ภาพเก็บตก "ขนมโบร่ำโบราณ" ในงานวัด

(1/1)

Kimleng:
Tweet

.


แป้งสด สำหรับทำขนมต่างๆ
ในสมัยโบราณใช้วิธีการโม่แป้ง โดยนำข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียวแช่น้ำอย่างน้อยห้าชั่วโมงหรือข้ามคืน
นำมาโม่เพื่อให้ได้แป้งสดสำหรับนำไปทำขนมหวานชนิดต่างๆ



ขนมและของว่างไทยโบราณในงานวัด
ได้มีโอกาสเดินทางไปตามวัดต่างๆ  ไปพบเห็นของว่างและขนมโบร่ำโบราณ
ที่ค่อนข้างจะหารับประทานยากในยุคสมัยนี้ เยาวชนรุ่นหลังอาจจะไม่รู้จักหรือเคยได้ยินชื่อขนม
และของว่างดังต่อไปนี้มาก่อนก็อาจเป็นได้  จึงนำภาพมาฝากให้ได้เรียนรู้ ถึงรูปลักษณ์และชื่อของ
ขนมและของว่าง เพื่อจักได้ช่วยกันอนุรักษ์กันต่อไป






ขนมเบื้องญวน
ใช้แป้งข้าวจ้าว (อาจผสมไข่ไก่) ใส่น้ำปูนใส ตัดเกลือเล็กน้อย กรอกในกระทะเป็นแผ่นบางๆ
ใส่ถั่วงอก มะพร้าวขูดกวนกับน้ำตาลปีบใส่สีผสมอาหารสีส้มหรือสีเหลือง  ใส่ถั่วลิสงคั่วบดหยาบ หัวไขโป๊วเค็มสับหยาบ อาจมีกุ้งแห้ง
ผักชีฝรั่งซอย  แล้วพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม รับประทานกับอาจาดที่ทำจากน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวหนึบผสมแตงกวาหั่นบางๆ *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*







กล้วยแขก
ใช้กล้วยน้ำว้าห่าม (สุกๆ ดิบๆ - ไม่สุกงอม) ฝานบาง คลุกกับแป้งข้าวเจ้า ผสมไข่ไก่ น้ำปูนใส เกลือป่น
น้ำตาลปีบ งาขาว และกลอยผสมไปด้วย จึงจะกรอบหอม *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ถุงทอง
ทำจากแผ่นเกี๊ยว ซึ่งในสมัยโบราณมีหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่เอาเป็นว่าทำจากแป้งสาลี
นวดให้เหนียวปั้นเป็นก้อนกลม แล้วแผ่ให้เป็นแผ่นบาง
ใส่ใส้หมูสับผัดกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ปรุงรสเค็มเล็กน้อย
นำมาห่อรวบแล้วมัดด้วยใบกุยช่าย(ลวกก่อน)  นำไปทอดให้สุกเหลือง
จิ้มน้ำจิ้ม (น้ำตาลทราย เกลือ ส้มสายชูเคี่ยวจนเหนียว ใส่พริกชี้ฟ้าสดแกะเมล็ดโขลกหยาบเคี่ยวต่ออีกเล็กน้อย)*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ขนมไส้พระจันทร์ สีหลืองนวลอ่อนๆ
กรรมวิธีคงนัยเดียวกับ "ถุงทอง" แต่ของว่างชนิดนี้ใช้แผ่นแป้งปอเปี๊ยะแทนแผ่นเกี๊ยว
ส่วนไส้เปลี่ยนจากหมู เป็นใช้เนื้อไก่แทน*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*







ขนมกง (ลักษณะคล้ายล้อเกวียน)
วิธีทำค่อนข้างยุ่งยาก ใช้ถั่วเขียวแช่น้ำค้างคืน นำไปนึ่งให้สุก บดให้ละเอียด
นำไปกวนกับกะทิ น้ำตาล และเกลือ จนเหนียว  จึงนำมาปั้นให้เหมือนรูปล้อเกวียน
(ปั้นเป็นรูปวงกลม แล้วคลึงแป้งเป็นเส้นยาว จัดทแยงในวงกลม บีบให้สนิทติดกัน)
นำไปชุบแป้งข้าวเจ้าผสมไข่ไก่และน้ำปูนใส ความข้นของแป้งคะเนให้แป้งชุบขนมติด
ทอดแล้วฟู กรอบ*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ซาลาเปา (ซาลาเปาไทยโบราณ)
ใช้แป้งข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน  นำไปโม่แล้วทับน้ำ
(ใส่แป้งโม่ในถุงผ้าดิบมัดปากถุงให้แน่น ใช้ของหนักๆ ทับให้น้ำซึมออกให้หมด เหลือแต่แป้งล้วนๆ)
นำมาปั้นเป็นก้อนกลม แผ่แป้งให้บาง ใส่ใส้ถั่วเขียวกวน (ไส้ชนิดเดียวกับขนมกง)
บีบขอบแป้งให้สนิท นำด้านที่ไม่มีตะเข็บแป้ง ชุบงาดำหรืองาขาวบางๆ นำไปทอดให้สุกเหลือง*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ข้าวเม่าพอก
วิธีทำข้าวเม่าพอก
ขั้นตอนที่ 1 ผสมข้าวเม่านวดกับน้ำตาลปีบ มะพร้าวขาวขูด นำไปกวนจนเหนียวพอปั้นได้
นำส่วนผสมข้าวเม่าไปหุ้มกล้วยไข่ (สุก) ให้มิด  แล้วชุบแป้ง (แป้งข้าวเจ้าผสมน้ำปูนใส เกลือ ไข่ไก่)
ทอดในน้ำมันปานกลาง ใช้ปลายไม้เขี่ยให้กล้วยไข่เรียงติดกันเป็นแพในกระทะ 3 ชิ้น
ทอดจนขนมสุกเหลืองดีแล้ว ตักใส่ตะแกรงพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน  จัดวางในถาดหรือภาชนะ

ขั้นตอนที่ 2 ใช้แป้งดังกล่าวข้างต้น (แป้งข้าวเจ้าผสมน้ำปูนใส เกลือ ไข่ไก่) โรยในกระทะให้เป็นฝอยๆ
ใช้ไม้ยาวเขี่ยแป้งในกระทะให้ซ้อนกันสูงๆ ตามขนาดที่ต้องการ ทอดจนแป้งกรอบได้ที่
นำไปวางเทินบนกล้วยที่ทอดเป็นแพ

กรรมวิธีการทำข้าวเม่า :
ใช้ข้าวเปลือกเก็บเกี่ยวใหม่ๆ และข้าวยังไม่แก่จัดเต็มที่ พอที่จะนำไปสีเป็นข้าวสาร
นำไปโขลกให้เปลือกข้าวหลุดหล่อนออกจากเมล็ดข้าว ฝัดเปลือกข้าวออกทิ้งไป
และไม่ต้องขัดข้าวให้ขาว จึงเหลือแต่เมล็ดข้าวสีเขียวอ่อนๆ นิ่มๆ และมีกลิ่นหอมๆ ของข้าวใหม่
เรียกว่า "ข้าวเม่า" *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ขนมถ้วยจีน
สมัยก่อนคนขายเป็นแป๊ะหรือซิ้มแก่ๆ เดินใส่หมวกสานแบบจีนปลายแหลมๆ  
หาบคอนใส่กระจาดมานั่งขายในโรงเรียนตอนพักเที่ยง
เวลาสั่งซื้อ ซิ้มจะใช้พายไม้อันเล็กๆ ตัดขนมในถ้วยเป็นรูปกากบาทแบ่งให้ได้ 4 ชิ้น
จัดใส่กระทงใบตอง ราดน้ำตาลเชื่อมเหนียวๆ ใส่หัวไชเท้าเค็มสับ และกระเทียมเจียวหอมๆ

ตัวแป้งทำจากแป้งข้าวจ้าว ผสมกับน้ำปูนใส  
ทำโดยนึ่งถ้วยเปล่าด้วยไฟแรงจัดประมาณ 3-4 นาที  จึงใส่ตัวแป้งลงในถ้วย แล้วนึ่งต่อจนแป้งสุก
เวลาจะรับประทาน ราดน้ำตาลปีบเคี่ยวจนเหนียวใส ใส่หัวไชโป๊วเค็มสับหยาบ กระเทียมเจียว
ตามด้วยน้ำส้มพริกดองสีแดง
*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*















เมี่ยงคำ ของว่างที่มากด้วยคุณค่าของสมุนไพรไทยหลายชนิด
ส่วนผสม : ใบชะพลูสด ถั่วลิสงคั่ว, มะพร้าวหั่นชิ้นเล็กๆ นำไปคั่วจนเหลือง, กุ้งแห้ง, มะนาวติดผิวหั่นชิ้นเล็ก,
หอมแดงหั่นชิ้นเล็ก  ราดด้วยน้ำตาลปีบเคี่ยวกับกะปิจนหนืดเหนียวใส  
วิธีรับประทาน : นำส่วนผสมอย่างละเล็กละน้อย กะขนาดพอดีคำวางบนใบชะพลู ห่อรวบเข้าปาก หรือเสียบไม้ขายเป็นไม้ๆ *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*







ขณะทอดต้องใช้ตะแกรงโปร่ง กดคลึงไปมาให้แป้งฟูกรอบทั่วกัน

ไข่นกกระทา
ทำจากมันเทศต้มหรือนึ่งจนสุก เอาแต่เนื้อนวดกับแป้งมัน น้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย และกะทิ
จนเหนียวได้ที่ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ นำไปทอดจนสุกเหลือง *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ข้าวเกรียบงา
ส่วนผสม แป้งข้าวเจ้า (ชนิดโม่ - ไม่ใช้แป้งผง) น้ำตาลทราย งาดำ มะพร้าวขูดขาว
ผสมได้ที่แล้ว นำไปนึ่งในถาดเล็กๆ ทาน้ำมันเสียก่อน
จึงตักส่วนผสมแป้งใส่ถาด 1 กระบวย/1แผ่น  เมื่อสุกจึงลอกขนมจากถาด
แล้วนำไปตากแดดบนแฝกที่ปูลาดไว้ เมื่อจะรับประทานจึงนำไปปิ้งในเตาถ่านให้เหลืองหอม
หากถ้ารับประทานเลยเรียกว่า ข้าวเกรียบงาสด *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



มันสำปะหลังปิ้ง
ส่วนผสม :  มันสำปะหลังต้มสุกบดละเอียดผสมกับมะพร้าวขูดและน้ำตาลทราย
ผสมได้รสชาติดีแล้ว ปั้นก้อนกลมๆ นำไปปิ้งบนเตาถ่านจนสุก (ไหม้นิดๆ)  
(ถ้ารองเตาด้วยใบตองจะหอมมาก)
*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*









ลูกชุบ
ทำจากถั่วเขียวนึ่ง แล้วบดละเอียด นำไปกวนผสมกับกะทิ และน้ำตาลทราย
จนเหนียวปั้นได้ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นสนิท จึงนำไปอบควันเทียน ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ
(ควรระมัดระวัง ดอกไม้ที่จำหน่ายตามท้องตลาดด้วย เพราะมีสารเคมีจากยาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่มาก)
สูตรและวิธีทำ กดอ่านที่ http://www.sookjai.com/external/lookchub/DSC01328.JPG*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ข้าวยาคู ขนมในเทศกาลงานบุญสารท ผู้ขายเล่าว่าผสมน้ำใบเตยให้มีกลิ่นหอมค่ะ
ข้าวยาคูทำจากข้าวอ่อนที่เรียกว่า ข้าวกำลังตั้งท้อง คือมีเนื้อข้าวอยู่ภายในเมล็ด แต่ยังไม่แก่เต็มที่
นำข้าวทั้งรวงมาตำจะได้น้ำข้าวสีขาวและหอม นำมากวนให้สุกเติมน้ำตาลเล็กน้อย
ก็จะได้ข้าวยาคูสีเขียวอ่อนใส ที่มีรสหวานและหอมน่ากิน*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*


          

         
          ขนมบ้าบิ่น
          ทำจากแป้งข้าวเหนียวขาวหรือดำ แช่น้ำค้างคืน โม่ให้ละเอียด  
          ผสมกับน้ำตาลทราย และมะพร้าวขูดขาว
          ใช้พิมพ์วงกลมวางบนกระทะแบน ทาน้ำมันมะพร้าวที่พิมพ์และกระทะเสียก่อน
          (สมัยก่อนนิยมน้ำมันมะพร้าวทำขนม) แล้วทอดหรือจี่จนสุกหอม*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*


 


ขนมไข่เหี้ย
ทำจากแป้งข้าวเหนียว (ขาวหรือดำ) โม่ทับน้ำจนแห้งสนิท
นำมาปั้นเป็นก้อนกลม แล้วแผ่บางๆ หุ้มไส้ถั่วเขียว นำไปทอดจนสุกเหลืองทั่วกัน
แล้วงฉาบด้วยน้ำตาลเคี่ยวให้เป็นเกร็ดๆ สีขาวเกาะติดที่ผิวขนม
ส่วนไส้ขนม ทำจากถั่วเขียวแช่น้ำค้างคืน นำไปนึ่งจนสุกนิ่มดีแล้ว
จึงผสมกับมะพร้าวขูดขาว เกลือ และรากผักชี กระเทียม พริกไทย โขลกละเอียด
แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน  
*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ขนมขี้หนู
ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ เห็นคนทำเขาใช้ตะแกรงลวด (ขนาดความถี่เท่ากับมุ้งลวดตามบ้านเรือน)
ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมประมาณ 1 x 1 ฟุต นำขอบทั้งสี่ด้านตรึงด้วยไม้ให้แน่นหนา
 
นำแป้งโม่ทับน้ำ (มีความชื้นในตัวอยู่แล้ว) ยีไปมาบนตะแกรง
ซึ่งจะทำให้แป้งร่วงลงชามหรือถาดรองนั้น เป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดเท่าๆ กัน
นำแป้งไปนึ่งให้สุก พอแป้งสุกเปิดฝาลังถึงออกมา ใช้น้ำเชื่อมเข้มข้น
ซึ่งเคี่ยวจากน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ ผสมสี (ชมพู เขียว)
ราดลงในขนมที่นึ่งสุก ใช้พายไม้เคล้าให้เข้ากันดีแล้วปิดฝาให้ระอุ
พอขนมเย็นสนิทดีแล้ว มักใช้ดอกมะลิซึ่งปลูกไว้ตามบ้านเรือนโรยบนหน้าขนม
เพิ่มความน่าทานและความหอมให้ยิ่งๆ ขึ้น

ส่วนมากนิยมทำขนมชนิดนี้เป็น 3 สี คือ สีขาว สีชมพู และสีเขียว
เวลามีคนมาซื้อก็ตักใส่ใบตอง โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดเป็นเส้นๆ ห่อแบบขนมสอดไส้
เปิดห่อขนมออกมา จะได้กลิ่นหอมของใบตองห่อขนม
กลิ่นหอมของขนมซึ่งอบดอกมะลิ และกลิ่นมะพร้าวขูด...*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*


            
            ปลาแนม
            ทำจากข้าวสารคั่วบดละเอียด โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด หอมแดงซอย และมะนาวหั่นแฉลบติดผิวบางๆ*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*









ขนมถังแตก
โรยหน้าด้วยงา เกลือ น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน และมะพร้าวขูดเป็นเส้นๆ
เป็นขนมราคาถูก อร่อย อิ่มท้อง เป็นที่นิยมของเด็กนักเรียนในสมัยก่อนมาก
ตัวแป้ง ได้จากการหมักส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี  กะทิ น้ำตาลทราย และยีสต์
ให้ขึ้นฟูและมีกลิ่นฉุนๆ  เคยได้ทราบมาว่าต้องผสมแป้งเชื้อเข้าไปด้วย
จึงจะได้รสชาติที่อร่อยและโบราณจริงๆ (และสูตรโบราณจริงๆ ปัจจุบันก็หาทานยากจริงๆ)
 *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*












ขนมเบื้องไทย
ตัวแป้งทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งถั่ว  ไข่ น้ำตาลทราย
หน้าขนมมีให้เลือกหลายชนิด
เช่น ฝอยทอง, หน้ามะพร้าวขูดกวนกับน้ำตาลปีบ,  หน้ากุ้ง (กุ้ง กระเทียม พริกไทย เกลือ) ฯลฯ*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*











สาคูไส้หมู
วิธีทำ : ใช้สาคูเม็ดเล็ก ล้างน้ำแล้วเทใส่กระชอนกรองน้ำทิ้งให้สะเด็ดน้ำ จึงนำไปนวดจนเหนียว
วิธีทำไส้ : เจียวกระเทียม พริกไทย รากผักชี จนหอม ใส่หอมหัวใหญ่หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าจิ๋วๆ
หมูสับ หัวไชโป๊วเค็มสับ น้ำตาลปีบ ถั่วลิสงคั่วโขลกหยาบ กวนจนกระทั่งแห้งเหนียว
จึงปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ แล้วนำสาคูมาแผ่บางๆ หุ้มไส้ให้มิด
นำไปนึ่งในรังถึงรองด้วยใบตองจนสุก (ทิ้งระยะห่างไว้ด้วย กันสาคูติดกัน)
เมื่อสาคูสุกดีแล้ว พรมด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว
รับประทานคู่กับผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม และพริกขี้หนูสด*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ขนมตาล
ทำจากลูกตาลสุกงอมที่หล่นลงมาจากต้น ปอกเปลือกออกแล้วนำไปยีในตะแกรงสานโปร่ง
จะได้เนื้อตาลเนียนละเอียด สีเหลืองปนส้มเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
นำเนื้อตาลที่ยีได้แล้วใส่ถุงผ้าดิบ ใช้เชือกมัดปากถุงให้แน่น
แล้วใช้ของแข็งหนักๆ ทับไว้ให้น้ำจากเนื้อตาลไหลซึมออกไปให้หมด
เหลือเพียงเนื้อตาลแห้งๆ ชื้นๆ  จึงนำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าโม่
ผสมน้ำตาลทราย นำไปตากแดดจัดๆ จนกว่าแป้งจะขึ้นฟู
แต่ปัจจุบันไม่ทราบเขาใส่ผงฟูลงไปด้วยหรือไม่ แต่สมัยก่อน เห็นเขานำไปตากแดดจัดๆ
จนกว่าแป้งจะขึ้นฟูเองตามธรรมชาติ (คงจะใกล้เน่า ซะมากกว่าน่ะแหละ)
จึงนำไปใส่กระทงใบตองใบเล็กๆ โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดเป็นเส้นๆ คลุกเกลือเล็กน้อย
นำไปนึ่งด้วยไฟแรงจนสุก (ก่อนทำขนม เคยชิมเนื้อตาลดูจะออกขมนิดๆ แต่พอทำขนมแล้วไม่มีรสขมติด) *゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ปั้นไส้ข้าวเกรียบปากหม้อ เป็นก้อนกลมๆ พักไว้




ละเลงแป้งบนผ้าเกลี่ยบางๆ


ไส่ไส้ขนมซึ่งปั้นเป็นก้อนกลมตรงกลางแป้ง นำฝาหม้อหรือภาชนะปิดสักครู่ จนแป้งสุก
จึงพับแป้งรวบเข้าหากัน ใช้พายแซะใส่จาน ราดด้วยกะทิสด


ข้าวเกรียบปากหม้อ
ตัวแป้ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมันและแป้งท้าวยายม่อม ให้มีความเหนียวนุ่ม
หากใช้ข้าวเจ้าเพียงชนิดเดียว เมื่อขนมสุกแป้งจะขาด พับไม่ได้
ส่วนไส้ขนมใช้ไส้ชนิดเดียวกับไส้สาคูไส้หมู และมีเครื่องเคียงเช่นเดียวกันกับสาคูไส้หมู
ได้แก่ ใบผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง พริกขี้หนูสวนสด*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ข้าวเกรียบว่าว
ต้องจัดไว้เป็นอันดับสุดท้าย...ท่านเชื่อหรือไม่?  เถาตูดหมูตูดหมา ที่เราๆ ท่านๆ
ได้กลิ่นเมื่อไรต้องรีบเผ่นเมื่อนั้น! นั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่จะขาดเสียมิได้
ในการทำข้าวเกรียบว่าว ขนมคู่บุญงานวัดงานวามาแต่ครั้งโบราณกาล.
(สูตร : การทำข้าวเกรียบว่าว เข้าดูวิธีการทำได้ใน  
"สุขใจในครัว" www.sookjai.com
*゚¨゚✎-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·¯`·.¸> <((((º> ♫♫♫~*



อ้อยควั่นโบราณแท้... หาดูไม่ได้มานานนักหนา
เสียบไม้เป็นพวงๆ เดินขายตามงานวัดสมัยก่อน






Kimleng:





น้ำตาลปั้น
ขนมหวานโบราณที่นับวันสาบสูญ หาผู้สืบสานทำยาก
รูปลักษณ์สวยงาม สีสันสดใส ทำจากน้ำตาลทราย ผสมน้ำ และแบะแซ
เคี่ยวจนข้นเหนียวปั้นได้ นำมาใส่สีหลากหลายสี แล้วปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
และผลไม้นานาชนิด เสียบไม้ปักบนกาบกล้วย มีสตางค์เพียงหนึ่งสลึง
ก็ซื้อได้ ในสมัยเมื่อห้าสิบปีที่ผ่านมา  *゚¨゚✎-•´¯`•.¸¸.•´¯`•._.•¯`•.¸> <((((º> ♫♫♫~*













ขนมบุหลันดั้นเมฆ
ขนมไทยโบราณ เนื้อเหนียวนุ่ม หวาน หอม ใส่ไส้สังขยา สีเหลืองสดของสังขยาตรงกลาง
มีความงามเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ที่ล่องลอยอยู่ในปุยเมฆสีขาวบนท้องฟ้า  
ส่วนผสม: แป้งข้าวเจ้าโม่สด ผสมแป้งท้าวยายม่อมให้นุ่มเหนียว ใส่น้ำตาลทราย หัวกะทิ เกลือป่นเล็กน้อย  
วิธีทำ : นึ่งถ้วยตะไลเปล่าพอถ้วยร้อนจด ตักแป้งใส่ ปิดลังถึงนึ่งพอแป้งสุกใส แป้งจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง
ตักสังขยาใส่เกือบเต็มแล้วนึ่งต่อจนสังขยาสุก*゚¨゚✎-•´¯`•.¸¸.•´¯`•._.•¯`•.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ข้าวต้มหัวหงอก
เป็นขนมนิยมทำในงานบุญ ทำมาจากข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด
ทำด้วยข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืนหรืออย่างน้อยห้าชั่วโมง ผัดกับหัวกะทิ ผสมเกลือเล็กน้อย
ผัดให้กึ่งสุกกึ่งดิบ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วยน้ำว้า ห่อและมัด
ด้วยเชือกให้แน่น นำไปนึ่งจนสุก เวลาจะรับประทานนำมาคลุกมะพร้าวขูดเพิ่มความมัน
600-28

Kimleng:


ข้าวหมาก

1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 4 ขีด
2. ลูกแป้งข้าวหมาก ครึ่งลูก
3. น้ำสะอาด (อย่าไปใช้น้ำคลองนะ น้ำคลองเดี๋ยวนี้สกปรก)
4. สารส้ม เอาไว้ล้างข้าวเหนียว

** ข้าวเหนียวให้ใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ถ้าใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวกู ก็ตัวใครตัวมันละพี่น้อง



ขั้นตอนการทำ
ก่อนอื่นก็ตวงข้าวเหนียว โดยทั่วไปการทำข้าวหมากนี่ ลูกแป้งหนึ่งลูก
จะใช้ข้าวเหนียว 1 กก. ถ้าทำครึ่ง กก. ก็ใช้ครึ่งลูก
แต่สูตรนี้เราจะลดปริมาณข้าวเหนียวลงมา เหลือใช้แค่สี่ขีด ต่อแป้งลูกหมากครึ่งลูก
เพื่อเวลาหมักแล้วข้าวหมากออกมาจะได้มีรสชาติออกมาหวานฉ่ำ

จากนั้นให้แช่ข้าวเหนียวค้างคืน ขั้นตอนก็คือล้างข้าวเหนียว แล้วใส่น้ำให้ท่วม
ที่ว่าใส่ให้ท่วมนี่เอาให้พอท่วมข้าวเหนียวนะ ไม่ต้องใส่เยอะจนท่วมบ้าน...
บางคนอาจจะคิด เอ๊ะ ! ถ้าเราใส่น้ำท่วมแล้วข้าวเหนียวจะจมน้ำตายไม๊นะ ?
ไม่ต้องห่วงจ้ะ มีผลวิจัยแล้วว่าเม็ดข้าวเหนียวจมน้ำตายไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้าวเหนียวไม่จมน้ำตายแน่นอน


จากภาพค่ะ ใส่น้ำให้พอท่วม แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน
ตื่นเช้ามาก็ให้นำสารส้มไปแกว่งในน้ำที่แช่ข้าวเหนียว (ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ) แล้วทิ้งไว้สัก 5 นาที
ขั้นตอนนี้เป็นเทคนิค นำไปใช้เวลานึ่งข้าวเหนียวกินก็ได้ ซึ่งการนำสารส้มไปแกว่งแล้วทิ้งไว้
จะทำให้ข้าวเหนียวมีเม็ดใสน่ารับประทาน

ขั้นตอนต่อมา หลังจากแกว่งสารส้มทิ้งไว้ห้านาที เราก็นำข้าวเหนียวไปนึ่ง
นึ่งจนข้าวเหนียวสุกนิ่ม ก็ยกข้าวเหนียวออกจากลังถึง หาภาชนะใส่แล้วนำข้าวเหนียวมาผึ่งไว้จนเย็น
ต้องให้ข้าวเหนียวเย็นสนิทจริงๆ ขั้นตอนนี้ ใจเย็นๆ เพราะไม่อย่างนั้นข้าวหมากที่ทำออกมาจะมีรสเปรี้ยว
สำหรับการผึ่งห้ามนำไปตากแดดนะ ให้ผึ่งให้แห้งไว้ในร่ม

เมื่อเย็นสนิทดีแล้ว จึงนำมาล้างน้ำ ขั้นตอนนี้แนะนำว่าน้ำสารส้มจะดีกว่าน้ำเปล่า เพราะจะทำให้ข้าวเหนียวใส อยู่ตัว
เม็ดข้าวจะกระจ่าง จากนั้นจึงนำมาล้างน้ำสะอาดอีก 1-2 ครั้ง โดยให้ล้างจนข้าวเหนียวหมดยาง

จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งสนิทอีกครั้ง แต่อย่าให้ถึงกับแข็ง และเหมือนเดิมค่ะห้ามผึ่งแดด
ไม่งั้นแทนที่เราจะได้กินข้าวหมาก มันจะกลายไปเป็นข้าวตูซะก่อน

เอาลูกแป้งข้าวหมาก ครึ่งลูก ใส่ถุงพลาสติก แล้วนำขวดมาบดจนป่น (หรือทำให้ละเอียด)
ที่ใช้ครึ่งลูกเพราะสูตรนี้ที่เกริ่นไว้ข้างต้น เราจะใช้ข้าวเหนียว 4 ขีด กับแป้งครึ่งลูก



เอาแป้งที่ละเอียดแล้ว ไปโรยข้าวหมาก เคล้าให้ทั่วจนเข้ากัน
เก็บไว้สองวันก็รับประทานได้แล้ว
หลังจากสอง - สามวัน ถ้าทานไม่หมดสามารถนำไปแช่ตู้เย็นได้
ข้าวหมากจะไม่เสีย และสามารถเก็บไว้กินได้นานค่ะ
ยิ่งแช่ตู้เย็นไว้นาน จะยิ่งหวานฉ่ำ ชื่นใจ

ชื่นใจชนิดที่ถ้ายายทวดยังอยู่คงอุทานออกมาว่า "มันอร่อยจริงๆ ไอ้หลานเอ้ย !"

ปล.กล่องที่ใส่ในรูปเป็นกล่องข้าวของเชสเตอร์กริลนะ ปิดสนิท สวยงามน่ากิน ที่บ้านชอบเก็บของพวกนี้  
ใครจะไปรู้ ว่าวันนึงเราก็ได้เอามันมาใช้เข้าจริงๆ

เป็นอันเสร็จสิ้น กับข้าวหมากสูตรร้อยปี

ไม่อยากจะบอก เมื่อก่อนอยู่บ้านนอก ยายทำขาย แป๊บๆ หมด

ยายทำขนมไทยเก่ง แถมทำหวานเจี๊ยบบบบ... ชื่นใจ

คือมันไม่ถึงกับเลี่ยน แต่มันหวานกว่าปกติ 5555+

ว่าแล้วก็คิดถึงขนมเปียกปูนที่ยายเคยทำ ยังช่วยยายตำกาบมะพร้าวเผาไฟอยู่เลยตอนเด็ก
คิดถึงยายจัง

Kimleng:




ขนมทองม้วนสด
ส่วนผสม : แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม เกลือป่น กะทิ ไข่ไก่ เนื้อมะพร้าวอ่อน งาขาวหรืองาดำคั่ว
น้ำตาลมะพร้าว น้ำใบเตย หรือน้ำอัญชัน (บางท่านใส่ฟักทองนึ่งหรือเผือกนึ่งผสมไปด้วย)
วิธีทำ ผสมแป้งเข้าด้วยกัน ใส่เกลือ นวดด้วยน้ำกะทิทีละน้อยจนนุ่มเหนียว ใส่ไข่ไก่  เนื้อมะพร้าวอ่อน คนให้
เข้ากัน ใส่งาดำและงาขาว ตั้งกระทะเปิดไฟอ่อนถึงปานกลาง หยอดแป้งลง เมื่อแป้งเริ่มสุกก็พลิกกลับอีกด้านแล้วรอให้สุก
ทั้งสองด้าน จากนั้นก็ม้วนขนมแล้วตักขึ้นมาเรียงใส่จานไว้พร้อมเสิร์ฟ
*゚¨゚✎-•´¯`•.¸¸.•´¯`•._.•¯`•.¸> <((((º> ♫♫♫~*





ข้าวหลาม
อาหารว่างที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม (ไผ่ที่มีเยื่อหนา) เป็นกระบอก
ใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป
จะใส่น้ำกะทิ น้ำตาลทราย ถั่วดำต้มสุก
วิธีทำ : 1. ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 1 ฟุต ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง
2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
3. ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตระกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้าน
    บนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก
5. เทน้ำกะทิที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปในกระบอกข้าวทีละน้อย จนกระทั่งน้ำกะทิท่วมข้าว
6. พับใบเตยเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปิดกระบอกข้าวหลาม แล้วนำกาบมะพร้าวม้วนเป็นทรงกลมมาปิดอีกชั้นหนึ่ง
    ทิ้งไว้ประมาณ 5- 6 ชั่วโมง
7. เผาข้าวหลามกับถ่านไม้ พอกระบอกเหลืองให้หมุนกระบอกข้าวหลาม ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอก
    มีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก
8. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่ายขอขอบคุณเว็บไซต์ (ที่มาของข้อมูล) : ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

*゚¨゚✎-•´¯`•.¸¸.•´¯`•._.•¯`•.¸> <((((º> ♫♫♫~*



ขนมถ้วยฟู
ขนมที่มีมาแต่โบราณ และยุคนี้ก็ยังหารับประทานได้ไม่ยาก ด้วยการสืบสานภูมิปัญญาโบราณ
ขนมถ้วยฟูกลายเป็นของหวานที่นิยมรับประทานอย่างต่อเนื่อง
ส่วนผสม : แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลทราย ยีสต์ ผงฟู
วิธีทำ : ผสมแป้ง กับผงฟู ยีสต์ ใช้พายคนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้สักครู่ จากนั้นค่อยๆ ใส่น้ำกะทิที่ละลาย
กับน้ำตาลทรายจนเข้ากันดีแล้ว ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปตั้งวางในที่มีแสงแดด ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง รอให้แป้งขึ้นตัว
จะได้แป้งหมักที่เกิดจากการทำงานของยีสต์ซึ่งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว (ห้ามเคลื่อนย้าย และไม่ให้เขย่าส่วนผสมของแป้ง)  
จากนั้นใช้ทัพพีคนแป้งเบาๆ ตักใส่ถ้วยจนเกือบเต็ม  (หมายเหตุ นึ่งถ้วยเปล่าก่อนประมาณ 10 นาที) นึ่งด้วยไฟแรง
ประมาณ 5 นาที แล้วลดไฟปานกลางต่ออีกประมาณ 10 นาที
*゚¨゚✎-•´¯`•.¸¸.•´¯`•._.•¯`•.¸> <((((º> ♫♫♫~*

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ