[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 21:21:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดไตรมิตรฯ กราบพระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลก ชมศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช  (อ่าน 7585 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2556 16:18:14 »

.

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือพระพุทธรูปทองคำ

ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
 

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระสุโขทัยไตรมิตร หรือพระทองสุโขทัย)  เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ในสมัยสุโขทัยทั้งองค์ (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา) ปางมารวิชัยในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี  ปัจจุบันประดิษฐานในพระมหามณฑป พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร  


พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ มีน้ำหนัก ๕.๕ ตัน (๕,๕๐๐ กิโลกรัม) หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว ความสูงจากฐานถึงยอดพระเกศเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว (๓.๐๔ เมตร) หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ประเมินมูลค่าของน้ำหนักทองคำอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ และบันทึกไว้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนดฺ์  

เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็น พระพุทธรูปทอง องค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติส่วนตัว
 
ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกพอกปูนลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ และทำให้มีพุทธลักษณะไม่งดงามโดดเด่น  เพื่อเป็นการอารักขาภัย แต่ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ในสถานที่ใดบ้าง ทราบแต่เพียงว่าล่าสุด ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโชตินาราม หรือ วัดพระยาไกร มาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)  แต่ต่อมา วัดพระยาไกร กลายเป็นวัดร้างไม่มีผู้ดูแล  ในราวประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๔  บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการสัมปทานป่าไม้ ได้ขออนุญาตเช่าพื้นที่ร้างวัดพระยาไกรแห่งนี้จากรัฐบาล สำหรับสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่  หลังจากนั้น ก็ได้ทำการแผ้วถางปรับปรุงพื้นที่ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุด คงเหลือไว้เพียงพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั่วทั้งพระอาราม และจะก่อสร้างวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่างเห็นว่า จะปล่อยให้พระพุทธรูปปูนปัั้นประดิษฐานยังวัดพระยาไกรต่อไปจะเปฺ็นการไม่สมควร  ประกอบกับวัดสามจีน มีสถานที่กว้างขวางเหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงให้อัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวจากวัดพระยาไกร มาประดิษฐานยังวัดสามจีน โดยปลูกเพิงสังกะสีธรรมดาเพื่อบังแดดบังฝน ไว้ริมถนนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว  ในระหว่างนี้ มีผู้มาขอไปประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายองค์พระไปได้  การก่อสร้างพระอาราม พระวิหาร ภายในวัดสามจีน ยังคงดำเนินต่อไปและใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง ๒๐ ปี การก่อสร้างทุกอย่างจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย

เมื่อทุกอย่างพร้อม ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๙๘  ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีรมหาเถระ) เจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมุนี ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อนำขึ้นไปประดิษฐานยังพระวิหาร  เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่และหนักมาก การเคลื่อนย้ายจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้ปั้นจั่นยกพระพุทธรูป  ขณะกำลังยกองค์พระนั้น ลวดสลิงที่รัดองค์พระได้ขาด เนื่องจากองค์พระมีน้ำหนักมาก พระพุทธรูปจึงตกกระแทกลงบนพื้นอย่างแรง พอดีขณะนั้นเป็นเวลาใกล้ค่ำ และบังเอิญเกิดฝนตกอย่างหนัก การเคลื่อนย้ายองค์พระจึงต้องหยุดชะงักลง

ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาส (พระวีรธรรมุนี หรือท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี) ได้มาตรวจดูองค์พระ เพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานใหม่ ก็ได้เห็นรอยปูนแตกที่พระอุระและเห็นรักที่ฉาบผิวองค์พระด้านใน เมื่อได้แกะรักออก ก็ได้แลเห็นองค์พระเป็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์งามจับใจอยู่ชั้นในสุด  ท่านจึงได้สั่งให้ระดมคนกระเทาะปูนและลอกรักออกไปให้หมดทั้งองค์  จึงปรากฏความงดงามแห่งเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมา พร้อมพุทธลักษณะที่ไม่งดงามโดดเด่นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปสกุลช่างสุโขทัยที่งดงามจับใจ แก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก

และความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลง  เมื่อทำการขุดคุ้ยดินใต้ฐานออกและพบกุญแจกล สำหรับถอดองค์พระได้เป็น ๙ ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญ  จึงดำเนินการถอดองค์พระแค่เพียง ๔ ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้งสองข้าง และส่วนพระนาภี การอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารจึงเป็นไปได้อย่างราบรื่น



พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร


พระมหามณฑป (เหนือบันได) สร้างเป็น "ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช"


ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช
คนไทยเข้าชมฟรี ชาวต่างชาติท่านละ 100 บาท


เรือสำเภาหัวแดง ใช้อพยพผู้คนจากจีนแผ่นดินใหญ่ สู่แผ่นดินสยาม





กำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔)
The Emergence of Bangkok’s Chinatown (1782-1851)

ชาวจีนอาศัยเรือสำเภาเดินทางเข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งอยู่ทั่วไปในเมืองไทยแต่โบราณ แหล่งหนึ่งที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มานานคือเมืองบางกอกหรือธนบุรี  ซึ่งมีชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งมีพระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว  ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่ ก็มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาอยู่ที่นี่จำนวนมาก และเกิดชุมชนจีนขึ้นอีกแห่งทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ

พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และย้ายที่ตั้งราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออก ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชุมชนจีนในบริเวณนั้นย้ายมาอยู่ริมแม่น้ำทางทิศใต้ของพระนคร  โดยพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ระหว่างคลองวัดสามปลื้มกับคลองวัดสามเพ็ง ต่อมาเรียกย่านนี้ว่า สำเพ็ง ซึ่งกลายเป็นย่านการค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองหลวง ช่วงเวลา ๓ รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนจีนที่สำเพ็งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการค้าสำเภาระหว่างไทยกับจีนขยายตัว และรัฐบาลไทยเปิดรับชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในกิจการต่างๆ ส่วนใหญ่จีนใหม่ที่เพิ่งมาจากเมืองจีนจะมาตั้งหลักที่สำเพ็ง แล้วจึงหาลู่ทางขยับขยายต่อไปยังที่อื่น

ในยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นช่วงเวลาของการสร้างราชธานีใหม่และฟื้นฟูประเทศ  รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายจ้างแรงงานชาวจีนเข้าทำงานในกิจการต่างๆ ตั้งแต่การก่อสร้าง ขุดคลอง จนถึงการค้าสำเภากับประเทศจีน ซึ่งเป็นรายได้หลักของไทยในยุคนั้น โดยที่ชาวจีนมีนิสัยอดทน สู้งานหนัก และถนัดการค้า รัฐบาลจึงมีมาตรการหลายอย่างเพื่อจูงใจให้ชาวจีนเข้ามาทำงานในเมืองไทย

ในยุคนี้ ชาวจีนเป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้สิทธิ์เดินทางเข้าออกประเทศหรือจะอยู่อย่างอิสระโดยจ่ายเงินค่า “ผูกปี้” ให้หลวงก็ได้ สิทธิพิเศษนี้ทำให้ชาวจีนไปรับจ้างทำงานได้ทั่วประเทศโดยไม่มีภาระต้องถูกเกณฑ์ไปทำงานให้มูลนายปีละ ๓-๔ เดือนอย่างคนไทย ชาวจีนจึงมีโอกาสมากมายในการทำมาหากินก่อร่างสร้างตัว  นอกจากเป็นแรงงานรับจ้างแล้ว ชาวจีนยังประกอบอาชีพช่างฝีมือ ค้าขาย ทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เป็นต้น  หลายคนสามารถสะสมทุนสร้างฐานะจนมั่งคั่งเป็น “เจ้าสัว”


 



การผูกปี้  
เป็นวิธีที่รัฐบาลไทยใช้เรียกเก็บเงินจากชาวจีนแทนการเกณฑ์แรงงาน
เมื่อชาวจีนจ่ายเงินค่าผูกปี้แล้ว เจ้าพนักงานจะใช้เชือกป่านผูกให้ที่ข้อมือและใช้ครั่ง
กดติดที่ปมเชือกให้เป็นรูปกลมคล้ายปี้ที่ใช้ในโรงบ่อน แล้วประทับตราของทางราชการเป็นหลักฐาน
ช่วงเวลาที่จัดการผูกปี้คราวหนึ่งราว ๖ เดือน เมื่อพ้นไปแล้วก็ตัดปี้ที่ข้อมือทิ้งได้  
ในตอนแรกเริ่มรัฐบาลเรียกเก็บค่าผูกปี้จากชาวจีนคนละ ๒ บาทต่อปี ต่อมาเปลี่ยนเป็น ๔ บาท ต่อ ๓ ปี  
อัตรานี้ต่อกว่าที่คนไทยต้องจ่ายเดือนละ ๖ บาท หากไม่ต้องการถูกเกณฑ์แรงงานตามปกติ
(*การผูกปี้ คงจะคล้ายการเรียกเก็บภาษี หรือ Tax  ในปัจจุบัน)



เทียบท่าที่สำเพ็ง  ก้าวแรกบนแผ่นดินใหม่
Mooring at Sampheng : The First Step on New Land

เรือสำเภาจากเมืองจีนมาถึงกรุงเทพฯ ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน จุดที่เรือต่างชาติเข้ามาใกล้พระนครได้มากที่สุดคือย่านสำเพ็ง  ซึ่งอยู่ติดกำแพงพระนครด้านทิศใต้  

ในแม่น้ำย่านนี้มีเรือสินค้าจอดเปิดตลาดบนดาดฟ้าเรือกันคึกคัก  สินค้าส่วนหนึ่งถูกลำเลียงไปยังร้านค้าต่างๆ ในสำเพ็งซึ่งเป็นย่านตลาดใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ มีบ้านเรือนและร้านรวงของชาวจีนตั้งอยู่หนาแน่น ส่วนตามริมแม่น้ำก็มีเรือนแพของพ่อค้าจีนอยู่เรียงราย

ผู้โดยสารชาวจีนจำนวนมากก้าวลงจากเรือที่นี่ คนจีนใหม่ที่เพิ่งมาเมืองไทยครั้งแรกจะมีญาติพี่น้อง หรือคนจากหมู่บ้านเดียวกันคอยช่วยเหลือในการตั้งต้นชีวิตบนแผ่นดินใหม่  หลายคนได้งานทำอยู่ที่สำเพ็ง เริ่มจากรับจ้างเป็นกรรมกรแบกหาม หรือขายของหาบเร่ แล้วจึงขยับขยายสู่อาชีพอื่นๆ



จำลอง "ท้องเรือสำเภา" ขนาดใหญ่ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเข้าสู่แผ่นดินสยาม
จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีพที่จำเป็นขณะรอนแรมจากแผ่นดินถิ่นเกิด
(บริเวณนี้ค่อนข้างมืด)




ช่างปั้นหุ่น...ปั้นสีหน้าแสดงถึงความอ้างว้าง เหน็ดเหนื่อย
ของคนต้องไกลบ้านเกิดเมืองนอนได้เยี่ยมจริงๆ


ร้านเครื่องกระเบื้องถ้วยชาม Porcelain Shop
เครื่องถ้วยชามเนื้อกระเบื้องเคลือบ เป็นสินค้าที่นำเข้าจากเมืองจีนเป็นจำนวนมากในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์  
มีทั้งแบบที่สั่งทำเป็นพิเศษสำหรับชนชั้นสูงและแบบที่ทำมาขายคนทั่วไป  
โดยในยุคนั้นไทยยังผลิตได้ไม่ดีเท่า นอกจากนี้ในร้านเครื่องกระเบื้องยังมีสินค้าราคาแพงอื่นๆ จากเมืองจีน
เช่น เครื่องแก้ว ผ้าแพร เป็นต้น


หาบจุ๋ยก้วย Jui Guai Peddler
จุ๋ยก้วย คือขนมถ้วยแบบจีน ทำจากแป้งข้าวเจ้านึ่งสุก
เวลาขายตักใส่กระทง โรยหน้าด้วยกระเทียม หัวไชโป๊วสับละเอียด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วดำ  
เป็นของกินเล่นที่นิยมในหมู่คนจีน เพราะอิ่มท้องและราคาถูก  
การหาบเร่ขายของกินแบบนี้เป็นอาชีพหนึ่งของจีนใหม่ ใช้ทุนไม่มากนัก




ร้านข้าวต้ม Rice Gruel Shop
คนจีนกินข้าวต้มเป็นอาหารหลัก เมื่อมีคนจีนเข้ามาทำงานในเมืองไทยจำนวนมาก
จึงเกิดร้านขายข้าวต้มและกับข้าวง่ายๆ ราคาถูก สำหรับคนจีนรายได้น้อย
ซึ่งมักเน้นกินข้าวมากๆ ให้อิ่มท้อง กินกับข้าวเพียงเล็กน้อย  โดยมีทั้งแบบหาบเร่
และปลูกเพิงขายเป็นหลักแหล่ง ในยุคหลังคนไทยเรียกร้านข้าวต้มแบบนี้ว่า ร้านข้าวต้มกุ๊ย
ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไป


ก๋วยเตี๋ยว Noodle Peddler
ก๋วยเตี๋ยวคืออาหารเส้นที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า กินกับน้ำแกงโดยใส่เครื่องประกอบต่างๆ  
คนจีนแต้จิ๋วนำมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยมในเมืองไทย จีนใหม่หลายคนยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยว
โดยหาบอุปกรณ์เดินเร่ขายไปตามที่ต่างๆ ในยุคนั้นลูกค้าที่จะกินก๋วยเตี๋ยวต้องนำชามมาใส่เอง
เฮียตัง!..หมี่ไม่ผัก..น้ำ 8 แห้ง 9...Mckaforce (องค์แสดงประกอบ)




หลังจากกราบพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือพระพุทธรูปทองคำ
ซึ่ีงประดิษฐาน ณ พระมหามณฑป (ชั้นบน) เพื่อความเป็นสิริมงคลเรียบร้อยแล้ว
อย่าได้พลาดโอกาสการเข้าชม "ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช"
ซึ่งเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการประกอบแสงและเสียงขนาดใหญ่  
(อยู่ชั้นล่างของพระมหามณฑป)

ภายในห้องจัดแสดงภาพวาด งานศิลปกรรม  หุ่นจำลอง ฯลฯ
แสดงถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และคตินิยม ของคนจีน
ที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลจากแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินในเมืองไทย
จนมีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ธันวาคม 2560 16:19:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
joojee
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 33


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 28.0.1500.95 Chrome 28.0.1500.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2556 19:00:50 »

แม๊กกี้อิ่มหรือ น้ำ 8 แห้ง 9 น่ะ เห็นอยู่บ้านกินข้าวทีเป็นหม้อ  หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 29.0.1547.57 Chrome 29.0.1547.57


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2556 15:40:33 »

แม๊กกี้อิ่มหรือ น้ำ 8 แห้ง 9 น่ะ เห็นอยู่บ้านกินข้าวทีเป็นหม้อ  หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

เดี๋ยวปั๊ดตีตาย !!

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กันยายน 2556 16:12:41 »

.


Model : แบบจำลองชุมชนย่านสำเพ็ง




ถนนโล่งโจ้ง ยังอุตส่าห์ประมาทให้รถเหยียบ!. เฮ้อ!

สำเพ็ง : ตลาดใหญ่ที่สุดของพระนครยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
Sampheng : Bangkok’s Biggest Market in Early Rattanakosin Period

ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกกำแพงพระนคร มีย่านชุมชนหนาแน่นอยู่แห่งเดียว คือ สำเพ็ง ถนนสายเดียวที่อยู่นอกกำแพงพระนครก็คือตรอกสำเพ็ง เป็นทางเดินแคบๆ ตั้งต้นจากประตูสะพานหันออกมาเป็นระยะทางกว่า ๘๐๐ เมตร มีบ้านเรือนร้านค้าของชาวจีนตั้งเรียงรายโดยตลอด นับเป็นย่านการค้าสำคัญที่สุดของกรุงเทพฯ  โดยเป็นแหล่งที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างคึกคัก ทั้งการกระจายสินค้าที่มาจากเมืองจีนและรวบรวมสินค้าไทยที่จะส่งออก ทั้งเป็นแหล่งค้าปลีกที่คนกรุงเทพฯ นิยมมาซื้อหาสินค้านานาชนิด ในตลาดสำเพ็งมีร้านขายของกินของใช้ทั้งสำหรับคนจีนและคนไทย และยังมีสถานเริงรมย์ เช่น โรงบ่อน และสำนักนางโลม (โคมเขียว) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในย่านนี้เป็นแบบจีน ปลูกประชิดแออัดกันจึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง



สานโคม Weaver of Chinese Paper Lantern
"โคมกระดาษ" เป็นเครื่องใช้ตามบ้านเรือนและใช้ในพิธีต่างๆ ของคนจีน  
ในชุมชนจีนจึงมีคนสานโคมขายเป็นอาชีพ ซึ่งรวมถึงการเขียนตัวอักษรลงบนโคม
โคมสำหรับแขวนหน้าร้านค้ามักเขียนตัวอักษรสีแดงเป็นชื่อร้าน
ส่วนโคมที่ใช้ในงานศพเขียนตัวอักษรสีน้ำเงิน  
(ในสำเพ็งมีตรอกเล็กๆ ชื่อตรอกโรงโคม เป็นแหล่งที่ทำโคมขายกันมาก)


ภัตตาคาร : สถานที่พบปะทางสังคม
เยาวราชเป็นย่านที่ขึ้นชื่อว่ามีภัตตาคารชั้นนำหลายแห่งตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่คนกรุงเทพฯ
เริ่มนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยนอกจากอาหารรสเลิศแล้ว ภัตตาคารที่เยาวราช
ยังถือเป็นที่สังสรรค์อันมีรสนิยม อีกทั้งมีความสำคัญในวงสังคมชาวจีนโดยเป็นสถานที่
พบปะเจรจาเรื่องต่างๆ ตามธรรมเนียมจีนที่นิยมเริ่มต้นพูดคุยเรื่องสำคัญที่โต๊ะอาหาร
ตั้งแต่การเจรจาทางธุรกิจ การไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง การนัดดูตัวชายหญิงเพื่อหมั้นหมาย
ไปจนถึงเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงแต่งงานที่ขึ้นหน้าขึ้นตา
 
ภัตตาคารที่เป็นตำนานความหรูหรามีระดับที่สุดของย่านเยาวราช คือห้อยเทียนเหลา  
หรือหยาดฟ้าภัตตาคาร อยู่ที่ถนนเสือป่า ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๔๗๗
เป็นอาคาร ๓ ชั้นใหญ่โตโอ่อ่า มีห้องโถงจัดเลี้ยงบนชั้น ๓ และมีสถานที่เต้นรำพร้อมวงดนตรี
บนดาดฟ้า เป็นสถานลีลาศแห่งแรกๆ ในเมืองไทย

ภัตตาคารแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สังสรรค์ยอดนิยม ในวงสังคมชั้นสูงของกรุงเทพฯ
และเป็นที่รับรองแขกบ้านแขกเมืองได้อย่างสมฐานะ



โพยก๊วน : สายสัมพันธ์กับบ้านเกิด
คนจีนส่วนใหญ่เดินทางมาทำมาหากินในเมืองไทยด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหาเงิน
ส่งไปให้ครอบครัวที่เมืองจีน การส่งจดหมายพร้อมเงินกลับบ้าน ที่เรียกว่า “โพยก๊วน”
จึงเป็นภารกิจสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดร้านโพยก๊วนจำนวนมากที่เยาวราช โดยแต่ละร้าน
จะให้บริการส่งเฉพาะถิ่น และมีตู้แยกโพยก๊วนตามแซ่เพื่อนำส่งถึงบ้านผู้รับ

ที่ร้านจะมีกระดาษใบเล็กให้ผู้ส่งเขียนข้อความถึงญาติพี่น้องและบอกจำนวนเงินที่ส่ง  
รวมถึงมีบริการเขียนตามคำบอกสำหรับลูกค้าที่เขียนหนังสือไม่เป็น ร้านโพยก๊วน
จึงเป็นสื่อความผูกพันระหว่างคนจีนกับบ้านเกิด ผู้ที่มาส่งโพยก๊วนที่ร้าน
มักเป็นคนหาเช้ากินค่ำ แต่ก็พยายามอดออมเงินส่งให้ครอบครัว บางรายไม่มีเงิน
ก็สามารถขอกู้จากร้านส่งไปก่อนได้ แล้วค่อยใช้คืนเมื่อมารับใบตอบรับที่ส่งกลับ
มาจากเมืองจีน นอกจากนี้บางร้านยังจัดข้าวต้มไว้ให้กินโดยไม่ต้องเสียเงิน
ส่วนลูกค้าฐานะดีนั้น ร้านโพยก๊วนมีบริการไปรับเงินถึงบ้าน



วัดจีน : ศูนย์รวมความศรัทธาของชาวจีน
เดิมชุมชนจีนในเมืองไทยมีเพียงศาลเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจตามความเชื่อ
ซึ่งมีทั้งลัทธิขงจื๊อ เต๋า และพระพุทธศาสนา ผสมผสานกัน  
โดยแบ่งแยกเป็นศาลของชาวจีนแต่ละกลุ่มภาษา แต่ไม่มีวัดและพระสงฆ์
ชาวจีนต้องอาศัยวัดญวนหรือวัดไทยเพื่อประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีพระสงฆ์จากเมืองจีนเข้ามา และได้ก่อตั้ง
วัดจีนแห่งแรกด้วยความศรัทธาจากชาวจีนทุกกลุ่ม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔
คือ วัดเล่งเน่ยยี่ (Wat Lengnoeiyi) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามว่า “วัดมงกรกมลาวาส” และพระราชทานสมณศักดิ์
แก่เจ้าอาวาสรูปแรก ถือเป็นจุดกำเนิดคณะสงฆ์จีนนิกายในเมืองไทย
ต่อมาจึงเกิดวัดจีนขึ้นอีกหลายแห่ง

บริเวณลานหน้าวัดมังกรกมลาวาสในสมัยก่อน คึกคักด้วยแผงขายของเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ
สำหรับศาสนิกชนที่มาไหว้พระไหว้เจ้า ทำบุญ สะเดาะเคราะห์ ตลอดจนเสี่ยงทายโชคชะตา
นอกจากนี้ยังมีของกินของใช้ให้ซื้อกลับบ้าน นับเป็นแหล่งค้าขายที่เกิดขึ้น
สืบเนื่องจากความเชื่อในวิถีชีวิตจีน


"โรงงิ้ว" มุมนี้ถูกใจมากที่สุดค่ะ ใช้เวลาชมนานกว่าจุดอื่น
มีภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรีจีน น่ารักมาก




โรงงิ้ว แหล่งความบันเทิงและถ่ายทอดคติธรรม
"งิ้ว" เป็นการแสดงเก่าแก่ของชาวจีน มักจัดแสดงในงานบุญใหญ่ๆ
โดยสร้างโรงขึ้นชั่วคราวตามสถานที่ที่ไปแสดง แต่ในยุคเฟื่องฟูของแหล่ง
บันเทิงบนถนนเยาวราช มีโรงงิ้วที่สร้างอย่างใหญ่โตถาวรแบบโรงภาพยนตร์
เกิดขึ้นหลายโรงตามสองฝั่งถนนสายนี้ บางโรงมีที่นั่งถึง ๔๐๐ ที่
และมีที่ยืนชม ได้อีก ๑๐๐ ที่

ช่วงที่โรงงิ้วเยาวราชได้รับความนิยมสูงสุดคือระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๕
มีการแสดงงิ้ววันละ ๒ รอบ รอบละ ๓ ชั่วโมงครึ่ง เรื่องที่แสดงแต่ละเรื่อง
หรือแต่ละตอนจะแสดงอยู่ประมาณสองวัน โดยจะเพิ่มหรือลดวันตามจำนวนผู้ชม

นอกจากความบันเทิง งิ้วยังเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดคติธรรม
และความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ โดยโรงงิ้วที่เยาวราช
ส่วนใหญ่เป็นงิ้วแต้จิ๋วที่นิยมแสดงเรื่องในประวัติศาสตร์ซึ่งมีคติสอนใจ
เมื่อจะเริ่มแสดงแต่ละเรื่องจะมีงิ้วชุดเบิกโรงที่เรียกว่า “ป่วงเซียง”
เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนแสดงงิ้วเรื่อง งิ้วเบิกโรงชุดหนึ่งที่นิยมคือ “หลักก๊กฮงเลี่ยง”
เป็นเรื่องของ ๖ แคว้นที่จะรบกันแย่งชิงความเป็นใหญ่ แต่มีอำมาตย์
ผู้ใหญ่ของจีนมาเจรจาให้ปรองดองกัน และแต่งตั้งเจ้าผู้ครองแคว้น
ทั้ง ๖ เป็นขุนพลของจีน


ร้านจันอับ ร้านขนมแห่งชีวิต
"จันอับ" เป็นคำรวมเรียกขนมหวานแบบแห้งหลายชนิดของคนจีน
สำหรับกินกับน้ำชา เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด ถั่วลิสงเคลือบ ฟักเชื่อม
โดยเป็นทั้งของกินเล่นในชีวิตประจำวัน ใช้รับรองแขก เป็นของไหว้เจ้า
และเป็นเครื่องประกอบในงานมงคลทุกงานตามคติของชาวจีน
ที่ถือว่าความหวานคือสัญลักษณ์ของความสุข อีกทั้งจันอับ
ยังมีความหมายถึงความเจริญงอกงามเพราะทำจากเมล็ดธัญพืช
หลายอย่างที่งอกได้ง่าย  

ในการแต่งงานของคนจีนจะต้องใช้ขนมจันอับเป็นส่วนหนึ่ง
ในขบวนของหมั้น และนำไปมอบให้ญาติมิตรพร้อมบัตรเชิญ
ร่วมพิธีแต่งงาน ร้านจันอับจึงมักบริการจัดสำรับขนมสำหรับ
ใช้ในพิธีอย่างสวยงาม

ด้วยเหตุที่จันอับถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตจีน
ในย่านเยาวราชจึงมีร้านจันอับอยู่หลายร้าน เป็นกิจการ
ในครอบครัวที่ถ่ายทอดสูตรการทำขนมจากรุ่นสู่รุ่น
ร้านเหล่านี้นอกจากมีขนมจันอับหลายอย่างรวมถึงขนมเปี๊ยะแล้ว
ยังมีสิงโตน้ำตาลที่ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย


ร้านทอง Gold Shop
ชาวจีนมีค่านิยมในการสะสมทรัพย์สินเงินทอง เมื่อเข้ามาทำมาหากิน
ในเมืองไทยมีรายได้ นอกจากจะส่งกลับไปให้ครอบครัวที่เมืองจีนแล้ว
ก็จะเก็บออมเงินส่วนหนึ่งซื้อทรัพย์สินสะสมไว้เป็นการสร้างฐานะ

โดยในยุคที่คนจีนจำนวนมากยังมีสถานภาพเป็นคนต่างด้าว
ไม่สามารถซื้อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ ก็นิยมซื้อทองรูปพรรณเก็บไว้
ทำให้มีร้านทองเกิดขึ้นหลายร้านในย่านคนจีนที่เยาวราช
ซึ่งพัฒนาเป็นร้านใหญ่โตตามเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูในย่านนี้
และกลายเป็นร้านทองชั้นแนวหน้าที่ถือกันว่าเป็นแหล่ง
จำหน่ายทองคำคุณภาพสูงสุดของประเทศ
  
นอกจากนี้ร้านทองที่เยาวราชยังเป็นผู้นำด้านรูปแบบการตกแต่ง
ภายในร้าน ซึ่งร้านที่อื่นๆ จะทำตามจนเป็นเอกลักษณ์ของร้านทอง
โดยแต่เดิมนิยมทาสีเขียวครามตกแต่งด้วยไฟสีแดง ก่อนจะหัน
มานิยมทาสีแดงในภายหลัง

วาระที่คนจีนนิยมซื้อทองกันมากคือตรุษจีน ซึ่งมีการแจกเงินแต๊ะเอีย
ผู้ได้รับเงินมักจะนำมาซื้อทองเก็บไว้ในสมัยก่อนเมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน
ร้านทองที่เยาวราชจะนำวงดนตรีจีนมาบรรเลงสร้างความคึกคัก  
และมีของแจกแถม ทำให้มีลูกค้าเข้าคิวซื้อทองกันแน่นขนัด



โรงเรียนจีน  
เมื่อชาวจีนจำนวนมากสามารถก่อร่างสร้างตัวและสร้างครอบครัวในเมืองไทย
จึงมีความตั้งใจลงหลักปักฐานอยู่ที่นี่ ทำให้มีโรงเรียนจีนเกิดขึ้น
เพื่อสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนให้กับลูกหลาน  โรงเรียนจีนแห่งแรก
ในเมืองไทยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยใช้หลักสูตรของประเทศจีน
หลังจากนั้นชาวจีนแต่ละกลุ่มภาษาก็ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง
ซึ่งใช้ภาษาจีนในการเรียนการสอน

จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๔ รัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ส่งผลให้โรงเรียนจีนต้องเปลี่ยน
มาสอนภาษาไทยเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกหลานจีนค่อยๆ
กลายเป็นคนไทยได้อย่างกลมกลืน

โรงเรียนเผยอิง เป็นโรงเรียนจีนชั้นนำแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช
สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋ว ตั้งอยู่ในบริเวณศาลเจ้าเก่า
(เล่าปุนเถ้ากง) ซึ่งเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวจีนในย่านนี้มาแต่เดิม
โดยเปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๓ และเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน
นักเรียนจากโรงเรียนนี้หลายคนได้กลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของไทยในเวลาต่อมา



ศาลเจ้า จากความศรัทธาสู่งานสาธารณกุศล
ความศรัทธาต่อเทพเจ้าของชาวจีน นอกจากทำให้มีการสร้างศาลเจ้า
ไว้สักการบูชาแล้ว ยังก่อให้เกิดงานสาธารณกุศลต่างๆ ไปด้วยกัน
ดังศาลเจ้าไต้ฮงกง อันเกิดจากความศรัทธาต่อพระภิกษุไต้ฮง
ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ้อง

นยุคนั้นเกิดโรคระบาดผู้คนล้มตายกันมาก ท่านได้จัดการเก็บศพไปฝัง
โดยไม่รังเกียจ  ทั้งตั้งโรงรักษาโรค จัดหาอาหารและสิ่งของให้ผู้เดือดร้อน
จึงเป็นที่เลื่อมใสของชาวจีนสืบมา ครั้นมีการเชิญรูปสลักไต้ฮงกง
เข้ามาในเมืองไทย พ่อค้าจีนจึงร่วมใจกันก่อตั้ง “คณะเก็บศพไต้ฮงกง”
 เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ เพื่อเก็บศพไร้ญาติ และได้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้น
ซึ่งภายหลังได้จัดตั้งมูลนิธิฮั่วเคี้ยวป๊อเต็กเซี่ยงตึ๊ง หรือป่อเต็กตึ๊ง
และขยายงานการกุศลไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การรักษาพยาบาล
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงให้การศึกษา ส่วนที่ศาลเจ้า
ก็มีงานบุญใหญ่ประจำปีคืองานทิ้งกระจาด ซึ่งเป็นการทำบุญ
ให้ดวงวิญญาณและแจกทานให้คนยากไร้ โดยตั้งพิธีหน้ารูปไต้ฮงกง
 สวดเชิญวิญญาณมาชุมนุมรับส่วนกุศล หลังจากนั้นจึงแจกทาน
อันประกอบด้วย ข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ต่างๆ
แต่ละปีมีผู้มารับทานจำนวนมาก



ถนนเยาวราช พ.ศ. ๒๔๙๐–๒๕๐๐
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถนนเยาวราชเจริญเฟื่องฟูสูงสุด
กลายเป็นถนนสายหลักของชุมชนจีน พร้อมทั้งก้าวขึ้น
เป็นย่านธุรกิจชั้นแนวหน้าของเมืองไทย และเป็นศูนย์รวม
ความทันสมัยของกรุงเทพฯ

โดยเป็นที่ตั้งของตึกสูงสุด ของประเทศถึง ๓ แห่ง
ห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุด แหล่งรวมร้านค้าทองคำ
มาตรฐานสูงสุด ตัวแทนจำหน่ายสินค้าชั้นนำ
จากต่างประเทศ กิจการธนาคาร ตลอดจนห้างร้าน
ขายของกินของใช้แบบจีนมากมาย ซึ่งหลายร้าน
ได้ขยายกิจการสู่ระดับประเทศ นอกจากนี้
ยังมีภัตตาคารชั้นเลิศหลายแห่ง มีโรงงิ้วหลายโรง
ที่สร้างขึ้นถาวรเหมือนโรงภาพยนตร์ ซึ่งไม่เคยมีที่อื่น
อีกทั้งมีโรงน้ำชาเป็นถานเริงรมย์แบบใหม่  

เยาวราชจึงเป็นแหล่งบันเทิงยอดนิยมของคนกรุงเทพฯ
ในยุคนั้น ความเจริญของถนนเยาวราชซึ่งเป็นศูนย์รวม
ความเป็นที่สุดของประเทศในหลายๆ ด้าน เป็นภาพสะท้อน
ถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของชาวจีนที่เข้ามาทำมาหากิน
ในเมืองไทยด้วยความมานะบากบั่น และได้สร้างความก้าวหน้า
อย่างใหญ่หลวงให้กับเศรษฐกิจยุคใหม่ของไทย


ส่วนหนึ่งของภาพถ่ายเก่าหาชมยาก


สร้างทางรถไฟ Railroad construction


ลากรถรับจ้าง - Pulling a rickshaw


ขายของหาบเร่ - Street peddler

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กันยายน 2558 17:56:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.535 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 10:14:45