[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:03:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าโลภมาก  (อ่าน 2451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.8 Firefox 3.6.8


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2553 17:17:53 »




โลภะ หรือ ความโลภ หรือ ราคะ เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองพระพุทธศาสนาถือว่ากิเลสเป็นภัยร้ายแรงแห่งจิต เพราะทำให้คนตัดสินใจทำความผิด ทำให้จิตไม่อาจบรรลุนิพพานได้ และทำให้จิตต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด กิเลส แยกออกได้เป็น 3 สาย คือ ความโลภความโกรธ ความหลงโลภะ หรือ ความโลภ หรือ ราคะ พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนให้ถือข้อพิจารณาเกี่ยวกับอกุศลมูลและกุศลมูล เป็นหลักแกนกลางในการวินิจฉัยว่าอะไรเป็นความดี อะไรเป็นความชั่วโลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นศัตรูภายใน ก่อความเสียหาย ทำให้ใจกำเริบ คนรู้เท่าไม่ทันว่ามันเป็นภัยที่เกิดขึ้นข้างใน พอความโลภเข้าครอบงำ เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ มีจิตถูกโลภะแล้ว ย่อมหาเรื่องก่อความทุกข์แก่ผู้อื่น
สรุปแล้ว โลภะ หรือ ความโลภ คือ ความอยากได้ในทางทุจริต ในทางไม่ชอบ ไม่ถูก อยากได้อยากมี อยากเป็น ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เป็นเหตุให้คนกระทำความผิด กระทำความชั่ว เช่น เห็นเขามีเงินทอง ก็อยากได้เป็นของตัวเอง จึงไปทำโจรกรรม ลักของเขา ขโมยของเขา นับว่าพวกนี้เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมมากที่สุด แต่ยังมีผู้เข้าใจผิดว่า ความอยากได้อะไรมาก ๆ เป็นความโลภที่ถูกแล้วความโลภไม่เกี่ยวกับการอยากได้มากหรือได้น้อย แต่เป็นความอยากที่แฝงไปด้วยความทุจริต ทางที่ถูก ไม่ควร เท่านั้น การที่ลูกอยากจะเรียนหนังสือให้เก่ง สอบได้คะแนนสูง ๆ ได้ระดับ 3 ระดับ 4 ลูกตั้งใจและขยันในการเล่าเรียน ไม่ถือว่าเป็นความโลภ หากความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหล่านั้น เป็นไปในทางที่ดี ก็ทำให้มนุษย์มีการพัฒนาศักยภาพตัวเอง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการนั้น มองในแง่ดี ทำในแง่ดีก็มีส่วนดี มองในแง่ไม่ดี ก็มีส่วนด้อย คือทำให้เกิดความเครียด เกิดบรรยากาศที่ไม่น่าอยู่ เพราะโลกเต็มไปด้วยความแก่งแย่ง แข่งขัน ซ้ำร้ายกว่านั้น หากใช้ไปในทางที่ผิด ก็จะก่อทุกข์ เดือดร้อน เพราะฉะนั้น เมื่อยังอยู่ในทางโลก ควรวางตัวให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของโลกก่อนดีกว่า ถ้าจะอยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ใช้ความอยาก ให้เป็นพลังในทางดี ขยันและขวนขวายด้วยตนเองในวิถีทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เมื่อมี
{สติ}รู้ว่าโลภะเป็นต้นเหตุเพื่อก่อกำเนิดแห่งหรรม ดังนั้น เราจึงไม่ควรตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ
วิธีการที่จะทำให้กิเลส{โลภะ}ออกจากจิตได้ ก็ด้วยการเห็นอริยสัจ อันประกอบด้วยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งเป็นทางที่ปฏิบัติตน


<a href="http://vdo.palungjit.com/nuevo/player/nvplayer.swf?config=http://vdo.palungjit.com/nuevo/econfig.php?key=0ae62e3b1396831a8398" target="_blank">http://vdo.palungjit.com/nuevo/player/nvplayer.swf?config=http://vdo.palungjit.com/nuevo/econfig.php?key=0ae62e3b1396831a8398</a>



.........................ดำเนินเรื่องโดย นวลปรางค์ เมธีกุล.......................

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 สิงหาคม 2553 18:22:24 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: โลภ ไม่เที่ยง ความจริง พิจารณา อสุภ กรรมฐาน วิปัสนา dhamma ของเรา ดับ เกิด 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.216 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:30:10