[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 00:57:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {๑}  (อ่าน 3339 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.9 Firefox 3.6.9


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กันยายน 2553 20:23:39 »



廣欽老法師開示


<a href="http://www.youtube.com/v/UYZyaUhEtZI?fs=1&amp;amp;hl=en_US" target="_blank">http://www.youtube.com/v/UYZyaUhEtZI?fs=1&amp;amp;hl=en_US</a>


วิธีดำเนินจิตที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรียกว่า ปฏิปทาของจิต มี 3 นัยที่เป็นหลักใหญ่ควรจดจำการทำความเพียรภาวนาไม่หนีจากทั้ง 3 หลัก ที่จะอธิบายต่อไปนี้ถ้าหากเราจับหลักได้แล้วจิตของเราจะเดินไปในแบบใดเราก็จะได้รู้ว่าอ้อ !  มันเดินอยู่ในแบบนี้ขั้นนี้ เราจะได้รู้เรื่องถ้าหาก
ไม่รู้เรื่องของมันเวลาจิตเดินแบบนี้  ก็อยากให้เป็นแบบโน้น มันเดินแบบโน้นก็อยากให้เดินแบบนั้นอะไรต่าง ๆ แล้วก็เลยจับอะไรไม่ถูก คือไม่รู้จักหลักของความจริงเหตุนั้นจึงอธิบายให้ฟังเมื่อคืนที่แล้วแต่จะขออธิบายซ้ำอีกบางทีผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินก็จะได้เข้าใจและจดจำไว้ในการปฏิบัติต่อไป

การดำเนินของจิตในการปฏิบัติ มีหลักอยู่ 3 อย่าง

อย่างที่ 1 หัดให้จิตสงบอย่างเดียว เรียกว่า เดินสมถะ

อย่างที่ 2 เดินปัญญา - วิปัสสนา

อย่างที่ 3 เดินโพธิปักขิยธรรม คือ เดินองค์ปัญญาโดยเฉพาะ

ถ้าไม่เข้าใจเวลาเดินสมถะอย่างเดียวเมื่อจิตเข้าไปนิ่งแน่ว อยู่ในความสงบก็เข้าใจว่าอันนั้นเป็นของดีแล้วหมดจดบริสุทธิ์ จิตละเอียดเพียงพอแล้วเท่า
นั้นพอแล้ว ถ้าหากว่าผู้ที่เดินปัญญาวิปัสสนา ก็เห็นว่าการหัดสมถะคือหัดทำความสงบของจิตนี้ไม่ใช่ทาง ต้องดำเนินทางวิปัสสนาจึงจะใช่ทางหรือบาง
ทีผู้ที่เดินปัญญา ที่เรียกว่าเดินแถวโพธิปักขิยธรรม ก็เข้าใจว่าจิตของตนฟุ้งและส่งไปเสียไม่ใช่ปัญญามันสับสนกันอยู่อย่างนี้แหละจึงควรเข้าใจหลักใหญ่ในการดำเนินของจิต ซึ่งมีหลักอยู่ 3 หลักทีนี้จะอธิบายเป็นข้อ ๆ ไปสมถะอธิบาย{สมถะ}หัวข้อแรกเสียก่อนวิธีเดินสมถะ ถ้าจะเรียกอีกนัยหนึ่ง
ก็เรียกว่า สมาธิ หรือว่า ฌาน ก็เรียก ผู้เดินสมถะเช่น กำหนดพุทโธพุทโธ ให้จิตกำหนดอยู่กับพุทโธ หรือว่ากำหนดอานาปานสติให้จิตจดจ่ออยู่แต่ในเรื่องลมหายใจนั้นหรือมิฉะนั้นเราเพ่ง อสุภะปฏิกูล เห็นสังขารร่างกายของเราเป็นอสุภะ ของเปื่อยเน่าก็ได้เหมือนกันจิตจะสงบอยู่ในเรื่องนั้น ๆ หรือมิฉะนั้นจิตอาจจะเกิดภาพนิมิตปรากฏเป็นปฏิภาครูปอันใดอันหนึ่งก็ตามอันนั้นก็ยังอยู่ในขั้นสมถะมีสิ่งปลีกย่อยอีกเหมือนกันเรื่อง{สมถะ}อาจจะสงสัยว่าการเดินสมถะจะมีวิปัสสนาเกิดขึ้นได้ไหม ? ตอบว่ามีเรื่องสมถะมันมีวิปัสสนาได้อยู่เหมือนกันไม่ใช่ไม่มีปัญญาสมถะก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกันคือเราเพ่งพิจารณาพุทโธ พุทโธ  ก็จะต้องระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าจิตใจที่น้อมนึกถึงพระคุณความดีของพระองค์ จนเห็นความชัด เกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ มันก็มีปัญญาเหมือนกันเมื่อเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว จิตมันจะสงบลงไปเบื้องต้นนั้นเรียดว่าบริกรรม ที่ท่านเรียกกันว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ นี่พูดเป็นเรื่องเป็นราวแต่เราพูดกันง่าย ๆ ว่าเรากำหนดอารมณ์อันนั้นไม่ใช่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรากำหนดจิตให้อยู่กับอารมณ์อันนั้นจะบริกรรมอะไรก็ตามเราไม่ต้องพูดให้เป็นเรื่องยืดยาวเช่นนั้นถ้าพูดว่า{ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์} ดูมันเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เราไม่ต้องพูดว่า ยกจิต ละคือ กำหนดเอาอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์อันนี้เรียกว่าบริกรรม แล้วเราก็ตั้งจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันนั้น นี่เรียกว่าวิธีเดินสมถะ ยังไม่ถึงตัวสมถะ เป็นการเดินให้เข้าถึงสมถะตราบใดที่จิตสงบจนกระทั่งวางคำบริกรรมหรือวางอุบายที่เราใช้กำหนดนั้นโดยที่มันวางของมันเอง จิตเข้าไปสงบเป็นเอกเทศของมันอยู่อันหนึ่งต่างหากอันนั้นเป็นตัว สมถะแท้เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ มันวางอารมณ์หรือคำบริกรรมวางหายไปเลยจิตเข้าไปสงบอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก นั่นเรียกว่าถึงสมถะ แล้วจิตที่เข้าถึง{สมถะ}ตามลักษณะที่พูดมานี้ยังมีผิดแผกอีกนะบางทีมีหลายเรื่องไม่ใช่น้อย ๆ ที่จิตรวมลงไปสนิทอย่างนี้บางครั้งเวลารวมมันวูบลงไปจนสะดุ้งตกอกตกใจ บางทีมีเสียงดังเหมือนกับเสียงฟ้าผ่านี่ก็มีบางทีตกลงไปเหมือนตกหลุมตกเหวให้สะดุ้งฮวบขึ้นมาตื่นตกใจเลยบางทีพอจิตรวมก็อาจจะเกิดภาพขึ้นมาผู้ที่ภาวนา{พุทโธ}บางทีพอจิตรวมก็เกิดภาพพระพุทธเจ้าก็มีหรือพวกที่พิจารณา อสุภะปฏิกูล เป็นของเปื่อยเน่าในสังขารร่างกายมีของสกปรกโสโครกพอจิตรวมลงแล้วภาพที่ปรากฏมันไม่เป็นอย่างที่พิจารณานั่น  มันปรากฏพิสดารยิ่งกว่านั้นอีก ตัวของเราเวลาที่พิจารณาว่า ตรงนั้นก็เป็นของปฏิกูลโสโครกตรงนั้นก็ของเน่า น้ำเลือด น้ำหนองเป็นอะไรต่าง ๆ เมื่อจิตรวมเวลามันเกิดภาพนิมิตขึ้นมา มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเปื่อยเละไปหมดเลยบางทีเหม็นฉุนขึ้นมาจริง ๆ จัง ๆ ถึงกับอาเจียนออกมาก็มีหลายเรื่องที่มันจะเป็นบางคนสงบนิ่งเฉยลงไปบางคนนั้นเงียบหายไปเหมือนกับนอนหลับตั้งหลายชั่วโมงจึงค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาก็มีถ้าหากทำชำนิชำนาญแล้วมันไม่ถึงขนาดนั้น มันจะรวมละเอียดลงไปถึงขนาดไหนก็รู้มันจะรวมหยาบขนาดไหนก็รู้ รู้ว่าจิตมันปล่อยมันวางรวมเข้ามาถ้าชำนาญแล้วจะรู้ได้นี่อยู่ในขั้นสมถะทั้งนั้น แบบนี้โดยมากมักจะไปในทางที่เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ หรือไปในทางฌานจิตสงบอีกแบบหนึ่ง คือว่าถ้าหากจิตมันค่อยสงบ ค่อยรวมลงไปรู้ตัวอยู่ตลอดว่า จิตมันอยู่อย่างไรวางอย่างไรรู้เรื่องรู้ตัวอยู่เสมอแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวมันปล่อยวางอย่างมี{สติ}รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาอันนี้จิตเป็นพวกสมาธิไม่ได้จัดเป็นพวก ฌานมันหลายเรื่องอย่างนี้ก็เรียกว่าสมถะเหมือนกันบางทีจิตมันรวมที่ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ เราไม่ได้แต่งให้มันเป็นไปหรอกแต่เมื่อเราปฏิบัติเป็นไปแล้วเราจึงมาเทียบกันดู ขณะที่จิตดำเนินเป็นไปนั้นเราไม่รู้ขณิกสมาธิจิตของเราวูบ ๆ วาบ ๆ  เข้าไปแล้วถอนออกไม่เข้าไปอีกแล้วก็ถอนออกมาหรือมิฉะนั้นจิตของคนปกติไม่ได้ฝึกฝนภาวนาก็ตามมันอาจมีพักหนึ่งได้เหมือนกัน  มันรวมประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็พุ่งออกไปอุจารสมาธิ ขณะที่เรากำหนดเพ่งอยู่อย่างนั้นไม่ท้อถอย ทีหลังมันคล้ายกับว่ามันละเอียดแต่มันไม่ละเอียดมันเสียดายอะไรสักอย่างก็ไม่ทราบละมันไม่ทอดธุระลงไปจริง ๆ จัง ๆ อันนั้นเรียกว่า อุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ พอจิตมันทอดธุระ วางหมดพรึบลงไป แน่วลงไปเลยทีเดียวถึงอัปปนาในลักษณะที่มันถึงอัปปนาแล้วนั่นแหละเราจะรู้จักรสชาติของมันว่า ความสงบ สุขสบาย ความเบาความผ่องใสเบิกบานจิตใจอิ่มเอิบพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในขณะนั้นหมด{อัปปนา}นี้ก็มีหลายอย่าง ละเอียดลงไปกว่านี้ก็มี จิตรวมลงครั้งแรกนั่นมันลงจนกระทั่งจะไม่ปรากฏลมหายใจเลยก็มีเวลาจิตเข้าไปถึงอัปปนานั้นคล้ายกับไม่มีลมหายใจ ถ้าหากเราตั้งสติกำหนดดูลมหายใจว่ามีหรือไม่มีหนอ ? นั่นแหละจึงค่อยรู้สึกว่าลมนั้นค่อยระบายออกมาอันนี้เรียกว่าอัปปนาสมาธิทีนี้ภวังค์ก็มี 3อย่างเหมือนกันเรียกว่า ภวังคุบาท ภวังคจารณะ ภวังคุปัจเฉทะ{ภวังคุบาท}ถ้าพูดตามที่ท่านแสดงเป็นขณะจิตอันหนึ่งถ้าพูดตามแนวปฏิบัติแล้วภวังคุบาทคล้ายกับขณิกสมาธิเราเพ่งพิจารณาอยู่ มันมีอาการคล้าย ๆ กับจะวูบไปนิดหนึ่งแต่มันก็ไม่ลงหรือบางทีลงไปนิดเดียวไม่ถึงอึดใจเป็นสักแต่ว่าภวังคจารณะพิจิตมันรวมลงไปแล้ว คราวนี้เพลิดเพลินชอบอกชอบใจ ยินดีในอารมณ์ของมันตรงนั้นแหละ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กันยายน 2553 20:58:19 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.9 Firefox 3.6.9


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 กันยายน 2553 20:33:37 »




{ภวังคุปัจเฉทะ}มันทิ้งอารมณ์ต่าง ๆ หมดเลยไม่เอาอะไรทั้งนั้นไม่เยื่อใยในของที่พิจารณาอยู่ไม่เอาอะไรทั้งหมดโน่นแน่ไปชอบใย
ใจอารมณ์ความสุข ขั้นละเอียดของมันนั่น แน่วแน่อยู่จนกระทั่งสติไม่มีจนกระทั่งเหมือนกับหลับก็มี ภวังคุปัจเฉทะเหมือน ๆ กันกับหลับทีแรก ๆ นั่นเหมือนกับหลับจริง ๆ ถ้านาน ๆ ไปบ่อยเข้ามีความชำนาญ ก็จะไม่เหมือนหลับมันพลิกไปอยู่ของมันอีกหนึ่งต่างหากเหล่านี้ล้วนแต่เรียกว่าเดินสมถะ
การเดินสมถะเป็นอย่างนี้ในระหว่างวิธีเดินสมถะนี้ มันอาจเกิดปัญญาขึ้นมาก็ได้ในขณะใดขณะหนึ่งโดยมากเกิดจากสมาธิเมื่อจิตสงบเข้าไปแน่วแน่อยู่ในเรื่องอารมณ์ที่เราพิจารณานั้นเดี๋ยวมันก็สว่างขึ้นมา คำว่า{สว่าง}ในที่นี้ไม่ใช่แสงสว่างถ้ามันเป็นแสงสว่างนั่นเป็นเรื่องของณานเสียแล้วถ้าสว่างด้วยอุบายปัญญา มันมีความปลอดโปร่งขึ้นมาในที่นั้นคิดค้นพิจารณาอะไรทั้งปวงหมดมันชัดเจนแจ่มแจ้งในเวลานั้นการที่มันชัดเจนแจ่มแจ้ง
นั้น มันเลยเป็นปัญญาขึ้นมาอีกหรือบางทีมันอาจจะหยิบยกเอาธรรมะอะไรขึ้นมาพิจารณา เช่นเรื่องสติปัฏฐาน 4 อะไรเป็น{สติปัฏฐาน}กาย เวทนา จิต หรืออะไรเป็น ? คำว่า{สติ}นั้นคืออะไร ? คำว่า{สติปัฏฐาน}ทำไมจึงต้องเป็นกายานุปัสสนา - เป็นเวทนานุปัสสนา - เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำไมมันจึงต้องเป็นอย่างนี้ทีนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ลำดับเรื่อง สติปัฏฐาน 4 จะต้องคิดค้นถึงเรื่องกายพิจารณาถึงเรื่องกาย เป็นอสุภะปฏิกูล เห็นเป็นธาตุ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม พิจารณาเรื่องเดียวอยู่ในที่เดียวนั่น บางทีมันเข้าไปถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีมันเข้าไปเป็นสัจจธรรมเป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มันเลยกลายเป็นปัญญาไปอันนี้เป็น ปัญญา เกิดขึ้นมาจาก สมถะ สมถะ กลายเป็นปัญญาถ้าพิจารณานานหนักเข้าแล้ว คราวนี้มันหมดเรื่องหมดราวคือว่า มันรู้เห็นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกอย่างเช่น เห็นกายเป็นธาตุชัดเจนมันก็มารวมเป็นอันเดียวอยู่ในที่เดียวอีกเหมือนกัน เรื่องที่พิจารณาอยู่นั้น มันทิ้งหมดไม่เอาแล้วคราวนี้ เลยมารวมเข้าเป็นอันเดียวมาเป็นสมถะอีกคล้าย ๆ กับว่าทำงานเสร็จสรรพแล้ว เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเสียแล้วพักผ่อนเป็นทำนองนั้นนอกจากนั้นอีก มันยังมีอีกเมื่อพิจารณาถึงเรื่อง{กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน}นี่ละเดินแบบสมาธิพิจารณาคิดค้นอะไรต่าง ๆ จะเป็นธาตุ ขันธ์หรืออายตนะหรืออะไรก็ตามในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พิจารณาไป ๆ สติมันอ่อนลงไปมันชอบสงบสุข ยินดีกับความวิเวกสงัด ยินดีกับความชัดความจริงในการพิจารณานั้นเลยนิ่งแน่วเข้าไปหาความสงบจิตน้อมไปตามเลยเข้าไปเป็น ฌาน จิตเป็นภวังค์หายเงียบไป นี่มันสลับซับซ้อนทีเดียวในผลที่สุด จะเป็นวิธีใดก็ช่างมันเถิด เราแต่งมันไม่ได้หรอก เพียงแต่ให้เราจับหลักที่ได้อธิบายนี้ไว้ก็แล้วกันว่าวิธีเดินสมถะเป็นแบบนี้ ๆ อย่างนี้ ๆ
มันจะเป็นอะไรก็ช่างปล่อยให้มันเป็นไปแล้วจึงค่อยมาพิจารณาทีหลังว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ?ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น ? ขณะใดถ้า{สติ} สมาธิ มีกำลังเพียงพอจิตมันจะไม่รวมเข้าเป็นภวังค์สมาธินั้นก็เลยเป็น มรรค จนเกิดปัญญาขึ้นมาดังที่อธิบายเมื่อครู่นี้ เหตุผลชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ในที่เดียวจนทอดธุระหมดทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวดหมดมาอยู่ในที่เดียว ธรรมเกิดมาจากที่เดียวความรู้เกิดจากในที่เดียว แจ่มแจ้งในที่เดียวนั้นเลยเป็นวิธีเดิน มรรค มันต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเองของมันถ้าบางทีอาจจะเกิดพลั้งเผลอ หรืออาจจะเกิดจากสุขภาพไม่ดี หรือมิฉะนั้น{สมถ}เกิดจากมึนเมาอาหารก็ได้เหตุมีหลายเรื่องเหตุเหล่านี้จิตรวมดีเหลือเกินตรงนั้นสงบง่ายเข้าภวังค์ง่ายที่สุดที่เรียกกันว่า{โมหะสมาธิ}เป็นภาษาสำนวนของนักปฏิบัติแต่แท้ที่จริงก็คือภวังค์นั่นเองเหตุนั้นนักปริยัติ หรือปัญญาจารย์ทั้งหลายจึงโทษนักหนาเมื่อจิตเข้าถึงภวังค์ ก็ว่า อวิชชา โมหะ หลง อย่างที่เขาพูดกันพูดในการปาฐกถาทุกวันนี้ พ.ศ. 2517ทางวิทยุกระจายเสียงเขาโจมตีกันเหลือเกินว่า นั่งหลับตาภาวนาเป็นโมหะอวิชชา พวกนี้ตายแล้วเกิด นับภพนับชาติไม่ถ้วนไปไหนไม่รอดหรอกพวกนี้จมอยู่นี่แหละพวกโมหะอวิชชา ภาวนาหาอวิชชาหรือหาปัญญา ? เขาถือกันเป็นอย่างนั้นจริงบางอย่าง แต่ว่าไม่ถูกทั้งหมด เดี๋ยวนี้เรากำลังคิดค้นหาความโง่  คือโมหะอวิชชา มันจะโง่แบบไหนก็ให้มันเห็นเสียให้หมดเรื่องหมดราว แล้วเราจึงจะฉลาด ถ้ามัวแต่กลัวโง่ก็เลยไม่เห็นโง่ไม่รู้จักความโง่นั้นสักทีว่ามันเป็นอย่างไร ? ไม่เห็นโง่ก็เลยไม่ฉลาดเท่านั้นซีเรื่องมันอยู่ตรงนั้นแหละอันที่ว่าไม่ถูกทั้งหมดมันอยู่ตรงนี้เราจะไปฉลาดรู้ก่อนเกิดอย่างที่พูดกันว่า ตายก่อนเกิด มันก็แย่เหมือนกัน คำโบราณท่านว่าไว้น่าฟังมาก คนตายก่อนเกิดดูเอาเถิดหลานเกิดก่อนยายมันก็แปลกเหมือนกันนะ หลานเกิดก่อนยาย มันก็เข้าทำนองเดียวกันนั่น ยังไม่ทันเกิดก็ตายแล้ว ก็เหมือนกันกับหลานเกิดก่อนยาย มันก็พอกันนั่นซีจึงว่า ให้มันรู้จักความโง่ ให้มันรู้จักความหลง มันจะหลงโดยวิธีไหน แบบไหนก็ตาม ที่อธิบายมาวิธีทั้งหมดนั่นแหละคือ ทำให้รู้จักความโง่ความหลงค้นคว้าหาความโง่ความหลงนั่น จึงว่าทำลงไปมันก็ไปหาความโง่ความหลงนั่นแหละแต่เราจะไปหาไปรู้ความหลงอย่างที่ว่านั่นรู้ว่ามันคือเป็นเรื่องสมถะเรียกว่า ฌาน นั่นเองการที่มันติดมันหลงในฌานนี่แหละสำคัญนัก ทีนี้เรารู้เรื่องของมันแล้ว ทีหลังเราก็จะได้ไม่หลงไม่ติด{ฌาน}นั่นแหละ ปัญญาเกิดจากความไม่รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดถ้าผิดเสียก่อนถึงจะทำถูกกฎหมายของบ้านเมืองทั้งหลาย ถ้าไม่มีคนทำผิด เขาก็ไม่ตราเป็นกฎหมายขึ้นมาพระวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกันถ้าไม่มีผู้ทำผิดพระองค์ก็ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท{สิกขาบท 227} ข้อล้วนแต่ผิดแล้วจึงทรงบัญญัติ ไม่ใช่พระองค์ทรงบัญญัติก่อนผิด คณาจารย์ปัญญาจารย์ทั้งหลายสมัยเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องให้ผิดละ บัญญัติหมด บัญญัติผิดก่อนเลย มันไม่ใช่วิสัยของผู้มีปัญญาญาณผู้ฉลาดนั่นเป็นเรื่องความเห็นของคนบางคนจึงว่าพวกเราพากันเรียนให้รู้ถึงเรื่องความโง่เรื่องความหลงเสียที่อธิบายในวันนี้ เป็นการอธิบายถึงเรื่องในการภาวนาการดำเนินจิตของเรามันมี 3 แนวเดินทางสมถะเดินทางปัญญาวิปัสสนาเดินทางปัญญา{โพธิปักขิยธรรม}วันนี้พูดเฉพาะเรื่อง สมถะ หลวงปู่เทสก์ ท่านเชี่ยวชาญชำนาญเดินฌานท่านนึงจำได้จากที่ครูบาอาจารย์เล่า เพราะท่านติดฌาน มุ่งทำความสงบ ติดอยู่เป็น 10 ปี กว่าจะแก้ได้เมื่อเดินทางไปกราบ หลวงปู่มั่นภายหลังองค์หลวงปู่ท่านไม่ติดฌานแล้ว ท่านจึงนำอาการภายในฌานมาแจงได้แจ่มแจ้งกว่าใครอื่นพร้อมทั้งสอนเทคนิคเจริญปัญญามามาย



พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แสดง ณ.วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขนกรุงเทพมหานคร

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กันยายน 2553 09:11:37 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.55 Chrome 6.0.472.55


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 กันยายน 2553 21:29:24 »

สาธุ อนุโมทนามิ
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 กันยายน 2553 23:48:31 »




 ยิ้ม  ยิ้ม  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
คำค้น: 地藏菩萨 นรก จิต บาป ปฏิบัติ จีน บางครั้ง ธรรม วังวน ใน ภาย มรดก สุข กรรม ชั่ว 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ {ตอนจบ}
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
時々๛कभी कभी๛ 4 4252 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2553 08:53:03
โดย 時々๛कभी कभी๛
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.333 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 ธันวาคม 2566 08:22:49