[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 23:34:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรุณาจากดวงใจ ธรรมะจากหลวงจีน วัดเล่งเน่ยยี่  (อ่าน 1581 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2553 08:22:08 »

ความกรุณาจากใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องเกิดจากดวงจิตที่บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความกรุณาแท้จริง คือกรุณาให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์ พร้อมทั้งมีเมตตา....
 
โดย...สมาน สุดโต
 
 
หลวงจีนวัดเล่งเน่ยยี่เรียกร้องลูกๆ ทั้งหลายว่าอย่ากตัญญูเฉพาะในวันแม่ หรือแต่ในห้องที่จัดนิทรรศการ แต่ให้กตัญญู ตลอดกาล จะเป็นมงคลแก่ตนเอง
 
 
ตัวท่านยังรำลึกถึงคุณแม่เสมอ แม้ท่านจะลาจากโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้นทุกครั้งที่ไหว้พระจะรำลึกถึงคุณพ่อ-แม่ครูอาจารย์และพระมหากษัตริย์เสมอ
 
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเซี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) รับนิมนต์มาแสดงธรรมที่โรงแรมตวันนารามาดา ในโครงการตะวันธรรม ที่พระราชปฏิภาณมุนี (พระมหาบุญมา) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส เป็นหัวหน้าโครงการ เมื่อค่ำวันที่ 17 ส.ค. 2553 ได้บรรยายธรรมในหัวข้อว่าความกรุณาในดวงใจ โดยมีผู้เข้าฟังประมาณ 200 คน เต็มห้องประชุมใหญ่
 
 

 
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์
 
ก่อนที่ท่านจะบรรยายธรรมตามหัวข้อท่านเล่าถึงกิจกรรมที่ผู้เข้าฟังจะต้องร้องเพลงค่าน้ำนมว่าท่านฟังมาตั้งแต่ก่อนบวช ฟังครั้งใดน้ำตาจะไหลทุกที ท่านว่าท่านบวชถึงปีนี้เป็นเวลา 51 พรรษา อายุ 71 ปี
 
 
ท่านว่าเคยพูดกับญาติโยมว่าจะดีใจถ้าโยมแม่ยังอยู่ แต่ท่านถึงแก่กรรมเสียแล้ว ที่ทำได้ตอนนี้คือกราบพระแทนโดยรำลึกถึงคุณแม่และคุณพ่อ พร้อมทั้งคุณพระราชามหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมา
 
 
ส่วนคำว่า กรุณาที่เป็นหัวข้อให้บรรยายนั้น ท่านว่ากรุณาจะเกิดขึ้นได้ในยุคปัจจุบันหรือ เพราะโลกเป็นวัตถุนิยม เป็นโลกาภิวัตน์
ท่านบอกให้รำลึกถึงเรื่องความกรุณาของคนไทยในอดีตว่า ที่หน้าบ้านทุกแห่งที่เราเดินทางไปในต่างจังหวัดจะเห็นโอ่งน้ำตั้งไว้ให้บริการแก่คนเดินทาง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว น้ำในโอ่งนั้นสามารถดื่มกินได้โดยไม่ได้ระแวง หรือสงสัยในความปลอดภัยแม้แต่น้อย ดื่มด้วยความมั่นใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้มีเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเดินทางต่างจังหวัดเจอแต่น้ำขวด หรือโค้ก โลกวิวัฒนาการไปอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นเรื่องกรุณานี้อาจไม่เห็น เมื่อไม่พบอย่างที่ต้องการ ขอให้ญาติโยมทำใจว่างๆ ตั้งอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา นึกเสียว่าเขาจะเอาเปรียบบ้างก็ช่างเขาเถิด
ท่านบอกว่าคำว่ากรุณานั้นตรงกับหัวข้อธรรมพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พร้อมกับบอกว่าพุทธศาสนามหายาน ไม่ว่าจะพูดถึงธรรมข้อไหน จะต้องมีพระโพธิสัตว์มาเกี่ยวข้อง ทุกบท ทุกหัวข้อธรรมะ
 
 
เช่นกาลครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวัน ท่ามกลางพระโพธิสัตว์ พระอรหันต์เจ้าและทวยเทพทั้งหลายในที่เดียวกัน จะเห็นว่ามีคำว่าพระโพธิสัตว์อยู่ทุกบท แสดงว่าพระโพธิสัตว์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอย่างลึกซึ้งตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาแล้ว
 
 
ถึงจุดนี้ท่านบอกความแตกต่างพุทธฝ่ายมหายาน กับเถรวาทให้ที่ประชุมฟังว่า
 
 
พระพุทธศาสนาเข้าสูประเทศจีนประมาณ พ.ศ. 610 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1,900 ปีแล้ว ไม่ใช่ระยะสั้นๆ ตอนนั้นยังไม่มีประเทศไทย ยังไม่มีสุวรรณภูมิ เพราะสุวรรณภูมินั้นมีเมื่อ 1,200 ปี
ตามประวัติศาสตร์ ตั้งแต่แหลมมลายูถึงประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนแล้ว แสดงว่าพุทธศาสนามหายานมีรากฐานในจีนที่แน่นรองจากประเทศอินเดีย

จากจีนจึงเผยแผ่ไปสู่เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม
มหายานนั้นตามภาษาทางพุทธศาสนาเรียกว่าอุตรนิกาย หรือพระพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ หรือทางเหนือของอินเดียขึ้นไป เดิมทีเดียวเรียกว่าฝ่ายมหาสังฆิกะ
 
ท่านนาคารชุน ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 6-7 เห็นว่าพุทธศาสนาในอินเดียจะเสื่อมลง จึงปฏิรูปใหม่ ให้มีวิธีการใหม่ๆ ต้องมีหลักการสอนดึงดูดจิตใจคนหนุ่ม-สาว เพื่อทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้สามารถสู้กับศาสนาอื่นได้ โดยให้เรียกที่ปฏิรูปใหม่ว่ามหายาน
อีกฝ่ายหนึ่งเรียกฝ่ายทักษิณนิกายหรือฝ่ายเถรวาทเริ่มจากตอนใต้ของอินเดีย เข้าไปสู่ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และเขมร
 
ทั้งสองฝ่ายมาจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แต่มาแบ่งแยกกันเมื่อมีการทำสังคายนาครั้งที่ 2 โดยทางเหนือแยกไปกลุ่มหนึ่ง ทางใต้แยกไปกลุ่มหนึ่ง ทั้งสองแตกต่างกันไหม ท่านยืนยันว่าไม่มีอะไรแตกต่างกัน
 
บารมี 6


เว้นแต่หลักการปฏิบัติ หรือหลักธรรม แตกต่างกัน มหายานยึดถือบารมี 6 และบำเพ็ญธรรม 6 ประการนี้ จนถึงฝั่งข้างโน้น หรือนิพพาน
 
 
บารมี 6 หรือโพธิสัตวมรรค คือ 1.ฌานบารมี 2.ขันติบารมี 3.วิริยะบารมี 4.ศีลบารมี 5.ทานบารมี และ 6.ปัญญาบารมี
การจะถึงฝั่งทางโน้น (พระนิพพาน) ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 6 เป็นเรื่องที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ เพื่อบรรลุพุทธภูมิ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานให้สิทธิในการสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไว้สูงมาก เพราะพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้นั้นได้บำเพ็ญบารมีก่อนแล้ว เช่นเกิดเป็นพระเวสสันดร ซึ่งก็เป็นพระโพธิสัตว์ มหายานจึงเจริญตามรอยนั้นด้วยการบำเพ็ญบารมีและทำคุณงามความดี
 
 
คำว่าโพธิสัตว์นั้นท่านอธิบายว่า โพธิ + สัตว์ เท่ากับสัตว์ที่จะตรัสรู้ คือ โพธิ แปลว่า ตื่น สัตว์เป็นผู้มีบุญบารมีแรงกล้า
ผู้ที่จะโปรดสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ รวมทั้งเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ผู้นี้คือพระโพธิสัตว์
 
 
ฝ่ายเถรวาทนั้นสอนให้บำเพ็ญตามมรรคมีองค์ 8 เพื่อจะได้รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือไม่ก็เป็นพระอริยบุคคล เช่นพระโสดาบัน จนกระทั่งบรรลุพระอรหันต์
 
การบำเพ็ญโพธิสัตวมรรคคือช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ก่อน ทำตัวเหมือนเรือบรรทุกสรรพสัตว์ พาข้ามแม่น้ำคือวัฏสงสาร
 
ฝ่ายเถรวาทนั้นต้องทำตัวเองให้บริสุทธิ์ สะอาด เป็นที่พึ่งของตนเองแล้วจึงจะมาช่วยสรรพสัตว์
 
ท่านบอกว่าญาติโยมในที่ประชุมนี้สามารถเลือกเดินได้จะเป็นพระอรหันต์ก็ได้ จะเลือกเป็นพระโพธิสัตว์ก็ได้ พร้อมกับแซวพระราชปฏิภาณมุนีว่าบำเพ็ญทั้งสองอย่างคือ พระโพธิสัตว์และพระอรหันต์
 

 
พระราชปฏิภาณมุนี และพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์
 
เพื่อให้เห็นภาพพระจีนว่าเป็นอย่างไร ท่านเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2414 ว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเลือกทำเลสร้างวัดเล่งเน่ยยี่ขึ้นมา ตั้งเป็นวัดจีนโดยถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และมี พ.ร.บ.รองรับเหมือนกัน
 
 
วัดเล่งเน่ยยี่เป็นวัดแม่ของวัดต่างๆ ที่เผยแผ่ออกไปเยอะในขณะนี้
พระปฐมอาจารย์คืออาจารย์สกเห็ง ช่วงสุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เป็นเจ้าคณะใหญ่องค์แรกของประเทศไทย วัดนี้ถึงปัจจุบันมีอายุ 140 ปีพอดี ใน 140 ปี มีเจ้าอาวาส 9 องค์โดยตัวท่านเป็นองค์ที่ 9
 
 
ประวัติของท่านโดยย่อว่าท่านมีนามฉายาว่า เย็นเชี้ยว เกิดในตระกูลแซ่เจียม มีภูลำเนาเดิมอยู่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร บิดาท่านชื่อ นายยุ่นฮะ แซ่เจียม มารดาท่านชื่อ นางซิ้วเกียว แซ่ลี้ เชื้อชาติจีน (จีนแต้จิ๋ว) มณฑลกวางตุ้ง สัญชาติไทย
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2483 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2503 ณ วัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง) เป็นพระอุปัชฌาย์มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวินยานุกร ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ ในปี พ.ศ. 2534 ได้บูรณปฏิสังขรณ์วิหารและองค์ท้าวจตุโลกบาล ในปีถัดมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์
 
 
ในปี พ.ศ. 2533 ท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (มังกรกมลาวาสวิทยาลัย) ในปี พ.ศ. 2539 จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมวิริยาจารย์
 
 
ในปี พ.ศ. 2542 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมศักดิ์เป็นพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์
 
นิกายจีน

ท่านบอกว่าคณะสงฆ์จีนและไทยไม่มีอะไรแตกต่างกัน ญาติโยมบางท่านว่าพระจีนไม่มีอะไรนอกจากทำกงเต๊ก แต่ท่านว่าการทำกงเต๊กมีประโยชน์มาก ท่านเคยบอกพระที่ไปทำกงเต๊กว่าควรใช้โอกาสทำกงเต๊กบอกลูกหลานจีนให้มีความกตัญญูในบรรพบุรุษ พร้อมทั้งอธิบายธรรมะให้ลูกๆ ได้ทราบในโอกาสนั้นด้วย
ท่านพูดถึงกฎแห่งกรรมว่าบางคนอาจสงสัยทำดีไม่ได้ดี ทั้งๆ ที่รับว่ามีกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ที่เห็นๆ นั้น ทำชั่วได้ดีมีถมไป ท่านจึงบอกให้ทราบว่าการแบ่งกฎแห่งกรรมนั้นแบ่งเป็น 3 ช่วง คือชาติหน้า ชาติปัจจุบัน และอดีตชาติ กรรมที่เราทำอาจรับในช่วงใดช่วงหนึ่งใน 3 ช่วงนั้น
 
ปณิธานพระโพธิสัตว์


ย้อนมาที่หัวข้อกรุณา ท่านว่าความกรุณาจากใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องเกิดจากดวงจิตที่บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความกรุณาแท้จริง คือกรุณาให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์ พร้อมทั้งมีเมตตาอีกด้วย
การที่จะเกิดเมตตา และกรุณานั้นต้องมีมหาปณิธาน พระโพธิสัตว์ที่มีมหากรุณาคือพระกษิตครรภ์โพธิสัตว์
 
พระโพธิสัตว์องค์นี้มีปณิธานว่า ยอมรับทุกข์แทนสรรพสัตว์มีปณิธานโปรดสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ก่อน ท่านจึงจะเข้าปรินิพพาน
 
ตราบใดที่นรกยังมีอยู่ ท่านจะไม่ยอมเป็นพระพุทธเจ้าตราบนั้น
 
คำขวัญมหายานตามโศลกมี 4 ข้อ 1.เราจะโปรดสัตว์ให้หมด 2.เราจะละกิเลสให้หมด 3.ศึกษาพระธรรมให้แจ้ง และ 4.เราจะบรรลุพุทธภูมิ
 
 
ท่านสรุปว่ามหายานให้สิทธิทุกคนเข้าถึงพุทธภูมิ โดยไม่เลือกสี เพราะมีแต่สีแห่งแสงเทียน มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่บูชา ถ้าทำและคิดอย่างนี้ จิตใจจะมีเมตตา กรุณาตลอดไป
 
 
http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/สว่าง-ณ-กลางใจ/45566/กรุณาจากดวงใจ-ธรรมะจากหลวงจีน-วัดเล่งเน่ยยี่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระคณาจารย์จีน ธรรมปัญญาจริยาภรณ์ วัดเล่งเน่ยยี่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 534 กระทู้ล่าสุด 21 สิงหาคม 2562 18:11:29
โดย ใบบุญ
[ไทยรัฐ] - วัดเล่งเน่ยยี่ 2 แก้ชง 2566 ไปยังไง เปิดกี่โมง จอดรถที่ไหน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 174 กระทู้ล่าสุด 08 มกราคม 2566 20:51:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ‘วัดเล่งเน่ยยี่’เปิดให้บริการแก้ชงออนไลน์ หวังลดความแออัด
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 110 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2566 11:36:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
วัดมังกรฯ (วัดเล่งเน่ยยี่) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 103 กระทู้ล่าสุด 30 มีนาคม 2567 13:30:25
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.371 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มกราคม 2567 19:40:05