[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 21:29:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ม้ง ชนกลุ่มน้อย กับความเชื่อและพิธีกรรมที่น่าศึกษา  (อ่าน 5131 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2556 17:31:59 »

.


เด็กชายชาวม้ง แห่งดอยปุย  จังหวัดเชียงใหม่

ม้ง ชนกลุ่มน้อย
กับ ความเชื่อและพิธีกรรม

กลุ่มชนม้ง เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่นักภาษาศาสตร์จัดอยู่ในสาขาตระกูลภาษาเมี้ยว-เย้า (Miao-Yao) ของภาษาตระกูลจีน-ทิเบต

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของม้ง คือ จีน แถบที่ราบสูงทิเบต และมองโกล  ตามตำนาน กล่าวถึงกำเนิดของม้งว่า บรรพบุรุษแต่โบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น ซึ่งมีหิมะตกหนัก และกลางคืนที่ยาวนานในฤดูหนาว ก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ม้งอาจอพยพจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเรีย เข้าสู่ประเทศจีนและตั้งหลักแหล่งแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เพราะเหตุที่ชาวจีนรุกรานพยายามขับไล่ม้งออกจากถิ่นที่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔

กลุ่มชนม้งตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนในระหว่างสงครามโลกครั้ง ๒ รัฐบาลจีนได้ห้ามกลุ่มม้งแต่งกายในแบบพื้นถิ่นของตน รวมทั้งห้ามใช้ภาษาม้งในการติดต่อ ส่งผลให้เกิดการต่อต้าน จึงเริ่มมีม้งอพยพออกไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนต่างๆ ได้แก่ เมื่อราว พ.ศ.๒๓๙๓ มีชาวม้งมาตั้งถิ่นฐานในเขตเขาสูงแถบหลวงพระบางอย่างหนาแน่น จากนั้นราว ๕๐ ปีต่อมา (พ.ศ.๒๔๔๓) เริ่มปรากฏมีกลุ่มม้งมาตั้งถิ่นฐานในไทย เป็นต้น
 
ต่อมาจึงแพร่กระจายสู่ลาวตอนเหนือ (ช่วง พ.ศ.๒๓๕๘ และ พ.ศ.๒๔๔๓) ประกอบด้วยกลุ่มม้งขาว (ม้งเดียว) ม้งลาย ม้งเขียว (ม้งน้ำเงิน หรือม้งจัว) และม้งดำ  การแพร่กระจายมีต่อไปถึงเวียดนามตอนเหนือ

นับแต่ พ.ศ.๒๔๓๙ จึงเริ่มมีกลุ่มชนม้งแพร่เข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ม้งน้ำเงิน มีประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน และม้งขาว ๒๐,๐๐๐ คน โดยมีแหล่งที่อยู่อาศัยกระจายอยู่ตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทางตอนเหนือของประเทศไทย อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เป็นต้น  ปัจจุบันม้งที่อาศัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกส่งไปยังประเทศที่ ๓ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส และกิอานาฝรั่งเศส



การดำรงชีวิตของกลุ่มชนม้ง
(ข้อมูล : จากการสำรวจกลุ่มชนม้งบ้านโละโคะ หมู่ที่ ๑๐ อำเภอโกสัมพีนคร  จังหวัดกำแพงเพชร)


ม้งโละโคะ มีแบบแผนของการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย  การสร้างบ้านเรือน   ตามความเชื่อดั้งเดิมของพวกม้ง คือ ตั้งถิ่นฐานบนที่สูง แวดล้อมด้วยแนวเขา ซึ่งจะช่วยในการกำบังลมและฝนได้เป็นอย่างดี
 
การตั้งถิ่นฐานของม้งมีหลักเพียงว่า เรือนแต่ละหลังต้องสร้างหันหน้าออกจากภูเขา เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สิ่งชั่วร้ายผ่าน และไม่นิยมสร้างเรือนซ้อนกัน เนื่องจากเป็นการขวางทางผีเหย้าที่สัญจรจากประตูเรือนทุกหลัง เรือนของม้งมักอยู่เรียงเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ ๗-๘ หลัง  โดยผู้เป็นเจ้าของเรือนมักเกี่ยวข้องกันในทางเชื้อสาย  ดังนั้น เรือนที่สร้างอยู่ตรงกลางจึงเป็นเรือนของคนสำคัญในตระกูล แวดล้อมด้วยเรือนย่อมของบริวารและลูกหลาน

ในการสร้างเรือนของม้งแต่ละหลังจะต้องมีการเซ่นผีบรรพบุรุษ ด้วยการเผากงเต็ก เพื่อเสี่ยงทางดูลางบอกเหตุร้ายดี  หากไม่มีสิ่งบอกลางร้าย เจ้าของเรือนจะทำการปรับพื้นที่สร้างเรือนด้วยการแผ้วถางพื้นที่ สำหรับพื้นบ้านใช้การรดน้ำแล้วกระทุ้งดินให้แน่นแข็ง  จากนั้นการก่อสร้างเรือนด้วยการนำวัสดุจากป่าจึงเริ่มขึ้น ชาวม้งใช้เลื่อยเหล็กแปรรูปไม้เพื่อนำมาใช้สร้างเรือน ขณะที่เรือนบางหลังอาจใช้ใบตองเก๊าะ ลักษณะคล้ายใบมะพร้าว ใบตาวรมควัน มุงฝา และใช้แฝกมุงหลังคา

เมื่อได้ฤกษ์สร้างเรือน เจ้าของเรือนจะขอให้เพื่อนบ้านมาช่วยสร้างเรือนให้เสร็จใน ๑ วัน เมื่อยกเสาเอกแล้ว เขาจะสร้างเตาไฟ และยกแท่นหรือศาลพระภูมิชั่วคราวก่อนจากนั้นจึงสร้างส่วนอื่นๆ ของเรือนจนแล้วเสร็จ

เมื่อสร้างเรือนเสร็จ เจ้าของเรือนจะทำการบวงสรวงศาลเจ้าบรรพชนด้วยไก่ผู้ไก่เมียอย่างละตัวและทำพิธีเชิญบรรพชนและผีเหย้าผีเรือนให้มีสถิตในศาล และเซ่นไหว้ผีประตูเข้าออกใหญ่หน้าเรือน เพื่อให้คุ้มครองสัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์ไร่นา นำลาภมาสู่เรือนโดยแขวนดาบไม้ไว้เหนือประตูทางเข้า เพื่อป้องกันปีศาจชั่วร้ายเข้ามากล้ำกรายในเรือน



ลักษณะเตาข้าวหมู  ซึ่งตามความเชื่อของม้ง เชื่อว่าเป็นที่สถิตของผีเหย้าผีเรือน
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

การแบ่งพื้นที่การใช้สอยในเรือน ห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่อยู่ ที่กิน ที่เล่น และพักผ่อนของครอบครัว  มุมหนึ่งจะวางแคร่นอนของแขก ส่วนมุมที่เหลือจะแบ่งกั้นฝาไม้ไผ่ฟากเป็นห้องนอนเล็ก ใต้หลังคาเว้นให้เห็นพื้นที่โครงสร้างเครื่องบนของเรือน ส่วนนี้ใช้เก็บเมล็ดพันธุ์พืช และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้จะได้รับความร้อนจากแดดและควันไฟจากเตา ช่วยป้องกันความชื้น หนู และแมลงสาบ

ในเรือนทุกหลังของม้งจะมีศาลพระภูมิหรือหิ้งบูชาบรรพบุรุษอย่างน้อยหนึ่งศาล  ศาลเหล่านี้จะมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่กระดาษขาวขนาดกว้าง ยาว ราว ๑ ฝ่ามือ  ปิดไว้บนข้างฝาเรือน ตรงข้ามกับประตูหน้า การกราบไหว้หิ้งบูชาดังกล่าวมุ่งให้คุ้มครองคนในครอบครัวมีความสุข ความเจริญ และในช่วงปีใหม่เจ้าของเรือนจะทำการเซ่นไหว้ศาลด้วยไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เอาขนไก่จุ่มเลือดไปติดไว้บนกระดาษขาวนั้น

สำหรับเตาไฟในเรือนนั้น มักมี ๑ เตา เราหนึ่งใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ต้มชา ล้อมวงสนทนาในยามค่ำ  จะต้องเลี้ยงไฟให้คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อีกเตาหนึ่งอยู่ตรงมุมตอนหลังเรือน ใช้หุงข้าวหมูและช่วยเสริมเมื่อมีงานเลี้ยงใหญ่ นอกจากนี้ยังมีครกตำข้าวแบบเท้าเหยียบตั้งอยู่มุมหนึ่งของเรือน

พื้นที่ลานด้านนอกเรือน ใช้เป็นพื้นที่ทำงานฝีมือปักผ้า มีคอกสัตว์เลี้ยง เล่น หมู ไก่ เพื่อใช้เป็นอาหาร




      ๑. กองขิง พืชเศรษฐกิจของม้ง ที่บ้านป่าคา
      ๒. การฝัดเปลือกเมล็ดละหุ่ง เพื่อคัดเมล็ด
      ๓. เครื่องแยกเมล็ดข้าวโพดออกจากฝัก
      ๔. กลุ่มสตรีชาวม้งต่างวัยกับงานฝีมือปัก
      ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

วัฒนธรรมของกลุ่มชนม้ง

ม้ง มีความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผี  โดยเฉพาะในกลุ่มของผีเหย้าผีเรือน ๖ ตน ที่สำคัญเรียงตามลำดับคือ ผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ ผีเสาเอก ผีเตาไฟ ผีเตาข้าวหมู ผีประตู  และผีนอน  นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่อง ผีป่า อันเป็นผีที่อยู่นอกหมู่บ้าน  ม้งบางรายยังมีความเชื่อในเรื่องเจ้าที่ ว่าสถิตประจำอยู่ทุกสถานที่ จึงนิยมทำศาลไว้ที่ลำต้นของต้นไม้ใหญ่ในป่าเหนือหมู่บ้าน เมื่อถึงช่วงปีใหม่เหล่าผู้เฒ่าอาวุโสในหมู่บ้านจะทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่ ขอให้คุ้มครองภยันตรายแก่คนในหมู่บ้าน

ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของม้ง จะแบ่งเป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ใช้พระภิกษุซึ่งจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ อาศรมพระธรรมจาริกเป็นผู้ประกอบพิธี  ส่วนพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิม จะใช้คนทรง  อาจเป็นชายหรือหญิงเป็นผู้ติดต่อกับผีในการทำพิธีกรรม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  ซึ่งในปัจจุบัน ความเชื่อในเรื่องการเข้าทรงเพื่อรักษาโรคเริ่มลดลงไป สืบเนื่องมาจากการจัดการระบบสาธารณสุขของรัฐที่เข้าไปมีบทบาทในหมู่บ้านชาวม้งและการรับวัฒนธรรมสังคมเมือง ทำให้แบบแผนการดำรงชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป

ในเรื่องของระบบครอบครัว  บุรุษที่มีอาวุโสสูงสุดจะมีศักดิ์เป็นหัวหน้าหรือประมุขของตระกูล มีสิทธิขาดในการตัดสินใจ ขณะเดียวกันผู้อาวุโสนี้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของคนในตระกูล เป็นผู้ตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ ของสมาชิกในตระกูล

การสืบตระกูลของม้งจะยึดสายข้างบิดา เมื่อประมุขของตระกูลถึงแก่กรรม บรรดาบุตรชายที่มีครอบครัวแล้วจะต้องขยับขยายแยกไปตั้งบ้านเรือนของตนเองในที่ใหม่ หากบุตรชายแต่งงานแล้วทุกคน หน้าที่ในการอยู่ปรนนิบัติมารดาในบ้านเดิมจะตกเป็นหน้าที่ของบุตรชายคนสุดท้อง หรือเป็นบุตรคนใดก็ได้แล้วแต่ข้อตกลง

การอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานของกลุ่มม้งจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าม้งจะมีความเชื่อในเรื่องของการฝังรกเมื่อทารกเกิด ซึ่งทารกที่เกิดในที่ใดจะฝังรกในที่นั้น เมื่อตายลงวิญญาณจะกลับไปที่รก อันเป็นเสมือนเครื่องนุ่งห่มก่อนการเกิด และการให้ความสำคัญของเตาไฟไม่รู้ดับ ที่ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเชื่อที่สั่งสมมาว่าเป็นที่สถิตของผี หากจะย้ายถิ่นฐานไปตั้งเรือนใหม่จะต้องนำเถ้าถ่านติดไปใส่ในเตาไฟเรือนใหม่ ถือเป็นความต่อเนื่องของครอบครัวจากเชื้อสายเดิม




      ๑. กำไลสำริดแบบต่างๆ ที่พบในเขตบ้านโละโคะ
      ๒. หวีสำริดและลูกปัดสำริดทรงกระบอก ที่บ้านโละโคะ
      ๓. ลูกกระพรวนสำริด ที่พบในเขตบ้านโละโคะ
      ๔. ลูกปัดสำริดและลูกปัด พบในเขตบ้านโละโคะ
      ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร



หิ้งบรรพบุรุษในเรือนของชาวม้งบ้านป่าคา
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กำแพงเพชร

ความเชื่อและพิธีกรรม

๑.การเกิด ม้งเชื่อว่า เด็กทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ เกิดจากเทพีแห่งทารกประทานมา  ดังนั้นใน ๓ วันแรกของการเกิด เด็กที่ยังเป็นลูกผี หากทารกนั้นเสียชีวิตลงไม่จำเป็นต้องทำพิธีศพ

เมื่อทารกนั้นมีอายุผ่านพ้น ๓ วันแรกแล้ว พ่อของทารกจะเชิญผู้เฒ่ามาทำพิธีด้วยการเซ่นไหว้เทพีแห่งทารก ด้วยไก่สองตัว และเชิญขวัญเด็กเข้าสถิตกับร่างและในเรือนแห่งบิดามารดา เป็นพิธีรับเด็กนั้นเป็น ลูกคน มีการตั้งชื่อเด็ก ถือเป็นการรับเด็กนั้นเป็นสมาชิกของตระกูล


๒. การเลือกคู่แต่งงาน ชาวม้งจะแต่งงานกับผู้ที่มาจากต่างตระกูล (แซ่) กับตน แต่จะไม่แต่งงานกับสตรีที่มีอายุคราวแม่หรือคราวลูก หรือสตรีที่เป็นบุตรสาวของอาชาย หรือน้าสาว  แต่อาจแต่งงานกับลูกสาวของอาหญิง หรือน้าชาย

ม้งมักนิยมให้บุตรชายหญิงออกเรือน เมื่อมีอายุประมาณ ๑๓ ปี  สตรีชาวม้งซึ่งเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม มักต้องสวย ทำงานเก่ง คล่องแคล่วทั้งร่างกายและไหวพริบ ขณะที่ชายหนุ่มในความคาดหมายของสตรีม้ง มักต้องหล่อ พ่อรวย ชาติตระกูลดี ขยันขันแข็ง

ช่วงเทศกาลปีใหม่จะเป็นช่วงเวลาของการเลือกคู่ในกลุ่มหนุ่มสาวชาวม้ง เมื่อได้คู่ที่ถูกใจ ชายจะต้องขอให้พ่อแม่เป็นผู้ช่วยอุปการะในการแต่งงาน เพราะค่าใช้จ่ายในการแต่งงานจะต้องมีสินสอดประกอบด้วยเหรียญเงินอินเดีย เงินแท่งจำนวน ๔ แท่ง (แท่งละประมาณ ๓๗๘.๕ กรัม  มูลค่าแท่งละ ๖,๘๑๓ บาท) เมื่อพ่อแม่ฝ่ายชายตอบตกลง จึงจะไปรับหญิงสาวมาอยู่ร่วมเรือนได้ หลังจากนั้นพ่อสื่อจะไปแจ้งแก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงถึงการกำหนดวันแต่งงาน

พิธีแต่งงานจะจัดขึ้นในระยะ ๒-๓ วันหลังจากที่เจ้าสาวเข้าบ้านเจ้าบ่าว หรืออาจห่างออกไปเป็นสัปดาห์ หรือหลายปี  หากครอบครัวเจ้าบ่าวยังรวบรวมสินสอดไม่ครบ ในบางรายถ้ายังไม่สามารถรวบรวมสินสอดได้ครบเจ้าบ่าวอาจใช้ระบบการผ่อนสินสอดตามแต่ตกลงกับฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาว หรืออาจช่วยทำงานบ้านพ่อตาเพื่อชดใช้ หรือลดราคาสินสอดที่จะต้องจ่าย

พิธีแต่งงานเริ่มขึ้นที่บ้านของเจ้าบ่าว ทางฝ่ายเจ้าบ่าวจะเตรียมหมู ๒ ตัว ไก่ ๒-๔ ตัว เหล้าม้ง ๑๐ ขวด ไก่ตัวหนึ่งจะใช้สำหรับการไหว้ผีเรือน แล้วเชื้อเชิญพ่อสื่อของฝ่ายเจ้าบ่าวที่ไปเจรจากับฝ่ายเจ้าสาวมานั่งดื่มสุราคนละถ้วย ขณะที่วงศาคณาญาติของเจ้าบ่าวมายืนเรียงแถวอยู่ต่อหน้าแสดงความเคารพ  เจ้าบ่าวกับเพื่อนเจ้าบ่าวเข้าไปคำนับญาติเรียงตามลำดับอาวุโส ส่งท้ายด้วยการคำนับผีเหย้าผีเรือน และผีบรรพชนที่ศาล

ต่อจากนั้น เจ้าบ่าวเจ้าสาว และผู้ช่วยหนึ่ง กับพ่อสื่อทั้งสองจะยกขบวนเดินทางไปยังบ้านเจ้าสาวโดยมีไก่ ๒ ตัว กับสุราอาหารติดไป เมื่อถึงเรือนเจ้าสาว พ่อสื่อมอบไก่ ๒ ตัวให้บิดาของเจ้าสาว เพื่อนำไปเซ่นไหว้ผีเรือน  เจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวทำการคำนับปู่ พ่อ ลุง อา และพี่ชาย น้องชายเจ้าสาวตามลำดับ แล้วจึงย้อนไปดื่มสุราคนละจอก พร้อมทั้งเจรจามอบค่าสินสอดแก่บิดาของเจ้าสาว แล้วจึงยกขบวนกลับบ้านเจ้าบ่าว

เมื่อขบวนกลับถึงบ้านเจ้าบ่าว การเลี้ยงเพื่อขอบคุณบรรดาญาติที่ได้มาช่วยงานและผู้ร่วมขบวนไปเจรจากับญาติเจ้าสาวจึงเริ่มขึ้น จนกระทั่งดึกจึงเลิกรา

หลังจากที่เจ้าสาวเริ่มเข้ามาใช้ชีวิตในครอบครัวของฝ่ายสามีแล้ว เธอจะกลายเป็นคนของสามีและครอบครัวโดยสมบูรณ์ หากผู้เป็นภรรยาไม่มีบุตร และต้องการหย่าขาดกับสามี เธอจะกระทำได้หากชดใช้ค่าสินสอดที่ได้รับจนครบตามจำนวนแล้ว แต่หากมีบุตร จะต้องแบ่งบุตรบางคนให้กับสามีแทนการชดใช้ค่าสินสอด แต่โดยส่วนใหญ่ม้งมักไม่หย่าร้างกัน แต่จะให้สามีแต่งงานใหม่ และนำเจ้าสาวมาอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับตน ในบางรายอาจมีภรรยาถึง ๔ คนอยู่ในบ้านเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ในสังคมม้งไม่ถือเป็นเรื่องการกดขี่ทางเพศ เนื่องจากเป็นความยินยอมของผู้เป็นภรรยา




ซ้าย : มรณาภรณ์ของสตรีม้ง  ขวา : มรณาภรณ์ของบุรุษม้ง
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

๓.การตาย  ม้งเชื่อว่าพิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องจะส่งผลให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติ และมักนิยมที่จะตายในเรือนของตนหรือบ้านญาติ แม้ว่าในบางรายอาจเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่หากใกล้ถึงแก่กรรม ญาติมักนำกลับไปสิ้นใจที่บ้านเป็นส่วนใหญ่

โดยปกติ ม้งจะมีการเตรียมชุดสำหรับผู้ตาย และชุมนุมญาติสนิท เมื่อแน่ใจว่าบุคคลในครอบครัวจะสิ้นชีวิตในไม่ช้า เพื่อให้ผู้กำลังจะถึงแก่กรรมรู้สึกอบอุ่นใจเป็นการลาและทำหน้าที่เตรียมพิธีศพ  เมื่อเวลามาถึง ผู้เป็นญาติจะยิงปืนสัญญาณ ๓ นัด  ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ของญาติพี่น้องและสมาชิกในครอบครัว


 
ศพสตรีม้งพร้อมเครื่องประกอบศพ ที่บ้านโละโคะ
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

หากผู้ตายอยู่ในวัยชรา ลูกหลานจะช่วยกันอาบน้ำชำระศพ แต่งกายใหม่ด้วยมรณาภรณ์ ซึ่งแต่ละคนจะจัดทำเตรียมไว้เมื่อล่วงเข้าสู่วัยชรา เป็นชุดเครื่องแต่งกายที่เป็นแบบพื้นเมืองปักอย่างวิจิตร ใต้ศีรษะรองด้วยผ้าพิเศษ เป็นผ้าปักอย่างวิจิตร รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง-ยาว ๓๐-๓๕ เซนติเมตร  เพื่อให้เป็นหมอน ผ้าผืนนี้น้องสาว บุตรสาว หรือหลานสาวของผู้ตายเป็นผู้จัดทำ ส่วนอีกผืนหนึ่ง คือ ผ้าคาดเอวหากเป็นศพชาย หรือปกเสื้อ หากเป็นศพหญิง  บริเวณส่วนใบหน้าของผู้ตายจะปิดด้วยผ้าแดง เพื่อให้ศพไม่ต้องตากหน้าต่อธารกำนัล ตรงนิ้วมือผู้ตายพันด้วยด้ายสีแดง ตามความเชื่อว่า เมื่อเดินทางไปปรโลก ผู้ตายอาจถูกรั้งตัวให้ช่วยปอกหัวหอม ดังนั้น ด้ายสีแดงที่พันนิ้วจึงเป็นข้ออ้างได้ว่านิ้วเจ็บ  นอกจากนี้ศพจะต้องสวมรองเท้าสวม เนื่องจากตามคติความเชื่อของม้งว่า ผู้ตายจะต้องเดินทางฝ่าดงบุ้งยักษ์ระหว่างทางไปสู่ปรโลก  ศพนี้จะวางบนแคร่หามสูงจากพื้นราว ๑ เมตร ตั้งไว้ใกล้ศาลพระภูมิ ศาลบรรพชน หากญาติยังมาไม่ครบ อาจวางศพนี้บนแคร่หามที่วางอยู่บนพื้นเรือนก่อน จนกระทั่งเมื่อญาติมาครบจึงนำแคร่วางศพตั้งในที่สูงเหนือพื้น

เมื่อตั้งศพเรียบร้อยแล้ว จึงฆ่าไก่สำหรับเซ่นไหว้ นำไปวางไว้ที่ข้างศีรษะศพ ผู้เฒ่าประธานพิธีสวดให้ผู้ตาย แจ้งให้ผู้ตายรู้ว่า หากร้อนแดดให้เข้าร่มบังของปีกไก่ หรือหลบเข้าใต้หางไก่ถ้าฝนตก และให้เดินทางสายกลางตามไก่ จะนำไปสู่แดนแห่งบรรพชน  ตลอดในพิธีจะมีชายผู้กำกับพิธี ๒ คน ทำหน้าที่เป่าแคนไม้ซาง และลั่นกลองหนัง ซึ่งหากคนในหมู่บ้านได้ยินเสียงเครื่องดนตรี ๒ ชิ้นนี้บรรเลง แสดงว่าต้องมีการถึงแก่กรรมของคนในหมู่บ้านนั้น



     ซ้าย : ผู้เฒ่าประกอบพิธีสวดชี้ทางแก่ผู้ตายในการดำเนินชีวิตในปรโลก
     ขวา : แคร่ไม้ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับวางศพ เมื่อจะเคลื่อนย้ายไปฝังที่สุสาน
     ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ในแต่ละวันระหว่างที่รอการชุมนุมของหมู่ญาติจนครบ อาจใช้เวลา ๕-๖ วัน ศพนี้จะวางบนแคร่ โดยตั้งข้าวศพ ๓ เวลา เช้า กลางวัน และเย็น แต่ละครั้งที่ตั้งอาหารจะต้องยิงปืน ๓ นัด หากผู้ตายมีหนี้สิน ญาติต้องชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนจึงจะฝังศพได้ เพื่อว่า ชาติหน้าผู้ตายจะได้มีชีวิตอิสระ ปลอดหนี้ มั่งคั่ง และมีความสุข

เมื่อญาติมาครบ การทำโลงศพจึงเริ่มขึ้น ม้งมีวิธีการทำโลงศพจากไม้ในป่านำมาประกอบกันด้วยวิธีเข้าไม้ทุกส่วนเป็นโลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างหยาบๆ การวางศพในโลงจะนำศพวางในท่านอนเช่นเดียวกับเมื่อแรกในโลง แล้วปิดฝาโลงโดยใช้ไม้ตะปูตอกปิดแตะ จะใช้การวางกับขอบตัวโลงแทน

หลังจากนั้น จึงนำคานมาหาบแคร่วางศพออกจากเรือน จัดการฆ่าวัวเพื่อบูชาในช่วงบ่าย ญาติและคนในครอบครัวของผู้ตายตั้งขบวน เพื่อนำไปฝังในสุสาน ซึ่งม้งในสมัยแรกที่มาตั้งถิ่นฐาน เมื่อมีผู้ถึงแก่กรรมในหมู่บ้านจะต้องนำศพไปฝังที่บนเขา ต่อมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนสถานที่ฝังศพมาอยู่ตรงเนินดินข้างทางในเขตแนวต่อของหมู่บ้าน การฝังศพนี้กำหนดในช่วงบ่ายสี่โมง ผู้นำขบวนเดินป่าแคนไม้ซาง ตามด้วยสาวถือคบเพลิงส่องทางให้ผู้ตาย

เมื่อศพผ่านพ้นเขตหมู่บ้าน สาวถือคบเพลิงจะโยนคบเพลิงทิ้ง แล้ววิ่งหนีกลับบ้าน เพื่อให้วิญญาณผู้ตายงงกลับบ้านไม่ถูก หลังจากนั้น จะมีการหยุดขบวนตามทางอีกหลายครั้ง เพื่อสั่งความแก่ผู้ตาย ให้แน่ใจว่าวิญญาณผู้ตายจะไม่หวนคืนสู่บ้าน

เมื่อขบวนถึงสุสาน จึงนำโลงหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้ บรรจุศพในโลง ปิดฝากลบหลุม แล้วจัดวางก้อนหินเหนือหลุมศพ สะด้วยกิ่งไม้ อำพรางไม่ให้สัตว์มาคุ้ยเขี่ยศพขึ้นมา คานที่ใช้หามแคร่ศพมานั้น ญาติจะตัดออกครึ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้กลับบ้านไปนำคนอื่นสู่ปรโลก.



ชายผู้กำกับพิธีรัวกลองหนัง เพื่อประโคมในพิธีศพ ที่หมู่บ้านโละโคะ
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


นักดนตรีเป่าแคนไม้ซาง ประโคมในพิธีศพม้งที่บ้านโละโคะ
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


การแห่ศพออกจากเรือน โดยมีชายเป่าแคนไม้ซางและหญิงถือคบเพลิงนำขวน
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


การล้มวัว เพื่อให้ติดตามผู้ตายไปสู่ดินแดนบรรพชน
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


การประโคมเครื่องดนตรี  ประกอบในพิธีศพ ขณะนำศพไปฝังยังสุสาน
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


ซ้าย : การทำพิธีเปิดทางสู่ปรโลก ด้วยการยิงหน้าไม้
ขวา : การถามผู้ตายเป็นครั้งสุด ด้วยไม้ทรง
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


สภาพสุสานของม้ง ที่บ้านโละโคะ
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


ซ้าย : พิธีปัดรังควานที่ชายหมู่บ้าน หลังกลับจากสุสาน
ขวา : เครื่องประดับต่างหูแบบลูกศรขด อันเป็นแบบเฉพาะของชาวม้ง
ซึ่งพบในหมู่สตรีสูงอายุในหมู่บ้านม้งป่าคา
ภาพจาก : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ข้อมูล : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
          กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร
          เฉลิมพระเกียรติ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ภาพประกอบกระทู้ : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร และ http://www.sookjai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 13:05:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - 'ผู้หญิงผิวดำ-ชนกลุ่มน้อย' ในอังกฤษ ทำงานภายใต้ 'สัญญา 0 ชั่วโมง' มากกว่าคน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 65 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2566 10:45:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.565 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 16:24:55