[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 17:41:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์  (อ่าน 91917 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 33.0.1750.154 Chrome 33.0.1750.154


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 26 มีนาคม 2557 23:54:53 »

ความหลง ... เกิด ขึ้นได้กับทุกคน
ต้องใช้สติพิจารณา ปัญญา ไตร่ตรอง ดูว่าสิ่งนี้จริงหรือไม่จริง
การที่ องค์คุลีมาล ได้หลงผิดเพราะคำของอาจารย์ ก็เพราะ องค์คุลีมาล ไม่ได้คิด เพราะคำของอาจารย์ นั้น หน้าเชื่อถือ
เลยทำเรื่องไม่ดีขึ้น เป็น บาป แต่บุญเก่าท่านทำมาดี ได้เจอกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ ด้วยคำอาจารย์เพื่อ สำเร็จวิชา จึงต้องการที่จะตัด นิ้วของพระพุทธเจ้า องค์คุลีมาลจึงวิ่งตาม แต่วิ่งเท่าใด ก็ไม่ถึง พระพุทธเจ้า สักที่ องค์คุลีมาล จึงถามว่า ทำไม ท่านถึงไม่หยุด ทำไม ท่านถึงเดินเร็วนัก เราวิ่งยังตามไม่ทัน พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด (เราหยุดการกระทำอันซึ่งทำให้ตัวเราเป็นบาปแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด) องค์คุลีมาลได้ยินเช่นนั้นด้วย ปัญญาที่ดีมากแล้ว จึงทำให้คิดได้ เลยขอ พระพุทธเจ้า บวช
สังคม สมัยนี้ ก็เหมือน กับองค์คุลีมาล หลงคำพูดของคนไม่กี่ คน ทำตามกันในความเชื่อ ที่ผิด เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง หน้าเสียดายที่ สมัยนี้ คนเราไม่ได้มีสติเหมือน องค์ลีมาล ไม่งั้นอาจจะหยุด การกระทำเหล่านี้ได้
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 34.0.1847.116 Chrome 34.0.1847.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 22 เมษายน 2557 20:31:34 »

รูป นาม ไม่เที่ยงจริงอย่างนี้ รูปนามเป็นก้อนทุกข์
เป็นกองทุกข์อย่างนี้ รูป นาม ไม่ใช่ตัวตนของเราอย่างนี้
เมื่อไม่ใช่ตัวตนของเรา ทำไมจิตจึงมายึดหน้าถือตา มายึด
ตัวถือตน มายึดเรายึดของ ๆ เรา ยึดถึอแล้วได้อะไร ก้ไม่มี
อะไรได้ ได้แต่กิเลสราคะ ได้แต่กิเลสโทสะ ได้แต่กิเลส
โมหะ เต็มไปหมด เมื่อมีตัวกิเลสอันนี้เกิดขึ้นมายึดมาถือ
วุ่นวายอย่างที่โลกเขาวุ่นวายอยู่อย่างนี้แหละ
 ซีด
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 34.0.1847.116 Chrome 34.0.1847.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 24 เมษายน 2557 12:52:30 »


การปฏิบัติ ศีล - ธรรม ต้องมีเหตุมีผล เหตุดี ผลก็ดี ถ้าเหตุร้าย ผลก็ร้าย เปรียบเหมือนของภายนอก อย่างผลไม้ต่างๆ มันก็เกิดจากต้นของมัน ถ้าไม่มีต้น ก็ไม่มีผล จะเป็นข้าวกล้าผลไม้ในไร่ในสวนก็เช่นกัน ดอกหรือผล ของมัน พวกชาวสวนทั้งหลายเขาก็ปฏิบัติตกแต่งแต่ลำต้นของมันเท่านั้น คือเขาต้องใส่ปุ๋ยดายหญ้ารดน้ำ และรักษาสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ต้นไม้ของเขาทั้งนั้น เมื่อเขาปฏิบัติลำต้นของมันดังกล่าว เรื่องของดอกและผลมันก็เป็นเอง ดังนี้ ทีนี้การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเราอยากเป็นคนมีเงินทอง อยากร่ำรวยเหมือนเขา อยากมีร่างกายสวยเหมือนเขา อยากมีลาภ และมียศเหมือนเขา เราจะไปปฏิบัติตรงไหน พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ถ้ากายของเราดี วาจาของเราดี จิตใจของเราดี ได้ลาภมาก็มาก และใหญ่ได้ ยศก็ใหญ่ได้ อะไรมาก็มีแต่ของดีทั้งนั้น ถ้ากาย วาจา ใจดีแล้ว เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราเป็นบาปแล้ว ได้อะไรมาก็เป็นของไม่ดี ทั้งนั้น
...โอวาท หลวงปู่คำดี ปภาโส...
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2557 14:49:10 »


แผ่เมตตาจิต
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า
-- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) -
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.153 Chrome 35.0.1916.153


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2557 20:12:24 »


รู้ว่าจิตคือตัวเรานี้ มาเอาซากศพสวมใส่อยู่
ร่างกายมนุษย์ไม่ใช่ตัวเรา มันคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นซากศพ เป็นผลของอาหารที่รับประทานเข้าไป
เราคือจิต เอาซากศพมาสวมใส่อยู่ได้ เอาเกราะศพมาใส่
ในจิตเราอยู่ จิต - กายแยกได้
เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
ตัวเราแท้ ๆ คือจต หรืออทิสมานกายที่อาศัยซากศพนี้อยู่
 เขิน
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.125 Chrome 36.0.1985.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2557 20:39:32 »


ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
เขิน
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.125 Chrome 36.0.1985.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2557 09:56:31 »

ทานที่มีผลมาก
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า...เสด็จไป ณ ดาวดึงสเทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตรได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนเทวดาองค์อื่นๆ เมื่อเทวดาอื่นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าบ้าง อังกุรเทพบุตรต้องถอยร่นไปอยู่ท้ายเทวดาองค์อื่น จนในที่สุดต้องไปอยู่ท้ายแถวเทวดาทั้งหมด แต่อินทกเทพบุตรยังคงอยู่หัวแถวไม่ถอยให้เทวดาอื่นเลย พระพุทธเจ้าเล็งเห็นกำลังบุญของอินทกเทพบุตรที่มีเหนือเทวดาอื่น พระองค์จึงตรัสถามบุญที่อินทกเทพบุตรและอังกุรเทพบุตรเคยกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์อังกุรเทพบุตรกล่าวว่าตนเคยเกิดในยามว่างพระศาสนา สร้างโรงทานตลอด 12 โยชน์สิ้นหมื่นปีได้บุญเพียงเล็กน้อยเพราะผู้รับทานมีศีลไม่บริสุทธิ์ ส่วนอินทกเทพบุตรเคยถวายข้าวเพียงทัพพีเดียวแก่พระอนุรุทธเถระผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ พระพุทธเจ้าจึงอุปมาผลแห่งกุศลและอกุศลด้วยผืนนาโดยตรัสภาษิตว่า

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
ราคะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
โทสะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
โมหะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
ความอยาก ทำให้คนฉิบหาย
ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมหาศาล
 โทดค๊าบ ตลก รู้สึกแย่
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557 20:47:28 »


"ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์"
โอวาทธรรม หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2557 21:59:05 »

อรรถกถา มันธาตุราชชาดก
ว่าด้วย กามมีความสุขน้อยมีทุกข์มาก
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาวตา จนฺทิมสุริยา ดังนี้
               ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นสตรีผู้หนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม จึงเกิดความกระสันรัญจวนใจ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำภิกษุรูปนั้นมายังธรรมสภา แล้วแสดงแก่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กระสันอยากจะสึก พระเจ้าข้า.
               พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันอยากจะสึกจริงหรือภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า
               จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ครองเรือนจักอาจทำตัณหาให้เต็มได้ เมื่อไร เพราะขึ้นชื่อว่ากามตัณหานี้ เต็มได้ยาก ประดุจมหาสมุทร ด้วยว่าโปราณกบัณฑิตทั้งหลายครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้ครองราชย์ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีมนุษย์เป็นบริวารเท่านั้น ทั้งครองเทวราชสมบัติในสถานที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไม่สามารถเลยที่จะทำกามตัณหาของตนให้เต็ม ก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป
               ก็เธอเล่า เมื่อไร อาจทำกามตัณหานั้นให้เต็มได้
               แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
               ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่าพระเจ้ามหาสมมตราช โอรสของพระองค์พระนามว่าโรชะ. โอรสของพระเจ้าโรชะ พระนามว่า วรโรชะ. โอรสของพระเจ้าวรโรชะ พระนามว่า กัลยาณะ. โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ พระนามว่าวรกัลยาณะ. โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ พระนามว่า อุโปสถ. โอรสของพระเจ้าอุโปสถ พระนามว่า วรอุโปสถ. โอรสของพระเจ้าวรอุโปสถ ได้มีพระนามว่า มันธาตุ
               พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้าย ปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ พระเจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้. ก็พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแปดหมื่นสี่พันปี. ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย.
               วันหนึ่ง พระเจ้ามันธาตุนั้นไม่สามารถทำกามตัณหาให้เต็มได้ จึงทรงแสดงอาการระอาพระทัย. อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงระอาเพราะเหตุอะไร? พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า เมื่อเรามองเห็นกำลังบุญของเราอยู่ ราชสมบัตินี้จักทำอะไรได้ สถานที่ไหนหนอจึงจะน่ารื่นรมย์ อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทวโลกน่ารื่นรมย์ พระเจ้าข้า.
               ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริษัท.
               ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับ นำพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก. เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน พระองค์ไม่สามารถทำตัณหาให้เต็มในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้ จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา.
               ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอาเพราะอะไรหนอ. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ ที่ไหนน่ารื่นรมย์กว่า. ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฏฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์
               พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส์.
               ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ ทรงทำการต้อนรับรับพระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้
               ในเวลาที่พระราชาอันหมู่เทพห้อมล้อมเสด็จไป ปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมนุษย์ พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฉพาะยังนครของตนๆ.
               ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุ.
               ตั้งแต่นั้นมา พระราชา ๒ พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์นั้น). เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะทรงให้พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน. แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก แล้วก็จุติไป โดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง.
               เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงดำริว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทวโลกกึ่งหนึ่ง เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคนเดียวเถิด ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้.
               ก็ตัณหาคือความอยากนี้เป็นมูลรากของความวิบัติ ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึงเสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค์ ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก.
               ลำดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยาน จึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมาให้ราชตระกูลทราบ ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาดที่บรรทมในพระราชอุทยานนั่นเอง พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฏฐานไสยาศน์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกล่าวว่าอย่างไร เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ พระเจ้าข้า.
               พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลายพึงบอกข่าวสาสน์นี้แก่มหาชนว่า พระเจ้ามันธาตุมหาราชครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตามปริมาณพระชนมายุของท้าวสักกะถึง ๓๖ องค์ ยังทำตัณหา คือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้สวรรคตไปแล้ว.
               ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็สวรรคตเสด็จไปตามยถากรรม.

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

               พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียนรอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศโดยที่มีกำหนดเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดเท่านั้น ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น

               ความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตย่อมรู้ชัดอย่างนี้.

               ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นคำกล่าวถึงกำหนดเขต. บทว่า ปริหรนฺติ ความว่า ย่อมหมุนเวียนเขาพระสิเนรุ โดยกำหนดมีประมาณเท่าใด. บทว่า ทิสา ภนฺติ ความว่า ย่อมส่องสว่างในทิศทั้งสิบ. บทว่า วิโรจนา ความว่า ชื่อว่า มีสภาพสว่างไสว เพราะกระทำความสว่าง. บทว่า สพฺเพว ทาสา มนฺธาตุ เย ปาณา ปฐวิสฺสิตา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย คือหมู่มนุษย์ชาวชนบทเหล่าใด ผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ในประเทศมีประมาณเท่านี้ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดเมื่อเข้าไปเฝ้าด้วยคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามันธาตุเป็นปู่ของพวกเรา แม้เป็นไท ก็ชื่อว่าเป็นทาสเหมือนกัน.
               ในบทว่า น กหาปณวสฺเสน นี้ พระเจ้ามันธาตุทรงปรบพระหัตถ์ทำให้ฝนคือรัตนะ ๗ อันใดตกลงมา เพื่อทรงสงเคราะห์พวกหมู่มนุษย์ผู้เป็นทาสเหล่านั้น ฝนคือรัตนะ ๗ นั้น ท่านเรียกว่า ฝนคือกหาปณะในพระคาถานี้.
               บทว่า ติตฺติ กาเมสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย เพราะฝนคือกหาปณะแม้นั้นย่อมไม่มี ตัณหานั้นทำให้เต็มได้ยากอย่างนี้. บทว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนความฝัน มีความยินดีน้อย คือมีความสุขน้อย ก็ในกามนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นมากมาย ทุกข์นั้นพึงแสดงโดยกระบวนแห่งทุกขักขันธสูตร.
               บทว่า อิติ วิญฺญาย ได้แก่ กำหนดรู้อย่างนี้. บทว่า ทิพฺเพสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น อันเป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า รตึ โส ความว่า ภิกษุผู้เห็นแจ้งนั้น แม้ถูกเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามเหล่านั้น เหมือนท่านพระสมิทธิ.
               บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ได้แก่ ผู้ยินดีแล้วในพระนิพพาน. จริงอยู่ ตัณหามาถึงพระนิพพานย่อมหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตัณหักขยะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหานั้น. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะเพราะตรัสรู้สัจจะโดยชอบด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสาวกเพราะเกิดในที่สุดแห่งการสดับฟัง คือเป็นโยคาวจรบุคคลผู้ได้สดับตรับฟังมาก.

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คนเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น.
               พระเจ้ามันธาตุมหาราชในกาลนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

               จบ อรรถกถามันธาตุราชชาดกที่ ๘

.. อรรถกถา มันธาตุราชชาดก ว่าด้วย กามมีความสุขน้อยมีทุกข์มาก จบ
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557 20:06:24 »

การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสาร ย่อมประสบซึ่งความสุขและความทุกข์แต่งต่างกันไป ซึ่งมีผลอันเป็นมาแต่เหตุที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติและปจจุบันชาติ เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นหากเราทำใจยอมรับสภาวะที่เป็นอยู่ได้ความทุกข์ที่มีก็จะลดน้อยลงไป
 เขิน
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2557 13:08:07 »

"การรักษาศีล กับ การผิดศีล อะไรจะยากกว่ากัน"
_(๑)_ผู้รักษาศีลข้อ 1. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปวิ่งไล่ตบตีฆ่าสัตว์ อย่างไหนมันยากกว่ากัน ? ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปฆ่าสัตว์แค่นั้นเอง
_(2.)_ผู้ที่รักษาศีลข้อ 2. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปลักขใคร กับการที่ต้องหาทางขโมยของคนอื่น ต้องคอยกลัวเขาจับได้ อย่างไหนมันยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปขโมยของ ๆ คนอื่น
_(3)_ผู้ที่รักษาศีลข้อ 3. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปประพฤติผิดในกาม กับ การมี่ต้องออกไปหาทางประพฤติผิดในกาม อย่างไหนมันยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปผิดลูกผิดเมียคนอื่น
_(4.)_ผู้ทีรักษาศีลข้อที่ 4. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปพูดโกหกใครกับการที่ต้องคิดหาคำพูดเพื่อโกหกคนอื่น
อย่างไหนมันจะยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่เห็นต้องไปโกหกใครเลย
_(5.)_ผู้ที่รักษาศีลข้อที 5. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปดื่มสุรา กับ การที่ต้องออกไปทำงานหาเงินมาซื้อสุรสดื่ม. อย่างไหนมันยากง่ายกว่ากัน...?
แค่อยู่เฉย ๆ ไม่เห็นจะต้องไปเสียเงินซื้อเหล้าเลย__...___
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 14 มกราคม 2558 20:00:12 »

ยิ่งพยายามจะไปหยุดใจที่มันดิ้นเท่าไร
ใจก็ยิ่งดิ้น ดิ้นไปกับความคิดปรุงแต่ง
ยิ่งเป็นการก่อภพก่อชาติใหม่
เพราะมีเจตนาเข้าไปจับ ไปเป็น
เพราะเห็นว่าเป็นตัวตนที่สามารถไปบังคับได้
ทั้งที่ความจริงของธรรมชาติ
มันไม่เป็นตัวตนที่อยู่ในอำนาจมาแต่ไหนแต่ไร
เป็นเพราะความหลงไปยึดเป็นเราของเราต่างหาก
ความคิดความปรุงแต่งจะดับลง เพราะหมดเหตุ
หมดสิ่งหล่อเลี้ยงคือตัณหา
มันดับลงตามธรรมชาติ มิใช่มีใครไปพยายามที่จะดับ
เห็นเรื่อยๆไปเกิดๆ ดับ ๆจนใจไม่หมายในความคิด
เกิดการคลายออกจิตเป็นอิสระจากความคิด
เห็นรู้ความจริงว่ามีแต่ธรรมชาติล้วน
หมุนเวียนเปลี่ยน ไม่ใช่เราทั้งฝ่ายรูปนาม.... เขิน
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 02 เมษายน 2558 21:13:06 »

คนรวยมากๆบางทีก็ลืมบุญเหมือนกันนะ ว่าที่รวยมีที่อยู่อาศัยที่ดี มีกินมีใช้ก็เพราะบุญ ที่ว่าลืมบุญเพราะมัวเพลินกับสมบัติในชาตินี้ เพลินในธุระกิจพันล้านก็มี จนไม่มีเวลาเข้าวัดสะสมบุญใหม่ใช้บุญเก่าไปทุกวันไม่นานก็หมดแต่คนจนที่พอมีพอกินไม่รวยอะไรมากมายแต่มีความสุขเพราะมีเวลาเข้าวัดทำบุญ ฝึกกาย ใจ วาจาให้สงบให้เย็นเป็นอุปนิสัย อันนี้แหละสำคัญเพราะบุญเป็นสมบัติที่พวกเราต้องทำเองนะ อายจัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2558 21:16:19 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 28 เมษายน 2558 20:28:15 »

ธรรมะกับธรรมชาติ
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
บางครั้ง ต้นผลไม้ อย่างต้นมะม่วงเป็นดอกออกมาแล้ว บางทีถูกลมพัด มันก็หล่นลง แต่ยังเป็นดอกอย่างนั้นก็มี บางช่อเป็นลูกเล็กๆ ลมก็มาพัดไป หล่นทิ้งไปก็มี บางช่อยังไม่ได้เป็นลูก เป็นดอกเท่านั้น ก็หักไปก็มี
คนเราก็เหมือนกัน บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้องบางคนคลอดจากท้องอยู่ได้สองวัน ตายไปก็มี หรืออายุเพียงเดือนสองเดือน สามเดือน ยังไม่ทันโต ตายไปก็มีบางคนพอเป็นหนุ่มเป็นสาวตายไปก็มี บางคนก็แก่เฒ่าแล้ว จึงตายก็มี
เมื่อนึกถึงคนแล้ว ก็นึกถึงผลไม้ ก็เห็นความไม่แน่นอน แม้นักบวชเราก็เหมือนกัน บางทียังไม่ทันได้บวชเลย ยังเป็นเพียงผ้าขาวอยู่ ก็พาผ้าขาววิ่งหนีไปก็มีบางคนโกนผมเท่านั้น ยังไม่ได้บวชขาวด้วยซ้ำ ก็หนีไปก่อนแล้วก็มี บางคนก็อยู่ได้สามสี่เดือนก็หนีไป บางคนอยู่ถึงบวชเป็นเณรเป็นพระ ได้พรรษาสองพรรษาก็สึกไปก็มี หรือสี่ห้าพรรษาแล้วก็สึกไปก็มี เหมือนกับผลไม้เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ผลไม้ถูกลมพัดตกลงไปเลยไม่ได้สุก จิตใจคนเราก็เหมือนกัน พอถูกอารมณ์มาพัดไป ดึงไป ก็ตกไปเหมือนกับผลไม้
พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงเห็นเหมือนกัน เห็นสภาพธรรมชาติของผลไม้ ใบไม้ แล้วก็นึกถึงสภาวะของพระเณรซึ่งเป็นบริษัท บริวารของท่านก็เหมือนกัน มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ย่อมจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติถ้ามีปัญญา พิจารณาดูอยู่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูอาจารย์แนะนำพร่ำสอนมากมาย
พระพุทธเจ้าของเรา ที่จะทรงผนวชในพระชาติที่เป็นพระชนกกุมารนั้น ท่านก็ไม่ได้ศึกษาอะไรมากมายท่านไปทรงเห็นต้นมะม่วงในสวนอุทยานเท่านั้น คือวันหนึ่ง พระชนกกุมารได้เสด็จไปชมสวนอุทยานกับ พวกอำมาตย์ทั้งหลาย ได้ทรงเห็นต้นมะม่วงต้นหนึ่ง กำลังออกผลงามๆ มากมาย ก็ตั้งพระทัยไว้ว่า ตอนกลับจะแวะเสวยมะม่วงนั้น
แต่เมื่อพระชนกกุมารเสด็จผ่านไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันเก็บผลมะม่วงตามใจชอบ ฟาดด้วยกระบองบ้าง แส้บ้าง เพื่อให้กิ่งหัก ใบขาด จะได้เก็บผลมะม่วงมากิน
พอตอนเย็น พระชนกกุมารเสด็จกลับ ก็จะทรงเก็บมะม่วง เพื่อจะลองเสวยว่าจะมีรสอร่อยเพียงใด แต่ก็ไม่มีมะม่วงเหลือเลยสักผล มีแต่ต้นมะม่วงที่กิ่งก้านหักห้อยเกะกะ ใบก็ขาดวิ่น เมื่อไต่ถาม ก็ทรงทราบว่าพวกอำมาตย์เหล่านั้นได้ใช้กระบอง ใช้แส้ฟาดต้นมะม่วงนั้นอย่างไม่ปรานี เพื่อที่จะเอาผลของมันมาบริโภคฉะนั้นใบของมันจึงขาดกระจัดกระจาย กิ่งของมันก็หัก ห้อยระเกะระกะ
เมื่อพระองค์ทรงมองมะม่วงสักต้นหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็ทรงเห็นมะม่วงต้นนั้นยังมีกิ่งก้านแข็งแรง ใบดกสมบูรณ์ มองดูน่าร่มเย็น จึงทรงดำริว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? ก็ทรงได้คำตอบว่า เพราะมะม่วงต้นนั้นมันไม่มีผล คนก็ไม่ต้องการมัน ไม่ขว้างปามัน ใบของมันก็ ไม่หล่นร่วง กิ่งของมันก็ไม่หัก

พอพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเหตุเท่านั้น ก็พิจารณามาตลอดทางที่เสด็จกลับ ทรงรำพึงว่า ที่ทรงมีความทุกข์ยากลำบาก ก็เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ ต้องทรงห่วงใยราษฎร ต้องคอยป้องกันแผ่นดินจากข้าศึกศัตรู ที่คอยจะมาโจมตีตรงนั้นตรงนี้อยู่วุ่นวาย แม้จะนอนก็ไม่เป็นสุข บรรทมแล้วก็ยังทรงฝันถึงอีก แล้วก็ทรงนึกถึงต้นมะม่วงที่ไม่มีผลต้นนั้น ที่มีใบสดดูร่มเย็น แล้วทรงดำริว่า จะทำอย่างมะม่วงต้นนั้นจะไม่ดีกว่าหรือ ?

พอถึงพระราชวัง ก็ทรงพิจารณาอยู่แต่ในเรื่องนี้ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยออกทรงผนวช โดยอาศัยต้นมะม่วงนั้นแหละ เป็นบทเรียนสอนพระทัย ทรงเปรียบเทียบพระองค์เองกับมะม่วงต้นนั้น แล้วเห็นว่าถ้าไม่พัวพันอยู่ในเพศฆราวาส ก็จะได้เป็นผู้ไปคนเดียว ไม่ต้องกังวัลทุกข์ร้อน เป็นผู้มีอิสระ จึงออกผนวช

หลังจากทรงผนวชแล้ว ถ้ามีผู้ใดทูลถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ? พระองค์ก็จะทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" ใครเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน ? พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" พระองค์ไม่ต้องการคำพร่ำสอนอะไรมากมาย เพียงแต่ทรงเห็นต้นมะม่วงนั้นเท่านั้น ก็ทรงน้อมเข้าไปในพระทัย เป็นโอปนยิกธรรม สละราชสมบัติทรงเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ อยู่ในความสงบผ่องใส

นี้คือในสมัยที่พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรมเช่นนี้มาโดยตลอดอันที่จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเตรียมพร้อมที่จะสอนเราอยู่เสมอ ถ้าเราทำปัญญาให้เกิดนิดเดียวเท่านั้น ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในโลก

ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เหล่านั้น มันแสดงลักษณะอาการตามความจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้ามีปัญญาเท่านั้นก็ไม่ต้องไปถามใคร ไม่ต้องไปศึกษาที่ไหน ดูเอาที่มันเป็นอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ก็ตรัสรู้ธรรมได้แล้ว เหมือนอย่างพระชนกกุมาร

ถ้าเรามีปัญญา ถ้าเราสังวร สำรวม ดูอยู่ รู้อยู่เห็นอยู่ตามธรรมชาติอันนั้น มันก็ปลงอนิจจัง ทุกขังอนัตตาได้เท่านั้น เช่นว่า ต้นไม้ทุกต้นที่เราเห็นอยู่บนพื้นปฐพีนี้ มันก็เป็นไปในแนวเดียวกัน เป็นไปในแนวอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่เป็นของแน่นอนถาวรสักอย่าง มันเหมือนกันหมด มีเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น แปรไปในท่ามกลาง ผลที่สุดก็ดับไปอย่างนี้

เมื่อเราเห็นต้นไม้เป็นอย่างนั้นแล้ว ก็น้อมเข้ามาถึงตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวเราหรือบุคคลอื่นก็เหมือนกันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นในท่ามกลางก็แปรไป เปลี่ยนไป ผลที่สุดก็สลายไป นี่คือธรรมะ

ต้นไม้ทุกต้นก็เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน เพราะว่ามันเหมือนกันโดยอาการที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็แปรไป แล้วมันก็เปลี่ยนไป หายไป เสื่อมไปดับสิ้นไปเป็นธรรมดา

มนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้มีสติอยู่รู้อยู่ ศึกษาด้วยปัญญา ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเห็นธรรมอันแท้จริง คือเห็นมนุษย์เรานี้ เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไปแล้วก็เปลี่ยนไป สลายไป ถึงที่สุดแล้วก็จบ ทุกคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น คนทุกคนในสากลโลกนี้ ก็เป็นอันเดียวกัน ถ้าเราเห็นคนคนเดียวชัดเจนแล้ว ก็เหมือนกับเห็นคนทั้งโลก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

ทุกสิ่งสารพัดนี้เป็นธรรมะ สิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตา คือใจของเรานี้ เมื่อความคิดเกิดขึ้นมา ความคิดนั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไป เมื่อแปรไปแล้ว ก็ดับสูญไปเท่านั้น นี้เรียกว่า "นามธรรม" สักแต่ว่าความรู้สึกเกิดขึ้นมา แล้วมันก็ดับไป นี่คือความจริงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น ล้วนเป็นอริยสัจจธรรมทั้งนั้น ถ้าเราไม่มองดูตรงนี้ เราก็ไม่เห็น

ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา เราก็จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงไหน ?
พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม

พระธรรมอยู่ที่ตรงไหน ?
พระธรรมอยู่ที่พระพุทธเจ้า อยู่ตรงนี้แหละ

พระสงฆ์อยู่ที่ตรงไหน ?
พระสงฆ์อยู่ที่พระธรรม

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ในใจของเราแต่เราต้องมองให้ชัดเจน บางคนเก็บเอาความไปโดยผิวเผิน แล้วอุทานว่า "โอ ! พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจของฉัน" แต่ปฏิปทานั้นไม่เหมาะไม่สมควร มันก็ไม่เข้ากันกับการที่จะอุทานเช่นนั้น เพราะใจของผู้ที่อุทานเช่นนั้น จะต้องเป็นใจที่รู้ธรรมะ

ถ้าเราตรงไปที่จุดเดียวกันอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าความจริงในโลกนี้มีอยู่ นามธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดเป็นของไม่แน่นอน มีความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ความโกรธตั้งอยู่แล้ว ความโกรธก็แปรไป เมื่อความโกรธแปรไปแล้ว ความโกรธก็สลายไป

เมื่อความสุขเกิดขึ้นมาแล้ว ความสุขนั้นก็ตั้งอยู่เมื่อความสุขตั้งอยู่แล้ว ความสุขก็แปรไป เมื่อความสุขแปรไปแล้ว ความสุขมันก็สลายไปหมด ก็ไม่มีอะไร มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ทุกกาลเวลา ทั้งของภายในคือ นามรูปนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งของภายนอก คือต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์เหล่านี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ นี่เรียกว่าสัจจธรรม

ถ้าใครเห็นธรรมชาติก็เห็นธรรมะ ถ้าใครเห็นธรรมะก็เห็นธรรมชาติ ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ เห็นธรรมะผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่อยู่ไกล

ฉะนั้น ถ้าเรามีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ผู้รู้ทั้งหลายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้ ให้เห็นธรรมะตามเป็นจริงทุกกาลเวลา

พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านยังไม่ตาย แต่คนมักเข้าใจว่าท่านตายไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นท่านไม่นิพพาน ท่านไม่ตายท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ทุกเวลา พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะนั่นเอง ใครทำดีต้องได้ดีอยู่วันหนึ่ง ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว นี่เรียกว่าพระธรรมพระธรรมนั้นแหละเรียกว่า พระพุทธเจ้า และก็ธรรมะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธเจ้าของเรา เป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็คือพระธรรม และพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำก็จะเห็นน้ำไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งไปทำให้น้ำมีขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกลงไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว

อันนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน ท่านไม่ได้ไปแต่งธรรมะ ท่านไม่ได้บัญญัติธรรมะ บัญญัติก็บัญญัติสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ธรรมะคือความจริงที่มีอยู่แล้ว ท่านพิจารณาเห็นธรรมะ ท่านเข้าไปรู้ธรรม คือรู้ความจริงอันนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่าพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้ธรรม และการตรัสรู้ธรรมนี่เองจึงทำให้ท่านได้รับพระนามว่า พระพุทธเจ้า

เมื่อพระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ก็ทรงเป็นเพียง "เจ้าชายสิทธัตถะ" ต่อเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว จึงได้ทรงเป็น "พระพุทธเจ้า" บุคคลทั้งหลายก็เหมือนกันผู้ใดสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ผู้นั้นก็เป็นพุทธะ

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงยังมีอยู่ ยังเมตตากรุณาสัตว์ทั้งหลาย ยังช่วยมนุษย์สัตว์ทั้งหลายอยู่ ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความประพฤติปฏิบัติดี จงรักภักดี พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ผู้นั้นก็จะมีคุณงามความดีอยู่ตลอดทุกวันฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา ก็จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้อยู่ห่างพระพุทธเจ้าเลย เดี๋ยวนี้เราก็ยังนั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าเราเข้าใจธรรมะเมื่อใด เราก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ผู้ใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน อยู่ ณ ที่ใด ผู้นั้นย่อมได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

ในการปฏิบัติธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่ในที่สงบ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต นี้เป็นหลักไว้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ไม่เกิดที่อื่นความดีทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ ความชั่วทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ พระพุทธเจ้าจึงให้สังวรสำรวมให้รู้จักเหตุที่มันเกิดขึ้น

ความจริง พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกทรงสอนไว้หมดทุกอย่างแล้ว เรื่องศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดีตลอดจนข้อประพฤติปฏิบัติทุกประการก็ทรงพร่ำสอนไว้หมดทุกอย่าง เราไม่ต้องไปคิด ไปบัญญัติอะไรอีกแล้วเพียงให้ทำตามในสิ่งที่ท่านทรงสอนไว้เท่านั้น นับว่าพวกเราเป็นผู้มีบุญ มีโชคอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบหนทางที่ท่านทรงแนะทรงบอกไว้แล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมไว้ให้เรา แล้วก็เชิญให้พวกเราทั้งหลายไปกินผลไม้ในสวนนั้น โดยที่เราไม่ต้องออกแรงทำอะไรในสวนนั้นเลย เช่นเดียวกับคำสอนในทางธรรม ที่พระองค์ทรงสอนหมดแล้ว ยังขาดแต่บุคคลที่จะมีศรัทธาเข้าไปประพฤติปฏิบัติเท่านั้น

ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้

ถ้าหากเราคิดไม่ถูก ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็จะกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นยักษ์ เป็นผี เป็นสารพัดอย่าง มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? ก็ขอให้มองดูในจิตของเราเอง

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความหลงเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !

สภาวะทั้งหลายเหล่านี้แหละ มันเป็นภพ แล้วก็เป็นชาติ เป็นความเกิดที่เป็นไปตามสภาวะแห่งจิตของตน

บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2558 22:57:51 »

เป้าหมายชีวิตของทุกคน คือต้องการพบกับความสุขความสมหวังที่ใจปรารถนา แต่ทุกสิ่งจะสมประสงค์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานหรือการวางรากฐานของชีวิตให้ดีงามให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา + ภาวนา มีการให้ทาน เพื่อลด ละความตะหนี่ที่มีอยู่ในใจของแต่ละคน ลดละความโลภ โกรธ หลง มีชีวิตที่พึ่งพอดี พอเป็น พอใจ พอเพียง  ย่อมพบกับความสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤษภาคม 2558 23:00:40 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2558 05:15:06 »

กราบนมัสการ พระอาจารย์
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2558 12:42:53 »

สิ่งใด้เกิดแต่เหตุสิ่งนั้นย่อมดับด้วยเหตุ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาก็ต้องตามระลึกดูว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์มันคืออะไร ให้ใช้สติ ปัญญา แก้ไขไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก เฝ้าคอยรักษาใจของเรา ไม่ให้มันคิดปรุงแต่งไปตามกระแสของโลก ของค่านิยมสั่งคมมากเกินความจำเป็น เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ในเวลาต่อมา เช่นคิดอยากได้นั้นอยากได้นี้จนเกิดทุกข์ ถ้าอยากน้อยก็ทุกข์น้อยอยากมากก็ทุกข์มาก บางคนถึงขนาดชกชิงวิ่งราวเพราะคิดต้องการอยากได้ของๆคนอื่นมากเกินไปจนขาดสติปัญญาพิจารานา ผลที่ตามมาคืออาจถูกตำรวจจับติดคุก หรือถูกสังคมประนามอันเป็นสาเหตุให้ทุกข์เกิดเป็นต้น ไม่มีอะไรเกิดมาโดยไม่มีเหตุ เมื่อทำเหตุให้ดีผลที่ได้รับก็จะดีตามด้วย  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พฤษภาคม 2558 12:17:42 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2558 12:35:49 »

ให้ตามดูความโกรธของตัวเองนั้นแระดี ถ้ารู้ว่ากำลังโกรธหรือไม่พอใจคนอื่นที่มาพูดจาหรือมาทำให้อารมณ์ของเราเริ่มขุ่นมัว ให้ใช้ธรรมะหลักธรรมคำสอนมาระงับมาแก้ไขความโกรธนั้นเสีย ความโกรธมีแต่ให้โทษไม่ให้ประโยชน์อะไรเลยลมหายใจที่เคยหายใจได้ยาวแล้วมีความสุข เมื่อความโกรธเกิดมีขึ้นลมหายใจที่ว่ายาวๆเย็นและมีความสุขก็หายใจสั้นเหมือนคนกำลังขาดอากาศหายใจ ทำให้เกิดความร้อนรุ่มมีแต่ความทุกข์เพราะความไม่ชอบใจในสิ่งที่มากระทบอารมณ์ ถ้าเราฝึกระงับความโกรธเสียได้ก็เท่ากับเป็นการยกระดับจิตและอารมณ์ให้ใสสะอาดขึ้นเข้มแข็งมากขึ้น
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2558 10:35:56 »

มองธรรมชาติให้เป็น ธรรมชาติมันสอนเราให้เราได้รู้ถึงสภาวะของโลกของความเป็นไปที่เป็นจริงอยู่เสมอ เพียงแต่เราไม่ได้สนใจธรรมชาติมัน ไม่ได้พิจรานาตามที่เห็นเวลาธรรมชาติมันบอกหรือแสดงให้เราดูถึงความเปลี่ยนไป ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั่งอยู่ ดับไป ประดุจดังใบไม้ที่แตกใบออก งอกงาม วันหนึ่งก็แก่และร่วงโรยหล่นลงไปบนพื้นดินกลับคืนสู่สะภาพเดิม แม้ร่างกายของเราก็ไม่ต่างจากใบไม้ที่วันหนึ่งก็ต้องมีความแก่ชราและเสื่อมสะภาพ ธาตุทั่งสี่ทีมารวามตัวกันขึ้นเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องแตกสหลายคืนสู่สภาวะเดิมเหลือแต่ดวงจิตที่ยังอยู่กับเราถ้าจิตถูกฝึกมาดีในขณะยังมีรูปกายอาศัยอยู่ เมื่อกายแตกดับจิตย่อมไปสู่สุคติภพใหม่ที่ดี แต่ถ้าดวงจิตเศร้าหมองทุกคติก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้นั้น เมื่อธรรมชาติมีอยู่ก็เรียนรู้จากธรรมชาติ เพราะธรรมชาติก็คือธรรมะนั้นเอง
 เลือดพุ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2558 10:39:04 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2558 19:21:29 »



บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.242 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 10 พฤศจิกายน 2566 22:20:34