07 ตุลาคม 2567 03:53:31
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
.:::
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
:::.
หน้า:
1
2
1
[
2
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑) (อ่าน 19629 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
เมื่อ:
25 กันยายน 2553 08:20:06 »
พระประวัติตรัสเล่า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(เริ่มทรงพระนิพนธ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘)
๑. คราวประสูติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ ๔ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระบรมชนกนาถของเรา เจ้าจอมมารดาแพพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าจอมมารดาของเรา ฯ เราประสูติที่ตำหนักหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมุขหลัง ที่เรียกว่าท้องพระโรงหลังถัดโรงละครออกไป ในพระบรมมหาราชวังบฃ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนห้า แรมเจ็ดค่ำ ปีวอกยังเป็นเอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราชที่ใช้ตามธรรมเนียมบัดนี้ ๒๔๐๓ เวลาบ่าย ๑ โมง ๓๖ ลิบดา ตามโหราศาสตร์สยาม พระอาทิตย์สถิตราศีเมษ องศา ๑ เป็นวันเนาวหลังวันมหาสงกราต์ หน้าวันเถลิงศกที่ขึ้นจุลศักราชใหม่ ฯ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ฟังคำผู้ใหญ่เล่าว่า พอเราประสูติแล้วอากาศที่กำลังสว่าง มีเมฆตั้ง ฝนตกใหญ่ จนน้ำฝนขังนองชาลาตำหนัก ทูลกระหม่อมของเราทรงถือเอานิมิตนั้น ว่าแม้นกับคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ ควงไม้ราชายตนพฤกษ์ฝนตกพรำสิ้นเจ็ดวัน มุจลินทนาคราชเอาขนดกายเวียนพระองค์ และแผ่พังพานเหนือพระเศียรเพื่อมิให้ฝนตกถูกพระองค์ ครั้นฝนหายแล้ว จึงคลายขนดจำแลงกายเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนเฝ้าเฉพาะพระพักตร์ จึงพระราชทานนามเราว่า พระองค์เจ้า "มนุษยนาคมานพ" แต่เราได้พบในภายหลังเมื่ออ่านบาลีเข้าใจแล้ว ในบาลีมหาวรรคพระวินัยเล่ม ๑ ตอนทรมานอุรุเวลกัสสปชฎิล คำว่า "มนุสฺสนาโค" หรือ "มนุษยนาค" นั้น เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า คู่กับคำว่า "อหินาโค" หรือ "อหินาค" เป็นคำเรียกพญานาคที่เป็นชาติงู เช่นนี้ คำว่า มนุษยนาค ก็เหมือนคำว่า บุรุษรัตน์ หรือ มหาบุรุษ ที่ใช้เรียกท่านผู้สูงสุดในหมู่มนุษย์คือ พระพุทธเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน ฯ
สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว)
เมื่อเรายังเยาว์ แต่จำความได้แล้ว ได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมไปวัดราชประดิษฐ์เนืองๆ คราวหนึ่งได้ยินตรัสถามสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว(สา)) ครั้งนั้นยังเป็นพระศาสนโสภณว่า คนชื่อคนมีหรือไม่ สมเด็จพระสังฆราชนิ่งนึกอยู่ครู่หนึ่ง แล้วถวายพระพรทูลว่า ไม่มี ทรงชี้เอาเราผู้นั่งอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ว่า นี่แน่ะคนชื่อคน แต่นั้นเราสังเกตว่าทรงพระสำรวล และสมเด็จพระสังฆราชก็เหมือนกัน ฯ แปลชื่อมนุษยนาคมานพ ตามวิกัปต้นว่าหนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน ฯ แต่ศัพท์มคธที่แปลว่าคนหนุ่มนั้นสอบสวนได้แน่ในบัดนี้ว่า "มาณโว" คือมาณพ แต่ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานนั้นเป็น "มานพ" ที่ตรงศัพท์มคธว่า "มานโว" และแปลว่า "คน" หรือ "เชื้อสายของท่านมนุ" ศัพท์สันสกฤตก็เป็นเช่นเดียวกัน แต่ครั้งนั้นหนังสือและภาษาอันเป็นเครื่องสอบสวนยังหามีแพร่หลายเหมือนในกาล บัดนี้ไม่ ฯ แปลตามวิกัปหลังว่า "คนผู้เป็นมุษย์นาค" หรือ "คนผู้เป็นนาคในมนุษย์" ศัพท์ว่านาคในวิกัปนี้ หมายความว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ ฯ เราเป็นพระเจ้าลูกเธอที่ ๔๗ ของทูลกระหม่อม และเป็นองค์ที่ ๔ ของเจ้าจอมมารดาของเรา ผู้มีพระองค์เจ้า ๕ พระองค์ ฯ
จากซ้ายไปขวา
พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา
พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ,พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ เจ้าจอมมารดาของเราถึงแก่กรรม เราจึงจำเจ้าจอมมารดาของเราหาได้ไม่ ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #21 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 16:50:11 »
ครั้นมาถึงยุคเสด็จพระอุปัชฌายะทรงเป็นอธิบดี ทรงจัดประโยคที่จะออกให้แปลเขียนเป็นฉลากเข้าซองผนึกไว้ครบจำนวนที่จะออกได้ จัดลงในหีบตามชั้นให้ผู้แปลจับเอา มอบให้เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้อำนวยการจับ พระราชาคณะบาเรียนผู้เคยออกประโยคกลายมาเป็นผู้เปิดหนังสือมอบให้ผู้แปลไป ธรรมเนียมนี้ยังใช้มาจนถึงยุคเราเป็นอธิบดี ฯ ธรรมเนียมเดิมให้แปล ๓ ลาน ยุคเสด็จพระอุปัชฌายะลดลงเพียง ๒ ลาน ฯ
ครั้งเราแปลสมเด็จพระสังฆราชเปิดประโยคไว้ ๕ โดยธรรมเนียมเก่า วันแรกเราจับได้ธัมมปทัฏฐกถาบั้นต้น ผูก ๒๐ “อตฺตาหเวติฯ เปฯ ยญฺเจวสฺสสตํ หุตนฺติ” ที่ว่าด้วยชำนะตนดีกว่าชำนะคนอื่น ฯ ประโยคนี้ค่อนข้างยาก แปลได้เป็นชื่อเสียง แต่มียุ่งบางแห่ง เพราะท่านผู้รจนาเขียนพลั้งไว้ อยากถูกประโยคที่ยากแต่ไม่ยุ่ง เมื่อถูกแล้วจำต้องแปล ฯ รับหนังสือแล้ว เข้าไปพักดูอยู่ที่ทิมดาบกรมวัง เวลาบ่ายเสด็จออกแล้วจึงเจข้าไปแปลที่พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ห้องเขียว ประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป มีเสด็จพระอุปัชฌายะเป็นประธาน ท่านผู้เกี่ยวข้องกับเราเจ้านายในรัชกาลเดียวกัน ทั้งฝ่ายหน้าทั้งฝ่ายในและข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้เป็นข้าหลวงเดิมของทูลกระหม่อม สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้สอบที่เรียกว่าผู้ทัก คือทักพากษ์หรือศัพท์ที่แปลผิด สมเด็จพระวันรัต (พุทธสิริ) ช่วยทักบ้าง ไปวุ่นอยู่ตรงคำเกินนั้นเอง เพราะท่านไม่ได้สนใจไว้ตามคาด แต่วิสัยคนเข้าใจความ ก็คาดได้ว่าท่านจะต้องการให้แปลอย่างไร ผลอย่างสูงที่ได้เพราะการเรียนโดยวิธีอย่างนี้ คือหัดรู้จัดคาดน้ำใจอาจารย์และผู้สอบ ฯ
ธรรมเนียมเดิมกำหนดเวลาให้แปลอย่างหลวม แปลวันละ ๔ รูป เริ่มบ่าย ๒ โมงหรือเมื่อไรไม่แน่ พอค่ำมือไม่แลเห็นหนังสือ จุดเทียนที่มีกำหนดน้ำหนักขี้ผึ้งว่าเล่มละ ๑ บาทหรือเท่าไร ผู้แปลผลัดกันแปล ติดออกแก้ เทียนดับ ยังแปลไม่จบประโยคเป็นตก รูปที่แปลจบไปก่อนเป็นได้ ยุคเสด็จพระอุปัชฌายะเป็นอธิบดี ใช้เวลานาฬิกาคราวก่อนหน้าเราแปล ประโยคธัมมปทัฏฐกถาให้เวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง ประโยคตั้งแต่ ๔ ขึ้นไปให้เวลา ๒ ชั่วโมง ใช้ต่อมาจนถึงยุคเราเป็นอธิบดี เป็นแต่ย่นเวลาประโยคสูงลงเสมอกับประโยคธัมมปทัฏฐกถา และพึ่งเลิกใช้เวลาไม่สู้ช้า เพราะแก้วิธีแปลไม่ให้ออกแก้ ให้แปลไปจนตลอดประโยค ถูกผิดช่าง ใช้ตัดสินกันเอา จะให้เป็นได้หรือตก ฯ
ในคราวเราแปลไม่ได้กำหนดเวลาให้แปล วันแรกแปลจบประโยคเวลาเท่าไรหารู้ไม่ รู้อย่างนั้น จึงขอเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ครั้งยังเป็นพระวุฒิการบดี เจ้ากรมสังฆการีและธรรมการ หรือผู้อื่นจำไม่ได้แน่ ให้ช่วยสังเกตเวลาไว้ให้ด้วย ฯ ครั้งก่อนหน้าเราแปล ธัมมปทัฏฐกถา ต้องแปลให้ได้ ๓ ประโยค(๑)จึงเป็นอันได้ ตกประโยคเหนือ แม้ประโยคล่างได้แล้วก็พลอยตกไปตามกัน พึ่งยอมให้พักประโยคได้เมื่อจัดให้มีการสอบทุกปีแทน ๓ ปีต่อหน ครั้นเราเป็นแม่กองแล้ว ฝ่ายเราก็เห็นจะต้องได้ทั้ง ๒ ประโยค จึงเป็นอันได้ ฯ
วันที่ จับได้ประโยคธัมมปทัฏฐกถาบั้นปลาย ผูก ๑๐ “กายปฺปโกปนฺติฯ เปฯ หราหิ นนฺติ” ที่แก้ด้วยให้ระวังความกำเริบแห่งไตรทวาร แปลจบประโยค เวลาล่วง ๒๙ นาที ฯ ต่อนี้พัก ๓ วัน เพราะวันพระเหลื่อมและวันหน้าพระ หรือเพราะเหตุอื่น หาได้จดไว้ไม่ แปลต่อเป็นวันที่ ๓ เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จับได้ประโยคมังคลัตถทีปนีบั้นต้น ผูก ๕ “อิติ พหุสฺสุต์ส พาหุสจฺจํฯ เปฯ ทฏฺฐพฺพตํ” ที่แก้ด้วยบุคคลผู้เป็นพสุสุตรู้รักษาตนให้บริสุทธิ์ เวลาล่วง ๔๐ นาที ฯ วันที่ ๔ จับได้ประโยคสารัตถสังคหะ ผูก ๙ “ทายกา ปนฯ เปฯ วินยฏีกายํ วุตฺตํ” ที่แก้ด้วยทายกจำพวกเป็นเจ้าแห่งทานก็มี เป็นสหายแห่งทานก็มี เป็นทาสแห่งทานก็มี เวลาล่วง ๓๕ นาที ฯ
ประโยคที่จับได้ ๓ วันหลังง่ายเกินไป แปลได้ก็เห็นไม่เป็นเกียรติไม่ต้องการเหมือนกัน ตกลงว่าจับได้ประโยคไม่เป็นที่พอใจเลยสักวัน ฯ ถ้าเราเป็นผู้เปิดประโยคให้ผู้อื่นเช่นเราแปล วันแรกเราจักเปิดประโยคง่าย ฟังความรู้ผู้แปลดูที ถ้ามีความรู้อ่อน จักเปิดเสมอนั้นต่อไป ถ้าความรู้แข็ง จักเปิดประโยคแข็งขึ้นไป พอสมแก่ความรู้ เพื่อจะได้เป็นชื่อเสียงของผู้แปล แต่เราจับได้ประโยคตรงกันข้าม ท่านยังไม่ทราบความรู้ของเรา จับได้ประโยคยาก ครั้นท่านทราบความรู้ของเราแล้ว กลับจับได้ประโยคง่ายดาย ฯ แม้อย่างนั้นก็ยังได้รับสรรเสริญของพระราชาคณะผู้สอบผู้ฟังว่าแปลหนังสือ แข็ง และนับถือความรู้เราต่อมา เหตุอย่างไรท่านจึงชม คงเพราะท่านเห็นรู้จักวิธีแปลและขบวนแก้ ไม่ถลากไถลดุจเราได้พบในภายหลังโดยมาก กระมัง แต่พื้นประโยคไม่น่าได้ชมเลย ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #22 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 16:57:12 »
ในวันที่สุด ได้รับพระราชทานรางวันส่วนตัว พระราชหัตถเลขาทรงปวารณาด้วย กัปปิยภัณฑ์ราคา ๘๐๐ บาท ไตรแพรอย่างดี ๑ สำรับ ย่ามเยียรบับ ๑ ใบ กับตรัสสั่งเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงให้รื้อโรงพิมพ์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างกุฎีขึ้นใหม่ เป็นที่อยู่ของเรา ส่วนเจ้าคุณพรหมมุนี ไตรแพรสามัญ ๑ สำรับ ย่ามโหมดเทศ ๑ ใบ ทรงมอบเรามาพระราชทาน ในกาลติดต่อมาทรงตั้งเป็นพระราชาคณะโดยนามว่า พระกิตติสารมุนี แต่จะว่าเพราะเราแปลหนังสือได้เป็นบาเรียนก็ไม่เชิง เพราะทรงตั้งพร้อมกับรูปอื่นผู้มีประโยคต่ำกว่าท่าน พระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) ควรจะได้รับพระราชทานบำเหน็จด้วย แต่ไม่ทรงทราบว่าแกก็สอนด้วยกระมัง หรือจะเข้าพระราชหฤทัยว่าขาดตอนไปแล้ว เหมือนพระปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) ก็เป็นได้ ฯ าแปลหนังสือได้เป็นบาเรียนครั้งนั้น อาจารย์ผู้สอนยังมีตัวอยู่ ได้อนุโมทนาทุกท่าน ฯ
ครั้งนั้นในประเทศเรามีการสอบความรู้เฉพาะปริยัติธรรมอย่างเดียว และมีมาหลายชั่วอายุ ครั้งกรุงเก่ายังตั้งเป็นพระนครหลวง บาเรียนได้มีมาแล้ว ฯ ตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มา เจ้านายแปลปริยัติธรรมได้เป็นบาเรียนก่อนหน้าเรา ตามที่นับได้ ทูลกระหม่อมเป็นที่ ๑ หม่อมเจ้าอีก ๘ องค์ ไม่ได้จัดลำดับไว้เรียงตามคะเน หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ ๘ ประโยค หม่อมเจ้าโศภณในสมเด็จพระประพันธวงเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ๓ ประโยค หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ในพระวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ ๗ ประโยค ๓ องค์นี้แปลในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าเนตรในพระเจ้าราชวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าเสือ ๕ ประโยคหรือ ๗ ประโยคจำไม่ถนัด หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิสธาดา (สีขเรศ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ๔ ประโยค กรมมื่นนฤบาลมุขมาตย์ในสมเด็จพระเจ้าปัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ๘ ประโยค พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๓ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๕ ประโยค ๔ องค์นี้แปลในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ๕ ประโยค องค์นี้ในรัชกาลที่ ๕ เราเป็นที่ ๑๐
ในจำนวนนี้มีชั้นลูกหลวงเพียงทูลกระหม่อมกับเราเท่านั้น
ท่านพระองค์อื่นหาได้ทรงแปลไม่ ฯ
เสร็จการแปลหนังสือแล้ว กราบลาเจ้าคุณอาจารย์กลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเตรียมการรับกรม กลับมาในมกราคมนั้นเอง เวลาลากลับ เราปรารถนาจะแสดงความคิดถึงอุปการของเจ้าคุณอาจารย์ที่ท่านได้มีแก่เราอย่าง ไร แต่เห็นท่านจ๋อยมากสักหน่อย จะเพิ่มความกำสรดเข้าอีก แต่เราบางที่จะทนไม่ได้เหมือนกัน จึงมิได้รำพันถึง ฯ ในระหว่างเราแปลหนังสือ เจ้าคุณอาจารย์จับอาพาธเป็นบุราณโรค เรานึกหนักใจอยู่ แต่ยังไปไหนได้ และยังมาส่งเราที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ จึงไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ต่อไปและผัดกากรรับกรมไปข่างหน้า ทั้งจะต้องรับก่อนการฉลองพระนคร อันจะมีในพฤษภาคมด้วย ฯ คราวนี้เสด็จพระอุปัชฌายะโปรดให้อยู่ที่พระปั้นหย่า พระตำหนักที่บรรทมของทูลกระหม่อม เจ้านายที่ได้อยู่พระปั้นหย่านั้น ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้ามีมาก่อน แต่กรมหลวงพิชิตปรีชากรครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรพระองค์เดียว ได้ยินว่าทูลกระหม่อมทรงขอให้ได้เสด็จอยู่ เมื่อทรงผนวชพระก็หาได้เสด็จอยู่ไม่ ฯ กุฎีที่ตรัสสั่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงสร้างท่านแฉะเสีย เราก็ไม่เตือน อยู่พระปั้นหย่าก็ดีแล้ว ทั้งต่อมาเรายังเที่ยวไปวัดมกุฎกษัตริย์อยู่อีก ภายหลังมีธุระมากขึ้น จึงเข้าจองโรงพิมพ์เป็นสำนักงานอีกหลังหนึ่ง เหมือนครั้งทูลกระหม่อม ฯ
สรุปประโยชน์ที่ได้รับเพราะไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ดังนี้
๑. ได้ความรู้เป็นไปของคณะธรรมยุตกว้างขวางออกไป ฯ
๒. ได้รับอุปถัมภ์ของเจ้าคุณอาจารย์เป็นทางตั้งตัวเป็นหลักต่อไปข้างหน้า ฯ
๓. ได้ความรู้มคธภาษาดีขึ้น ฯ
๔. ได้ช่องเพื่อจะเข้าสนิทกับสำนักวัดโสมนัสวิหาร ฯ
๕. บรรเทาความตื่นเต้นในธรรมลงได้ หรือพูดอีกโวหารหนึ่งว่า ทำตนให้เข้าทางที่ควรจะเป็นได้ ฯ
อนึ่ง ที่วัดมกุฎกษัตริย์มีสำนักพูดธรรมะ พระจันโทปมคุณเป็นเจ้าสำนัก ได้รู้นิสัยของพวกนี้ ว่าเป็นอย่างไร ฯ
ถ้าเราจักไม่ได้ไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์แล้วไซร้ เราจักบกพร่องมากทีเดียว หากจะได้ขึ้นเป็นหัวหน้าของคณะ ก็คงเป็นหัวหน้าผู้ไม่แข็งแรง เป็นวาสนาของเราอยู่ที่น้อมเลื่อมใสไปในเจ้าคุณอาจารย์แล้ว และไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #23 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 17:08:58 »
๗. สมัยทรงรับสมณศักดิ์
พระองค์เจ้าเช่นเรา แรกทรงกรมเป็นกรมหมื่นก่อน เว้นบางพระองค์ ผู้รับเมื่อพระชนมายุมากแล้ว เป็นกรมหลวงบ้าง เป็นกรมขุนบ้างทีเดียว ฯ เจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าแรกรับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ทรงถือพัดยศเป็นพิเศษ ทรงตำแหน่งต่างๆ ตามคราวมา ฯ ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ดูเหมือนทรงรับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะครองวัดพระเชตุพน แทนสมเด็จพระวันรัตพระอาจารย์มาก่อนแล้ว จึงทรงกรมเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสศรีสุคตขัตติยวงศ์ ทรงถือพัดยศอย่างไรหาทราบไม่ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงบัญชาการคณะกลาง ในรัชกาลที่ ๔ ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นประธานยแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ทรงถือพัดแฉกตาดเหลืองสลับขาว ฯ
ทูลกระหม่อมไม่ได้ทรงกรม เป็นแต่พระราชาคณะ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงถือพัดแฉกพื้นตาด เราเห็นเมื่อเสด็จพระอุปัชณายะทรงถือ ต่อมาดูเหมือนตาดเหลืองเดิมไม่ได้ครองวัด ภายหลังครองวัดบวรนิเวศวิหาร ตามเสด็จพระอุปัชฌายะทรงเล่า เดิมดูเหมือนไม่ได้เทียบชั้น ภายหลังทรงขอพระราชทานตั้งฐานานุกรมชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง เป็นอันเทียบชั้นเข้าได้ ตั้งแต่ชั้นธรรมขึ้นมา เมื่อครั้งลาผนวชเทียบชั้นเจ้าคณะรอง ฯ พระองค์เจ้าอำไพ ในรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ทรงกรม เป็นแต่พระราชาคณะ ในรัชกาลที่ ๓ เสด็จพระอุปัชฌายะทรงเล่าว่าทรงถือพัดงาใบอย่างพัดด้ามจิ้ว เป็นฝ่ายพระสมถะครองวัดอรุณราชวราราม ฯ เสด็จพระอุปัชณายะ ครั้งรัชกาลที่ ๓ ทรงเป็นพระราชาคณะ ทรงถือพัดแฉกถมปัด ไม่ได้ทรงครองวัด ครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงกรม เป็นกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ ทรงถือพัดแฉกพื้นตาด ที่ทูลกระหม่อมทรงมาเดิม และทรงถือพักแฉกงาเป็นพิเศษ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าคณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อครั้งเรารับกรมและสมณศักดิ์ ยังไม่ได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก เป็นแต่เลื่อนกรมเป็นกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ฯพระองค์เจ้าประถมวงศ์ ในกรมพระราชวังหลัง หาได้ทรงสมณศักดิ์ไม่ ฯ
หม่อมเจ้าแรกเป็นพระราชาคณะ ถือพัดสุดแต่จะพระราชทาน แฉกถมปัดบ้างก็มี แฉกพื้นแพรปักบ้างก็มี แฉกโหมดสลับตาดบ้างก็มี แฉกพื้นตาดสีก็มี พัดงาใบพัดด้ามจิ้วก็มี ในเวลาเรารับสมณศักดิ์ หม่อมเจ้าพระราชาคณะ มีตำแหน่งเพียงชั้นเจ้าอาวาสยังไม่ได้เป็นพระราชาคณะ ฯ ท่านผู้เป็นพระราชาคณะก่อนเรา ๖ องค์ คือ หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (สอน) ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ครองวัดชนะสงคราม ถึงชีพิตักษัยก่อนเราบวช ๑ หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) ในกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ ครองวัดบพิตรพิมุข ถึงชีพิตักษัยก่อนเราบวช ๑ หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (เล็ก) ในกรมหมื่นนราเทเวศ วังหลัง ครองวัดอมรินทราราม ๑ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ วังหลัง ครั้งนั้นยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุบบาทปิลันธน์ ครองวัดระฆังโฆษิตาราม ๑ หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิสธาดา (สีขเรศ) ในกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคคุณากร ครั้งยังเป็นหม่อมเจ้าสมญานั้น ในกรมหมื่นภูมินทรภักดี ครองวัดราชบพิธ ๑ ฯ เราโปรดให้เป็นกรมหมื่น มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองแห่งคณะธรรมยุติกนิกาย ฯ อนึ่งในคราวเราจะรับกรมและสมณศักดิ์นั้น จะทรงตั้งหม่อมเจ้าพระประภากรบาเรียน ๕ ประโยค ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เป็นพระราชาคณะด้วย ฯ
วันเวลารับกรมในครั้งนั้น เป็นธุระของเจ้างานจะกำหนดถวาย ทรงอนุมัติแล้วเป็นใช้ได้ ฯ ส่วนวันเวลาที่เราจะรับกรม เสด็จพระอุปัชฌายะน่าจะทรงกำหนดประทาน แต่ตรัสสั่งเราไปทูลขอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ท่านทรงกำหนดพ้องวันแต่เหลื่อมเวลากับฤกษ์จุดเทียนชัยพระราชพิธีตรุษ ตกในวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ ตรงวันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ เวลาเช้า ๔ โมง เศษอะไรจำไม่ได้ บางทีเสด็จพระอุปัชฌายะจะทรงต้องการวันนั้น แต่พ้องพระราชพิธีตรุษ ไม่อาจทรงกำหนดลง จึงตรัสให้ไปทูลขอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ฝ่ายท่านข้างโน้นจะกำหนดวันอื่นก็จะเสียภูมินักรู้ในทางพยากรณ์ศาสตร์ จึงกำหนดลงในวันนั้นกระมัง เมื่อท่านทรงจัดมาในทางราชการเช่นนั้น ก็จำต้องรับในวันนั้น แต่เราไม่พอใจเลย
เราไม่ถือฤกษ์ชอบแต่ความสะดวก
ทำงานออกหน้าทั้งที มาพ้องกับพระราชพิธีหลวงเข้าเช่นนี้ จะนิมนต์พระก็ไม่ได้ตามปรารถนา ผู้มีแก่ใจจะมาช่วยก็ไม่ถนัด ตกลงต้องจัดงานให้เข้ารูปนั้น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #24 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 17:25:09 »
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
วันสวดมนต์จะนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ ก็คงให้พระมาแทนทั้งนั้น พอเหมาะที่เสด็จพระอุปัชฌายะประทานผ้าไตรและเครื่องบริขาร ๑๐ สำรับ เพื่อถวายสวดมนต์ ยายเตรียมไว้ให้เราแล้ว จึงจัดพระสวดมนต์ขึ้นอีกสำรับหนึ่ง นิมนต์ตามชอบใจ เลือกเอาพระศิษย์หลวงเดิมของทูลกระหม่อมที่เป็นชั้นผู้น้อย รุ่งขึ้นเลี้ยงแต่เช้า ถวายบริขารแล้ว เปิดให้กลับไป นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่นั่งเฉพาะเวลารับกรมอีก ๑๐ รูป แล้วเลี้ยงเพล ฯ ก่อนหน้าวันรับกรม มีทำบุญที่พระปั้นหย่า โดยฐานขึ้นตำหนัก วันหนึ่ง ฯ ในวันรับกรม ตั้งพระแท่นมณฑลในพระอุโบสถหน้าที่บูชาสำหรับวัดออกมา หาได้ผูกพระแสงต่างๆ ที่เสาไม่ ประดิษฐานพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๔ เชิญพระสุพรรณบัฏที่จารึกไว้ก่อนแล้วมาตั้งบนนั้นด้วย
วันสวดมนต์ล้นเกล้าฯ เสด็จมาช่วยเป็นส่วนพระองค์ด้วย วันสรงและรับพระสุพรรณบัฏ พอจุดเทียนชัยข้างพระราชพิธีตรุษแล้ว โปรดให้เอารถหลวงรับพระราชาคณะผู้ใหญ่มาส่งที่วัดล่วงหน้า แล้วเสด็จพระราชดำเนินมาวัด ทรงเครื่องนมัสการและทรงประเคนไตรแพร ตามแบบควรจะเป็นไตรพิเศษ เราก็เคยได้รับพระราชทานเมื่อครั้งแปลหนังสือเป็นบาเรียน แต่ครั้งนี้เป็นไตรเกณฑ์จ่าย ออกมาผลัดผ้าครองสบงและอังสะ ขึ้นพระแท่นสรงแต่เราองค์เดียว เราสรงก่อน มีประโคม แล้วล้นเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ ด้วยพระเต้าและพระมหาสังข์ทักษิณษวรรต ทรงรดเพียงที่ไหล่ ต่อนั้น พระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีรดหรือถวายน้ำโดยลำดับ ฝ่ายพระ เสด็จพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าคุณพรหมมุนีแทนเจ้าคุณอาจารย์ผู้กำลังอาพาธ พระบรมวงศ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จอา และเจ้าพี่ฝ่ายหน้าทุกพระองค์ บรรดาที่เสด็จมาในเวลานั้น เสนาบดีทุกท่านบรรดามา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์อยู่ที่เมืองเพชรบุรี หาได้มาไม่ แต่เมื่อบวชได้ไปถวายบริขารที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เราสรงแล้วครองไตรใหม่มานั่งบนอาสนสงฆ์ในพระอุโบสถ หม่อมเจ้าประภากรก็เหมือนกัน ชุมนุมพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท
โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศดำเนินพระกระแสบรมราชโองการ ทรงสถาปนาเราเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เท้าความถึงเราได้รับราชการมาอย่างไร ทรงเห็นความดีและความสามารถของเราอย่างไร ถ้าอยู่ทำราชการจะเป็นเหตุไว้วางพระราชหฤทัยได้ ปรารภถึงพระราชปฏิญญาที่พระราชทานไว้แก่เรา ว่าบวชได้สามพรรษาจะทรงตั้งเป็นต่างกรม บัดนี้ก็ถึงกำหนด ได้ทรงเห็นปรีชาสามารถประกอบกับความรู้ทางโลก ทรงหวังพระราชหฤทัยว่า จะเป็นหลักในพระพุทธศาสนาต่อไปข้างหน้าได้ จึงทรงตั้งเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมยกย่องขึ้นไว้ในบัดนี้
ครั้นอ่านประกาศจบแล้ว มีประโคม ล้นเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ สัญญาบัตรตั้งเตจ้ากรมปลัดกรมสมุห์บัญชีใบ ๑ สัญญาบัตรตั้งฐานานุกรม ๘ รูป ๑ สัญญาบัตรพระครูปลัด ๑ พัดแฉกพื้นตาดขาวสลับเหลือง มีตราพระมหามงกุฎเป็นใจกลางหมายรัชกาล เทียบหีบหมากเสวยลงยาราชาวดีเครื่องยศเจ้านาย ยอดเห็นพระเกี้ยวยอด พัดรองตราพระเกี้ยวยอดด้ามงา สำหรับพระราชาคณะ ๑ บาตรถุงเข้มขาบฝาเชิงประดับมุก ๑ ย่ามหักทองขวาง ๑ ย่ามเยียรบับ ๑ เครื่องยศถมปัดสำรับใหญ่ ๑ สำรับ
พระราชทานสัญญาบัตรทรงตั้งหม่อมเจ้าพระประภากร เป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะมีสมญาขึ้นต้นอย่างนั้น แต่มีสร้อยว่า หม่อมเจ้าประภากรบวรวิสุทธิวงศ์ ได้รับพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดสีมีตราครุฑประจำรัชกาลที่ ๒ เป็นใจกลาง เครื่องยศสำหรับพระราชาคณะ ต่างกรมใหญ่ผู้เป็นคฤหัสถ์ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนและต้นไม้ทองเงินแด่ในหลวง และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่เจ้านายผู้เจริญพระชนมายุกว่า แต่ต่างกรมพระไม่ได้ถวายอย่างนั้น เรายักถวายเป็นชิ้นสำหรับประดับดอกไม้ตั้งกลางโต๊ะ ที่ถวายล้นเกล้าฯ ทรงจบพระหัตถ์บูชาพระพุทธชินสีห์ เจ้านายถวายแต่ของแจก ครั้งนั้นยังแจกของมีราคามาก แจกตามชั้น พอเสร็จพิธีรับกรมก็พอเพล ล้นเกล้าฯ ทรงประเคนสำรับเจ้าภาพ และเสด็จประทับอยู่ตลอดเวลาพระฉันและอนุโมทนา ธรรมเนียมรับกรมที่อื่นเลี้ยงพระเสียก่อนเป็นแต่อนุโมทนาหน้าพระที่นั่ง เสด็จกลับแล้ว มีเวียนเทียนสมโภชพระสุพรรณบัฏแล้วเป็นเสร็จการ ฯ
เราพอใจจะบ่นถึงฤกษ์รับกรมเพิ่มอีก นอกจากไม่สะดวกดังกล่าวแล้ว เผอิญเมื่อวันสวดมนต์ เจ้าคุณอาจารย์ผู้อาพาธเสาะแสะมานั้น อาพาธเป็นธาตุเสียท้องร่วงมาในงานไม่ได้ ไม่ได้รดน้ำในเวลาสรง และไม่ได้อยู่ในเวลาตั้ง ขาดท่านผู้สำคัญไปรูปหนึ่ง เมื่อวันรับกรม ยายผู้มาดูการโรงครัวอยู่หน้าวัด เจ็บเป็นลม แต่เดชะบุญ เป็นเมื่อรับเสร็จและเสด็จกลับแล้ว ถ้าเลือกวันรุกเข้ามาจากนั้น แม้ดีไม่ถึงวันนั้น เจ้าคุณอาจารย์คงจักมาได้
ได้อาจารย์มาเข้าในพิธี เราถือว่าเป็นมงคลกว่าในวันฤกษ์งาม แต่ขาดท่านผู้สำคัญไปอย่างนี้ ฝ่ายยายนั้นเป็นลมเพราะทำธุระมากกระมัง
เลื่อนวันเข้ามาจักคุ้มได้หรือไม่ หารู้ไม่ ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #25 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 17:35:38 »
เราเป็นกรมในครั้งนั้น เป็นที่ถูกใจของคนทุกเหล่า ในฝ่ายพระวงศ์ตั้งแต่ล้นเกล้าฯ ลงมา ในฝ่ายพระสงฆ์ตั้งแต่เสด็จพระอุปัชฌายะลงมา และพวกข้าราชการตลอดถึงคนสามัญ ต่างเรียกเรา ด้วยไม่ได้นัดหมาย แต่มาร่วมกันเข้าว่า “กรมหมื่น” หาออกชื่อไม่ เจ้าพี่เป็นกรมหมื่นก็มีแต่หาได้เรียกอย่างนี้ไม่ ภายหลังรู้ว่า กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ครั้งรัชกาลที่ ๑ เขาก็เรียกว่ากรมหมื่น ในเวลาแรกตั้งแผ่นดินใหม่ ต่างกรมเป็นกรมหมื่น มีแต่กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์องค์เดียว เขาจึงเรียกว่ากรมหมื่น ไม่ออกพระนามกระมัง ฯ
ในฝ่ายพระ ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยผู้เป็นศิษย์หลวงเดิมของทูลกระหม่อม มีความนิยมยินดีในเราโดยมาก สมปรารถนาที่ได้เราไว้สืบพระศาสนา ฯ ในพวกท่านผู้นิยมยินดีในเรานอกจากเสด็จพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระวันรัต (พุทธสิริ) เป็นผู้เอาใจใส่ในเรา และเป็นธุระแก่เราเป็นอันมาก ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นต่างกรมมาแล้ว เวลาเราอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ มีการพระราชกุศลในวังที่ได้รับนิมนต์ เรามักเดินเข้าไป ท่านไปเรือ เวลากลับ ท่านเรียกเราลงเรือของท่าน ให้พายขึ้นน้ำเข้าคลองผดุงกรุงเกษม ไปส่งเราที่วัดมกุฎกษัตริย์ก่อน แล้วจึงเลยไปวัดโสมนัสวิหาร โดยปรกติท่านเข้าคลองรอบพระนครและคลองเล็ก ตรงไปถึงวัดโสมนัสวิหารทีเดียว เป็นอย่างนี้เสมอมา ไปพบกันในกิจนิมนต์ทั้งการหลวงการราษฎร์ เวลาอยู่ด้วยกันสองรูป ท่านพร่ำสอนการพระศาสนาเนืองๆ พอมีพระรูปอื่นเข้าไปอยู่เป็นที่สาม ท่านเลิกเสียเช่นนั้น เพื่อไว้หน้าเรา ถ้าท่ารู้ว่าเราไม่ผาสุกเมื่อใด เห็นหายาส่งมาให้เมื่อนั้น
สมเด็จพระวันรัต (พุทธสิริ)
คราวหนึ่งเราเป็นผู้ใหญ่ในคณะแล้ว ท่านอาพาธเป็นอัมพาตปลายลิ้นแข็งพูดไม่ชัด ถึงลงนอน เราไปเยี่ยมท่านแล้วกลับออกมาอยู่ที่เฉลียงหน้ากุฎี พูดกับพระวัดนั้นผู้ชอบกันถึงความยอกขัดของเราเกิดขึ้นเพราะหมอนวดไม่เป็น ชะรอยเสียงจะดัง ท่านได้ยินเข้า ทั้งเจ็บมากกว่าเราอย่างนั้น ขวนขวายสั่งพระให้เอาน้ำไพลกับการบูรมาทาให้ รู้สึกความเอื้อเฟื้อของท่านก็จริง แต่รู้สึกอายแก่ใจเหมือนกัน ว่าไปเยี่ยมไข้ท่านกลับทำให้ท่านกังวลถึงเรา
ท่านถนอมเราเป็นอย่างยิ่งคล้ายเจ้าคุณอาจารย์ โดยที่สุดบางเวลาเราขุ่น รู้เข้า เลือกธรรมเขียนส่งมาปลอบ เราได้รับเมตตาและอุปการะของท่านอย่างนี้ ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ถ้าเราจักได้อยู่ในสำนักของท่านสักพรรษาหนึ่ง
จักอาจเชื่อมสองสำนัก
ได้ดีกว่านี้อีก ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
Re: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระประวัติตรัสเล่า (๑)
«
ตอบ #26 เมื่อ:
26 กันยายน 2553 17:50:35 »
อ้างอิง
: รัตนโกสินทร์ ๒๒๕
และ พระประวัติตรัสเล่า ๑ ในหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน
และ หนังสือ "พระประวัติตรัสเล่า" มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
หมายเหตุ
หนังสือ พระประวัติตรัสเล่า เป็น พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส(เริ่มทรงพระนิพนธ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ )หนังสือเล่มนี้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ใน "โครงการคัดเลือกหนังสือดี ๑๐๐ ปี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน" ประเภท "ศาสนาและปรัชญา" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑
พระประวัติตรัสเล่าเล่มนี้ ทรงนิพนธ์ไว้เพื่อทรงสอนศิษย์ให้ละชั่วและประพฤติดี ทรงแสดงถึงเหตุชั่วและเหตุดี ที่ทรงประสพมาแล้วโดยยกพระองค์ขึ้นเป็นนิทัสนอุทาหรณ์ประทานโอวาทแก่ ศิษยานุศิษย์ปรากฏในหนังสือตลอดทั้งเล่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางประพฤติปฏิบัติมา นอกจากนี้ยังทรงเล่าถึงระเบียบการ ราชประเพณี ขนบธรรมเนียมของเจ้านายและเหตุการณ์ทั่วไปๆ ไปของบ้านเมืองทรงเทียบเคียงประเพณีของเจ้านายกับประเพณีทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น เมื่อพูดถึงราชาศัพท์แล้ว หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางด้านจารีตประเพณี ด้านประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์และความรู้ทั่วไป
หนังสือ "พระประวัติตรัสเล่า" นี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ไว้ ตามลายพระหัตถ์ที่เป็นต้นฉบับว่า "เริ่มทรงนิพนธ์ไว้ ตามลายพระหัตถ์ที่เป็นต้นฉบับว่า "เริ่มทรงนิพนธ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๕๘" เป็นปีที่ ๕๖ แห่งพระชนมายุ พระองค์ทรงเล่าตั้งแต่ประสูติจนถึงทรงรับพระสุพรรณบัฏเป็นกรมหมื่นฯและเป็น พระราชาคณะ คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๐๓ ถึง พ.ศ.๒๔๒๔ รวม ๒๒ ปี คือทรงนิพนธ์ไว้เพียงพระชนมายุ ๒๒ ปีเท่านั้น หลังจากนั้นมาจนถึง พ.ศ.๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสิ้นพระชนม์อีก ๔๑ ปี ไม่ได้ทรงนิพนธ์ไว้
การจัดพิมพ์ หนังสือ "พระประวัติตรัสเล่า" เล่มนี้ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในงานเสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกมนุษยนาควิทยาทาน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๔ และพิมพ์ครั้งนี้เป้นครั้งที่ ๓ ซึ่งจัดพิมพ์และจำหน่ายโดย มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หนังสือเล่มนี้มีขนาด ๒๑ x ๒๙.๕๐ เซนติเมตร ความหนา ๑๒๐ หน้า พิมพ์สี่สี มีภาพเก่าหายากมากถึง ๑๐๕ ภาพ ประกอบตลอดทั้งเล่ม
:
http://www.watnachuak.org/index.php/
สาระน่ารู้/บทความต่างๆ/สมเด็จพระมหาสมณเจ้า-กรมพระยาวชิรญาณวโรรส-พระประวัติตรัสเล่า-๑.html
รัชกาลที่ ๕ ทรงสนทนากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘
อ่านต่อ
.. พระประวัติ
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
19 พระองค์
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย :
VANCO
http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-19-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-216409-3.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กันยายน 2554 09:11:07 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลิ้งค์พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ค่ะ
»
บันทึกการเข้า
คำค้น:
รัตนโกสินธ์
พระราชาคณะ
พระประวัติ
พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
หน้า:
1
2
1
[
2
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
เงาฝัน
5
6918
06 ตุลาคม 2553 05:41:12
โดย
เงาฝัน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ
0
2462
21 พฤศจิกายน 2559 19:21:17
โดย
ใบบุญ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชไทย พระองค์ที่ 7
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ
0
2784
11 ตุลาคม 2562 16:23:36
โดย
ใบบุญ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ
0
1347
23 ธันวาคม 2562 16:03:41
โดย
ใบบุญ
โคลงความทุกข์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
Kimleng
1
1014
06 พฤศจิกายน 2565 21:21:49
โดย
Kimleng
กำลังโหลด...