[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 10:44:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอพรหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย  (อ่าน 4515 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 สิงหาคม 2556 13:25:21 »

.


หลวงพ่อพระใส
พระพุทธรูปองค์สำคัญประจำจังหวัดหนองคาย

หลวงพ่อพระใส
วัดโพธิ์ชัย
ถนนประจักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

หลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวหนองคาย เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หล่อด้วยทองสีสุก (ทองเหลือง) มีพระลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ความสูงจากพระชงค์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ  ๔ คืบ ๑ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย(พระอารามหลวง)

ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง (บางท่านเชื่อว่า เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส มีขนาดลดกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง ส่วนพระใสประจำคนสุดท้อง
 
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ เป็นเวลา ๗ วันแล้ว ทองก็ยังไม่หลอมละลาย  ครั้นวันที่ ๘ เวลาเพล เหลือหลวงตากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งกำลังสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว มาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้า แล้ว และไม่มีผู้ใดเห็นชีปะขาวอีกต่อไป
 
หลังสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสุก พระเสริม และพระใส ได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง เป็นเวลาสืบต่อมาช้านาน  และคราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย เมื่อเหตุการสงบเรียบร้อยแล้วจึงจะอัญเชิญกลับมาไว้ดังเดิม  ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด  ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียสิ้น แล้วได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส กลับมาประดิษฐานที่จังหวัดหนองคาย
 
มีคำบอกเล่าว่า ในคราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระใสนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระเสริมได้ อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ และพระสุก ได้สร้างองค์จำลองไว้ที่วัดศรีคุณเมือง ณ ปัจจุบัน
 
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไปกรุงเทพฯ เมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น ๒ ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว ....
ข้อมูล วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย




พระสุก




พระเสริม


(จากซ้าย) พระสุก พระเสริม พระใส
 




พระใส

จิตรกรรมอันงดงาม รอบผนังพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย














ศาสนสถานวัดโพธิ์ชัย






พระอุโบสถ ที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพระใส


หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ชายแดนติดแม่น้ำโขง ตรงข้ามนครเวียงจันทน์  และจังหวัดบริคันของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีระยะห่างจาก กรุงเวียงจันทน์ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร  และเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Moderm Maturity (จัดพิมพ์โดยสมาคมชาวอเมริกันผู้เกษียณอายุ ที่ดำเนินการโดยมิได้หวังผลกำไร แต่มุ่งเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่พลเมืองอเมริกัน ที่มีอายุ ๕๐ ปี ขึ้นไป)  ให้เป็นแหล่งพักผ่อนที่สองรองจากบ้านพักของตนเอง สำหรับพลเมืองผู้สูงอายุชาวอเมริกัน  จากการสำรวจแหล่งพักผ่อนทั่วโลกรวม ๔๐ แห่ง  

โดยจังหวัดหนองคายได้รับการคัดเลือกจัดลำดับให้เป็นที่  ๗  จากเมืองที่ได้รับการขึ้นอันดับ  ๑๕ แห่ง  ทั้งนี้ โดยการพิจารณาจากปัจจัย ๑๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ ลักษณะภูมิอากาศ, วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, ค่าครองชีพ, ระบบสาธารณูปโภค, สถานที่พัก, ระบบการขนส่ง, การให้บริการด้านสาธารณสุข, กิจกรรมนันทนาการ, ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, ความมั่นคงทางการเมือง และระบบสารสนเทศ


๑๐ เมืองน่าอยู่ ที่ได้รับการจัดอันดับของแม็กกาซีน Moderm Maturity  ประกอบด้วย
   ๑. เมืองคอสตาเดลโซล   ประเทศสเปน
   ๒. เมืองแซงค์เทียร์   ประเทศอิตาลี
   ๓. เมืองโพรวองซ์   ประเทศฝรั่งเศส
   ๔. เมืองบูแกต   ประเทศปานามา
   ๕. เมืองวิเซนต์   เกรนาดีน
   ๖. เมืองเคาร์ตี้แคร์   ประเทศไอร์แลนด์
   ๗. จังหวัดหนองคาย   ประเทศไทย
   ๘. เมืองครีท   ประเทศกรีซ
   ๙. เมืองแอมแบร์กริส เคร์   ประเทสเบลิตซ์
  ๑๐. เมืองตูนิส   ประเทศตูนีเซีย



พระธาตุหล้าหนอง ริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย


ยามเย็นริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าพระธาตุหล้าหนอง

ประวัติเมืองหนองคาย
เมืองหนองคาย มีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารล้านช้างตลอดยุคสมัย ดังเช่นปรากฏเป็นชื่อเมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองปากห้วยหลวง (โพนพิสัย) และนอกจากนี้ยังปรากฏในศิลาจารึกจำนวนมากที่เจ้านครแห่งเวียงจันทน์ได้สร้างไว้ในบริเวณจังหวัดหนองคาย  โดยเฉพาะเมืองปากห้วยหลวง หรือโพนพิสัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง  ในรัชสมัยพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติ ฯ โอรสพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ได้ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชวัดมุจลินทรอาราม  มาอยู่จำที่เมืองห้วยหลวง  และยังพบจารึกที่วัดจอมมณี ลงศักราช พ.ศ. ๒๐๙๘  จารึกวัดศรีเมือง พ.ศ. ๒๑๐๙ จารึกวัดศรีบุญเรือง พ.ศ. ๒๑๕๑ เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังพบโบราณสถานในสมัยล้านช้างอีกจำนวนมาก เช่น พระธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะพระธาตุบังพวน  ปรากฏหลักฐานสร้างก่อน พ.ศ. ๒๑๐๖  จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา (อำเภอสุวรรณคูหาจังหวัดหนองบัวลำภู)  ลงศักราช พ.ศ. ๒๑๐๖ กล่าวถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้อุทิศข้าทาสและที่ดินแก่วัดถ้ำสุวรรณคูหา และได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่พระธาตุบังพวนอีกด้วย
 
ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรีรบได้ชัยชนะกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์แล้ว หัวเมืองหนองคายยังคงอยู่ภายใต้ความควบคุมของเวียงจันทน์เช่นเดิม หลังกรณีเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๗๐ ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสาน จึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง  ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายปัจจุบัน) เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านไผ่ (ละแวกเดียวกับเมืองปะโคเมืองเวียงคุก) เป็นเมืองหนองคาย ท้าวสุวอ เป็นที่ “พระปทุมเทวาภิบาล” เจ้าเมืองคนแรก มีเจ้าเมืองต่อมาอีก ๒ คน คือ พระปทุมเทวาภิบาล (เคน ณ หนองคาย) ผู้เป็นบุตรและพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ผู้เป็นหลาน พ.ศ. ๒๔๒๘ เกิดศึกฮ่อเป็นครั้งที่สองในบริเวณทุ่งไหหิน (ทุ่งเชียงคำ) พวกฮ่อกำเริบตีมาจนถึงเวียงจันทน์ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพปราบฮ่อครั้งนั้น และสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อไม้ที่เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙
 
พ.ศ. ๒๔๓๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลลาวพวน (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร) ได้ตั้งที่ทำการที่เมืองหนองคาย ครั้นเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ร.ศ. ๑๑๒ ไทยถูกกำหนดเขตปลอดทหารภายในรัศมี ๕๐ กิโลเมตรจากชายแดน จึงย้ายมาตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้ง จังหวังอุดรธานีปัจจุบัน...ข้อมูล สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองคาย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ธันวาคม 2560 16:08:51 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ จ.หนองคาย
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 7648 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2557 15:07:22
โดย Kimleng
พระราชรัตนาลงกรณ์ (พิศิษฐ์ สุวีโร) วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1033 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2562 15:19:04
โดย ใบบุญ
หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 908 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2562 17:06:34
โดย ใบบุญ
พระธรรมมงคลรังษี (คำบ่อ อรุโณ) วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 500 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2562 16:02:34
โดย ใบบุญ
พระธรรมมงคลรังษี (คำบ่อ อรุโณ) วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 580 กระทู้ล่าสุด 18 พฤษภาคม 2563 15:16:59
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 02:57:25