[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 01:04:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหาสิทธะวิรูปะ Mahasiddha Virupa ใน หนังสือ การเห็นทางธรรมสามระดับ  (อ่าน 2181 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 16.0.912.77 Chrome 16.0.912.77


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มีนาคม 2556 01:54:30 »



รูปหน้าปกของหนังสือการเห็นทางธรรมสามระดับ  เป็นรูปของพระมหาสิทธะวิรูปะกำลังหยุดดวงอาทิตย์ วาดโดยคุณอธิพงศ์ ภาดานุพงศ์ พระมหาสิทธะวิรูปะเป็นพระอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียในอดีต ท่านเป็นต้นรากของคำสอนที่พัฒนามาเป็น “การเห็นทางธรรมสามระดับ” นี้ ซึ่งเรียกในภาษาทิเบตว่า “ลัมเดร” เรื่องราวชีวิตของท่าน ตลอดจนเหตุว่าทำไมท่านจึงหยุดดวงอาทิตย์ได้ และหยุดไปเพราะเหตุใด มีดังต่อไปนี้
 
พระมหาสิทธะวิรูปะเป็นเจ้าอาวาสของมหาวิทยาลัยนาลันทาอันยิ่งใหญ่ในราวปีคริสตศักราช 650 ท่านได้สละตำแหน่งนี้และได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในชาตินั้นเอง ท่านเป็นหนึ่งในพระมหาสิทธะหรือผู้บรรลุธรรมแปดสิบสี่รูป ผู้ก่อตั้งนิกายสาเกียปะ ซาเชนกุงกาญิงโป ได้รับการถ่ายทอดคำสอนและมนตราภิเษกระบบลัมเดรจากสายคำสอนที่นำมาสู่ทิเบตจากอินเดียโดยท่านคยาธรในคริสตศตวรรษที่สิบเอ็ด และได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากวิรูปะในภาพนิมิต ในการรับถ่ายทอดคำสอนทั้งสองนี้ ซึ่งประกอบด้วยคำสอนแบบยาวและแบบสั้น ได้มีการถ่ายทอดคำสอนการทำสมาธิทั้งหมดให้แก่สายสาเกียในทิเบต
 
          ท่านงอร์เชนคนชกลุนดรุบ (เจ้าอาวาสของวัดงอร์ 1497-1557) ท่านเป็นโยคีที่บรรลุธรรมและก็เป็นนักวิชาการที่ศึกษางานอย่างหลากหลาย ผู้ซึ่งได้ศึกษาไม่เพียงแต่พระพุทธศาสนาในอินเดียเท่านั้น แต่ยังศึกษางานเขียนของพระอาจารย์ทิเบตองค์อื่นๆอีกด้วย ท่านได้ประพันธ์หนังสือสองเล่ม ได้แก่ "การเห็นทั้งสาม" กับ "ความต่อเนื่องทั้งสาม"  ท่านงอร์เชนคนชกลุนดรุบได้ประพันธ์บทกวีทิเบตไว้โศลกหนึ่งดังนี้
 
ข้าฯขอกราบกรานด้วยความเคารพ
ซึ่งบาทของพระผู้ทรงเป็นเจ้าของโยคีทั้งปวง
ผู้ซึ่งทรงรื่นเริงอยู่ในเมรัยแห่งความสุข
ผู้ทรงหยุดไว้เสียซึ่งสายน้ำอันยิ่งของสังสาระและกิเลส
และทรงหยุดไว้เสียซึ่งดวงตะวันอันสะอาดไร้มลทิน
 
         "พระผู้ทรงเป็นเจ้าของโยคี" ได้แก่ท่านวิรูปะ เนื่องจากความสามารถของท่านในการสอนและการทำสมาธิไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน วิรูปะเคยเป็นเจ้าอาวาสของมหาวิทยาลัยนาลันทาอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้แทบทุกอย่างในอินเดียสมัยประมาณคริสตศตวรรษที่เจ็ด พระภิกษุนับเป็นหมื่นๆรูปมารวมกัน ณ ที่นี้จากทุกส่วนของอินเดียเพื่อมาศึกษาศาสตร์ใหญ่ห้าแขนง และศาสตร์ย่อยอีกห้าแขนง ท่านวิรูปะได้รับเลือกเป็นพระภิกษุที่คงแก่เรียนและบรรลุธรรมได้มากที่สุดในบรรดาพระภิกษุทั้งหลายในมหาวิทยาลัย ท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญาและตรรกวิทยา จนท่านเป็นที่รู้จักกันในนามว่าท่านธรรมปาละ ซึ่งแปลว่า "ผู้รักษาไว้ซึ่งพระธรรม"
 
          ในเวลากลางวัน ท่านวิรูปะสอนวิชาปรัชญา ตรรกวิทยาและศาสตร์อื่นๆ ท่านสอนแต่เพียงปรัชญาปารมิตาและคำสอนมหายานอื่นๆเท่านั้น นอกจากนั้นท่านยังมีความสำรวมในอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง ท่านปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด และดำรงตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุรูปอื่นๆในมหาวิทยาลัยนาลันทา ท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ในทางลับท่านใช้เวลาในเวลากลางคืนปฏิบัติตันตระ ซึ่งตามประเพณีควรจะปฏิบัติในเวลากลางคืนอย่างลับๆ เพื่อให้ได้ผลสูงสุด ท่านวิรูปะปฏิบัติเช่นนี้มากว่ายี่สิบสี่ปี แต่ก็มิได้บรรลุมรรคผลอันใด ในที่สุดท่านก็รู้สึกท้อแท้ และยิ่งไปกว่านั้นท่านก็เริ่มมีฝันร้าย ท่านมองเห็นนรกภูมิ เห็นพระอาทิตย์กับพระจันทร์ร่วงหล่นมาจากท้องฟ้า ท่านมีฝันร้ายซึ่งความฝันที่คืนหลังๆก็ยิ่งเลวร้ายกว่าในคืนก่อนหน้า ท่านคิดว่าการปฏิบัติตันตระอาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดี ท่านตัดสินใจจะไม่ปฏิบัติอีกต่อไป ท่านจึงเหวี่ยงลูกประคำของท่านทิ้งไป ซึ่งเป็นลูกประคำที่ท่านใช้มาตลอดในการปฏิบัติถึงพระจักรสังวร และจากนั้นท่านก็มีความสุขมากในเวลากลางวันของวันรุ่งขึ้น
 
          ในคืนต่อมานั้นเอง ก็มีผู้หญิงหน้าตาตลกปรากฏกายแก่ท่าน ซึ่งเป็นหญิงในวรรณะต่ำ หญิงคนนี้ผิวคล้ำเกือบจะดำ ร่างซูบผอม เป็นที่สะดุดตามาก หญิงคนนี้มาหาท่านแล้วก็กล่าวว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าทำผิดมากที่ขว้างลูกประคำทิ้งไป ข้าฯเป็นเทพประจำตัวของเจ้า เจ้าควรจะปฏิบัติสมาธิถึงข้าฯในเวลาทั้งหมดนี้ ถ้าเจ้าปฏิบัติสมาธิถึงข้าฯ เจ้าก็จะบรรลุธรรม ที่ข้าฯอยากให้เจ้าทำก็คือไปเก็บลูกประคำกลับมา" (วิรูปะขว้างลูกประคำลงไปในส้วม) หญิงคนนี้บอกวิรูปะให้ชำระล้างลูกประคำให้สะอาดหมดจด ประดับด้วยเครื่องหอม และทำสมาธิต่อไป แต่เป็นสมาธิถึงเธอ
 
          ท่านวิรูปะทราบว่าหญิงคนนี้ได้แก่พระนางวัชรไนราตมยา หรือ "พระเทวีแห่งอนัตตา" ผู้เป็นชายาของพระเหวัชระผู้เป็นเทพตันตระผู้ยิ่งใหญ่ ดังนั้นท่านจึงทำตามที่พระนางขอ ท่านไปเก็บลูกประคำกลับมา ล้างให้สะอาด ประพรมด้วยน้ำหอม และปฏิบัติสมาธิตันตระต่อไป เกือบจะทันใดนั้นพระวัชรไนราตมยาก็ปรากฏพระวรกายขึ้นพร้อมด้วยเหล่าบริวาร มณฑลของท่านปรากฏขึ้นแก่ท่านวิรูปะอย่างชัดเจนเหมือนกับเรามองเห็นกันอยู่ในตอนนี้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความฝัน ไม่ใช่ภาพในใจ แต่เป็นการปรากฏอย่างชัดเจนของมณฑลพิธีพร้อมด้วยเหล่าเทพทั้งปวง ซึ่งต่างก็มาให้พรและญาณทัศนะแก่ท่าน ในคืนนั้นเอง ท่านวิรูปะก็ได้บรรลุถึงการรับรู้ชั้นสูงและได้บรรลุภูมิของพระโพธิสัตว์ขั้นที่หนึ่ง อันเป็นภูมิแรกของพระโพธิสัตว์ในการเดินทางไปสู่การตรัสรู้ ในคืนต่อๆมาหลังจากนั้นท่านก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และในคืนที่หกท่านก็บรรลุภูมิที่หก ซึ่งเป็นขั้นของการไม่หวนกลับมาอีก  และหลังจากนั้นก็เป็นเวลาอีกไม่นานที่ท่านจะบรรลุถึงพระพุทธภาวะ ซึ่งท่านก็ได้บรรลุเช่นนั้น
 
          สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงสำหรับท่านวิรูปะ แทนที่ท่านจะสอนและสำรวมระวังอินทรีย์และปฏิบัติตามพระวินัยเป็นตัวอย่างแก่พระภิกษุรูปอื่นๆอย่างที่เคยทำ ท่านก็เริ่มฉันเนื้อสัตว์และเหล้าองุ่น และท่านก็ไม่เดินทางไปสอนหนังสือ ไม่เพียงแต่เท่านั้น แต่ดูเหมือนว่าพระภิกษุรูปอื่นๆเห็นเจ้าอาวาสมีผู้หญิงมาเยี่ยมถึงในกุฏิในเวลาค่ำคืน แท้จริงแล้วสิ่งที่พระภิกษุเหล่านั้นมองเห็น คือเหล่าฑากินีและเทวีต่างๆที่ปรากฏขึ้นในการทำสมาธิของท่าน อย่างไรก็ตามก็ดูเหมือนว่าท่านกำลังจะทำลายชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยนาลันทา และพระภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พอใจ ในท้ายที่สุดพระภิกษุเหล่านี้ก็บอกแก่ท่านว่าท่านทำให้ทุกๆรูปผิดหวัง และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ภิกษุรูปอื่นๆ และท่านได้กลายเป็นโยคีและพระภิกษุที่ไม่ดีเลย ท่านวิรูปะกล่าวตอบว่า "ใช่แล้ว ท่านพูดถูกแล้ว ดังนั้นเพื่อปกป้องชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยนาลันทา กระผมจะออกจากมหาวิทยาลัย" พระภิกษุเหล่านั้นก็เห็นด้วยและท่านก็เริ่มเดินทางออกจากมหาวิทยาลัย
 
          หลังจากที่ออกมาแล้ว ท่านวิรูปะก็เดินทางท่องเที่ยวไปและทำสมาธิท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหนึ่ง ท่านถูกแดดเผาและมีผิวดำขึ้น ท่านยังมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจากการฉันเนื้อ ผมกับหนวดเคราของท่านหยาบขึ้น ท่านประดับร่างกายของท่านด้วยมาลัยดอกไม้ ซึ่งถือว่าเป็นรสนิยมที่ไม่ดีสำหรับผู้ที่เป็นพระภิกษุในอินเดียสมัยนั้น ทุกที่ที่ท่านไป ผู้คนก็กล่าวกันว่า "มองดูขอทานเลวชาวพุทธคนนี้สิ" แล้วก็ไม่มีความเคารพใดๆแก่ท่าน อันที่จริงท่านได้เปลี่ยนไปมากจนกระทั่งแทนที่ผู้คนจะเรียกท่านว่า ท่านธรรมปาละ แต่กลับเรียกท่านว่า "วิรูปะ" แปลว่า "ผิดรูป" หรือ "น่าเกลียด"
 
          วันหนึ่งท่านวิรูปะกำลังเดินทางไปยังเมืองพาราณสีและมาถึงยังฝั่งแม่น้ำคงคา แต่คนพายเรือไม่ยอมพาท่านข้ามฟากเนื่องจากท่านไม่มีค่าโดยสาร ท่านวิรูปะทำท่ามุทรา แล้วชี้นิ้วไปยังแม่น้ำ พร้อมกับกล่าวว่า "ท่านเป็นแม่น้ำที่ค่อนข้างศักดิ์สิทธิ์ ฉันเข้าใจ และเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ฉันเป็นพระภิกษุพุทธที่น่าเกลียด ฉันไม่อยากทำให้ท่านแปดเปื้อนด้วยการว่ายข้ามไป ดังนั้นฉันคิดว่าท่านควรจะถอยไป" ปรากฏว่าแม่น้ำคงคาถอยไปจริงๆ และท่านก็เดินข้ามไปได้ ตรงนี้เป็นความหมายวงในของบรรทัดในโศลกที่บอกว่า ท่านวิรูปะเป็น "ผู้ทรงหยุดไว้เสียซึ่งสายน้ำอันยิ่งของสังสาระกับกิเลส" แล้วก็ยังมีการตีความโศลกนี้แบบวงในด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป แต่เรื่องราวที่บันทึกลงในประวัติศาสตร์ก็คือว่า ท่านวิรูปะเป็นโยคีที่รู้จักกันว่า สามารถทำให้แม่น้ำคงคาไหลย้อนกลับได้



เมื่อท่านข้ามแม่น้ำคงคาและมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว สิ่งแรกที่ท่านทำก็คือไปยังร้านเหล้าและสั่งเหล้าองุ่นมาดื่ม ท่านเริ่มดื่มและหลังจากนั้นเจ้าของร้านก็เริ่มเป็นห่วงว่าลูกค้าคนนี้อาจไม่ยอมจ่ายค่าเหล้า ดังนั้นจึงบอกท่านวิรูปะให้จ่าย ท่านวิรูปะตอบว่า "ข้าฯจะจ่ายแน่ๆ ข้าฯตั้งใจเช่นนั้น แต่ข้าฯจะดื่มถึงเวลาเที่ยง ดังนั้นจนกว่าเงาแดดจะถึงจุดๆนี้ (แล้วท่านก็ขีดรอยลงบนโต๊ะ) ข้าฯจะไม่หยุดดื่ม แล้วเอาเหล้ามาเพิ่มอีกเรื่อยๆ"  ดังนั้นจึงเป็นอันตกลง และท่านวิรูปะก็ดื่มต่อไปอีกเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้ดำเนินไปเป็นเวลานานมาก อันที่จริงดำเนินไปเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน แต่เงาของดวงอาทิตย์ก็ไม่เคยถึงรอยที่ขีดไว้เลย ในขณะเดียวกัน หลังจากที่แสงแดดหยุดอยู่ที่เวลาสายๆเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน ส่วนอื่นๆของโลกก็เริ่มเดือดร้อน ผู้คนต่างๆไปหาพระราชาขอให้ท่านทรงทำอะไรบางอย่าง พระราชาปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์ ซึ่งก็ได้ข้อสรุปว่าต้องมีโยคีบางรูปที่แสดงความสามารถ และต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นเหล่าเสนาจึงออกค้นหาแล้วก็พบท่านวิรูปะ ซึ่งยังคงดื่มอยู่ เมื่อพระราชาทรงเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น ท่านก็ทรงจ่ายค่าเหล้าแทนให้ และทั้งหมดนี้ก็คือความหมายของโศลกที่บอกว่า "ทรงหยุดไว้เสียซึ่งดวงตะวันอันสะอาดไร้มลทิน"
 
          ท่านวิรูปะเป็นผู้ที่เริ่มสอน การเห็นทั้งสาม เป็นครั้งแรก แม้ว่าเรื่องราวในชีวประวัติของท่านจะดูเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างใด เพราะเมื่อโศลกกล่าวถึงท่านว่าเป็น "พระผู้ทรงเป็นเจ้าของโยคีทั้งปวง ผู้ซึ่งทรงรื่นเริงอยู่ในเมรัยแห่งความสุข" เราต้องจำไว้ว่าเหล้าองุ่นที่ท่านวิรูปะที่เป็นพระผู้ตรัสรู้แล้วดื่มนั้น แท้จริงก็ได้แก่น้ำทิพย์แห่งการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ น้ำทิพย์นี้เปรียบได้กับเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นเหตุของความสุขอันล้นเหลือของปุถุชน แต่สำหรับพระโยคาวจรเหล้าองุ่นนี้ก็คือน้ำทิพย์แห่งการตรัสรู้
 
          ในทำนองเดียวกัน การที่แม่น้ำคงคาไหลย้อนกลับก็ได้แก่การหยุดยั้งกระแสของกิเลสทั้งปวง จิตนั้นเปรียบเหมือนกับกระแสน้ำที่ไหลอย่างไม่หยุดยั้งและไม่อาจทำให้ไหลย้อนกลับได้ ภัยน้ำท่วมอันได้แก่โลภะ โทสะ โมหะ ความเย่อหยิ่ง และการเห็นแก่ตัวเปรียบเหมือนกับแม่น้ำใหญ่ที่มนุษย์ธรรมดาๆไม่สามารถจัดการได้ อย่าว่าแต่สั่งให้ไหลย้อนกลับเลย แต่พระโยคาวจรผู้ยิ่งใหญ่ที่สามารถควบคุมจิตของท่านรวมทั้งปรากฏการณ์ภายนอกได้อย่างสิ้นเชิงเช่นท่านวิรูปะนั้น สามารถ "หยุดไว้เสียซึ่งสายน้ำอันยิ่งของสังสาระและกิเลส" เมื่อท่านได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านได้บรรลุถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายของความเป็นจริงอันเป็นพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แหล่งที่มาของความรู้และปัญญานี้เปรียบได้กับพระอาทิตย์ที่ส่องแสงกำจัดความมืดของอากาศธาตุ ของกายทั้งหลาย และของรูปทั้งปวง ดังนั้นโศลกที่กล่าวว่าท่านวิรูปะ "ทรงหยุดไว้เสียซึ่งดวงตะวันอันสะอาดไร้มลทิน" จึงหมายถึงสิ่งที่เราเพิ่งพูดกันไปในระดับความหมายวงใน
 
          ในระดับวงนอก ท่านวิรูปะได้กระทำอิทธิฤทธิ์ด้วยการสั่งให้แม่น้ำไหลย้อนกลับและด้วยการหยุดพระอาทิตย์ และท่านก็ยังเป็นนักดื่มตัวยง แต่ในระดับของจิตวิญญาณ ท่านกำลังบรรลุถึงภารกิจที่การตรัสรู้ทำให้เกิดเป็นไปได้ขึ้นมา...
 
หนังสือ "การเห็นทางธรรมสามระดับ" แปลจาก The Three Levels of Spiritual Perception แต่งโดย เตชุง ริมโปเช และคณะ แปลโดย รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา

http://www.facebook.com/1000tara




การเห็นทางธรรมสามระดับ1


การเห็นทางธรรมสามระดับ 2


การเห็นทางธรรมสามระดับ 3


การเห็นทางธรรมสามระดับ 4


การเห็นทางธรรมสามระดับ 5


การเห็นทางธรรมสามระดับ 6

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หนังสือ หลวงปู่ทา จารุธัมโม
เอกสารธรรม
หมีงงในพงหญ้า 1 4449 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2553 21:40:39
โดย หมีงงในพงหญ้า
หนังสือ : วิปัสสนาภูมิ (.pdf)
เอกสารธรรม
หมีงงในพงหญ้า 0 5246 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2553 21:43:56
โดย หมีงงในพงหญ้า
หนังสือ : มหาราชายอดกตัญญู (.pdf)
เอกสารธรรม
หมีงงในพงหญ้า 0 2882 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2553 21:50:53
โดย หมีงงในพงหญ้า
หนังสือ : วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่
เอกสารธรรม
หมีงงในพงหญ้า 0 2981 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2553 22:08:02
โดย หมีงงในพงหญ้า
ฝันเห็นเสือ (จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2851 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:47:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.638 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 09:18:54