[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 21:03:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นกำเนิดพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตปฏิมากร (แก้วมรกต)  (อ่าน 3193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2556 16:58:17 »

.


(บนซ้าย) เครื่องทรงฤดูร้อน (กลาง) เครื่องทรงฤดูหนาว (ล่าง) เครื่องทรงฤดูฝน

เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนไทย ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเครื่องทรง ๓ ฤดู ซึ่งแรกเริ่มจัดสร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลปัจจุบัน เครื่องทรงทั้ง ๓ ฤดู มีสภาพชำรุดยากแก่การซ่อมบูรณะให้สวยงามเหมือนเช่นอดีต ประจวบกับในขณะนั้นเป็นวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมธนารักษ์ผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องทรง ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ๓ ฤดู ชุดใหม่แทนเครื่องทรงชุดเดิม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสดังกล่าว โดยเครื่องทรงชุดใหม่นี้เป็นชุดที่ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงในปัจจุบัน

ทั้งนี้ เครื่องทรงชุดเดิมจัดสร้างขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗ และได้มีพระราชศรัทธาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างเครื่องทรงฤดูร้อนและฤดูฝน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นพุทธบูชา ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเครื่องทรงฤดูหนาว ถวายเป็นพุทธบูชาเพิ่มอีกหนึ่งชุด พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจึงมีเครื่องทรงครบ ๓ ฤดู ถือเป็นต้นกำเนิดพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทั้ง ๓ ฤดูทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์จะทรงประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในวันเริ่มฤดูเป็นประจำทุกปี กรณีที่ทรงติดพระราชภารกิจอื่นไม่อาจเสด็จฯด้วยพระองค์เองได้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับกำหนดเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร มีดังนี้
     ๑. ฤดูร้อน กำหนดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ราวเดือนมีนาคม
     ๒. ฤดูฝน กำหนดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ราวเดือนกรกฎาคม และ
     ๓. ฤดูหนาว กำหนดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ราวเดือนพฤศจิกายน

เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง ๓ ฤดู กรมธนารักษ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำออกจัดแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่รอการผลัดเปลี่ยนตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามเครื่องทรงทั้ง ๓ ฤดูเริ่มมีสภาพชำรุดไปตามกาลเวลา เนื่องจากมีอายุกว่า ๒๐๐ ปี และในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี สำนักพระราชวังได้บูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง ๓ ฤดู ในส่วนที่ชำรุด และได้ใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงทำให้เครื่องทรงชำรุดมากขึ้น ต้องซ่อมแซมอีก แต่ด้วยเป็นศิลปะโบราณวัตถุที่มีลวดลายที่ละเอียดอ่อนบอบบางและเป็นฝีมือช่างโบราณช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงทำให้ไม่สามารถหาช่างฝีมือมาซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้



วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

กรมธนารักษ์จึงได้ปรึกษากับเลขาธิการพระราชวัง ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเห็นว่าควรดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงชุดใหม่ขึ้นทดแทน เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาลโบราณราชประเพณีและถวายเป็นพุทธบูชา รวมทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลพระราชพิธีกาญจนาภิเษก  จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และในการจัดสร้างกรมธนารักษ์ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานที่ปรึกษา ในโอกาสนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้บริจาคทรัพย์เพื่อร่วมสร้างเครื่องทรงด้วย

การจัดสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเครื่องทรงฤดูหนาว ดำเนินการจัดสร้างแล้วเสร็จเป็นอันดับแรก และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ เครื่องทรงฤดูร้อน ทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และเครื่องทรงฤดูฝน ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ปีเดียวกัน

องค์ประกอบของเครื่องทรงชุดใหม่
ฤดูหนาว ใช้อัญมณีรวม ๑๕,๘๖๘ เม็ด ๒,๘๖๓.๔๔ กะรัต รวมน้ำหนักเครื่องทรงพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรฤดูหนาวชุดใหม่ ๖,๑๗๙.๘๗ กรัม ประกอบด้วย  ๑. พระศก และพระรัศมีทองคำประดับอัญมณี และ  ๒. ผ้าห่มทองคำประดับอัญมณี พร้อมดุมทองคำประดับเพชรและสายสร้อยทองคำ
     
ฤดูฝน ใช้อัญมณีรวม ๑๕,๓๘๘ เม็ด ๖๙๔.๙๘ กะรัต รวมน้ำหนักเครื่องทรงพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรฤดูฝนชุดใหม่ ๘,๒๐๖.๓๘ กรัม ประกอบด้วย ๑. พระศก และพระรัศมีทองคำประดับอัญมณี ๒. สังฆาฏิ (ผ้าทาบ) ทองคำประดับอัญมณี และ ๓. ผ้าห่มดองทองคำประดับอัญมณี

ฤดูร้อน ใช้อัญมณีรวม ๖,๒๙๗ เม็ด ๒,๑๓๒.๘๑ กะรัต รวมน้ำหนักเครื่องทรงพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรฤดูร้อนชุดใหม่ ๗,๗๓๗.๘๐ กรัม ประกอบด้วย ๑. พระมงกุฎทองคำลงยาประดับอัญมณี  ๒. พระกรรเจียก (ซ้าย, ขวา)  ๓. ฉลองพระศอทับพระอังสา ๔. พระสังวาลล้อมเพชร  ๕. ตาบหลัง  ๖. พระสังวาลสายคู่  ๗. พระสังวาลดอกจิก  ๘. ตาบข้าง และพระสังวาล (ซ้าย, ขวา)  ๙. กระหนกปักพระอังสา (ซ้าย, ขวา)  ๑๐. ทับทรวง  ๑๑. รัดพระองค์  ๑๒. เชิงสนับเพลา (ซ้าย, ขวา)  ๑๓. กรองเชิงครึ่งซีก (ซ้าย, ขวา)  ๑๔. ทองข้อพระกร (ซ้าย, ขวา)  ๑๕. พระพาหุรัด (ซ้าย, ขวา)  ๑๖. พระธำมรงค์ (เล็ก)  และ ๑๗. พระธำมรงค์ (ใหญ่)

สำหรับเครื่องทรงชุดเดิมได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่า และจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนเครื่องทรงชุดใหม่ ชุดใดที่มิได้ทรง เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย ในพระบรมมหาราชวัง และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยกเว้นวันที่มีพระราชพิธี


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.283 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มิถุนายน 2566 20:12:41