[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 20:51:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: องค์สามของความดี  (อ่าน 8618 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 24 มกราคม 2553 12:37:07 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


พระธรรมเทศนาโดยพระพรหมมังคลาจารย์หลวงพ่อปัญญานันท

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2515

วัดชลประทานรังสฤษฎิ์ ปากเกร็ด

(:PL:)หมายเหตุ.........ธรรมบรรยายชุดนี้ได้ถอดเทปออกมาซึ่งธรรมบรรยชุดนี้มีขายที่ร้าน ธรรมเจริญ ท่าพระจันทร์ ตัวข้าพเจ้า(บางครั้งได้)ได้ถอดเทปออกมา แต่สมัยนี้อาจเป็นแผ่นซีดีแล้ว สมัยโน้นยังไม่มีระบบดิจิตอล (:PL:)ไม่ได้โฆษณาให้ร้านธรรมเจริญหนอกแต่บอกกล่าวในฐานะ ผู้ที่สนใจในพระธรรมเท่านั้น รัก


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.fungdham.com/download/song/allhits/29.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/29.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/29.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย............................
ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังธรรมะปาฐกถา อันเป็นหลักคำาสอนในทางพระพุทะ ศาสนาแล้ว
ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อัน เกิดขึ้นจากการ
ฟัง ตามสมควรแก่เวลาคนไทยเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พุทธสาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติไทย
เราได้รับเอา รัก รัก รัก
พุทธศาสนามาเป็นสมบัติประจำาใจเป็นเวลานานกว่าพันปีแล้ว บ้านเมืองของเรา ได้รับความ
ร่มเย็น ก็เพราะบารมีของพระพุทธศาสนา เราจึงเทิดทูนพุทธศาสนาไว้ เสมอด้วยชีวิตของเรา
มีหลายครั้งที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาพคับขัน แต่โดยที่ชาวไทยและ ประมุขของชาติไทยยึด
มั่นในธรรมะของพระพุทธองค์ ชาวเราจึงหลุดพ้นจากความเดือด ร้อนมาได้ ความเดือดร้อน
และความสงบเป็นผลของการกระทำาของประชาชนภายใน ประเทศ สมัยใดประชาชนมั่นคง
ในศีลธรรม ก็มีแต่ความสุขความสงบ แต่ถ้าสมัยใดประ ชาชนขาดศีลธรรม สมัยนั้นก็มีแต่
ความทุกข์ความเดือดร้อน........................ :'( :'( :'(

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:51:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 12:47:17 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:88:)หลักพุทธศาสนาของเราได้ สอนให้เราเข้าใจว่าความสุข ความทุกข์ของเรา
เป็นผลเนื่องมาจากการกระทำของเราไม่มีใครหรือสิ่งใดมาดลบันดาลให้เราเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ได้
ถ้าเราไม่ทำมัน ด้วยตัวเราเอง ครูบาอาจารย์เป็นแต่เพียงผู้บอกทางให้เท่านั้น การลงมือเดินเป็นกิจ
ที่ เราเองจักต้องทำเมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำาความดี จึงเป็นกิจจำาเป็นของเราทุกคน
แต่การที่จักทำความดีนั้น ก็ต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อนว่า ความดีคืออะไร? หลักที่ ควรจำา
ง่าย ๆ ในเรื่องความดีก็คือ สิ่งที่ทำาเป็นประโยชน์แก่ตน สิ่งที่ทำาเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ท่าน
ผู้รับรองว่าเป็นคนดี หลัก 3 ประการนี้ เป็นส่วนประกอบให้เป็นความดี ฉะนั้นในเวลาจะกระทำาอะไร
เพื่อให้เป็นความดี ก็ควรพยายามทำาให้ประกอบด้วย
ใดอันหนึ่งเสียมิได้ เหมือนก้อนเส้า 3 ก้อน ขาดก้อนหนึ่งหม้อแตกหลักนี้ก็เป็นเช่นนั้น.....
คนเราส่วนมากมักเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ตนไม่ค่อยได้คิดถึงประโยชน์ของคนอื่น ถ้าจะ
ทำาสิ่งใด ก็มุ่งแต่จะเอาประโยชน์ตนเป็นประมาณ ไม่ได้คิดว่าคนอื่นจักเสียผล คนเช่นนี้เป็น
คนจำพวกที่ถือตนเป็นใหญ่ คิดเห็นเข้าข้างตนถ่ายเดียว เป็นคนเอาเปรียบสัง คม เพราะมุ่งหา
และเก็บไว้เพื่อตนเองถ่ายเดียว ทำาให้วัตถุอันเป็นของกลาง สำาหรับ คนทั่วไปจักได้ใช้ และ
ของเหล่านั้นมีเพียงพอสำหรับทุกคนจะหากินหาใช้แต่เกิดการไม่พอขึ้นก็เพราะคนบางคน
โลภมาก แสวงหาและเอามาเพื่อตนถ่ายเดียว การกระทำใน รูปเช่นนี้ เป็นการเบียดเบียน
ประโยชน์ของผู้อื่น เป็นการกระทำาที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่ เป็นความดี เมื่อเราจะแสวงหา
ประโยชน์แก่ตน ก็อย่าให้เป็นการทำาลายประโยชน์ของผู้อื่นให้เป็นคนคิดเห็นอกเขาอกเรา
เพราะการเป็นอยู่ในโลกเป็นการเป็นอยู่แบบรวมกัน ผลประโยชน์ทุกอย่างต้องอิงอาศัยกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:24:57 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 12:53:51 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:7:)ความสุขจึงเกิดขึ้นได้ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านจึงต้องมีส่วนสัมพันธ์กันอยู่เสมอ
แต่ถ้าว่าในบางกรณีแม้การกระทำนั้นได้ประ โยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ก็ยังไม่แน่นักว่ จักเป็น
ความดีเสมอไป เช่นว่า นาย ก ทำการต้มเหล้าขาย เขาคิดว่าการต้มเหล้าขายของเขาเป็นการ
ได้ประโยชน์ตน ประ โยชน์ผู้อื่นก็ไม่เสีย เพราะมีคนจำานวนมากมาซื้อเหล้าจากเขาบ้างมา
พลอยร่วมวงเปล่า ๆ บ้าง คงจะเป็นการดีแล้ว แต่ยังไม่ดีเพราะผู้รู้ทั้งหลายติเตียน การกระทำ
เช่นนั้นว่าเป็นการผิดธรรม เป็นการผิดต่อกฏหมายของบ้านเมือง ผู้รู้ดีเขาติกันทั้งนั้นฉะนั้น
การกระทำเช่นนั้น จึงเป็นการเสียใช้ไม่ได้ ต้องมีองค์ที่ สาม คือ ผู้รู้รับรองว่า ดีด้วย คำว่าผู้รู้
นั้นหมายถึงผู้รู้เหตุผลอย่างแท้จริง ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราก็ ยอมรับว่า ผู้รู้อย่าง
แท้จริงก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่ก็จริง แต่คำสอนยังคงมีปรากฏ
ตัวแทนพระองค์อยู่ ฉะนั้นเรจักทำาอะไรลงไปก็ต้องเอาหลักธรรมเป็นแว่นแก้วส่องดูเสีย
ก่อนว่า การกระทำาเช่นนั้นจักเป็นการขัดต่อคำาสอน ของพระองค์หรือไม่ถ้าเห็นว่าขัดกันก็ไม่ควรทำ
ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นนำผลมาให้มาก หลาย เพราะผลที่เกิดจาก
การกระทำชั่ว ๆ นำความทุกข์มาให้แก่ผู้กระทำา พระพุทธองค์ จึงตรัสเตือนว่า ใค่รครวญ
ก่อนจึงทำดีกว่า เพราะสิ่งที่ทำาลงไปแล้วจักทำาคืนอีกไม่ได้ การกระทำที่จักนำความเดือด
ร้อนมาให้ เป็นการกระทำที่ไม่ดีเป็นพระโอวาทผู้รักตนควรกระทำโดยแท้...................... เครียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:27:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:00:00 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain



(:UU:)มีคำถามแทรกเข้ามาว่าชาวโลกมีความต้องการอะไร ?คำาตอบพึงมีว่า
ทุกคนต้องการมีความสุข ความเจริญ ไม่มีใครต้องการความทุกข์ ความเสื่อม แต่ทำาไมทั้ง ๆ ที่ ทุกคนต้องการ
ความสุข ความเจริญ เขายังไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการสมหมายกลับได้รับ ความทุกข์ ความเสื่อม
เสมอ คำตอบในเรื่องนี้ก็มีอยู่ว่า เพราะเขาขาดคุณธรรมบางประ การ อันเป็นสิ่งสนับสนุน
ให้เขามีความสุขสมหมายในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิบาต มีคำา กล่าวไว้ว่า คนอยู่เป็นทุกข์เพราะเหตุ 5 ประการ
คือ 1 ไม่มีความเชื่อ 2 ไม่มีความละอาย 3 ไม่มีความเกรงกลัว 4 มีความเกียจคร้าน 5 มีความรู้
ชั่ว ในทางธรรมสอนให้เรามีความเชื่อในทางที่ชอบที่ถูก เป็นความเชื่อที่อาจนำผู้ปฏิบัติตาม
ไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ แต่มีคนจำานวนไม่ใช่น้อยขาดความเชื่อในรูปนั้น เมื่อไม่มี ความเชื่อ
เขาก็ขาดความรู้สึกผิดชอบ อันเป็นปัจจัยสำาคัญของการทำความดี เพราะความรู้สึกผิดชอบ
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นคอยสะกัดมิให้กระทำาความชั่ว และบอกให้รู้ได้ทันที่ว่าสิ่งที่ตนกระทำาอยู่นี้
เป็นสิ่งไม่ดีเป็นการฝึกต่อมในธรรมโดยแท้ขณะใดขาดความรู้สึกแบบนี้แล้ว
ก็อาจก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดและเสียหายได้ง่าย เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเพาะนิสัยผิดชอบให้เกิดแก่ตน
การกระทำาโดยวิธีนี้ ก็ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบหนึ่งเหมือนกัน มีคนบางคนเข้าใจว่า การก
ระทำาความดี หรือ ปฏิบัติกิจศาสนานั้น เป็นเรื่องของคนแก่ ส่วนคนหนุ่มสาวนั้นยังไม่
จำาเป็นก่อน ความเข้า ใจในรูปนี้ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด ธรรมะเป็นสิ่งจำาเป็นสำาหรับคน
ทุกเพศ ทุกวัย เหมือนกับอาหารสำาหรับหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นสิ่งจำาเป็นแก่ทุกคน ถ้าร่างกาย
ของใคร ขาดอาหาร ก็คงถึงแก่ความตาย ธรรมะเป็นอกหารหล่อเลี้ยงใจ......ใจของใครขาด............................. กลอกตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:27:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:04:41 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:LOVE:)ธรรมะเขาก็คงเป็นอยู่แบบคนที่ตายแล้ว การตายในขณะเป็นอยู่ เป็นการตายที่ร้ายแรงกว่า
การตายของคนตายจริง ๆ เพราะคนตายจริง ๆ ไม่ให้โทษแก่ใคร แต่คนตายยังเป็นอยู่ เพราะ
ขาดคุณความดีนั้น เป็นภัยต่อสังคมมาก จึงเป็นตายที่น่ากลัวโดยแท้ ชีวิตที่ต้อง การอยู่อย่าง
คนเป็นจึงต้องมีธรรมะประจำใจธรรมะเป็นเกราะป้องกันมิให้เราตกไปสู่ ความชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอีกประการหนึ่ง
การกระทำความชั่วย่อมเกิดแก่คนทุก เพศทุกวัย ถ้าหากเขาไม่มีเครื่องห้ามเครื่องกันแล้ว
ความลำบากก็เกิดแก่เขาได้ง่าย โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวจิตใจกำลังคึกคะนองร้อนแรงถ้าเอน
ไปในทางดีก็ดีนัก ถ้าเอนไปในทางชั่วก็ชั่วนัก แต่ส่วนมากมักเอนไปในทางที่ชั่ว เพราะ
ธรรมชาติของใจคน มี ปกติเดินไปในทางตำ่าอยู่เสมอ ยิ่งขาดการห้ามด้วยแล้วก็ไปกันใหญ่
ประดุจม้าคะนองที่ ขาดสารถีบังคับ ม้าที่กำลังคะนองและพยศต้องการมีบังเหียนและควาน
ม้าผู้จับบังเหียนไว้ฉันใด คนหนุ่มสาวที่กำลังคะนองก็ควรที่จักมีสิ่งสำหรับบังคับไว้ฉันนั้น ไฟลุก
ก็สิ่งนั้นไม่มีอะไร ดีไปกว่าธรรมะในทางศาสนา จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่หนุ่มสาวใน
สมัยนี้จักนำาตน เข้าหาพระกันเสียบ้าง ไม่อย่างนั้นมารร้ายจักจูงท่านไปสู่ทางร้ายซึ่งมีตัว
อย่างปรากฏอยู่อย่างชุกชุมในสมัยนี้ อันเป็นผลจากการขาดความสนใจในธรรมะ เป็น คน
นับถือศาสนากันแต่เพียงชื่อเท่านั้น คนหนุ่มสาวยังมีหวังที่จะอยู่ไปในโลกอีกนานปีมากกว่า
คนแก่ และจักมีโอกาสได้ กระทำความดีแก่โลกมากขึ้นไปอีก ความจำาเป็นในการแสวงหา
หลักทางใจจึงมากกว่า คนแก่เป็นธรรมดา คนไม่มีหลักศาสนาในใจเป็นคนปราศจากเครื่อง
ยึดเหนี่ยวเขาอาจทำ ผิดทำเสียเมื่อไรก็ได้ ในเรือนจำนักโทษ ส่วนมากเป็นคนหนุ่ม คนแก่มี
แต่น้อย นี้ก็เนื่อง จากคนแก่ท่านมีธรรมะรั้งใจ ส่วนคนหนุ่มขาดคุณธรรมรั้งใจจึงก่อกรรม
ทำาเข็ญได้มาก ถ้าหากท่านไม่อยากเป็นทุกข์ จงหันเข้าหาธรรมะกันเถอะ เพราะถ้าไม่เข้าหา
ธรรมะ อธรรมก็จะเข้าจับใจของท่าน..................................... เครียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:28:51 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:12:00 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:-_-:)ธรรมกับอธรรมให้ผลต่างกัน (:FR:)คือธรรมจะนำตนไปสู่สถานที่ดี อธรรมนำตนไปสถานที่ชั่ว
ท่านชอบอย่างไหนก็เลือกเอาเอง นึกว่าท่านคงไม่ เลือกอธรรมแน่ ๆ เพราะใจของท่านยังปรารถนาความสุขความเจริญอยู่
จึงหวังว่า ท่านคงเลือกเอาธรรมะเป็นฝ่ายดี เป็นฝ่ายที่ทำาให้
ท่านเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ การที่เราเรียกกันว่ามนุษย์นั้น ย่อมหมายถึงร่างกายและจิตใจ
อันอาศัยกันอยู่ ดังคำว่า กายกับใจประกอบกันเข้า คำว่า คน จึงเกิดขึ้น ถ้ามีกายไม่มีใจ
หรือมีแต่ใจไม่ มีกายก็หมดความเป็นคน ทั้งสองอย่างต้องอาศัยรวมกันเป็นอยู่เสมอ ในการ
บำรุงจึง ต้องบำรุงทั้งสองอย่างแต่คนเราส่วนมากมักพอใจบำารุงแต่ส่วนร่างกาย หาสนใจการบำรุงใจไม่
มิใช่แต่ได้บำรุงเท่านั้น ซำ้าร้ายยังทำาลายใจกันเสียด้วย การทำาลายใจ ของตนก็คือ การห่างเหินจากธรรมะ
นั่นเอง ถ้าเราบำรุงกายด้วยอาหารการกิน ตกแต่งอย่างไหนแล้วราก็ต้องบำรุงใจ
ด้วยอาหารและน้ำฉันนั้น อาหารของกายเป็นคำข้าวอาหารของใจเป็นธรรมะ ธรรมะนี่
แหละเป็นอาหารของใจ ถ้าร่างกายอ้วนพี เพราะได้รับการบำารุงอย่างดีแล้ว ก็ควรบำรุงใจให้
เป็นอย่างนั้นด้วย ใจที่ขาดการบำรุงเป็นใจที่ซูบผอม ขาดกำาลังสำาหรับต่อสู้ เมื่อขาดกำาลัง
ย่อมแพ้ข้าศึกได้ง่าย ข้าศึก ทางกายได้แก่โรคภัยนานาชนิด ข้าศึกทางใจได้แก่ความชั่วทำาใจ
ให้อ่อนแอนั่นเอง ความชั่วที่เรียกว่า กิเลสบ้าง มารบ้าง ซาตานบ้างก็มี และถ้าเอาชนะไม่ได้
ก็ต้องพ่าย แพ้ต่อมัน ความทุกข์ก็เกิดขึ้นดังคำาที่ว่า.................................... สลึมสลือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:29:21 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:21:24 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:3:)การพ่ายแพ้เป็นความทุกข์ ทุกข์เพราะตกอยู่ในอำนาจของมารร้ายที่คอยดึงไปสู่หลุมอบาย รู้สึกแย่
ตกเป็นทาสของมัน พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า การเป็นทาสเป็นทุกข์หนัก แต่ถ้าเรามีหลักใน
ทางใจมีอาหารหล่อเลี้ยง มีกำลังสกัด ต่อต้าน โดยวิธีการเข้าหาการฟังธรรมะ สนทนา
ธรรมะ คิดค้นธรรมะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วลงมือปฏิบัติธรรมะนั้น ๆ ให้ใจอ้วนพีมีกำลัง
มั่นคง ไม่มีข้าศึกใด ๆ มายย่ำยีได้ เลย เมื่อไม่มีข้าศึกมารบกวน ก็นอนหลับอย่างเป็นสุขในหมู่
ของคนที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ ทั้งหลาย ธรรมะย่อมรักษาคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้
แหละหนอมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า ธมฺมกาโม ภวำ โหติ - ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญในทางตรงกันข้ามผู้
ไม่ใคร่ธรรมก็เป็นคนเสื่อมแน่ ความใคร่ธรรมก็คือความอยากได้ใน ทางดี ตรงกันข้ามกับความชังธรรม
อันหมายถึงความไม่ปรารถนาในทางดีเสียเลย ภาษิตไทยโบราณรักดีหาม
จั่ว รักชั่วหามเสาจั่วเป็นของสูง เสาเป็นของตำ่และหนัก ด้วย นับว่าเป็นคำเตือนใจได้อย่าง
ดี ให้พยายามทำาตนเป็นคนเบากันเถิด อย่าเป็นคน หนักด้วยบาปอกุศลกันเลยคนจักเบาใจ
ได้เพราะการกระทำในทางดี ทางดีเป็น ทางธรรม เป็นทางของพระที่ได้ประกาศไว้เป็นตัว
ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต จึงเป็นการสมควรที่พวกเราจักเปลี่ยนใจมีเดินทางของศาสนา
อันเป็นทางที่สงบและ ปลอดภัย การเดินก็เช่นเดียวกัน อย่ามัวให้ผลัดวันประกันพรุ่งอยู่เป็น
อันขาด เมื่อรู้สึก ตนต้องการธรรมแล้ว ก็จงลงมือทำาทันที่ เพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
ถ้าหากจะทำความดีจงทำทันทีอย่าช้าไว้เป็นอันขาด เพราะการทำาความดีช้าๆ อาจตกไปสู่
บาปเสียอีกแห่งหนึ่งตรัสสอนไว้ว่า ความเพียรควรทำเสียแต่วันนี้ อย่าผลัดไว้ค่อยทำเลย
เพราะ ใครจักรู้ได้ว่า ชีวิตจักตายในวันนี้คิดอย่างนี้เป็นการคิดเพื่อเตือนใจให้เข้าหาความดี
คนไทยโบราณก็ได้สอนไว้ว่า น้ำขึ้นให้รีบตักน้ำลงจักไปตักได้ที่ไหน ฝรั่งสอนว่าจงตี
เหล็กเมื่อยังร้อน จงดายหญ้าเมื่อแดดออก เหล่านี้เป็นคำเตือนใจให้รีบกระทำในสิ่งที่ ควร
กระทำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอันเกี่ยวกับใจเป็นงาน่รีบด่วน ช้านิดเดียวไม่ได้ จึงควรมีสำนึกใน
เรื่องนี้ แล้วออกเดินทางทันที ทางได้เปิดไว้แล้วสำาหรับทุกคน เป็น ทางตรงไปสู่ความพ้น
ทุกข์ ทางที่กล่าวถึงก็ คือ การเดินทางกาย วาจา ใจ ตามหลักพระพุทธศาสนา มีอยู่ ทางเดียว
เป็นทางเอก อันประกอบด้วยองค์แปดประการ เป็นทางที่เป็นไปเพื่อ ความหมดจดของสัตว์
ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความดับสนิทของความโศกรำพันเพื่อความดับสนิทของทุกข์
โทรมมนัสเป็น....ทางที่พระบรมครูของเราทรงค้นพบด้วยพระปรีชาสามารถและทรงเดินตามนั้นจน
กระทั่งพ้นทุกข์ได้สมความปรารถนา มิใช่เดินแต่ลำพัง พระองค์ ยังทรงมีพระเมตตาแก่ชาว
โลกผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ ได้ทรงสอนให้เขาได้เข้าใจ หนทางนั้น และทรงเร่งเร้าให้ทุกคนเดิน สู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:29:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:26:14 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:KM:)ตามทางนั้นเป็นทางที่ทำให้ผู้เดินตามเปลี่ยน จากสภาพของปุถุชนไปเป็นพระอริยเจ้า เป็น
ทางที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงจากความทุกข์ ไปเป็นทางสงบสุข เป็นทางที่ให้ประโยชนแก่ ยิ้ม
ทุกคนทุกสมัย ตราบใดที่ชาวโลกยังเห็นว่า ทางนั้เป็นทางถูก และพยายามเดินตามทางนี้อยู่
แล้ว โลกจึงไม่ว่างจากพระอรหันต์ ทางนั้นอันประกอบด้วยองค์แปด................นี้คือ..................

1.สมฺมาทิฏฺฐิ - ความเห็นชอบ รัก
2.สมฺมาสงฺกปฺป - ความคิดในทางที่ชอบ รัก
3.สมฺมาวาจา - การพูดในทางที่ชอบ รัก
4.สมฺมากมฺมนฺต - การกระทำาที่ชอบ รัก
5.สมฺมาอาชีว - การเลี้ยงชีวิตชอบ รัก
6.สมฺมาวายาม - การทำาความเพียรชอบ รัก
7.สมฺมาสติ - การระลึกในทางที่ชอบ รัก
8.สมฺมาสมาธิ - ความตั้งใจมั่นชอบ รัก

มรรคหรือหนทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เป็นทางสายกลางที่นำาคนผู้เดิน ตามไป
สู่ความพ้นทุกข์ ที่อิงทางนี้ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง คือ สัมมาทิฏฐิและ สัมมา
สังกัปปะ เป็นตัวปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ส่วนนี้เป็นศีล สัมมา
วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ส่วนนี้เป็นสมาธิ รวมความก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็น
บทเรียน 3 ประการ ของพระพุทธศาสนานั่นเอง................................... เครียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:30:21 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:32:35 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:SLE:)ต่อไปจักได้พิจารณาถึงมรรคเหล่านี้ไปตามลำดับพอเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้น
จากทุกข์..............................................
1.สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นในทางที่ชอบ ทิฏฐิ แปลว่าความคิดเห็น ความเข้าใจ ความเป็น
กลาง ๆ ไม่ดี ไม่ชั่วแต่ในภาษาไทยมักหมายถึงความชั่ว เช่นพูดว่า คนนั้นทิ ฏฐิแรงมากต่อ
เมื่อได้ใส่คำาเข้าข้างหน้า เช่น มิจฉาทิฏฐิ ก็หมายถึงความเห็นผิด สัม มาทิฏฐิ ก็หมายถึงความ
เห็นถูก ที่เอาคำาอื่นมาใส่ข้างหลัง ทำาให้เป็นคุณบทไปก็มี เช่น ทิฏฐิสัมปันโน - ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ทิฏฐิวิปันโน - วิบัติด้วยทิฏฐิ ในที่นี้มุ่งกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอัน เป็นทางประกอบของทาง
สายกลาง เรื่องของความคิดเห็นหรือความเข้าใจเป็นมูล ฐานอย่างสำคัญของการกระทำ ถ้าผู้
ใดมีความเห็นถูกตรงแล้ว การกระทำเป็นไปใน ทางที่ดี ผู้มีความเห็นผิด การกระทำก็เป็นไป
ในทางชั่วเสีย ข้อนี้เป็นความจริงโดยแท้ลองสังเกตเพื่อนของท่านก็พอเห็นได้ เช่น ถ้าเขามีความเห็นว่า
การดื่มเหล้าเป็นของดี เป็นเครื่องสมานมิตร เขาจักเป็นนักเลงเหล้าที่ดื่มได้อย่างไม่อั้นที่เดียว
ถ้าใครไปชวนให้เขาเลิก ด่า
เขาอาจเห็นเป็นความคิดที่เหลวไหลไปเลย คนใหนเห็นว่าการไม่ โกงไม่ร่ำรวย เขาก็ต้อง
เดินตามความเห็นของเขา นักศาสนาที่มีความเห็นในหลักใดก็พอใจในหลักนั้น ทำตาม
ความคิดเห็นนั้น ๆ เสมอไป จึงเห็นได้ว่า ความเห็นก่อให้เกิด การกระทำทั้งส่วนดี และส่วน
เสียการกระทำทั้งมวลของบุคคลและจากความเห็นของ เขาความเห็นของแต่ละบุคคล การรวม
กันเข้าก็เป็นความเห็นสาธารณ และการกระทำให้เกิดจากความเห็นแบบนั้น อันเป็นไปใน
ทางที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง สุดแล้วแต่พื้นฐานของความเห็นโดยเหตุนี้แหละเจ้าลัทธิทุกฝ่ายไม่ว่าใน
ด้านใหน....ได้ทำการชักจูงให้ประชาชน มีความโน้มเอียงมาตามความเห็นฝ่ายตนโดยบอกให้
เห็นว่า คนที่มีความเห็นแบบนี้ ย่อมเป็นคนก้าวหน้างอกงาม อยู่กันฉันท์พี่น้อง เมื่อชักจูง
มาก ๆ เข้าก็เกิดความสนใจศึกษาเห็นว่าดีก็รับไว้ อันการชักจูงนั้นเขาอาจทำาของดำให้เป็น
ของขาว ของขาวให้เป็น ของดำเพื่อยั่วใจของผู้ฟังก็ได้ หงุดหงิด............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:31:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:38:23 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:PL:)ทางด้านศาสนาก็มีความเห็นต่าง ๆกัน ใครมีความเห็นแบบใดก็พูดชักจูงคนให้คล้อยตาม
ความเห็นในแบบนั้น ที่สุดก็มีหลายแบบหลายความเห็น ต้องถกเถียงกันเป็นการ ใหญ่ ทำาไม
จึงถกเถียงกัน เพราะเขาเป็นผู้ยึดถือในความเห็นของตน ๆ ต่างก็ถือว่าอันนี้จริงอันอื่นหา
จริงไม่ เมื่อไม่ยอมกันก็เถียงกัน การยึดมั่นในความเห็นเป็นกิเลสแบบหนึ่งท่านเรียกว่า
ทิฏฐุปาทาน - การยึดมั่นในความเห็น การยึดถืออย่างนี้ก็เป็นทุกข์ เหมือนกัน ทุกข์เพราะคิด
ว่า คนอื่นไม่เห็นเหมือนตัว ทุกข์ว่าน่าสงสารเขาที่เป็นคนเห็นผิดแต่เจ้าตัวเองหาได้รู้ไม่ว่า.............
ตนเองก็เป็นคนเจ้าทิฏฐิ เห็นอะไรผิดอยู่เหมือนกันครั้งหนึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธองค์ว่าพระองค์มีทิฏฐิอย่างไร?
ตรัสตอบว่า ตถาคตไม่มี ทิฏฐิ เพราะไม่ทรงยึดมั่นในอะไร ๆ ทรงใช้ความรู้ความเห็นเป็นทางเดินเหมือนคนใช้
แพข้ามฟาก หาได้ทรงติดในแพนั้นไม่ จึงทรงกล่าวตอบอย่างนั้น ทิฏฐิหรือความเห็นผิด มี
อิทธิพลเหนือใจคนเหนือสังคมอยู่มาก จึงเป็นการจำเป็นที่ ต้องมอบความเห็นในทางที่ชอบ
ไว้แก่เขา ตั้งแต่ใจของเขายังว่าอยู่ ยังไม่ได้รับอะไรไว้ว่าเป็นลัทธิของตนการทำางานอย่างนี้
เป็นงานของผู้นำาในครอบครัวที่ให้การศึกษาแก่เด็กของตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้เขารับไว้
เฉพาะแต่สิ่งที่ถูกต้องอย่างเดียวไม่ว่าในด้านศาสนาการเมือง ลัทธิเศรษฐกิจ
งานอย่างนี้เป็นงานที่ต้องทำาอย่างรีบด่วนช้าไว้ไม่ได้ เพราะเรื่องของใจคนเป็นเรื่องที่ช้านาที่เดียวก็เสียหาย
จึงต้องพร้อมกันให้ความเห็น ตีหัว
ถูกแก่เขาเราจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเล่อร์ประมุขของประ เทศเยอรทันได้
ทำาการชักจูงใจชนเยอรมันให้เกิดความเชื่อว่า ชนเยอรมันเท่านั้นเป็น อารยัน เป็นผู้สมควร
จักครองโลก นักรบเยอรมันเป็นนักรบไม่รู้จักคำาว่าแพ้พูดเสมอ ๆ ในวิทยุกระจายเสียงใน
หนังสือพิมพ์ในบทละคร ในการสอนในโรงเรียนตลอดถึงใน ครอบครัว เป็นการฉีดความ
เห็นอย่างนี้เข้าสมองของเด็กหนุ่มเยอรมัน ผลที่สุดแถวทหารกล้าตายก็พร้อมเยอรมัน หงุดหงิด
ทั้งชาติได้เข้าสู่สงครามและได้รับความแหลก..................ลาญไปหมด หงุดหงิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:31:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:42:45 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:10:)ความเห็นที่กล่าวในสมัยผู้นำามีอำานาจก็ยังคงถูกอยู่แต่มิใช่ถูกโดยธรรม ถูกตามความเห็น
ของเขาเท่านั้น ความถูกแบบนี้เป็นความถูกที่กลับกลายได้ เป็นความถูกที่ไม่ถูกแท้จริง
ความเห็นที่มิใช่เป็นความจริงแท้ขั้นเด็ดขาด ซึ่งเรียกว่า อันติมติ แล้วยังมี การกลับกลายได้
เสมอสมัยหนึ่งเขาว่าโลกแบน ดวงตะวันเป็นเทวดาชักรถเทียมม้า ส่องแสงสว่างแก่โลก พวกเดิน
เรือไม่กล้าไปไกล ๆ เพราะกลัวจะตกออกไปนอกโลก แต่ต่อมาเขาเห็นกันใหม่ว่าโลกกลม
โลกเดินรอบตัวเอง และเดินรอบดวงอาทิตย์ อาทิตย์เป็นไฟดวงใหญ่เวลานี้ชาวโลกมีความ
เข้าใจกันเช่นนั้น แต่ความเห็นแบบนี้ก็มิได้ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริงเป็นความ
เห็นด้านโลกเท่านั้นหาเป็นความเห็นที่ ควรจะเอามาเถียงกันไม่ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายเป็นชาวพุทธ
ลองมาศึกษาความเห็นตามหลัก พุทธธรรมเป็น เหงื่อตก
ความเห็นที่เที่ยงแท้เป็นความเห็นที่พิสูจน์ได้ด้วยใจของตนได้ เป็น ความจริงที่ไม่เคย
เปลี่ยนแปลง ถึงแม้สิ่งทั้งหลายในโลกเปลี่ยนไป ความจริงหาได้ เปลี่ยนไปไม่ ก่อนที่เราจะ
เข้าถึงความเห็นที่ถูกต้อง - จริง - แท้ของพระพุทธองค์เราลองมาพิจารณาถึงความเห็นของ
คนในยุคของพระพุทธองค์กันสักเล็กน้อย คนในยุคก่อน แต่พระพุทธเจ้าบังเกิดเล็กน้อย
หรือนานไปมาก จนกระทั่งถึงเวลาพระพุทธเจ้าแล้ว เขามีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นอย่าง
มากทีเดียว ในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย การได้รับความทุกข์สุข ตลอดถึงเรื่องโลกที่เขา
อาศัยอยู่นี้ด้วย.....................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:32:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:47:27 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


เขามีความเชื่อแปลก ๆ ตามความคิดเห็นของเขา และปฏิบัติตามความคิดเห็น
ของเขาประการต้นในเรื่องเกี่ยวกับโลกและชีวิตเขาถือว่าโลกนี้มีผู้สร้างผู้รักษา ผู้สร้างเป็นใหญ่กว่า
อะไรทั้งหมด ตัวผู้สร้างเองเป็นผู้เกิดมาเอง เกิดจากความสิ่งว่างเปล่าเป็นตัวขึ้นแล้วสร้าง
อะไรต่ออะไร ให้ยุ่งไปหมด บางพวกถือผู้สร้างองค์เดียว บางพวกถือหลายองค์ ความเห็นก็
แตกแยกออกไป เลยเป็นเหตุให้ทะเลาะกันยุ่งไปหมด
เพราะความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องความสุข - ทุกข์ บางพวกว่าสุขทุกข์เกิดจากภายนอกเช่น
เทวดาดลให้เป็นไป ถ้าเทวดาโกรธก็ทำาให้เป็นทุกข์ ถ้าเทวดาพอใจก็ช่วยให้เป็นสุข ความ
พอใจหรือไม่พอใจของเทวดาอยู่ที่การประจบกราบไหว้ เพียงพอหรือไม่เพียงพอฉะนั้น เขา
จึงทำการบูชาเทวดาเป็นการใหญ่ ฆ่าสัตว์ ฆ่าคน บูชาเทวดา เป็นการกระทำาที่อยากได้ความ
สุขแต่ให้ผู้อื่นสัตว์อื่นเป็นทุกข์ เป็นการกระทำาที่ดีหรือไม่
ลองคิดดูก็พอมองเห็นในเรื่องความตายบางพวกถือว่าตายแล้วเกิด คนเป็นอะไรก็เกิดเป็นอย่างนั้น
บางพวกถือว่าคนตายแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้สุดแล้วแต่กรรม บางพวกว่าตายแล้วหมด
เรื่องกันแต่บางพวกว่าหมดแต่เพียงบางสิ่ง บางสิ่งยังคงเหลืออยู่
บางพวกว่าร่างกายกับวิญญาณอันเดียวกัน บางพวกว่าคนละอันการปฏิบัติจึงแตกต่างกันตาม
ความเห็น ของตน ๆ ทำาให้สถานการณ์ทางศีลธรรม และปรัชญาอยู่ในสภาพที่ยุ่งยากพอใช้ที
เดียวแม้ในสมัยนี้ซากความเห็นต่าง ๆ ก็ยังมีอยู่ เราจึงเห็นการปฏิบัติของโยคีเป็นไปในรูป
แปลก ๆ เช่นบางพวกไม่นุ่งผ้าเลย บางพวกนอนกลางดินเหมือนสัตว์ เดรัจฉาน  (:QS:)บางพวกก็
กินอาหารอย่างสกปรกดูแล้วเป็นสภาพที่น่าทุเรศและน่าสงสารเขาก็โดยเข้าใจว่าจักเป็น
ทางพ้นทุกข์ได้สมหมาย นี่เป็นความเห็นที่พระบรมครูได้แสดงออกมาแก่พวกเราทั้งหลาย
อันเป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาให้เข้าใจ.............................. กลอกตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:32:45 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 13:56:14 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:SHOCK:)ความเห็นถูกหรือความเข้าใจถูกทางในพุทธธรรมจึงเป็นเรื่องที่พอมองเห็นได้ด้วยการตรึก
ตรองตาม เป็นความเห็นถูกหรือ ความเข้าใจถูกทางในทางพุทธธรรม เป็นความเข้าใจที่ควร
ศึกษาเพื่อทำตนให้พ้นจากทุกข์ แต่ก่อนที่จะศึกษาความเห็นถูกอันเป็นชั้นยอดนี้ เราลองไต่
ตามความเห็นชั้นง่าย ๆ เสียก่อน เป็นความเห็นที่ควรทำาความเข้าใจในเบื้องต้น เป็นการ
เตรียมตัวเพื่อความเห็นชอบชั้นสูงต่อไป จักได้นาความเห็นมาพิจารณาเป็นข้อ ๆ
เห็นหลักกรรม กัลยาณการี กลฺยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง - ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำพูดเพียง
8 คำานี้ เป็นคำาพูดที่อมความจริงไว้มาก เป็นคำาที่เราควรศึกษาสนใจ เป็นคำที่ถ้าเข้าใจและทำา
ตามแล้วก็นำาความสุขความเจริญมาให้ และถ้าไม่เข้าใจ ไม่ทำตามก็นำความทุกข์มาให้ได้
เช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรทำาความเข้าใจกัน ก่อนเป็นเบื้องต้น ทำดีได้ดี ทำชั่ว
ได้ชั่ว เป็นคำาสอนที่มีทั้งเหตุผลอยู่ในตัวอย่างชัดเจน ทำดีเป็นเหตุ ได้ดีเป็นผล ทำชั่วเป็น
เหตุ ได้ชั่วเป็นผล การกระทำาก่อให้เกิดผลแก่ผู้ กระทำหลักนี้เป็นหลักใหญ่เรียกว่าหลักกรรมคำว่า
กรรม แปลว่าการกระทำเป็นไป ได้ทั้งเหตุและผล เมื่อมีการกระทำา ผลของการก
ระทำก็เกิดแก่ผู้กระทำและส่ง ผลกว้างออกไปถึงคนอื่นด้วยเหมือนการที่เอาก้อนหินปาลงไปใน้ำ
ด้วยแรงดันของ ก้อนกินทำให้น้ำกระเพื่อม ทำให้
ปลาในนำ้าเกิดความรำคาญ ทำให้ตลิ่งพังเกิดการเสียหาย ผลเกิดทยอยกันไปตามลำดับใน
ภาษาสมัยใหม่พูดว่า กิริยาและปฏิกิริยา กิริยาคือ การกระทำา ปฏิกิริยาหมายถึง การกระทำา
ตอบอันเป็นตัวผล เช่น เราเอาฝ่ามือทั้ง 2 ข้างตบกันเป็นกิริยา เกิดเสียงดัง เจ็บฝ่ามือหนวกหหูคน
ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นปฏิกิริยาที่ เกิดขึ้นตามลำดับ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นอยู่ใน
อำานาจแห่งกรรมทั้งนั้น อาการ หมุนของโลกการเดินของดวงดาว การเดินของดวงอาทิตย์ ก็
เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในทางดินฟ้าอากาศ การเปลี่ยนแปลงในทางดินฟ้าอากาศ
ก่อให้เกิดมี การออกดอกออกผลของต้นไม้ คนได้เก็บมารับประทานหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำาให้
เกิด ความสุขสบายในเมื่อรับเอาแต่พอดีพอควร เกิดเป็นโทษเพราะรับเอาเกินพอดีไป ความ
เป็นไปของสากลจักรวาลทั้งหมดอยู่ในอำานาจของกรรม พ้นจากกฏนี้ไปไม่ได้เป็นอันขาด....................... อ๊ากก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:33:22 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:01:14 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:SLE:)ไม่มีสิ่งใดที่จักเกิดขึ้นและเป็นอยู่โดยมิได้อาศัยกรรมต้องมีกฏนี้เข้าไปแทรกแซงอยู่เสมอ
และที่ทุกอย่างดำเนินไปได้เป็นปกติ ก็เพราะยังมีกรรมของมันอยู่ ถ้าหากหมดกรรมลงเมื่อ
ใดแล้วก็แตกสลาย แต่การสลายตัวของสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป อีก เช่นต้นไม้ต้นหนึ่ง
ตายก็กลายเป็นไม้ท่อน คนเราเอาไม้ท่อนไปทำรถ ทำเรือน ทำอะไรหลายอย่างถ้าวัตถุที่ถูก
ทำนั้นตายคือผุพังต่อไปอีกก็กลายเป็นปุ๋ยก่อให้เกิดเป็นอาหาร แก่หญ้าแก่ต้นไม้ต่อไป วัตถุทั้ง
ปวงในโลกจึงมิได้หายไปจากโลก มันหมุนเวียนเป็นสัง สารวัฏฏ์วนไปมาอยู่เสมอเป็นเรื่อง
ไม่จบ แต่เป็นวงกลมที่ไม่มีการตั้งต้นและไม่มีที่สุด เป็นแต่อาศัยเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ๆ แล้ว
ก็เกิดขึ้นอีก เป็นวงเวียนตลอดสายจึงเรียกว่า เป็นไปตามอำนาจของกรรม
กมฺมุนา วตฺตติ โลโก - โลกหมุนไป ตามกฏของกรรมเรื่องของโลกเป็นเช่นใดเรื่องของ
ชีวิตก็เป็นเช่นกัน ที่จริงชีวิตเราก็เป็นโลก เหมือนกัน เรียกว่า สัตวโลก โลกคือ หมู่สัตว์ สัตว์
โลกทั้งปวงเกิดดับไปตามอำานาจ ของกรรม กรรมนั้นเป็นของเขาผู้กระทำ
กระทำแล้วก็เกิดผลแก่เขาต่อไป สัตว์โลก เช่นมนุษย์เป็นผู้มีร่างกาย มีใจครองร่างกา
กายกับใจมีส่วนสัมพันธ์กันมาก และก่อให้ เกิดเรื่องราวมากหลาย การกระทำาของกายและใจเป็นกรรมทั้ง
นั้นเช่นเรายกมือ เดิน กิน พูด เราทำทุกอย่าวเป็นเรื่องของกรรม ส่วนใจก็ทำาหน้าที่ในทางคิดค้น
นึกไปใน เรื่องของกรรม ส่วนใจก็ทำหน้าที่ในทางคิดค้นนึกไปในเรื่องต่าง ๆ การกระทำของ
กาย ดยไม่มีการบังคับจากใจ ยังไม่จัดเป็นกรรมที่จักก่อให้เกิดผลแก่ผู้กระทำาในทางเป็น
บุญ เป็นบาป เรียกตามภาษาธรรมะว่า ยังไม่มีเจตนา  ช๊อค..............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:33:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:04:44 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


ดังพุทธดำรัสว่า เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ -
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็น.......................................
ตัวกรรมเจตนาแปลว่า ความจงใจความตั้งใจที่จะทำ เช่น การทำให้สัตว์ตาย ถ้าเราเดินไป
และไม่ได้เห็นว่า มีตัวสัตว์อยู่บนพื้นดิน เหยียบมันตาย การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เป็นบาป
ในทางใจ แต่เจ้าสัตว์ตัวนั้นต้องตายโดยไม่ได้อะไร เป็นการตายเปล่า เพราะผลกรรมของ
มันที่เดินมา ขวางอยู่ตรงนั้น ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าผลของกรรมเป็นไปในด้านวัตถุอย่างหนึ่ง
เป็นไปในด้านจิตใจหรือนามอย่างหนึ่ง ผลกรรมที่เกิดเพราะผลทางด้านวัตถุไม่จัดเป็นบุญ
เป็นบาป เรื่องบุญบาปเป็นเรื่องทางด้านจิตใจโดยเฉพาะ
ส่วนกรรมที่มีเข้าประกอบก็จัดเป็นบุญเป็นบาปได้ บุญบาปก่อให้ชีวิตของผู้กระทำา
หมุนเวียนไปสู่ความสุขบ้างทุกข์บ้าง สุดแต่อย่างไหนเกิดขึ้น ดังที่กล่าวว่า ทำดีได้ดี ทำชั่ว
ได้ชั่ว นั่นเอง เรื่องดีชั่วเป็นเรื่องของ แต่ละบุคคล เป็นเรื่องของใจโดยแท้ ไม่ใช่เรื่องของ
วัตถุ ผู้ใดทำาผู้นั้นได้รับผลของ การกระทำนั้น หาก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนทางใจแก่
ใครไม่ แต่อาจมีการกระ ทบกระเทือนทางวัตถุกันบ้าง เพราะเรื่องของวัตถุก็เกิดผลทางด้าน
วัตถุ เรื่องของใจก็ เกิดผลทางด้านจิตใจ ความดีความชั่วเป็นเรื่องของใจล้วน ๆ เมื่อเป็นเรื่อง
ของใจ ผลก็ต้องเป็นไปในทางใจโดยส่วนเดียว ฉะนั้นคำาที่ตรัสว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจึง
เป็น ความจริงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง.........................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:34:28 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:08:03 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


เพื่อให้เข้าใจชัดเรามาพิสูจน์อีกสักเล็กน้อย อันที่กระทำความดี ก่อนลงมือกระทำต้องมี
ความคิดเกิดขึ้นก่อน เช่น คิดจะทำทาน จะรักษาศีล จะไปนั่งภาวนาเพื่อ ความสงบใจ ความ
คิดเช่นนี้เป็นความคิดในด้านดี เป็นเรื่องของใจ ในขณะที่ใจ คิดอย่างนี้ เรียกว่า การทำกรรม
โดยใจ เป็นมโนกรรม คนที่คิดเช่นนี้ ถ้าใจของเขา ไม่มีความชั่ว เมื่อคิดจะทำทาน ความโลภ
ไม่มี ความเห็นแก่ตัวไม่มี เมื่อจะรักษาศีล ความเกลียดไม่มี ความพยาบาทไม่มี ความคิดจะ
ฆ่า จะลัก จะประพฤติผิดในกาม หรือ จะพูดจาหลอกลวงใครไม่มีอยู่ในใจของเขา เขาเริ่มได้
ความดีแล้ว เหมือนจะจุดตะ เกียงให้แสงสว่าง พอขีดไม้ขีดไป ก็ได้ความสว่างแล้วนิดหนึ่ง
พอจุดตะเกียงความส่วางก็มากขึ้นในเรื่องการกระทำาความดีก็เช่นกัน พอคิดก็ได้แล้ว ลงมือทำ
ก็ได้ความดี เพิ่มขึ้นในใจ ทำไป
ไม่หยุดความดีก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความสะอาด สงบ สว่าง ใน ทางใจ นี่แหลผลของ
การกระทำความดี ในด้านความชั่ว การฆ่า การลัก การประพฤติผิดในกาม การพูดโกหกพูด
หยาบ พูดเหลวไหล พูดยุให้คนแตกจากกัน การดื่มกินของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท เหล่านี้เป็นความชั่ว เพราะเป็นการกระทำที่ทำลายตนทำลายท่าน ผู้รู้กล่าวติว่าเป็น
สิ่งไม่ดี ลองนึกถึงตัวเราเองสักเล็กกน้อย คนที่ใจดีใจงามอยู่จักทำาสิ่งเหล่านี้ได้ลงคอ ไหม
ทำาไม่ได้ เมื่อจะทำาชั่วเริ่มเศร้าหมอง :'( :'( :'( :'(
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:34:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:14:28 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:BR:)เหมือนบ้านจะมืดตะเกียงเริ่มหรี่เพราะหมดน้ำพอน้ำมันแห้ง ตะเกียงดับทันที
ความมืดปรากฏออกมาให้เห็น คนทำาบาปก็เช่น เดียวกัน เขามีความตั้งใจในทางผิดเกิดขึ้นเป็นความชั่ว
และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งทำาบาปได้โดยปราศจากความยับยั้ง ผลที่เกิดทางใจก็
คือความเศร้าหมองทวี จำนวนมากชึ้น ใจเป็นบาปหนักเพราะความเศร้าหมองนั้น ๆ นี่เป็นความชั่วที่เขาได้รับ
ทุกครั้งขณะทำาชั่วอันคนที่ทำชั่วนั้น ๆ นี่เป็นความชั่วที่เขาได้รับทุกครั้ง
ขณะที่ทำชั่ว อันคนที่ทำชั่วนั้น ทำทีละน้อย ๆ ไปก่อน ค่อยทวีจำนวนมากขึ้นจนชินและ
รู้สึกตัวต่อความชั่ว เหมือนคนที่ไปทำงานที่สกปรก เช่นทำงานถ่ายอุจจาระ นานเข้าจมูกชิน
กับกลิ่นนั้น ความรู้สึกว่าสกปรกหายไปจากใจ เขาก็จับถึงอุจจาระได้สบายเหมือนจับถัง
ข้าวต้มคนที่ทำาชั่วก็เป็นเช่นนั้น ทำหนักเข้าก็กลายเป็นคนชั่วชนิดถอนตัวไม่ออก ใจของ เขา
ถูกเย็บย้อมพัวพันรัดรึงกับควมชั่วเสียแล้ว เป็นเรื่องน่ากลัวโดยแท้ ความดีความชั่ว เป็นเรื่อง
ของใจก่อน เมื่อใจมีความดี การกระทำก็เป็นไปในทางดี เป็นการเพิ่มความดี ให้แก่ตน ถ้าใจ
มีความชั่วการกระทำก็เป็นความชั่ว เป็นการเพิ่มความชั่วให้แก่ตน การ เพิ่มความดีเป็นความ
สุขการเพิ่มความชั่วเป็นความทุกข์ ท่านชอบอย่างไหน ?ในสมัยนี้มีคนจำนวนมาก มีความเข้าใจ
ผิดจากความจริงเขาเข้าใจคำาว่าคำ สอนที่ว่า ทำดีได้
ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นสิ่งที่ไม่จริง โดยอ้างว่าบางคนทำชั่วแต่เห็นเขาร่ำรวยมีกินมีอยู่ดีบางคน
เป็นซื่อตรงสุจริต แต่ลำาบากยากจนต้องหาเช้ากินเย็นความเป็นอยู่ลำบากเต็มทีเขาจึงกล่าว
ติหลักธรรมข้อนี้ว่าเรื่องเหลวไหล ไม่เป็นจริง เป็นเช่นนี้มีอยู่มากเหมือนกัน เพราะเขา
ตีความหมายผิดไปจากหลักเดิม เข้าใจว่า ได้ดีได้ ชั่วเป็นเรื่องของวัตถุเงินทองไปเสียเขาจึง
เขวไปจากแนวทางของความเห็นชอบ และเมื่อเ้ขวก็เป็นเหตุทำาให้ทำาผิดไปได้มาก มี
ตัวอย่างอยู่มากมายในสมัยนี้.................................. ยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:35:30 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:18:47 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


ที่จริงคำสอนนี้ ท่านพูดให้ฟังอย่างง่าย ๆ ที่สุดว่า ทำาได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ดีกับชั่วเป็นคุณภาพ หงุดหงิด หงุดหงิด
ของจิตใจ ต้องได้ดีเมื่อมีการกระทำส่วนวัตถุต่าง ๆนั้นมันเป็นผลพลอยได้อีกทีหนึ่งอาจได้
เร็วหรือช้าสุดแล้วแต่การประกอบ เพราะการประกอบกรรมที่จะให้ได้ผลทางวัตถุนั้นต้อง
รอเวลา ต้องรอบุคคล ต้องรอสถานที่ และต้องมีการประกอบให้ตรงกับสิ่งเหล่านี้ ถ้าพลาด
ไปก็ยังไม่เกิดผลและทำให้เข้าใจผิดเป็นอื่นไปก็ได้
เหมือนการปลูกต้นไม้และหวังผล ต้องรอไปหน่อยอย่าใจร้อน ถ้าร้อนใจก็เป็นทุกข์ และเป็น
ความเศร้าหมองแก่ตนโดยใช่เหตุ ให้ทำาความเข้าใจเสียก่อนว่า ผลที่ได้ก่อนเป็นเรื่องทางใจ
แล้วต่อมาก็เป็นเรื่องทางวัตถุ เช่นว่า ท่านเป็นข้าราชการไปทำงาน ถ้าท่านไปทำงานดีตลอด
มา ท่านได้ความสบายแล้ว ต่อมาก็ได้เลื่อนยศขึ้นเงินเดือนสูงขึ้นถ้าท่านขาดสายหรือทำงานอย่าง
ขาดตกบกพร่องขั้นต้นท่านก็ร้อนใจ ต่อมางานเสียหนักเข้าพอผลกรรมสุก
กรอบดี ท่านก็ตกจากตำแหน่ง นี่เป็นผลที่เกิดมาตามลำาดับ เป็นเรื่องจริงทั้งนั้นจึงควรได้ตั้งไว้เป็นกฎว่า
ทำดีได้ความดีในทางใจก่อน ความดีในใจเป็นทาง ให้ได้วัตถุ
วัตถุทีได้มาโดยควมดีเป็นสิ่งให้ใจสบาย ในที่สบายเห็นเหตุให้สงบ สะ อาด สว่าง ทำความ
ชั่วได้ความชั่วในทางใจก่อนความชั่วเจริญในก็หมดทรัพย์สิน คน หมดทรัพย์ต้องมีความ
ทุกข์ ความทุกข์ทำาให้ใจเป็นบาปและบาปหนักขึ้น.............................. ตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:36:08 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:23:27 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:HIT:)ใคร่จะแนะนำอีกสักเล็กน้อย เกี่ยวกับการทำกรรมเพื่อหวังผลแก่ตน ผู้กระทำที่มี
ความเชื่อในทางผลกรรมแล้วว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นเรื่องของใจก่อน ผลเป็น วัตถุเป็นสิ่งตามมา
ทีหลัง เป็นของแน่นแน แต่การเป็นอยู่ในโลก เราอยู่กับคนที่มีนิสัยใจ คอไม่เหมือนกันมี
ความคิดเห็นแตกต่างกัน การอยู่ร่วมกันต้องเรียรู้นิสัยใจคอกันบ้าง พอให้รู้ใจว่าใครชอบ
อย่างไร เพื่อจักได้ปฏิบัติตนให้พอเหมาะพอควรกัน การกระทำา อะไรทุกอย่างต้องเป็นไปใน
รูปพอดี และเหมาะแก่กาละเทศะเสมอ ถ้าขาดความพอดีไม่เหมาะแก่กาละเทศะผลก็ไม่
อำนวยให้แก่ตนได้ฉะนั้นการทำความดีที่หวังผลทางวัตถุต้องเข้าใจว่าวัตถุที่คนจักพึงได้นั้นจะได้จากไหน
ใครเป็นผู้อำานวยให้วัตถุอันนั้นมาบ้าง แล้วคิดต่อไปว่าคนนั้นๆ เขาชอบในทางไหน ต้องหา
ทางเข้าถึงจิตใจของเขา แต่ไม่ทิ้งความดีของเรา การทำความดีในบางครั้งอาจไม่เป็นที่พอใจ
ของคน บางคนก็ได้ เมื่อเขาไม่พอใจ เขาก็เป็นปรปักษ์กับเรา เราเองต้องได้รับความเบียด
เบียนจากเขา เรื่องมันยุ่งอยู่เหมือนกัน เพราะการกระทำที่ไม่ถูกกาลและบุคคลจึงเป็นความ
จำเป็นต้องทำให้เหมาะแก่กาลเวลาผู้ใหญ่บางคนก็มีศีลธรรมดีบางคนก็ปราศจากศีลธรรม
ถ้าเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนที่มี
ศีลธรรม ก็ไม่สู้ลำบากนักแต่ถ้าได้คนขาดศีลธรรมก็เดือดร้อนจึงต้องหาทางออกให้
แยบคายอย่าทำสิ่งใดที่เขาไม่ชอบใจการทำดีนั้นมีหลายอย่างเหมือนทางเดินมีหลายทางถ้า...................... กลอกตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:36:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 14:27:34 »

http://www.wantup.com/view-399_panyanantha.jpg
องค์สามของความดี

dictionaryDomain


(:7:)ทำดีแบบนี้คนอื่นเขาขัดใจ เราก็เปลี่ยนทำอย่างอื่นเสียก็ได้ ถือหลักว่าอย่าขัดใจเขา
และเราก็ไม่เสียคนเป็นใช้ ได้ หรืออีกประการหนึ่ง การทำดีอย่างเดียวไม่เพียงพอแต่ต้องเป็นความ
ชอบด้วย เช่นชอบใจผู้บังคับบัญชา ชอบด้วยตัวบทกฏหมายชอบด้วยเวลาชอบด้วย
ภูมิประเทศ และ ชอบด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างนี้เป็นความชอบ ถ้าดีกับชอบมารวมกัน
เมื่อใดผลก็จะเกิดขึ้นทันที
จงคอยกำหนดดูคนที่เขาก้าวหน้าในทางงาน เขาต้องมีความดีส่วนตนอยู่ ก่อน เช่นมีความรู้ดี
มีความประพฤติดี เมื่อมีความดีอย่างนี้แล้วก็พยายามเข้าหาเจ้านายไว้บ้าง ทำดีชนิดที่นาย
ชอบให้เหมาะแก่โอกาส เขาก็เป็นที่คุ้นเคยกับนายเวลา เวลาจะเลื่อนคนเลื่อนเงิน เป็น
ธรรมดานายจะต้องนึกถึงคนใกล้ และคนที่รู้จักก่อนเสมอ เรื่องนี้เป็นธรรมดาของโลกหนีไม่
พ้นคนอยู่ในโลกต้องเรียนรู้ไว้บ้าง แต่คนใดที่ ทำดีไปฝ่ายเดียว โดยไม่ทำให้เป็นที่ชอบใจ
นายไม่เป็นที่รู้จักของนายทางเดินมันตันบ่อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะใช้ธรรมะไม่ถูกกาละ
เทศะนั่นเอง จึงขอฝากความคิดนี้ไว้ด้วยส่วนบุคคลที่กระทำความดีโดยหวังเอาความดีแท้ ๆ
นั่นไม่มีปัญหาอะไรเขาจักต้องได้ความ..........................
ดีตอบแทนเสมอ คนเช่นนี้แหละเป็นคนนำาความสงบสุขมาสู่โลก ว่ากัน ตามความจริงแล้ว
ควรทำดีเพื่อความดี ทำงานเพื่องาน อย่าไปหวังผลจากอะไรจากสิ่งนั้น ปล่อยให้ผลมันเกิด
ขึ้นเองตามเรื่องของมัน เราเองมีหน้าที่แต่เพียงกระทำเท่านั้นเมื่อทำกิจเสร็จแล้วก็เป็นอัน.................... ตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2553 15:37:09 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.273 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤศจิกายน 2566 12:23:03