[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 15:27:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำบอก "เวลา" ในภาษา สำนวนไทย  (อ่าน 8326 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 ตุลาคม 2556 16:26:49 »

.

พระอาทิตย์ชักรถ

 
คำบ่งบอก “เวลา”  ในภาษาสำนวนไทย[/center]

ถ้อยคำเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในภาษา สำนวนไทย และในวรรณคดีไทยนั้น แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต  บางคำคนเฒ่าคนแก่ที่เจ้าสำบัดสำนวนใช้กัน  และบางคำก็เกิดจากความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย  

ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “เที่ยงนางกลางคืน”  คำๆ นี้มีปรากฏในเรื่อง นิราศหนองคาย  ความว่า
     “คนกองทัพวิบัติอัศจรรย์                 เกิดปัจจุบันโรคร้ายเป็นหลายคน
     ท่านเจ้าคุณแจ้งความตามระบอบ        จึงประกอบยาละลายกระสายฝน
     ตามตำราหมอด้วงแก่แก้อับจน           ท่านสู้ทนนั่งปรุงบำรุงยา
     แล้วก็ให้อนุญาตประกาศสั่ง              ว่าทีหลังใครป่วยไข้ให้มาหา
     เพราะใจท่านอารีมีเมตตา                ตั้งรักษาเป็นธุระไม่ละเลย
     ถึงเที่ยงนางกลางคืนคนตื่นหลับ       คนกองทัพป่วยไข้มิได้เฉย
สั่งให้ปลุกทุกครั้งเหมือนดังเคย          ไม่เสบยบอกเราเอาอาการ”

และจากเรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ตอนที่ท้าวประดูขับไล่นางประแดะ นางผัดผ่อนอ้อนวอนสามี ความว่า
     “เที่ยงนางกลางคืน” พ่อทูนหัว  
     จะให้ออกนอกรั้วลูกกลัวผี
     ก้นไต้ก้นไฟก็ไม่มี
     ผัดรุ่งพรุ่งนี้เถิดพ่อคุณ”

คำว่า เที่ยงนางกลางคืน เป็นการสร้างคำโดยใช้คำอุทานเสริมบทเพิ่มลงตรงกลางระหว่างคำ เพื่อต่อถ้อยเสริมคำให้ยาวขึ้น เพื่อให้เป็นสะพานเสียงทอดสัมผัสระหว่างคำหน้ากับคำหลัง แต่ไม่ต้องการความหมายที่เสริมเข้าไปนั้น เช่น เที่ยงนางกลางคืน วัดวาอาราม ลูกเต้าเหล่าใคร ผ้าผ่อนท่อนสไบ คำว่า นาง วา เต้า ท่อน เป็นคำเสียงสอดลงไปให้เกิดเสียงสัมผัส แต่ไม่มีความหมายเพิ่มขึ้นมาจากคำหลัก เที่ยงนางกลางคืน คำหลักที่มีความหมายคือ เที่ยงคืน และกลางคืน จึงแปลได้ว่า กลางคืน ดึกมาก หรือเที่ยงคืนนั่นเอง

คนไทยแต่ก่อน การวัดหรือบอกช่วงระยะเวลาโดยอาศัยกิจวัตรที่ทำเป็นประจำเป็นเกณฑ์อาจจะของคนหรือของสัตว์ก็ได้  คำเหล่านี้เมื่อผ่านกาลเวลามาถึงยุคปัจจุบันซึ่งวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป  บางครั้งความหมายก็จะเลือนหรือกลายไป หรืออาจสื่อไม่เข้าใจความหมายคำที่ใช้ เช่น บ่ายควาย ชั่วธูปไหม้ ๑ ดอก ชั่วหม้อข้าวเดือด หรือชั่วหม้อข้าวสุก ชั่วเคี้ยวหมากแหลก  ชั่วนาตาปี เข้าใต้เข้าไฟ ไก่โห่ ไก่ขัน และไก่ขึ้นรัง เป็นต้น

บ่ายควาย  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “น. เวลาไล่ควายกลับบ้าน เวลาเย็น เวลาจวนค่ำ” ทั้งนี้ คำนี้ได้มาจากการทำนาของคนไทย เวลาบ่ายประมาณ ๑๕.๐๐ นาฬิกา จะเป็นช่วงเวลาที่ชาวนาปล่อยควายไปกินหญ้า

สำนวนเกี่ยวกับเวลาที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าชั่ว นั้นหมายถึงช่วงระยะเวลาในการทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่ว แปลว่า ตลอด สิ้น อายุ จะถือว่าเป็นการวัดเวลาแบบไทยประเพณีหรือวัดเวลาอย่างไทยก็ได้

ชั่วธูปไหม้ ๑ ดอก   เป็นการวัดระยะเวลาโดยการจุดธูปจนมอดไหม้หมดดอกหนึ่ง ซึ่งในการสอบไล่หนังสือพระแต่ก่อน จะมีการใช้ธูปเป็นเครื่องวัดเวลา หากธูปที่จุดไว้นั้นดับหรือไหม้หมดดอก พระที่เข้าสอบยังแปลไม่เสร็จ ถือว่าสอบตก

ชั่วหม้อข้าวเดือดหรือชั่วหม้อข้าวสุก คือกำหนดเอาเวลาในการหุงข้าวสวยสุกหม้อหนึ่งเป็นเกณฑ์ (อยู่ในราว ๒๐ นาทีโดยประมาณ)

ชั่วเคี้ยวหมากแหลก  กำหนดเอาเวลาการเคี้ยวหมากคำหนึ่งแหลกละเอียดดี

ชั่วนาตาปี  แปลว่า ตลอดปี มีที่มาจากระยะเวลาในการทำนาปีของคนไทย ในปีหนึ่งจะทำนาปีได้ ๑ ครั้ง ชั่วนาตาปีจึงหมายถึงระยะเวลาตลอดทั้งปี

สำนวนเหล่านี้ปัจจุบันยังมีใช้อยู่และมีปรากฏในวรรณคดีไทย เช่น สำนวน หม้อข้าวเดือด มีพบในเรื่องพระอภัยมณี ความว่า
“แต่คอยท่ากว่าสามหม้อข้าวสุก  ไปเที่ยวซุกซ่อนเร้นไม่เห็นหาย”

เข้าไต้เข้าไฟ  แปลว่า พลบค่ำ เริ่มมืด ซึ่งที่มาของคำมาจากที่สมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พอเวลาเริ่มมืดค่ำก็จะมืดแสงสว่างน้อยลง ต้องอาศัยการจุดไต้จุดตะเกียงเพื่อให้ความสว่าง

ไก่โห่ ไก่ขัน ไก่ขึ้นรัง  สำนวนเหล่านี้มาจากพฤติกรรมของไก่ ไก่โห่ กับไก่ขัน แปลว่า เวลารุ่งสาง ส่วนไก่ขึ้นรัง แปลว่า ยามเย็นใกล้ค่ำ เวลาโพล้เพล้ที่ไก่จะขึ้นรังนอน

สำนวนเกี่ยวกับเวลาอันเนื่องมาจากกิจวัตรที่ทำประจำหรือเรื่องธรรมดาสามัญที่ทำบ่อยจนเป็นที่รู้กันดีแต่ก่อน สำนวนหนึ่งที่น่าสนใจ จากเรื่องพระอภัยมณี แต่ยังไม่พบว่ามีใช้ที่อื่นใดอีก คือสำนวนว่า “ค้างมรสุม”

ค้างมรสุม แปลว่า นานมาก รอนานมาก เหมือนกับเรือสินค้าหรือคนที่เดินทางไปยังที่ใดที่หนึ่งแล้วเดินทางต่อไปหรือกลับมาไม่ได้เพราะติดมรสุม ต้องรอให้หน้ามรสุมหมดเสียก่อนจึงเดินทางต่อไป ความว่า
“ขอเล่นนอกหยอกเอินพอเพลินพลาง    อย่าให้ค้างมรสุมเลยพุ่มพวง
น้อยหรือน้องสองแก้มดูแย้มยิ้ม           พี่ขอชิมโฉมงามอย่าห้ามหวง
ให้เห็นแท้แน่ว่าไม่มาลวง                  ช่วยเสียขวงเสียสักหน่อยเถิดกลอยใจ”

คำบอกเวลาอย่างไทยที่บอกโดยอาศัยปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือช่วงเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย ค่ำ รุ่ง พรุ่ง พรุ่งนี้ แดดนาย แลง วัน คืน เดือน หวันฉาย ผีตากผ้าอ้อม ปักษ์ ชั้นฉาย ฯลฯ คำเหล่านี้ส่วนใหญ่กำหนดเอาการโคจรและปรากฏการณ์อันเกิดจากการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นสำคัญ ในกลุ่มคำที่ยกมา มีคำที่น่าสนใจ ดังนี้

แดดนาย แปลว่า แสงแดด  โดยมีคำว่านาย เป็นคำสร้อยเสริมบท แต่คำนี้พบว่ามีที่ใช้ในความหมายว่า แดดแรง แดดจัด ซึ่งคงหมายเอาความว่า นาย มาจากคำว่า เจ้านาย



ปักษ์  โดยรูปศัพท์ ปักษ์ แปลว่า ฝ่าย พวก ข้าง เมื่อนำมาใช้กับเวลา คำว่าปักษ์จะหมายถึง กึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่งของเดือนทางจันทรคติ เดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน ครึ่งหนึ่งของเดือนหรือปักษ์หนึ่งจึงมี ๑๔ วัน เดือนหนึ่งจะแบ่งออกเป็นสองปักษ์ คือ ข้างขึ้น เรียกว่า ศุกลปักษ์ หรือฝ่ายขาว  ฝ่ายสว่าง ศุกล แปลว่า สุกใส สว่าง ขาว บริสุทธิ์ และข้างแรม เรียกว่า กาฬปักษ์ หรือ ฝ่ายดำ หรือ เดือนมืด ซึ่งคำว่าปักษ์นี้ ปรากฏว่ามีผู้เข้าใจผิดไปว่า ปักษ์แปลว่า ๑๕ หรือ ๑๕ วัน เนื่องจากเห็นว่า ปักษ์หนึ่งมี ๑๕ วันนั่นเอง
ชั้นฉาย คำว่าชั้นฉาย เป็นการวัดระยะเวลา “เหยียบชั้น” หรือบอกช่วงเวลาแบบไทยประเพณี ที่เรียกว่า “เหยียบชั้น” การเหยียบชั้น คือการเอาเท้าวัดเงาส่วนสูงของคนที่ยืนอยู่กลางแดดว่ามีความยาวกี่ช่วงเท้า ความยาวของเงา ๑ ช่วงเท้าที่ประทับลงกับพื้นเพื่อวัดเงาของคนที่ทอดลงบนพื้น เรียกว่า๑ ชั้นฉาย หากวัดได้ ๒ ช่วงเท้า เรียกว่า ๒ ชั้นฉาย

ซึ่งมาตราวัด “เหยียบชั้น” แบบไทยประเพณีนั้น กำหนดพิกัดมาตราไว้ ดังนี้
     ๑๐ อักษร              เป็น ๑ เมล็ดงา
      ๔ เมล็ดงา            เป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก
      ๔ เมล็ดข้าวเปลือก  เป็น ๑ องคุลี
     ๑๕ องคุลี             เป็น ๑ ชั้นฉาย

ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน บอกว่า ขุนแผนเกิดตกฟากเวลาสามชั้นฉาย นั่นคือเวลาขุนแผนเกิดเป็นเวลาที่เงาคนที่ยืนกลางแดดทอดลงบนพื้น แล้วเอาเท้าวัดได้สามช่วงเท้า   และมีเรื่องราวที่น่าสนใจนำมากล่าวไว้ด้วยคือ เวลาเกิดของขุนแผนนั้น กล่าวว่าเกิด “ปีขาลวันอังคารเดือนห้า” นั้น วันอังคารเดือนห้าในทางโหราศาสตร์ ถือว่าเป็นวันแข็ง ศัตรูทำอะไรไม่ได้ แม้จะมีอุปสรรคก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้  ในตำราพรหมชาติบอกว่า “ผู้เกิดปีขาล เดือน ๕, เดือน ๖, เดือน ๗ ตกเสือดาวธาตุไม้แข็ง ทำราชการจะได้เป็นมนตรี  ตกยามที่หนึ่ง ทำสวนไร่นา ค้าขาย พอดี เจรจาซื่อสัตย์ดีนัก”    ตัวละครอีกตัวหนึ่งที่เกิดปีขาลวันอังคาร ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีและเป็นมนตรี รับราชการเช่นกัน คือหนุมาน ซึ่งเกิด “ปีขาลวันอังคารเดือนสาม”

นอกจากนี้ ในบทกลอนยังบอกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ คือ ฤกษ์เกิดของขุนแผนตรงกับเมื่อพระเจ้ากรุงจีนนำเอาเพชรอันมีค่ามาถวายพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในที่นี้คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งโปรดให้นำไปบรรจุไว้ปลายยอดเจดีย์วัดเจ้าพระยาไทย หรือ วัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งสร้างมาครั้งทรงชนะศึกเมืองหงสาวดี

ส่วนคำว่า โมง ยาม และ ทุ่มนั้น ขออธิบายโดยยกข้อความจากลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ทรงมีถึงพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพิทยาลงกรณ์ ความว่า

“ขอให้สังเกตกลอนในมูลบทบรรพกิจ ท่านแบ่งเวลาไม่ตรงกับนาฬิกากล

     ๑. วันหนึ่งแบ่งเป็นสองภาค เป็นกลางวันครึ่งหนึ่ง กลางคืนครึ่งหนึ่ง
     ๒. วันกับคืนนั้น แบ่งเป็น ๘ ยาม คือ กลางวัน ๔ ยาม กลางคืน ๔ ยาม
     ๓. ยามหนึ่งเป็น ๓ ชั่วโมง กลางวันเรียกว่า โมง กลางคืนเรียกว่าทุ่ม  ข้อนี้สมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์ฯ ทรงสันนิษฐานว่ากลางวันเขาคงตีด้วยฆ้อง กลางคืนเขาคงตีด้วยกลอง ตามที่ทรงสันนิษฐานเช่นนี้เห็นชอบด้วยนัก
     ฆ. โมงหนึ่งแบ่งเป็น ๑๐ บาท ตกเป็นบาทหนึ่ง ๖ นิมิตแห่งนาที
     ง. นาทีหนึ่งแบ่งเป็น ๔ เพชรนาที ตกนาทีหนึ่งเป็นนิมิต ๑ กับ ๑๐ สกัน แห่งนาฬิกากล
     จ. เพชรนาทีหนึ่งแบ่งเป็น ๖ ปราณ เห็นจะหมายเอาหายใจเข้าหรือออกทีหนึ่งตกเป็นสกันหนึ่งแห่งนาฬิกากล
     ฉ. ปราณหนึ่งแบ่งเป็น ๑๐ อักษร จะหมายถึงเขียนหนังสือหรืออะไรไม่ทราบ ถ้าหมายถึงเขียนหนังสือได้

๑๐ ชั่วหายใจเข้าหรือออกทีหนึ่งเขียนหนังสือ ๑๐ คำ เห็นเร็วเต็มที แม้เอาแต่พยัญชนะก็เห็นไม่ไหวอยู่นั่นเอง”

อธิบายเพิ่มเติม คำว่า ยาม นั้นมีที่มาจากการอยู่ยามตอนกลางคืน ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนเวรยามแต่ละกะๆ หนึ่งเป็นช่วงเวลา ๓ ชั่วโมง
หามรุ่งหามค่ำ  คำว่า หาม ในหามรุ่งหามค่ำ เป็นคำเก่าของไทย (มีปรากฏในมหาชาติคำหลวง) สันนิษฐานได้สองทางคือ ๑. อาจเป็นคำยืมจากภาษาเขมร หามหรือฮาม ในภาษาเขมร แปลว่า รุ่ง เวลาเช้ามืด และ ๒. กาญจนาคพันธ์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือคอคิดขอเขียน ว่า เชื่อว่าคำว่าพระหามเป็นคำไทยดึกดำบรรพ์ น่าจะเป็นคำยืมจากภาษาอียิปต์ แปลว่าพระอาทิตย์ ซึ่งอียิปต์โบราณเรียกพระอาทิตย์ว่า พระฮามาขุอิติ หรือพระหามาขุอิติ (Phra Hamakhuiti) ซึ่งภาษากรีกเขียนเป็น Hamakhis  หามรุ่งหามค่ำ หรือทั้งวันทั้งคืน และว่าการที่ไทยแปลคำ พระหามเป็นเช้ามืด ตลอดจนได้ตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า หาม ฮาม ราม (และคำว่าราที่แปลว่าพระอาทิตย์ของอียิปต์) น่าจะเป็นคำเดียวกันมาจากการนับถือดวงอาทิตย์ของคนโบราณ แต่ก่อนซึ่งเป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายภูมิภาค.


ย่อสรุปจาก : บทความเรื่อง เวลา ในภาษาสำนวนไทย โดย ดาวรัตน์  ชูทรัพย์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.  
                 (หนังสือนิตยสารศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 13:24:24 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กรรมและ - วัน - เวลา
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
sometime 2 2512 กระทู้ล่าสุด 24 มิถุนายน 2553 14:20:17
โดย เงาฝัน
สำนวนไทย ไม่ดูตาม้าตาเรือ
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 820 กระทู้ล่าสุด 22 มกราคม 2563 09:56:24
โดย Kimleng
[ข่าวด่วน] - ธ.ทหารไทยธนชาต แจ้งปิดให้บริการชั่วคราวพรุ่งนี้ เวลา 02.30 – 08.30 น.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 310 กระทู้ล่าสุด 15 มกราคม 2565 12:36:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
[โพสทูเดย์] - “ณ เวลา” ปรับแผนสู้โอมิครอน ชูกลยุทธ์โรงแรมสำนึกบ้านเกิด “ประชุมเที่ยวเรื่องเ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 506 กระทู้ล่าสุด 29 มกราคม 2565 17:46:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - ปิดการจราจรสะพานไทย-เบลเยียม (ฝั่งขาออก) 30 ก.ค. - 5 ส.ค. เวลา 22.00-05.00 น.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 207 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2565 19:03:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.399 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 05:59:48