production idea concept by : WONDERMAYแอนนิเมชั่นเรื่องนี้ดูผ่านๆก็พอเดาทางออกถึงแนวความคิดในการผลิต เพราะลายเส้นนั้น original ตัดต่อมาแน่ๆ นำมาแต่งสีแต่งเส้นให้ชัด กลบรอยจากการลอก
เท่านี้ก็ไม่ต้องวาดใหม่แถมยังเป็นจุดเด่นที่จดจำได้ เนื่องจากตัวละครจะมีร่างกายที่ออกลีลาปกติ แต่ใบหน้าจะแสดงด้านข้าง ตามเทคนิคนิยมภาพจิตรกรรมในสมัยนั้น
ส่วนการเคลื่อนไหวก็ง่าย เพราะจงงใจให้ไม่เหมือนจริง ส่งผลให้ไม่ต้องวาดเป็น multi shotแล้วนำมา run ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดภาพเคลื่อนไหว
แต่
ใช้การตัดต่อ แขน ขา หัว ขยับไปมาเท่านั้นเอง ส่วนสีหน้าและอารมก็เบือนเอาจากรูปจริงเอา เทคนิคพื้นฐานคล้าย photoshop เป๊ะๆ เอาแค่ให้ได้รู้ว่ากริยาแบบนั้นแสดงอะไรเป็นพอ
ภาพวิว เมือง และบรรยากาศ ก็มาจากต้นฉบับล้วนๆเช่นกัน นำมาปรับสี เพิ่มความคมชัด กลบรอยจากผนังจริงที่เสื่อมบ้างตามกาลเวลา แต่ถ้าทำเพียงเท่านี้ก็จะได้ฉากแบนๆหนึ่งฉากเท่านั้น
เป็นที่รู้กันว่าเทคนิคการเขียนภาพแบบนี้คืออัษมาตร isometric ดังนั้นจะทำให้มองเห็นรูปด้านสองด้านและด้านบนด้วย
แต่จะไม่สมจริงเหมือนการเขียนโดยใช้หลักทัศนียภาพ perspective เพราะจะไม่มีความตื้นลึกที่สมจริงเหมือนมองด้วยตา
จากต้นฉบับภาพจิตรกรรม สมัยนั้นใช้เทคนิค isometric ผสม perpective ซึ่งดูผิวเผินจะมีระยะตื้นลึกเพียงแต่ไม่เหมือนจริงก็เท่านั้น
แต่จากแอนนิเมชั่นทำให้เราพบจุดสังเกตุมากมายว่า วิวในแต่ละ scene ของแอนนิเมชั่นเรื่องนี้ มีความสมจริงมากขึ้น และมีบรรยากาศที่ชัดเจน นั่นหมายถึง การนำเอาเทคนิคตัดต่อ
เป็นชิ้นๆเข้ามาใช้กับวิวด้วย หากจะเปรียบเทียบคงคล้ายกับการทำฉากของเล่นจากการะดาษมาซ้อนๆๆกัน
-มีการตัดรูปอาคาร หรือต้นไม้บางส่วน มาขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเป็น foreground
-บรรยากาศทั้งหมด ถือว่ามีการวาดเพิ่มน้อยมาก เพียงแต่อาศัยการทำให้บรรยากาศเดิมในที่มีอยู่แล้วของต้นฉบับเคลื่อนไหวได้
แล้วอาศัยการเพิ่มเอฟเฟกต์ช่วยให้เกิดความน่าสนใจ หรือให้ได้อารมณ์มากขึ้น เช่น เมฆหมอก ดาวระบิบระยับ ประกายต่างๆ
.
.
.
.
ทั้งหมดที่วิเคราะห์มานี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ผู้ผลิต
และขอยกย่องว่าบุคคลที่เป็นต้นคิดเก่งมาก เพราะเทคนิคทั้งหมดที่ใช้ง่ายแต่ฉลาด แถมเกิดข้อดีและจุดเด่นมากมาย


