[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:10:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โพวาภาวนา เยียวยากายใจ  (อ่าน 1444 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 29.0.1547.76 Chrome 29.0.1547.76


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 มกราคม 2557 15:40:41 »




         ฉบับที่แล้วได้แนะนำการทำภาวนาทองเลนให้ผู้ป่วย แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่าทำยากเพราะต้องอาศัยความกล้าและความเมตตาอย่างสูงที่จะรับเอาความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้อื่นมาไว้ที่ตน ฉบับนี้จึงอยากแนะนำการภาวนาอีกแบบที่เรียกว่า โพวา เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลตัวเองและช่วยเหลือผู้ป่วยค่ะ

          โพวา เป็นการภาวนาตามแนวทางทิเบตที่ใช้เพื่อน้อมจิตให้สงบ ปลุกใจให้เป็นกุศลและมีพลัง โดยการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือให้มาปรากฏในจินตนาการ อาศัยพลังศรัทธาในคุณงามความดีและความเมตตากรุณาของท่านมาช่วยเยียวยากายใจให้คลายจากความทุกข์ ความเจ็บปวด ทุรนทุราย ซึ่งพระไพศาล วิสาโล ได้แนะนำวิธีการฝึกภาวนาโพวาแบบประยุกต์ (สำหรับใช้กับตัวเอง) ไว้ในการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ ดังนี้ค่ะ

          - เลือกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือศรัทธามาหนึ่งองค์ อาจเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระภิกษุ ครูบาอาจารย์ที่เคารพ ฯลฯ เพื่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดกุศล

          - นั่งขัดสมาธิสบายๆ ผ่อนคลายร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทำใจให้สงบด้วยการตามลมหายใจเข้าออก ปล่อยวางความคิดต่างๆ ลงชั่วคราว

          - จินตนาการว่าเรากำลังนั่งอยู่บนทุ่งหญ้าโล่งกว้าง เขียวขจี ในเช้าของวันที่แดดใส ลมพัดเบาๆ ท้องฟ้าสีครามโปร่งโล่งไร้เมฆหมอก อากาศบริสุทธิ์ มีเพียงเราผู้เดียวที่อยู่ในทุ่งโล่งนั้น สัมผัสถึงความสงบ สงัด ของบรรยากาศรอบตัว ทำใจให้โล่ง ไม่ต่างจากท้องฟ้าที่กว้างและโปร่งใส

          - น้อมใจนึกต่อไปว่า ที่ท้องฟ้าเบื้องหน้าเราปรากฏสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือ รู้สึกในใจว่าท่านอยู่บนท้องฟ้าเบื้องหน้าเรา รอบกายเปล่งปลั่งด้วยรัศมีสีขาวนวลที่เย็นตาเย็นใจ พระพักตร์เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ให้อธิษฐานในใจว่า ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้พระกรุณาของท่านช่วยให้จิตใจเราหายหม่นหมอง บำบัดความทุกข์โศก โรคภัย กิเลส อวิชชาในใจเรา ช่วยให้เรามีกำลังกาย กำลังใจที่เข้มแข็ง ให้รู้สึกถึงพระกรุณาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นที่อยู่เบื้องหน้าเรา

          - จินตนาการต่อไปว่ารัศมีนั้นแผ่ลงมาเป็นลำแสงที่ใส อ่อนโยน ตรงมายังตัวเรา เป็นแสงแห่งกรุณาที่ช่วยเยียวยาความทุกข์ โรคภัยไข้เจ็บในตัวเรา บำบัดปัดเป่าโรคทางวิญญาณ ความเศร้าหมองในใจ ให้รู้สึกว่าลำแสงแห่งการุณนั้นได้ซึมซาบอาบตัวเรา ชำแรกไปทุกส่วนกาย รู้สึกถึงผัสสะแห่งความอ่อนโยนและเมตตาของลำแสง รู้สึกถึงการชำแรกอาบรดของลำแสง จนร่างเราเรืองไปด้วยแสงเปล่งปลั่งเป็นร่างแสง ลำแสงได้แผ่จนร่างเรากลมกลืนไปกับลำแสงนั้น รู้สึกถึงทุกข์ที่เบาบางลงทั้งกายและใจ

          - จินตนาการต่อไปว่า ร่างที่เรืองแสงนั้นล่องลอยขึ้นรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา ปกคลุมไปด้วยบารมีแห่งกรุณาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น พยายามประคองให้ร่างเรืองแสงอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นให้นานที่สุด

          - เมื่อรู้สึกสมควรแก่เวลาก็ขอให้เราค่อยๆ เลื่อนตัวต่ำลงมาทางลำแสง ลงมายังจุดเดิมที่เราได้นั่งสมาธิบนพื้นหญ้า และร่างเรืองแสงก็กลับสู่ร่างปกติ แล้วลำแสงนั้นก็ค่อยๆ หายไป เหลือเพียงพระองค์ท่าน สักพักท่านก็ค่อยๆ เลือนหายไป

          - ให้เรากลับมารับรู้ถึงลมหายใจที่เข้าและออกด้วยความสงบ

          การทำโพวาตามบทภาวนานี้ใช้เพื่อเยียวยาตนเองในยามที่รู้สึกท้อแท้ หมดพลัง หรือแม้แต่ในยามเจ็บป่วย หากเราจะใช้เพื่อช่วยน้อมนำจิตของผู้ป่วยให้สงบ เป็นกุศล สามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกคือ เราทำให้เขาในจินตนาการของเรา โดยการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเรามาอยู่เหนือศีรษะของเขา และให้ลำแสงนั้นมาเยียวยาเขา ซึ่งวิธีนี้ทำได้ทั้งกับผู้ป่วยที่อยู่ต่อหน้าและผู้ป่วยที่อยู่ไกล อีกวิธีหนึ่งคือ เราพูดนำให้เขาจินตนาการนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือมาช่วยเยียวยาเขา แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด การภาวนาแบบโพวาจะมีพลังมากเมื่อเรามีศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเต็มที่ และจินตนาการให้เห็นภาพชัดเจนในใจ ให้รู้สึกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้า ซึ่งหากการฝึกในตอนแรกๆ ยังจินตนาการไม่คล่อง อาจใช้วิธีมองภาพของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ติดตาก่อนภาวนา หรือจะเปิดซีดีเสียงชุด “เผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑” ที่พระไพศาล วิสาโล พูดนำภาวนาเป็นตัวช่วยระหว่างฝึก ก็อาจช่วยให้จินตนาการได้ง่ายขึ้นค่ะ ลองฝึกและนำไปใช้ดูนะคะ.



- See more at: http://www.budnet.org/sunset/node/209

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.24 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 มีนาคม 2567 01:25:16