เกียจ มึงนี้ขี้เกียจตัวเป็นขนเหมือนพ่อมึง” บ้าง “ไอ้ลูกปริพาชกมาแต่ตัว ไอ้ลูกคนยากจนไม่มีสมบัติอะไร” อะไรทำนองนั้น

อุปกะได้ฟังก็สะท้อนใจ เมียรักแรกๆ ก็เอาอกเอาใจดี พอมีลูกแล้วกลับดูถูกสามีว่ามาแต่ตัว เป็นคนยากคนจน ชีวิตหนอชีวิตมันเป็นอย่างนี้นี่เอง แล้วเราจะอยู่ให้เขาดูถูกทำไม เราไปอยู่กับ “อนันตชินะ” ดีกว่า

เมื่อสบโอกาสเหมาะ อุปกะก็ออกจากบ้าน มิใยภรรยาจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง มุ่งหน้าตรงไปยังทิศทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ เมื่อพบพระพุทธเจ้าแล้วก็ขอบวชเป็นสาวก

พระพุทธเจ้าตรัสปฏิสันถารว่า “อุปกะ” หลังจากวันที่เราได้พบกัน เธอไปอยู่ที่ไหน” อุปกะก็กราบทูลเรื่องราวเบื้องหลังให้พระพุทธองค์ทรงทราบ ดังข้อความข้างต้น แล้วกราบทูลขอบวช

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อุปกะ บัดนี้เธอแก่แล้วจะบวชไหวหรือ” เมื่ออุปกะรับแข็งขัน จึงทรงประทานอุปสมบทให้

พระอุปกะหลังจากบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต

ฝ่ายภรรยาเมื่อสามีทิ้งไป ก็สำนึกว่าตัวผิดที่ทำให้สามีน้อยใจหนีไป จึงมอบลูกชายไว้ให้ตายายเลี้ยง แล้วก็ออกจากบ้านตามสามี เมื่อพบตัวและทราบว่าสามีได้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงไปบวชอยู่ในสำนักนางภิกษุณี

หลังจากบวชแล้ว จาปาภิกษุณีก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมอยู่ในโอวาทของอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

ขณะที่บรรลุธรรม พระจาปาภิกษุณีเปล่งอุทานขึ้นมา ข้อความค่อนข้างยาว

น่าแปลก ว่า แทนที่จะเป็นอุทานแสดงปีติปราโมทย์ที่ได้บรรลุธรรม กลับเป็นอุทานที่ย้อนรำลึกเรื่องเบื้องหลังที่ตนเป็นสาเหตุให้สามีหนีไป นัยหนึ่ง อาจแสดงถึงความโง่เขลาในอดีต ที่หลงจมอยู่ในชีวิตผู้ครองเรือนยาวนาน ก่อนจะสละออกมาบวชได้

อุทาน (นำมาเพียงบางบท) มีดังนี้

เมื่อก่อนจาปาดูหมิ่นเรา ปลอบบุตรเยาะเย้ยเรา เราจึงตัดใจสละนางจาปาออกบวช

ข้าแต่ท่านกาฬะ (อุปกะ) จงกลับมาเถิด จงมาบริโภคกามสุขเหมือนเมื่อก่อน เราและญาติทั้งหลายจักอยู่ในโอวาทของท่าน  ข้าแต่ท่านกาฬะ ท่านเป็นผู้ให้บุตรกำเนิดมา เหตุใดท่านจึงละทิ้งเราและบุตรไปเสียล่ะ

ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมละทิ้งบุตรภรรยา ทรัพย์สมบัติอันเป็นเครื่องผูกพันออกบวชกันทั้งนั้น

ท่านกาฬะ ถ้าฉันพึงทุบตีหรือแทงบุตรของท่าน เหยียบให้จมดิน ท่านจะยังไม่เศร้าโศกถึงบุตรเชียวหรือ นางชั่วช้าเอย เด็กนั้นก็บุตรของเจ้าเช่นกัน ถึงเจ้าจักทิ้งบุตรให้สุนัขจิ้งจอกกิน ก็อย่าหมายว่าเราจักกลับคืนไป
ท่านกาฬะ บัดนี้ท่านจะไปไหน จักไปสู่บ้าน นิคม นคร ราชธานีไหนเล่า
  
เราจะไปหาพระพุทธเจ้า บัดนี้พระองค์ประทับอยู่ริมฝั่งเนรัญชรา ทรงแสดงธรรมโปรดเหล่าสัตว์ให้ละทุกข์ทั้งปวง

ถ้าเช่นนั้นขอท่านจงกราบไหว้พระองค์ กระทำประทักษิณพระองค์แทนฉันด้วย

จาปาเอย คำขอนี้เราทำให้เจ้าได้ เราจักกราบไหว้ จักทำประทักษิณพระพุทธองค์แทนเจ้าได้

จากนั้น ท่านกาฬะก็จากเราไป ไปถึงแม่น้ำเนรัญชรา ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายบังคมพระพุทธองค์ กระทำประทักษิณสามรอบแทนเรา ได้ขอบวชเป็นสาวก ทำตามคำสั่งสอนของพระองค์ ได้บรรลุวิชชาสามประการแล้ว

อุทานทั้งหมดนี้ บรรยายเรื่องเบื้องหลังของนางกับสามี ทำให้มองได้อีกแง่หนึ่งว่า อุปกะได้เมียปากร้าย ถูกเมีย (ซึ่งแรกๆ ก็รักกันดี) ด่าว่ากระเทียบเปรียบเปรยดูถูกว่ามาแต่ตัว จึงหนีไปบวช แสดงว่าความร้ายของภรรยาเป็นเงื่อนไขปัจจัยให้สามีได้พบทางสว่าง

ฝ่ายภรรยาเอง เมื่อสำนึกว่าตนได้ผิดต่อสามี อยากจะตามไปขอโทษ แต่เมื่อเห็นสามีบวชเป็นพระแล้ว จึงบวชตามบ้าง แล้วก็ได้พบความสว่างทางธรรมเช่นกัน

ชีวิตครอบครัวที่ไม่เป็นสุขของคนทั้งสอง ผลักดันให้ได้พบความสงบเย็นได้ในที่สุด นับว่าโชคดี เพราะน้อยรายนักจะลงเอยอย่างนี้
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ  จาปาเถรี อดีตภรรยาของอุปกาชีวก,  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์  โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์  วรรณปก





๓๒. โรหิณีเถรี
ผู้เป็นปากเป็นเสียงให้สมณะทั้งหลาย

พระเถรีรูปนี้นามซ้ำกับพระนางโรหิณี กนิษฐาของพระอนุรุทธเถระ แต่คนละคน  โรหิณีกนิษฐาของพระอนุรุทธนั้นมิได้ออกบวชเป็นภิกษุณี

โรหิณีที่กล่าวถึงนี้เป็นธิดาพราหมณ์มหาศาลตระกูลหนึ่งในเมืองไพศาลี เนื่องจากมีอุปนิสัยปัจจัยอันได้สั่งสมมาแล้วแต่ปางก่อน จึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

หลังจากฟังพระธรรมเทศนา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็บวชอุทิศชีวิตแก่พระศาสนา บำเพ็ญสมถวิปัสสนา ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทา

เมื่อกลับมายังตระกูลของตน ถูกบิดาถามทำนองค่อนแคะว่า ลูกโรหิณี พ่อไม่เข้าใจว่าทำไมเจ้าจึงนิยมชมชอบพวกสมณะ (ศากยบุตร) ซึ่งเป็นคนไม่ทำมาหาเลี้ยงชีพ ได้แต่ขอเขากิน คนเกียจคร้านปานนี้ยังเป็นที่รักของเจ้าหรือ

เป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง แม้สมัยปัจจุบันคำกล่าวหาทำนองนี้ก็ยังมีอยู่ และเมื่อกาลเวลาผ่านมาถึงยุคนี้ คำกล่าวหาอย่างนี้กลับมีน้ำหนักเสียด้วยเพราะ “สมณะยุคโลกาภิวัตน์ ส่วนมากดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นเสียด้วย

ลองมาดูคำแถลงของพระโรหิณี ดูว่าท่านแก้ต่างว่าอย่างไร

สมณะเหล่านั้นมิได้เกียจคร้านดังคุณพ่อเข้าใจ ท่านใคร่ต่อการงานเป็นอย่างยิ่ง แต่เป็นการงานทางจิตที่ประเสริฐสุด คือ งานละราคะ โทสะ (โมหะ)

สมณะทั้งหลาย กำจัดรากเหง้าแห่งบาป ๓ ประการได้แล้ว ทำแต่การงานที่สะอาดบริสุทธิ์ ละความชั่วได้ทุกชนิด

กายกรรมของท่านเหล่านั้นสะอาด วจีก็สะอาด มโนกรรมก็สะอาด สะอาดหมดจดทั้งภายนอกภายใน ดังสังข์ที่ขัดดีแล้ว เต็มเปี่ยมด้วยธรรมที่สะอาด

สมณะเหล่านั้นเป็นพหูสูตทรงธรรม เป็นอริยะ มีชีวิตอยู่ในธรรม แสดงเหตุแสดงผลให้คนเข้าใจแจ่มแจ้ง มีสติ มีสมาธิแน่วแน่ “ไปไกล” พูดพอประมาณ ไม่ฟุ้งซ่าน รู้จักวิธีขจัดทุกข์

ท่านเหล่านั้นไม่ติดถิ่นที่ ไปไหนไม่ต้องกังวลห่วงใย ท่านเหล่านั้นไม่สะสมข้าวปลาอาหาร ยังชีพด้วยภักษาหาร ฉันอาหารที่เขาถวาย และไม่รับเงินทอง

สมณะทั้งหลายออกบวชจากตระกูลต่างกันจากชนบทต่างกัน แต่รักใคร่ปรองดองกันเป็นอย่างดี เพราะเหตุผลดังว่ามานี้ สมณะเหล่านั้นจึงเป็นที่รักของอาตมภาพ

พราหมณ์ผู้บิดา ได้ฟังเกียรติคุณของพระสมณะ (ศากยบุตร) ทั้งหลาย ที่ภิกษุณีผู้สาธยายให้ฟัง พิจารณาไปตาม ในที่สุดก็เห็นด้วยกับคำพูดของภิกษุณีผู้เป็นธิดา จึงเปลี่ยนท่าทีกล่าวกับเธอว่า
โรหิณีลูกพ่อ เจ้าได้ศรัทธาปสาทะในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นับว่าเจ้าเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่ตระกูลเราจริงๆ

สมณะเหล่านั้นเป็น “เนื้อนาบุญ” อันประเสริฐจริงๆ ขอให้สมณะเหล่านั้นจงมารับทักษิณาของเราบ้างเถิด ไทยธรรมที่ถวายแก่สมณะเหล่านั้นจักมีผลไพบูลย์

โรหิณีภิกษุณี กล่าวกับบิดาว่า

ถ้าโยมพ่อเกลียดกลัวทุกข์ คุณพ่อจงเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ จงสมาทานศีลสรณคมน์ และศีลนั้นจักเป็นประโยชน์แก่คุณพ่อและตระกูลวงศ์ของเรา

เมื่อก่อนตระกูลเราเป็นพราหมณ์ (ถูกสอนว่าพวกเราได้เข้าถึงพระพรหม) บัดนี้อาตมภาพ ได้เป็นสมณะศากยบุตรได้รู้แจ้งวิชา ๓ ประการ ถึงฝั่งแห่งพรหมจรรย์ นับว่าได้เป็น “พราหมณ์” (ผู้ล้างบาป) ที่แท้จริงแล้ว

พระเถรีได้บรรยายคุณสมบัติของสมณะในอุดมคติให้บิดาฟังว่า สมณะศากยบุตรทั้งหลายมิได้เป็นอย่างที่บิดาคิด ท่านเหล่านั้นมีคุณสมบัติสรุปได้ดังนี้ คือ

• เป็นผู้ขยันทำงาน มิได้เกียจคร้าน หากเป็นงานด้านการพัฒนาจิตใจ ละอกุศลมูลได้ ไตรทวารสะอาดบริสุทธิ์
• เป็นพหูสูตคงแก่เรียน มีความสามารถชี้แจงแสดงธรรมให้คนอื่นเข้าใจ
• มี “วิสัยทัศน์ไกล”  มีสติ สมาธิ จิตใจแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน รู้วิธีละ และลดทุกข์
• ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่สะสม ไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยเงินและทอง ใช้วัตถุน้อย ทำประโยชน์แก่สังคมมาก

นับว่าพระเถรีได้เป็นปากเป็นเสียงแทนสมณะศากยบุตรทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ชี้แจงให้คนที่มองพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาผิดๆ (ในกรณี คือ โยมบิดา) ให้เข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นดังที่คนทั่วไปคิด
ท้ายที่สุด พระเถรีได้ให้ความมั่นใจแก่โยมบิดาว่า  ที่ท่านละทิ้งลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิมที่เชื่อว่าเข้าถึงพระพรหมผู้ประเสริฐได้ และเป็นพราหมณ์ (คือ ผู้ล้างบาปได้) มาสู่พระพุทธศาสนานั้นเป็นความถูกต้องแล้ว เพราะการได้บรรลุวิชชา ๓ ประการนั้น ถือว่าเป็นการเข้าถึง “พรหม”  (ภาวะที่ประเสริฐ)  แท้จริง และท่านได้ละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง นับว่าเป็น “พราหมณ์” (ผู้ล้างบาปได้) ที่แท้จริง

การอาบน้ำในแม่น้ำคงคาทุกเช้าๆ แล้วเข้าใจว่าล้างบาปได้นั้น เป็นความเข้าใจผิด เพราะความบริสุทธิ์สะอาดแห่งจิตมิได้มีด้วยน้ำ

โยมบิดาเข้าใจ สละความเชื่อถือเดิม หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต ด้วยประการฉะนี้แล
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ โรหิณีเถรี  ผู้เป็นปากเป็นเสียงให้สมณะทั้งหลาย, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก





๓๓. พระอัฑฒกาสีเถรี
อดีตนางโสเภณี

พระท่านว่า คนเราเกิดมาเป็นอะไรอย่างไรเพราะ “เพรงกรรม” (กรรมแต่ปางก่อน) จัดสรรให้มาเกิด กรรม คือ สิ่งที่เราทำด้วยเจตนา ไม่ว่าเราจะทำดีหรือไม่ดีล้วนแต่ออกจากเจตนา (ความตั้งใจ) ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้รับผลจากการกระทำ ก็คือได้รับผลจากเจตนาของเราเอง

ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า การที่เราเกิดมาจนมิใช่เกิดมาโดยบังเอิญ ดังคำพูดว่า “บังเอิญเกิดมาจน” หากแต่ตั้งใจเกิดมาจนเองต่างหากเล่า

อ้าว คุณตั้งใจทำกรรมอันเป็นสาเหตุให้ต้องเกิดมาจน ก็เท่ากับคุณตั้งใจเกิดมาจนนั่นแหละ อย่าเถียง  ในพระไตรปิฎกพระพุทธองค์ตรัสว่า

คนชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไร้เมตตา  ตายไปตกนรก เกิดมาใหม่เป็นคนอายุสั้น

คนชอบเบียดเบียนสัตว์ ตายไปตกนรก เกิดมาใหม่เป็นคนขี้โรค

คนมักโกรธพยาบาทคนอื่น ตายไปเกิดเป็นคนมีผิวพรรณทราม ไม่สวย

คนขี้อิจฉาไม่มีความเคารพอ่อนน้อม ตายไปเกิดเป็นคนที่ไม่มีอำนาจ

คนกระด้างถือตัว ตายไปเกิดในตระกูลต่ำ

คนชอบเสวนาผู้รู้ สนใจไถ่ถามเรื่องบุญและบาป ตายไปเกิดเป็นคนฉลาด

คนที่อายุยืน ไม่มีโรค หล่อหรือสวย มีชาติสกุลสูง ฉลาด  ก็เพราะทำกรรมตรงกันข้ามกับข้างต้น

เรื่องกรรมและผลแห่งกรรมเป็น “พุทธวิสัย” พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นจะรู้ได้ ปุถุชนคนมีกิเลสไม่สามารถหยั่งรู้ได้ จึงไม่ควรคิดให้ปวดสมองว่ามันเป็นไปได้อย่างไร

ข้อสำคัญ เราพึงสังวรสำรวจตัวเรามิให้พลาดทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่งามเป็นใช้ได้



ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ภิกษุณีนางหนึ่งด่าภิกษุณีอรหันต์รูปหนึ่งว่า “อีนางแพศยา” ด้วยความโกรธ  ด้วยสาเหตุใดไม่แจ้ง ภิกษุณีรูปนั้นในชาตินั้นไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร เพราะทำกรรมหนัก คือ “ว่าร้ายพระอริยเจ้า” (อริยุปวาท) อันเป็นหนึ่งใน “กรรมหนัก” (อนันตริยกรรม) ๕ ประการ

หลังจากใช้กรรมในนรกหมดแล้ว นางกลับมาเกิดใหม่ในพุทธกาลนี้ เป็นบุตรีของตระกูลเศรษฐีในเมืองแคว้นกาลี ก็คงกุศลกรรมบางอย่างแหละที่บันดาลให้นางมาเกิดเป็นลูกสาวเศรษฐี

แต่เศษบาปกรรมเก่าก็ยังมีอยู่ จึงทำให้ชีวิตนางผันผวนกลายเป็นนางคณิกา (หญิงโสเภณี) ในที่สุดลูกเศรษฐีกลายเป็นหมอนวดโสเภณี

นางอัฑฒกาสีชื่อเสียงเรียงใดไม่แจ้ง ที่ได้ชื่อว่า “อัฑฒกาสี” เพราะว่า “ค่าตัวเธอแพงหูฉี่” ใครจะร่วมอภิรมย์กับนางเพียง “ประตูเดียว” ก็ราคาเท่ากับครึ่งหนึ่งของภาษีแคว้นกาสีเก็บได้ในวันหนึ่ง

ว่ากันว่า แคว้นกาสีเก็บส่วยได้วันหนึ่งตกประมาณพันกหาปณะ  ครึ่งหนึ่งของหนึ่งพันก็คือ ห้าร้อยกหาปณะ เพราะเหตุนี้นางจึงมีชื่อเรียกขานว่า “อัฑฒกาสี” แปลว่า ราคาครึ่งหนึ่งของภาษีของแคว้นกาสี

นางอัฑฒกาสีมีอาชีพ “ขายเนื้อสด” อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมารู้สึกเบื่อหน่ายในอาชีพของตน คิดอยากบวชเป็นภิกษุณี พวกนักเลงล่วงรู้ความลับของนาง จึงพากันไปดักกลางทางเพื่อจับตัวนาง

นางรู้ข่าวนั้น จึงส่งคนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า นางต้องการบวช แต่ได้ข่าวว่าพวกนักเลงดักจับตัวนางระหว่างทาง จะให้ทำประการใด

พระพุทธองค์ทรงส่ง “ทูต” ไปทำพิธีอุปสมบทให้นาง การอุปสมบทของนางจึงเป็นการอุปสมบทแบบที่เรียกว่า “ทูเตนะอุปสัมปทา” (การอุปสมบทโดยผ่านทูต)

สมัยนั้นในหมู่ภิกษุสงฆ์ มีการบวชอยู่ ๒ ประเภท คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา (การบวชที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้เอง) กับ ทูเตนะอุปสัมปทา (การบวชผ่านทูต) การบวชของภิกษุณีมีอยู่ประการเดียว และต่อมาก็มีการบวชผ่านทูตเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ พระอัฑฒกาสีเถรี จึงเป็นรูปแรกที่ได้รับการอุปสมบทแบบนี้

พระอัฑฒกาสีเถรี หลังจากบวชแล้วก็ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา ทันทีที่ได้บรรลุพระอรหัต พระอัฑฒกาสีเถรีได้เปล่งอุทาน อันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ว่า

“แคว้นกาสีได้ส่วยประมาณเท่าใด คนเขาตั้งราคาของเราเท่ากับกึ่งหนึ่งของส่วยของแคว้นกาสี ต่อมาเราเบื่อหน่ายในรูปโฉมโนมพรรณของเรา เมื่อเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัดยินดีในรูปโฉม คิดว่าเราอย่าได้เวียนเกิดเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏอีกเลย (จึงออกบวช) เราได้บรรลุวิชชาสามประการแล้ว ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้ว”

ว่ากันว่าคนที่เวียนว่ายอยู่ในทะเลกามนานเข้าอาจถึง “จุดอิ่ม” เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาได้ เมื่อคนเช่นนี้เกิดความเบื่อหน่ายแล้ว ไม่มีทางที่จะกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้ เพราะรู้สึก “เอียน” มาก ดุจเดียวกับ “คอทองแดง” บางคนเมาหัวราน้ำ วันดีคืนดีอาจหันหลังให้สุรายาเมาอย่างเด็ดขาด  ก็เคยมีตัวอย่างมาแล้ว

พระอัฑฒกาสีก็เป็นคนประเภทนี้ เมื่อนางออกบวชจึงบรรลุธรรม ชั่วระยะเวลาไม่นานเลย บุญบารมีแต่ปางก่อนที่ได้บวชเป็นภิกษุณี ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ก็คงมีส่วนหนุนส่งให้ได้เบนชีวิตมาในพระศาสนา และได้บรรลุธรรมในที่สุดด้วย เพราะฉะนั้น พระท่านจึงสอนเสมอว่าให้ทำบุญกุศลไว้ให้มาก บุญกุศลนี้แหละสักวันหนึ่งจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเรา

ประวัติพระอัฑฒกาสีเถรี ให้ข้อสังเกตไว้อย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนามิได้รังเกียจผู้มีเบื้องหลังชีวิตที่สังคมรังเกียจอย่างนางคณิกา  นางคณิกาเมื่ออยากบวชก็ได้รับอนุญาตให้บวชเช่นเดียวกับคนทั่วไป

พระพุทธศาสนาถือ “ศักยภาพ” เป็นสิ่งสำคัญ และเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้เสมอเหมือนกัน นางคณิกา คนยากคนจน คนเกิดวรรณะชั้นต่ำที่สังคมรังเกียจ พระพุทธศาสนาให้โอกาสเขาเข้ามาพัฒนาคนได้เสมอ ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ

นี้คือความใจกว้างของพระพุทธศาสนา

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง ผู้มีประสบการณ์ชีวิตอันขมขื่นมาก่อน หลังจากบวชแล้ว ประสบการณ์ตรงนั้นเองกลับเป็นเครื่องมือ หรือ “สื่อ” สั่งสอนคนอื่นได้เป็นอย่างดี

อย่างพระนางปฏาจาราที่ประสบความทุกข์จนเกือบเสียจริต พอบวชมาแล้วก็นำเอาประสบการณ์นั้นไปตักเตือนสั่งสอนภิกษุณีและสตรีอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี และเชื่อว่าพระอัฑฒกาสีเถรีก็คงนำเอาประสบการณ์ชีวิตของนางมาเป็นบทเรียนแก่สตรีอื่นๆ เช่นกัน

ข้อสังเกตประการสุดท้าย ความพลาดพลั้งของพระอัฑฒกาสีเถรีในอดีตชาติที่ด่าพระอริยเจ้า ก็ช่วยให้เราสังวรมากขึ้นว่า อย่าพึงด่าว่าร้ายใครง่ายๆ โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ เพราะเราไม่รู้ว่าใครเป็นพระอริยะหรือไม่ หาไม่พลาดพลั้งทำ “อริยุปวาทกรรม” ดุจดังพระอัฑฒกาสีในอดีตก็เป็นได้
...

ข้อมูล : บทความพิเศษ อัฑฒกาสีเถรี : อดีตนางโสเภณี, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก




๓๔. ปุณณิกาเถรี
อดีตทาสในเรือนเบี้ย

บางแห่งเขียนปุณณาเถรี บางแห่งเขียนปุณณิกาเถรี ชื่อปุณณา ค่อนข้าง “โหล” มีหลายคน ปุณณา (ปุณณทาสี) ที่ถวายอาหาร “รำปิ้ง” (ทางอีสานว่านี้คือ ต้นเหตุเกิดประเพณีบุญข้าวจี่) แด่พระพุทธเจ้าแล้ว กลัวท่านโยนให้หมากิน เพราะเป็นอาหารไม่ประณีต จึงเดินตามไปดูห่างๆ เห็นพระองค์ประทับนั่งฉัน “รำปิ้ง” ของตนก็ดีใจ (เขียนไว้แล้วในพระสูตรน่าสนใจ ตอน ๓๗๕5 ในข่าวสด ฉบับที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๐) นั่นก็คนหนึ่ง

ปุณณา นางทาสีผู้ที่พระพุทธเจ้าเอาผ้าเก่าขาดของนางมาทำเป็นบังสุกุลจีวรและจีวรผืนนี้เองที่พระพุทธองค์ทรงแลกกับพระมหากัสสปะนั่นก็อีกคนหนึ่ง

ปุณณา กุลธิดาเมืองสาวัตถี ศิษย์ของพระมหาปชาบดีโคตมี นั่นรูปหนึ่ง

ปุณณา หรือ ปุณณิกา ที่กำลังกล่าวถึงนี้ก็รูปหนึ่ง


อรรถกถาเถรีคาถา กล่าวว่าเป็นนางทาสเกิดในเรือน (ทาสในเรือนเบี้ย) ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี  และบอกด้วยว่าในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ นางเป็นผู้มีศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา บวชเรียนจนมีความรู้ธรรมแตกฉาน เพราะข้อที่ตนเป็นพหูสูตจึงมีทิฐิมานะมาก ชอบดูหมิ่นท่านผู้ทรงศีลอื่นๆ เพราะเหตุนี้แหละ มาถึงชาตินี้จึงมาเกิดในตระกูลอันต่ำต้อยเป็นทาสของเขา

นางเป็นทาสคนที่ครบ ๑๐๐ จึงได้รับขนานนามว่า “ปุณณา” (แปลว่า เต็มเปี่ยม คือเต็มร้อย) นางได้ฟังพระธรรมเทศนา “สีหนาทสูตร” ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ภายหลังได้สอนธรรมกับใจพราหมณ์ (บางฉบับบอกชื่อด้วยว่าชื่อ โสตถิยพราหมณ์) ผู้เชื่อว่าอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ล้างบาปได้  เศรษฐีผู้เป็นนายดีใจ ยอมรับในความมีปัญญาเฉียบแหลมของนาง จึงปลดปล่อยให้นางเป็นไท ปุณณาขออนุญาตท่านเศรษฐีบวชเป็นภิกษุณี  หลังจากบวชไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผล
 
ในคัมภีร์อปทานได้เล่าเรื่องของนางตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี และมาถึงสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ นางได้พลาดทำบาปกรรม คือ ถือตัวว่าเป็นพหสูตมีมานะกล้า ดูหมิ่นท่านผู้ทรงศีลอื่นๆ จึงได้มาเกิดเป็นทาสในเรือนเบี้ย แต่บุญญาธิการที่ได้สั่งสมไว้มีมาก จึงบันดาลให้พ้นจากความเป็นทาส แล้วมีปัญญาเฉียบแหลม ได้บรรลุธรรมในที่สุด

มีถ้อยคำที่โต้ตอบกับพราหมณ์ผู้เชื่อในเรื่องอาบน้ำล้างบาป (ซึ่งตามประวัติว่าได้โต้ตอบกันก่อนที่นางจะบวช) น่าสนใจมาก ขอคัดมาลงทั้งหมดเลยดังนี้
 
พระปุณณิกาเถรีกล่าวว่า เราเป็นหญิงตักน้ำ กลัวต่อภัยคืออาญาของนาย ถูกภัยคือวาจาและโทสะของนายบีบคั้นแล้ว จึงลงตักน้ำในฤดูหนาวทุกเมื่อ

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านกลัวใครเล่า จึงลงตักน้ำทุกเมื่อ ท่านมีตัวอันสั่นเทาเสวยทุกข์ คือ ความหนาวอันร้ายกาจ
พราหมณ์กล่าวว่า ดูก่อนนางปุณณิกาผู้เจริญ ก็เมื่อท่านรู้อยู่ว่าทำกุศลกรรมอันห้ามซึ่งบาปกรรม จะสอบถามเราทำไม

ก็ผู้ใดเป็นคนแก่หรือคนหนุ่ม ทำบาปกรรมไว้ แม้ผู้นั้นก็ย่อมพ้นจากบาปกรรมได้ด้วยการอาบน้ำ

พระปุณณิกาเถรีกล่าวว่า ก็ใครหนอบอกความนี้แก่ท่านผู้ไม่รู้ เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็เมื่อบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการอาบน้ำ กบ เต่า นาค จระเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่น้ำ ก็จักพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน

พวกคนฆ่าแกะเลี้ยงชีวิต คนฆ่าสุกร พวกชาวประมง พวกพรานเนื้อ พวกโจร พวกนายเพชฌฆาต และคนที่มีกรรมอันเป็นบาปเหล่าอื่น แม้คนเหล่านั้นก็พึงพ้นจากบาปกรรมเพราะการอาบน้ำ

ถ้าแม่น้ำเหล่านี้ พึงนำบาปที่ท่านทำไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่น้ำเหล่านี้ ก็พึงนำบุญมาให้ท่านบ้าง เพราะบุญกรรมนั้น ท่านจึงเป็นผู้เหินห่างจากพระศาสนา

ดูก่อนพราหมณ์ท่านกลัวต่อบาปกรรมอันใดจึงลงอาบน้ำทุกเมื่อ ท่านอย่าได้ทำบาปกรรมอันนั้นเลย ความหนาวอย่าได้เบียดเบียนผิวของท่าน ท่านนำข้าพเจ้าผู้เดินทางผิดไปสู่ทางที่พระอริยะเดินแล้ว

ดูก่อน นางปุณณิกาผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถวายผ้าสาฎกสำหรับสรงน้ำนี้แก่ท่าน ผ้าสาฎกจงเป็นของท่านตามเดิมเถิด เราไม่ประสงค์ผ้าสาฎก

ถ้าท่านกลัวต่อทุกข์ ถ้าท่านเกลียดทุกข์ ท่านอย่าทำกรรมอันเป็นบาปทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับ ก็ถ้าท่านจักทำหรือกำลังทำกรรมอันเป็นบาปไซร้ แม้ท่านจะเหาะหนีไปในอากาศ ก็จักไม่พ้นทุกข์ได้เลย

ถ้าท่านกลัวต่อทุกข์ ถ้าท่านไม่จมทุกข์ ท่านจงเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้คงเป็นสรณะ
จงสมาทานศีลทั้งหลาย สรณคมน์และการสมาทานศีลของท่านนั้น จักเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

เราจะเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้คงที่เป็นสรณะ จะสมาทานศีลทั้งหลาย สรณคมน์ และการสมาทานศีลของเรานั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เรา เมื่อก่อนเราเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม วันนี้เราได้เป็นพราหมณ์จริงๆ  เราเป็นผู้มีวิชชา ๓ สมบูรณ์ด้วยญาณ มีความสวัสดี มีบาปอันล้างแล้ว
  ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ ปุณณิกาเถรี : อดีตทาสในเรือนเบี้ย, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 15:20:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2556 11:12:23 »

.

          วันนี้ไม่รู้เป็นยังไง อยากเล่านิทานชาดก  
          นิทานชาดกนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ และในชาตกัฏฐกถา
          (คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก ส่วนที่เป็นชาดก)
          ทุกอย่างตามต้นฉบับครับ เพียงแต่ edit นิดหน่อย  
          ให้สะใจคนเล่า ....อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก


นิทานชาดก



พระเจ้ามันธาตุราช
ผู้โลภไม่สิ้นสุด

สมัยพระพุทธองค์ ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ภิกษุทั้งหลายนำภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า กราบทูลรายงานว่า ภิกษุหนุ่มเธอ “กระสัน”  (ภาษาพระ หมายถึง อยากสึก) ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง จึงนำตัวมาเฝ้าเพื่อฟังพระโอวาท เผื่อจะได้เลิกคิดสึกบ้าง

พระบรมศาสดาตรัสถามว่า จริงหรือที่เธออยากสึก ทำไมจึงอยากสึก พระหนุ่มกราบทูลตามจริงว่า พบสตรีนางหนึ่งงดงาม จึงอยากจะสึกไปครองเรือน

พระพุทธองค์ตรัสว่า เธออยู่ครองเรือนก็ไม่สามารถยังความอยากให้เต็มได้ สมัยโบราณ คนที่ครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในทวีปทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร แม้เสวยราชสมบัติในเทวโลกจนกระทั่งท้าวสักกะสามสิบหกองค์จุติ ถึงเวลาตายก็ยังไม่สามารถทำตัณหาความอยากให้เต็มได้

แล้วทรงเล่าเรื่องให้ฟังว่า

พระราชาพระนามว่า มันธาตุราช ทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิที่มีฤทธานุภาพมาก เพียงคู้พระหัตถ์ซ้ายแล้วปรบด้วยพระหัตถ์ขวา ฝนรัตนะก็ตกลงมายังกับห่าฝน สูงเท่าหัวเข่า มีความร่ำรวยมหาศาล ที่เนรมิตเอาตามชอบใจขนาดนั้น ก็ยังไม่อิ่มไม่พอใจ

จึงกระซิบบอกจักรแก้วให้พาไปยังเทวโลก ที่มีสมบัติอันเป็นทิพย์ทั้งหลาย จักรแก้วพาพระองค์เหาะไปยังเทวโลก ชั้นจาตุมมหาราชิกา ท้าวมหาราชทั้งสี่ก็ยินดีต้อนรับ เชื้อเชิญให้อยู่เสวยทิพยสมบัติอยู่ในสวรรค์นั้นเป็นเวลานาน

อยู่นานเข้า ก็มีความรู้สึกว่าไม่มีอะไร เราต้องคิดใหม่ทำใหม่ดีกว่า จึงอำลาท้าวมหาราชทั้งสี่ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่สถิตอยู่ของท้าวสักกะเทวราช ท้าวสักกะก็อัญเชิญให้อยู่ด้วยกัน

บนดาวดึงส์นั้น มีทิพยสมบัติ มีความสุขมหัศจรรย์พันลึกกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา ทำให้ท้าวเธอสนุกสนานเพลิดเพลินมากกว่าเดิมหลายร้อยหลายพันเท่า
ว่ากันว่าพระเจ้ามันธาตุอยู่บนดาวดึงส์สวรรค์นานจนท้าวสักกะเทวราชจุติไปตั้งสามสิบหกองค์ ท้าวเธอก็ยังทรงครองราชย์สมบัติในเทวโลกด้วยร่างของมนุษย์นั้นเอง ไม่รู้จักแก่ไปตามสังขาร เมื่อกาลล่วงไปๆ กามตัณหา ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น มีแต่เพิ่มขึ้นๆ

พระเจ้ามันธาตุเกิดความคิดสกปรกขึ้นว่า เรื่องอะไรจะมาแบ่งครองราชย์ถึงสองคน เราฆ่าท้าวสักกะเทวราชเสียแล้ว ครอบครองสมบัติในเทวโลกคนเดียวไม่ดีกว่าหรือ ครอบครองเสียงเทวดาผู้สนับสนุนสามร้อยเจ็ดสิบเจ็ด เอ๊ย จำนวนมากจนหมดสวรรค์มิดีกว่าหรือ

หารู้ไม่ว่า ท้าวสักกะเทวราช ไม่มีใครฆ่าได้ เกิดขึ้นมาด้วยผลบุญที่ได้สร้างไว้ เมื่อหมดบุญก็จุติไปเอง

พระเจ้ามันธาตุอยู่บนสวรรค์ยาวนานมาก ความชราก็มาถึงสรีระของพระองค์ตามลำดับ เซ็กซ์เซิกก็พลอยเสื่อมไปตามวัยว่างั้นเถอะ

แต่มนุษย์จะแตกดับทิ้งร่างในเทวโลกไม่ได้ ความคิดสกปรกนี้ พระอินทร์ทรงล่วงรู้ ว่าพระเจ้ามันธาตุมันบังอาจคิดจะลิดรอน “เทวอำนาจ” ของพระองค์ จึงให้อาณัติสัญญาณแก่เทพบริวาร

ถีบตกสวรรค์ ขณะมันธาตุราชเผลอตัว

ร่างของพระเจ้ามันธาตุก็ลอยลิ่วๆ ตกลงไปยังพระราชอุทยานของพระองค์เอง ซึ่งถึงตอนนี้กาลเวลาผ่านไปหลายหมื่นปี ราชสมบัติตกเป็นของหลานเหลน โหลน หล่อน (ภาษาไทยไม่มีโหลน หล่อน ดอกครับ พูดด้วยความเคยชินเฉยๆ) ของพระองค์ไปแล้ว

ไม่มีใครรู้จัก

ชายแก่คนนี้ นอนพะงาบๆ ใกล้สิ้นลม ปากก็พร่ำว่า “ข้าคือพระเจ้ามันธาตุราชแห่งเมืองนี้”

เมื่อรู้ว่าชายชราคนนี้คืออดีตพระเจ้ามันธาตุ พวกมหาอำมาตย์จึงกราบทูลว่า มีถ้อยคำอะไรจะสั่งเสียไหม

พระเจ้ามันธาตุราชตรัสว่า พวกท่านจงประกาศให้ชาวเมืองรู้กันทั่วกันว่า “ข้าคือพระเจ้ามันธาตุราช ผู้มีฤทธานุภาพ ขึ้นไปครองราชย์สมบัติบนสรวงสรรค์ตลอดเวลายาวนาน มีความสุข ความเพลิดเพลินสารพัด ยังไม่สมอยากเลย ก็มาตายเสียก่อน

พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องนี้แล้วก็ตรัสสรุปว่า

พระอาทิตย์และพระจันทร์ส่องแสงสว่างไปถึงไหน คนในโลกมีอยู่ประมาณเท่าใด ทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นข้าทาส บริวารของพระเจ้ามันธาตุราช แม้กหาปณะจะไหลมาดังห่าฝน ความอยากของคนหาอิ่มไม่ กามทั้งหลายมีความพอใจน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว ย่อมไม่ก่อความยินดีแม้ในกามที่เป็นทิพย์ พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมยินดีในการสิ้นตัณหา  
 ...


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระเจ้ามันธาตุราช : ผู้โลภไม่สิ้นสุด, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 สิงหาคม 2556 11:14:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2556 09:39:34 »

.


๓๕. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรี
พระเถรีผู้มีนัยน์ตาสวย

ในกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ อันมีพระมหากษัตริย์พระนามว่า พิมพิสารครอบครอง พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานมั่นคง หลังจากชฎิลสามพี่น้องผู้เคยเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของปวงชนชาวเมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิมสารได้สละลัทธิความเชื่อของตนมานับถือพระพุทธศาสนา

พระเจ้าพิมพิสารเองได้ถวายป่าไผ่อันร่มรื่นให้เป็นสถานที่พำนักของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ วัดแห่งแรกจึงเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดพระเวฬุวัน”

จากนั้นไม่นานหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์หลวงได้ถวายสวนมะม่วงให้เป็นสถานที่พำนักของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ วัดแห่งแรกจึงเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดพระเวฬุวัน”

จากนั้นไม่นานหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์หลวงได้ถวายสวนมะม่วงให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อีกแห่งหนึ่ง

พระพุทธองค์ ภิกษุสงฆ์ แม้บางคราวภิกษุณีสงฆ์ก็ไปพำนักในสวนมะม่วงของหมอชีวก อันมีนามเป็นที่รู้กันว่า “ชีวกกัมพวัน” เป็นครั้งคราว

ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง กำลังเดินทางมุ่งหน้าไป เพื่อพำนักในชีวกกัมพวันนั้น ถูกชายหนุ่มคนหนึ่งขวางทางไว้ พลวงกล่าววาจาเกี้ยวพาราสี ชักชวนนางเพื่อความรื่นรมย์ทางกาม พูดให้ชัดก็คือชวนเสพเมถุนธรรมนั้นเอง

ภิกษุณีรูปนี้นามว่า สุภา ก่อนที่จะมาบวชนั้นเป็นบุตรสาวแห่งตระกูลพราหมณ์มหาศาลในเมืองราชคฤห์  เนื่องจากได้สั่งสมบุญญาบารมีมามากในอดีตชาติ  พอนางเติบโตมา เป็นหญิงสาวที่มีความงดงามมาก เป็นที่ปรารถนาของบุรุษทั่วไป แต่นางไม่มีจิตยินดีในกามารมณ์ มีความคิดน้อมไปในทางบรรพชาอยู่เสมอ ในที่สุดก็ได้ตัดสินใจลาบิดามารดาออกบวชเป็นภิกษุณีในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี

เมื่อบวชแล้วก็ขะมักเขม้นฝึกฝนอบรมตนด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน จนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับอนาคามี หมดความยินดีในกามารมณ์โดยสิ้นเชิง

วันหนึ่งนางเดินมุ่งหน้าไปยังชีวกกัมพวันเพื่อหาความสงบวิเวก  ระหว่างทางพบบุรุษหนุ่มคนหนึ่งกั้นทางไม่ให้ไป พร้อมกล่าวเกี้ยวพาราสีเชิญชวนเพื่อความอภิรมย์ในกามารมณ์ดังกล่าวข้างต้น

ต่อไปนี้เป็นคำโต้ตอบระหว่างบุคคลทั้งสอง

เถรี : ฉันทำผิดอะไรหรือ จึงมาขวางทาง ท่านสุภาพบุรุษไม่ควรแตะต้องสตรีนักบวชผู้มีสิกขาบริสุทธิ์ ผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยราคะกิเลสเช่นเรา

บุรุษ : ท่านยังสาวยังสวย ท่านมาบวชทำไม จงเปลื้องผ้าย้อมน้ำฝาดมาหาความอภิรมย์ กันในป่า อันมีดอกหญ้าบานสะพรั่งนี้เถิด ในป่าเต็มไปด้วยเนื้อร้ายปราศจากผู้คน น่ากลัว เราสองคนอยู่ร่วมกันในป่า จะมีความสุข เรามาครองเรือนด้วยกันเถิด ท่านจักได้อยู่ปราสาทหรูหรา มีคนคอยรับใช้ ได้นุ่งห่มผ้าสวยงาม ตกแต่งร่างกายด้วยพัสตราภรณ์อันวิจิตรงดงาม นอนบนที่นอนอันนุ่ม มีค่ามาก ปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ และฟูกอันปราศจากธุลี ประทับด้วยแก่นจันทร์อันหอมยิ่งนัก

ท่านยังอยู่ในวัยสาว อวัยวะที่ธรรมชาติให้มายังไม่ได้ใช้สอยให้คุ้มค่าเลย แก่ชรามาแล้ว จะคร่ำคร่าหาประโยชน์มิได้

เถรี : “ร่างกายเต็มไปด้วยของปฏิกูลเน่าเหม็น อันแตกสลายไปเป็นธรรมดา ไยท่านเห็นว่ามันเป็นแก่นสาร ท่านมองเห็นส่วนไหนว่าน่าดูน่าชมอีกหรือ”

บุรุษ : “นางเอย นัยน์ตาของเจ้าดำงามเหมือนตาเนื้อทราย ดุจดังตากินรี เราเห็นนัยน์ตาของเจ้าแล้วหลงรักเจ้ายิ่งกว่าชีวิตก็มิปาน”

เถรี : “ท่านปรารถนาในตัวเราผู้เป็นธิดาของพระพุทธเจ้านับว่าคิดผิดเดินทางผิดแล้ว ไม่สมหวังดอก ดังปรารถนาดวงจันทร์มาเชยชม ท่านเลิกคิดเสียเถิดสตรีอื่นที่เขาอภิรมย์ยินดีในกามคุณมีอีกมาก ท่านไปโลมเล้าสตรีเหล่านั้นเถิด”

บุรุษ : “สตรีอื่นผู้มีนัยน์ตามงามดังเจ้าไม่มีอีกแล้ว นัยน์ตาเจ้ากลมโต น่ารัก แม้เราไปไหนไกลๆ ก็จักไม่นึกถึงสิ่งอื่นนอกจากนัยน์ตางามของเจ้า”

ทันใดนั้น สุภาภิกษุณีก็ควักดวงตาซ้ายออก เลือดสดๆ แดงฉาน ไหลออกจากเบ้าตา นางกล่าวพลางยื่นดวงตาให้บุรุษนั้น “ถ้าท่านปรารถนาดวงตาของข้า เชิญท่านรับเอาไปเถิด” บุรุษหนุ่มตกตะลึง คาดไม่ถึงว่า พระเถรีจะทำถึงขนาดนี้ ความกำหนัดยินดีที่มีหายไปหมดสิ้น เหลือแต่ความตื่นตระหนกงงงัน แล้วสำนึกในความผิดของตนที่ได้ล่วงเกินต่อนาง

จึงกราบแทบเท้าพระเถรี กล่าวขอขมา

สุภาเถรียกโทษให้บุรุษคนนั้น พร้อมเทศนาสั่งสอนเขาให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ แล้วเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตวัน

ทันทีที่เห็นพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดวงตาข้างที่บอดกลับมองเห็นได้ดังปกติ เป็นที่น่าอัศจรรย์
พระพุทธองค์ทรงทราบวารจิตของนาง ได้ตรัสพระธรรมเทศนาที่เหมาะแก่อุปนิสัยของนาง และประทานกรรมฐานให้เธอได้เจริญ ไม่ช้าไม่นานเธอก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา
 ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ สุภาชีวกัมพวนิกาเถรี : พระเถรีผู้มีนัยน์ตาสวย, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก





๓๖. พระมหาจุนทเถระ
ผู้มีส่วนริเริ่มการสังคายนา

นามจุนทะ คงไม่ค่อยคุ้นกับผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา แต่บทบาทของท่านสำคัญมิใช่น้อย ในฐานะที่เป็นผู้สนิทกับพระอานนท์พุทธอนุชา และเหนืออื่นใดเป็นน้องชายพระอัครสาวก นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับท่านเป็นผู้ช่วยผลักดัน (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) ให้มีการทำสังคายนา “ร้อยกรองพุทธวจนะ

ท่านจุนทะเป็นบุตรวังคันตพราหมณ์กับนางสารีพราหมณี เป็นน้องชายของอุปติสสะมาณพ (ซึ่งภายหลังคือพระสารีบุตรอัครสาวก)  เมื่ออุปติสสะพี่ชายออกบวชและได้เป็นพระอัครสาวก จุนทะได้บวชตามพี่ชายด้วย และได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดแต่อายุยังน้อย

ก่อนที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุ มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า มหาจุนทะ บ้าง จุนทะสมณุทเทศ (จุนทะสามเณรโค่ง) บ้าง จุนทะเฉยๆ บ้าง  เข้าใจว่าเป็นรูปเดียวกัน (หรืออาจมีหลาย “จุนทะ” จนสับสนก็เป็นได้)

ท่านมีความสนิทสนมกับพระอานนท์พุทธอนุชา นัยว่าท่านถือพระอานนท์เป็นอาจารย์ด้วย

ครั้งหนึ่ง จุนทะสมณุทเทศได้ทราบข่าวความแตกแยกกันในหมู่สาวกของศาสดามหาวีระ (นิครนถ์นาฏบุตร) โดยบังเอิญ  คือ พอศาสดามหาวีระสิ้นชีวิตลงเหล่าสานุศิษย์ก็ถกเถียงกัน ต่างก็อ้างว่าตนได้รับคำสอนมาโดยตรงและถูกต้องที่สุด จากพระศาสดา  เถียงกันไม่ยอมลดราวาศอก จนแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า  ท่านจุนทะจึงนำความไปเล่าให้พระอานนท์ฟัง  ทั้งสองท่านจึงจูงมือกันไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ศาสดามีหลายประเภท ประเภทไหนดี ไม่ดี ตรัสถึงวิธีสอบสวนพระธรรมวินัย และตรัสทำนองแนะให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยด้วย

“ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงสังคายนา พึงวิจารณ์ อรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"

เท่ากับบอกใบ้ว่า ให้สังคายนาพระธรรมวินัยเสีย ถ้าอยากให้พระศาสนาดำรงอยู่นาน ศาสดาล่วงลับไปแล้ว  สาวกจะได้ไม่แตกแยกกัน ดุจดังสาวกของศาสดามหาวีระ

ตามประวัติไม่ปรากฏว่าพระจุนทะได้ทำพระพุทธดำรัสให้เป็นรูปธรรม คือ ไม่ได้ดำเนินการ “สังคายนา” (ร้อยกรอง) พระธรรมวินัย ตามที่ตรัสแนะ เพราะท่านไม่มีความสามารถเพียงพอ ท่านคงจะได้เล่าเรื่องนี้แก่พระสารีบุตรอัครสาวก พี่ชายท่าน (ถ้าหากท่านพระสารีบุตรไม่ทราบจากกระแสอื่น)

เพราะหลังจากนั้นพระสารีบุตรได้รวบรวมพุทธวจนะ จัดเป็นหมวดหมู่ ตั้งแต่หมวดหนึ่ง หมวดสอง...จนกระทั่งถึงหมวดสิบและหมวดเกินสิบ ตั้งชื่อว่าสังคีติสูตร” และ “ทสุตตรสูตร

ครั้งหนึ่ง เมื่อเหล่ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวาสร้างอาคารโถง (สัณฐาคาร) เสร็จแล้ว อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไปพำนักเป็นครั้งคราว เพื่อเป็นสิริมงคล  กลางดึกคืนนั้น พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า สาวกทั้งหลายยังไม่ง่วงนอน ยังมีฉันทะในการฟังธรรมอยู่ จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตรและทสุตตรสูตรแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำนอง “เสนอบทความทางวิชาการ” ขอคำรับรองจากคณะสงฆ์  ในที่สุดของการนำเสนอของพระสารีบุตร พระพุทธองค์ประทับอยู่ไม่ไกล ประทานสาธุการว่า ท่านพระสารีบุตรนั้นแสดงได้ถูกต้องแล้ว  

นี่คือที่มาของการทำสังคายนาพระธรรมวินัยในเวลาต่อมา

พระสารีบุตรเป็นผู้ริเริ่ม แต่เนื่องจากท่านนิพพานไปก่อนพระพุทธองค์ งานยังไม่สมบูรณ์ดี มาได้พระมหากัสสปะสานต่อ การทำสังคายนาพระธรรมวินัยจึงสำเร็จสมบูรณ์

ทั้งหมดนี้คงต้องพูดว่าพระจุนทะมีส่วนอยู่ด้วย เพราะเป็นผู้นำเรื่องราวไปกราบทูล จนเกิดมีกระแสพุทธดำรัสแนะให้สังคายนาพระธรรมวินัยในเวลาต่อมา

พระจุนทะเคารพพระพี่ชายมาก มักติดตามท่านไปไหนต่อไหนเสมอ ในบั้นปลายชีวิตของพระพี่ชาย ก็ติดตามท่านไปเทศนาโปรดโยมมารดาที่บ้านเกิด  เมื่อพระสารีบุตรนิพพานแล้ว ก็ได้นำอัฐิพร้อมบริขารของท่านเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แสดงความเสียใจและว้าเหว่ใจที่สิ้นพระอัครสาวกไป พระพุทธองค์ตรัสให้ความคิด (แก่พุทธบริษัทอื่นๆ ด้วย) ว่า “สารีบุตรสิ้นไป เธอนำเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ และวิมุติขันธ์ ไปด้วยหรือเปล่า ก็เปล่า เพราะฉะนั้นเธอไม่พึงเสียใจ”

สมัยที่พระพุทธองค์ยังไม่มีผู้อุปฐากถาวร ท่านจุนทะก็เป็นผู้หนึ่งที่ถวายการบำรุงพระพุทธองค์เป็นครั้งคราว แม้หลังจากพระอานนท์มารับหน้าที่ประจำแล้ว ท่านจุนทะก็มีโอกาสถวายการดูแลพระพุทธองค์ตามโอกาส ในคราวเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระจุนทะก็เฝ้าอยู่อย่างใกล้ชิดรูปหนึ่ง

ท่านมีชีวิตยืนยาว  ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน ดำรงอยู่พอสมควรแก่เวลา แล้วก็ “ดับสนิท” ไปตามอายุขัย
 ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ พระมหาจุนทเถระ : ผู้มีส่วนริเริ่มการสังคายนา, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก





๓๗. ปทุมวตีเถรี  
อดีตโสเภณีผู้เป็นศิษย์ของลูกชาย


เห็นชื่อเรื่องอาจแปลกใจ ไม่แปลกดอกครับ ลูกเป็นอาจารย์ของพ่อแม่ มีถมไป ลูกสาวคนเล็กยังเรียกพ่อบังเกิดเกล้าว่า “น้องชาย” เลยครับ

นางจุลสุภัททาบุตรสาวของอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั่นยังไง นางได้บรรลุอนาคามิผลแล้ว ก่อนตายเรียกพ่อผู้เป็นพระโสดาบันว่า “น้องชายๆ” พ่อเสียใจที่ลูกสาว “หลงตาย” คือเพ้อไม่มีสติก่อนตาย แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุตรสาวของท่านเศรษฐีพูดถูกแล้ว นางได้เป็นอนาคามีจึงอยู่ในฐานะเป็นพี่ชายของท่านในทางธรรมของบิดา  นางมิได้หลงตายแต่อย่างใด

ผู้สนใจในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาคงทราบดีว่า พระเจ้าพิมพิสารแม้ว่าจะเป็นพระโสดาบัน ก็ยังเป็นเพลย์บอยตัวยง  พระองค์มักเป็น “แขก” ประจำสำนักนางนครโสเภณีต่างๆ เสมอ (นอกจากว่าท่านใดจะมีหลักฐานยืนยันว่า พระองค์บรรลุโสดาปัตติผลภายหลังการเที่ยวสำราญในสำนักนางนครโสเภณีเหล่านี้เกิดก่อนบรรลุธรรม ก็ว่ามา อาตมา เอ๊ย ข้าพเจ้ายินดีรับฟัง)

นางอัมพปาลี นางนครโสเภณีแห่งเมืองไพศาลี ก็เป็นขวัญใจของพระเจ้าพิมพิสาร จนมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง ชื่อ วิมล

นางสาลวดี นางนครโสเภณีแห่งเมืองราชคฤห์ได้ให้กำเนิดแก่ชีวกโกมารภัจจ์ ปรมาจารย์แห่งแพทย์แผนโบราณ

คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จไปที่เมืองอุเชนี แห่งแคว้นอวันตี พระองค์ทรงร่วมอภิรมย์กับนางปทุมวดี นางนครโสเภณีผู้เลอโฉมหนึ่งคืน ได้พระราชทานธำมรงค์แก่นางปทุมวตีเป็นรางวัล บังเอิญว่าเกิดอุบัติเหตุ นางตั้งครรภ์คลอดบุตรชาย ตั้งชื่อว่า อภัย เมื่อบุตรชายโตขึ้นมา นางได้บอกบุตรชายว่า พระราชาแห่งแคว้นมคธเป็นบิดาบังเกิดเกล้าของเขา สั่งให้ไปหาบิดาพร้อมมอบธำมรงค์แก่บุตรชายเพื่อเป็นหลักฐาน

อภัยหาโอกาสไปเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจนได้ในวันหนึ่ง ถวายธำมงรงค์แก่พระราชา พระองค์ทรงจำธำมรงค์ได้ ตรัสถามว่าเจ้าได้ธำมรงค์มาจากไหน เด็กหนุ่มกราบทูลว่าเป็นของมารดาของข้าพระพุทธเจ้า นางฝากให้มาถวายคืนพระองค์ พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่า อภัยคือพระโอรสของพระองค์ จึงทรงรับเลี้ยงไว้ที่พระราชสำนัก
 
หนุ่มอภัยเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงกราบทูลของพระบรมราชานุญาตออกบวช บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ

ฝ่ายปทุมวดีผู้เป็นมารดาได้พบลูกชาย ได้ฟังธรรมเทศนาจากพระลูกชายมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชเป็นภิกษุณี สำนักของภิกษุณีทั้งหลาย ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรม ภายหลังได้ฟังธรรมที่พระลูกชายแสดงให้ฟังอีก ส่งใจพิจารณาไปตามเนื้อหาสาระที่พระลูกชายแสดงให้ฟัง ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลทำที่สุดทุกข์ได้แล้วโดยสิ้นเชิง

คัมภีร์ศาสนาเล่าว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าองค์ก่อน นางเกิดในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ได้ใส่บาตรด้วยข้าวทัพพีหนึ่ง ถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอานิสงส์แห่งบุญนั้น จึงได้บรรลุอรหัตผลในชาตินี้  แต่คัมภีร์ก็มิได้บอกว่านางทำบาปอะไรไว้จึงมาเกิดเป็นหญิงโสเภณี

พิเคราะห์ดูตามค่านิยมสมัยโน้น การเกิดเป็นนางนครโสเภณีมิใช่เรื่องน่ารังเกียจแต่อย่างใด เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ที่พระราชามหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง เผลอๆ อาจพูดกันว่าเพราะนางทำบุญมามาก จึงได้รับตำแหน่งนครโสเภณีเสียด้วยซ้ำไป

ธรรมเทศนาที่พระลูกชายแสดงให้ภิกษุณีผู้เป็นมารดา เป็นเรื่องเกี่ยวกับกายคตาสติ หรืออสุภกรรมฐาน  ลูกชายรู้ว่าคนที่มีรูปร่างงาม เคยดำรงตำแหน่งนางงามแห่งนครมาแล้ว ย่อมติดในความสวยความงามอย่างเหนียวแน่น แม้มาบวชเป็นภิกษุณีแล้วก็เถอะ ท่านจึงแสดงธรรมเพื่อให้ถอนความยึดติดในความงามของร่างกาย วิธีที่จะได้ผลก็ต้องชี้ให้เห็นความน่าเกลียดปฏิกูลแห่งร่างกายให้ได้

“ขอให้แม่พิจารณาเบื้องล่าง ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นไปจนจรดศีรษะเบื้องบน ตั้งแต่ศีรษะมาจรดปลายเท้า พิจารณาให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้ว ร่างกายนี้ไม่สะอาดเน่าเหม็นอย่างยิ่ง”

นางพิจารณาตามที่พระลูกชายสอน ก็เห็นความจริงแท้จริงของสังขารทั้งหลายว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในที่สุดก็ได้บรรลุอรหัตผลดังที่กล่าวแล้ว

หลังจากบรรลุแล้ว พระปทุมวตี หรือนามใหม่ว่า อภยมาตาเถรี ก็ได้เปล่งอุทานเป็นบทโศลกบทหนึ่งว่า

       เอวํ วหรมานาย สพฺโพ ราโค สมูหโต
       ปริฬาโห สมุจฺฉินฺโน สีติภูตามฺหิ นิพฺพุตา

       ปฏิบัติตามที่ลูกชายสอน
       ความเร่าร้อนก็ดับสลาย
       สรรพราคะก็มลาย ดับ เย็นสบายถึงนิพพาน
 ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ ปทุมวตีเถรี : อดีตโสเภณีผู้เป็นศิษย์ของลูกชาย, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก




๓๘. ภิกษุณีสามพี่น้อง
น้องสาวของพระสารีบุตร


หลายท่านที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอาจลืมไปว่า พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธองค์ มีพี่น้องและหลานชายมาบวชเป็นภิกษุและภิกษุณีจนหมด

พระจุนทเถระ ผู้เป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงปรารภว่า ถ้าอยากให้พระธรรมวินัยอยู่ได้นาน พึงสังคายนา (มีโอกาสจะเล่าให้ฟังภายหลัง) ก็เป็นน้องชายพระสารีบุตร

น้องชายของท่านอีกคน นาม เรวตะ ก็บวชเช่นกัน  น้องสาวทั้งสามของงท่านเห็นพี่ชายบวช ก็พากันไปบวชเป็นภิกษุณี  ตกลงตระกูลของท่านที่เคยนับถือศาสนาอื่น หันมาเป็นสาวกของพระพุทธองค์หมด

เมื่ออ่านประวัติท่าน ได้ทราบว่ามารดาของท่านโกรธแค้นลูกชายมาก ที่ชวนน้องไปบวชในสำนักพระพุทธองค์จนหมด ก็น่าเห็นใจ เพราะไม่มีผู้สืบสกุลวงศ์เลย   

เวลาท่านพระสารีบุตรกลับไปเยี่ยมมารดา  มารดาท่านจะต่อว่าต่อขานอย่างหนักแทบตัดแม่ตัดลูกเลยทีเดียว แต่พระเถระก็มิได้ว่ากระไร กลับเข้าใจมารดาดี

เมื่อท่านอาพาธหนักจวนจะนิพพาน ก็กราบทูลขออนุญาตพระพุทธองค์ไปนิพพานที่บ้านเกิดตน

มารดาเห็นท่านกลับมาและถามถึงห้องที่ท่านเกิด นึกว่าพระลูกชายของตนคงจะ “กลับใจ” กลับมาอยู่บ้านแล้ว จิตใจจึงอ่อนโยนขึ้น ไม่โกรธเคืองดังแต่ก่อน  โอกาสนี้เอง ท่านพระสารีบุตรได้ทำหน้าที่ตอบแทนพระคุณของมารดาบังเกิดกล้าด้วยการแสดงธรรมให้มารดาฟัง กลับใจมารดาจากความเป็นมิจฉาทิฐิ มานับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะก่อนนิพพาน เพียงไม่กี่นาที
หันมาพูดถึงน้องสาวสามใบเถาของท่าน  เมื่อพี่ชายใหญ่ออกบวชก็พากันไปบวชเป็นภิกษุณีในสำนักนางภิกษุณี พี่สาวคนโตนามว่า จาลา คนรอง นามว่า อุปจาลา คนเล็กนามว่า สีสุปจาลา ทั้งสามท่าน หลังจากบวชไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

คำหลังนี้ (ขีณาสพ) มาจากคำเดิมว่า ขีณาสวะ (มีอาสวะหรือกิเลสหมดสิ้นแล้ว)  “อรหันต์ขีณาสพ” ก็คือ “พระอรหันต์ผู้หมดสิ้นกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง”  ถ้ากิเลสยังไม่หมดโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น พระโสดาบัน  พระสกิทาคามี พระอนาคามี ก็ไม่เรียกว่า “อรหันต์ขีณาสพ”

ประวัติของพระเถรีทั้งสามเป็นไปในทำนองเดียวกัน  คือ ขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่ในป่า ถูกมารมาแกล้ง ทำนองเชิญชวนให้กลับไปครองเรือนตามเดิมเถิด ยังสาวยังแส้อยู่ อะไรทำนองนั้น  ทั้งสามท่านก็โต้ตอบแก่มารอย่างเจ็บแสบ จนมารต้องล่าถอยไปด้วยความละอาย

พระอุปจาลาภิกษุณี ขณะนิ่งสมาธิอยู่ในป่าอันธวัน มารมาปรากฏตัวขึ้น ถามในทำนองไม่สุภาพว่า “สมณะโล้น เจ้าบวชอุทิศใคร (หมายถึงบวชเป็นลูกศิษย์ใคร) ทำไมมาชอบใจวิถีของเดียรถีย์ หลงทางอยู่ในป่าอย่างนี้”  อุปจาลาภิกษุณีตอบเป็นโศลก (คาถา) ว่า

“เราบวชอุทิศพระพุทธเจ้า เราได้ฟังคำสอนของพระองค์ อันว่าด้วยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์แปดอันเป็นทางดับทุกข์ ได้บรรลุวิชชาสาม กำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง ทำลายสรรพกิเลส ขจัดความมืดมนได้หมดแล้ว มารผู้มีบาปเอย เจ้าจึงรู้เถิด เรากำจัดเจ้าได้แล้ว “ มารได้ฟังดังนั้นก็เสียใจ อันตรธานหายไป ณ บัดนั้น

สีสุปจาลาเถรีน้องสุดท้อง ขณะนั่งสงบอยู่ในป่า มารมากระซิบกวนว่า เจ้าจงตั้งความปรารถนาเพื่อเกิดเป็นเทวดาชั้นต่างๆ เถิด มีความสุขมากนะ อะไรทำนองนั้น พระเถรีตอบเป็นโศลกว่า
“เทวดาชั้นดาวดึงส์จนถึงวสวัตตี ต่างก็เวียนว่ายอยู่ภพในต่างๆ ได้รับทุกข์ เพราะเกิดและตายไม่จบสิ้น โลกลุกเป็นไฟ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมดับความเร่าร้อนทั้งปวง ใจของเรามีความยินดีในธรรมของพระองค์ เราทำตามคำสอนของพระองค์ ได้บรรลุวิชชาสาม ทำที่สิ้นทุกข์ กำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง ทำลายความมืดหมดแล้ว มารผู้มีบาปเอย จงรู้เถิดว่าเรากำจัดเจ้าได้แล้ว”

ข้อพึงสังเกต มารที่ว่ามาเชิญชวนพระเถรีให้กลับไปยินดีในเพศฆราวาสให้ยินดีในการเกิด หรือให้ตั้งความปรารถนาไปเกิดเทวดา ตีความเป็นมารจริงๆ ก็ได้ เพราะพระพุทธศาสนาก็พูดถึงเทพถึงมารว่าเป็นสัตว์ (BEING)  ชนิดหนึ่ง มีจริง แปลตามตัวอักษร มารก็คือมาร แปลอย่างนั้น ก็ไม่ว่ากระไร

แต่ถ้าคิดในอีกรูปหนึ่ง “มาร” ในที่นี้ก็คือ ความคิดคำนึงที่ผุดขึ้นชั่วแวบเดียวในใจของภิกษุณีทั้งสาม คือ ขณะท่านนั่งสงบอยู่ในสมาธิ ก็นึกแวบไปถึงความสุขในกามสมัยยังเป็นฆราวาส นึกถึงการเวียนว่ายตายเกิดสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต นึกถึงคนทั่วไป มักตั้งความปรารถนาอยากไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ เพราะเข้าใจว่าดีกว่าความเป็นมนุษย์ นึกขึ้นมาเพียงแวบเดียว ก็ทราบว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในกามคุณ เป็นสิ่งไร้สาระ สู้การบรรลุพระอรหัตผล (อย่างที่ท่านได้บรรลุ) มิได้ เพราะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับกามคุณอีกต่อไป ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายในภพชาติต่างๆ แม้กระทั่งเกิดในสุคติโลกสวรรค์อีกต่อไป

การที่มารหายวับไปในบัดเดี๋ยวนั้น ก็แสดงอยู่แล้วว่า ใจของพระเถรีอรหันต์มิได้ติดข้องอยู่ในเรื่องที่ผุดขึ้นมาในขณะนั้น เพียงนึกถึงแล้วก็ผ่านเลยไป 

ทำให้นึกถึงฉากธิดามารทั้งสามมายั่วยวนพระพุทธเจ้า หลังตรัสรู้เพียงชั่วครู่ก็หายวับไป นั่นก็คือหลังตรัสรู้ เอาชนะกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงหวนระลึกถึงความร้ายกาจของกิเลส กว่าจะเอาชนะได้ต้องบำเพ็ญบารมีกี่กัปกี่กัลป์ นึกถึงแล้วก็ผ่านเลยไป
  ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ ภิกษุณีสามพี่น้อง : น้องสาวของพระสารีบุตร, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2556 15:35:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556 11:36:18 »

.



๓๙. สามาเถรี
สหายของนางสามาวดี


วันนี้ขอนำเรื่องราวของสามาเถรี ผู้เป็นสหายรักของนางสามาวดี มาเล่าให้ฟัง

ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนา คงเคยได้ทราบประวัติของนางสามาวดี มเหสีของพระเจ้าอุเทนมาบ้าง

พระนางสามาวดีนี้แหละครับเป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ตรัสพุทธภาษิตสอนใจว่า “ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ความไม่ประมาทเป็นทางอมตะ ผู้ไม่ประมาทจะไม่มีวันตาย ผู้ประมาทแล้ว ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว”

พระนางสามาเป็นบุตรของเศรษฐี หนีตายเพราะโรคห่าลงเมือง มาเมืองโกสัมพีพร้อมกับพ่อแม่ พ่อแม่ส่งลูกสาวไปขอทานบ้านเศรษฐี  วันแรกนางขออาหารสำหรับคนสามคน วันที่สองขอสำหรับคนสองคน เพราะพ่อตรอมใจตายไป วันที่สามขอสำหรับตัวคนเดียว เพราะแม่มาตายไปอีกคน

ผู้จัดการโรงทานของเศรษฐีดุด่าหาว่าเป็นเด็กตะกละ วันแรกๆ คงคิดว่าท้องตัวจะบรรจุอาหารได้มาซีนะ จึงขอไปมากๆ วันนี้รู้ประมาณท้องของตัวเองแล้วใช่ไหม อะไรทำนองนั้น นางจึงเล่าความจริงให้ฟัง ผู้จัดการโรงทานรับนางเป็นบุตรสาวบุญธรรม

ต่อมานางบอกพ่อให้ทำรั้วให้คนขอทานเรียงคิวเข้ารับทานทีละคน เสียงอื้ออึงจึงหายไป เพราะเหตุนี้นางจึงได้นามใหม่จากพ่อบุญธรรมว่า สามาวดี (สามาผู้เป็นต้นคิดทำรั้ว) เศรษฐีรู้เรื่องของนาง ขอนางไปเป็นบุตรสาวบุญธรรม พ่อบุญธรรมเดิมเห็นว่านางจะได้เจริญก้าวหน้า จึงมอบให้ไป

ต่อมา นางได้เป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทน

พระนางสามาวดีได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบรรลุโสดาปัตติผลมาก่อนแล้ว ตั้งแต่อยู่เมืองเดิม เมื่อได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองโกสัมพี ก็อยากฟังธรรม แต่หาโอกาสไม่ได้ เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงส่งสาวใช้ร่างค่อมไปฟังธรรม แล้วให้มาเล่าให้ฟัง จึงเกิดมีการ “เทศน์” ขึ้นในตำหนักของนาง โดยนางขุชชุตตรา (อุตตราร่างค่อม) เป็นผู้แสดง

สาวใช้ในวังต่างก็สนใจฟังธรรม และอยากเห็นพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์  นางจึงสั่งให้เจาะฝาห้องของตนส่องดูเวลาพระองค์เสด็จออกบิณฑบาตพร้อมพระสงฆ์

บังเอิญในราชสำนักนั้นมีนางคันทิยา คู่แค้นเก่าของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วย นางผูกใจเจ็บที่พระองค์แสดงธรรมให้พ่อแม่ของตนฟัง กล่าวตำหนินางว่าเป็นเพียง “กระสอบอุจจาระ”

เรื่องของเรื่องก็คือ อีตาพ่อจะยกลูกสาวให้พระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนพราหมณ์ผู้พ่อว่า สมัยพระองค์เป็นเจ้าชายอยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ นางสนมกำนัลงามกว่าลูกสาวพราหมณ์ พระองค์ยังไม่ยินดีเรื่องอะไรจะมายินดีกับความงามของลูกสาวพราหมณ์ ซึ่งก็คือ “กระสอบอุจจาระ” ดีๆ นี่เอง

นี่แหละครับ คือที่มาของความแค้นของนางมาคันทิยา

นางมาคันทิยา รู้เรื่องพระนางสามาวดีกับบริวาร จึงหาทางกลั่นแกล้งใส่ไฟหาว่าพระนางสามาวดีตีตัวเอาใจออกห่างจากพระเจ้าอุเทน พระราชาทรงเชื่อ จึงจะประหารชีวิต พระองค์ลงมือแผลงศรเพื่อปลิดชีพพระมเหสีเอง แต่ไม่สามารถปล่อยลูกศรได้ จึงวางธนูเข้าไปขอโทษพระนาง และทรงอนุญาตให้พระนางพร้อมบริวารนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์มาเสวยภัตตาหารที่วังได้แต่นั้นมา

มาคันทิยาแทบคลุ้มคลั่งที่แผนการของตนไม่สำเร็จ จึงสั่งให้ลอบวางเพลิงเผาพระนางสามาวดีพร้อมทั้งบริวารหมดสิ้น

หลังจากพระนางสามาวดีสิ้นชีพ พระสงฆ์ได้กราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า ทำไม อุบาสิกาผู้มั่นในพระรัตนตรัยอย่างพระนางสามาวดีจึงต้องตายอย่างอนาถเช่นนี้

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สามาวดีมิได้ประมาทในธรรม ถึงตายก็เสมือนไม่ตาย ดังกล่าวข้างต้น

สหายสนิทของพระนางสามาวดี นามว่า สามา เช่นกัน ได้เห็นเหตุโศกนาฏกรรมนั้นถนัดตา เกิดความสลดสังเวชใจ ไปบวชอยู่ในสำนักนางภิกษุณีบำเพ็ญสมาธิภาวนา แต่ทำอย่างไรก็ลืมภาพอันสยดสยองนั้นไม่ลง ไม่ว่าเธอจะนั่งสมาธิเมื่อใด ภาพของสหายรักก็ผุดขึ้นให้เห็นเมื่อนั้น จนไม่ประสบความก้าวหน้าในสมาธิภาวนา

วันหนึ่ง นางได้กราบเรียนให้พระอานนท์ทราบ พระเถระได้แสดงธรรมอันเป็นวิธีแก้ไขให้นางฟัง นางได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระเถระ จึงก้าวหน้าในการทำสมาธิภาวนาไปเรื่อยๆ จนในที่สุดบรรลุพระอรหัต ทำที่สิ้นสุดทุกข์โดยสิ้นเชิง

ขณะที่ให้คำแนะนำแก่สามาภิกษุณีนั้น พระอานนท์ท่านยังเป็นพระโสดาบันอยู่ เนื่องจากพระเถระเป็นพหูสูต ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามามากกว่าใคร จึงรู้เทคนิควิธีหลากหลายที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ประสบความขัดข้องในการปฏิบัติ

ครั้งหนึ่งพระวังคีสะ ซึ่งเป็นจินตกวี หลังจากบวชใหม่ๆ เดินตามท่านพระอานนท์ไปบิณฑบาต เกิดเรื่อง  คือราคะ ความกำหนัดยินดีขึ้นปัจจุบันทันด่วนถึงกับเดินต่อไปไม่ได้ จึงร้องบอกพระอานนท์ว่า ช่วยผมด้วย  พระอานนท์จึงหยุดเดินบอกให้พระวังคีสะกำหนด “อสุภนิมิต” (คือนึกภาพว่ามันไม่สวยงาม กระสอบขี้ทั้งนั้น อะไรทำนองนั้น) พระหนุ่มทำตาม ราคะกำหนัดจึงสงบ เดินตามท่านต่อไปได้

ที่ยกมาพูดนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระอานนท์ท่านมีเทคนิควิธีสอนที่ได้ผล เพราะท่านจดจำมาจากพระพุทธองค์มาก เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว พระสามาเถรีได้กล่าวโศลกธรรม ความว่า

ตามปกติแล้วเราไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ นั่งสมาธิแล้วต้องลุกออกไปจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง  จำเดิมแต่เราได้ฟังโอวาทจากพระอานนทเถระเราจึงบังคับจิตเราได้ ถอนตัณหาได้หมดแล้ว เราได้รับทุกข์ใจมหาศาล (เพราะเพื่อนตายอย่างน่าสงสาร)

บัดนี้เรายินดีในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว นับว่าเราได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
 ...

ข้อมูล : บทความพิเศษ สามาเถรี : สหายของนางสามาวดี, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก


http://www.dhammajak.net/board/files/_40_201.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๔๐. พระเจ้าพิมพิสาร
โยมอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า


จบเรื่องภิกษุณีแล้ว ขอเล่าเรื่องของอุบาสกผู้มั่นคงในพระรัตนตรัย เพื่อเป็นแบบอย่างแห่งชีวิตของอนุชนรุ่นหลัง

คราวก่อนโน้นได้เล่าเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐีโดยละเอียดต่างหากแล้ว คราวนี้ขอนำเรื่องของอุบาสกท่านอื่นๆ มาเล่าให้ฟัง  ขอเริ่มด้วยพระเจ้าพิมพิสารมหาราชแห่งมคธรัฐก่อนก็แล้วกัน

ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา จะต้องได้ยินพระนามกษัตริย์พระองค์นี้ก่อนใครอื่น เพราะเกี่ยวพันกับพระพุทธองค์ตั้งแต่ก่อนเสด็จออกผนวช จนกระทั่งหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วก็ได้เป็น “โยมอุปฐาก” ต่อมาจนสิ้นพระชนม์

หลักฐานบางแห่งว่าพระพุทธเจ้าแก่กว่าพระเจ้าพิมพิสาร ๕ พรรษา และว่า ทั้งสองเป็น “อทิฏฐสหาย” (เพื่อนที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน) มาตั้งแต่ยังเป็นพระราชกุมาร เพราะว่าพระราชบิดาแห่งแคว้นมคธและแคว้นศากยะ เจริญสัมพันธไมตรีกัน ว่ากันว่าอย่างนั้น (คัมภีร์ที่พูดอย่างนี้ชื่อมหาวังสะ หรือมหาวงศ์)

แต่จากพุทธประวัติระบุว่า พระเจ้าพิมพิสารนั้นเพิ่งจะรู้จักพระพุทธองค์ตอนที่พระพุทธองค์เสด็จออกผนวช เสด็จดำเนินผ่านมายังแคว้นมคธ และมาประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต พระเจ้าพิมพิสารขึ้นครองราชย์สืบต่อพระราชบิดาแล้ว  

พระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวว่าพระพุทธองค์เสด็จมายังแคว้นของพระองค์ จึงเสด็จไปนมัสการทอดพระเนตรเห็นพระอากัปกิริยาอันสงบสำรวมก็เลื่อมใส  ชักชวนให้พระพุทธองค์ละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน โดยทรงยินดียกดินแดนให้กึ่งหนึ่ง

พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ ตรัสว่าสิ่งที่พระองค์ทรงแสวงหาคือโมกษธรรม หาใช่สมบัติทางโลกไม่  

พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ถ้าพระพุทธองค์ทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้เสด็จมาสอนพระองค์เป็นคนแรก ว่ากันว่าพระพุทธองค์ทรงปฏิญญา

ด้วยเหตุนี้เมื่อโปรดปัญจวัคคีย์  โปรดพระยสะและสหาย มีพระอรหันต์จำนวน ๖๐ รูป ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆ แล้ว  พระองค์จึงเสด็จพุทธดำเนินมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ  ว่ากันว่า เพื่อเปลื้องปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง

แต่ผมว่าถึงจะไม่มี “พันธสัญญา” อะไรกับพระเจ้าพิมพิสารมาก่อน พระพุทธองค์เมื่อจะประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย ก็คงต้องเสด็จไปเทศน์สอนพระเจ้าพิมพิสารอยู่ดี  เพราะการจะสอนแนวคิดอะไรใหม่ๆ ที่ค้านกับความเชื่อถือดั้งเดิมของคนทั้งปวง จะต้องหาคนที่มี “ฐาน” กำลัง “สนับสนุน”

แน่ะ  พูดยังกับจะปฏิวัติ

ไม่ผิดดอกครับ พระพุทธเจ้ากำลังปฏิวัติความคิดของคนทั้งหลายให้ละทิ้งความเชื่อถือดั้งเดิม หันมาเชื่อถือแบบใหม่ที่ดีกว่า มีเหตุมีผลกว่า แต่การปฏิบัติครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้ หรือสำเร็จยาก ถ้า “ผู้นำ” ชุมชนนั้นๆ ไม่เห็นดีเห็นงามด้วย

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพระเจ้าพิมพิสารนั้นเป็นผู้นำแคว้นใหญ่ ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่นก็จะดำเนินรอยตาม เพราะทรงพระดำริเช่นนี้ จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์  แต่เมื่อทรงพิจารณาถี่ถ้วนแล้ว พระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือ “เตภาติกชฎิล” (ชฎิลสามพี่น้อง) อยู่ จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน

ชฎิลสามพี่น้องเป็นนักบวชเกล้าผมที่มาบูชาไฟประจำ ขอแทรกตรงนี้สักเล็กน้อย  “บูชาไฟ” เป็นกิจกรรมที่คนสมัยนั้นเชื่อและทำกันเป็นส่วนใหญ่ คือเขาเชื่อกันว่ามีเทพเจ้าเบื้องบนที่เป็นหัวหน้าเทพทั้งหลาย นาม “ปชาบดี” (พระพรหม) คอยรับการเซ่นสรวงจากมนุษย์ผู้บำเพ็ญตบะ  มนุษย์ผู้บำเพ็ญตบะก็จะนำเครื่องเซ่นมาเผาไฟให้เกิดเป็นเปลว  ขณะนั้น “อัคนีเทพ” ก็จะนำเอาเครื่องเซ่นนั้นขึ้นไปบนสรวงสวรรค์ไป “ป้อน” เข้าปากพระปชาบดีและทวยเทพทั้งหลาย ดุจแม่นกป้อนเหยื่อลูกนก  

ฉะนั้น เมื่อพระปชาบดีและทวยเทพได้รับเครื่องเซ่นแล้ว ก็จะประทานพรให้มนุษย์ผู้ทำพิธีเซ่นไหว้นั้นให้บริสุทธิ์ พ้นทุกข์ตามควรแก่การกระทำของแต่ละคน

พิธีบูชาไฟจะกระทำเป็นครั้งคราวตามกำหนด กิจวัตรของพวกที่ถือการบูชาไฟอย่างชฎิลสามพี่น้องนี้ คือ การบำเพ็ญตบะ (ทรมานตนเองให้ลำบากโดยวิธีการต่างๆ )  ซึ่งเป็นค่านิยมที่แพร่หลายในสังคมยุคนั้น  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม โปรดให้ชฎิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อถือดั้งเดิมนั้น มาเป็นสาวกของพระองค์หมดแล้ว ก็พาสาวกใหม่หมาดๆ จำนวนพันรูป ไปพักยัง “สวนตาลหนุ่ม” ใกล้เมืองราชคฤห์

คำว่า “สวนตาลหนุ่ม”  ศัพท์เดิมคือ ลัฏฐิวัน   คำว่า ลัฏฐิวัน แปลว่า (๑) ไม้เท้า  (๒) หน่อไหม้, ต้นไม้อะไรก็ได้ที่เพิ่งเจริญงอกงาม “ลัฏฐิวัน” ในเรื่องนี้เป็นชื่อของป่าตาล ก็คงเป็นป่าตาลธรรมดาๆ นี้เอง  ทั้งตาลหนุ่มและตาลแก่นั่นแหละ  แต่เมื่อคำว่า ลัฏฐิ แปลว่า หน่อไม้หรือต้นไม้รุ่นๆ ได้ ท่านจึงแปลว่า “สวนตาลหนุ่ม”

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ทอดพระเนตรเห็นบรรดาอาจารย์ของตนสละเพศชฎิล หันมานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แถมยังนั่งแวดล้อม “สมณะหนุ่ม” รูปหนึ่ง หน้าตาคลับคล้ายคลับคลาเคยเห็นที่ไหนมาก่อน ก็มีความสงสัยอยู่ครามครัน  

พระพุทธเจ้าทรงทราบพระราชดำริของกษัตริย์หนุ่ม จึงหันมาตรัสถามพระปูรณะกัสสปะ หัวหน้าชฎิลทั้งหลายว่า “ท่านเห็นอย่างไร จึงสละเพศชฎิลและการบูชาไฟที่ทำมาเป็นเวลานานจนผ่ายผอม  หันมานับถือพระพุทธศาสนา”

ปูรณกัสสปะกราบทูลว่า “ยัญทั้งหลายสรรเสริญรูป เสียง กลิ่น รส และสตรี ล้วนแต่เป็นเรื่องมลทิน ข้าพระองค์เห็นว่ามิใช่ทางแห่งความสงบรำงับกิเลส จึงละการเซ่นสรวงบูชา”

พระพุทธองค์ตรัสถามต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ใจท่านยินดีอะไรในเทวโลก หรือมนุษยโลก”

ท่านปูรณกัสสปะกราบทูลว่า “ใจของข้าพระองค์ยินดีในการสิ้นอุปธิ (กิเลส) ทั้งหลาย ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป”

พระเจ้าพิมพิสารและประชาชนได้ยินอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าประคองอัญชลีต่อพระสมณะหนุ่ม และประกาศเหตุผลว่า ทำไมจึงจะละลัทธิความเชื่อของตนมานับถือสมณะหนุ่มเป็นอาจารย์ ก็หายสงสัย พลอยเลื่อมใสตามอาจารย์ของตน กษัตริย์หนุ่มก็พลอยรำลึกได้ว่า

สมณะหนุ่มรูปนี้ก็คือผู้ที่ตนพบมาก่อนที่ปัณฑวบรรพตนั้นเอง บัดนี้ได้เป็น “พระสัมมาสัมพุทธ” แล้ว

พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า บัดนี้ความปรารถนาก่อนขึ้นครองราชย์ ๕ ประการได้สำเร็จแล้ว คือ
๑. ปรารถนาอยากได้ครองราชย์ตั้งแต่ยังหนุ่ม
๒. ปรารถนาอยากให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเสด็จมาโปรดเมืองของตน
๓. ปรารถนาอยากได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธะ
๔. ปรารถนาอยากให้พระสัมมาสัมพุทธะนั้นแสดงธรรมให้ฟัง
๕. ปรารถนาอยากให้รู้ทั่วถึงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธะนั้นแสดง

เมื่อประกาศความสำเร็จแห่งมโนปณิธานของพระองค์แล้ว ก็ก้มกราบมอบพระองค์เป็นสาวก นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดพระชนม์ชีพ อัญเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวาย “สวนไผ่” นอกเมืองให้เป็น “วัด” แห่งแรกในพุทธศาสนา  นามว่า เวฬุวัน

เวฬุวันมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า กลันทกนิวาปะสถาน (อ่าน กะ-ลัน-ทะ-กะ-นิ-วา-ปะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต   หรือสถานที่เลี้ยงกระแต   เรื่องราวมีดังนี้ครับ



พระราชาองค์หนึ่งเสด็จกลับจากล่าสัตว์ มาประทับพักผ่อนอยู่ใต้กอไผ่  ในสวนไผ่แห่งนี้  ทรงบรรทมหลับไปหลังจากเสวยน้ำจัณฑ์จนเมา  ข้าราชบริพารเห็นในหลวงบรรทมหลับ จึงพากันถอยออกไปเก็บผลไม้ซึ่งอยู่ห่างจากที่นั้น

ขณะนั้นอสรพิษตัวหนึ่งได้กลิ่นเหล่า จึงเลื้อยมาทางพระราชา อสรพิษนั้นอาจจะกัดพระราชาจนสิ้นพระชนม์ได้ ถ้าหากว่าเสียงกระแตไม่ไล่มันไป

พระราชาทรงตื่นบรรทม เห็นงูพิษมันเลื้อยหนีไปเพราะเสียงกระแตทำให้มันตกใจ  ทรงดำริว่ากระแตช่วยชีวิตของพระองค์ไว้ ทรงสำนึกในบุญคุณของพวกมันจึงทรงประกาศให้สวนไผ่แห่งนี้เป็นอภัยทาน ห้ามใครๆ ทำร้ายพวกมัน แถมยังพระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่งให้เป็นกองทุนเลี้ยงอาหารพวกมันด้วย

เพราะเหตุนี้แหละ สวนไผ่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกขานกันว่า “สถานที่เลี้ยงกระแต”  

เรื่องนี้เล่าไว้ในอรรถกถาอุทาน   ผมไม่แน่ใจว่าทำไมงูเห่ามันถึงเจาะจงไปกัดพระราชา เพราะธรรมดางูนั้นอยู่ๆ จะไม่กัดคน นอกเสียจากว่ามันตกใจจวนตัวจึงจะฉก แต่นี่ตามเรื่องมันจงใจจะไปกัดให้ตายเลยแหละ

หลักฐานทางทิเบตกล่าวว่า งูตัวนี้มิใช่งูธรรมดา เป็น “วิญญาณ” เจ้าของที่เดิม มันอาฆาตที่พระราชาริบที่ดินแห่งนี้ของเขา (ด้วยความผิดใดไม่แจ้ง) เมื่อเขาตายไป แต่ไฟแค้นนั้นยังอยู่ จึงแปลงเป็นงูเห่ามากัดพระราชา ว่าอย่างนั้น

แซมมวล  บีล  ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจีน  กล่าวว่า กลันทกะมิได้เกี่ยวกับกระแตอะไรดอก หากเป็นชื่อของพ่อค้านายหนึ่ง นามกลันทกะ ผู้ถวายสวนไผ่นี้ให้เป็นของหลวงว่าอย่างนั้น และสวนแห่งนี้ก็มีมานานแล้ว ก่อนสมัยพระเจ้าพิมพิสารแต่ตำนานเรื่องกระแตช่วยชีวิตพระราชานี้ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป  และพระราชาองค์นี้ว่ากันว่าคือพระเจ้าพิมพิสาร

จบเรื่องเวฬุวัน  ก็มีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเกี่ยวพันกับพระเจ้าพิมพิสาร ว่ากันอีกนั่นแหละว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธี “กรวดน้ำ” อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย

เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายพระเวฬุวันแก่พระพุทธองค์แล้ว คืนนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องต่อหน้า น่าเกลียดน่ากลัวมาก  รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

พระพุทธองค์ตรัสว่าสัตว์ประหลาดทั้งหลายที่มาปรากฏนั้นเป็นเปรต ซึ่งเคยเป็นพระญาติของมหาบพิตรในอดีตกาลอันยาวนานโพ้น พวกเขามาขอส่วนบุญ
“หม่อมฉันควรจะทำอย่างไร พระเจ้าข้า”  พระราชากราบทูลถาม
“มหาบพิตรควรกวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา”

วันต่อมา พระราชาจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวัง  แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตที่เคยเป็นพระญาติของพระองค์

ตกดึกมา บรรดาพระญาติเก่าก็มาปรากฏโฉมอีก คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้ ต่างก็ได้กินอิ่มหมีพีมันไปตามๆ กัน แล้วก็อันตรธานหายวับไปกับตา  ว่ากันว่าตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับทุกครั้งที่ทำบุญทำทาน  มีคำถามสอดแทรกเข้ามาว่า พระญาติของพระเจ้าพิมพิสารทำบาปทำกรรมอะไรหรือ จึงมาเกิดเป็นเปรตหิวโหยทรมานตลอดกาลนาน

เฉลยว่า สมัยก่อนโน้น พวกเขาได้ตระเตรียมอาหารจะถวายพระสงฆ์แต่ยังไม่ทันได้ถวาย พากันหยิบเอามากินเสียส่วนหนึ่งก่อน ด้วยบาปอันนั้นแหละ ตายไปแล้วจึงไปเกิดเป็นเปรต ว่าอย่างนั้น

เพราะเหตุนี้แล ปู่ย่าตาทวดจึงเข้มงวดนักห้ามไปแตะอาหารที่ตั้งใจจะถวายพระเป็นอันขาด  เวลาเด็กร้องขอกินก็จะตวาดว่า “ไอ้นี่จะกินก่อนพระ ด้วยเป็นเปรตพิมพิสาร” (หมายถึงเปรตที่เคยเป็นญาติพระเจ้าพิมพิสาร)
 ...



พระเจ้าพิมพิสารบรรลุธรรมะระดับโสดาบัน แต่ก็มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับนางโสเภณีหลายคน จึงทำให้คนมองเห็นว่า ภาพหนึ่งของพระราชาหนุ่มพระองค์นี้เป็นคนเจ้าสำราญ อีกภาพหนึ่งเป็นคนวัด

ไม่ทราบว่าเจ้าสำราญมาก่อนเข้าวัด หรือว่าเป็นไปพร้อมๆ กัน (เพราะโสดาบันก็ยังยุ่งอยู่ในโลกโลกียวิสัยได้)

อีกอย่างหนึ่ง นครโสเภณีสมัยก่อน ไม่ใช่อาชีพไร้เกียรติดังในปัจจุบัน หากเป็นตำแหน่งที่พระราชาทรงแต่งตั้งและมีเงินเดือนกินด้วย

ตำแหน่งนี้ ตั้งขึ้นตามนโยบายการ “ดึงดูดเงินตรา” จากต่างประเทศ คือ พ่อค้าวานิช หรือกษัตริย์จากเมืองน้อยใหญ่ จะพากันมาเที่ยวอภิรมย์ ณ สำนักนครโสเภณีเป็นประจำ ปีๆ หนึ่งนำเงินเข้าประเทศมิใช่น้อย

ตำแหน่งนครโสเภณีเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ของกษัตริย์ลิจฉวี พระเจ้าพิมพิสารไปที่นั้น และได้อภิรมย์กับนางอัมพปาลี จนมีโอรสด้วยกัน นามว่า วิมล

หนุ่มวิมล ภายหลังไปอยู่ที่พระราชสำนัก พระนครราชคฤห์ และออกบวชเป็นภิกษุ บรรลุพระอรหัตผล

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารแต่งตั้งนางสาลวดีเป็นนครโสเภณีที่พระนครราชคฤห์ตามอย่างเมืองไพศาลีของพวกกษัตริย์ลิจฉวี นางมีบุตรชายองค์หนึ่ง นามว่า ชีวก (ชีวกโกมารภัจจ์) ว่ากันว่า นี้ก็เป็นพระโอรส พระราชาหนุ่มพระองค์นี้เหมือนกัน

ยังครับ ยังมีอีก พระองค์มีโอรสกับนางปทุมวดี นางนครโสเภณีอีกคน แห่งเมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี นามว่า อภัย  อภัยราชกุมารนี้เองต่อมามาอยู่ที่พระนครราชคฤห์และได้เป็นบิดาบุญธรรมของหมอชีวกโกมารภัจจ์...เรื่องราวดูสับสนจริงเนาะขอรับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเป็นสาวกของพระพุทธองค์แล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงเอาพระทัยใส่ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแข็งขัน จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม

พระเจ้าพิมพิสารมีพระอัครมเหสี พระนามว่า โกศลเทวี หรือ “เวเทหิ” พระนางเวเทหิเป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน แว่นแคว้นใหญ่ทั้งสองนี้ “ดอง” กันจึง “ชัวร์” ได้ว่าจะไม่รบรากันเป็นอันขาด ยกเว้นเล่น “สงครามจิตวิทยา” กัน เพื่อความภาคภูมิใจส่วนตน (เล่นกันอย่างไรไว้เล่าภายหลัง)

นอกจากนี้ มีระบุมเหสีพระองค์หนึ่ง นามเขมา สวยงามมาก นางลุ่มหลงในรูปโฉมโนมพรรณของตนมาก (อย่างว่าแหละครับ คนสวยก็ย่อมภาคภูมิใจในความสวยของตนเป็นธรรมดา)  พระราชสวามีชักชวนให้เข้าวัดฟังธรรม อย่างไรก็ไม่ไป กลัวพระพุทธเจ้าตรัสตำหนิความงามของตน

แต่ในที่สุดนางก็ไปบวชเป็นภิกษุณี กลายเป็นพระเถรีที่มีความเฉียบแหลมทางปัญญา ได้รับยกย่องเป็นพระอัครสาวิกาของพระองค์

ชีวิตมันไม่แน่นอนอย่างนี้แหละครับ คนที่ใครๆ คิดว่าห่างวัดห่างวา ชาตินี้คงไม่รู้จักพระธรรม เผลอแผล็บเดียว อ้าวกลายเป็นนักปฏิบัติธรรมผู้เคร่งครัดไปแล้วก็มี เรื่องอย่างนี้แล้วแต่บุญบารมีแต่ปางหลังใครทำมาอย่างไร

พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสพระนามว่า อชาตศัตรู จากพระนางเวเทหิ  ตอนทรงประชวรพระครรภ์ ก็คือแพ้ท้อง (ไม่ทราบว่าผมใช้ราชาศัพท์ถูกหรือเปล่า)  พระเทวีใคร่จะเสวย “เลือด” ของพระราชสวามี แพ้ท้องอะไรบ้าๆ ก็ไม่รู้ มีหรือพระนางจะบอกพระราชสวามี

ต่อมาเมื่อทรงซักไซ้จึงกราบทูลความจริง ด้วยความรักพระมเหสี พระราชาจึงเฉือนพระพาหา เอาพระโลหิตออกมาให้พระมเหสีดื่ม อาการประชวรพระครรภ์ก็สงบ โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำ “ปิตุฆาต” แต่พระราชาก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย

ว่ากันว่า พระเทวีแอบไปทำแท้งที่ถ้ำมัททกุจฉิ เชิงเขาคิชฌกูฏ ไปเอาก้อนหินทุบท้องเพื่อให้แท้ง พระราชาทรงทราบ ตรัสห้ามทำเช่นนั้นเป็นอันขาด ทารกน้อยจึงมีโอกาสเกิดขึ้นมาดูโลก

ที่พระนางทำมิใช่ไม่รักลูก แต่มิอยากได้ชื่อว่ามีลูกฆ่าพ่ออันเป็นความอัปยศอย่างยิ่ง แต่พระราชสวามีก็ปลอบพระทัยว่าเรื่องในอนาคตไม่มีใครสามารถหยั่งรู้ได้ เพียงคำทำนายก็ไม่พึงเชื่อว่าจะเป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกอย่าง อยู่ที่กระทำของคน ถ้าเราอบรมลูกให้ดี มีหรือจะกลายเป็นคนชั่วเช่นนั้นได้

เพราะความเชื่อมั่นอย่างนี้ เมื่อพระราชโอรสประสูติแล้ว จึงพระราชทานนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ทรงให้การศึกษาอบรมแก่พระราชโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็ทรงเจริญเติบโตมา เป็นคนว่านอนสอนง่าย อยู่ในพระโอวาทอย่างดี ไม่เห็นวี่แววว่าจะออกนอกลู่นอกทางแต่อย่างใด

แต่ก็เหมือนฟ้าลิขิต เจ้าชายน้อยได้รู้จักอลัชชี นามเทวทัต ถูกเทวทัตผู้เป็นบาปมิตรล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระราชบิดาขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์

ใครไปเยี่ยมซากปรักหักพังของเมืองราชคฤห์ เดินลงเขาคิชฌกูฏ ไกด์จะชี้ให้ดูสถานที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสารอยู่เชิงเขา ว่ากันว่า เมื่อถูกห้ามเยี่ยมเด็ดขาด พระราชาผู้เฒ่า “เสด็จเดินจงกรม” ไปมา ยังชีพอยู่ได้ด้วย “พุทธานุสสติ” คือ มองลอดช่องหน้าต่าง ทอดพระเนตรดูพระพุทธองค์เสด็จขึ้น-ลงเขาคิชฌกูฏ พร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน เรียกว่าอยู่ได้ด้วยปีติโสมนัสแท้เทียว

เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินได้อยู่ กษัตริย์อชาตศัตรูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาท เอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระราชาผู้เฒ่าผู้น่าสงสาร ทนทุกขเวทนาไม่ไหว ก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุมขังนั้นแล

ที่ประหลาดก็คือ วินาทีที่พระราชาผู้เฒ่าสิ้นลมนั้น ก็เกิดชีวิตใหม่ร้องอุแว้ในพระราชสำนัก อชาตศัตรูผู้พ่อดีพระทัยที่ได้โอรส ทันใดนั้นก็นึกว่าเวลาตนเกิดเสด็จพ่อก็คงดีพระทัยอย่างนี้ จึงรีบสั่งให้เปิดคุกปล่อยพระราชบิดา แต่ทุกอย่างก็สายเสียแล้วครับ

พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ทรงอุปถัมภ์พระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธ และเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้..



ข้อมูล : บทความพิเศษ พระเจ้าพิมพิสาร : ,โยมอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2556 11:15:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2556 11:39:16 »

.


๔๑. พระเจ้าปเสนทิโกศล (ตอนที่ ๑)
พระมหากษัตริย์ผู้อุปถัมภ็พระศาสนา

เล่าเรื่องของพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ไม่เล่าเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดูกระไรอยู่  เพราะสองกษัตริย์นี้มีอะไรๆ เกี่ยวข้องกันอยู่ ไม่ว่าจะนด้านการเมือง หรือในด้านการพระศาสนา ไว้เล่ารายละเอียดข้างหน้า

ก่อนอื่นขอเล่าพระประวัติตั้งแต่ต้นก่อน

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล สมัยยังเป็นพระราชกุมาร พระราชบิดาส่งไปศึกษาศิลปวิทยาที่มหาวิทยาลัยตักสิลา

ณ ที่นี้ เจ้าชายปเสนทิโกศลได้พบกับเจ้าชายอีกสององค์ ซึ่งเป็น “ศิษย์ร่วมรุ่น” กับพระองค์ และทรงรักกันมาก คือเจ้าชายมหาลิ จากเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี และเจ้าชายพันธุละจากเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ

เมื่อจบการศึกษาแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันกลับมาตุภูมิ และได้แสดงศิลปวิทยาการที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากตักสิลาแก่พระประยูรญาติโดยทั่วหน้ากัน และพระเจ้ามหาโกศลได้มอบพระราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสครอบครองแทนพระองค์ในเวลาต่อมา

ข้างฝ่ายเจ้าชายมหาลิแห่งแคว้นวัชชี ถูกกษัตริย์ลิจฉวีบางคนที่มีจิตใจอิจฉาริษยากลั่นแกล้ง ขณะใช้ดาบฟันลำไผ่หลายลำที่เขามัดเข้าด้วยกันไว้ ได้เกิดอุบัติเหตุ ซี่เหล็กที่เขาแอบใส่ไว้ กระเด็นเข้าถูกตาทั้งสองข้าง ได้รับบาดเจ็บ จนกระทั่งบอดทั้งสองข้างในเวลาต่อมา

พวกกษัตริย์ลิจฉวีเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถมาก จึงได้แต่งตั้งให้เจ้าชายมหาลิเป็นอาจารย์สอนเจ้าชายลิจฉวีทั้งหลาย ในราชสำนักแห่งเมืองไพศาลี

เจ้าชายพันธุละถูกคู่อริกลั่นแกล้งเช่นกัน แม้การแสดงศิลปวิทยาท่ามกลางพระประยูรญาติจะจบลงด้วยความพอใจของมหาสมาคม แต่เจ้าชายพันธุละทรงน้อยพระทัยที่ไม่มีใครบอกให้ทราบก่อนว่ามีซี่เหล็กอยู่ในนั้น ถ้ารู้ก็จะได้ฟันมัดไม้ไผ่ให้ขาดกระเด็นโดยไม่ให้มีเสียง “กริ๊ก” แม้แต่นิดเดียว

ฟันขาดจริง แต่ยังมีเสียงดังกริ๊ก แสดงว่าวิทยายุทธ์ยังไม่ยอดเยี่ยมจริงอะไรทำนองนั้น ไม่มีใครคิดอย่างนี้ แต่เจ้าชายพันธุละทรงคิด รู้สึกเสียศักดิ์ศรี จึงออกจากเมืองกุสินาราไปหาพระสหายร่วมรุ่น คือ พระเจ้าปเสนทิโศล ขอถวายตัวเข้ารับราชการเพื่อรับใช้พระราชาหนุ่ม พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงดีพระทัยมากที่พระสหายของพระองค์ยินดีมาอยู่ด้วย จึงทรงแต่งตั้งให้พันธุละเป็นเสนาบดี

เรื่องราวของพันธุละและนางมัลลิกาภริยาพันธุละ “ถูกกระทำ” จากพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นอย่างไรได้เขียนเล่าไว้แล้วในที่อื่น (ที่ไหนก็จำไม่ได้แน่) ไปตามหาอ่านเอาเองแล้วกัน จะไม่ขอเล่าอีก ขอพูดถึงแง่มุมอื่นก็แล้วกัน

พระเจ้าปเสนทิโกศลเดิมทีนั้นนับถือศาสนานิครนถ์ (ศาสนาเชน หรือลัทธิชีเปลือยของศาสดามหาวีระ) และเชื่อถือในการบูชายัญของพราหมณ์อีกด้วย เมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังไม่เลิกบูชายัญ และยังติดต่อกับพวกชีเปลือยเป็นต้นอยู่

ที่พูดดังนี้ก็เพราะมีหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่าถึงเรื่องเหล่านี้ว่า ครั้งหนึ่งขณะที่อยู่ในสำนักพระพุทธเจ้า พอดีเหล่าชีเปลือย ปริพาชก เป็นต้น เดินผ่านมาใกล้ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงคุกพระชานุ ประคองอัญชลี ประกาศว่า ข้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ขอนมัสการพระคุณเจ้าทั้งหลาย เมื่อพวกเขาคล้อยหลัง พระเจ้าปเสนทิโกศลหันมากราบทูลพระพุทธองค์ว่า สมณะเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์

พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติว่า มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์ผู้ “บริโภคกาม” (กามโภค) รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์หรือไม่ ทำเอาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชะงักทีเดียว

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า

     จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่   ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
     จะรู้ว่ามีความสะอาดหรือไม่   ด้วยการสนทนา
     จะรู้ว่ากำลังใจเข้มแข็งหรือไม่   ก็ต้องเมื่อตกอยู่ในอันตราย

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประกอบพิธีบูชายัญยิ่งใหญ่ มีการตระเตรียมฆ่าสัตว์อย่างละ ๗๐๐ บังเอิญว่าพระนางมัลลิกาพระมเหสีทรงทัดทาน การฆ่าสัตว์ครั้งมโหฬารจึงไม่เกิดขึ้น

จากหลักฐานดังกล่าว แสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเชื่อทั้งลัทธิพราหมณ์ ทั้งลัทธินิครนถ์ (รวมถึงลัทธิอื่นๆ ด้วยในขณะเดียวกัน) คงเป็นด้วยว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้อุปถัมภ์พระศาสนา พระองค์ย่อมจะนำเอาหลักพระศาสนามาปรับใช้ในการปกครองประเทศ พระองค์จึงให้ความสำคัญแก่พระศาสนาต่างๆ ทัดเทียมกัน

ต่อเมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาน้อมนำเอาพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต (เช่น การฆ่าสัตว์บูชายัญ) และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น

สาเหตุที่พระเจ้าปเสนทิโกศลนับถือพระพุทธศาสนา มิได้พูดไว้ชัดเจน แต่คงจะมาจากสองสาเหตุ คือ
     ๑. เพราะการแนะนำของพระนางมัลลิกา
     ๒. เพราะเหตุผลทางการเมือง

สาเหตุแรกนี้มีความเป็นไปได้เพียงใด อยู่ที่ระยะเวลาเข้ามาเป็นมเหสีของพระราชา  ถ้าหลักฐานบ่งชัดว่า พระนางมัลลิกาเป็นมเหสีหลังจากพระเจ้าปเสนทิโกศลนับถือพระพุทธศาสนา ก็แสดงว่าพระราชามิได้นับถือเพระการแนะนำของพระนางมัลลิกา แต่ถ้าก่อนหน้านั้นพระราชายังนับถือลัทธินิครนถ์อยู่ พอนางมัลลิกาเป็นมเหสีแล้ว พระนางมัลลิกานั้นแหละเป็นผู้ชักจูงพระราชาเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา

พระนางมัลลิกานั้น เป็นสาวิกาผู้บรรลุโสดาปัตติผลมาตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อมาเป็นพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมจะทรงมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีมิใช่น้อย

หลักฐานในพระไตรปิฎกหลายแห่งบ่งบอกอิทธิพลของพระนางต่อพระราชสวามี ดังเช่นเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญ (ที่กล่าวในตอนที่แล้ว) และคำแนะนำในเรื่องสำคัญๆ อีกมาก

ถ้ามิใช่เหตุผลข้อแรก พระเจ้าปเสนทิโกศลคงนับถือพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา เพื่อจะเอาชนะพระเจ้าพิมพิสารมากกว่า

กษัตริย์สองพระองค์นี้เป็น “ดอง” กัน คือ ต่างฝ่ายก็อภิเษกสมรสกับพระกนิษฐาภคินีของกันและกัน เพราะฉะนั้น การที่จะรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งราชอาณาจักร หรือแผ่ขยายอาณาจักรจึงเป็นไปไม่ได้

แต่ก็ใช่ว่าทั้งสองเมืองจะไม่ “รบกัน” ทั้งสองพระองค์ไม่รบกันทางกาย แต่ก็รบกันทางใจ เรียกว่าเล่น “สงครามจิตวิทยา” กัน ว่าอย่างนั้นเถอะ

พระพุทธเจ้าทรงเป็นยอดมนุษย์ เปรียบดุจสมบัติล้ำค่าของโลก เมื่อไปอยู่ ณ อาณาจักรใด อาณาจักรนั้นย่อมเจริญรุ่งเรือง ชื่อเสียงขจรขยายไปทั่ว และอาณาจักรนั้นก็ร่มเย็นด้วยร่มเงาแห่งพุทธธรรม





พระเจ้าปเสนทิโกศล (ตอนที่ ๒)

ในช่วงแรกๆ หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประกาศพระพุทธศาสนาที่แคว้นมคธ ประทับอยู่ที่แคว้นนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายความอุปถัมภ์ พูดอย่างสามัญก็ว่า พระเจ้าพิมพิสารทรง “ได้หน้า” ที่มีพระบรมศาสดาเอกของโลกเป็น “สมบัติ” หรือเป็น “อาภรณ์” ประดับเมือง

พระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมจะทรงคิดบ้างล่ะว่า ทำไมจะต้องเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ทำไมไม่เป็นเราบ้าง อะไรทำนองนี้

เมื่อคิดเช่นนั้น จึงหาทาง “ดึง” พระพุทธเจ้าไปที่แคว้นของตนและประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าบ้าง เพื่อไม่ให้น้อยหน้าพระเจ้าพิมพิสาร และในที่สุดพระองค์ก็ทำสำเร็จ

ไม่มีที่ไหนบอกไว้ชัดแจ้งดอกครับ แต่ถ้าโยงกับเหตุการณ์ที่สุทัตตคหบดี (อนาถบิณฑิกเศรษฐี) ไปอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าไปที่เมืองสาวัตถี เรื่องราวก็จะ “สอดรับ” กันพอดี

สุทัตตะอาจได้รับนโยบายจากพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้ ใครจะไปรู้

เพราะฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประจำอยู่ที่เมืองสาวัตถีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระสงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ

คงจะภูมิใจลึกๆ ว่า แว่นแคว้นของพระองค์ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเป็นศักดิ์เป็นศรี มิได้น้อยหน้าพระเจ้าพิมพิสารแต่ประการใด

ดูเหมือนว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เป็นพระโสดาบัน ปุถุชนย่อมอดที่จะคิดยื้อแย่งแข่งดีกันทำนองนี้ โดยไม่ต้องสงสัย อ่านตำราแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลคิดจะเอาชนะพระเจ้าพิมพิสารมากกว่านั้น นั่นคือคิดอยากจะเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า แทนที่จะเป็นญาติทางธรรมเพียงอย่างเดียว

เพราะความคิดนี้เองที่เป็นสาเหตุให้ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ในเวลาไม่นาน

ได้ทิ้งท้ายตอนที่แล้วไว้ว่า  จะเล่าเรื่องศากยวงศ์หลังจากที่ถูกวิฑูฑภะทำลายล้าง  ก็เห็นจะต้องเล่าตามสัญญาละครับ  เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะยกทัพมาทำลายล้างศากยวงศ์ เพื่อชำระความแค้นแต่ปางหลัง ได้รับสั่งว่า ยกเว้นแต่ผู้ที่อยู่กับพระเจ้าตาของข้าเท่านั้น นอกนั้นฆ่าให้หมด เลือดให้นองพื้นปฐพีในคราวนั้น

คัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเล่าไว้ว่า พระเจ้ามหานามทรงเศร้าสลดพระทัยที่พระญาติวงศ์ถูกฆ่าตายเป็นเบือ จึงไปกระโดดน้ำตาย บังเอิญลงไปยังนาคพิภพ พญานาคเจ้าแห่งนาคพิภพได้รับไปอยู่ด้วย ดูแลอย่างดีเสมือนญาติโกโหติกาว่าอย่างนั้น

ตอนสมัยที่ผมเป็นเณรน้อย แปลบาลี ถึงตรงนี้ก็นึกวาดภาพ “นาคพิภพ” ที่อยู่ใต้ทะเลลึก และสงสัยครามครันว่า พระเจ้ามหานามไม่ใจขาดตายหรือไปอยู่ใต้น้ำอย่างนั้น

มาบัดนี้เณรน้อยคือผมนั้น ได้เติบโตมาแล้ว ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น ความสงสัยนั้นหายไปแล้วครับ เพราะเข้าใจใหม่ว่า “นาค” ที่ว่านี้คือมนุษย์เผ่านาคา ซึ่งมีอยู่มากในชมพูทวีปสมัยโน้น

พระเจ้ามหานามคงหนีไปอาศัยอยู่กับเผ่านาคาที่ว่านี้แล

เข้าใจว่า นอกจากพระเจ้ามหานามกับบรรดาบริษัทบริวารแล้ว คงมีอีกหลายคนทีเดียวที่หนีเล็ดลอดออกไปได้ อย่างน้อยก็บรรพบุรุษของจันทรคุปต์ จันทรคุปต์เป็นโจรชิงราชสมบัติ ได้ซ่องสุมพลพรรคจำนวนมาก บุกเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตรหลายครั้ง ในช่วงนั้นเมืองปาตลีบุตรอยู่ในครอบครองของกษัตริย์วงศ์นันทะ (พระนามลงท้ายด้วยนันทะหมดทุกองค์) จันทรคุปต์บุกเข้าตีทีไรก็พ่ายแพ้มาทุกที

ครั้งล่าสุดถูกโต้กลับพ่ายยับเยิน  แถมถูกตามล่าด้วย จันทรคุปต์หนีกระเจิดกระเจิงผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงแม่ดุลูกสาวว่า “อีหน้าโง่ มึงนี่โง่เหมือนโจรจันทรคุปต์ จะตีเมืองทั้งที เสือกยกเข้าตีใจกลางกรุง แทนที่จะตีมาแต่รอบนอกแบบป่าล้อมเมือง มึงก็เหมือนกิน จะกินขนมเบื้องทั้งๆ ที่ร้อน มึงต้องค่อยๆ แทะจากขอบมาซีวะ”

แม่เห็นลูกสาวกัดขนมกร้วมตรงกลาง และวางด้วยความร้อน จึงด่ากระทบกระเทียบจันทรคุปต์ หารู้ไม่ว่าผู้ถูกด่ายืนแอบฟังอยู่ในมุมมืดใกล้บ้าน จันทรคุปต์จึงได้คิด จึงคิดพยายามจะโจมตีปาตลีบุตรอีกครั้ง

ในช่วงนั้นอเล็กเซนเดอร์มหาราช บุกมาจากกรีกเข้ามายังประเทศอินเดีย จันทรคุปต์ทราบข่าว จึงไปเจรจาขอกำลังช่วยตีเมืองปาตลีบุตร แต่เจรจากันอีท่าไหนไม่ทราบ ทั้งสองทะเลาะกันรุนแรง (สงสัยกษัตริย์กรีกดูหมิ่นเอาก็ไม่รู้ จันทรคุปต์จึงไม่ยอม) ในที่สุดจันทรคุปต์ถูกจับขัง แต่หนีรอดออกมาได้ พร้อมที่ปรึกษาคู่ใจ นามว่า จาณักยะ

บังเอิญช่วงนั้นเหล่าทหารของอเล็กซานเดอร์ขัดขืนเจ้านาย ไม่ยอมยกทัพต่อไป เพราะมาไกลมากจนเมื่อยล้า อเล็กซานเดอร์จำต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทางจันทรคุปต์ได้ทีก็โจมตีเมืองเล็กเมืองน้อยที่เคยอยู่ในครอบครองของอเล็กซานเดอร์ได้แล้ว ก็ยาตราทัพเข้าบุกเมืองปาตลีบุตร คราวนี้ประสบความสำเร็จ ได้ประกาศสถาปนาตนเป็นกษัตริย์ ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ว่า ราชวงศ์โมริยะ (หรือเมารยะ) จันทรคุปต์นี้เองที่อ้างตนว่ามีเชื้อสายศากยะสืบเนื่องมาแต่พวกที่หนีภัยสงคราม “ล้างโคตร” คราวโน้น

ถ้าเช่นนั้น จันทรคุปต์ก็เป็นลูกหลานพระพุทธเจ้า

ในรัชกาลของพระเจ้าจันทรคุปต์ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับกรีก เพราะรบกันไม่มีใครแพ้ชนะ จึงแลกเปลี่ยนทูตกัน ผู้คนชาวกรีกก็มาอาศัยอยู่ทีเมืองปาตลีบุตร  ชาวปาตลีบุตรก็ไปอยู่ที่กรีก ว่ากันว่าพระมเหสีองค์หนึ่งพระเจ้าจันทรคุปต์เป็นเจ้าหญิงกรีก


และว่ากันอีกแหละว่า จากพระมเหสีพระองค์นี้ก็กำเนิด พินทุสาร พินทุสารขึ้นครองราชย์ มีพระราชโอรสพระนามว่า อโศก  

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง พระเจ้าอโศกก็มีสายเลือดกรีก และเป็นลูกหลานพระพุทธเจ้า นักประวัติศาสตร์บางคนโยงกันถึงปานนี้แหละครับ กระทั่งท่านเนห์รูเองก็ยังตั้งข้อสันนิษฐานว่า ที่พระพุทธศาสนาไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากชาวอินเดีย ก็เพราะเขาถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สถาปนาขึ้นโดยคนนอก (พระพุทธเจ้า มิใช่อารยันแท้) และอุปถัมภ์โดยคนนอก (พระเจ้าอโศก มิใช่เชื้อสายอารยันแท้ เช่นกัน)

ข้อความนี้คลับคล้ายคลับคลาว่าผมได้อ่านที่ไหน ถ้าจำผิดต้องขออภัยด้วยนะครับ

นี่แลคือ “เกร็ดประวัติศาสตร์” ที่นำมาเล่าให้ฟัง ฟังแล้วจะเชื่อหรือไม่ ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคลครับ.


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระเจ้าปเสนทิโกศล หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก





๔๒. จิตตคหบดี
อุบาสกนักเทศน์

พระพุทธศาสนาเน้นความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ระดับโลกๆ อันเรียกว่า “สุตะ” หรือความรู้ทางธรรมอันเรียกว่า “ญาณ” ก็ตาม  สุตะนั้น ถ้าใครมีมากๆ ก็เรียกคนนั้นว่า พหูสูต  หมายถึง การจำได้ ท่องได้ แสดงได้อย่างเชี่ยวชาญ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ผู้คงแก่เรียน” นั่นเอง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า  การจะมีความรู้ระดับคงแก่เรียนที่สมบูรณ์ จะต้องฝึกฝนตนให้ครบ ๕ ขั้นตอน คือ
๑. ฟังมาก   พยายามฟัง อ่าน ศึกษาเล่าเรียน รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด ในยุคที่มีมากมายนี้ สื่อต่างๆ จะเป็นแหล่งให้เราได้ศึกษาค้นคว้า จนมีความรู้หลากหลายที่สุด
๒. จำได้ พยายามจดสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญให้ได้มาก และแม่นยำที่สุด เมื่อต้องการใช้ก็เรียกใช้ได้ทันที ไม่ต้องนึกหรือไม่ต้องเที่ยวไปเปิดตำราอีกให้เสียเวลา
๓. คล่องปาก ประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญที่จดจำไว้ จะต้องท่องให้คล่องปาก ไม่ผิดเพี้ยน ดังหนึ่งท่องบทสวดมนต์หรือบทอาขยานอย่างนั้นแหละ
๔. เจนใจ นึกภาพในใจจนกระจ่าง เห็นชัดเจน แล้วบรรยายออกมา ดุจดังบรรยายภาพที่มองเห็นในจอทีวี ฉะนั้น
๕. ประยุกต์ใช้ได้ ท่องได้จำได้เจนใจแล้ว ถ้าหากนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ไม่เป็น ก็ไม่นับว่าเป็นผู้รู้จริง คำว่าประยุกต์ใช้ได้ หมายถึงย่อยแก่นออกมาแล้ว สร้างแนวคิดใหม่ๆ อันสืบเนื่องมาจากที่ท่องได้ จำได้ เจนใจนั้นเอง

ความเป็นผู้คงแก่เรียนนี้เป็นความรู้ระดับโลกิยะก็จริง แต่ก็เป็นเครื่องช่วยให้การปฏิบัติตามหลักพระศาสนาเป็นผลดี เพราะเท่ากับแผนที่ชี้บอกผู้เดินว่าไปทางไหน อย่างไร จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง

การปฏิบัติโดยไม่มีความรอบรู้ทางทฤษฎีเป็นเครื่องตรวจสอบ อาจไขว้เขวผิดทางได้ง่าย

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าสรรเสริญผู้คงแก่เรียนว่า มีอุปการะสำคัญต่อการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา ดังทรงยกย่องพระอานนท์ว่าเป็น พหูสูต ทรงยกย่องพระราหุลว่า เป็นผู้ใคร่การศึกษา  ทรงยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร และพระเขมาเถรี ว่า เป็นยอดพระธรรมกถึก

ฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ทรงยกย่องนางขุชชุตตรา สาวใช้ร่างค่อมของนางสามาวดี และจิตตคหบดี ว่าเป็นธรรมกถึก เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมามาก และมีความสามารถในการเทศน์สอนคนอื่น

กล่าวเฉพาะจิตตคหบดีนี้ ท่านเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ตอนท่านเกิดนั้น ว่ากันว่ามีปรากฏการณ์ประหลาด คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมืองซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร (สันสกฤต เขียน จิตร) ซึ่งแปลว่ากุมารผู้น่าพิศวง หรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม  บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็นเศรษฐีแทนบิดา  ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี

ก่อนที่จะได้มานับถือพระพุทธศาสนานั้น ท่านมีโอกาสพบพระเถระนามว่า มหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวน ชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ

พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ  วันหนึ่ง ได้แสดงเรื่อง อายตนะ ๖ (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนาจิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล

จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี  ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา  ท่านเคยโต้วาทะกับบุคคลสำคัญของศาสนาอื่นมาแล้วหลายท่าน

จิตตคหบดีท่านเป็นผู้มีใจบุญ ได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็เคยมี เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง ๕๐๐ เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์

ครั้งหนึ่งท่านป่วยหนัก เทวดามาปรากฏให้เห็น กล่าวกับท่านว่า คนมีบุญอย่างท่านนี้ แม้ปรารถนาราชสมบัติหลังตายแล้วก็ย่อมได้ไม่ยาก  ท่านตอบเทวดาว่า ถึงราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ บรรดาลูกหลานที่เฝ้าไข้อยู่ นึกว่าท่านเพ้อจึงกล่าวเตือนว่า “กรุณาทำใจดีๆ อย่าได้เพ้อเลย”   ท่านบอกบุตรหลานว่า มิได้เพ้อ เทวดามาบอกให้ปรารถนาราชสมบัติ แต่ท่านได้บอกเทวดาว่าไม่ต้องการ เพราะสิ่งนั้นไม่จีรัง ยังมีสิ่งอื่นที่ดีว่า น่าปรารถนากว่า  เมื่อถูกถามว่าคืออะไร ท่านกล่าวว่าสิ่งนั้นคือ ศรัทธาอันแน่วแน่มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

อัมพาฏการามนั้นเป็น “วัด” ที่ท่านสร้างถวายพระมหามานะ นิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำ  แต่พระเถระพักอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก็จาริกไปยังที่อื่น  พระเถระอื่นๆ เช่น พระอิสิทัตตเถระ พระโคทัตตเถระ พระกามภูเถระ พระอรหันต์เตี้ย นามว่า ลกุณฏกภัททิยเถระ ที่พระเณรอื่นนึกว่าเป็นเณรน้อย ก็มาพักอยู่เสมอ เพราะเป็นสถานที่สงบสงัด แต่ท่านเหล่านั้นก็มิได้อยู่ประจำนานๆ เพราะท่านไม่ติดที่อยู่

ต่อมามี่พระรูปหนึ่ง นามว่า สุธัมมเถระ มาพำนักอยู่เป็นประจำเป็นเวลานาน นานจนกระทั่งนึกว่าตัวท่านเป็น “สมภาร”  จิตตคหบดีก็อุปถัมภ์บำรุงท่านเป็นอย่างดี พระสุธรรมยังเป็นปุถุชน จิตตคหบดีเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามี ขึ้นไปอีกขั้นก็เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พระอนาคามีที่ถือเพศฆราวาส ก็ยังแสดงความเคารพ กราบไหว้พระภิกษุปุถุชน เพราะถือว่าเพศบรรพชิตเป็น “ธงชัยแห่งพระอรหันต์”

วันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ) เดินทางผ่านมา ท่านจิตตคหบดีนิมนต์ให้พระอัครสาวกทั้งสองพำนักอยู่ที่อัมพาฏการามพร้อมนิมนต์เพื่อฉันอาหารที่บ้านท่านในวันรุ่งขึ้น แล้วท่านก็ไปนิมนต์พระสุธรรมไปฉันด้วย  พระสุธรรมถือตัวว่าเป็น “เจ้าอาวาส” (ไม่รู้ว่าใครแต่งตั้ง) ถือตัวว่าเป็นผู้ที่คหบดีอุปถัมภ์ทำนองเป็นโยมอุปฐาก พอเห็นโยมอุปฐากของตนให้ความสำคัญแก่พระอัครสาวกมากกว่าตน ถึงกับนิมนต์ไปฉันภายหลัง (น่าจะนิมนต์ตนก่อน ว่าอย่างนั้นเถอะ) จึงไม่ยอมรับนิมนต์  แม้ท่านคหบดีที่อ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมรับ   ไม่รับก็ไม่เป็นไร ท่านจิตตคหบดีก็สั่งให้ตระเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายพระอัครสาวก

ในวันรุ่งขึ้น พระสุธรรมก็เดินไปในคฤหาสน์อย่างคนคุ้นเคย ดูนั่นดูนี่แล้วก็เปรยว่า “อาหารที่ท่านเตรียมถวายพระพรุ่งนี้ดีทุกอย่าง แต่ขาดอยู่อย่างเดียวที่ไม่ได้เตรียมถวาย”   จิตตคหบดีถามว่า “ขาดอะไร พระคุณเจ้า”  “ขนมแดกงา” เสียงดังฟังชัด

ว่ากันว่าขนมแดกงา เป็นคำที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับตระกูลของท่านคหบดี จะมีนัยสำคัญอย่างไร ตำราไม่ได้บอกไว้ คงทำนองเป็น “ปมด้อย” หรือ “ปมเขื่อง” ของตระกูลก็ได้  เช่น ตระกูลบางตระกูล บรรพบุรุษเป็นกุลีมาก่อน แต่ภายหลังได้เป็นเศรษฐี ความลับของตระกูลนี้ คนในตระกูลจะไม่เปิดเผยให้ใครทราบ  ถ้าเผื่อใครยกเอามาพูดในทำนองดูหมิ่นก็จะโกรธทันที อะไรทำนองนั้น

เรื่องขนมาแดกงานี้ก็คงทำนองเดียวกัน พอพระพูดจบ ท่านคหบดีก็ฉุนว่าเอาแรงๆ เพื่อให้สำนึก  พระสุธรรมไม่สำนึก แต่โกรธตอบ หนีจากวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตำหนิแรงๆ และมีพุทธบัญชาให้กลับไปขอโทษจิตตคหบดี

ท่านไปขอโทษคหบดี คหบดีไม่ยอมยกโทษให้  ท่านกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอีก  คราวนี้พระองค์ทรงให้ภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็น “อนุทูต” พาพระสุธรรมไปเพื่อขอขมาคหบดี  ก่อนส่งไป พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เธอบรรลุพระอรหัต  หลังทรงแสดงธรรมจบพร้อมกับพระอนุทูตเดินทางไปขอขมาจิตตคหบดี

คราวนี้ท่านคหบดียกโทษให้ พร้อมกล่าวว่า หากโทษของกระผมมี ขอพระคุณเจ้าจงยกโทษให้กระผมด้วย  พระสุธรรมซึ่งตอนนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ยกโทษให้แก่จิตตคหบดีเช่นกัน

จิตตคหบดีคงจะมีปฏิภาณเฉียบแหลม และมีความสามารถในการแสดงธรรมมาก จึงได้รับการยกย่องให้เอตทัคคะว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางเป็นธรรมกถึก  ในพระคัมภีร์มิได้บันทึกเทศนาของท่านไว้ แต่บันทึกเหตุการณ์โต้วาทีกับบุคคลสำคัญของลัทธิอื่น แสดงว่าท่านต้องเก่งจริงๆ จึงสามารถโต้กับบุคคลเหล่านั้นได้  บุคคลเหล่านี้ที่ว่านี้คือ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร และอเจลกนามกัสสปะ ท่านแรกเป็นถึงศาสดาของศาสนาเชน (ศาสนาพระแก้ผ้า) ท่านที่สองเป็นนักบวชชีเปลือยเหมือนกันที่เก่งมาก เพราะปรากฏว่าเคยสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าด้วย

เมื่อศึกษาประวัติของท่านจิตตคหบดีแล้ว ได้ความคิดว่า พระพุทธศาสนาก็เป็นของพวกเราชาวบ้านเหมือนกัน  พวกคฤหัสถ์หัวดำเช่นเราท่านทั้งหลาย ควรศึกษาพระพุทธวจนะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จนสามารถสื่อสารแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้เมื่อถึงคราวที่จำเป็น เราจะได้มีโอกาสปกป้องพระศาสนาของเราได้ โดยไม่ต้องไปวานให้ใครมาช่วยทำแทน... น่าภูมิใจออก


ข้อมูล : บทความพิเศษ จิตตคหบดี : อุบาสกนักเทศน์ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2556 13:19:54 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2556 13:26:37 »

.


๔๓. พระจ้าอชาตศัตรู
พระราชา เสือสำนึกบาป (๑)

เล่าถึงประวัติกษัตริย์ที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาแล้ว ไม่เอ่ยถึง อชาตศัตรู ก็ดูกระไรอยู่ เมื่อครั้งร่างหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับชั้นมัธยมฯ มีหัวข้อหนึ่ง คือ สาวก สาวิกาตัวอย่าง ได้ยกพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้หนึ่งในจำนวนนั้น บางท่านท้วงว่าไม่ควรนำมาใส่ เพราะอชาตศัตรูทำปิตุฆาต  แต่ก็มีหลายท่าน ให้เหตุผลว่าให้พูดในประเด็นอื่นที่เป็นอุปการคุณพระพุทธศาสนา ในแง่ที่ปิตุฆาตนั้นก็อาจพูดได้ เพื่อชี้ให้เด็กเห็นว่าไม่ควรเอาอย่าง  แต่ในแง่ดีของพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นสิ่งที่ไม่น่าละเลย ควรนำมาเน้นย้ำให้ถือเอาเป็นตัวอย่าง  

ผมก็เห็นด้วย เพราะคนเราถ้ากระทำผิดแล้วสำนึกตนว่าผิด พยายามแก้ไขปรับปรุงตน ก็ย่อมเป็นประเภท “ต้นคดปลายตรง” น่าสรรเสริญอย่างยิ่ง  พระองคุลมาลก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นเดียวกัน

คงทราบกันบ้างแล้วว่า สาเหตุที่อชาตศัตรูฆ่าพ่อ เพราะได้มิตรชั่ว คือ พระเทวทัตชักจูง เทวทัตเอง แรกเริ่มเดิมทีก็ใช่ว่าจะเป็นพระอลัชชี ออกบวชด้วยศรัทธาปสาทะ ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนได้ “โลกิยฤทธิ์” เหาะเหินเดินหาวได้ หายตัวได้ แสดงว่าเล่นกสิณจนช่ำชอง จะว่าญาติโยมเป็นเหตุด้วยหรือเปล่าไม่ทราบนะครับ ญาติโยมเวลาไปวัดมักถามหาพระรูปอื่น น้อยรายจะถามหาพระเทวทัต

พระคุณเจ้าจึงน้อยใจว่าเราเป็นถึงเจ้าชายออกบวชไม่ได้กระจอกอะไรนักหนา ทำไมโยมจึงถามหาแต่พระรูปอื่น ไม่มีใครให้ความสำคัญเราบ้าง  เพราะจุดน้อยใจนี้เอง ทำให้พระเทวทัตเธอหาทางสร้างจุดเด่นให้แก่ตัวเอง  

นึกถึงยุวราชแห่งเมืองราชคฤห์ บริสุทธิ์ไร้เดียงสา เทวทัตจึงไปสำแดงฤทธิ์ให้เห็น อชาตศัตรูทรงเลื่อมใสว่าท่านเก่ง จึงมอบตนเป็นศิษย์ คอยอุปถัมภ์บำรุง ตอนนี้พระเทวทัตจึงเดินกร่างในฐานะเป็นพระอาจารย์เจ้าชายแห่งเมืองราชคฤห์

วันดีคืนดีก็ยุให้เจ้าชายจับพระราชบิดาขังคุก ให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์  

เหตุการณ์โดยละเอียดเกี่ยวกับฉากนี้เป็นอย่างไร อย่าให้ผมต้องเล่าเลยครับ เพราะเล่าไปน้ำตาผมจะร่วงเปียกต้นฉบับเปล่าๆ ด้วยความสงสารพระเจ้าพิมพิสาร

เอาเป็นว่าในที่สุด พระเจ้าพิมพิสารก็สิ้นพระชนม์ในวินาเดียวกับที่พระโอรสน้อยของพระเจ้าอชาตศัตรูออกมาดูโลก  หลังจากนั้น พระนางเวเทหิเทวีพระราชมารดา ก็ตรอมพระทัยสิ้นพระชนม์ไปอีกองค์

พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเชษฐาธิราชของพระนางเวเทหิ รู้ว่าพระกนิษฐาของพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะลูกอกตัญญู จึงทรงพิโรธมาก ทรงยกทัพมาจับอชาตศัตรูสั่งสอน แต่ก็มิได้ปลงพระชนม์ เพราะถือเป็นพระเจ้าหลาน  กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ พอขัดเคืองกันก็รบกันเรื่อย ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ว่ากันอย่างนั้น  

อชาตศัตรูหลังจากทำปิตุฆาตพระบิดาแล้ว ก็บรรทมไม่ค่อยหลับ ทรงฝันร้ายตลอด  คืนวันหนึ่งพระจันทร์เพ็ญแจ่มกระจ่างบนท้องฟ้า พระเจ้าอชาตศัตรูประทับท่ามกลางเหล่าเสนามาตย์ ตรัสถามว่า คืนวันพระจันทร์เพ็ญอย่างนี้ ข้าควรจะไปสนทนาธรรมกับสมณะท่านใดดี เพื่อให้สบายใจ  เหล่าเสนามาตย์ต่างก็กราบทูลเสนอให้ไปปรึกษาสมณะสำนักปูรณกัสสปะบ้าง อชิตเกสกัมพลบ้าง ฯลฯ พระราชาก็ทรงสงบนิ่งอยู่

เมื่อทอดพระเนตรเห็นหมอชีวกโกมารภัจจ์นั่งเงียบเฉยไม่เสนออะไร จึงตรัสถามว่า “ชีวก เธอไม่มีความคิดเห็นอะไรหรือ

หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลว่า “ขณะนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของข้าพเจ้าพระพุทธเจ้าข้า”
“พาข้าไปเฝ้าพระองค์ได้ไหม ชีวก”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า“ หมอชีวกทูลรับ ...  (มีต่อ)


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระจ้าอชาตศัตรู : พระราชา “เสือสำนึกบาป (๑) หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

พระจ้าอชาตศัตรู พระราชา เสือสำนึกบาป (จบ)

แล้วหมอชีวกโกมารภัจจ์นำเสด็จอชาตศัตรูไปสวนมะม่วงของตนเพียงลำพังเพื่อเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  บรรยากาศเงียบสงบ ท่ามกลางแสงจันทร์สลัวๆ เมื่อมองไปไม่เห็นอะไร พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงนึกว่าถูกหลอกมาฆ่า จึงทรงจับแขนหมอชีวกกระชาก รับสั่งว่า “ชีวก” เจ้าลวงข้ามาทำร้ายหรือ”

หมอชีวกกราบทูลเบาๆ ว่า “จุ๊ๆ อย่าเอ็ดไป พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทอดพระเนตรดูโน่น” ว่าแล้วก็ชี้มือไปข้างหน้า

พระราชาหนุ่มมองผ่านแสงจันทร์สลัวๆ ออกไปตามที่มือชี้ ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ และแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  บรรยากาศเงียบสงบ ไม่มีแม้แต่เสียงกระแอมกระไอ

พระราชาหนุ่มทรงมีพระโลมชาติชูชันด้วยความอัศจรรย์ใจ ทรงสัมผัสบรรยากาศอันสงบอย่างประหลาด ทรงเข้าไปถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา คำแรกที่หลุดจากพระโอษฐ์ก็คือ “ขอให้อุภัยภัททะของลูกข้า จงมีความสงบอย่างนี้เถิด”  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงขอขมาต่อพระพุทธองค์ ที่ทรงหลงผิดถึงกับทำกรรมหนัก พระพุทธองค์ก็ทรงปลอบให้หายกังวลพระทัย แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า “สามัญญผลสูตร” ให้พระเจ้าอชาตศัตรูฟัง

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา พระเจ้ากรุงราชคฤห์แทนที่จะได้บรรลุมรรคผล แต่ก็ไม่บรรลุ เพราะ “ขุดรากถอนโคนตนเอง” แล้ว แต่ก็ได้ประกาศตนถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดพระชนม์ชีพ

จากนั้นพระองค์ก็ทรงทำประทักษิณ (เดินเวียนขวา) รอบพระพุทธองค์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินถอยหลังไปจนละคลองแห่งจักษุ (จนกระทั่งมองไม่เห็น) แล้วจึงผินพระปฤษฎางค์ให้พระพุทธองค์

เป็นการแสดงความเคารพในพระพุทธองค์อย่างสุดซึ้ง

ว่ากันว่าหลังจากนั้นพระเจ้าอชาตศัตรู ก็ทรงบรรทมหลับสนิท ไม่มีฝันร้ายอีกต่อไป พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ ทำนอง “ไถ่บาป” แต่หนหลัง

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประมุข ประชุมกันกระทำสังคายนาพระธรรมวินัย ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงเขาเวภารบรรพต พระเจ้าอชาตศัตรูได้ถวายอุปถัมภ์ถวายอารักขาและอำนวยความสะดวกแก่คณะสงฆ์ทุกประการ จนกระทั่งสังคายนาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ชีวิตของพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นชีวิตแบบ ต้นคดปลายตรง ให้สติแก่คนจำนวนมากที่อาจกำลังถลำลงสู่เหวหายนะ (เช่น ติดอบายมุข) ให้กลับเนื้อกลับตัว

เมื่อคิดจะกลับตัวย่อมไม่มีคำว่าสายครับ ดูพระเจ้าอชาตศัตรูทำผิดมหันต์ก็ยังไม่ซ้ำเติมตัวเอง กลับหันเข้าหาพระธรรมในบั้นปลายชีวิต ฉะนี้แล....


ข้อมูล : บทความพิเศษ พระจ้าอชาตศัตรู : พระราชา “เสือสำนึกบาป (จบ) หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก



๔๔. เมนานเดอร์
กษัตริย์กรีกผู้นับถือพระพุทธศาสนา  

เมื่อพูดถึงพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็น่าจะพูดถึงลูกหลานอเล็กซานเดอร์บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะพูดถึงนี้เป็นปราชญ์เมธีซึ่งต่อมากลายเป็นพุทธมามกะด้วย ก็ยิ่งน่าสนใจ

ชาวพุทธอาจนึกไม่ออกว่า เมนานเดอร์คือใคร

ท่านผู้นี้ก็คือมิลินทะ หรือพระยามิลินท์ที่คุ้นหูนั่นเอง  พระนามของพระองค์ท่านคือ เมนานเดอร์ บาลีถอดออกมาเป็นภาษาแขกน่ารังเกียจว่า “มิลินฺโทราชา”  ดุจเดียวกับอเล็กซานเดอร์มหาราชถอดว่า “อลิกสุนฺ ทโร มหาราชา” ฉะนั้นแล

เอ๊ะ ว่าแต่ว่า อลิก มันแปลว่า “เหลาะแหละ, ไม่แน่นอน, เหลวไหล” มิใช่หรือ  อลิกสุนฺทโร ก็ต้องแปลว่า คนดีที่เหลวไหล เสียหายหมด…ช่างเถอะครับ มาพูดถึงพระยามิลินท์ดีกว่า

ท่านผู้นี้มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ พ.ศ. ๔๐๐ กว่าๆ ประมาณนั้น แต่นักปราชญ์ฝรั่งนับระยะเวลาก่อนหน้านั้น คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔ พ.ศ. ๓๐๐ กว่าๆ หลังสมัยพระเจ้าอโศก

หลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพกลับจากอินเดีย และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง อาณาจักรต่างๆ ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชตีได้ คือ อาณาจักร “สิเรีย” และอาณาจักร “บากเตรีย” แยกกันปกครอง อาณาจักรสิเรียอยู่ตอนเหนือของประเทศอาหรับในปัจจุบัน อาณาจักรบากเตรียอยู่เหนือประเทศอินเดีย แต่ในที่สุดอาณาจักรบากเตรียตกอยู่ในปกครองของอาณาจักรสิเรียมาเป็นเวลานาน

จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๘๗ ข้าหลวงผู้ปกครองบากเตรีย นามว่า ดิโอโดตัส ประกาศปลดแอกสิเรีย สถาปนาเป็นรัฐอิสระขึ้น จากนั้นก็มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อมา มีดิโอโดตัสที่สอง ยุไธเดมัส ดิมิตริอุส ยูเครติเดส เฮลีโอเครส ตามลำดับ

ใครเป็นใคร ถ้าอยากทราบรายละเอียดก็หาประวัติศาสตร์มาอ่านเอาครับ ผมไม่แม่นประวัติศาสตร์ จึงไม่กล้าพูดมาก กลัวผิด

ว่ากันว่าในราว พ.ศ. ๓๘๒ พระราชากรีกพระองค์หนึ่งก็ปรากฏพระเกียรติคุณก้องฟ้าก้องแผ่นดินขึ้น พระนามของพระองค์คือ เมนานเดอร์  นัยว่า เมนานเดอร์มิใช่เชื้อสายของพระเจ้ายูเครติเดส หากเป็นกรีกที่มาล้างราชวงศ์ยูเครติเดส สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ปกครอง พระองค์ได้ขยายอาณาจักรมาถึงตอนบนของลุ่มแม่น้ำคงคา  เดิมมิได้นับถือพระพุทธศาสนา ตรงข้ามกลับเป็นปฏิปักษ์ คอยรุกรานพระสงฆ์องค์เจ้าเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากพระองค์เป็นนักปรัชญา มีความรู้มากมายจึงท้าโต้วาทะกับนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย ตลอดถึงพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งปวง

ปรากฏว่า ไม่มีใครหาญสู้พระองค์ได้ ทำให้ทรงหยิ่งผยองในความรู้ความสามารถของตนมากยิ่งขึ้น  

จะไม่ให้คิดว่าตัวเองแน่อย่างไรไหว ก็ไม่มีใครกล้าต่อกรเลยนี่ครับ สมณพราหมณ์ที่ไหนว่าแน่ๆ พอโต้กับพระยามิลินท์แล้ว เป็น “ตกม้าตาย” ทุกราย

วงการพระพุทธศาสนาเดือดร้อนมาก เพราะไม่สามารถหาผู้ที่จะมาโต้ตอบกับพระยามิลินท์ได้  จนกระทั่งพระสงฆ์ต้องประชุมกันคัดสรรบุคคลมากอบกู้เกียรติคุณพระพุทธศาสนา

พระสงฆ์ได้ส่งพระเถระรูปหนึ่งให้ไปหาทางนำเด็กหนุ่ม นามว่า นาคเสนมาบวช ให้การศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จนเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและวิปัสสนากรรมฐาน ระยะเวลาที่นาคเสนศึกษาและปฏิบัติอยู่คงไม่นานนัก เพราะพื้นเพเดิมเป็นผู้จบไตรเพท เฉลียวฉลาดอยู่ก่อนแล้ว  

พระนาคเสน ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้ทำหน้าที่กอบกู้เกียรติคุณพระพุทธศาสนา จากการดูถูกดูหมิ่นของพระราชาเดียรถีย์ผู้ประกาศชัดเจนว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาไม่มีอะไร บาป บุญ นรก สวรรค์ นิพพานที่สอนๆ กันนั้นมิได้มีจริง พระสงฆ์เองก็ล้วนแต่คนโง่ๆ เถียงสู้ตนก็ไม่ได้

   และแล้วการโต้วาทะครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้น

พระยามิลินท์ทรงดีพระทัยมากที่มี “เหยื่อ” มาให้มีดโกนอาบน้ำผึ้งเฉือนอีกราย หลังจากว่างเว้นมาเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี ว่ากันอย่างนั้น แต่เมื่อประจันหน้ากันจริงๆ พระยามิลินท์ที่ว่าแน่ๆ ก็ชักจะหวั่นๆ เพราะบุคลิกท่าทางของพระหนุ่มนามว่านาคเสนมิบันเบาเสียแล้ว

พระยามิลินท์เอ่ยขึ้นก่อนว่า “วันนี้โยมอยากถามปัญหากับพระคุณเจ้า”
“ถามเถิด อาตมาภาพยินดีตอบ” พระหนุ่มตอบ
“โยมถามแล้วล่ะ ขอรับ” พระราชาตรัสยิ้มๆ
“อาตมาภาพก็ถวายวิสัชนาแล้ว” คำตอบจากพระหนุ่มทันกันจริงๆ ครับ
“วิสัชนาว่าอย่างไร” พระราชาตรัสต่อ
“มหาบพิตรตรัสถามว่าอะไรล่ะ” พระหนุ่มถาม
บ๊ะ ชักมันเสียแล้ว พระยามิลินท์ถามต่อไปว่า
“พระคุณเจ้ามีนามว่ากระไร”
“เพื่อนพรหมจรรย์ (คือเพื่อนพระด้วยกัน) เรียกอาตมาภาพว่า “นาคเสน บิดา มารดา เรียกอาตมาภาพว่า สีหเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สุรเสนบ้าง” ภิกษุหนุ่มตอบ
“ที่ว่านาคเสน อะไรคือนาคเสน ผมหรือคือนาคเสน” พระราชารุก
 “หามิได้ มหาบพิตร” ภิกษุหนุ่มตอบ
“ขนหรือคือนาคเสน”
“หามิได้ มหาบพิตร
“เล็บ ขน หนัง ตา หู จมูก ลิ้น ตับ ไต ไส้ พุง ฯลฯ หรือ”
“หามิได้ มหาบพิตร”
“ร่างกายทั้งหมดอันประชุมด้วยธาตุสี่ขันธ์ห้านี้หรือ”
“หามิได้ มหาบพิตร”
“ถ้าอย่างนั้น นาคเสนก็มีนอกเหนือจากร่างกายอันประกอบด้วยธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้หรือ”
“หามิได้ มหาบพิตร”
เมื่อมาถึงตรงนี้ พระยามิลินท์ก็หันไปพูดกับประชาชนที่มาประชุมว่า
“ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ท่านได้ยินไหม เมื่อกี้ภิกษุหนุ่มรูปนี้บอกว่าตนเองชื่อนาคเสน ครั้นถามว่า ผม ขน เป็นต้น คือนาคเสนหรือ ก็ตอบว่า มิใช่ ครั้นถามว่า นาคเสนมีนอกเหนือจากร่างกายอันประชุมด้วยธาตุสี่ขันธ์ห้านี้หรือ ก็บอกว่าไม่ใช่อีก ท่านทั้งหลายเห็นหรือยังว่า พระหนุ่มรูปนี้โกหกต่อที่ประชุมนี้ ทีแรกบอกว่ามีนาคเสนต่อมาบอกว่าไม่มี”

พระหนุ่มจึงถามพระราชาว่า “มหาบพิตรเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้อย่างไร”
“นั่งรถมา ขอรับ” พระราชาตอบงงๆ ว่า พระถามทำไม ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังสนทนา
“ที่ว่ารถนั้น อะไรคือรถ ล้อมันหรือ ดุมมันหรือ แอกมันหรือ โครงรถหรือ หลังคาหรือ ฯลฯ”
“หามิได้พระคุณเจ้า”
“รถมีอยู่นอกเหนือจากส่วนประกอบเหล่านี้หรือ” พระหนุ่มซัก
“หามิได้ พระคุณเจ้า” พระราชาตอบ
“ถ้าเช่นนั้นรถอยู่ที่ไหน” พระหนุ่มซักต่อ
พระยามิลินท์อธิบายว่า เพราะอาศัยส่วนประกอบต่างๆ อาทิ ล้อดุม กงกำ ตัวรถ หลังคารถ ฯลฯ ประกอบกันเข้า คำว่า “รถ” จึงมี ถ้าไม่มีส่วนประกอบเหล่านั้นประชุมกัน ก็ไม่มี “รถ” ขอรับ

พระนาคเสนจึงอธิบายว่า ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อวัยวะต่างๆ มีตาหู เป็นต้น มิใช่นาคเสน แต่นาคเสนก็มิได้มีนอกเหนือจากอวัยวะ มีตาหูเป็นต้น เพราะอวัยวะเหล่านั้นประกอบกันเข้า บัญญัติว่า “นาคเสน” จึงมี

พระหนุ่มจึงกล่าวเป็นโศลกว่า
     ยะถา ห อังคะสัมภารา    โหติ สัทโท ระ โถ อิติ
     เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ      โหติ สัตโตติ สัมมะติ

เพราะมีองค์ประกอบทั้งหลาย เสียงเรียกว่า “รถ” จึงมี   เพราะมีขันธ์ทั้งหลายรวมกันอยู่ จึงมีบัญญัติเรียกว่า “สัตว์”

คาถานี้ไม่ต้อง “แปลไทยเป็นไทย” อีก ก็คงพอจะเข้าใจใช่ไหมครับ ที่เราเรียกว่า “รถ” นั้น รถมันไม่มีดอก เพราะมีล้อ มีพวงมาลัย มีคลัตช์ มีเบรก มีโครงรถ มีเครื่องยนต์ เป็นต้น เราจึงเรียกมันว่ารถ

ลองแยกชิ้นส่วนเหล่านั้นออกสิครับ คำว่ารถก็ยังพอมีอยู่บ้าง เช่น ล้อรถ พวงมาลัยรถ เครื่อง
ยนต์รถ  แต่ถ้าแยกชิ้นส่วนเหล่านั้นให้ละเอียด คำว่ารถก็จะหายไป คงเหลือแต่เหล็ก ยาง อะไรอย่างนี้ เป็นต้น

ในกรณีของคนก็เช่นเดียวกัน เพราะร่างกายมีอวัยวะต่างๆ รวมกันอยู่ จึงเรียกว่าคนคน คนนี้ ชื่อ เสถียรพงษ์  วรรษปก แต่ถ้าลองหั่น (สมมติ) โดยมีดของคุณเสริม หรืออดีตรองอธิการฯ ออกเป็นชิ้นๆ คำว่า เสฐียรพงษ์ หายไปแล้ว พอเหลือแต่ “คน” เช่น ขาคน หัวคน แขนคน แต่ถ้าสับให้ละเอียด คำว่า “คน” ก็คงหายไป เหลือแต่ กระดูก (กระดูกหมา หรือ กระดูกคนวะ) “เนื้อ” (หรือเนื้อหมู หรือเนื้ออะไรวะ) อย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น “นาคเสน” จึงเป็นสมมติ ไม่ใช่ของมีอยู่จริง ดุจ “รถ” ไม่มีจริงฉันนั้น

การโต้วาทะครั้งนั้นดำเนินไปด้วยความเคร่งครัด เนื้อหาที่นำมาโต้กันนั้นเป็นความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาทั้งนั้น ทั้งสองท่านใช้วาทะเชือดเฉือนกันมันหยดเลยทีเดียว ปรากฏว่าพระยามิลินท์ยอมแพ้ เพราะว่าพระองค์จะถามเรื่องอะไร พระเถระก็ตอบได้หมด อธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง แถมยังย้อนกลับจนพระยามิลินท์ตั้งตัวไม่ติด

สังเกตพระนาคเสนท่านใช้กลยุทธ์อันชาวยุทธจักรเรียกว่า “ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู” เอาชนะพระยามิลินท์ได้อย่างราบคาบ จนท้าวเธอยกธงขาว และประกาศนับถือพระพุทธศาสนา และถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ในที่สุด

การโต้ตอบกันระหว่างบุคคลผู้ยิ่งใหญ่สองท่าน ได้รับบันทึกในเวลาต่อมาในหนังสืออันเรียกว่า “มิลินทปัญหา” ว่ากันว่า แต่เดิมเป็นฉบับสันสกฤต และต่อมาได้แปลเป็นบาลี ต้นฉบับบาลีมีพิสดารกว่าต้นฉบับสันสกฤต สันนิษฐานกันว่าคงแต่งเติมภายหลัง แต่ทั้งสองฉบับข้อความก็ลงรอยกัน
...
 
ข้อมูล : บทความพิเศษ เมนานเดอร์ : กษัตริย์กรีกผู้นับถือพระพุทธศาสนา หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2557 20:01:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2556 14:15:12 »

.

๔๕. อนาถบิณฑิกเศรษฐี
อุบาสกผู้มีอุปการคุณต่อพระศาสนา (ตอนที่ ๑)  

ผมได้เขียนเรื่องเศรษฐีใจบุญท่านนี้ไว้แล้ว พร้อมที่จะรวมเล่มต่างหาก

แต่เมื่อพูดถึงบทบาทของอุบาสกที่มีอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา ไม่มีชื่อท่านรวมอยู่ด้วยก็ดูกระไรอยู่ จึงขอนำประวัติโดยสังเขปของท่านมาลงไว้ในที่นี้

ผู้ที่ต้องการแบบพิสดาร ขอจงติดตามอ่าน “ชีวิตตัวอย่างชุด ๓ อนาถบิณฑิกเศรษฐีใจบุญ”

เดิมท่านมีนามว่า สุทัตตะ เป็นเศรษฐีใจบุญสร้างโรงทานให้ทานแก่ยาจกและวณิพกทุกวัน หลังจากมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ถวายทานแด่พระสงฆ์เป็นนิตย์

สาเหตุที่มานับถือพระพุทธศาสนา ก็เนื่องมาจาก ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปธุระที่เมืองราชคฤห์ พักอยู่ที่คฤหาสน์น้องเขย เห็นคนในบ้านนั้นสาละวนอยู่กับการเตรียมการ คล้ายอย่างกับจะมีงานเลี้ยงมโหฬาร

สุทัตตะจึงถามไถ่ว่า จะมีงานเลี้ยงเนื่องในโอกาสอะไรหรือ ได้รับคำตอบว่า พรุ่งนี้จะนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์มาเสวยภัตตาหาร

สุทัตตะได้ยินคำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เท่านั้น ขนลุกชูชันด้วยความปีติ จึงถามว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน น้องเขยบอกว่าประทับอยู่ ณ ป่าสีตะวัน  สุทัตตะขอร้องให้น้องเขยพาไปเฝ้า น้องเขยบอกว่า พรุ่งนี้พระองค์ก็จะเสด็จมาอยู่แล้ว รอเฝ้าตอนนั้นก็ได้

แต่คืนนั้นสุทัตตะนอนไม่หลับ พอถึงประมาณตีสี่ เขาก็ตัดสินใจออกจากคฤหาสน์เดินทางไปยังป่าสีตะวัน สถานที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ พอเข้าไปใกล้ได้ยินพระสุรเสียงตรัสว่า “สุทัตตะมานี่สิ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”

สุทัตตะปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกเขาคล้ายกับทรงรอการมาของเขาอยู่ จึงเข้าไปกราบถวายบังคมนั่งฟังธรรมจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุบุพพีกถาแก่สุทัตตะ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา สุทัตตะได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลระดับต้น

ว่ากันว่า สุทัตตะได้ขออนุญาตน้องเขยเป็นเจ้าภาพในการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ๗ วันติดต่อกัน แล้วกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดชาวเมืองสาวัตถีบ้าง

พระพุทธองค์ตรัสว่า “คหบดี สมณะศากยบุตรทั้งหลายย่อมยินดีในสถานที่สงบสงัด”

เขารู้ทันทีว่า พระองค์ทรงรับอาราธนา เมื่อกลับไปถึงเมืองสาวัตถี ก็มองหาสถานที่ที่เหมาะสมจะสร้างวัด ไปชอบใจสวนของเจ้าเชต จึงเจรจาขอซื้อ เจ้าเชตไม่ต้องการขาย จึงพูดแบบโก่งราคาว่า ราคาของสวนนี้แพงมาก คือจะต้องเอากหาปณะมาปูจนเต็มบริเวณทั้งหมด นั่นแหละราคาของสวนนี้ล่ะ

เศรษฐีได้ยินดังนั้นไม่ต่อแม้แต่คำเดียว สั่งให้คนขนกหาปณะออกจากคลังมาปูพื้นที่ ปูได้ประมาณ ๑๘ โกฏิ เจ้าเชตก็ตกใจ ไม่นึกว่าจะเจอคนจริงปานนั้น จึงบอกว่าพอแล้ว เอาแต่นี้แหละ แล้วถามว่า ทำไมท่านเศรษฐีจึงเอาจริงเอาจังปานนี้

เศรษฐีบอกว่าจะสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า เมื่อรู้ว่าเศรษฐีจะสร้างวัด เจ้าเชตจึงขอมีส่วนร่วมในการสร้างด้วย ทั้งสองจึงช่วยกันสร้างวัด หมดเงินไปอีก ๑๘ โกฏิ สร้างเสร็จแล้วก็เฉลิมฉลองอีกเจ็ดวันเจ็ดคืน

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาจากเมืองราชคฤห์ มาพำนักประจำ ณ วัดแห่งใหม่ที่สุทัตตะเศรษฐีกับเจ้าเชตสร้างถวาย อันได้นามภายหลังว่า “วัดพระเชตวันมหาวิหาร” ตามชื่อเจ้าของสวน คือ เจ้าเชต

เป็นอันว่าหลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับประจำ ณ วัดแห่งนี้นานที่สุดกว่าวัดอื่นๆ แม้นางวิสาขาจะได้สร้างวัด “บุพพาราม” ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ก็เสด็จไปประทับเพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้น

พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในเมืองสาวัตถี เมืองสาวัตถีจึงกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนาแห่งใหม่แทนเมืองราชคฤห์ด้วยประการฉะนี้

พระราชาแห่งเมืองสาวัตถี คือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็สละสิทธิดั้งเดิม (นัยว่าทรงนับถือศาสนาเชนของนิครนถ์นาฏบุตร หรือมหาวีระ) มานับถือพระพุทธศาสนาพระองค์เป็นชาวพุทธอย่างเคร่งครัด มักหาเวลามาสนทนาธรรม ทูลถามปัญหาจากพระพุทธองค์เสมอ

ฝ่ายสุทัตตะเศรษฐี เพราะเหตุที่ท่านเป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี บริจาคทานแก่คนยากจนและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ ท่านจึงปรากฏนามเป็นที่เรียกขานกันทั่วไปว่า “อนาถบิณฑิกะ” แปลว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถาเสมอ หมายถึง “ผู้ใจบุญ” นามนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป  

คัมภีร์พระพุทธศาสนาก็เรียกท่านโดยนามว่า “อนาถบิณฑิกะ” จนกระทั่งลืมว่านามเดิมท่านว่ากระไร

มีอยู่คราวหนึ่ง การค้าขายของท่านเศรษฐีขาดทุน ฐานะของท่านยากจนลงแต่ท่านก็ยังถวายทานมากมายเหมือนเดิม จนเทวดาที่สิงอยู่ตรงซุ้มประตูมาเตือนให้ท่านลดการถวายทานลงบ้าง เทวดาเตือนด้วยความเป็นห่วง

แต่เศรษฐีพอรู้ว่าผู้ที่มาเตือนคือเทวดาที่สิงอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านตน จึงขับไล่เทวดาออกไป

เทวดาตนนั้นไม่มีที่อยู่ไปขอความกรุณาจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสให้ไปขอขมาเศรษฐีเสีย ซึ่งเธอก็ทำตามที่ทรงแนะนำ เศรษฐีก็ยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่ ณ ซุ้มประตูบ้านตามเดิม

ท่านเศรษฐีมีบุตรชายนาม กาละ เป็นคนเกเรในเบื้องต้น แต่ท่านก็ปราบลูกชายได้ โดยจ้างให้ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ เมื่อเข้าไปฟังธรรมบ่อยเข้า (เพื่อเอาค่าจ้าง) ก็ค่อยเข้าใจธรรมทีละนิดๆ จนในที่สุดก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล และไม่รับค่าจ้างจากบิดาอีกต่อไป

ส่วนลูกสาวของท่านซึ่งมีอยู่ด้วยกันสามคน แต่ละคนก็เป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด ลูกสาวคนเล็กได้บรรลุอนาคามิผล ก่อนเสียชีวิตเพราะโรคปัจจุบัน ได้เรียกบิดาของตนว่าน้องชาย เศรษฐีนึกว่าลูกสาว “หลงทำกาละ” (ตายด้วยอาการไม่สงบ) รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ ไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

พระพุทธองค์ตรัสเฉลยว่า ลูกสาวของท่านเศรษฐีมิได้หลงทำกาละ นางได้บรรลุอนาคามิผลสูงกว่าบิดาหนึ่งขั้น ที่นางเรียกบิดาว่า “น้องชาย” นั้นถูกต้องแล้ว

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะความเคารพในพระพุทธองค์มาก เห็นพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจทุกวันจนเหน็ดเหนื่อย ไม่อยากให้พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยไปกว่านั้น จึงไม่เคยทูลถามปัญหาธรรมจากพระองค์เลย

จนพระองค์ตรัส (เชิงตำหนิ) ว่า “สุทัตตะดูแลรักษาเราในฐานะที่ไม่ควรดูแลรักษา” หมายความว่ารักพระพุทธองค์ไม่ถูกทาง

หลังจากทรงเตือนอย่างนี้แล้ว ท่านเศรษฐีได้ทูลถามปัญหาธรรมบ้างหรือไม่ ในตำราไม่ได้กล่าวไว้

แต่เชื่อว่าคงปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำ เพราะมีหลักฐานปรากฏว่า ท่านชอบฟังธรรมมากขึ้น นิมนต์พระสารีบุตรและพระอานนท์ไปแสดงธรรมให้ฟังเสมอ ครั้งหนึ่งได้ฟังธรรมที่พระสารีบุตรแสดงให้ฟังง่ายๆ รู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหล เรียนท่านว่า ขอให้พระคุณเจ้าแสดงธรรมง่ายๆ เช่นนี้ให้ผู้อื่นฟังเสมอเถิด  




ตอนที่ ๒ (จบ)

คราวที่แล้วได้กล่าวถึงอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศน์ง่ายๆ ที่พระสารีบุตรแสดง ร้องไห้น้ำตาไหลด้วยความซาบซึ้ง ขอร้องให้พระเถระแสดงอย่างนี้มากๆ ไม่ได้บอกว่าเทศนากัณฑ์นี้ชื่อว่าอะไร ก็ขอขยายวันนี้เลย

สมัยหนึ่ง ท่านเศรษฐีป่วยหนัก ได้ส่งคนไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแทบพระยุคลบาท และขอได้โปรดมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตรได้ไปแสดงธรรมให้ฟังด้วย

พระพุทธองค์รับสั่งให้พระสารีบุตรไปอนุเคราะห์ท่านเศรษฐี พระสารีบุตรไปบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีพร้อมพระอานนท์ เมื่อเห็นท่านเศรษฐีมีอาการหนักมาก แต่สติยังดีอยู่ จึงแสดงธรรมที่เรียกว่า “อนาถปิณฑิโกวาทสูตร” ให้ฟัง

เนื้อพระสูตรกล่าวถึงไม่ให้ยึดมั่นในจักษุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (ร่างกาย) มโน (ใจ) ไม่ให้ยึดมั่นในวิญญาณ (การรับรู้) ที่อาศัยอยู่ในตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนนั้น ไม่ให้ยึดมั่นในสัมผัสอันเกิดจากตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สูดกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้ถูกต้องสัมผัส ใจได้คิดเรื่องราวต่างๆ ไม่ให้ยึดมั่นในเวทนา (ความรู้สึก) ที่เกิดขึ้นจากตาได้เห็นรูป หูได้ฟังเสียง จมูกได้สูดกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้ถูกต้องสัมผัส ใจได้คิดเรื่องราวต่างๆ

การแสดงของพระสารีบุตร คงจะสื่อสารได้ด้วยโวหารง่ายๆ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงได้น้ำตาไหลพราก จนพระเถระถามว่า ท่านก็ได้ปฏิบัติธรรมมานาน ไฉนจึงร้องไห้กลัวตาย

ท่านเศรษฐีกล่าวกับพระเถระว่า มิได้ร้องไห้เพราะเหตุนั้น เพราะว่า ธัมมีกถา (การกล่าวธรรม) อย่างนี้ไม่เคยฟังมาก่อนเลย พระคุณเจ้าแสดงธรรมได้เข้าใจง่ายมาก  

ต่อไปขอนิมนต์ท่านได้กล่าวธัมมีกถาเช่นนี้แก่คฤหัสถ์ให้มากเถิด

เมื่อพระสารีบุตรและพระอานนท์กลับไปไม่นาน อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ถึงแก่กรรม ว่ากันว่าท่านไปเกิดเป็นเทพบุตร นาม อนาถบิณฑิกเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต วันดีคืนดีก็มาเฝ้าพระพุทธองค์ กล่าวโศลกธรรมถวายดังนี้

“พระเชตวันนี้ได้เกื้อกูลประโยชน์ เป็นสถานที่พระผู้แสวงคุณธรรมพักอาศัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นธรรมราชาได้ประทับอยู่ ก่อให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ การกระทำ, ความรู้, ธรรมะ (ความดีงาม), ศีล และการดำรงชีวิตที่ประเสริฐเหล่านี้ ที่ทำให้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ หาใช่โคตรหรือทรัพย์ไม่ เพราะฉะนั้น บัณฑิตเมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงพินิจพิจารณาธรรมโดยอุบายแยบคายด้วยการกระทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะบริสุทธิ์ได้ พระสารีบุตรเป็นภิกษุที่ลุถึงจุดสุดยอดแห่งพรหมจรรย์ (บรรลุอรหัตผล) แล้ว มีปัญญา มีศีล และความสงบ นับเป็นยอดในเรื่องนี้แล้ว”

พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังถึงเรื่องนี้ พระอานนท์กราบทูลถามว่า เทพบุตรที่มากล่าวโศลกธรรมนี้ ข้าพระองค์เดาว่าเป็นอนาถบิณฑิกเศรษฐีใช่หรือไม่

พระพุทธองค์ตรัสว่า “อานนท์ เธอเดาได้ถูกต้องแล้ว”

เรื่องราวของท่านอนาถบิณฑกะโดยพิสดารนั้น ขอให้อ่านชีวิตตัวอย่าง ชุดที่ ๓ อนาถบิณฑิกเศรษฐีใจบุญ” ซึ่งจะรวบรวมพิมพ์เป็นเล่มในไม่ช้านี้ คติชีวิตที่พึงได้จากชีวประวัติของท่านผู้นี้มีมากมาย อาทิ

๑. ความเป็นผู้มั่นคงในการทำความดี ท่านได้นามว่า “ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถา” แสดงถึงความเป็นผู้มีใจบุญสุนทานอย่างยิ่ง สร้างโรงทานไว้สำหรับผู้ยากไร้ ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระสงฆ์เป็นนิตย์

ว่ากันว่า เวลาท่านไปวัด ไม่ไปมือเปล่าเลย ถ้าไปเวลาเช้าก็นำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ ถ้าไปเวลาเย็นก็นำเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย อันเป็นเภสัช ไปถวายพระสงฆ์ มั่นคงแน่วแน่ในการทำบุญ

แม้ว่าบางครั้งจะประสบภาวะวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจค้าขายขาดทุน กลายสภาพจากเศรษฐีเป็น "คนที่เคยรวย” ท่านก็ไม่งดการทำบุญสุนทาน เคยตั้งงบไว้สำหรับการทำบุญอย่างไร ก็คงทำตามอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง
จนกระทั่งเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูทนเห็นท่านเศรษฐีอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ มาแนะนำให้ลดการถวายทานลงบ้าง ท่านก็ไม่ยอม ดังรายละเอียดได้กล่าวมาแล้ว

๒. ความมีปณิธานแน่วแน่ ตั้งใจจะทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ คุณสมบัติข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านมุ่งมั่นจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ให้ได้ ทั้งๆ ที่น้องเขยบอกว่าให้รอจนถึงรุ่งเช้า พุทธองค์ก็เสด็จมาอยู่แล้ว ท่านก็ไม่รอ เพราะมีความมุ่งมั่นว่าจะเข้าพบฟังธรรมให้ได้ ในที่สุดท่านก็ออกจากคฤหาสน์ของน้องเขยไปเฝ้าพระพุทธองค์จนได้ เมื่อจวนสว่างของคืนวันนั้น

ความมุ่งมั่นอีกเรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อท่านตัดสินใจจะขอซื้อสวนจากเจ้าเชตสร้างวัด ท่านก็เอาให้จงได้ เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดแล้ว แม้ว่าเจ้าของสวนจะโก่งราคา (ให้เอากหาปนะมาปูเต็มพื้นที่) ท่านก็ยอม สั่งให้ขนกหาปณะมาปูพื้นที่ตามที่เจ้าของสวนต้องการ จนกระทั่งเจ้าเชตเห็นในความมีปณิธานแน่วแน่ของท่าน จึงลดราคาให้ และขอมีส่วนในการสร้างวัดด้วย

๓. คุณธรรมประการสุดท้ายที่จะพูดถึง คือความเป็นพ่อที่ดีของลูก ท่านมีลูกชายหนึ่งคน ลูกสาวสามคน ลูกสาวนั้นต่างก็อยู่ในโอวาท ช่วยท่านถวายทานแด่พระสงฆ์ และให้ทานแก่ยาจกและวนิพก อันเป็นกิจวัตรประจำวัน

ตัวท่านเศรษฐีเองมักได้รับเชิญจากประชาชนชาวเมืองสาวัตถี เพื่อไปให้คำแนะนำแก่พวกเขาในการทำบุญทำกุศล เรียกสมัยนี้ว่า เป็น “มรรคนายก” นั้นแล ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน หน้าที่ในการตระเตรียมทานในบ้านจึงตกอยู่กับลูกสาว เมื่อลูกสาวคนโตแต่งงานออกเรือนไปแล้ว คนรองก็รับหน้าที่ทาน เมื่อคนรองออกเรือนไปแล้ว คนเล็กก็ทำแทน

ส่วนลูกชายคนโตเป็นเด็กเกเร ชอบเที่ยวเตร่หาความสำราญตามประสา “เพลย์บอย” ไม่ได้ช่วยพ่อแม่ทำกิจการงาน ท่านอนาถบิณฑิกะมีเทคนิควิธีในการอบรมลูก เมื่อว่ากล่าวตักเตือน ลูกชายไม่รับก็คิดหาทางอื่นที่ได้ผล  ในที่สุดก็ใช้วิธี “เอาเหยื่อล่อ” เมื่อลูกชอบใช้เงิน ใช้ทองมาเป็นเครื่องล่อ แต่วางเงื่อนไขว่า ถ้าอยากใช้เงินมากๆ ก็ให้ทำอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์

การจ้างลูกไปฟังธรรมจึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แรกๆ ลูกชายของท่านก็ไปฟังพอเป็นพิธี ไปถึงก็หาทำเลเหมาะนั่งหลับ เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบก็กลับบ้านทวงค่าจ้าง

ทำอย่างนี้ไประยะหนึ่ง พ่อจึงวางเงื่อนไขใหม่ คือให้จำบทธรรมที่ทรงแสดงจำได้มากจะจ่ายให้มาก ด้วยความโลภอยากได้เงินมาก เขาจึงตั้งใจฟัง พยายามจำให้ได้มากที่สุด

เมื่อเขาทำอย่างนี้นานเข้าก็เข้าใจในธรรมที่ทรงแสดง เมื่อเข้าใจมากขึ้นจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ก็เลยไม่เอาค่าจ้างอีกต่อไป แม้ว่าพ่อจะเอาถุงทรัพย์จำนวนมากมามอบให้ต่อพระพักตร์พระพุทธองค์ บุตรชายก็ปฏิเสธ เพราะเขาได้พบขุมอริยทรัพย์อันประเสริฐแล้ว ไม่ต้องการทรัพย์ภายนอกแต่อย่างใด

ในที่สุด ด้วยเทคนิควิธีอันแสนชาญฉลาด อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็กลับใจบุตรชายได้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเกเรเกตุง ลองนำวิธีของท่านอนาถบิณฑิกะไปใช้บ้างก็ดีนะครับ เผื่อจะได้ผล ถึงจะเสียเงินมาก แต่ถ้าลูกกลับกลายเป็นเด็กดี ก็คุ้มเกินคุ้มครับ

 
ข้อมูล : บทความพิเศษ อนาถบิณฑิกเศรษฐี : อุบาสกผู้มีอุปการคุณต่อพระศาสนา หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


๔๖. ชีวกโกมารภัจจ์
แพทย์ประจำพระพุทธองค์ (ตอนที่ ๑) 

ความจริงเรื่องหมอชีวกได้เขียนไว้ต่างหาก และรวมเป็นชุดบุคคลตัวอย่าง แต่ในที่นี้ขอเล่าย่อๆ สักสองตอน เพื่อให้เข้าชุดอุบาสกตัวอย่าง ผู้ที่หวังทราบความพิสดารต้องตามอ่านจากชุดสมบูรณ์ต่อไป (ตรงนี้เป็นเพียง "เรียกน้ำย่อยเฉยๆ”)

หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรนางโสเภณี นามว่า สาลวดี นางนครโสเภณี ผู้ทรงเกียรติแห่งเมืองราชคฤห์

ที่ว่าทรงเกียรติเพราะตำแหน่งนครโสเภณี พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้ง มีเงินเดือนแพงกว่าคนเขียนหนังสืออย่างผมเสียอีก

เพราะไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดมาแล้วแถมเป็นชายเสียด้วย นางจึงไม่เลี้ยงสั่งให้เอาไปทิ้งที่หน้าประตูวัง เพราะรู้ว่าจะต้องมีเจ้านายมาเห็น และนำไปเลี้ยงแน่นอน 

ซึ่งก็จริงตามคาด เจ้าชายน้อย พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จพบเข้า นำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

ตอนเป็นเด็กชีวกเป็นเด็กฉลาด ปฏิภาณเฉียบคม ถูกเด็กๆ ในวังด่าว่าเสียดสีว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ จึงมีมานะจะเอาชนะหาความรู้ใส่ตัว ให้ใครดูถูกไม่ได้ จึงหนีไปกับกองคาราวานไปยังกรุงตักสิลา อันเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่ลือชื่อ

ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาแพทย์กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนอยู่ ๗ ปี ก็จบ ลาอาจารย์กลับบ้านเกิดเมืองนอน

อาจารย์ให้เสบียงกรังมานิดหน่อย หมดระหว่างทาง จึงต้องใช้วิชาการที่เรียนมารักษาโรคประหลาดของเศรษฐีเมืองหนึ่ง (เมืองอะไรขี้เกียจตรวจเช็ค) รักษาหาย จึงได้ค่ารักษาจำนวนมาก

กลับมาถึงบ้านได้โอกาสถวายการรักษาพระโรคพระเจ้าพิมพิสารหาย ได้รับพระราชทานบำเหน็จจำนวนมาก รวมสวนมะม่วงด้วย

นัยว่าพระเจ้าพิมพิสารประชวรพระโรค “ภคันทลา” แปลกันว่าโรคริดสีดวงทวาร พระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งหมอชีวกให้เป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนัก

ในช่วงนี้หมอชีวกได้สร้างเกียรติคุณครั้งยิ่งใหญ่ จนลือไปทั่วเมืองว่าเป็นหมอเทวดา เพราะท่านได้ผ่าตัดสมองของเศรษฐีคนหนึ่งให้หายจากโรคอย่างมหัศจรรย์ในยุคที่เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่มี หมอชีวกได้ผ่าตัดสมองคนไข้เป็นคนแรก 

ท่านทำอย่างไรไว้รออ่านฉบับสมบูรณ์ก็แล้วกัน (มีวิธียั่วให้ผู้อ่านกระหายใคร่รู้ดีแฮะ)

ชื่อเสียงของหมอชีวกได้ฟุ้งขจรไปยังต่างแดน อันรวมถึงแคว้นอวันตี ซึ่งอยู่ห่างไกลด้วย พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าจัณฑปัชโชต ทรงประชวรด้วยโรคปวดพระเศียรข้างเดียวมาเป็นเวลานาน ๗ ปี รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ได้ทราบว่าเมืองราชคฤห์มีแพทย์มือฉมัง จึงส่งราชทูตมาขอพระเจ้าพิมพิสารให้ไปรักษา

หมอชีวกถวายการรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหาย แต่ก็เกือบถูกประหารชีวิต เพราะในหลวงท่านไม่ชอบเนยใส หมอชีวกปรุงยาใส่เนยใสด้วย ถึงกับสั่งคนตามล่า หาว่าหมอชีวกแกล้งแต่หมอชีวกก็รอดจากน้ำมือคนตามล่า

เหตุการณ์ในคราวนั้นระทึกใจดี ก็ขอถ่ายทอดบรรยากาศมาให้ “สัมผัส” ดังนี้

“ยาอะไรข้าก็กินได้ทั้งนั้นแหละ ขออย่างเดียวอย่าให้มีเนยใส ข้าเกลียดเนยใส” พระเจ้าจัณฑปัชโชตรับสั่ง หมอหนุ่มสะดุ้ง เพราะยาที่จะผสมให้เสวยต้องเข้าเนยใสเสียด้วย จึงสู้สะกดใจกราบทูลอีกว่า

“ข้าพระพุทธเจ้า ขอกราบทูลพระกรุณา พระราชทานของสามสิ่ง คือ
๑. ห้องพิเศษสำหรับปรุงยา
๒. ให้เปิดประตูวังตลอดคืน
๓. ขอช้างหรือม้าฝีเท้าเร็วที่สุดหนึ่งตัว”

“รักษาโรคสวรรค์วิมานอะไรของเอ็ง ไอ้อย่างแรกพอมีเหตุผล สองอย่างหลังจะเอาไปทำไม” ปัชโชตซักถามด้วยความขุ่นพระทัย

“ขอเดชะฯ เวลาต้องการยาสมุนไพรเพิ่มเติม จะได้รีบขึ้นช้างหรือม้าไปเอาได้ พ่ะย่ะค่ะ”

เมื่อได้ตามต้องการแล้ว หมอชีวกก็เข้าห้องพิเศษปรุงยาผสมเนยใส เคี่ยวจนไม่มีกลิ่นเนย แล้วสั่งให้มหาดเล็กถวายพระราชาตามกำหนด ตัวเองก็รีบขึ้นช้างพังที่ได้รับพระราชทาน นามภัททวดี รีบหนีไป

คล้อยหลังไม่นาน หลังจากเสวยพระโอสถแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชต “ทรงเรอ” ออกมา ได้กลิ่นเนยใส จึงสั่งตามล่าหมอชีวก หาว่ากลั่นแกล้งพระองค์

ทาสฝีเท้าเร็วยิ่งกว่านักโอลิมปิก นาม “กากะ”  วิ่งไปทันหมอชีวกที่ชายแดน พยายามจับแขนหมอเพื่อกลับกรุงอุชเชนี เพื่อเฝ้าในหลวงให้ได้ แต่หลงกลหมอ ถูกหลอกให้กินผลมะขามป้อม เกิดอาการท้องร่วง ขี้แตกจนหมดแรง หมอแอบเอายาถ่ายอย่างแรงซ่อนไว้ในเล็บ แล้วจิกผิวมะขามป้อม ยื่นให้ทาสกากะกินแก้กระหายน้ำ ยาออกฤทธิ์ในไม่ช้าไม่นานจนขี้ไหลดังกล่าว ร้องโอยๆ นึกว่าหมอมอมยาพิษ

“ไม่เป็นไร เพื่อนยาก ขี้ออกหมดแล้วก็หายเอง ไม่ใช่ยาพิษอะไรดอก” หมอหนุ่มกล่าวร่าเริง “ฝากนำช้างคืนเจ้านายด้วยนะ ฮะๆ ๆ” รอดตายในที่สุด ขอรับ…


ตอนที่ ๒ (จบ)

หมอชีวกได้นำผ้าสองผืนไปถวายพระพุทธเจ้า จนเป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายแต่บัดนั้นมา ไว้เล่าภายหลัง ตอนนี้ขอย้อนเล่าถึงสาเหตุที่หมอชีวกได้เป็นนายแพทย์ประจำพระพุทธองค์ก่อน
เข้าใจว่า หมอชีวกคงได้เป็นนายแพทย์ประจำพระพุทธองค์ก่อนเกิดเหตุพระเทวทัตทำร้ายพระพุทธองค์ เพราะท่านได้ถวายสวนมะม่วงที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าพิมพิสารแก่พระพุทธเจ้าก่อนหน้านั้นแล้ว ในช่วงนั้นพระเทวทัตได้วางแผนปลงพระชนม์พระพุทธองค์หลายครั้ง แต่พลาดทุกครั้ง

ครั้งล่าสุด ลงทุนขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฎ กลิ้งก้อนหินลงมา หมายจะให้ทับพระพุทธองค์สิ้นพระชนม์ แต่ก้อนหินกลิ้งลงไปปะทะชะง่อนผา กระเด็นห่างไปไกล กระนั้นก็ตาม สะเก็ดหินได้กระเด็นไปต้องพระบาท จนเกิดอาการพระโลหิตห้อ พระสงฆ์ได้พาพระพุทธองค์ไปสวนมะม่วงของหมอชีวก ให้คนไปตามหมอชีวกมาถวายการรักษาพยาบาล

หมอชีวกนำผ้าไปถวายพระพุทธองค์ ตอนแรกไม่ยอมรับ เพราะพระสงฆ์ใช้ “ผ้าบังสุกุล” (คือ แสวงหาผ้าที่คลุกฝุ่นมาเย็บทำจีวรใช้เอง) พระพุทธองค์ยังไม่ได้อนุญาตให้ใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านมาถวาย หมอชีวกได้กราบทูลให้ทราบรับผ้ากัมพลเนื้อละเอียดนั้น ในที่สุดทรงรับและตรัสอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าที่ชาวบ้านนำมาถวายในที่สุด

นับว่าหมอชีวกนั้น เป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับ “คหบดีจีวร” (ผ้าที่ชาวบ้านถวาย) เป็นคนแรก พระสงฆ์ไม่ต้องลำบากลำบนในการแสวงหาผ้ามาทำจีวรอีกต่อไป

ต้องเข้าใจนะครับ เดิมนั้นพระสงฆ์ใช้ผ้า “บังสุกลจีวร” เท่านั้น บังสุกุล แปลว่า “คลุกฝุ่น” หมายถึงผ้าที่คลุกฝุ่น เช่น ผ้าห่อศพ เศษผ้าที่ชาวบ้านทิ้ง พระก็จะไปแสวงหาผ้าเหล่านั้นมา เมื่อได้เพียงพอแล้วก็จะมาเย็บทำจีวรเอง การตัดเย็บจีวรพระสงฆ์ต้องช่วยกัน เพราะบางรูปไม่มีฝีมือในการเย็บ ต้องอาศัยพระภิกษุมีฝีมือช่วยกันตัดชายกับเย็บ

ตำราอรรถกถา (อรรถกถาธรรมบท) เล่าไว้ว่า แม้พระพุทธองค์ก็ได้ทรงไปร่วมตัดเย็บจีวรของพระสาวกบางรูปบางครั้งด้วย จึงเห็นได้ว่า “จีวรกรรม” (กิจกรรมเกี่ยวกับการทำจีวร) เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแต่แสดงน้ำใจว่าต้องช่วยกันเท่านั้น หากแสดงถึง “สปิริตแห่งความสามัคคี” ในหมู่สงฆ์ด้วย

เมื่อพระสงฆ์ไม่ได้รับการอนุญาตให้รับผ้าสำเร็จรูปจากชาวบ้าน ชาวบ้านที่อยากถวายผ้าแก่พระ เพราะเห็นว่าท่านมีความลำบากในการแสวงหาผ้า จึงนำไปถวาย “ทางอ้อม” เช่น เห็นพระท่านเดินมาแต่ไกล ก็รีบเอาผ้าไปห้อยไปแขวนไว้ตามกิ่งไม้บ้าง วางไว้บนพุ่มไม้ข้างหน้าบ้าง แล้วตัวเองก็หลบไป

เมื่อพระเดินมาพบเข้า ก็จะหันซ้ายหันขวาประกาศดังๆ ว่า ผ้านี้มีเจ้าของหรือเปล่า สามครั้ง เมื่อไม่ได้ยินเสียงขานรับ ท่านก็จะทำ “ปังสุกูลสัญญา” (ทำความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นผ้าบังสุกุล) แล้วชักเอาผ้านั้นมาเป็นของตน นำไปตัดเย็บทำจีวรต่อไป

ชัก” หมายถึงการดึงเอาผ้านั้นมา เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกกิริยาอาการที่พระท่านดึงผ้าเข้ามาว่า “ชักบังสุกุล” จนบัดนี้

ปัจจุบัน แม้ว่าพระท่านไม่ได้ดึงเอาผ้านั้นจากกิ่งไม้หรือพุ่มไม้เหมือนแต่ก่อน และผ้านั้นก็ไม่ใช่ผ้าคลุกฝุ่นอีกต่อไปแล้ว เราก็ยังเรียกว่า “ชักผ้าบังสุกุล” อยู่เช่นเดิม

และการถวายผ้าบังสุกุลหรือผ้าป่าทุกครั้ง จะเห็นว่าเขาเอาพุ่มไม้มาตั้ง เอาผ้าบ้าง ปัจจัย (ธนบัตร) บ้าง แขวนระโยงระยางตามกิ่ง ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาสัญลักษณ์เดิม สมัยที่เขาเอาผ้าไปแขวนตามกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ไว้นั้นเอง

หมอชีวกมักจะเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจกับพระพุทธองค์เสมอ ปัญหาหนึ่งที่สำคัญมาก ก็คือเรื่องพระฉันหรือไม่ฉันเนื้อสัตว์ ขอนำคำถามและคำวิสัชนาของพระพุทธองค์มาลงไว้ให้ศึกษากันดังนี้ครับ

วันหนึ่ง หมอชีวกเข้าเฝ้า แล้วกราบทูลถามปัญหาดังนี้
“ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินคนเขาตำหนิพระองค์ว่า พระองค์สอนให้คนอื่นงดฆ่าสัตว์ แต่เสวยอาหารที่เขาฆ่าถวาย เป็นความจริงเพียงไร”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ถ้าได้เห็น ได้ยิน และสงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวายพระองค์จะไม่เสวยเนื้อนั้น แต่ถ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวาย พระองค์เสวยเนื้อนั้น

พระองค์ตรัสอธิบายต่อไปอีกว่า ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่คุณธรรมเหล่านี้ไปยังสรรพสัตว์ทั่วโลกอยู่ด้วยจิตที่ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทต่อใคร เลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านเขาถวาย

เมื่อมีคนเขานิมนต์ไปฉันอาหาร ท่านก็ไป เขาถวายอาหารชนิดใด จะเลวหรือประณีต ท่านก็ฉันพอดำรงอัตภาพ ไม่ติดหรือยึดมั่นในอาหารที่ฉันนั้น

เสร็จแล้ว พระองค์ย้อนถามหมอชีวกว่า “พระภิกษุปฏิบัติเช่นนี้จะเรียกว่าเบียดเบียนคนอื่นหรือไม่”
“ไม่พระเจ้าข้า” หมอชีวกกราบทูล
“อาหารอย่างนี้ไม่มีโทษ (คือ กินได้ ไม่เรียกว่าเป็นการสนับสนุนให้เขาฆ่าสัตว์) มิใช่หรือ”
“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

พระองค์ตรัสต่อไปว่า ใครก็ตามถ้าฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระตถาคต หรือพระภิกษุสงฆ์สาวก ย่อมก่อบาปกรรม ทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่น ด้วยสถานะ ๕ ประการคือ 
     ๑. สั่งให้คนอื่นนำสัตว์ตัวโน้นตัวนี้มา (เท่ากับชักนำเอาคนอื่นมาร่วมทำบาปด้วย)
     ๒. สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่า ถูกลากถูลู่ถูกังมา ได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก
     ๓. ออกคำสั่งให้เขาฆ่าสัตว์นั้น (ตัวเองก็บาป คนฆ่าก็บาป)
     ๔. สัตว์ที่ถูกฆ่าได้รับทุกขเวทนาจนสิ้นชีพ
     ๕. ทำให้คนอื่นเขาหาช่องว่างว่าพระตถาคตและพระสงฆ์สาวกด้วยเรื่องเนื้ออันไม่ควร
(จริงอยู่ถ้าพระไม่รู้ ไม่เห็น ไม่สงสัยว่าเขาเจาะจงจะฆ่าถวาย ไม่ต้องอาบัติ แต่คนภายนอกอาจหาว่าพระรู้ แต่แกล้งทำไม่รู้ หรือปากว่าตาขยิบก็ได้)

หมอชีวกได้สดับวิสัชนาจากพระพุทธองค์จนแจ่มแจ้ง หายสงสัยแล้ว ในที่สุดก็ได้กล่าวขึ้นว่า ตนเคยแต่ได้ยินได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่า “พระพรหม” นั้น มีจิตประกอบด้วยพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แต่ไม่เคยเห็น “พระพรหม” ตัวจริงสักทีที่แท้ “พระพรหม” ก็คือ พระพุทธองค์นั่นเอง เพราะพระองค์ทรงมีคุณธรรมเหล่านี้ในพระทัยเป็นพยานที่เห็นได้

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พรหมที่ว่านี้ ถ้าชีวกหมายถึงผู้ที่ไม่มีความพยาบาท ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ตถาคตก็เห็นด้วย เพราะตถาคตละกิเลสเหล่านี้ได้โดยเด็ดขาดแล้ว”...

 
ข้อมูล : บทความพิเศษ ชีวกโกมารภัจจ์ : แพทย์ประจำพระพุทธองค์ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2557 20:02:59 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 03 มกราคม 2557 12:29:31 »

.

๔๗. พระเจ้าจันทรคุปต์
พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช  

เมื่อพูดถึงพระเจ้าอโศกมหาราชผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ก็น่าจะพูดถึง “เสด็จปู่” ของพระองค์บ้าง เพราะมีปู่จึงมีหลาน   

แม้ปู่จะไม่มีบทบาทในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ก็เห็นว่ามีประวัติน่าสนใจ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ “กระซิบ” และประวัติศาสตร์จริงๆ

ถามว่าต่างกันอย่างไร ต่างกัน ประวัติศาสตร์จริงๆ มีบันทึกเป็นหลักเป็นฐาน แต่ประวัติศาสตร์กระซิบ มักกระซิบต่อๆ กันมา ใส่ไข่บ้าง ไม่ใส่บ้าง

ฟังแล้ว “มัน” กว่าอ่านประวัติศาสตร์จริงเสียอีก

เสด็จปู่ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระนามว่า จันทคุตต์ (สันสกฤษเขียน จันทรคุปต์) เป็นลูกเต้าเหล่าใคร ไม่มีใครทราบ เพราะไม่ได้บันทึกไว้

เปิดหาประวัติในพจนานุกรมอสาธารณนาม (วิสามานยนาม) ฉบับที่อ้างอิงกันมาก รวบรวมและเรียบเรียงโดย ด๊อกเตอร์มาลาลา เสเกรา นักปราชญ์ชาวสิงหล มีพูดถึงจันทรคุปต์หน่อยเดียวเท่านั้น

จันทคุตต์หรือจันทรคุปต์ พระราชาแห่งชมพูทวีป ราชวงศ์โมริยะ และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระราชา ด้วยความช่วยเหลือของปุโรหิต นาม จาณักกะ โดยสังหารพระเจ้านันทะและรัชทายาท พระนามว่า ปัพพตะ แห่งเมืองปาตลีบุตร

พระเจ้าจันทคุปต์ปกครองประเทศอยู่ ๒๔ ปี พระองค์มีพระราชโอรส นามว่า พระเจ้าพินทุสาร เป็นพระอัยกา(ปู่) ของพระเจ้าพินทุสาร รัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ร่วมสมัยกับพระเจ้าปัณฑุกาภัยแห่งศรีลังกา พระเจ้าปัณฑุกาภัยได้เสด็จสวรรคตในปีที่ ๑๔ แห่งรัชกาลของพระเจ้าจันทรคุปต์

นอกจากนี้ ก็มีข้อความอีกเล็กน้อย อ้างจากมิลินทปัญหาว่าบิดาของพระเถระรูปหนึ่งไม่ถูกกับจันทรคุปต์ ถูกจาณักกะยุยงให้จับเขาขังคุก แสดงว่าบุคคลดังกล่าวนั้นคงเป็นคนสำคัญ แต่ไม่ได้บอกไว้ว่าชื่อเสียงเรียงใด

รายละเอียดในพจนานุกรมมีเพียงแค่นี้

เรื่องราวของจันทรคุปต์ มักจะมีเล่าในหนังสือประวัติศาสตร์อินเดีย เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกันกับอเล็กซานเดอร์มหาราช (หรือที่ทางบาลีเรียกว่า “อลิกสุนทร”)

คือเมื่อครั้งสมัยที่ปาตลีบุตรถูกปกครองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์นันทะ (พระนามพระมหากษัตริย์จะลงท้ายด้วย “นันทะ” หมดถึง ๙ ราชวงศ์)

ในพุทธศตวรรษที่ ๒ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าตีอาณาจักรเปอร์เซียได้แล้ว ได้ยกทัพข้ามเขาฮินดูกูฏ เข้ามาทางเหนือของอินเดีย ยึดครองเมืองตักสิลาและแคว้นปัญจาปได้ ก็เดินทัพเรื่อยมาจนถึงลุ่มน้ำสินธุ หมายเข้าตีเมืองปาตลีบุตรแห่งราชวงศ์นันทะ

ในช่วงก่อนหน้านั้นเพียงเล็กน้อย มหาโจรผู้โด่งดังคนหนึ่ง นามว่าจันทรคุปต์ได้ซ่องสุมกำลังเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตรหลายครั้ง ไม่สำเร็จแม้แต่ครั้งเดียว

มหาโจรท่านนี้บางตำราก็ว่ามิใช่มหาโจร แต่เป็นข้าราชการในราชสำนักเมืองปาตลีบุตรนั้นเอง ด้วยความช่วยเหลือของพราหมณ์คนหนึ่ง นามว่า จาณักยะ จึงคิดการปฏิวัติแต่ก็ล้มเหลว

สองคน (อาจารย์กับศิษย์) ได้แตกทัพเร่ร่อนหลบซ่อนตัวในป่า ซ่องสุมกำลังพลได้มากพอแล้ว ก็ยกเข้ามาโจมตีเมืองปาตลีบุตรอีก พ่ายแพ้อีก แต่ทั้งสองก็ไม่ย่อท้อ คงพยายามเรื่อยมา

พอได้ข่าวว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชจากกรีกบุกเข้ามาชมพูทวีป สองคนอาจารย์กับศิษย์ ก็ไปเจรจาขอให้อเล็กซานเดอร์มหาราชช่วยตีเมืองปาตลีบุตร แต่เจรจากันอีท่าใดไม่ทราบ เกิดผิดใจกับมหาราชกรีก ทั้งสองถูกจับขังคุก แต่ในที่สุดก็หนีออกไปได้

ว่ากันว่ากองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราชจำต้องยกกลับ เพราะทหารหาญเกิดแข็งข้อ ไม่อยากเดินทัพต่อไป เนื่องจากมาไกลโขและก็เหนื่อยล้ากันมาก อเล็กซานเดอร์จำต้องถอยทัพกลับ ยังมิทันได้เข้าตีเมืองปาตลีบุตรเลย กษัตริย์หนุ่มต้องสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง (บางกระแสว่าถูกวางยาพิษ) ขณะพระชนมายุเพียง ๓๐ กว่าพรรษา (๓๓ ประมาณนั้น)

จาณักยะกับจันทรคุปต์ ได้โอกาสก็บุกเข้าโจมตีเมืองเล็กเมืองน้อยที่อเล็กซานเดอร์เคยได้ไว้ในครอบครอง ตีได้เรื่อยมา จนกระทั่งเข้าตีเมืองปาตลีบุตรสำเร็จ สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าจันทรคุปต์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ นามว่า “โมริยะ” (หรือเมารยะ) จาณักยะผู้อาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแห่งราชวงศ์โมริยะ

ว่ากัน (อีกแล้ว) ว่า ก่อนที่จะพบอเล็กซานเดอร์มหาราช สองอาจารย์กับศิษย์ได้บุกเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตร แล้วพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ต้องหนีกระเซอะกระเซิงแทบเอาตัวไม่รอด

ข้างฝ่ายจันทรคุปต์ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงแม่บ้านขนมเบื้องดุลูกสาวผู้กัดกินขนมเบื้องทั้งที่ยังร้อน จนต้องคายทิ้งเพราะความร้อนว่า “อีหน้าโง่ มึงนี่โง่เหมือนโจรจันทรคุปต์”

ได้ยินใครด่าตัวเองเข้าก็สะดุด จึงยืนแอบฟังอยู่ แม่ค้าขนมเบื้องกล่าวต่อว่า “มึงก็รู้ว่าขนมมันร้อน มึงก็กัดกินที่ขอบเข้ามาซีวะ เสือกกัดกร้วมทั้งอันมันก็ร้อน ไอ้โจรหน้าโง่นั่นก็เหมือนกัน จะตีเมืองทั้งทีเสือกไปตีกลางใจเมือง ทำไมไม่ตีโอบมาจากเมืองข้างนอก ไม่ตายห่าก็บุญแล้ว”

คำด่าลูกของแม่ค้าขนมเบื้องนั้น ทำให้จันทรคุปต์ “ฉุกคิด” ขึ้นมา จึงปรึกษาอาจารย์ว่าควรจะตีโอบมาจากรอบนอกแบบ “ป่าล้อมเมือง” (ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะ) พอดีได้ข่าวว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามาอินเดีย จึงได้ขอแรงให้ช่วยตีเมืองแต่เกิดแตกคอกันก่อน แผนการเลยล้มเหลว

แต่ในที่สุดจันทรคุปต์ก็ได้ราชบัลลังก์ตามประสงค์

เล่ามาทั้งหมด ไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นอกเสียจากว่าจันทรคุปต์เป็นพระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เป็นศาสนูปถัมภกองค์สำคัญเท่านั้น

เมื่อหลานมีอุปการคุณต่อพระศาสนาก็เท่ากับว่าปู่มีส่วนด้วย เพราะถ้าไม่มีปู่ก็ไม่มีหลาน จะพูดแค่นั้นก็คงได้ ไม่มีใครว่า เพราะความดีย่อมควรแบ่งปันกัน

แต่ที่อยากจะตั้งข้อสังเกตไว้ตรงนี้ก็คือ ประวัติศาสตร์กระซิบได้ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าวิฑูฑภะทำสงครามล้างโคตรพวกศากยวงศ์นั้น มีพวกศากยะที่หนีรอดคราวนั้นจำนวนหนึ่ง

หลังจากนั้นมาไม่นานก็มีบุคคลคนหนึ่งซ่องสุมกำลังเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตรสำเร็จ ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ และอ้างว่าตนคือเชื้อสายศากยะที่หนีรอดมาคราวนั้น

บุคคลนี้ คือ จันทรคุปต์

ถ้าเป็นเรื่องจริง พระเจ้าจันทรคุปต์และพระเจ้าอโศกมหาราช ก็คือลูกหลานศากยวงศ์ หรือพูดให้ชัดก็คือลูกหลานของพระพุทธเจ้านั้นเอง...

 
ข้อมูล : บทความพิเศษ จันทรคุปต์ : พระอัยกาของพระเจ้าอโศก หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


http://www.dhammathai.org/monktalk/data/imagedb/375.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๔๘. ฉัตตปาณิอุบาสก 
อุบาสกผู้ทรงธรรม

บุคคลท่านนี้ไม่ทราบประวัติอันแน่ชัด แต่ในอรรถกถาธรรมบท (ธัมมปทิฏฐกถา) ที่พระเณรใช้เรียนกันนั้น ระบุว่า ฉัตตปาริอุบาสกเป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต แถมเป็นพระอนาคามีอีกต่างหาก

อุบาสกที่เป็นพหูสูตสมัยพุทธกาลนั้นมีมาก เช่น จิตตคหบดี (ได้เล่าประวัติไว้ก่อนแล้ว) วิสาขอุบาสก อดีตสามีของพระเถรีรูปหนึ่งคนนี้ ก็มีความรู้ทางธรรมมาก สามารถโต้ตอบกับพระเถรีอดีตภรรยาของตนในธรรมลึกซึ้งได้

อุบาสกอดีตสาวกมหาวีระ ชื่อ อุบาลี นี้ก็เป็นพหูสูตคนสำคัญ เพราะเคยอยู่ในศาสนาเชนมาก่อน เมื่อมาเป็นพุทธศาสนิกก็เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา โอกาสหน้าจะนำประวัติมาเล่าให้ฟัง

วันนี้ขอเล่าเรื่องของฉัตตปาณิก่อน

ฉัตตปาณิเป็นชาวเมืองสาวัตถี รักษาศีลอุโบสถประจำ และกินมื้อเดียว ว่ากันว่าพอเป็นพระอนาคามีปั๊บ เคยกินสองมื้อมาก่อน จะกินมื้อเดียวโดยอัตโนมัติเลย เคยยุ่งเกี่ยวกับสามีภรรยามาก่อน จะไม่มีความต้องการทางเพศเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ “ละได้ด้วยอนาคามิมรรค” พระอรรถกถาจารย์ว่าอย่างนั้น

ที่พูดนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นธรรมชาติของพระอนาคามี แกล้งเป็นหรือหลอกคนอื่นว่าตนเป็นไม่ได้

ส่วนอุโบสถศีลนั้น พระอนาคามีไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่จำเป็นต้องสมาทานอุโบสถศีล เพราะพระอนาคามีเป็นผู้มีอุโบสถศีลโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

แต่ที่ฉัตตาปาณิอุบาสกไปสมาทานอุโบสถศีลจากพระศาสดานั้น คิดเป็นเรื่องอื่นไม่ได้ นอกจากจะทำให้เป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ขนาดพระอนาคามีซึ่งมีอุโบสถศีลโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ท่านยังสมาทานอุโบสถศีล แล้วเราปุถุชนทั่วไปไฉนไยขี้เกียจอยู่อะไรทำนองนี้

พระมหากัสสปะก็เช่นเดียวกัน ถือธุดงค์เคร่งครัด

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอถึงที่สุดพรหมจรรย์แล้วไม่ต้องถือธุดงค์ก็ได้ ท่านกราบทูลพระพุทธเจ้า “ข้าพระองค์ถือธุดงค์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อนุชนในภายหน้าพระเจ้าข้า”

พระอรหันต์ทั้งหลายท่านน่ารักไหมครับ

วันหนึ่ง ฉัตตปาณิอยู่ในสำนักของพระผู้ดี พระผู้มีพระภาค พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาเฝ้าพระพุทธองค์เช่นกัน ฉัตตปาริไม่ลุกขึ้นถวายความเคารพแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ยังคงนั่งอยู่อย่างสงบ พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็ไม่ทรงพอพระทัย แต่ก็ไม่ว่ากระไร

เช้าวันหนึ่ง ขณะทรงยืนทอดพระเนตรผ่านช่องสีหบัญชร (หน้าต่าง) พอดี ฉัตตปาณิกางร่ม สวมรองเท้าเดินผ่านไปทางพระลานหลวง พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็ทรงจำได้ รับสั่งให้มหาดเล็กไปเชิญฉัตตปาณิอุบาสกมา ฉัตตปาณิอุบาสกหุบร่มและถอดรองเท้า เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมอย่างนอบน้อม

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “อุบาสก” ทำไมท่านจึงหุบร่ม ถอดรองเท้ามาหาเราเล่า”
“ข้าพระพุทธเจ้าทราบว่า พระองค์รับสั่งให้เข้าเฝ้าจึงได้มา” อุบาสกกราบทูลอย่างนอบน้อม
“ชะรอยท่านเพิ่งจะรู้ว่าวันนี้เราเป็นพระเจ้าแผ่นดิน” พระราชาตรัสขึ้น
“หามิได้ พระพุทธเจ้าค่ะ ข้าพระพุทธเจ้าทราบด้วยเกล้าฯ มาตลอดเวลา” อุบาสกกราบทูล
“แล้วทำไมวันนั้นอยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า เจ้ามิได้ใส่ใจ มิได้ลุกขึ้นต้อนรับเราเล่า”

ฉัตตปาณิกราบทูลว่า “วันนั้นข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า เมื่ออยู่ในสำนักสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นศาสดาเอกในโลกแล้ว เมื่อเห็นพระราชาแห่งประเทศแล้วลุกขึ้นถวายความเคารพ คงเป็นการไม่เหมาะสม เป็นการไม่เคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้ลุกขึ้นถวายความเคารพต่อพระองค์”

พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า “ช่างเถอะ เรื่องนั้นเราไม่ติดใจ เรารู้จากพระพุทธองค์ว่าท่านเป็นพหูสูตทรงธรรม เราอยากให้สตรีในวัง โดยเฉพาะพระอัครมเหสีและพระมเหสีได้เรียนธรรม เจ้าจะมาช่วยกล่าวสอนธรรมแก่พวกนางได้ไหม”

ฉัตตปาณิกราบทูลว่า “หน้าที่นี้คงไม่เหมาะสมสำหรับข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์เดินเข้าเดินออก สถานที่ใดก็ตามที่มีสตรีอยู่ ย่อมไม่วายเป็นที่ครหาของบัณฑิต”
“ถ้าอย่างนั้นใครจะแนะนำใคร”
“ขอเดชะฯ เห็นสมควรนิมนต์พระสงฆ์มาถวายความรู้ จะเหมาะสมกว่า”
เป็นอันว่าฉัตตปาณิไม่ได้สอนธรรมในพระราชวัง

พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์หลังจากฉัตตปาณิอุบาสกปฏิเสธที่จะเข้าไปสอนธรรมแก่สตรีในวังโดยเฉพาะพระอัครมเหสี และพระมเหสี กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปสอนธรรมแก่พระอัครมเหสี พระนางวาสภขัตติยา และพระนางมัลลิกาเทวีเป็นประจำแทน

พระพุทธองค์ไม่ทรงรับ ทรงส่งพระอานนท์พุทธอนุชาไป พระอานนท์ก็ทำหน้าที่อย่างดีไม่บกพร่อง

กาลเวลาผ่านไประยะหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่า “อานนท์ พระเทวีทั้งสองยังเรียนธรรมอยู่หรือไม่”
“ยังคงเรียนอยู่ พระเจ้าข้า”
“เป็นอย่างไรบ้าง”
“พระนางมัลลิกาทรงสนพระทัยดี ทรงศึกษาเล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ส่วนพระนางวาสภขัตติยา มิได้ใส่พระทัยนักพระเจ้าข้า”
พระอานนท์กราบทูลตามเป็นจริง

พระนางมัลลิกาเป็นธิดาช่างทำพวงดอกไม้มาก่อน เป็นสตรีที่มีความชาญฉลาด นัยว่าได้เป็นพระโสดาบันแต่อายุยังน้อย เพราะได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ช่วยแก้ความเข้าใจผิด ความประพฤติผิดบางอย่างของพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรักและทรงห่วงใยมาก

ส่วนพระนางวาสภขัตติยาเป็นพระธิดาของเจ้ามหานามศากยะ อันเกิดจากนางทาสี ที่พวกศากยะส่งไปให้พระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อคราวส่งราชทูตมาขอนางขัตติยานีศากยะไปอภิเษก

เมื่อความลับแตกในกาลต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพิโรธพวกศากยะที่หลอกลวงพระองค์ สั่งถอดพระเทวีพร้อมพระราชโอรสออกจากตำแหน่ง

พระพุทธองค์เสด็จมาช่วยไว้ได้ ทรงอธิบายว่า เชื้อสายทางแม่นั้นไม่สำคัญเท่าทางพ่อ ถึงยังไงๆ เจ้าชายวิฑูฑภะก็เป็นราชโอรสของพระราชาผู้ทรงเป็นมหาราชอยู่ดี

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงคืนตำแหน่งแก่แม่ลูกทั้งสอง

เมื่อพระองค์ทรงได้ทราบจากพระอานนท์ พระองค์จึงตรัสคาถา (โศลก) สองบทความว่า
วาจาสุภาษิตของผู้ที่ทำไม่ได้ตามที่พูด ย่อมไม่มีประโยชน์อะไร ดุจดอกไม้สีสวย แต่ไร้กลิ่น
วาจาสุภาษิตของผู้ที่ได้ทำตามที่พูด ย่อมอำนวยผลดี  ดุจดอกไม้สีสวย และมีกลิ่นหอม”


พุทธวจนะนี้ตรัสให้เป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้มีหน้าที่สอนคนอื่น

คนที่พูดธรรมะหรือวิชาการได้ดี น่าทึ่ง น่าเลื่อมใส แต่ถ้าสักแต่พูด ไม่ทำตามที่พูดสอน คนนั้นก็ไร้ค่า ดุจดอกไม้สีสวยแต่ไม่หอม

แต่ถ้าพูดเก่ง พูดดีด้วย ปฏิบัติได้ตามที่ตนพูดด้วย ก็จะมีประโยชน์มาก ดุจดอกไม้สีสวยด้วย ฉะนั้นแล

ฉัตตปาณิอุบาสกคงจะเป็นประเภทหลัง เพราะท่านเป็นถึงพระอนาคามีและมีความมุ่งมั่นที่จะสอนธรรมแก่คนอื่นอย่างจริงจัง ถึงกับรักษาอุโบสถศีล ทั้งๆ ท่านเป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็ได้ แต่ท่านก็ทำตนให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง

การสอนคนโดยการทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีนั้น บางครั้งมีผลมากกว่าพร่ำสอนด้วยวาจา จนเปลืองน้ำลายไปหลายกระโถนเสียอีก

ประวัติของท่านฉัตตปาณิอุบาสกมีไม่มาก เท่าที่ปะติดปะต่อได้ ก็มีเท่านี้อย่าถามว่าเมื่อประวัติมีน้อยแค่นี้นำมาเขียนทำไม ที่นำมาเขียนไว้ก็เพราะพินิจดูจาก “บริบท” (ความแวดล้อม)

ท่านผู้นี้คงเป็นคนสำคัญมิใช่น้อย พระมหากษัตริย์เชิญให้ไปสอนธรรมในวัง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล คนระดับนี้ต้องเป็น somebody แน่นอน เพียงแต่เราไม่มีประวัติของท่านโดยละเอียดเท่านั้น...

 
ข้อมูล : บทความพิเศษ ฉัตตปาณิอุบาสก : อุบาสกผู้ทรงธรรม หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2557 13:27:52 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 25 มกราคม 2557 13:34:57 »

.
http://www.dhammathai.org/monktalk/data/imagedb/375.jpg
ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๔๙. พระเจ้าอโศกมหาราช
ผู้ทรงธรรม (๑)

พูดถึงอุบาสกที่มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนา ก็อดที่พูดถึงพระเจ้าอโศกมหาราชมิได้ ถ้าหากว่าท่านนี้จะมีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธกาล คงได้รับยกย่องในเอตทัคคะจากพระพุทธเจ้าด้านใดด้านหนึ่งเป็นแน่

พระเจ้าอโศกมหาราชมีพระราชประวัติน่าสนใจ จะเรียกว่าเป็นผู้ “ต้นคตปลายตรง” ก็คงได้ ถึงแม้ต้นจะไม่คตมากขนาดองคุลิมาล หรืออชาตศัตรูก็ตาม พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระราชาจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งชาวกรีกขนานพระนามว่า “สัตตุฆ็อต” (แปลว่า ผู้สังหารศัตรู)

พระเจ้าพินทุสารเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ กษัตริย์ต้นวงศ์โมริยะ หรือเมารยะ “ปู่” พระเจ้าอโศกพระองค์นี้ก็มีประวัติที่น่าสนใจ มีเวลาจะเล่าภายหลัง

เข้าใจว่าอโศกกุมารมิใช่พระราชโอรสองค์ใด เพราะมีพระเชษฐาเป็นสุมนะอันเกิดแต่พระมเหสี (เข้าใจว่าเป็นพระมเหสีองค์รอง) อโศกกุมารคงเป็นพระราชโอรสจากพระอัครมเหสี เพราะสมัยที่ยังหนุ่มถูกส่งไปเป็นอุปราชครองเมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในครอบครองของพระเจ้าพินทุสาร

เจ้าชายอโศกได้อภิเษกสมรสกับบุตรสาวแห่งนายบ้ายวิทิสา (หรือเวทิส) ขณะอยู่เมืองอุชเชนี ก็มีโอรสองค์หนึ่งนามว่า มหินท์ และธิดานามว่า สังฆมิตตา

เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็กลับมายังเมืองปาตลีบุตร

ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการแก่งแย่งราชบัลลังก์กันในหมู่พระเชษฐาและพระอนุชา อโศกกุมารถือว่าตนเป็นผู้มีสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์เต็มที่ ก็ขึ้นครองราชย์หลังจากได้สังหารพี่น้องเป็นจำนวนมาก

ว่ากันว่าได้ฆ่าทั้งหมด ยกเว้นเพียงพระอนุชาร่วมพระอาทร (คือ เกิดจากพระมารดาเดียวกัน) นามว่า “ติสสะ”

พระเชษฐานามว่าสุมนะ รู้ว่าชะตาตัวเองจะขาดแน่นอน จึงสั่งให้พระชายาซึ่งทรงครรภ์แก่ หนีเอาตัวรอดไป นางจึงหลบหนีออกจากเมืองไปอยู่กับพวกคนจัณฑาลในหมู่บ้านคนจัณฑาลนอกเมือง ให้กำเนิดบุตรชายใต้ต้นไทร จึงขนานนามว่า “นิโครธ”

ซึ่งต่อมาเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ นิโครธก็บวชเป็นสามเณรด้วยความยินยอมของมารดา เพราะเห็นว่าเป็นทางเดียวที่จะพ้นราชภัย

ติสสกุมาร พระอนุชาของพระเจ้าอโศกก็ออกบวชหนีราชภัยเช่นเดียวกัน เพื่อความเป็นใหญ่ พี่น้องก็ฆ่ากันได้ ติสสะคิดว่า วันดีคืนดีถ้าเสด็จพี่ระแวงก็อาจหาเรื่องฆ่าได้ จึงถือเพศบรรพชิตเสียเลยจะได้ปลอดภัย

พระเจ้าอโศกในช่วงที่ยังหนุ่มแน่น ว่ากันว่าทรงดุร้ายมาก จนได้รับขนานนามว่า “จัณฑาโศก” (อโศกผู้ดุร้าย) ทรงกระหายสงคราม ขยายอาณาจักรยกทัพไปตีเมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจมากมาย ว่ากันว่า อาณาเขตปกครองของพระเจ้าอโศกกว้างใหญ่ไพศาลมาก

แต่วันดีคืนดีก็เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ คือ หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ ๘ ปี พระเจ้าอโศกเสด็จไปทำสงครามที่แคว้นกลิงคะ ทอดพระเนตรเห็นผู้คนล้มตายจำนวนมาก ก็สลดสังเวชพระราชหฤทัย พระทัยที่เคยดุดันแข็งกร้าวก็อ่อนโยนลง เห็นในความทุกข์วิปโยคของคนอื่น

ดังข้อความในศิลาจารึก ฉบับที่ ๑๓ ว่า
“สมเด็จพระปิยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๘ พรรษา ทรงมีชัยปราบแคว้นกลิงคะลงนั้น จากแคว้นกลิงคะนั้น ประชาชนจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นถูกจับเป็นเชลย จำนวนประมาณหนึ่งแสนคนถูกฆ่า และอีกหลายเท่าของจำนวนนั้นได้ล้มตายไป นับแต่กาลนั้นมาจนบัดนี้ อันเป็นเวลาที่แคว้นกลิงคะถูกยึดครองแล้ว การทรงประพฤติปฏิบัติธรรม ความมีพระทัยใฝ่ธรรม และการอบรมสั่งสอนธรรมก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ”

ว่ากันว่า การหันมาประพฤติธรรมของพระเจ้าอโศก ก็คือหันมานับถือพระพุทธศาสนานั่นเอง และในศิลาจารึกหลักหนึ่งบอกว่าพระองค์ “ทรงเข้าถึงพระสงฆ์” มีผู้ตีความว่าทรงผนวชเป็นเวลาสามเดือน ขณะที่ยังครองราชย์

และผลจากที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนานี้เอง ทำให้ทรงเปลี่ยนวิธีการเผยแผ่กฤษดาภินิหารจากการทำสงคราม มาเป็นการเอาชนะได้ด้วยคุณธรรม อันเรียกว่า “ธรรมวิชัย” (หรือธรรมราชา) ดังจารึกตอนหนึ่งว่า
“สำหรับพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ชัยชนะที่ทรงถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ “ธรรมวิชัย” (ชัยชนะโดยธรรม) พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ทรงกระทำสำเร็จแล้วทั้ง ณ ที่นี้ (ในพระราชอาณาจักร) และในดินแดนข้างเคียงทั้งปวงไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์...”

ก่อนจะหันมานับถือพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่าพระองค์ทรงนับถือศาสนาเชน (ลัทธิชีเปลือย) มาก่อน ตามบรรพบุรุษแห่งโมริยวงศ์ และหลังจากหันมาทรงดำเนินนโยบายธรรมวิชัย แผ่กฤษดาภินิหารด้วยธรรมะแล้วทรงได้รับขนานพระนามใหม่ว่า “ธัมมาโศก” (อโศกผู้ทรงธรรม)

พิเคราะห์ตามนี้ แสดงว่าพระเจ้าอโศกทรงนับถือพระพุทธศาสนา เพราะทรงสำนึกได้ว่าได้ทำบาปไว้มาก จึงละความเบียดเบียน หันมาถืออหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องความไม่เบียดเบียนเป็นหลัก

แต่ถ้าถือตามหลักฐานทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พระเจ้าอโศกทรงนับถือพระพุทธศาสนา เพราะสามเณรน้อยรูปหนึ่งชักจูง

ในหนังสือสมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัยปิฎก) กล่าวว่า เช้าวันหนึ่ง ขณะประทับทอดพระเนตรผ่านช่องสีหบัญชร (หน้าต่าง) พระราชมณเทียร ทอดพระเนตรเห็นสามเณรน้อยรูปหนึ่งเดินผ่านไป

ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถอันสงบของสามเณรน้อย รับสั่งให้นิมนต์ขึ้นไปบนพระราชมณเทียร ทรงซักถามได้ทราบความว่า สามเณรน้อยเป็นบุตรของสุมนราชกุมาร พระเชษฐาของพระองค์เอง นามว่า นิโครธ

เมื่อทรงทราบว่าเป็น “หลาน” ของพระองค์ ก็ยิ่งทรงมีพระเมตตาต่อสามเณรน้อย ขอให้สามเณรน้อยกล่าวธรรมให้ฟัง

สามเณรน้อยถวายพระพรว่า ตนเพิ่งบวชเรียนศึกษาได้ไม่มาก ไม่สามารถกล่าวธรรมโดยพิสดารได้ ขอกล่าวแต่โดยย่อ ว่าแล้วก็ได้กล่าวพุทธภาษิตใน “พระธรรมบท” ว่า
       อัปปะ มาโท อะมะตังปะทัง ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง
       อัปปะมัตตา นะ มียันติ เย ปะมัตตา ยะถา มะตา

ความว่า ความไม่ประมาทเป็นทางอมตะ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ที่ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เสมือนตายแล้ว

ถ้าจะ “ประนีประนอม” ความก็คงจะได้ว่า พระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาเอง หลังจากทรงเกิดความสลดพระทัยที่ทอดพระเนตรเห็นคนตายจำนวนมากในสงคราม เมื่อครั้งไปตีเมืองกลิงคะก็ถูก  จะกล่าวว่าทรงนับถือพระพุทธศาสนาเพราะได้ฟังธรรมจากสามเณรนิโครธ นั้นก็ถูกเหมือนกัน

เหตุการณ์ทั้งสองนี้เกิดไล่เลี่ยกัน พระองค์ทรงสังเวชพระทัยในการล้มตายของทหารและพลเมืองชาวกลิงคะอยู่ก่อนแล้ว พอดีมาพบสามเณรน้อย ได้ฟังธรรมจากสามเณรน้อยเข้า ก็ยิ่งทรงแน่ใจว่า การประพฤติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นทางถูกต้องและดีที่สุด ในที่สุดจึงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

ว่ากันอีกเหมือนกันว่า พระเจ้าอโศกมิเพียงเป็นพุทธมามกะเป็นพุทธศาสนูปถัมภกเท่านั้น หากยังทรงประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติด้วย

พระองค์ทรงศึกษาธรรมจนซาบซึ้ง และได้ประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการปกครองประเทศ อันเรียกว่า “อโศกธรรม” ทรงวางหลักการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้งและส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ ประชาสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง

แนวทางของพระองค์ได้รับการยึดถือเอาเป็นแบบอย่างของกษัตริย์ผู้ครองแว่นแคว้นในยุคต่อมา เช่น พระเจ้ากนิษกมหาราช (พุทธศตวรรษที่ ๗) พระเจ้าหรราวรรธนะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๒) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) เป็นต้น

ทรงสร้างวัดแปดหมื่นสี่พันวัด สร้างเจดีย์แปดหมื่นสี่พันองค์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์เป็นอย่างดี จนพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของพระองค์ เป็นเหตุให้เหล่า “เดียรถีย์” (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) เข้ามาปลอมบวชเพื่อหวังจะอยู่สุขสบาย

เมื่อบวชเข้ามาแล้วได้แสดงธรรมวินัยวิปริตผิดเพี้ยนไป สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นในพระศาสนา จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการชำระสะสางสังฆมณฑลครั้งใหญ่ อันเรียกว่าทำ “สังคยานาครั้งที่สาม” ...


พระเจ้าอโศกมหาราช
ผู้ทรงธรรม (๒)
เมื่อพระเจ้าอโศก ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์อย่างนี้ พระพุทธศาสนาโดยรวมก็เจริญรุ่งเรือง พวกนอกศาสนาเห็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้รับความเคารพนับถือ และมีลาภสักการะเช่นนั้นบ้าง ก็พากันปลอมบวชเป็นพระภิกษุ บวชเข้ามาแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่า “ไผเป็นไผ” เพราะนุ่งห่มเหมือนกัน

พระภิกษุปลอมบวชก็ยังไม่รู้ว่าเป็นพระปลอม จนกว่าจะแสดงธรรมวินัยออกมาผิดเพี้ยนจากแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

ถ้าเอามาตรฐานนี้วัด แม้ผู้ที่บวชถูกต้องตามพระวินัย แต่ไม่ศึกษาเล่าเรียน แสดงธรรมผิดๆ เพี้ยนๆ เอาพุทธไปเป็นพราหมณ์ ก็น่าจะเรียกว่าเป็นพระปลอมเหมือนกันนะครับ

พวกเดียรถีย์ที่ปลอมบวช ต่างก็แสดงธรรมวินัยวิปริตผิดเพี้ยน แถมวัตรปฏิบัติก็ไม่เคร่งครัดสำรวมเหมือนพระสงฆ์ทั่วไป ก็ได้รับความรังเกียจจากพระสงฆ์ผู้ทรงศีล หนักเข้าถึงขนาดท่านเหล่านั้นไม่ยอมลงโบสถ์สังฆกรรมด้วย ความแตกแยกก็เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบว่าพระสงฆ์ไม่ลงรอยกัน จึงได้ส่งมหาอำมาตย์คนหนึ่งไปจัดการให้พระสงฆ์สามัคคีกัน  

อำมาตย์ถือว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ไป “จัดการ” ให้พระสงฆ์สามัคคีกัน แกก็ไป “จัดการ” จริงๆ เหมือนกัน  ไปถึงก็เรียกประชุมภิกษุสงฆ์ บอกท่านเหล่านั้นว่า “ในหลวงมีรับสั่งให้ผมมาจัดการให้พวกท่านสามัคคีกัน พวกท่านจะลงโบสถ์ทำสังฆกรรมร่วมกันตามพระราชประสงค์หรือไม่” ภิกษุปลอมเป็นพวกไม่มีกระดูกสันหลัง จะเอาอย่างไรก็ได้อยู่แล้ว จึงกล่าวว่า “พวกอาตมาไม่มีปัญหา” (แน่ พูดเหมือนอดีตนายกฯ ที่ชื่อ “น้าชาติ” ผู้ล่วงลับแฮะ) ว่า แต่ว่าท่านเหล่านั้นจะยินยอมไหม

ท่านเหล่านั้น ก็หมายถึงพระภิกษุผู้ทรงศีลทั้งหลาย เมื่อมหาอำมาตย์หันไปถาม ท่านเหล่านั้นจึงว่า “พวกอาตมาจะไม่ยอมลงโบสถ์กับพวกทุศีลเป็นอันขาด”
“ท่านจะยอมไหม” มหาอำมาตย์ย้ำคำถามเดิม
“ไม่ยอม” เสียงยืนกรานดังมาจากแทบทุกปาก

ทันใดนั้น มหาอำมาตย์ก็ชักดาบออกจากฝัก ฟันคอพระเถระผู้นั่งอยู่แถวหน้าล้มลงถึงแก่มรณภาพทันที สร้างความตกตะลึงไปทั่ว แล้วร้องถามเสียงดังว่า “ท่านล่ะจะยอมไหม”
พระเถระรูปถัดไปร้องว่า “ไม่ยอม”
“ไม่ยอมหรือ นี่แน่ะ” สิ้นคำว่านี่แน่ะก็เสียงดังเฟี้ยว คอหลุดจากบ่าพระเถระอีกรูป เลือดแดงฉานนองพื้น

พระนวกะรูปหนึ่งนั่งอยู่ท้ายแถว เห็นเหตุการณ์จะไปกันใหญ่ จึงถลันเข้ามานั่งขวางไว้ มหาอำมาตย์ชักดาบกำลังจะเงื้อฟันอยู่พอดีเห็นหน้าพระคุณเจ้าก็จำได้ จึงสอดดาบเข้าฝักเดินลงจากศาลากลับไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน

พระหนุ่มนั้นหาใช่ใครไม่ คือ พระติสสะ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราชนั่นเอง

พระเจ้าอโศกทรงทราบว่ามหาอำมาตย์ไปทำการเกินคำสั่ง ก็ร้อนพระทัย รีบเข้าไปหาพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ผู้เป็นหลักในสมัยนั้น กราบทูลถามว่า พระองค์จะบาปมากไหมที่ส่งให้อำมาตย์ไปทำการอย่างหนึ่ง แต่อำมาตย์ได้ปลงชีวิตพระภิกษุไปหลายรูป

พระเถระถวายพระพรว่า “ถ้าพระองค์มิได้มีพระประสงค์ให้พวกอำมาตย์ไปฆ่าพระ ก็ถือว่าไม่มีเจตนา ถึงบาปก็เบา”
“โยมจะทำอย่างไรดี” พระเจ้าอโศกตรัสปรึกษา
“ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ถึงอุปถัมภ์สังคายนา” พระเถระถวายคำแนะนำ ซึ่งพระเจ้าอโศกก็ทรงเห็นด้วย แล้วสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่สามก็เกิดขึ้น

พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป ได้รับคัดเลือกเพื่อทำสังคายนา ณ อโศการาม เมืองปาตลีบุตร โดยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงถวายความอุปถัมภ์ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบความรู้พระธรรมวินัยพระสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล คำถามนั้นเป็นคำถามกว้างๆ แบบ “อัตนัย” คือถามว่า “พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไร”

ผู้เข้าสอบจะต้องอธิบายธรรมะที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมา กรรมการจะซักถามทุกแง่ทุกมุมจนเป็นที่พอใจ จึงสอบผ่าน

ว่ากันว่า ถ้าใครไม่ตอบในแง่ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็น “วิภัชชวาที” คือ ตรัสจำแนก หรือ ตรัสสอนแบบวิเคราะห์แยกแยะแล้ว ปรับตกหมด ถึงจะอธิบายดีอย่างไรก็ตาม อลัชชีปลอมบวชนั้น แน่นอน ต้องสอบตกแน่ๆ แต่พระภิกษุที่บวชถูกต้องตามพระวินัย ที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ไม่รู้พระพุทธศาสนา ถูกปรับตก ก็มีไม่น้อย ท่านที่สอบไม่ผ่านจะถูกจับสึกทั้งหมด

ว่ากันว่าพระภิกษุจำนวนหมื่นๆ รูปถูกจับสึกเหลือแต่พระภิกษุที่มีความรู้พระธรรมวินัยดี เท่ากับคัดบุคลากรที่มีคุณสมบัติไม่พร้อมที่จะธำรงพระพุทธศาสนาออก เหลือแต่ที่มีคุณภาพล้วนๆ ถึงเหลือน้อยก็ทำให้พระศาสนามีกำลังและดำรงอยู่ได้นาน

ในสมัยอยุธยาเองก็มีการสอบแบบนี้เหมือนกัน ว่ากันว่ามีคนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามากมาย จนกระทั่งขาดชายหนุ่มที่มารับราชการรับใช้บ้านเมือง พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงปรึกษาหารือกับพระเถระผู้ใหญ่ พระเถระผู้ใหญ่จึงแนะให้จัดสอบความรู้ พระเถระใดสอบตกก็ไล่สึกให้ไปทำราชการ

คำว่า “สอบไล่” มีมาตั้งแต่สมัยนั้น แต่มิได้หมายถึงสอบเลื่อนชั้น ที่จริงหมายถึง “ไล่สึก” ครับ ไปยังไงมายังไงไม่ทราบ เรานำมาใช้ในความหมาย “สอบครั้งสุดท้าย” หรือ final exams เดี๋ยวนี้คำนี้หายไปแล้ว

หลังทำสังคายนาครั้งนั้นสิ้นสุดลง ก็ได้มีการส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆ จำนวน ๙ คณะ คือ
๑. พระมัชฌันติกะและคณะ ไปแคว้นกัสมีระและคันธาระ (คือ แคชเมียร์และอัฟกานิสถานปัจจุบัน)
๒. พระมหาเทวะและคณะไปมหิสกมณฑล (คือ ไมชอร์ ติดต่อกับแคว้นมัทราส ทางใต้ของชมพูทวีป)
๓. พระรักขิตะและคณะไปวนวาสีประเทศ (แถบอินเดียใต้ จังหวัดกรรนาฏในปัจจุบัน)
๔. พระโยนกธัมมรักขิตะไปอปรันตประเทศ (คัชราฏ) (ที่ตั้งของเมืองบอมเบย์ปัจจุบัน)
๕. พระมหาธัมมรักขิตะ และคณะไปมหารัฐ (แคว้นมหาราษฎร์ในปัจจุบัน)
๖. พระมหารักขิตะและคณะไปโยนกประเทศ (เขตบากเตรียในเปอร์เซียปัจจุบัน)
๗. พระมัชฌิมะและคณะไปหิมวันตประเทศ (คือแถบเนปาลในปัจจุบัน)
๘. พระมหินทะและคณะไปลังกาทวีป
๙. พระโสณะและพระอุตตระพร้อมคณะ ไปสุวรรณภูมิ (ดินแดนพม่า มอญ ไทย ในปัจจุบัน)

ถ้าไม่กางแผนที่ก็ไม่รู้ดอกว่าท่านรูปใดไปแคว้นดินแดนใด ผมเองก็ไม่เก่งทางด้านภูมิศาสตร์ด้วย มองภาพไม่ออกว่าที่ไหนเป็นที่ไหน พูดกว้างๆ ก็แล้วกันว่าพระเจ้าอโศกทรงส่งคณะธรรมทูตไปยังแคว้นต่างๆ ในชมพูทวีปเอง และออกนอกชมพูทวีป เช่น ลังกา ไทย (ในปัจจุบัน) เป็นต้น

แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางท่าน เช่น โอลเดน เบอร์ก จะปฏิเสธว่าไม่มีการทำสังคายนาที่สามที่พระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์ และไม่เชื่อว่าพระเจ้าอโศกส่งคณะธรรมทูตไปยังต่างประเทศ การที่พระพุทธศาสนาแพร่ไปยังดินแดนต่างๆ เช่น ลังกาเป็นผลแห่งการถ่ายโอนทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งค่อยเป็นค่อยไป มิใช่มีใครมาจัดส่งพระพุทธศาสนาแบบ “สำเร็จรูป” ไปดังเชื่อกัน

การถ่ายโอนทางศาสนาและวัฒนธรรม ก็ผ่านเส้นทางพาณิชย์ การค้าขายติดต่อกันระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง เมื่อพ่อค้าเดินทางไปยังต่างเมือง พระสงฆ์ก็เดินทางไปด้วย พระพุทธศาสนาก็พลอยได้รับความเชื่อถือและปฏิบัติจากประชาชนประเทศนั้นๆ ว่ากันอย่างนั้น

จะอย่างไรก็ตาม มีผู้พบหลักฐาน ก็คือจารึกผอบหินทรายที่ขุดพบที่โบราณสถานที่เมืองสาญจิ บอกว่าเป็นผอบบรรจุอัฐิแห่งพระโมคคัลลีบุตร พระกัสสปโคตร ผู้ทรงศีลแห่งแคว้นหิมาลัย พระมัชฌิมะผู้สัปปุรุษ เป็นหลักฐานแสดงว่า ในสมัยพระเจ้าอโศก มีการส่งพระธรรมทูตไปประกาศพระพุทธศาสนายังดินแดนจริง มิใย (ขอโทษอาจารย์สุลักษณ์ ขอยืมวลีประจำตัวมาใช้หน่อย) ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นแบบอย่างอุบาสกผู้ทรงธรรม ผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เป็นมหากษัตริย์ที่นำเอาพุทธธรรมมาปรับใช้เป็นหลักการปกครองประเทศและสำหรับดำเนินชีวิต เป็นต้นแบบ “ธรรมวินัย” หรือ “ธรรมราช” ที่พระมหากษัตริย์ในยุคต่อมาพยายามดำเนินรอยตาม

ชาวพุทธจึงควรสำนึกในพระมหากรุณาที่ทรงช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาจนกระทั่งยั่งยืนมาถึงเราในปัจจุบันนี้....

 
ข้อมูล : บทความพิเศษ พระเจ้าอโศกมหาราช : ผู้ทรงธรรม (๑) และ (๒) หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กุมภาพันธ์ 2557 11:06:15 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พุทธวจนะในธรรมบท โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
Kimleng 4 5805 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2561 14:29:41
โดย Kimleng
พระพุทธเจ้า มีตัวตนจริงหรือ? - ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 2906 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2557 12:47:46
โดย Kimleng
ต้นเหตุเกิดผ้าอาบน้ำฝน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 1913 กระทู้ล่าสุด 22 มิถุนายน 2558 13:05:32
โดย Kimleng
พระมหากรุณาของพระพุทธองค์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
Kimleng 0 1878 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2560 15:42:07
โดย Kimleng
วิบากแห่งกรรม โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
Kimleng 7 7452 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2561 17:35:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.928 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้