[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 14:01:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553  (อ่าน 2894 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:26:28 »

จากเวบไซท์สมาคมดาราศาสตร์ไทย


บ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 จะเกิดสุริยุปราคาซึ่งปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสสังเกตได้เพียงครั้งเดียว สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้มีเส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดยภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด

วันที่เกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากเนื่องจากเป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลกที่สุดไม่ถึง 2 วัน และหลังจากวันที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่ถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานถึง 11 นาที 8 วินาที ที่กึ่งกลางคราส นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3 (ค.ศ. 2001-3000) และเป็นครั้งเดียวที่นานกว่า 11 นาที (ครั้งถัดไปที่นานกว่า 11 นาที เกิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 3043)

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 เริ่มต้นในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (UT) 7 ชั่วโมง จังหวะนั้นเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในทวีปแอฟริกา เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. บริเวณตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ศูนย์กลางเงาสัมผัสผิวโลกตรงบริเวณใกล้กันในอีก 4 นาทีถัดมา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 7 นาที 9 วินาที เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แล้วผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย 4 องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 52 วินาที แนวคราสวงแหวนขณะอยู่ในมหาสมุทรเฉียดห่างขึ้นไปทางเหนือของเมืองวิกตอเรียในสาธารณรัฐเซเชลส์ซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

เงาคราสวงแหวนเปลี่ยนทิศทางโดยวกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ กึ่งกลางคราสซึ่งเป็นจุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทร เกิดขึ้นในเวลา 14:07 น. นาน 11 นาที 8 วินาที จากนั้นพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ในเวลาประมาณ 14:26 น. เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที

เงาคราสวงแหวนแตะทางใต้ของอินเดียและทางตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกาในเวลา 14:40 - 15:00 น. เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้แนวกึ่งกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที 9 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 55 องศา

เงาคราสวงแหวนมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ศูนย์กลางเงาแตะชายฝั่งพม่าในเวลาประมาณ 15:33 น. ตรงบริเวณเมืองซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่ ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 8 นาที 39 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 34 องศา ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออกก็อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวนด้วย จากนั้นผ่านมัณฑะเลย์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 37 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 30 องศา

ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 15:41 น. เมืองใหญ่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวน ได้แก่ ฉงชิ่ง เจิ้งโจว และจี่หนาน ฉงชิ่งอยู่กลางคราสพอดี เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16 องศา เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 7 องศา ส่วนจี่หนาน มณฑลชานตง มีตำแหน่งใกล้ขอบเขตด้านเหนือของเส้นทางคราส ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 1 นาที 9 วินาที (อาจสั้นกว่านี้เนื่องจากผิวที่ไม่เรียบของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 4 องศา

คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15:59 น. ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 7 นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในวันนี้

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่มเห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:28:12 »



ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ
ขณะดวงจันทร์เข้าบังเต็มที่

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:33:20 »

การสังเกตดวงอาทิตย์ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือสังเกตการณ์ทางอ้อม ห้ามมองดูด้วยตาเปล่าเพราะเป็นอันตรายต่อดวงตา แผ่นกรองแสงควรเป็นชนิดที่ใช้สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หากไม่มีสามารถใช้หน้ากากสำหรับช่างเชื่อมเหล็กได้ ไม่แนะนำให้ใช้กระจกรมควันและฟิล์มเอกซ์เรย์เนื่องจากความเข้มไม่สม่ำเสมอ มีผู้นำแผ่นซีดีมาใช้ดูดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่ต้องเลือกที่ทึบแสงมากพอ (ทดสอบดูกับหลอดไฟในบ้านแล้วไม่เห็นไส้หลอด) อย่างไรก็ตาม ภาพที่เห็นผ่านแผ่นซีดีไม่คมชัดนัก วัสดุอื่นนอกเหนือจากนี้ เช่น แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม ฟิล์มสี ฟิล์มขาว-ดำที่ไม่มีโลหะเงิน ฯลฯ ไม่ปลอดภัยเพียงพอกับการดูดวงอาทิตย์

วิธีสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนที่ปลอดภัยที่สุดคือการสังเกตทางอ้อม โดยให้แสงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงไปปรากฏบนฉากรับภาพ อีกวิธีซึ่งทำได้ง่ายคือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม นำกระดาษมาเจาะรูขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ไปปิดที่กระจกเงา แล้วนำกระจกเงาบานนั้นไปรับแสงอาทิตย์ ให้แสงสะท้อนลงบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ไกลจากกระจกตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และอยู่ในที่ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง ภาพดวงอาทิตย์บนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาบนท้องฟ้า หากมีต้นไม้อยู่ใกล้ ๆ อาจสังเกตเห็นว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้แล้วไปตกบนพื้นหรือผนัง ก็มีลักษณะแหว่งเว้าตามดวงอาทิตย์

สุริยุปราคาครั้งถัดไปเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในคืนวันที่ 11/12 กรกฎาคม 2553 ตามเวลาประเทศไทย จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทย สุริยุปราคาในประเทศไทยครั้งถัดไปจะเกิดขณะดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 แต่ดวงอาทิตย์แหว่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและอาจมีอุปสรรคจากเมฆ หลังจากนั้นจะว่างเว้นไปนานถึง 4 ปี กว่าจะเกิดสุริยุปราคาในประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 9 มีนาคม 2559 ดังนั้นสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 จึงเป็นโอกาสสำหรับการสังเกตสุริยุปราคาที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยตลอดระยะเวลา 6 ปีข้างหน้า



 ขำ ขำ
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:35:39 »

ภาพประกอบเพิ่มเติม


บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คำขวัญวันเด็ก 2553, วันเด็กแห่งชาติ 2553
สุขใจ ห้องสมุด
ไอย 2 3273 กระทู้ล่าสุด 09 มกราคม 2553 15:00:58
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ดาวเคราะห์เดือนนี้ (มกราคม 2553) [ดาราศาสตร์]
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 2 2993 กระทู้ล่าสุด 06 มกราคม 2553 19:22:43
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ฤกษ์ต่าง ๆ มกราคม - เมษายน 2553 ตำรับฮวงจุ้ย (ฤกษ์ดีปี 2553 ตำราจีน)
ดูดวง ทำนายทายทัก
หมีงงในพงหญ้า 1 5773 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2553 01:26:16
โดย wondermay
รูปงานปิดทองฝังลูกนิมิตร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ - วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553
ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
ปู่ซ่า....นะเออ 0 2898 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2553 16:59:57
โดย ปู่ซ่า....นะเออ
ทำไม “วันยุทธหัตถี” จึงตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๑๓๕ ไม่ใช่ ๒๕ มกราคม
สยาม ในอดีต
ใบบุญ 0 1691 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2561 14:07:39
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.341 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มีนาคม 2567 23:25:17