[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:01:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป่าตะโกน! เขื่อนแม่วงก์ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือ?  (อ่าน 9010 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 กันยายน 2556 17:56:39 »

.


ท่วมเร็ว แห้งเร็ว
น้ำท่วมอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ : ภาพ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

ป่าตะโกน!
เขื่อนแม่วงก์ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือ?

การเดินเท้าคัดค้านรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ที่เรียกย่อๆ ว่า EHIA จบลงไปแล้ว อย่างที่หลายคนคงได้เห็นกันบ้างอย่างที่อาจไม่เชื่อสายตาว่าการรณรงค์ของ “ไอ้พวกนักอนุรักษ์” ที่ไม่มีสื่อกระแสหลักรายไหนเล่นด้วยอย่างจริงจัง กลับยิ่งใหญ่ได้ถึงปานนั้น

แน่นอนว่าถึงแม้การเดินเท้าจบลงไปแล้ว แต่เอาเข้าจริงมันเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น  หลังเสร็จสิ้นการเดินเท้าทางไกลไปแล้ว มีลูกติดพันตามมาอีกหลายอย่างที่ยังคงอยู่ในแวดวงความสนใจของผู้คน
  
เริ่มมีสื่อกระแสหลักลงมาเล่นด้วยบ้างทั้งแบบขอไปทีหรือแบบจริงจัง  แต่ยุคข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์นี่ ประมาทไม่ได้จริงๆ ข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ เกี่ยวกับแม่วงก์ยังคงทยอยออกมาอย่างไม่ขาดสาย และมีหลายแง่มุมน่าสนใจ

ย้อนไปในระหว่างที่กำลังเดินเท้ารณรงค์กันอยู่นั้น น้ำก็ถล่มเมืองไทยไปทั่วทุกสารทิศ

หนึ่งในพื้นที่ที่โดยน้ำท่วมไปด้วยก็คือ อำเภอลาดยาว  จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่เป็นตัวอ้างสำหรับการสร้างเขื่อน  มีน้ำทะลักเข้าท่วมจริงสักราววันที่ ๒๒ กันยายน  มีคนพยายามประโคมข่าวนี้ แต่วันสองสามวันน้ำก็แห้งหายไป   เรื่องนี้แม้แต่คนในพื้นที่อย่างกำนันโต ซึ่งแม้จะเป็นคนต้องการเขื่อนแม่วงก์ที่ไปออกโทรทัศน์ช่องคมชัดลึกเมื่อปีสองปีก่อนแกก็รู้

เอาละครับ ถึงอย่างไรมันก็ท่วมแม้จะท่วมแบบธรรมชาติสองสามวันก็แห้งไปก็ตาม คำถามที่ตามมาซึ่งต้องทำให้กระจ่างคือ แล้วน้ำที่เข้าไปท่วมลาดยาวมาจากไหน

ที่จริงเรื่องนี้มีข้อมูลที่ฝ่ายค้านการสร้างเขื่อน เอามาชี้ให้เห็นไว้นานแล้วว่า น้ำจากแม่วงก์ลงไปที่ลาดยาวนั้นมาจากลำน้ำสายเดียว ท่ามกลางน้ำอีกสิบกว่าสาย คิดเป็นสัดส่วนก็เพียง ๑๐-๒๐% เท่านั้น

การสร้างเขื่อนกั้นน้ำบริเวณเขาสบกกจึงแทบไม่ช่วยกันน้ำให้เข้ามาที่อำเภอลาดยาวได้มากนัก

มีแผนที่ภูมิศาสตร์ที่แสดงให้เห็นเส้นทางของน้ำและแม่น้ำบริเวณนี้ด้วยนะครับ แต่เนื้อที่ในคอลัมน์ไม่อำนวยให้ก็เลยขอให้ท่านผู้อ่านไปหาเอาทางอินเตอร์เน็ตแทน

ข้อมูลเรื่องนี้หักล้างเรื่องเขื่อนแม่วงก์ช่วยป้องกันน้ำท่วมอำเภอลาดยาวได้เป็นอย่างดี มิพักต้องพูดถึงการช่วยกักน้ำไว้ไม่ให้มารวมตัวกันท่วมกรุงเทพมหานครด้วยซ้ำ

เพราะบริเวณน้ำจากตรงนั้นเท่าที่อ้างกันจะคิดเป็นสัดส่วนเพียง ๑%  ของมวลน้ำทั้งหมด

แปลว่ามันช่วยป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ และก็ไม่ได้จะช่วยเรื่องการชลประทานด้วย เพราะไม่ได้สร้างมาเพื่อการชลประทาน เหมือนอย่างที่คุณปลอดประสพ สุรัสวดี บอกผ่านสื่อมวลชนเอาไว้เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาว่าเขื่อนแม่วงก์นั้น “หลักคือการป้องกันน้ำท่วม เพราะแม่น้ำสะแกกรังที่ออกมาจากแม่วงก์ไม่มีการควบคุม ทำให้ปีหนึ่งจะมีน้ำหลากเต็มที่ ๓ เดือน พีกอยู่ที่ ๘๐๐ คิวเซก ทำให้เขื่อนชัยนาทไม่สามารถบริหารจัดการได้  ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือต้นน้ำเพื่อระงับความเสียหาย”

ตัวเลขที่คุณปลอดประสพพูดถึงมีหน่วยเป็นคิวเซกอาจชวนให้งง

คิวเซกคือหน่วยวัดปริมาณน้ำ ในที่นี้คือลูกลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  นั่นหมายความว่าจากตัวเลขของคุณปลอดประสพมีปริมาณน้ำออกมาจากแม่วงก์ ๘๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงปริมาณน้ำสูงสุด ซึ่งทำให้จัดการไม่ไหว ต้องเอาเขื่อนแม่วงก์ไปกักน้ำไว้ เพื่อจะบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ...ว่างั้น

แต่ก็อย่างที่บอกตอนต้นว่าฝ่ายอนุรักษ์ที่ทำงานในพื้นที่มายาวนานนับสิบๆ ปีชี้ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วน้ำจากแม่วงก์นั้นเป็นเพียงส่วนน้อย  ก็เลยมีนักวิชาการพยายามจะไขปัญหาว่าไอ้เจ้า ๘๐๐ คิวเซก ที่คุณปลอดประสพแกอ้างนั้นเป็นน้ำจากที่ไหนกันแน่

ดร.นณณ์  ผาณิตวงศ์ ให้ข้อมูลไว้ในเว็บ siamensis.org (โดยอาศัย ข้อมูลน้ำจากเว็บไซต์ ของสถาบันสารสนเทศทรัพยาการน้ำและการเกษตร เข้าเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๔๐ น.) ว่า

“ตัวเลขที่ใกล้เคียงที่สุด เป็นอัตราการไหลของลำน้ำแม่วงก์ที่บริเวณสถานีวัดที่บ้านปางมะค่า (ดูภาพประกอบ สีเขียวขวาสุด)  ซึ่งมีปริมาณน้ำหลากสูงสุดอยู่ที่ ๗๘๗ คิวเซก ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขที่มีการอ้างถึง จะเห็นว่าสถานีนี้ อยู่ทางฝั่งตะวันออกของเขาชนกัน (เขาชนกัน ก็คือที่เห็นเป็นแนวสีเขียวๆ วิ่งตามแนวเหนือใต้นะครับ มันจะมีช่องตรงกลางให้น้ำแม่วงก์ไหลผ่าน) ซึ่งน้ำในบริเวณนี้จะไหลจากเหนือเฉียงลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวลูกศรชี้จึงจะเห็นได้ว่าน้ำในบริเวณสถานีบ้านปางมะค่า นั้นได้รับน้ำมาจากทุ่งน้ำหลากทั้งทางด้านตะวันตกและออกของเขาชนกันด้วย”

และบริเวณเขาชนกันซึ่งใกล้ปางมะค่าตัวเลขสูงสุดวัดได้ ๔๐๐ คิวเซกเท่านั้น

ขณะที่บริเวณเขาสบกกซึ่งเป็นบริเวณที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ห่างออกไปมากทางตะวันตก และไม่ได้มีส่วนที่จะกั้นน้ำ ๘๐๐ คิวเซก ตามที่อ้างได้เลย ดูจากแผนที่ก็จะเห็นว่ามันอยู่กันคนละทิศ ดูจากแผนที่ทางน้ำก็จะเห็นชัดขึ้นอีกว่ามีน้ำจากลำน้ำอื่นๆ อีกเพียบ

นี่แหละครับการปะทะกันด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเกิดขึ้นตามมาหลังการเดินเท้าทางไกล โดยอาศัยเวทีออนไลน์เป็นสถานที่ในการเผยแพร่ข้อมูลแทนการพึ่งพาสื่อกระแสหลัก
ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์

คัดจาก : คอลัมน์ แลไปข้างหน้า “สมรภูมิเขื่อนแม่วงก์  สงครามข้อมูลออนไลน์ ไขปริศนาน้ำท่วมลาดยาว”  โดย ศิรพงษ์  วิทยวิโรจน์  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้า ๑๐๑ ฉบับประจำวันที่ ๒๗ กันยายน – ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖





เขื่อนเจ้าพระยา  จังหวัดชัยนาท : ภาพ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2556 07:20:07 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2557 18:20:54 »

.


• ภาพ : พื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นหัวงานเขื่อนแม่วงก์

เปิดอีกผลกระทบ-ไม่คุ้ม ข้อเสีย"เขื่อนแม่วงก์"

แม้ "กระแสกรีน" เรื่อง "เขื่อนแม่วงก์" มาอย่างวูบวาบและก็หายไปดื้อๆ ภายหลังการสิ้นสุดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แต่กระบวนการตรวจสอบเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เฝ้าจับตามอง เฝ้าระวังของกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อไม่นานมานี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียรและเครือข่าย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเสวนาความ คืบหน้าการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยเชิญหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลากหลายมิติ

โดยโครงการเขื่อนแห่งนี้ เกิดจากกรมชลประทานมีแนวคิดพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรังใน ปีพ.ศ. ๒๕๒๗ นับจากนั้นมาเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เคยผ่านการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลายครั้ง แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

จนกระทั่งวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕  มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ ใช้งบประมาณ ๑๓,๒๘๐ ล้านบาท เวลาก่อสร้าง ๘ ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒

หลังจากนั้นคณะกรรมการผู้ชำนาญการให้กรมชลประทานแก้ไขรายงานอีกหลายครั้ง โดยเนื้อหาที่ให้ปรับปรุงแก้ไขลดน้อยลงเรื่อยๆ

องค์กรเครือข่ายอนุรักษ์ฯ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น ชะลอการนำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการ แต่ไม่มีความคืบหน้า

จนเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นพิจารณาข้อมูลทางวิชาการในแต่ละด้าน

โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์นำไปสู่การตั้งคำถามและการถกเถียงในเชิงวิชาการเกี่ยวกับ ๑. ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศ ป่าไม้ และประชากรสัตว์ป่าหายาก เช่น เสือโคร่ง พันธุ์ปลาบางชนิด และพื้นที่ป่าลักษณะพิเศษที่พบเฉพาะในลุ่มน้ำแม่วงก์

และ ๒.ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับประโยชน์ของการสร้างเขื่อน ที่กรมชลประทาน หรือฝ่ายสนับสนุนอ้างว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยในเขต อ.แม่วงก์ และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์


   ดังนั้น ประเด็นการสร้างเขื่อนส่งผลกระทบกับระบบนิเวศและสัตว์ป่านั้น ไม่เป็นที่สงสัย แต่เมื่อมีเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ทำให้เกิดคำถามว่าสิ่งที่ต้องแลกกันนั้นคุ้มค่าหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผลงานวิจัยออกมาย้ำว่า การสร้างเขื่อนแม่วงก์อาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์กันไว้

นายรพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาและติดตามโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง ร่วมให้ข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ไว้ว่า

เกี่ยวกับผลประโยชน์รับและต้นทุนจ่ายของโครงการเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งประมาณการไปในอนาคตเป็นเวลา ๕๘ ปี แบ่งเป็นเวลาก่อสร้าง ๘ ปี และเวลาที่ได้รับผลประโยชน์จากเขื่อน ๕๐ ปี เมื่อคำนวณแล้วพบว่า สัดส่วนระหว่างผลประโยชน์ที่จะได้รับกับต้นทุนที่จ่ายไปเท่ากับ ๑.๐๑ หมายความว่า จากการลงทุน ๑ บาท เขื่อนแม่วงก์จะทำกำไรกลับมาเพียง ๑ สตางค์เท่านั้น

รพีพัฒน์ชี้ด้วยว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์มีมูลค่าต้นทุนทั้งสิ้น ๘,๓๒๘.๙๕ ล้านบาท ประกอบด้วยค่าการก่อสร้างร้อยละ ๗๐ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของป่าไม้ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ ๒๐ และค่าบำรุงรักษาเขื่อนและค่าเวนคืนที่ดินอีกร้อยละ ๑๐

ขณะที่ผลประโยชน์ที่จะได้รับส่วนใหญ่มาจากการเกษตร แบ่งเป็นการปลูกพริก ร้อยละ ๔๓ ปลูกข้าวและอ้อย ร้อยละ ๓๒ รวมกันร้อยละ ๗๕ ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมากสำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ในขณะที่ความสามารถในการแก้ปัญหาน้ำท่วมมีเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น

"นี่ยังไม่รวมผลประโยชน์ที่ไม่น่าพึงพอใจ คือมูลค่าของต้นไม่ที่ถูกตัดออก คิดเป็นจำนวนเงินกว่าพันล้านบาท และหากคำนวณกรณีที่โครงการล่าช้าออกไป ๒ ปี หมายถึงเริ่มก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในปี ๒๕๕๗ หรือปัจจุบัน โครงการจะขาดทุนสูงถึง ๑,๕๔๑.๑๐ ล้านบาท และได้อัตราผลตอบแทนต่อปีไม่ถึงเป้าที่คาดหวัง ดังนั้น หากก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในปีนี้ หรือหลังจากนี้ จะยิ่งเห็นชัดว่าเงินภาษีกำลังถูกใช้จ่ายไปในโครงการที่ขาดทุน" นายรพีพัฒน์กล่าว

ขณะที่ นายสมฤทัย ทะสดวก อาจารย์ภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลในแง่ผลกระทบ ว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลุ่มน้ำแม่วงก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำย่อยสะแกกรัง นอกจากส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่เองแล้ว ยังกระทบต่อลำน้ำใหญ่ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาการขาดน้ำเพื่อการชลประทานในบางช่วงเดือน

นอกจากนี้ การศึกษาศักยภาพลุ่มน้ำสะแกกรัง ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ตามที่ปรากฏในรายงานของกรมชลประทาน พบว่ายังขาดข้อมูลที่รอบด้านเกี่ยวกับโครงสร้างทางวิศวกรรม ประสิทธิภาพในการบรรเทาน้ำท่วม การพิจารณาโครงข่ายน้ำระดับชุมชน และประเด็นการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในการบริหารจัดการน้ำ

"การแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่จำเป็นต้องรอเขื่อน แต่จำเป็นต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและ ลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนข้างเคียง เรื่องของชุมชนเป็นสิ่งที่เพิกเฉยไม่ได้ และเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่เหล่านี้ก็ควรบรรจุอยู่ในรายงานอีเอชไอเอ (การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ) ด้วย

การจัดการน้ำในแม่วงก์ หรือลุ่มน้ำอื่นๆ ทั่วประเทศไทยเป็นเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ที่สับสนวุ่นวาย แต่ถ้าเราเริ่มวันหนึ่งย่อมเกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบ และมันจะอยู่กับเราตลอดไป" อาจารย์สมฤทัยกล่าว

ข้อมูลของอาจารย์สมฤทัย สอดคล้องกับมูลนิธิสืบฯ ที่หักล้างแนวคิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วย โดยระบุว่าจากการเดินสำรวจเส้นทางน้ำแม่วงก์ของคณะวนศาสตร์ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่ดูพิกัดน้ำ ๓๐๐ จุด รวมระยะทางมากกว่า ๓๐ กิโลเมตร สำรวจเส้นทางน้ำเข้าและออกในพื้นที่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์

พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม เกิดจากการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่เป็นระบบ อาทิ ก่อสร้างถนนรุกล้ำลำน้ำ การทิ้งขยะในลำน้ำ การถมที่สร้างคันป้องกันน้ำท่วมนาข้าว คูคลองที่ทำหน้าที่ระบายน้ำตื้นเขิน และการใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่เหมาะสม

ดังนั้น หากชุมชนสามารถเปลี่ยนวิธีการจัดการ และปรับปรุงโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น ปรับขนาดท่อลอดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อการระบายน้ำที่ดีขึ้น ทุบรื้อฝายที่ใช้การไม่ได้แล้วออก เคลียร์ลำน้ำ หรือเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกในฤดูน้ำหลาก ก็อาจเป็นทางหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างใหม่

ส่วน น.ส.มิ่งขวัญ นันทวิสัย นิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งในผู้สนใจโครงการเขื่อนแม่วงก์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งใช้พื้นที่เทศบาลตำบลลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ เป็นกรณีศึกษา

ร่วมระบุว่าการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ควรตั้งต้นจากการทำความเข้าใจสภาพพื้นที่ทั้งหมด และมนุษย์ต้องปรับตัวเองโดยไม่ฝืนธรรมชาติ เข้าใจวัฏจักรของน้ำ และอาศัยความรู้ด้านการวางผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมเข้าช่วย เช่น ก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยแบบยกสูง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในฤดูน้ำหลาก ไม่สร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ

รวมไปถึงทำสวนหย่อมทดแทนการเทพื้นคอนกรีตบนทางเท้า หรือเกาะกลางถนน เพื่อการซึมซับและกักเก็บน้ำฝนที่ดีกว่า สร้างฝายกั้นน้ำที่สัตว์น้ำ หรือตะกอนดินเคลื่อนที่ตามธรรมชาติได้

หรือปล่อยให้มีพื้นที่น้ำท่วมทุ่งในบางพื้นที่ โดยปรับวิถีการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม เพราะการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติจะเป็นหนทางให้เราไม่ต้องประสบกับภัยธรรรมชาติที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นไม่รู้จบ

เป็นข้อท้วงติงผลกระทบของเขื่อนแม่วงก์ ที่รัฐบาลในอีกไม่กี่วันข้างหน้าต้องตระหนักหากจะสร้าง



ภาพและข้อมูล : รายงานพิเศษ - เปิดอีกผลกระทบ-ไม่คุ้ม ข้อเสีย"เขื่อนแม่วงก์" โดย ปรวรรณ วงษ์รวยดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า ๒๑ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.365 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 ชั่วโมงที่แล้ว