[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 18:16:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บูชาพระตามราศีแบบไทยเดอะซีรีย์  (อ่าน 11466 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2556 22:43:45 »

โกรธ โกรธ โกรธสืบเนื่องจากกระทู้ในห้องดูดวง ทำให้เกิดความสนใจที่จะนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม
ให้กับคนอยากรู้ว่าพระประจำราศีของเรานั้นมีที่มา หน้าตา ตลอดจนพุทธคุณเป็นอย่างไร เลยนำมาแบ่งปันไว้ที่นี้


ระบบของการแบ่งราศี และสิ่งมงคลที่คู่กัน
http://www.sookjai.com/index.php?topic=65596.msg95050#msg95050





พระกริ่ง-ราศีเมษ


พระกริ่ง : ที่มาและพุทธคุณ
พระกริ่งถือเป็นของสูงมาตั้งแต่โบราณ การสร้างและการมีไว้บูชา
ต้องเป็นไปเพื่อความสูงส่งของผู้สร้างและผู้ครอบครอง พระกริ่งที่มีอยู่ใน
โลกนี้ได้รูปแบบศิลปะมาจากธิเบตและจีนเป็นส่วนใหญ่ แล้วได้แพร่หลาย
มาสู่เขมรและสยามประเทศในเวลาต่อมา คติความเชื่อมีรากฐานมาจาก
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่เชื่อว่า พระพุทธเจ้ามี ๓ พระภาค อันได้แก่
๑. พระศรีศากยะมุนี หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่เบื้องกลาง
๒. พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันออก
๓. พระอมิตตภะพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตก

พระไภษัชคุรุพุทธเจ้านี้เองเป็นที่มาของพระกริ่ง ชื่อของพระองค์ แปลว่า พระพุทธเจ้าที่เป็นครูด้านยาอายุวัฒนะ รักษาโรคภัย ไข้เจ็บ
พระองค์เป็นที่นิยมนับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานเป็นอย่างสูงยิ่ง เพราะมีพระสูตรบรรยายไว้ว่าในคราที่ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่
พระองค์ทรงตั้งมหาปณิธานไว้ ๑๒ ประการ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงความต้องการ ในยามที่พระองค์ทรงสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
๑. ให้มีกายที่ผ่องใส
๒. ให้พ้นจากอบายคติ
๓. ให้ได้รับโภคสมบัตินานาประการ พ้นจากความจน
๔. ขอให้มีสัมมาทิฐิ
๕. ขอให้ศีลไม่วิบัติ
๖. ขอให้พ้นจากกายไม่สมบูรณ์
๗. ขอให้ความเจ็บป่วยจงปราศไปสิ้น มีบ้านเรือนพรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติและมีญาติมิตรที่ดี
๘. ขอให้สตรีเพศที่เบื่อหน่ายต่อเพศแห่งตนสามารถเปลี่ยนเป็นเพศชายได้ตามปรารถนา
๙. ขอให้หลุดพ้นจากข่ายแห่งมาร และเหล่ามิจฉาทิฐิทั้งปวง
๑๐. ขอให้พ้นจากอาญา ทัณฑกรรม คดีความ และการคุมขังใดๆ ตลอดจนการถูกข่มเหงรังแกเหยียดหยาม
๑๑. ขอให้พ้นจากความหิวกระหาย อดอยากอาหาร ขาดซึ่งเครื่องอุปโภคบริโภคอันปราณีตและให้มีความ
     อิ่มหนำสำราญ ได้รับธรรมรสและมีความสุขในเบื้องปลาย
๑๒. ขอให้บริบูรณ์ด้วยอาภรณ์นุ่งห่ม เครื่องประดับ และเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ
 
สำหรับพระกริ่งของไทยนั้นถือว่า “พระกริ่งปวเรศวัดบวรฯ” เป็นพระกริ่งที่ถูกสร้างเป็นครั้งแรกโดยสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรฯ สร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายในวังที่คุ้นเคย หรือที่
ท่านเคยเป็นพระครูอุปัชฌาย์ให้ โดยสร้างจากตำราที่ตกทอดจากสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว สมัยอยุธยา
พระกริ่งปวเรศในปัจจุบันถือเป็นจักรพรรดิ์พระเครื่องเนื้อโลหะที่มีราคาเช่าบูชาสูงที่สุด ส่วนพระเครื่องเนื้อผงได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ

ความเชื่อด้านพุทธคุณของพระกริ่ง พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเชื่อว่าเมื่อได้บูชา หรือรำลึกนึกถึงจะประสบ
ความสำเร็จได้ดั่งใจหวัง ๑๒ ประการ

ส่วนความเชื่อของไทยเชื่อว่ามีพุทธคุณด้านการรักษาโรค หรือคุ้มครองให้ผู้บูชามีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียน นอกจากนั้นพระกริ่งยังมีพุทธคุณด้านให้ลาภสมบัติ หรืออวยทรัพย์สินเงินทอง
และให้สรรเสริญสมบัติหรืออวยชื่อเสียงเกียรติคุณ รวมทั้งป้องกันภยันตรายต่างๆ
ปิ๊ง ๆhttp://taradpra.bth.cc/webboard/topic-view-132253



พระกริ่ง ทำไมต้องมีกริ่ง เกี่ยวกับพุทธคุณรึเปล่า

พระกริ่งที่เราเริ่มรู้จักกันสมัยสมเด็จพระสังฆราชแพ มีการสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์ และพระชัยวัฒน์
ซึ่งพระกริ่งมาจากคติความเชื่อของนิกายมหายาน นิกายทิเบต, นิกายจีน, นิกายยวนซึ่งได้แบ่งภาค ของพระพุทธเจ้า เป็น 3 องค์ คือ

1. พระปฏิมา พระสมณโคดม (ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง) คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีไทยเรานับถืออยู่
2. พระปฏิมา พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าหมอยา) ประดิษฐาน ณ ทิศตะวันออก ทุกองค์จะมีน้ำเต้า โอสถ หรือ น้ำมนต์ วางไว้บนตักเสมอ
    ถ้ามีคนเจ็บไข้ได้ป่วยพระองค์ก็ทรงใช้ยาในน้ำเต้ารักษาโรคต่างๆ คือเป็นพระกริ่งของไทยเราเอง ฉะนั้นพระกริ่งจะมีพระพุทธคุณทางด้านรักษาโรคเท่านั้น
    พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า แปลว่า พระครูแห่งเภสัช
3. พระอมิตตา ประดิษฐาน ณ ทิศตะวันตก พระปฏิมาองค์นี้เน้นการโปรดสัตว์ โปรคคน

พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ว่า "คำว่า "กริ่ง" นี้หมายความว่า สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล)
คือเมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรม มีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว ถึงขั้นสุดท้าย จิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร "มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว)
วัดสุทัศนเทพวราราม สร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้น มีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

เมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม
เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้วรับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ เสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็น
อหิวาตกโรคกินหายเป็นปรกติ พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวร นิเวศ แต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่ง
แช่น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้วโรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปรกติ พระกริ่งที่อาราธนาขอน้ำพระพุทธมนต์นั้น
เป็นพระกริ่งสมัยไหน พระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้ เข้าใจว่าเป็นพระกริ่งเก่า หรือไม่ก็คงเป็นพระกริ่งของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ องค์ใดองค์หนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ก็เริ่มสนพระทัย
ในการสร้างพระกริ่งขึ้นเป็นลำดับ ค้นหาประวัติการสร้างพระกริ่งและก็ได้เค้าว่า การสร้างพระกริ่งนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบตก่อน ต่อมาก็ประเทศจีน และประเทศเขมร
และมีข้อความอีกตอนหนึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธลักษณะของพระกริ่งไว้ ดังนี้

พระพุทธลักษณะของพระกริ่ง เป็นแบบพระพุทธรูปมหายานทางประเทศทิเบต และปรากฏว่าในประเทศเขมรก็มีพระกริ่งแบบนี้เหมือนกับเรา เรียกกันว่า "กริ่งปะทุม"
ประเพณีนิยมสร้างพระกริ่งของไทยจะได้ครูจากเขมรเป็นแน่แท้ และมีการสร้างกันในยุคกรุงสุโขทัยแล้ว ที่กล่าวว่าตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นของสมเด็จพระพนรัต
วัดป่าแก้วก็น่าจะจริง เพราะสมเด็จพระพนรัตองค์นั้นท่านคงจะได้รวบรวมวิธีการสร้างตำรับตำราเก่า ๆ และในสมัยนั้นวัดป่าแก้วก็นับถือกันว่าเป็นสำนักอรัญญิกาวาส สมถธุระวิปัสสนาธุระ
พระกริ่งก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชน ฝ่ายลิทธิมหายาน ยิ่งนัก ปรากฏพระประวัติมาในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง
คือ "พระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชามูลประณิธานสูตร" แปลเป็นจีนในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐

สรุปพระกริ่ง ปวเรศฯ สามารถรักษาอาการอาพาธ ของสมเด็จพระวันรัตจากโรคอหิวาต์ พุทธคุณของพระกริ่งที่สร้างกันมา
เข้าใจผิดกันว่าอยู่ยงคงกระพัน แท้ที่จริงพระกริ่งคือพระพุทธเจ้าหมอยา ยุคหลังความเชื่อในการสร้างพระกริ่งเปลี่ยนไป บางที่สร้างพระกริ่ง เพื่ออยู่ยงคงกระพัน
และสร้างกันหลายที่หลายวัด รูปทรงเปลี่ยนไป ไม่ได้เนื้อแท้และความเป็นมาของพระกริ่ง
เรียบเรียงโดย อ.เวทิต

 ปิ๊ง ๆpraphrae.igetweb.com/index.php?mo=12&catid=53368, dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=545

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 สิงหาคม 2556 01:08:59 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2556 22:58:15 »

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน-ราศีพฤษภ


ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ มีนามเดิมว่า "เงิน" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348 บิดาชื่อนายอู๋ มารดาชื่อนางฟัก
เป็นชาวบ้านตำบลบางคลาน จังหวัดพิจิตร มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน
คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด (ในหนังสือประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้เป็น ๒ กระแส แต่ต่างยืนยันว่าท่านเกิดปีฉลู กระแสแรกว่าท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2348
อีกกระแสท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2360) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน
ได้พาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่ง หลวงพ่อเงิน เติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ
ที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ
แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษา
ศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม

พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา-มารดาและบรรดาญาติมีความประสงค์จะให้อุปสมบทแต่ “หลวงพ่อเงิน” ไม่ยอมเพราะเกรงว่า อายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติ
ก็อนุโลมตามกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้กำหนดวันอุปสมบทไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ชื่ออะไรเช่นกันได้ฉายาว่า “พุทธโชติ” หลังจากอุปสมบท
แล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ธรรมะจนแตกฉาน แล้วทำการฝึกฝนวิปัสสนาจนมีญาณสมาธิแก่กล้า จึงมุ่งศึกษาพุทธาคมจาก “หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า” จนมีความชำนาญทางพุทธาคมมาก
มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือกันในบรรดาชาวบ้านมากมายพอได้อุปสมบทแล้ว ท่านก็ยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่ออีกด้วย ต่อมาอีก 3-4 ปี โยมปู่ของท่านป่วยหนัก
ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังอำเภอโพทะเล ท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม ประมาณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่
แปลธาตุ แต่ หลวงพ่อเงิน ท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า และต่อมาก็ได้สร้างวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก)

"วัดวังตะโก" เป็นพระอาราม "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์
ขอมาฟังธรรมขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น มีผู้คนมาให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ไม่ขาดสาย ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน
เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อหอม วัดหลวง
หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น
นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ท้ายที่สุด หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา
เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร
คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
นับเป็นอีกหนึ่งในตำนานของวงการพระเครื่องไทย



หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านสามารถรู้วาระจิตผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัด อีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ หลวงพ่อเงิน บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย



พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่นิยมกันสุดๆ มี ๔ พิมพ์ คือ
1.รูปหล่อพิมพ์นิยม
2.รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา
3.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่
4.เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก
อายุการสร้างถึงวันนี้ประมาณ ๑๐๐ ปี นับว่าเก่าพอสมควร ตามตำรากล่าวว่า พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา กับ พิมพ์จอบเล็ก สร้างขึ้นก่อน โดยฝีมือชาวบ้านส่วน พิมพ์นิยมกับพิมพ์จอบใหญ่
สร้างขึ้นทีหลัง ในเวลาไม่ห่างกันมากนัก โดยว่าจ้างช่างมืออาชีพจากบ้านช่างหล่อ ธนบุรี ไปทำพิธีเททองหล่อที่วัด (บางกระแสก็ว่าเททองหล่อที่บ้านช่างหล่อ) ในส่วนของ พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย
มีจุดจุดสำคัญที่ต้องศึกษา คือ มีก้อนเนื้อที่ขอบตาล่างด้านซ้าย มีเส้นจีวร ๓ เส้น ล่างสุดเป็นเส้นหนา เฉียงจากหน้าอกลงมาจรดแขนขวา เส้นจีวรที่แขนซ้ายเป็นเส้นคว่ำ เส้นสังฆาฏิโค้งนูน
ไม่แบนราบ พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ทุกพิมพ์ถ้าอยู่ในสภาพสวยสนนราคาขึ้นหลักล้านทั้งสิ้น ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ได้ยากพุทธคุณของท่านนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี
แคล้วคลาด และโชคลาภ

ปิ๊ง ๆhttp://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538652326&Ntype=5



คำบูชา คาถาหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ
หมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำและหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน
วัดท้ายน้ำ ( วัดเก่าหลวงพ่อเงิน ) อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร


ให้ตั้ง นะโมฯ 3 จบ แล้วสำรวมจิตกล่าวคาถา
สิทธิพุทธัง กิจจังมะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลีติ
สิทธิธัมมัง จิตตังมะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลีติ
สิทธิสังฆัง จิตตังมะมะ เงินทองไหลมา นะชาลีติ
ฉิมพลี มหาลาภัง ภะวันตุเม

วันนมัสการหลวงพ่อเงิน วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ พร้อมด้วยดอกบัวหรือดอกมะลิ 9 ดอก หมาก 3 คำ จัดใส่พาน และธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่
ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีพุทธคุณของหลวงพ่อเงินคุ้มครอง ป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย ตลอดจนค้าขายของดีเลิศมีเมตตามหานิยม พุทธคุณของหลวงพ่อเงินเป็นที่รู้จัก
และเคารพนับถือของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะวัตถุมงคล อาทิเช่น รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา ไข่ปลาหน้าจอบ หน้าจอบเล็ก ตะกรุด
และความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์ เป็นต้น ยังมีความอภินิหารอีกมากสุดที่จะนำมากล่าวนี้

คาถาหลวงพ่อเงิน สำหรับคงกระพัน ว่าดังนี้
พระพุทธัง พระเจ้าคงหนัง
พระธัมมัง พระเจ้าคงเนื้อ
พระสังฆัง พระเจ้าคงกระดูก
โอม เพชรคงคา ตรีคงสวาหะ

คาถาหลวงพ่อเงิน เวลาเดินทางไปไหนใช้ภาวนา
“ สุสูสัง อะระหัง ภคะวา ”
บทนี้ใช้สำหรับเมตตา หรือเวลาสูบบุหรี่ ว่าดังนี้ “ มัคคะยาเทวัง ”

 ปิ๊ง ๆhttp://board.palungjit.com


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2556 23:17:54 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2556 23:24:22 »

วันนี้ดึกแล้ว พรุ่งนี้มาต่อใหม่นะคะ
 บ๊าบบาย บ๊าบบาย บ๊าบบาย
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2556 20:21:05 »

พระแก้วมรกต - ราศีเมถุน(๑)



สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับพระแก้วมรกตขอให้กดลิ้งค์ไปตามwigipediaได้เลย
ตำนานพระแก้วมรกต ปัญหาการตีความทางประวัติศาสตร์ ประเพณี การขึ้นทะเบียน เครื่องทรง

v
v
http://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

บทวิจารณ์โดยนายเจตนา นาควัชระจากหนังสือ'230ปีศรีรัตนโกสินทร์'
               จะขอยกเกร็ดเล็กๆ ที่ว่าด้วย "พระแก้วมรกต" ซึ่งเราเข้าใจผิดมาตลอดว่าเป็นคำที่บอกความว่าสร้าง
ด้วยมรกตหรือหินสีเขียว และก็คงมีผู้มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์จำนวนไม่น้อยพยายามที่จะแข่งขันกับพระไชยเชษฐา
แห่งอาณาจักรล้านนาและล้านช้างในการหาพระพุทธรูปที่ทำด้วยหินสีเขียวมาครอบครอง
               ความจริงปรากฏว่าคำว่า "มรกต" ในที่นี้เป็นการออกเสียงผิดพลาด ซึ่งทำให้คำเดิมกร่อนไป
นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต" ซึ่งแปลว่า "เทวดาสร้าง" ตรงตามตำนานที่เล่าขานกันมา เมื่อพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นสิ่งที่เทวดาสร้าง
การที่กรุงรัตนโกสินทร์มีพระอินทร์เป็นเทพประจำเมืองก็คงจะเป็นไปตามคติความเชื่อที่พ้องกัน สมแล้วที่เป็น
"อมรรัตนโกสินทร์"
               เมื่อพูดถึงพระแก้วมรกตแล้วก็คงจะอดกล่าวมิได้ว่า ไม่ว่าประวัติศาสตร์ของประเทศหรือเมืองใดๆ
ก็ย่อมจะต้องมีบางส่วนซึ่งอาจทำให้นักประวัติศาสตร์ต้องใช้ศิลปะทางอักษรศาสตร์ในการเขียนพรรณนาความเป็นจริง
คือเขียนในเชิงที่จะสมานแผลมากกว่าเปิดแผล กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "ประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นอันตราย"
               เนื้อหาที่ขยายความ "พระแก้วมรกต" นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต"นั้น มีเนื้อหาภายในหนังสือ
ช่วงที่กล่าวถึงพระราชมรดกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯที่ 2 พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
(พระแก้วมรกต) ที่ระบุว่า มีตำนานเล่าเรื่องเก่าแก่มาแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างน้อย เรื่องเล่าปรากฏใน
"อมรตพุทธรูปนิทาน" (เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปอมรกต) ที่พระเถระพม่านามว่า "อริยวงส์" เป็นผู้แต่ง
               ในเรื่องนั้นเล่าว่า พระมหานาคเสนต้องการสร้างพระพุทธรูปแก้ว ร้อนไปถึงพระอินทร์ พระอินทร์และ
พระวิศณุกรรมไปเอาแก้วมณีโชติที่กุมภัณฑ์ทั้งหลายรักษาอยู่ที่เขาเวบุลบรรพต แต่กุมภัณฑ์บอกว่า แก้วดังกล่าว
มีไว้สำหรับพระบรมมหาจักรพรรดิ์จึงถวายแก้วมรกตแทน พระอินทร์สั่งให้วิศณุกรรมทรงสร้างพระพุทธรูปจาก
แก้วมรกตดังกล่าว เมื่อสร้างแล้วจึงได้นามว่า "พระแก้วอมรกต" หมายถึง " พระแก้วอันเทวดาสร้าง" เมื่อมาถึงสมัย
รัตนโกสินทร์ความรู้เรื่องนี้สูญหายไป แทนที่จะเรียกถูกต้องว่า"พระแก้วอมรกต" กลับเรียกว่า "พระแก้วมรกต"
อย่างทุกวันนี้
ปิ๊ง ๆhttp://www.komchadluek.net



การบูชาพระแก้วมรกต

ให้เตรียมเครื่องบูชาดังนี้
๑.ดอกไม้เป็นดอกบัว๓ดอก ธูปหอมอย่างดี๕ดอก เทียนสีผึ้งแท้หนัก๑บาท ๑คู่
๒.พวงมาลัยดาวเรืองล้วน ๑พวง และพานเล็กใส่มะลิ๑กำมือ
๓.อาหารหวานคาว ก็มีไข่ต้ม ปลาทู น้ำพริกปลาร้าและขนมทองหยิบ ฝอยทอง ตามศรัทธา
๔.เงินเกินอายุเรา เช่นอายุ๒๕ให้ใส่ ๒๖บาท

ให้ไปที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสร็จแล้วให้นำสิ่งของทั้งหมดไปวางไว้ ณจุดที่ไหว้พระแก้วมรกตด้านนอก
โดยให้ไหว้ในด้านที่มีรูปเจ้าแม่กวนอิมเป็นเคล็ดเฮงๆๆ ให้วางเครื่องอาหารคาวหวานตามที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้
พวงมาลัยดาวเรืองและพานมะลิไว้รวมกัน ให้เอาเทียนสีผึ้งคู่นั้นจุดก่อนแล้วปักให้หยิบดอกบัวสามดอกมาแล้ว
จุดธูปทั้ง๕ดอก แล้วตั้งนโมสามจบ

พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ
จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม
นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ

ข้าพเจ้า ขอบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า คุณพระบิดามารดา ครูบาอาจารย์
ข้าพเจ้าชื่อ.... นามสกุล.....(หากหญิงแต่งงานแล้วให้บอกว่าต่อไปว่า นามสกุลเดิมข้าพเจ้าคือ......)
ขอถวายนมัสการ ขอบูชา ขอขมา ขอพร พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หลวงพ่อพระแก้วมรกตแล้วอธิษฐานขอพร
พรใดที่ข้าพเจ้าขอพระบารมี องค์พระแก้วมรกต พระเทพบิดร เทวาอารักษ์พระศาสนาและผีเมืองผีวัง จงดลบันดาล
ให้เป็นผลสำเร็จ เป็นผลสำเร็จ เป็นผลสำเร็จ ด้วย วาละลุกัง สังวาตังวา (๓จบ)
แล้วนำธูปไปปัก ดอกไม้ไปวางบูชาให้ยกพานเครื่องบูชาจรดเหนือหัวแล้วกล่าวคำข้างต้นอีกครั้ง
และให้นำมาลัยดาวเรืองและมะลิเข้าไปหว้ด้านในหน้าองค์พระแก้วมรกต แล้วกล่าวคาถานี้อีกครั้งเป็นอีันเสร็จพิธี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2556 20:32:45 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2556 21:41:28 »

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร - ราศีเมถุน(๒)



ประวัติความเป็นมา ความสำคัญในฐานะพระอารามหลวง ตลอดจนการเดินทาง
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่websiteโดยตรงของทางวัด

V
V
V
www.watindharaviharn.org

“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย”
           พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน
หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น


           ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต ร่วมกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต
พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี
พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่ง
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม ซึ่ง พระครูกัลยานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ได้เขียนบันทึก
ไว้เกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีปรากฏในจารึกศิลาว่า

            “ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วได้ 2463 ปีวอก โทศก (จ.ศ. 1282) พระครูสังฆบริบาล (แดง)
ได้ลงมือทำการปฏิสังขรณ์เมื่อเดือน 11 ณ วันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำ ประวัติเดิมของ พระครูสังฆบริบาล อุปสมบทที่
แขวงตะนาว เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาสร้างวัดเข่ชั้นบันไดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วได้มาศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย
ณ สำนักวัดบวรนิเวศ ในบารมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 5 พรรษา เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์
จึงได้มาทำการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์โตนี้ พร้อมด้วยเจ้าฟ้า ทายก ทายิกา ราษฎร จนถึงกาลบัดนี้สิ้นเงินรายได้
รายจ่ายในการปฏิสังขรณ์ 5 หมื่นเศษ”

             หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
เมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต

              ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า “ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้ง
ยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา
โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่
ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา
และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”

                อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมคือ เมื่อปี พ.ศ. 2481 ได้ทำประภามณฑล
(พระรัศมี) ประดับองค์หลวงพ่อโต และประดับกระเบื้องโมเสกทองคำ 24 เค ที่พระพักตร์ พระเศียร และพระหัตถ์
และได้เปลี่ยนโมเสกใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 เนื่องจากของเดิมหมองคล้ำและชำรุด

พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีอัญเชิญโมเสกทองคำขึ้น
ประดับเป็นรูปอุณาโลม ณ พระนลาฏองค์หลวงพ่อโต

พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิต ณ ยอดพระเกศองค์หลวงพ่อโต และทรงปลูกหน่อพระศรีมหาโพธิ์ อย่างไรก็ตามต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

             กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องด้วย “หลวงพ่อโต” ที่พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ที่สร้างขึ้น
เป็นพิมพ์หนึ่งในจำนวนหลากหลายพิมพ์ของหลวงปู่ภู จนฺทเกสโร เป็นพระเครื่องเนื้อปูนปั้นผสมผง ที่กล่าวกันว่ามี
ส่วนผสมของผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ผสมอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่า พระเครื่องของหลวงปู่ภู
ใช้แทนพระสมเด็จฯ ได้เป็นอย่างดี

             พระเครื่องพิมพ์อุ้มบาตร มีพุทธลักษณะทรงห้าเหลี่ยม องค์พระปฏิมากรประทับยืนบนอาสนะบัว ภายใน
ซุ้มกรอบ 5 เหลี่ยม ด้านหลังองค์พระเครื่องเรียบปราศจากอักขระใดๆ อย่างไรก็ตาม มีเหรียญปั๊ม “พระศรีอริยเมตไตรย”
ที่น่าสนใจยิ่งของพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งมีความเป็นมาคือ เมื่อปี พ.ศ. 2467 ที่พระอินทรสมาจารย์
(เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ทำการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ “หลวงพ่อโต” สืบต่อจากที่คั่งค้าง
อยู่ เป็นเวลา 4 ปีจึงแล้วเสร็จ และมีงานสมโภชเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้
จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา

            ต่อเมื่อปี พ.ศ. 2521 ภายหลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิต ณ ยอดพระเกศองค์ “หลวงพ่อโต” การจัด
งานประจำปีจึงเปลี่ยนไปเป็น งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และปิดทองหลวงพ่อโต สันนิษฐานว่าในการสมโภชเมื่อ
ปี พ.ศ. 2471 นั้น ได้มีการสร้าง “เหรียญพระเครื่อง” ขึ้นมาด้วย ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันว่า เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นทันใน
ช่วงพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ยังมีชีวิตอยู่ และต้องร่วมปลุกเสกด้วยอย่างแน่นอน

            เหรียญรุ่นดังกล่าวนี้ มีด้วยกัน 2 แบบพิมพ์ เป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา มีหูในตัว เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อ
ทองแดง แบบแรกนั้น ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระศรีอริยเมตไตรย “หลวงพ่อโต” ประทับยืนปางอุ้มบาตรบนอาสนะ
ฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขอบเหรียญแกะเป็นลวดลายกระหนกสวยงาม ด้านหลังพื้นเหรียญเรียบ ปรากฏข้อความอักษร
3 บรรทัด ว่า “พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์ วัดอินทรวิหาร”

     
           ส่วนแบบที่สอง ประทับยืนปางอุ้มบาตรบนอาสนะฐานบัวหงาย ภายใต้ฉัตร 7 ชั้น ขอบเหรียญแกะเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหลังพื้นเหรียญเรียบ ปรากฏข้อความอักษร 5 บรรทัด ว่า “พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์
ให้พ้นทุกข์ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ” เป็นเหรียญเก่าอันน่าเก็บสะสมในทำเนียบ “เหรียญพระพุทธ”

ปิ๊ง ๆหนังสือพิมพ์ข่าวสด รายวัน หน้า 29 คอลัมน์ มุมพระเก่า โดย สรพล โศภิตกุล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2556 21:54:09 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.799 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 26 เมษายน 2567 12:14:49