[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 23:07:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน แห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของโลก  (อ่าน 6433 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 กันยายน 2556 19:04:38 »

.





พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
Petrified Wood Museum
บ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ภาคอีสานเป็นดินแดนที่มีหลักฐานทางโบราณคดีมากมายบ่งบอกว่าบนพื้นที่ราบสูงแห่งนี้เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ อายุนับร้อยล้านปี จนได้ขึ้นชื่อว่าถิ่นไดโนเสาร์

จังหวัดนครราชสีมาหรือที่เรียกกันติดปากว่า “เมืองโคราช หรือเมืองย่าโม” เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ขุดพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ นอกเหนือจากขุดพบได้มากที่จังหวัดหนองบัวลำภู  และไม่เพียงแต่ซากสัตว์เท่านั้น  ในพื้นที่เกือบ 20 อำเภอ  ยังขุดพบซากพืชที่ฝังตัวอยู่ใต้ดินจนกลายเป็นหิน ที่เรียกว่า ไม้กลายเป็นหิน จำนวนมาก เป็นที่มาของการเสนอโครงการอนุรักษ์ในรูปของอุทยาน และพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน จนทำให้มีการก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของโลก

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ชื่อเต็มว่า สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  มีพื้นที่ 80.5 ไร่ เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 โดยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน ทำพิธีเปิด และด้วยตระหนักในคุณค่า ทรงสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหิน รวมทั้งทรงติดตามการดำเนินงานโครงการนี้ตลอดมา  

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน แบ่งพื้นที่ให้ศึกษาอย่างเต็มรูปแบบออกเป็น 3 ส่วน  คือ พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน  พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์  




• พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Wood Museum)
เป็นสถานที่จัดแสดงซากไม้ขนาดใหญ่ที่กลายเป็นหินของภาคอีสาน อายุตั้งแต่ 800,000 - 330 ล้านปี  จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น  ทั้งบริเวณรอบนอกและภายในอาคารพิพิธภัณฑ์  และจุดที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ในส่วนนี้คือ  “ไม้กลายเป็นหินอัญมณี(Gem-quality petrified wood)  อายุประมาณ 800,000 ปีก่อน มีความยาวประมาณ 2 เมตร เป็นไม้สกุลมะค่าโมง (Afzelia) เนื้อโอพอล (Opal)  สวยงามมากตลอดทั่วทั้งลำต้น พบที่บ้านมากเอื้อง ตำบลสุรนารี  อำเภอเมืองนครราชสีมา  ไม้กลายเป็นหินนี้ประกอบด้วยเนื้อแร่หรือสารที่มีสีสันหรือความวาวที่สวยงาม เกือบทั้งหมดเป็นแร่ตระกูลควอร์ตซ์  

• ความเชื่อเรื่องไม้กลายเป็นหิน
ชนพื้นเมืองอเมริกันเผ่าต่างๆ มีความเชื่อเรื่องไม้กลายเป็นหิน ซึ่งพบในอุทยานแห่งชาติป่าไม้กลายเป็นหิน รัฐอริโซนาที่แตกต่างกันไป บางตำนานเล่าว่า “เทพธิดาองค์หนึ่งพยายามจุดไฟด้วยท่อนซุงเหล่านี้ แต่เนื้อไม้ชื้นเกินไป ด้วยความกริ้ว นางจึงสาปให้ท่อนซุงกลายเป็นหินเพื่อไม่ให้ติดไฟตลอดกาล ป่าไม้กลายเป็นหินจึงถือกำเนิดขึ้นบนโลก”

เผ่า Paiute เชื่อว่าไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่เหล่านี้ คือก้านลูกธนูและก้านหอกของ Shinauav เทพเจ้าแห่งสายฟ้า ที่ใช้ยิงหรือพุ่งระหว่างการต่อสู้กับศัตรู เมื่อทำศึกครั้งใหญ่ ขณะที่เผ่า นาวาโฮ เชื่อว่าไม้ที่กลายเป็นหินเป็นกระดูกของยักษ์ใหญ่ นาม Yeitso

ส่วนคนไทยเชื่อว่ามีเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ในไม้กลายเป็นหิน จึงมีการสร้างศาลขึ้นมากราบไหว้ เช่น ศาลเจ้าแม่ไม้กลายเป็นหินในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ และศาลเจ้าพ่อไม้กลายเป็นหิน บริเวณสวนมะม่วง ริมถนนสายนครราชสีมา–โชคชัย  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา  ขณะที่คนบางคนเชื่อว่าใครได้จับแตะต้องไม้กลายเป็นหินจะเป็นผู้มีอายุยืนเพราะไม้กลายเป็นหินเป็นของเก่าแก่แต่โบราณ








ไม้กลายเป็นหินอัญมณี


สาเหตุที่ไม้กลายเป็นหิน เกิดจากสารละลายแร่ธาตุตกผลึกหรือตกตะกอนในช่องว่างหรือแทนที่เนื้อไม้เดิมในระดับโมเลกุล  ดังนั้น ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่จึงหนักเหมือนหินและยังคงมีรูปร่างและโครงสร้างของไม้เดิมปรากฏให้เห็น เช่นลักษณะเสี้ยนไม้ ตุ่ม และ ตาไม้ กิ่งไม้ วงปี รูปร่างท่อนไม้  ดยเฉพาะลักษณะที่เป็นรูพรุนหรือเซลล์ไม้ ที่มีขนาด รูปแบบ การจัดเรียงตัว และความหนาของเซลล์แตกต่างกัน  ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของชนิดไม้ เปรียบคล้ายลายมือที่ไม่เหมือนกันของคนแต่ละคน  ลักษณะเฉพาะเช่นนี้จึงทำให้เราสามารถจำแนกวงศ์ สกุล และชนิดของพรรณไม้กลายเป็นหินได้ เหมือนกับจำแนกพรรณไม้ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม้กลายเป็นหิน มีสมมติฐานที่แตกต่างกัน ๒ สมมุติฐาน ดังนี้

สมมติฐานแรก เกิดจากสารละลายซึ่งมาจากหินที่เป็นด่าง (Alkaline Solution)  เมื่อท่อนไม้รวมทั้งตะกอนกรวด ทราย ดินเหนียวถูกกระแสน้ำหลากพัดพามาทับถมในท้องแม่นํ้าโบราณขนาดใหญ่ หากน้ำใต้ดินบริเวณดังกล่าวไหลผ่านหรืออยู่ใกล้หินที่ให้สารละลายชนิดด่าง น้ำจะมีสภาพเป็นด่างทำให้ละลายซิลิกาหรือเนื้อกรวดทรายออกมาได้ดี  ต่อมาหากบริเวณนั้นหรือเนื้อไม้มีสภาพเป็นกรดจะทำให้สารละลายด่างเกิดสภาพเป็นกลางหรือกรดอ่อน มีผลทำให้ซิลิกาตกตะกอนเป็นของแข็งแทนที่เนื้อไม้ที่แช่อยู่ในสารละลายได้ทั้งหมด
 
สมมติฐานที่ ๒ เกิดจากสารละลายที่มาจากน้ำแร่ร้อน (Hydrothermal Solution) ท่อนไม้ที่ถูกทับถมใกล้บริเวณภูเขาไฟซึ่งมีอิทธิพลของน้ำแร่ร้อนใต้ผิวโลกที่มีปริมาณสารละลายซิลิกาอยู่มาก ไหลซึมผ่านแนวรอยแตกของหินหรือตะกอนกรวดทรายดินขึ้นมาปะปนกับน้ำใต้ดิน สามารถทำให้เกิดการตกตะกอนของซิลิกาจากน้ำใต้ดินแทนที่เนื้อไม้ที่ถูกฝังดังกล่าวได้  สมมติฐานนี้  มีปัจจัยสนับสนุนจากหลักฐานภูเขาไฟและชั้นหินซิลิกาในลุ่มน้ำมูล หรือบริเวณใกล้เคียงทางด้านตะวันตก



ไม้กลายเป็นหิน ที่รักษาสภาพเนื้อไม้ไว้ได้ดี  จะสามารถมองเห็นวงปีที่ชัดเจน

วงปี คือ ชั้นของเนื้อเยื่อที่ต้นไม้สร้างขึ้นในรอบ ๑ ปี วงปีจึงเป็นสิ่งบอกได้ว่า ต้นไม้นั้นมีอายุกี่ปีก่อนจะตายลง

ในฤดูฝน เซลเนื้อไม้มีขนาดใหญ่ ทำให้เนื้อไม้มีสีจาง  ส่วนในฤดูแล้ง  เซลเนื้อไม้มีขนาดเล็กอยู่เบียดชิดติดกันแน่น ทำให้เนื้อไม้บริเวณนั้นมีสีเข้ม เห็นเป็นวงได้ชัดเจน  ฉะนั้น วงปี จึงเป็นหลักฐานแสดงถึงภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนในอดีตได้ด้วย







ไม้กลายเป็นหิน
ข้อมูล : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

ไม้กลายเป็นหินตามพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยาไม่ได้บัญญัติมาจากคำศัพท์กลางๆ จาก Petrified Wood แต่มาจากคำศัพท์ค่อนข้างจำเพาะ คือ Silicified Wood อันหมายถึงไม้กลายเป็นหินที่เกิดจากสารละลายซิลิกาเข้าไปแทนที่เนื้อไม้อย่างช้าๆ คือแทนที่โมเลกุลต่อโมเลกุล จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้าง โดยปกติซิลิกาในเนื้อไม้นี้จะอยู่ในรูปของโอปอ หรือคาลซิโดนี

อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมธรณีวิทยามีความเห็นกำกับว่า ความหมายข้างต้นน่าจะเป็นความหมายของคำว่า ไม้กลายเป็นหินเนื้อซิลิกา ดังนั้น คำว่า ไม้กลายเป็นหิน จึงน่าจะมาจากศัพท์ Petrified Wood หรือ Wood Stone เนื่องจากเป็นคำกลางๆ ที่ไม่ระบุชนิดของสารละลายที่เข้าไปแทนที่ในเนื้อไม้ เพราะในสภาพที่เป็นจริงจะพบสารละลายได้หลายชนิด เช่น สารละลายของเหล็ก และ/หรือแมงกานีสไฮดรอกไซด์ สารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ปูน) เป็นต้น ยกเว้นกรณีที่ต้องการเน้นชนิดของสารประกอบหรือแร่ส่วนใหญ่ จึงอาจใช้คำว่า Silicified Wood, Agatized Wood, Opalized Wood, Calcified Wood เป็นต้น
 
ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุ

ประการแรกเกิดจากการทับถมพื้นที่ป่าไม้หรือต้นไม้ด้วยเถ้าถ่านหรือลาวาจากภูเขาไฟ วัสดุดังกล่าวมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบอยู่มาก เมื่อผุพังสลายตัวซิลิกาบางส่วนจะอยู่ในรูปสารละลายซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าไปแทนที่เนื้อไม้อย่างช้าๆ จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมด

ประการที่สอง เกิดจากภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้มีการพัดพาตะกอนกรวดทรายดินจำนวนมาก รวมทั้งซุงหรือท่อนไม้ต่างๆ ที่หักโค่นหรือล้มตายจากน้ำไหลหลากหรือจากสาเหตุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก่อนนั้น ตะกอนกรวดทรายจะตกจมทับถมส่วนของต้นไม้ดังกล่าว โดยเฉพาะในบริเวณร่องแม่น้ำ ณ จุดที่กระแสน้ำมีความเร็วลดลงและไม่สามารถพัดพาต่อไปได้อีก ดิน ทราย กรวดที่ทับอยู่ข้างบนจะค่อยๆ ถูกชะล้างโดยน้ำหรือสารละลายที่มีสภาพเป็น กรดหรือด่าง ละลายเอาซิลิกาออกมา สภาพที่เหมาะสมในการที่จะละลายซิลิกาหรือเนื้อทรายได้ดีคือสภาพแวด ล้อมที่เป็นด่าง น้ำละลายซิลิกาซึมผ่านเข้าไปในเนื้อไม้ที่ฝังอยู่ใต้ดิน
 
ท่อนไม้หรือกิ่งไม้ก็จะอาบชุ่มไปด้วยสารละลายที่มีซิลิกาอยู่ตลอดทุกฤดูที่มีน้ำหรือสารละลายซึมมา จากนั้นหากในบริเวณนั้นมีสภาพเป็นกรด หรือเนื้อไม้มีปฏิกิริยาเป็นกรด เช่น มีกรดคาร์บอนิก ก็จะทำให้น้ำที่นำซิลิกามาในลักษณะของสารละลายที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง เกิดสภาพเป็นกลางขึ้น ทำให้ซิลิกาที่มีอยู่ในน้ำนั้นตกตะกอนเป็นซิลิกาออกมา เนื้อไม้เดิมจึงค่อยๆ มีการตกผลึกหรือถูกแทนที่ด้วยซิลิกาเหล่านั้น หากซิลิกาที่เข้าไปแทนที่ในเนื้อไม้ยังมีน้ำปะปนอยู่จะทำให้เกิดโอปอขึ้น ส่วนใดที่มีซิลิกาแทนที่และมีน้ำไม่เพียงพอหรือน้ำนั้นเหือดแห้งจางไป ส่วนนั้นของไม้ที่ถูกแทนที่จะกลายเป็นเนื้อแร่คาลซิโดนีหมด ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแร่ทั้งสองชนิดนี้จะแทนที่ตรงส่วนไหนของเนื้อไม้นั้นก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางเคมีและฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อมและภายในเนื้อไม้โดยเฉพาะ

นอกจากนั้น น้ำที่นำเอาซิลิกาเข้าไปในเนื้อไม้อาจจะมีแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งถูกละลายหรือพัดพามาจากบริเวณใกล้เคียงอีกหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก นิกเกิล ทองแดง ยูเรเนียม ฯลฯ ละลายตัวรวมอยู่ในสารละลายเหล่านี้ด้วย และไหลซึมซาบเข้าไปในเนื้อไม้เหล่านั้นได้เช่นกัน ขณะเดียวกันแร่ธาตุเหล่านั้นอาจตกตะกอนฝังอยู่ในเนื้อไม้ เป็นผลให้เกิดสนิมปะปนอยู่ในเนื้อไม้ที่กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหินจึงเกิดมีสีสันต่างๆ จากการผสมผสานของธาตุดังกล่าว









พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ (Dinosaur Museum)  

ก่อตั้งขึ้นเพราะพบว่า พื้นที่ตำบลโคกกรวดที่อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งตำบลสุรนารีที่เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ มีชิ้นส่วนกระดูก และฟันของไดโนเสาร์ กระจายอยู่ทั่วไปและพบต่อเนื่องบนพื้นที่กว้างขวางกว่า 28,000 ไร่ จำแนกเบื้องต้นได้ถึง 4 พวก คืออัลโลซอร์ พวกกินพืชขนาดใหญ่ที่คาดว่าอาจมีความยาวถึง 10 เมตร, โซโรพอด พวกกินพืชขนาดใหญ่คาดว่ามีความยาวไม่ต่ำกว่า 15 เมตร, อิกัวโนดอนต์ พวกกินพืชขนาดกลางมีฟันคล้ายกิ้งก่าอิกัวน่า, แฮดโดรซอร์หรือไดโนเสาร์ปากเป็ด ไดโนเสาร์เหล่านี้มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 100 ล้านปีก่อน

พิพิธภัณฑ์ส่วนนี้ จัดแสดงฟอสซิลไดโนเสาร์  และหุ่นจำลองเหมือนจริงเคลื่อนไหวได้ของไดโนเสาร์ โคราช 6 สายพันธุ์ อายุประมาณ 100 ล้านปี  ของไดโนเสาร์กินพืชแม่ลูกอิกัวโนดอนต์   ไดโนเสาร์กินเนื้ออัลโลชอร์   และมีห้องฉายวีดิโอแอนนิเมชัน (VDO Animation Theatre) บนผนังโค้ง 360 องศา เรื่อง “แม่อิกัวโนดอนต์ใจเด็ด ปะทะอัลโลซอร์จอมโหด!”






ช้างพลายยีราฟ อายุประมาณ 25-30 ปี ความสูง 3 เมตร พบที่จังหวัดสุรินทร์
งา และกระดูกช้างเชือกนี้เป็นของจริง

พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์
(Ancient Elephant Museum) 

ก่อตั้งขึ้นเนื่องจาก ในจังหวัดนครราชสีมามีซากช้างดึกดำบรรพ์จำนวนมากและหลากหลายชนิดกว่าจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย โดยพบในระดับลึกช่วง 5-40 เมตร จากพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและสาขา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างหลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โนนสูง จักราช พิมาย และอำเภอเมืองนครราชสีมา โดยเฉพาะตำบลท่าช้างเพียง 1 ตำบล พบช้างดึกดำบรรพ์ถึง 8 สกุล จาก 42 สกุลที่พบทั่วโลก มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงสมัยไพลสโตซีนตอนต้น(16-0.8 ล้านปีก่อน)  ส่วนนี้จัดแสดงฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ ได้แก่ ช้างสี่งา ช้างงาจอบ ช้างงาเสียม  ที่มีอายุประมาณ 16 - 5 ล้านปี รวมถึงนิทรรศการบรรพบุรุษและวิวัฒนาการของช้าง   จุดเด่นของห้องนี้คือ “หุ่นจำลองและโครงกระดูกของช้าง งาขนาดเท่าของจริง”  ซากฟัน  งาช้างที่กลายเป็นหิน มีความยาวเกือบ 3 เมตร  รวมไปถึงฟอสซิลกระดูกของยีราฟ แรด เต่ายักษ์ ตะโขง เอป (ลิงไม่มีหางที่มีสายวิวัฒนาการใกล้เคียงกับมนุษย์ที่ถูกจัดให้เป็นชนิดใหม่ของโลก)

ช้างเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชอบอาศัยอยู่ในป่าดงดิบ ทึบ อากาศเย็นสบาย   มีระบบรับรู้ทางประสาทตาเพียง 10 %  แต่จะมีระบบรับรู้จากการจำเสียง และจำกลิ่นได้เป็นอย่างดี   ผิวหนังช้างหนา 1.9-2 เซนติเมตร  มีฟันกรามจำนวน 6 ชุดตลอดชีวิต  มีกระดูกซี่โครงจำนวน 19 คู่  มีข้อกระดูกหางประมาณ  26 - 33 ข้อ  เล็บเท้าหน้าของช้างมี 5 เล็บ  ส่วนเท้าหลังมี 4 เล็บ อายุเฉลี่ยประมาณ 80 ปี  เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ  3,000–5,000 กิโลกรัม  ความสูงเฉลี่ยประมาณ 2–2.5 เมตร  กินอาหารประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวต่อวัน  นอนหลับเพียงวันละ 3-4ชั่วโมง  ดื่มน้ำวันละประมาณ 60 แกลลอน หรือ 15 ปี๊บต่อวัน  เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 13–15  ปี จนถึงอายุ 60 ปี  ระยะเวลาตั้งท้องนาน 18-12 เดือน ตกลูกคราวละ 1 ตัว หรืออาจมีแฝดได้



หุ่นช้างสี่งา (งาของจริง)


ห้องจัดแสดงฟอสซิลงาช้าง  งาหลายกิ่งมีความยาวประมาณ 3 เมตร  


เส้นผ่าศูนย์กลางของฟอสซิลงาช้าง
ลองเทียบความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางงาช้างกับขนาดมือ

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จัดแสดง ไม้กลายเป็นหินและฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00- 16.00 น.
อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท , นักศึกษา ปวส. - ปริญญาตรี 20 บาท,
นักเรียนประถม - ปวช. 10 บาท, ชาวต่างชาติ 100 บาท
สำหรับผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เข้าชมฟรี  
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4437 0739-41


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กันยายน 2558 17:41:16 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.533 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 19:41:45