[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 09:46:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติพระเจ้าอโศกมหาราช : มหาราชที่ยอมวางดาบเพราะเกิดธรรมะในดวงพระหฤทัย  (อ่าน 6521 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2556 14:54:27 »

.


ภาพจาก : www.oknation.net


ชีวประวัติพระเจ้าอโศกมหาราช

ในฐานะที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้รับการยกย่องจากชาวโลกว่าเป็น “มหาราช” และเป็นมหาราชองค์เดียวเท่านั้นที่ได้ยอมวางดาบทั้งๆ ที่ไม่เคยพ่ายแพ้ใครเลย แต่ทรงวางดาบเพราะเกิดธรรมะขึ้นในดวงพระทัยของพระองค์เอง  และในฐานะที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้สร้างประโยชน์สุขให้แก่โลกมากในด้านส่งเสริมสันติสุขให้แก่ชาวโลก  โดยเป็นผู้อุปถัมภ์ในการส่งพระเถระต่างๆ ออกประกาศพระพุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆ ฉะนั้น จึงสมควรที่เราจะได้ศึกษาชีวประวัติของพระองค์บ้างตามสมควร

ก่อนที่จะศึกษาถึงชีวประวัติของพระเจ้าอโศก ก็ควรจะได้ศึกษาถึงเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดพระเจ้าอโศก เสียก่อน ว่าพระองค์มีเชื้อสายมาอย่างไร

ในสมัยที่พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช ได้ยกกองทัพมาราวีถึงประเทศอินเดียในปี พ.ศ. ประมาณ ๒๐๐ นั้น พระองค์สามารถตีเมืองต่างๆ ในอินเดียตอนเหนือไว้ได้มากมาย ในสมัยนั้นที่อินเดียมีคนสำคัญคนหนึ่งเกิดขึ้นชื่อ “จันทรคุปต์”  ซึ่ง “สารนารถ”  ได้เล่าชีวประวัติไว้ในหนังสือตามรอยบาทพุทธองค์เล่ม ๕ ว่า “ท่านผู้นี้ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า เป็นบุตรของนาง “มุรา” ชายาองค์หนึ่งของนันทกษัตริย์แห่งปาฏลีบุตร  เพราะเหตุที่สืบเชื้อสายมาจากนางมุรา ราชวงศ์ของจันทรคุปต์จึงได้ชื่อว่า “เมารยะ” หรือ “โมริยะ” แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า จันทรคุปต์นั้นเป็นบุคคลในตระกูลกษัตริย์โมริยะ เชื้อสายเดียวกับตระกูลศากยะของพระพุทธองค์ เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะ กษัตริย์แห่งแคว้นโกศลซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพวกศากยะเหมือนกัน ได้ยกกองทัพไปทำลายอาณาจักรกบิลพัสดุ์ และฆ่าฟันพวกศากยะล้มตายมากมายก่ายกองนั้น พวกศากยะกลุ่มหนึ่งได้หลบภัยเข้าไปอยู่ในบริเวณภูเขาหิมาลัย และตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งซึ่งมีนกยูงชุกชุม  พวกศากยะกลุ่มนี้จึงเรียกว่า “โมริยะ” ในคัมภีร์มหาโพธิวงศ์กล่าวว่าจันทรคุปต์เกิดในตระกูลกษัตริย์จากเมืองโมริยนคร ซึ่งพวกศากยะเป็นผู้สร้าง ในคัมภีร์มหาวงศ์ก็ยืนยันว่าจันทรคุปต์เกิดในตระกูลกษัตริย์ “โมริยะ”

บิดาของจันทรคุปต์ถูกฆ่าตายที่ชายแดนโมริยนคร  มารดาซึ่งกำลังมีครรภ์ได้อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองบุษปปุระ คือ ปาฏลีบุตรนั่นเอง และได้คลอดบุตรที่นี่ ต่อมามีชาวเมืองตักกศิลาคนหนึ่งชื่อ “จาณักย์” ซึ่งเป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งได้พบเด็กจันทรคุปต์ก็ชอบใจ จึงซื้อเอาไปเป็นบุตรบุญธรรม และพาไปศึกษาศิลปศาสตร์ต่างๆ ในเมืองตักศิลา เวลานั้นดินแดนในอินเดียทางทิศตะวันตกรวมทั้งตักศิลาด้วย ได้ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช  จาณักย์ กับจันทรคุปต์จึงคัดอ่านกอบกู้อิสรภาพ ได้ซ่องสุมผู้คนไว้มากมาย แล้วส่งไปเป็นกองโจรออกรังควานกองทัพพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์และได้ลอบสังหารแม่ทัพของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ ตายเสียหลายคน พอพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ จันทรคุปต์ก็ประกาศแข็งเมืองและดำเนินการขับไล่อำนาจของกรีกให้พ้นไปจากอินเดียตะวันตกจนเป็นผลสำเร็จ โดยโจมตีเมืองปันจาบก่อน แล้วจึงยกกองทัพไปตีเมืองต่างๆ แถบลุ่มแม่น้ำคงคาได้สำเร็จ  แล้วจันทรคุปต์ก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในอินเดีย ในเขตที่เรียกว่าปันจาบเดี๋ยวนี้

เมื่อจันทรคุปต์เป็นใหญ่อยู่ในเมืองปันจาบแล้ว เห็นว่าที่เมืองปาฏลีบุตรยังมีราชวงศ์นันทะเป็นใหญ่อยู่ และมีอิทธิพลมากกว่าแคว้นอื่นๆ ถ้าพระองค์จะเป็นใหญ่จริงๆ ก็ต้องปราบราชวงศ์นันทะนี้ให้ได้เสียก่อน จันทรคุปต์กับจาณักย์จึงได้ยกกองทัพมาตีเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรมคธได้หมดแล้ว จึงยกกองทัพเข้าตีเมืองปาฏลีบุตรซึ่งเป็นเมืองหลวงได้ เมื่อจับกษัตริย์ผู้ครองเมืองได้แล้ว ก็ให้ประหารชีวิตเสีย (บางแห่งก็ว่าเพียงถอดออกจากตำแหน่งเท่านั้น) แล้วตนก็ขึ้นครองเมืองปาฏลีบุตรแทนตั้งแต่นั้นมา โดยตั้งตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ

เมื่อพระเจ้าจันทรคุปต์ได้ครองเมืองปาฏลีบุตรได้ ก็ขอพระธิดาของกษัตริย์นันทะมาอภิเษกเป็นมเหสี  ต่อแต่นั้นพระองค์ก็เริ่มแผ่พระราชอาณาเขต โดยทำสงครามรบพุ่งกับชีลิวกุส (Seleukos) เจ้าเมืองกรีก ทำให้อาณาจักรของพระเจ้าจันทรคุปต์แผ่ไปถึงอัฟกานิสถาน และบาลูชิสถาน  แล้วจันทรคุปต์ก็สร้างสันติภาพถาวรขึ้นโดยอภิเษกกับลูกสาวชีลิวกุส  ทำให้ชีลิวกุสกลับมาเป็นมิตรถึงกับส่งราชทูตชื่อ เมกัสเธเนส มาประจำอยู่ในสำนักปาฏลีบุตร

เมื่อพระราชอาณาจักรของพระองค์เป็นปึกแผ่นดีแล้ว พระองค์ก็ทรงวางดาบ เวนราชสมบัติให้พระโอรสทรงพระนามว่า “พินทุสาร” ครอบครอง  ส่วนพระองค์หันเข้าปฏิบัติทางศาสนา โดยการออกปฏิบัติบำเพ็ญทุกรกิริยาตามแบบของศาสนาเชน ที่พระองค์ทรงนับถือจนกระทั่งสิ้นพระชนม์

เมื่อพระเจ้าพินทุสารได้ครองราชย์สมบัติแล้ว สายสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับกษัตริย์กรีกก็คงดำเนินต่อไปฉันมิตร ที่สนิทสนมเช่นเดิม พระเจ้าพินทุสารได้แผ่อาณาจักรออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ มีอยู่คราวหนึ่งที่ตักกศิลาแข็งเมืองขึ้น แต่ก็ถูกปราบลงได้ แล้วพระองค์ก็ส่งโอรสที่แกล้วกล้าคืออโศกกุมารไปเป็นอุปราชครองเมืองตักกศิลาและอุเชนี

ในฎีกามหาวงศ์ได้กล่าวว่า พระราชมารดาของพระเจ้าอโศกพระนามว่า “ธัมมา” เป็นเจ้าหญิงราชวงศ์โมริยะองค์หนึ่ง เมื่อได้อภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าพินทุสารแล้วได้รับพระนามใหม่ว่า “สุภัทรางคี” เมื่อพระเจ้าอโศกได้ตำแหน่งเป็นอุปราชที่เมืองตักกศิลาและอุชเชนี  แล้วก็ได้อภิเษกกับสาวงามคนหนึ่งชื่อ เทวี ณ เมือง เวทิสา  ซึ่งเป็นบุตรของนายพาณิชคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเชื้อสายศากยวงศ์ชื่อว่า เทวะ  ในคัมภีร์มหาวงศ์เรียกว่า เวทิสา มหาเทวี ซึ่งพระนางได้มีโอรสและธิดากับพระเจ้าอโศก ๒ องค์ด้วยกัน คือ เจ้าชายมหินท์กับเจ้าหญิงสังฆมิตตา  ซึ่งต่อมาได้บวชทั้งคู่และได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกาทวีป

เมื่อพระเจ้าพินทุสารสวรรคตแล้ว พระเจ้าอโศกก็เคลื่อนกองทัพจากเมืองอุชเชนีมายังเมืองปาฏลีบุตร แล้วจับพี่น้องร่วมพระราชบิดาเดียวกันฆ่าเสียเป็นจำนวนร้อย แล้วก็ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองปาฏลีบุตร

พระเจ้าอโศกเป็นกษัตริย์ที่ดุร้ายมาก เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติใหม่ ได้ทรงประหารชีวิตพวกขุนนางเสียหลายร้อยคน ฐานขัดคำสั่งของพระองค์ จนกระทั่งถูกขนานพระนามว่า “จัณฑาโศก”  แปลว่า “อโศกผู้ดุร้าย”  ถึงกับพระองค์ทรงสั่งให้สร้างสถานที่สำหรับประหารชีวิตขึ้น เรียกว่า “นรกาลัย” และวางกฎไว้ว่า ใครเข้ามาในที่นี้แล้วจะกลับออกมาไม่ได้ และสถานที่แห่งนี้แหละจะเป็นสถานที่กลับพระทัยพระองค์ในภายหลัง....

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2556 13:03:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2556 09:40:47 »

.


พระปรมาภิไธย พระเจ้าอโศกมหราช "เทวานัมปิยติสสะ ปิยทัสสี"
ภาพจาก : วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

เมื่อพระเจ้าอโศกครองเมืองแล้ว ได้ยกกองทัพไปโจมตีเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆ ไว้ในอำนาจมากมาย จนถึงปีที่ ๙ พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีแคว้นกลิงค์ ประหารชีวิตชาวเมืองกลิงค์เสียกว่าแสนคน จับเป็นเชลยได้อีกตั้งแสนห้าหมื่น และยังสูญหายไปก็อีกมากมาย ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัยมาก ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์วางดาบและหันมาสนใจทางทางศาสนาเช่นเดียวกับพระเจ้าจันทรคุปต์ผู้เป็นพระอัยกา  แต่เดิมพระองค์ก็ทรงนับถือศาสนาเชน เช่นเดียวกับพระอัยกาและพระชนกนาถ  แต่ภายหลังพระองค์ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา  และเหตุที่ทำให้พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้น ตามตำนานต่าง ๆ ได้ให้เหตุผลไว้ต่างๆ กัน

ในคัมภีร์มหาวงศ์ว่า สามเณรนิโครธ ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าสุมน ราชโอรสของพระเจ้าพินทุสาร ซึ่งพาชายาหลบหนีภัยคราวพระเจ้าอโศกยกกองทัพมายึดเมืองปาฏลีบุตร เจ้าสุมนพาชายาไปอยู่ในหมู่พวกจัณฑาล ต่อมาชายาได้คลอดโอรสที่นั่น จึงให้ชื่อว่า “นิโครธ” เมื่อนิโครธอายุได้ ๗ ขวบ ได้ฟังเทศนาของพระมหาวรุณเถระก็เลื่อมใสจึงออกบวชจนได้เป็นพระอรหันต์ วันหนึ่งสามเณรนิโครธเดินผ่านพระราชวัง พระเจ้าอโศกทรงทอดพระเนตรเห็นก็เกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์เข้าไปในพระราชวัง เมื่อได้สนทนากันแล้ว สามเณรนิโครธได้แสดงธรรมเทศนาในอัปปมาทวรรคเตือนสติพระเจ้าอโศก จนพระเจ้าอโศกเกิดเลื่อมใส ประกาศรับไตรสรณาคมน์ นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นมา รุ่งขึ้นสามเณรนิโครธได้พระเถระผู้ทรงคุณความรู้สูง ๓๒ รูป มาพบพระเจ้าอโศก  เมื่อได้สนทนาธรรมกันอย่างกว้างขวางแล้ว  พระเจ้าอโศกก็ตัดสินพระทัยเลิกนับถือศาสนาเดิม หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตั้งแต่นั้นมา

ส่วนในคัมภีร์อโศกาวทาน  กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอโศกตั้งนรกาลัยแล้ว ก็ได้ตั้งนายจัณฑคีริกะเป็นเพชฌฆาตเฝ้านรกาลัยนั้น และทรงสั่งไว้ว่าถ้าใครเข้ามาในนรกาลัยนี้แล้วจะออกไปไม่ได้  นั่นหมายถึงว่า ต้องตาย  วันหนึ่งมีภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึ่งชื่อ พาลบัณฑิต ได้เข้าไปในนรกาลัยนั้น  จัณฑคีริกะจึงจับพระเถระโยนลงในกระทะทองแดงที่กำลังเดือดพล่าน แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่พระเถระหาเป็นอันตรายไม่  จัณฑคีริกะก็ตกใจ จึงเข้าไปกราบทูลพระเจ้าอโศกให้ทรงทราบ พระองค์ไม่ทรงเชื่อ จึงเสด็จตามเข้าไปดู พระเถระจึงถือโอกาสแสดงธรรมชี้ให้พระเจ้าอโศกเห็นโทษของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จนพระเจ้าอโศกเกิดความสังเวช และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  แต่ตอนที่พระองค์เสด็จกลับ จัณฑคีริกะได้ขวางหน้าไว้ และจะจับพระองค์ตามที่พระเจ้าอโศกทรงสั่งไว้ ทำให้พระองค์ทรงพระพิโรธ จึงรับสั่งให้จับจัณฑคีริกะเผาทั้งเป็น แล้วให้ทำลายนรกาลัยนั้นเสีย

ต่อมาพระองค์ได้พบพระอุปคุตเถระ ได้รับคำแนะนำสั่งสอนก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ถึงกับทรงโปรดให้สร้างพระธรรมราชิกสถูป ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งได้ถวายทองแสนแท่งไว้ ณ พระสถูปแต่ละแห่งๆ  อีกด้วย  นอกเหนือไปจากที่ได้ถวายแสนแท่ง ณ ที่ประสูติ ที่โพธิพฤกษ์ ที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน  อนึ่ง ได้ทรงบริจาคในมหากุศลปัญจวารษิกะเป็นต่างหากออกไป

หลังจากที่พระเจ้าอโศกได้ทรงบังเกิดศรัทธาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญตนเป็นอุบาสกที่ดีให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน โดยทรงเลิกเสวยน้ำจัณฑ์ เลิกเสวยเนื้อสัตว์ ทรงชักชวนให้ประชาชนรับประทานผัก  พระองค์ทรงได้เริ่มการปกครองที่เรียกว่า รัฐสวัสดิการ (Social Welfare State) ขึ้น คือทรงตั้งโรงพยาบาลรักษามนุษย์และสัตว์ ทรงปลูกสวนสมุนไพรรักษาโรคเป็นทานแก่ประชาชน และพระองค์ได้ทรงผนวชอยู่ระยะหนึ่ง  ทรงสนพระทัยในธรรมคำสั่งสอนมาก นับว่าเป็นกษัตริย์อินเดียที่ทำหน้าที่อบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชนมากที่สุด ทั้งยังได้ส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย

ในหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก ไม่พูดถึงเรื่องนิพพานเลย พูดแต่เรื่องธรรมะที่มนุษย์ควรจะปฏิบัติต่อกันในสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขเท่านั้น  พระองค์ทรงเป็นคนสอนมนุษยธรรมของโลกคนแรก  อโศกธรรม คือธรรมของพระเจ้าอโศกนั้น เข้าได้กับทุกลัทธิ ทุกศาสนา  ความเชื่ออันใดที่ไม่ตรงกันระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาอื่น พระองค์จะไม่พูดถึงเลย พูดแต่สิ่งที่ตรงกัน และสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์ประพฤติดีเท่านั้น พระองค์ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ก้าวหน้า โดยมีหลักธรรมเป็นบรรทัดฐาน  พระองค์ได้ทรงจารึกความรู้สึกของพระองค์ไว้ว่า ถ้าปราศจากความเพียรที่จะส่งเสริมความผาสุกของคนทุกคนเสียแล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่จะทำความดี เพราะมนุษย์นี้ย่อมไม่มีหน้าที่อะไรสำคัญเท่าการช่วยให้ทุกคนมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป  เมื่อพระองค์ได้ทรงช่วยให้มนุษย์มีความสุขความเจริญขึ้นได้คราวใด พระองค์ก็จะตรัสว่า พระองค์รู้สึกเสมือนว่าได้ใช้หนี้ชีวิตไปได้คราวนั้น  ข้อนี้เองที่ทำให้พระองค์ทรงอยู่บนราชบัลลังก์ด้วยความรักของประชาชนอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่อยู่ด้วยดาบด้วยปืนเหมือนคนอื่นๆ
 
คราวที่พระเจ้าอโศกได้หันมาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมากนี้เอง ทำให้บุคคลในศาสนาอื่นเกิดความริษยา เพราะขาดลาภสักการะและขาดบุคคลที่จะเอาใจใส่เชิดชูเกียรติ จึงได้หันมาบำเพ็ญตนเป็นภิกษุในพุทธศาสนามากขึ้น พร้อมกันนั้นก็นำเอาคำสอนในลัทธิศาสนาเดิมของตนเข้ามาผสมกลมกลืนกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดลัทธิมหายานขึ้น  พุทธศาสนาในกรุงปาฏลีบุตรจึงได้เกิดแตกออกเป็น ๒ นิกาย  นิกายเดิมเรียก เถรวาทิน  นิกายใหม่เรียกว่า มหาสังฆิกะ  ภิกษุในสองนิกายนี้ก็เกิดรังเกียจกันขึ้น ไม่ยอมร่วมอุโบสถสังฆกรรมกัน ทำให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเนืองๆ พระเจ้าอโศกจึงทรงสนับสนุนให้พระสงฆ์นิกายเดิมทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่อโศการาม และจากการสังคายนานี้เองที่เป็นเหตุให้พระองค์ได้ส่งสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนายังดินแดนต่างประเทศถึง ๙ สายด้วยกัน

นอกจากนั้น พระเจ้าอโศกยังทรงพอพระทัยเสด็จไปนมัสการสังเวชนียสถานเนืองๆ ที่นั้นได้แก่ที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตแล้ว  เจ้าชายสัมปทิ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาก็ได้ครองราชย์สมบัติต่อมา แต่กษัตริย์พระองค์นี้เป็นผู้ห่างศาสนามาก ปล่อยให้ศาสนาตกอยู่ในความอุปถัมภ์ของประชาชน ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงตามลำดับ ประจวบกับประชาชนได้ประสบกับความฝืดเคืองในการครองชีพ ก็เลยพลอยเป็นศัตรูของพระพุทธศาสนาขึ้นทุกที  บางแห่งก็ว่าพระเจ้าสัมปทิ ได้หันไปนับถือศาสนาเชน และผู้สืบราชสมบัติต่อๆ มาก็เลิกทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา หันไปบำรุงศาสนาอื่นๆ  ในที่สุดพระเจ้าปุษยมิตรก็ล้มราชวงศ์โมริยะได้ ได้ทำลายพระสถูปและวิหารที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้ และทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอีกด้วย ในที่สุดพระพุทธศาสนาก็หมดอำนาจ และเสื่อมลงทุกที.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 14:06:11