[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤศจิกายน 2567 04:05:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “เปลี่ยนแปลงจิตใจบนวิถีซกเช็น” ( Dzogchen Retreat for Inner Transformation )  (อ่าน 2128 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 สิงหาคม 2553 17:05:06 »



โครงการก่อสร้าง “พระศานติตารามหาสถูป” มูลนิธิพันดารา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรม
“เปลี่ยนแปลงจิตใจบนวิถีซกเช็น”

ณ ศูนย์ขทิรวัน (กุนเทรอลิง) ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 21-24 กันยายน 2553

บรรยายภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยโดย รศ.​ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

4 คืน 4 วัน กับ การเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อความสุขที่ยั่งยืน และเรียนรู้วิธีฝึกสมาธิ “อาทริ” จากคำสอนล้ำค่า “ซกเช็น” หรือ “ความอุดมอันยิ่งใหญ่” ในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

นำภาวนา โดย พระอาจารย์ ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช พระธรรมาจารย์ซกเช็น ผู้ตั้งศูนย์ฝึกปฏิบัติในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา โปแลนด์ ออสเตรีย และเบลารุส

บริจาคร่วมอบรม 2,000-4,000 บาท ตามกำลังทรัพย์ เป็นค่ารถไปกลับ กรุงเทพ-หัวหิน ค่าเดินทางของพระอาจารย์ ค่าอาหารและอาหารว่างทุกมื้อ เครื่องดื่มร้อน-เย็น ค่าเอกสาร ค่าแรงคนงานและค่าสาธารณูปโภค รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายถวายพระอาจารย์ทั้งหมด

ลงทะเบียน ได้ที่ Email: 1000tara@gmail.com โทร. 0806100770 โทรสาร 025285308 วันสุดท้ายของการลงทะเบียน วันที่ 15 กันยายน 2553

การแต่งกาย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ที่พัก มีทั้งที่พักเดี่ยวในเต็นท์ และที่พักรวมในศาลาปฏิบัติธรรม ซึ่งมีมุ้งลวดกันยุงและมุ้งครอบเพื่อความเป็นส่วนตัว

**ผู้ไม่เคยศึกษาเรื่องซกเช็นหรือภาวนาตามแบบพุทธวัชรยาน สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ริมปูเชจะบรรยายเกริ่นนำ และทางมูลนิธิจะมีเอกสารให้ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม

**ขอเชิญผู้เข้าอบรมทุกท่านร่วมเป็นจิตอาสาและบำเพ็ญบุญกุศลในงาน “วันพระศานติตาราฯ” เสาร์ที่ 25 กันยายน และปล่อยปลา 100,000 ตัว เช้าวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน ณ เขื่อนแก่งกระจาน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จะมีรถตู้พาผู้ร่วมงานจากศูนย์ขทิรวันไปแก่งกระจานและจะพากลับถึงกรุงเทพ วันที่ 26 กันยายน ภายในเวลา 14.00 น.

โปรแกรมสำหรับการภาวนา

21 กันยายน 2553

06.30 น. พบกันที่บ้านมูลนิธิพั
นดารา ออกเดินทาง

11.00 น. ถึงศูนย์ขทิรวัน

11.30-13.00 น. ริมโปเชแนะนำเรื่อง ซกเช็น (Session 1)

13.00-15.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียน
จากพระอาจารย์

15.00-17.00 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 2)

17.00-18.30 น. รับประทานอาหารเย็น

18.30-19.30 น. ศึกษาบทเรียน (ต่อ) และฝึกการอยู่นิ่งๆอย่างผ่อนคลายและเบิกบาน

19.30-21.30 น. ซักถาม และฝึกสมาธิ “อาทริ” (Session 3)

21.30 น.         เข้านอน
 

22-23 กันยายน 2553

05.30 น. ตื่นนอน

05.45 น. กราบอัษฎางคประดิษฐ์​

06.00 น. ฝึก “ตุกลุง” และทำสมาธิ

06.45-07.15 น. เดินภาวนา

07.15-08.30 น. ทำธุระส่วนตัว

08.30 น. รับประทานอาหารเช้า

09.30-11.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 4)

11.30-14.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียนจากพระอาจารย์

14.00-16.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 5)

17.00-18.30 น. รับประทานอาหารเย็น
 

18.30-19.30 น. ศึกษาบทเรียน (ต่อ) และฝึกจิตใจให้ปล่อยทุกอย่างไปในวิถีที่ควรจะเป็น

19.30-21.30 น. ซักถาม และฝึกสมาธิ (Session 6)
21.30 น.         เข้านอน

24 กันยายน 2553

05.30 น. ตื่นนอน

05.45 น. กราบอัษฎางคประดิษฐ์​

06.00 น. ฝึก “ตุกลุง” และทำสมาธิ

06.45-07.15 น. เดินภาวนา

07.15-08.30 น. ทำธุระส่วนตัว

08.30 น. รับประทานอาหารเช้า

09.30-11.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 7)

11.30-14.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียนจากพระอาจารย์

14.00-16.00 น. ซักถาม ริมโปเชสรุปคำสอนซกเช็น อุทิศบุญกุศลร่วมกัน (Session

16.30 น. เดินทางกลับ
 

หมายเหตุ: สำหรับผู้สนใจจะอยู่ที่ศูนย์ขทิรวันต่อเพื่อร่วมงาน “พระศานติตาราฯ” ในวันที่ 25 กันยายน เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลในการสร้างพระมหาสถูปและร่วมกิจกรรมต่างๆ อาทิ ถวายเครื่องบูชา 5000 ที่ ปั้นเจดีย์ดิน ฟังธรรมเรื่อง “พระสถูปกับสันติภาพ” ฝึกสมาธิถึง “พระแม่แห่งปัญญาผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา” ถวายดวงประทีป 505 ดวง และภาวนาเพื่อผู้ล่วงลับกับริมโปเช สามารถช่วยเตรียมงานได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 24 กันยายน โดยทางมูลนิธิจะมีอาหารเย็นแบบง่ายๆและที่พักบริการทุกคน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2553 17:05:29 »

ข้อมูลเพิ่มเติม

ซกเช็น

ซกเช็น (Dzogchen) ซก แปลว่า อุดม หรือ สมบูรณ์​ และ เช็น แปลว่า ใหญ่  เป็นคำสอนว่าด้วยการเข้าถึงสภาวะจิตเดิมแท้หรือในภาษาทิเบตเรียกว่า “ริกปะ” สภาวะจิตเดิมแท้นี้ไม่มีความเป็นทวิลักษณ์ ไม่มีการประเมินค่าหรือปรุงแต่งว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรงาม ไม่งาม เป็นความบริสุทธิ์กระจ่างใสดุจท้องฟ้าในยามไร้เมฆหมอก

ซกเช็นเป็นคำสอนสูงสุดในพระพุทธศาสนาวัชรยานที่ฝึกปฏิบัติในนิกายยุงตรุงเพิน (Yungdrung Bon) และนิกายญิงมาปะ (Nyingmapa) แม้จะเร่ิมจากทิเบต ซกเช็นเป็นคำสอนสากลสำหรับทุกคนที่ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืนและมีจิตมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนจนหลุดพ้นในชาติเดียวเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์


สามมรรควิถีในวัชรยาน

แบบพระสูตรเน้นการสะสมบุญบารมี ค่อยๆปฏิบัติธรรมจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน หัวใจหลักของสายนี้การสละโลก (renunciation path)

แบบตันตระและซกเช็นจะเน้นการเข้าถึง โดยฉับพลัน โดยตันตระ เป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าจากภายใน เน้นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์ เปลี่ยนโลก (transformation path) และซกเช็นเป็นการปฏิบัติที่เข้าถึงภาวะจิตกระจ่างโดยตรง เป็นวิถีแบบการปล่อยให้ทุกอย่างสลายไปด้วยตัวเอง (self libaration path)

ในสายซกเช็น ปัจจัยสำคัญในการตรัสรู้ธรรม ได้แก่

1. การได้รับพรจากครู ปราศจากครูโอกาสที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้มีน้อยมาก
ข้อนี้เป็นเรื่องแรกที่จะต้องทำความเข้าใจว่า พรของพระพุทธเจ้า พระมหาโพธิสัตว์ พระอาจารย์ มีอยู่จริง แม้ว่าเราจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เหมือนลมที่มีอยู่หนทุกแห่งแต่เราไม่สามารถจับต้องได้

2. บุญบารมีที่สั่งสมมาในอดีตชาติจนถึงปัจจุบัน

3. การเข้าถึงภาวะดั้งเดิมของจิตตนเอง โดยไม่มีการปรุงแต่ง

 
ริมโปเช ผู้นำภาวนา

พระอาจารย์ลาตรี เคนโป ญีมา ทรักปา ริมโปเช เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธทิเบต นิกายยุงตรุงเพิน ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โปแลนด์ ออสเตรีย รัสเซีย และเบลารุส ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดลาตรีในทิเบต ริมโปเชเติบโตในชุมชนทิเบตอพยพในเนปาล ท่านเป็นบุตรของพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงข
องทิเบตตะวันออก ในวัยเยาว์ท่านใช้ชีวิตเหมือนชาวทิเบตอพยพทั่วไป ขายเสื้อ ทอพรม แต่เมื่อโตขึ้น ท่านได้รับการอุปสมบทที่วัดแมนรีในอินเดียภายใต้การอุปการะของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 33 จนจบการศึกษาพุทธปรัชญา ได้ปริญญา เกเช เทียบเท่ากับปริญญาเอก ริมโปเชมีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาโบราณของทิเบตและให้ความช่วยเหลือเด็กๆในทิเบตและหิมาลัยเพื่อให้พวกเขามีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง ท่านจึงได้ก่อตั้ง “บ้านเด็กเพิน” ในอินเดีย ท่านได้รับเชิญไปบรรยายตามที่ต่างๆทั่วโลก หัวข้อที่ท่านเคยบรรยาย เช่น ซกเช็น การบำบัดรักษาโรค การฟื้นฟูจิตใจ การฝึกพระฑากินี กายกับใจ การนั่งสมาธิ รวมทั้งการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าการแพทย์ ริมโปเชเป็นครูทางจิตวิญญาณชั้นนำของโลกและเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิพันดารา หนังสือของท่านเรื่อง Opening the Door to Bon ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาทั่วโลก


http://krisadawan.wordpress.com/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.35 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 ตุลาคม 2567 20:55:53