[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:33:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศุภลักษณะของ ช้างเผือก ช้างต้น และการคล้องช้างในสมัยโบราณ  (อ่าน 3466 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 ตุลาคม 2556 10:31:24 »

.

http://statics.atcloud.com/files/comments/73/731430/images/1_original.jpg
ศุภลักษณะของ ช้างเผือก ช้างต้น และการคล้องช้างในสมัยโบราณ

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ : พระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ช้างเผือก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ขึ้น กำหนดให้ช้างป่าเป็นของหลวงสำหรับแผ่นดิน ผู้ใดจะจับไปใช้สอยต้องขออนุญาตรัฐบาล พระราชบัญญัตินี้มุ่งหมายที่จะช่วยป้องกันอันตรายแก่ช้างป่า และบำรุงพันธุ์ช้างป่าให้เจริญขึ้นด้วย

ในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ ๓ ชนิด ตามมาตรา ๔ ระบุไว้ว่า

ช้างสำคัญ มีคชลักษณะ ๗ ประการ คือ
     ๑. ตาขาว
     ๒. เพดานขาว
     ๓. เล็บขาว
     ๔. ขนขาว
     ๕. พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่
     ๖. ขนหางขาว
     ๗. อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่

ช้างสีประหลาด คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างที่กำหนดไว้ในคชลักษณะของช้างสำคัญ

ช้างเนียม  มีลักษณะ ๓ ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บดำ

ในมาตรา ๓๒ ของพระราชบัญญัติระบุว่า ผู้ใดมีช้างสำคัญ หรือช้างสีประหลาดหรือช้างเนียม โดยเหตุที่ตนจับได้ หรือโดยแม่ช้างของตนตกออกมา หรือโดยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ต้องนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะได้พระราชทานบำเหน็จให้ตามสมควร

ในมาตราเดียวกันนี้ กำหนดบทลงโทษว่า ผู้ใดมีช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด หรือช้างเนียม แล้วปล่อยเสีย หรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ ไม่นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท แต่โทษนี้ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นต้องริบเป็นของหลวง

จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่มีชนิดใดเรียกว่าช้างเผือก แต่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกับคำว่า ช้างเผือก  ว่าเป็นช้างที่เกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริงช้างเผือก หรือช้างสำคัญ มี ๓ ชนิดดังกล่าว ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีจำนวนมาก ก็จะถือว่าเป็นมงคล บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบว่ามีช้างเผือก ณ ที่ใด จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญการดูคชลักษณ์ไปตรวจดูอีกครั้ง โดยต้องคำนึงถึงลักษณะอันเป็นมงคลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น เวลาที่ช้างหลับ ถ้ามีเสียงกรนประดุจเสียงแตรสังข์ถือว่าเป็นมงคล ถ้าเสียงกรนคล้ายคนร้องไห้ถือว่าเป็นอัปมงคล แม้จะมีคชลักษณ์สมบูรณ์ก็ตาม

นอกจากนี้ยังมีตำราคชลักษณ์กล่าวว่า การดูลักษณะช้าง ให้พึงพิจารณาลักษณะ ๑๐ ประการ คือ ขน หาง จักษุ เล็บ อัณฑโกศ ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา ข้างในไรเล็บ ถ้าต้องกับสีกาย เป็นศุภลักษณะใช้ได้ ถ้านับสีกายด้วยก็เป็น ๑๑ ประการ

สกุลคชาชีวะ ซึ่งมีพระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) เจ้ากรมช้างต้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นสกุล เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจคชลักษณ์ช้างสืบต่อกันมาหลายชั่วคน

เมื่อสำนักพระราชวังตรวจคชลักษณ์ว่าเป็นช้างเผือกหรือช้างสำคัญแล้ว ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ



ธงช้างเผือก จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ช้างเผือกถือเป็นสิ่งสำคัญของชาติ เริ่มจากการนำรูปช้างเผือกติดไว้บนธงสีแดง ซึ่งเดิมถือเป็นธงประจำชาติไทย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์  การกำหนดไว้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้ง ๘ ชั้น ชั้นสูงสุดคือ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) การสร้างเหรียญกษาปน์ และธนบัตรรูปช้างสามเศียร แสตมป์ที่มีรูปช้าง การสร้างภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ตราสมาคมต่างๆ นอกจากนี้ตราช้างเผือกยังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๖ ให้ใช้เป็นตราประจำกองลูกเสือของอังกฤษอีกด้วย

ในปัจจุบัน ยังนำคำว่า "ช้างเผือก" มาใช้ในแวดวงการศึกษาและแวดวงกีฬา ถึงการเปรียบเปรยเยาวชนที่เรียนเก่งระดับหัวกะทิ หรือมีความสามารถทางกีฬาเป็นเลิศ แต่อยู่ในต่างจังหวัด เพื่อให้โควต้าพิเศษเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ และเป็นนักกีฬาทีมชาติ ตามโครงการช้างเผือกด้วย เพราะถือเป็นช้างเผือกในป่าที่หายากยิ่ง
จาก : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด



ภาพจาก : oknation.net

ช้างเผือกกับช้างต้น ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร?

ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ช้างต้น บอกว่า ช้างต้น หมายถึงช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในสมัยโบราณได้แบ่งช้างต้นออกเป็น ๓ ประเภท
๑. ช้างศึกที่ทรงออกรบ
๒. ช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะเป็นช้างมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ไม่สมบูรณ์หมดทุกส่วน
๓. ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การศึกที่ต้องใช้กองทัพช้างในการสงครามหมดความสำคัญลง ช้างศึกที่ควรขึ้นระวางเป็นช้างต้นก็ไม่มีความจำเป็น จึงคงเหลือเพียงช้างต้นที่หมายถึงช้างสำคัญและช้างเผือก ซึ่งหากพบก็จะประกอบพระราชพิธีรับสมโภชและขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น ด้วยถือตามโบราณพระราชประเพณีที่ว่า ช้างเผือกนั้นเป็นหนึ่งในรัตนะ ๗ สิ่งซึ่งคู่บารมีขององค์พระมหากษัตริย์

รัตนะทั้ง ๗ มีชื่อเรียกว่า สัปตรัตนะ อันได้แก่ จักรรัตนะ (จักรแก้ว) หัตถีรัตนะ (ช้างแก้ว) อัศวรัตนะ (ม้าแก้ว) มณีรัตนะ (มณีแก้ว) อัตถีรัตนะ (นางแก้ว) คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว) และ ปรินายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว)

ตามคติความเชื่อทั้งในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา ถือว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่สูงด้วยมงคลทั้งปวง เป็นสัญลักษณ์ทั้งธัญญาหาร ภักษาหาร ผลาหาร และพระบารมีเกริกไกรอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน และจะเกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีแห่งองค์พระจักรพรรดิแห่งแคว้นประเทศนั้น ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อได้พบช้างเผือกเวลาใด ประชาราษฎร์ก็จะแซ่ซ้องสาธุการน้อมเกล้าฯถวาย ด้วยเป็นรัตนะแห่งพระองค์

ตามตำราคชลักษณ์ ช้างเผือกต้องมีลักษณะอันเป็นมงคล ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ผิวหนังสีขาว หรือ สีหม้อใหม่ ขนขาว ขนหางยาว และ อัณฑโกศสีขาว หรือ สีหม้อใหม่

ทั้งนี้ ตำราฯ แบ่งช้างเผือกออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

๑.ช้างเผือกเอก เรียกว่า สารเศวตร หรือ สารเศวตพรรณ เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ และมีลักษณะพิเศษคือ ร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์สีดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง

๒.ช้างเผือกโท เรียกว่า ปทุมหัตถี มีผิวสีชมพูดูคล้ายสีกลีบดอกบัวแดงแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก

๓.ช้างเผือกตรี เรียกว่า เศวตคชลักษณ์ มีสีดุจใบตองอ่อนตากแห้ง เป็นช้างมงคล

หากพบช้างสำคัญถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาแต่โบราณที่จะไม่กล่าวว่าช้างนั้นเป็นช้างเผือกและเป็นชั้นเอก โท หรือ ตรี แก่ผู้ใด จนกว่าจะได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเสียก่อน และจะเรียกว่าช้างสำคัญไปจนกว่าจะได้รับการขึ้นระวางและรับพระราชทานอ้อยแดง จารึกนามแล้ว จึงเรียกว่า ช้างเผือก

ส่วนที่เรียกกันทั่วไปว่าช้างมงคล เล่ากำเนิดว่า จากตำราพระคชศาสตร์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคล และแบ่งช้างมงคลเป็น ๔ ตระกูล ตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด คือ

๑.ช้างตระกูลพรหมพงศ์ พระพรหม เป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ

๒.ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ พระอิศวร เป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะมีความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจ

๓.ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ พระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะแก่ศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหารธัญญาหารจะบริบูรณ์

๔.ช้างตระกูลอัคนีพงศ์ พระอัคนี เป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหารและมีผลในทางระงับศึกอันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ทั้งมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมือง


แถมข้อมูลสำหรับผู้สนใจ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังดุสิต ตรงข้ามพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ใกล้พระที่นั่งอนันตสมาคม และรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สถานที่นั้นเมื่ออดีตคือโรงช้างต้นเก่าในพระราชวังดุสิต





การคล้องช้างในสมัยโบราณ

สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สรุปวิธีการคล้องช้างสมัยโบราณไว้เป็นความรู้ดังนี้

การคล้องช้างในเพนียดแต่เดิมนั้นมิได้มีแต่พิธีหลวง แต่พบในดินแดนที่มีช้างป่ามากๆ เช่น ในอินเดียใต้ ลังกา และมาเลเซียแถบรัฐไทรบุรี หรือเคดาร์ ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนคล้ายกับการคล้องช้างในเพนียดหลวง นั่นคือ เมื่อช้างโขลงหรือช้างเถื่อนถูกต้อนมาจนถึงเพนียดจะไม่รู้สึกกลัวนัก แต่พอผ่านเข้าไปในปีกกาของเพนียดแล้ว สังเกตว่าโขลงรู้สึกหวาดหวั่นมาก ร้องเสียงดังลั่น แต่ก็ไม่อาจจะฝ่าช้างบ้านที่กันอยู่ออกไปได้ จึงปล่อยให้ช้างนำนำเข้าไปในเพนียดแต่เชือกเดียว

บรรดาโขลงที่ถูกต้อนมานี้ถ้าเป็นช้างเถื่อนที่เคยถูกต้อนมาหลายหนจะรู้สึกคุ้นเคยก็เดินเข้าเพนียดง่าย  ช้างพวกนี้เรียกว่า "ช้างเวร" เป็นการทำให้ช้างเถื่อนที่ยังไม่เคยถูกต้อนตามเข้าไปในเพนียดด้วยทุกครั้ง ครั้งละ ๒๐-๔๐ เชือก เมื่อช้างเข้าเพนียดเรียบร้อยแล้วก็พักรอไว้ให้คล้องในวันรุ่งขึ้น

วันที่จะคล้องจะจัดช้างต่อ ๕-๗ เชือกเข้ามาในเพนียด มีเครื่องมือประกอบด้วย เชือกบาศ คันจาม ขอและงก เชือกบาศเป็นเชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๘ วา ปลายด้านหนึ่งทำเป็นบ่วงรูดได้ ปลายอีกด้านนำมาร้อยเข้ากับเชือกที่ผูกคอช้างต่อ ส่วนคันจามเป็นไม้รวกยาวประมาณ ๖ ศอกกว่า มีปลายเรียวสำหรับยัดเข้าไปในช่องรูดของเชือกบาศ สำหรับขอเป็นอาวุธที่หมอช้างถือ และงกเป็นอาวุธที่ควาญท้ายถือ

พวกช้างต่อจะถูกขับเข้าไปทางซองด้านตะวันตก ส่วนควาญช่วยกันทามเชือกบาศไปคอยอยู่ที่ริมเพนียดหลายเส้น กับกระบอกใส่น้ำหลายกระบอก เมื่อช้างต่อเข้าไปพร้อมกันแล้วก็ไปไล่โขลงให้วิ่งเวียนไปรอบๆ อยู่ในเพนียด เมื่อเห็นว่าช้างเถื่อนเชือกใดที่มีขนาดพอใช้การและฝึกหัดได้ ซึ่งมักเป็นช้างขนาดกลาง คือสูงขนาด ๓ ศอกเศษ ก็ขับช้างต่อไล่กระชั้นเข้าไป  พอได้ทีก็ดักหรือสอดบ่วงบาศให้เข้าไปติดในเท้าช้างเถื่อน แล้วชักไม้มากระชากเชือกให้รูดเข้าไปให้ติดแน่นอยู่กับเท้าช้าง จากนั้นเกี่ยวช้างต่อให้ตลบกลับหลัง ควาญท้ายต้องทิ้งเชือกบาศลงไปทั้งเส้น เรียกว่าเบาะ แล้วไสช้างต่อให้วิ่งสวนทางกลับมาจนกว่าเชือกที่ติดเท้าช้างเถื่อนนั้นตึง แน่นดีแล้วก็แก้เชือกที่ผูกคอช้างต่อออก ปล่อยให้เชือกบาศหลุดติดเท้าช้างเถื่อนไป โดยช้างเถื่อนจะถูกคล้องด้วยเชือกบาศตัวละ ๒ บาศบ้าง ๓ บาศบ้าง


ช้างต่อจะไปรับเชือกบาศมาอีก แล้วเอาคันเชือกบาศที่คล้องติดเท้าช้างเข้าพันกับเสาเพนียดให้แน่นหนา ต้องจับเชือกบาศให้เท่ากันแล้วจึงผูก เพื่อว่าเมื่อช้างเถื่อนดึงไป จะได้ดึงพร้อมกันเชือกจะได้ไม่ขาด แล้วพาช้างนำเข้ามาในเพนียดทางช่องด้านตะวันตก พอช้างเถื่อนเห็นช้างตัวนำก็ไสช้างนำออกไป ส่วนช้างที่ติดเชือกบาศจะตามออกไปไม่ได้ ก็เดินแทงเสาแทงดินและร้องครวญคราง ตอนนี้ช้างต่อจะเข้ามาเทียบด้านข้างช้างที่ติดบ่วงบาศข้างละเชือก เอาหวายทบกันเข้าหลายเส้นจนใหญ่ขนาดเท่าข้อมือและมีความยาวพอพันรอบคอช้างได้ เรียกว่าสายทาม ผูกคอช้างเถื่อนให้แน่น แล้วเอาเชือกโยงจากสายทามมาเข้าผนึก คือนำมาร้อยผูกเข้ากับสายทามช้างต่อทั้ง ๒ ข้าง

เมื่อเข้าผนึกแน่นหนาดีแล้ว เอาน้ำมาเทรดลงที่คอ หัว และหลังช้างเถื่อน เพื่อให้สายทามเหนียวและให้ช้างเถื่อนชื่นใจ ลดอาละวาดลง เมื่อเสร็จแล้วก็แก้คันเชือกบาศที่ผูกเสาออก พาเดินออกไปทางด้านทิศตะวันตก โดยมีช้างต่อรุนท้าย พอถึงซอง ก็เอาคันเชือกบาศผูกเข้ากับเสาเพนียดอีกครั้ง ผูกให้ช้างเถื่อนออกไปพ้นซองได้ประมาณ ๖ ศอก พอผูกมั่นคงแล้วก็แก้ผนึกออก เปิดโตงเตงปล่อยให้ช้างเถื่อนออกไป และช้างต่อก็ตามออกไปเข้าผนึกด้านนอกอีกครั้งหนึ่ง เพราะซองนั้นแคบ จำเพาะเข้าออกได้แต่เชือกเดียว จึงต้องผนึกครั้งที่ ๒ แล้วก็พาไปผูกไว้ที่เสาตะลุงในโรงเพื่อนำไปฝึกต่อไป


ที่มา : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 14:24:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.43 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 กุมภาพันธ์ 2567 06:19:03