[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 10:35:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวทะเลพังงา : เกาะปันหยี เขาตะปู เขาทะลุ และเขาเขียน  (อ่าน 5643 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 มกราคม 2557 14:09:57 »

.

เขาตะปูจำลอง สัญลักษณ์จังหวัดพังงา บริเวณวงเวียนเมืองพังงา จังหวัดพังงา

เที่ยวทะเลพังงา
เกาะปันหยี เขาตะปู เขาทะลุ เขาเขียน

เมืองพังงา
เมืองพังงาในอดีตเป็นเมืองแขวงขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมืองพังงาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา

ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้และสืบค้นได้แน่ชัด ปรากฏว่าเมืองพังงาได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในปีนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญา ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า โปรดให้ อะเติงหวุ่น เป็นแม่ทัพ นำกองทัพเรือพม่าให้เข้าตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง และได้กวาดต้อนผู้คนไปรวมไว้ที่ค่ายของตนและเผาเมืองถลางเสีย  

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์กรมพระราชวังบวร ยกทัพหลวงมาช่วยและได้มาทันขับไล่ทหารพม่า  ระหว่างศึกครั้งนั้นได้มีราษฎรบางส่วนอพยพไปหลบภัยอยู่ที่ “กราภูงา” (ภาษามลายู แปลว่า ป่าน้ำภูงา) ดินแดนที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบ

ครั้นเสร็จศึกแล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงพระดำริว่า พม่าได้เผาเมืองถลางทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลงยากที่จะบูรณะสร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดให้รวบรวมพลเมืองจากเมืองถลางอพยพข้ามฝากมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ “กราภูงา” และจัดรูปแบบการปกครองเป็นเมือง ให้ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏว่ามีหมู่บ้านชื่อ “ถลาง” อยู่ในเขตท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่งในปัจจุบัน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชดำริจะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตีให้เข้มแข็งขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๓๘๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) มาเป็นเจ้าเมืองให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ  รวมทั้งได้ยุบเมืองตะกั่วทุ่ง เป็นอำเภอให้ขึ้นกับเมืองพังงา  ดังนั้น พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) จึงเป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรก  

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ยุบเมืองตะกั่วป่าให้ขึ้นกับจังหวัดพังงา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นต้นมา



.:::อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา:::.[/center]
อุทยานแห่งชาติ ๔๐ เกาะ และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เขาพิงกัน เขาตะปู ถ้ำลอด รวมทั้งหาดทรายสวยงาม อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ไร่ หรือ ๔๐๐ ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งบริเวณอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๒๓ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๒๓ ได้มีมติเห็นชอบกำหนดอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินอ่าวพังงา ในท้องที่ตำบลกระโสม ตำบลกะไหล ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง และตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเกาะยาวใหญ่ กิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า ๑-๒ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ภายใต้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๒๕ ของประเทศไทย
.....ข้อมูล : annaontour.com

ลักษณะโครงสร้างและธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวทิวเขาแกรนิต ที่เรียกว่า ทิวเขาตะนาวศรีและทิวเขาภูเก็ต อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดพังงา-ภูเก็ต เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคครีตาเชียสกับยุคเทอร์เชียรีตอนต้น อายุประมาณ ๑๓๖-๓๖ ล้านปีมาแล้ว ภูมิสัณฐานและภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ ยังเป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างที่เรียกว่า รอยเลื่อน มีชื่อทางธรณีว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนพังงา

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหิน (รอยคดโค้ง-รอยเลื่อน) ของหินแกรนิต นำเอาแร่ธาตุที่มีค่ามาสะสมตกผลึก เช่น แร่ดีบุก ตะกั่ว วุลแฟรม เหล็ก พลวง แมงกานีส แบไรต์ ฟลูออไรต์ และทองคำ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนซึ่งแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนหรือภูเขาหินปูนลูกโดด และยังปรากฏว่ามี ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) อีกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรงหรือถ้ำมากมาย  ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด กระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล โดยกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นท้องทะเล พื้นทะเลเป็นดินเลน โคลน และทราย เป็นส่วนใหญ่ มีภูเขาหินปูน โผล่อยู่กลางน้ำ กระจายทั่วบริเวณอ่าวพังงา มีลักษณะสวยงามโดดเด่น รูปร่างแปลกๆ มากมาย ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ ๔๒ เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า ฯลฯ ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกันไปและมีความสวยงามเฉพาะตัว
.....ข้อมูล : annaontour.com


.:::หมู่บ้านเกาะปันหยี:::.
หมู่บ้านเกาะปันหยี บ้านกลางน้ำของชุมชนมุสลิม ที่ถูกสร้างอยู่กลางทะเลโดยไม่มีพื้นดินมานานกว่า ๒๐๐ ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก แวะมาเยี่ยมชมตลอดปี

เกาะปันหยีเป็นเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบประมาณ ๑ ไร่ มีบ้านเรือน ๓๐๐ หลังคาเรือน มีประชากรประมาณ ๔,๐๐๐ คน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา ระยะห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงชะลูด แวดล้อมด้วยเกาะน้อยใหญ่ในทะเลอันดามัน เด็ก ๆ บน เกาะปันหยีไม่เคยเล่นดิน ไม่รู้จักไม้กวาด เพราะที่เกาะปันหยีไม่มีฝุ่น ไม่มีชายหาด และหาดทรายที่สวยงาม  แต่ที่เกาะปันหยีมีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของผู้คนในสังคม  บนเกาะปันหยีไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งไม่ควรที่ใครจะนำเข้าไปด้วย และถึงแม้จะอยู่ไกลจากฝั่งแต่ชาวปันหยีก็มีโรงเรียน มีมัสยิด มีโรงพยาบาล มีไฟฟ้าใช้เป็นของตัวเอง
 
ย้อนหลังกลับไปนับร้อยปี บรรพบุรุษของคนปันหยีเป็นครอบครัวชาวชวา อพยพมาจากอินโดนีเซีย จำนวน ๓ ครอบครัว โดยเรือใบ ๓ ลำ เพื่อค้นหาแหล่งทำกินที่ดีกว่าเดิม พวกเขาตกลงกันว่าหากใครพบที่ทำกินก่อน ให้สื่อสัญญาณด้วยการปักธงที่ยอดเขา และในที่สุดครอบครัว "โต๊ะบาบู" ก็พบเกาะหนึ่งก่อนใคร จึงขึ้นไปปักธงไว้ที่ยอดเขา และตั้งชื่อเกาะนั้นว่า "ปันหยี" ที่แปลว่า"ธง"

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะปันหยี ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวพังงา และบริเวณป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีหมู่บ้านจำนวน ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านท่าด่าน ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะปันหยี ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่บนเกาะและป่าชายเลนอ่าวพังงา และเกาะหมากน้อย ตั้งอยู่บนเกาะในอ่าวพังงา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประมาณร้อยละ ๒ นับถือศาสนาอื่นๆ และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านประมงประมงน้ำตื้น โดยการทำประมงอวนลอย โป๊ะ เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลากระชัง เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพอื้่น เช่น ทำสวนมะพร้าว ค้าขาย และรับจ้าง



ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงดั้งเดิม ปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยว
โดยได้ทำการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว



หมู่บ้านปันหยี ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง
ปลูกสร้างโดยยกระดับให้พ้นการขึ้น- ลง ของน้ำทะเล
เวลาน้ำขึ้น "หมู่บ้านปันหยี" แลดูเหมือนหมู่บ้านลอยน้ำ  


แต่พอน้ำลงจะเห็นว่าบ้านนับร้อยหลังนั้น ตั้งอยู่บนเสาที่ปักในเลนมาตั้งแต่อดีต


มัสยิดหลังคารูปโดมสีทองสุกปลั่ง ท่ามกลางท้องทะเลสีเขียวเข้ม
ชาวมุสลิมที่เกาะปันหยี เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตภายใต้บริบทวัฒนธรรมอิสลาม
และอาชีพประมง อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่จำกัดด้านนิเวศน์และโครงสร้างพื้นฐาน
ทำให้ชุมชมสนิทสนมใกล้ชิดกัน อีกทั้งกาลเวลาได้ผูกพันผู้คนทั้งเกาะให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น


เขาหมาจู ในอ่าวพังงา ลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล  
เป็นภูเขาหินปูนที่มีขนาดเล็ก อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี





.:::เกาะตะปู-เขาพิงกัน:::.

กรมทรัพยากรธรณีมีคำตอบให้ว่า "เขาพิงกัน"เป็นชื่อเรียกตามลักษณะธรรมชาติที่พบบนเกาะพิงกัน ซึ่งเป็นเกาะที่ประกอบด้วยภูเขา ๒ ลูกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก มีหาดทรายเชื่อมต่อระหว่างภูเขาทั้งสอง หาดทรายแห่งนี้ภายหลังต่อมามีชื่อเรียกว่า หาดเจมส์บอนด์ตามชื่อภาพยนต์ที่มาถ่ายทำยังสถานที่แห่งนี้  หน้าอ่าวด้านทิศเหนือมีเกาะตะปูตั้งอยู่

ภูเขาบนเกาะเขาพิงกัน เดิมเป็นเกาะเล็กๆ ๒ เกาะแยกจากกัน แต่ภายหลังมีการสะสมตัวของทรายจนตื้นเขินพ้นระดับน้ำทะเลกลายเป็นสันดอนทราย ซึ่งมีชื่อเรียกทางธรณีวิทยาว่า สันดอนเชื่อมเกาะ เชื่อมเกาะทั้งสองให้เป็นเกาะเดียวกัน ส่วนคำว่า เขาพิงกัน มาจากที่พบว่า ที่ฐานของภูเขาด้านทิศตะวันตกมีมวลหินขนาดใหญ่ตั้งพิงอยู่

เกาะเขาพิงกันตะวันตกและเกาะเขาพิงกันตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสันดอนเชื่อมเกาะ รวมทั้งเกาะตะปู เป็นหินปูนเนื้อปนโดโลไมต์ (Dolomitic limestone) มีลักษณะเป็นหินปูนเนื้อแน่น อายุยุคเพอร์เมียน (Permian) หรือราว ๒๙๕-๒๕๐ ล้านปี และเนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติสึกกร่อนจากการละลายน้ำได้ง่าย เกาะต่างๆ ในบริเวณอ่าวพังงาจึงมีรูปร่างแปลกๆ ขึ้นอยู่กับการผุพังทำลายของเนื้อหิน

การเกิดเป็นลักษณะเขาที่พิงกัน เกิดจากรอยเลื่อนปกติ (Normal fault) ตัดผ่านภูเขาด้านตะวันตกของเกาะโดยเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ๗๖ องศา

แนวรอยเลื่อนนี้เฉือนให้หินปูนส่วนริมของเกาะขาดจากหินส่วนใหญ่ที่เป็นตัวเกาะ และจากการศึกษารอยไถลหรือรอยครูดที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของมวลหินบนระนาบรอยเลื่อน (Fault plane) ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนบนผิวหน้าเรียบที่มวลหินทั้งสองพิงกัน พบว่ามวลหินปูนริมเกาะด้านทิศเหนือ หรือส่วนที่ถูกเฉือนออกได้เลื่อนตัวตกลงมาตามระนาบรอยเลื่อน

ต่อมาน้ำได้กัดเซาะฐานของมวลหินด้านเหนือกระทั่งขาดถึงระนาบรอยเลื่อน ทำให้มวลหินด้านเหนือหักและเคลื่อนตัวบิดเฉออกไปจากแนวรอยเลื่อน ทำให้ได้ลักษณะมวลหินทิศเหนือพิงอยู่กับมวลหินขนาดใหญ่ด้านทิศใต้ หรือภูเขาหินปูนของเกาะเขาพิงกันตะวันตก

ส่วน "เกาะตะปู"มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน ซึ่งประกอบด้วยเกาะสองเกาะที่เชื่อมต่อกันด้วยสันดอนดังกล่าว การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้



เกาะตะปู เขาหินปูนลูกโดดเดี่ยว
ที่มีฐานคอดกิ่วเสมือนหลักหมุดหินขนาดมหึมา ที่ปักลงในท้องทะเล


การชมหรือถ่ายภาพเกาะตะปูได้สวยงาม
ต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากหาดทรายของเกาะเขาพิงกัน
”  

หาดทรายบนเกาะแห่งนี้มีชื่อว่า "หาดเจมส์บอนด์"
ที่เรียกชื่อนี้เพราะเคยเป็นฉากหนึ้่งของภาพยนต์เรื่องเจมส์บอนด์  
และการถ่ายภาพเขาตะปูให้สวยงาม ต้องถ่ายจากหาดบนเกาะนี้เอง
(ผูโพสต์ไม่ได้ขึ้นฝั่งบนเกาะ ทราบว่าต้องจ่ายค่าเหยียบแผ่นดินด้วย)

กำเนิดของเกาะตะปู มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสมัยโบราณ เดิมเกาะตะปูและเกาะเขาพิงกันด้านตะวันออกมีสภาพเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันและอยู่บนผืนแผ่นดิน การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในเวลาต่อมา ทำให้เกิดมีรอยเลื่อนใหญ่เป็นแนวยาวพาดผ่านพื้นที่อ่าวพังงาด้านตะวันตก เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย

รอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดรอยเลื่อนย่อยๆ ติดตามมาดังจะเห็นได้จากรอยเลื่อนที่เขาพิงกัน รอยเลื่อน รอยแตก และรอยแยกที่พบในหินปูนเกาะตะปู นอกจากนั้น รอยเลื่อนยังทำให้เกิดการหักพังของหินขึ้นในบริเวณรอยต่อระหว่างเขาตะปูและเขาพิงกันทางด้านตะวันออก ทำให้เขาตะปูแยกออกมาเป็นเขาลูกโดด

แผ่นดินเขาตะปูและเขาพิงกันได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลที่แผ่ขยายเข้ามาท่วมในช่วงหลังสุดเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เขาพิงกันและเขาตะปูมีสภาพเป็นเกาะ

โดยบริเวณเขาตะปูเป็นหัวแหลมยื่นออกไปในทะเล ต่อมาหัวแหลมถูกคลื่นกัดเซาะและขัดเกลาจนกระทั่งมีรูปทรงเรียวและขาดออกจากตัวเขาพิงกันตะวันออกอย่างเด่นชัด มีสภาพเป็นเกาะหินโด่ง

ต่อมาน้ำทะเลที่ขึ้นสูงสุดเมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา มีระดับสูงกว่าระดับปัจจุบันประมาณ ๔ เมตร การขึ้นลงของน้ำทะเลได้กัดเซาะเกาะตะปูให้เกิดเป็นแนวรอยน้ำเซาะหิน เว้าเข้าไปที่ระดับดังกล่าว

กระทั่งน้ำทะเลลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ ๒.๕ เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลใหม่ได้กัดเซาะส่วนล่างของเกาะตะปูให้เกิดเป็นรอยน้ำเซาะหินแนวใหม่ คือระดับที่เป็นส่วนคอดกิ่วที่สุด และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิต เช่น หอยเพรียง เกาะอาศัยอยู่โดยรอบ

เมื่อนำซากหอยนางรมที่ติดอยู่ในแนวรอยกัดเซาะนี้ไปหาอายุโดยวิธีคาร์บอนรังสี ได้อายุประมาณ ๒,๖๒๐-๕๐ ปี แสดงว่ารอยคอดกิ่วนี้ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลเมื่อเวลาประมาณ ๒,๕๐๐ ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นน้ำทะเลจึงลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับปัจจุบัน

ส่วนที่คอดกิ่วที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เกาะตะปูมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์




.:::เขาทะลุ - ถ้ำลอด:::.
เขาทะลุ เป็นภูเขาหินอยู่ในอ่าวพังงา
มีโพรงหินขนาดใหญ่คล้ายถ้ำทะลุออกด้านหนึ่งของภูเขา เรือสามารถแล่นลอดผ่านโพรงหรือถ้ำดังกล่าวได้
ภายในโพรงหรือเพดานถ้ำ ประกอบด้วยหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตาสวยงาม
เป็นจุดพายเรือแคนู ที่นักท่องเที่ยวนิยมกันมากแห่งหนึ่งในอ่าวพังงา
 




 


เขาเขียน อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี
มีภาพลายเส้นสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นรูปคน สัตว์ และรูปเรือ ที่ผนังด้านนอก
กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจศึกษา สันนิษฐานว่าภาพเขียนสีเหล่านี้
มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ปี



รุ่นอนุรักษ์ : รถเมล์รูปทรงโบราณ ของจังหวัดพังงา
(จังหวัดภูเก็ตก็รูปทรงเดียวกันนี้ แต่เป็นสีส้ม)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ธันวาคม 2560 16:02:38 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.521 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 เมษายน 2567 08:03:15