[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 20:15:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท)  (อ่าน 52491 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มกราคม 2557 16:21:07 »

.



พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑)
ภิกษุเสพเมถุนต้องปาราชิก


ปาราชิกนี้ เป็นกฎหมายอันเด็ดขาดของศาสนาพุทธ ถ้าเป็นกฎหมายทางฝ่ายโลก ก็ตัดสินประหารชีวิต
ถ้าต้องปาราชิกเข้าแล้วข้อใดข้อหนึ่ง ก็ขาดจากความเป็นภิกษุ หาสังวาสไม่ได้

ถ้าต้องปาราชิกแล้วยังไปร่วมอุโบสถสังฆกรรม ทำให้สังฆกรรมเศร้าหมอง
แปลว่า ทำลายศาสนา ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทั้งภพนี้และภพหน้า เป็นมนุสสสุญญตะ
หมดภพชาติที่จะได้มาเป็นมนุษย์ ขาดใจเมื่อไหร่ลงมหาโลกันตนรกเมื่อนั้น

พระสุทินน์ : ต้นบัญญัติ สิกขาบทที่ ๑

ณ สถานที่ไม่ห่างจากพระนครเวสาลี มีบ้านตำบลหนึ่งชื่อกลันทะ ในบ้านนั้นมีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ สุทินน์ เป็นบุตรของกลันทเศรษฐี จึงเรียกกันว่าสุทินกลันทบุตร  สุทินกลันทบุตรได้ทำธุระบางอย่างในพระนครเวสาลีกับสหายหลายคน ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ เขาได้เห็น เกิดความคิดว่า “เราจะฟังธรรมบ้าง” แล้วเดินเข้าไปนั่ง ณ ที่นั้น คิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ทรงแสดงแล้ว เพราะบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้วทำไม่ได้ง่าย ถ้าอย่างนั้นเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตดีกว่า

ครั้นฟังธรรมจบแล้ว เขาและคนอื่นๆ ก็ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมกลับไป หลังจากนั้นไม่นาน สุทินน์ได้ย้อนกลับมาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงความปรารถนาบวช พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ กราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า  ตรัสว่า ดูก่อนสุทินน์ พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต เขากราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำให้มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า

หลังจากนั้น สุทินกลันทบุตรเสร็จธุระในพระนคร กลับถึงบ้านกล่าวขออนุญาตบวช แต่มารดาบิดากล่าวว่า “ลูกสุทินน์ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตาย เราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉนเราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า”

แม้ครั้งสอง...ครั้งที่สาม...เขาก็ยืนยันจะขอบวชให้ได้ แต่ก็ยังคงถูกมารดาบิดายืนยันไม่อนุญาตเหมือนเดิม เมื่อเห็นว่าบิดามารดาไม่อนุญาตให้บวช เขาจึงนอนลงบนพื้น ตัดสินใจว่าการตายหรือการบวชจักมีแก่เราในสถานที่นี้แหละ เขาไม่บริโภคอาหารแม้หนึ่งมื้อ สองมื้อ สามมือ...เจ็ดมื้อ แต่มารดาบิดาก็ยังยืนยันไม่อนุญาตและอ้อนวอนให้เขาอยู่ครองเรือนด้วยคำว่า “ลูกจงกิน จงดื่ม จงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญเถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ต่อมา พวกสหายของสุทินกลันทบุตรได้เข้ามาช่วยบิดามารดาเจรจาอ้อนวอนให้เขาเห็นแก่รักของมารดาบิดา  แต่เขาก็ไม่พูดด้วย ได้นิ่งเสีย เมื่อไม่สำเร็จพวกสหายจึงไปหามารดาบิดาของสุทินน์ ขอให้อนุญาตให้สุทินน์บวชเถิด ไม่เช่นนั้นเขาจักต้องตายแน่แท้ เมื่อเขาบวชแล้วเกิดไม่ยินดีการบวช เขาก็จักกลับมาเองแหละ มารดาบิดาจึงได้อนุญาตให้บวช

พวกสหายได้นำข่าวการอนุญาตของมารดาบิดาไปบอกแก่สุทินน์ เขาก็รื่นเริงดีใจ ลุกขึ้นเยียวยาอยู่สองสามวัน จึงเข้าไปสู่พุทธสำนัก

...สุทินกลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนัก เมื่อบวชแล้วไม่นานท่านประพฤติสมทานธุดงคคุณ คือการถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับเรือน พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง

สมัยนั้น วัชชีชนบทเกิดอัตคัดอาหาร ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีการสลากซื้ออาหาร ภิกษุจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่านพระสุทินน์คิดว่า ญาติของเราในพระนครเวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มีโภคะมาก เราจะไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานทำบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ จักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ท่านจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกไปสู่พระนครเวลาสีโดยลำดับ ถึงแล้วท่านพำนัก ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี

พวกญาติได้ทราบข่าวการมาของท่าน จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อ ไปถวาย ท่านพระสุทินน์ท่านสละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว เช้าวันนั้นท่านเข้าไปบิณฑบาตยังกลันทคามใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดีนางทาสีกำลังจะทิ้งขนมสดที่ค้างคืน ท่านพระสุทินน์จึงกล่าวว่า “น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้ง ขอท่านจงเกลี่ยลงในบาตรของเราเถิด” นางทาสีกำลังเกลี่ยขนมสดลงในบาตร นางจำเค้ามือ เท้า และเสียงของท่านได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาของท่านกล่าวว่า “คุณนายเจ้าขาโปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้ว เจ้าค่ะ” มารดาพระสุทินน์ได้กล่าวว่า หากพูดไม่จริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี

ขณะที่พระสุทินน์กำลังฉันขนมสดอยู่นั้น พอดีบิดาของท่านเดินกลับมาจากที่ทำงานได้แลเห็น จึงเข้าไปกล่าวว่า “พ่อควรไปเรือนของตนมิใช่หรือ” ท่านพระสุทินน์กล่าวว่า “ไปมาแล้ว ก็ขนมนี้ได้มาจากเรือนของคุณโยม” บิดาของท่านได้จับที่แขนกล่าวว่า “มาเถิด เราจักไปเรือนกัน” ท่านได้เดินตามเข้าไปสู่เรือน นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย บิดานิมนต์ให้ฉัน ท่านปฏิเสธว่า ภัตตาหารวันนี้เรียบร้อยแล้ว บิดาจึงนิมนต์ให้มาฉันในวันรุ่งขึ้น ท่านรับนิมนต์แล้วหลีกไป

ครั้งนั้น มารดาของท่านสั่งให้ไล้ทาพื้นแผ่นดินด้วยโคมัยสด ให้จัดทำกองทรัพย์ไว้ ๒ กอง คือ เงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง เป็นกองใหญ่ ไม่สามารถแลเห็นกันและกันได้ ให้ปิดกองทรัพย์ด้วยลำแพน จัดอาสนะไว้ตรงกลาง แวดล้อมด้วยม่าน แล้วสั่งให้อดีตภรรยาท่านพระสุทินน์ตกแต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่

เวลาเช้า ท่านพระสุทินน์เข้ามาสู่เรือน นั่งบนอาสนะ บิดาให้คนเปิดกองทรัพย์เหล่านั้นออก แล้วกล่าวว่า พ่อสุทินน์ ทรัพย์นี้ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยบำเพ็ญบุญเถิด แต่ท่านได้ปฏิเสธว่ายังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ แล้วขอโอกาสกล่าวอีกว่า คุณโยมจงให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ๆ บรรจุเงินและทองให้เต็ม บรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมีทรัพย์เป็นเหตุให้จักเกิดแก่คุณโยม จักไม่มีแก่คุณโยมเลย

เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจ ได้เรียกอดีตภรรยาของท่านออกมา คิดว่าเป็นที่รักที่พอใจของท่านสุทินน์ บางทีลูกสุทินน์จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง นางได้ออกมาจับเท้า กล่าวว่า “ข้าแต่ลูกนาย นางอัปสรผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นชื่ออะไร” พระสุทินน์ตอบว่า “น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย” นางน้อยใจที่ถูกเรียกว่าน้องหญิง ได้สลบล้มลงในที่นั้นเอง พระสุทินน์กล่าวว่า “ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มี ก็จงให้เถิด อย่ารบกวนอาตมภาพเลย


 พระสุทินน์เสพเมถุนกับภรรยาเก่า

บิดามารดาได้ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน จนท่านเสร็จภัตกิจแล้ว มารดาของท่านได้อ้อนวอนให้ท่านสึก เพื่อเห็นแก่ทรัพย์สมบัติมากมายด้วยเถิด แต่ท่านก็ยังคงปฏิเสธ มารดาจึงกล่าวว่า “ทรัพย์สมบัติของเรามีมาก ดังนี้พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา เพราะหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้” ท่านตอบว่า “คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้อาจทำได้” มารดาถามว่า “ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน?” “ที่ป่าหิมวัน” ท่านตอบแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป

หลังจากนั้น มารดาของท่านได้สั่งอดีตภรรยาว่า เมื่อใดที่เจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมีแก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าจงบอกแก่แม่ นางรับคำ ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดู ต่อมโลหิตได้เกิดขึ้นแก่นาง จึงได้แจ้งให้มารดาพระสุทินน์ ทราบ มารดาสั่งให้แต่งตัวพร้อมด้วยเครื่องประดับ แล้วพานางไปหาพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน รำพันอ้อนวอนให้สึก ท่านตอบปฏิเสธ จึงกล่าวว่าขอพืชพันธุ์ไว้ ท่านตอบว่าอาจทำได้  แล้วจูงแขนอดีตภรรยาเข้าป่าหิมวันต์ ท่านคิดว่าไม่มีโทษ เพราะสิขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามไว้ จึงเสพเมถุนในปุราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) ๓ ครั้ง นางได้ตั้งครรภ์เพราะความประพฤตินี้

เหล่าภุมเทวดากระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินกลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว, เทพชั้นจาตุมหาราชิกาได้สดับเสียงเหล่าภุมเทวดาแล้วกระจายเสียงต่อไป, เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกันต่อๆ ไปอย่างนี้

(สมัยต่อมา อดีตภรรยาของท่านพระสุทินน์ได้คลอดบุตร พวกสหายของท่านตั้งชื่อทารกนั้นว่า พีชกะ ตั้งชื่ออดีตภรรยาว่า พีชกมารดา ตั้งชื่อพระสินทินน์ว่า พิชกปิตา ภายหลังทั้งอดีตภรรยาและบุตรต่างออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว)

ครั้งนั้น ความรำคาญใจ ความเดือดร้อนใจ ได้เกิดแก่ท่านพระสุทินน์ว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความรำคาญและความเดือดร้อนใจนั้น ท่านได้ซูบผม เศร้าหมอง ผิวพรรณทราม มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาแล้ว

บรรดาภิกษุสหายของท่านพระสุทินน์เห็นความผิดปกตินั้น ได้สอบถามท่านสุทินน์ว่า “คุณไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์หรือ?” พระสุทินน์ตอบว่า “มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แต่เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนในภรรยา ผมจึงได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ เพราะผมบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว แต่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต”

ภิกษุสหายเหล่านั้นติเตียนท่านพระสุทินน์เป็นอันมาก ที่บวชแล้วไม่อาจจะคลายความกำหนัดและความยึดมั่นเป็นต้นได้ ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า


ทรงประชุมแล้วติเตียน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า “ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา จริงหรือ?" พระสุทินน์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า “ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชเรียนในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ (คำว่า โมฆบุรุษนี้ ทรงใช้กับภิกษุที่มิได้เป็นพระอริยะ) ธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อความถือมั่น

ดูก่อน โมฆบุรุษ ธรรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่ถอนอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดวัฏฏะ เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราได้บอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าไปในปากงูเห่ายังดีกว่า องค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า...ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?

เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตายหรือความทุกข์ เพียงแค่ตายซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป จักไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าไปในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการทำนี้เป็นเหตุ

ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำอันชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลกรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั้นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระสุทินน์เป็นอันมากดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงหลักธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า



เหตุผลที่ทรงบัญญัติสิกขาบท ๑๐ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดขึ้นในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑


ปฐมบัญญัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า “ภิกษุใด เสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้” นี้เป็นพระปฐมบัญญัติ


อนุบัญญัติ ๑
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน พระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้งนั้นภิกษุหลายรูปสังเกตความผิดปกติของลิง ที่เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง  สันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าถิ่นนี้คงเสพเมถุนกับลิงตัวเมียอย่างไม่ต้องสงสัย จึงพากันคอยแอบดู ภิกษุนั้นได้เสพเมถุนอีก เมื่อภิกษุเหล่านั้นถามว่า ทำไมทำเช่นนั้น ทรงมีบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ? เธอนั้นตอบว่า พระบัญญัตินั้นห้ามเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุเหล่านั้นต่างพากันติเตียน แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ตรัสถามภิกษุนั้น ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วมีอนุบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”


ผู้ต้องปาราชิกแล้วปรารถนาการบวชอีก
สมัยต่อมา ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูปไม่ได้บอกลาสิกขาบท ได้เสพเมถุนธรรม สมัยถัดมา พวกเขาถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้ว ถูกความวอดวายแห่งโภคะกระทบแล้ว ถูกโรคภัยเบียดเบียนแล้ว จึงเข้าไปหาพระอานนท์ กล่าววิงวอนให้ช่วยกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทอีกครั้ง โดยให้สัญญาว่าจะหมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม

พระอานนท์รับคำของวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว เข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

ครั้งนั้น พระองค์รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้วสงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ ส่วนผู้ใดแลเป็นภิกษุบอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้วสงฆ์ก็พึงอุปสมบทให้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทแสดงอย่างนี้ว่า :


พระอนุบัญญัติ ๒
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้”

     อรรถาธิบาย
- บทว่า ภิกษุที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยาวัตร, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกขุ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะมีสารธรรม, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ,  ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัติติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ   บรรดาภิกษุที่กล่าวมานี้ ภิกษุที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
- บทว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการนี้ อธิศีลสิกขา ชื่อว่า สิกขาที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ (ถึงพร้อมซึ่งสิกขา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล)


อาบัติ
๑. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค (มรรคใดมรรคหนึ่ง หรือทั้งสาม) ของมนุษย์ผู้หญิง...อมนุษย์ผู้หญิง...สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องปาราชิก
๒. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค ของมนุษย์อุภโต พยัญชนก...อมนุษย์อุภโตพยัญชนก...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องปาราชิก
๓. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ ของมนุษย์บัณเฑาะก์...อมนุษย์บัณเฑาะก์...ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องปาราชิก
๔. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของมนุษย์ผู้ชาย...อมนุษย์ผู้ชาย...สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องปาราชิก
๕. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด (ของภิกษุ) ด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการชักออก ต้องปาราชิก
๖. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการชักออก ไม่ต้องอาบัติ
๗. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการชักออก ต้องปาราชิก
๘. พวกภิกษุเป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงตายแล้วถูกสัตว์กัดมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดี ต้องถุลลัจจัย หากเธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๙. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงที่ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดของภิกษุด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดี ต้องปาราชิก ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๑๐. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค คือ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ต้องปาราชิก ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๑๑. การเสพเมถุนธรรมในบุคคลที่เหลือ มีอมนุษย์ผู้หญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หรือมนุษย์อุภโตพยัญชนก เป็นต้น พึงทราบคำอธิบายตามทำนองที่กล่าวมา
๑๒. ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางมรรค ต้องปาราชิก
๑๓. สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคทางมรรค ต้องปาราชิก (ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางปัสสาวมรรค เป็นต้น แล้วชักออกในทางแผลใกล้ต่อมรรคนั้น)
๑๔. สอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางอมรรค ต้องปาราชิก (ยังองค์กำเนิดให้เข้าทางแผล ใกล้ต่อมรรค แล้วชักออกทางมรรค)
๑๕. สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคออกทางอมรรค ต้องถุลลัจจัย
๑๖. ภิกษุปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้ประทุษร้าย
๑๗. ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้ประทุษร้าย
๑๘. สามเณรปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ และสามเณรปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ ก็มีอธิบายนัยเดียวกับข้อ ๑๖,๑๗

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2558 13:12:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2558 16:52:22 »

.


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ มี ๓ วรรค วรรคละ ๑๐ สิกขาบท ว่าด้วย
วรรคที่ ๑ จีวรวรรค   วรรคที่ ๒ โกสิยวรรค  วรรคที่ ๓ ปัตตวรรค
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นอาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ
ภิกษุใดซึ่งต้องอาบัติประเภทนี้ จะต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อน
จึงจะปลงอาบัติตก


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๒๐)
ภิกษุเก็บจีวรที่ไม่ได้ทำเป็นสองเจ้าไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน
ถ้าเกินกว่ากำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไตรจีวรแล้ว จึงครองไตรจีวรเข้าบ้านสำรับหนึ่ง อยู่ในอารามอีกสำรับหนึ่ง สรงน้ำอีกสำรับหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษติเตียนว่า ใช้จีวรเกินหนึ่งสำรับ แล้วกราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดทรงอดิเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
     สมัยต่อมา อดิเรกจีวรเกิดแก่พระอานนท์ ท่านต้องการจะถวายแก่พระสารีบุตร แต่พระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต ท่านจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสถามว่า อีกนานเท่าไร พระสารีบุตรจึงจักกลับมา พระอานนท์ทูลว่าจักกลับมาในวันที่ ๙ หรือวันที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า แล้วทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
     “จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอดิเรกจีวรได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -บทว่า จีวรสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี
     -คำว่า กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่งในมาติกา ๘ อันสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง
     -บทว่า ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐วันเป็นอย่างมาก
     -ที่ชื่อว่า อดิเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
     -ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าวิกัปเป็นอย่างต่ำ จีวร ๖ ชนิด ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยเปลือกไม้, ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าขนสัตว์ (ยกเว้นผมมนุษย์), ผ้าป่าน, ผ้าผสมกันด้วยของ ๕ อย่างข้างต้น
     -คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้...เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ ( ๒-๓ รูป)
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
     “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อว่า...เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้น พึงรับอาบัติแล้วพึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้
     สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ ไม่ให้คืนจีวรที่ภิกษุเสียสละ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันติเตียนแล้วกราบทูล ทรงติเตียน แล้วรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฎ”

อาบัติ
     ๑.จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุรู้ว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.จีวรล่วงแล้ว ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๓.จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุเข้าใจว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๔.จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุเข้าใจว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๕.จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุเข้าใจว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๖.จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุเข้าใจว่าสละแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๗.จีวรยังไม่หาย ภิกษุคิดว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๘.จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุเข้าใจว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๙.จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุคิดว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    ๑๐.จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุคิดว่าถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    ๑๑.จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค (นุ่งห่มเป็นต้น) ต้องทุกกฎ
    ๑๒.จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุเข้าใจว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องทุกกฎ
    ๑๓. จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ ๑  ในภายใน ๑๐ วัน ภิกษุอธิษฐาน ๑  ภิกษุวิกัปไว้ ๑  ภิกษุสละให้ไป ๑  จีวรหาย ๑  จีวรฉิบหาย ๑  จีวรถูกไฟไหม้ ๑  โจรชิงเอาไป ๑  ภิกษุถือวิสาสะ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนตฺปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๗๐๒-๗๒๙
     ๑.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต จีวร ๓ ผืน คือ อันตรวาสก ๑  อุตราสงค์ ๑  สังฆาฏิ ๑ ไว้ในเรื่องหมอชีวกโกมารภัทท์ในจีวรขันธกะ
     -พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ครองไตรจีวรเข้าบ้านสำรับหนึ่ง ต่างหากจากสำรับที่ใช้ครองอยู่ในวัด และสำรับที่ใช้ครองสรงน้ำ ใช้จีวรวันละ ๙ ผืน ทุกวัน ด้วยอาการอย่างนี้
     ๒.ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์นับถือท่านพระสารีบุตร โดยนับถือความมีคุณของท่านว่า เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว บุคคลอื่นที่มีคุณวิเศษเห็นปานนี้ ไม่มีเลย เมื่อท่านได้จีวรที่ชอบใจมา จึงซักแล้วกระทำพินทุกัปปะแล้ว ถวายแก่พระสารีบุตรทุกคราว, ในเวลาก่อนฉันได้ยาคูและของเคี้ยวหรือบิณฑบาตอันประณีตแล้ว ย่อมถวายแก่พระเถระเหมือนกัน, ในเวลาหลังฉัน แม้ได้เภสัช มีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็ถวายแก่พระเถระนั่นเอง, เมื่อพาเด็กทั้งหลายออกจากตระกูลอุปัฏฐากก็ให้บรรพชา ให้ถืออุปัชฌายะในสำนักพระเถระแล้ว กระทำอนุสาวนากรรมเอง, ฝ่ายท่านพระสารีบุตรนับถือพระอานนท์เหลือเกิน ด้วยทำในใจว่า ธรรมดาว่ากิจที่บุตรจะพึงกระทำแก่บิดา เป็นภาระของบุตรคนโต  เพราะฉะนั้น กิจใจที่เราจะพึงกระทำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กิจนั้นทั้งหมดพระอานนท์กระทำอยู่ เราอาศัยพระอานนท์ จึงได้เพื่อเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย แม้พระเถระได้จีวรที่ชอบใจแล้ว ก็ถวายแก่พระอานนท์เหมือนกันเป็นต้น พระอานนท์นับถือมากเช่นนี้ จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะถวายจีวรนั้นแม้ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แก่ท่านพระสารีบุตร
     ๓.ท่านพระอานนท์ทราบการมาของพระสารีบุตรได้ ก็เพราะได้ยินว่า พระสารีบุตรเถระเมื่อจะหลีกจาริกไปในชนบท มักบอกลาพระอานนท์เถระแล้วจึงหลีกไปว่า ผมจักมาโดยกาลเช่นนี้ ประมาณเท่านี้ ในระหว่างนี้ท่านอย่าละเลยพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้, ถ้าแม้นว่าท่านไม่บอกลาในที่ต่อหน้า ก็ต้องส่งภิกษุไปบอกลาก่อนจึงไป, ถ้าว่าท่านอยู่จำพรรษาในอาวาสอื่น และภิกษุเหล่าใดมาก่อน ท่านก็สั่งภิกษุเหล่านี้ว่า พวกท่านจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา และจงเรียนถามถึงความไม่มีโรคของพระอานนท์ แล้วบอกว่า เราจักมาในวันโน้น และพระเถระย่อมมาในวันที่ท่านกำหนดไว้แล้วเสมอๆ
     อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมทราบได้ด้วยการอนุมานบ้าง ย่อมทราบได้โดยนัยว่าท่านพระสารีบุตรเมื่อทนอดกลั้นความวิโยค (พลัดพราก) จากพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่สิ้นวันมีประมาณเท่านี้ บัดนี้นับแต่นี้ไป จักไม่เลยวันชื่อโน้น ท่านจักมาแน่นอน, เพราะชนทั้งหลายผู้ซึ่งมีปัญญามาก ย่อมมีความรักและความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก, พระเถระย่อมทราบได้ด้วยเหตุหลายอย่างด้วยประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกราบทูลว่า จักมาในวันที่ ๙ หรือวันที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า
     เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว เพราะสิกขาบทมีโทษทางพระบัญญัติ มิใช่โทษทางโลก เพราะเหตุนั้นเมื่อจะทรงทำวันที่ท่านพระอานนท์กราบทูลนั้นให้เป็นกำหนด จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้, ถ้าหากว่า พระเถระนี้จะพึงทูลแสดงขึ้นกึ่งเดือนหรือเดือนหนึ่ง แม้กึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงทรงอนุญาต
     ๔.บทว่า นิฏฺฐิตวีวรสฺมึ ได้แก่ เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว โดยการสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่งถึงเพราะจีวรนี้ ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้วด้วยการกระทำบ้าง ด้วยเหตุมีการเสียหายเป็นต้นบ้าง
     -กรรมมีสูจิกรรมเป็นที่สุด ได้แก่ การทำกรรมที่ควรทำด้วยเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการติดรังดุมและลูกดุมเป็นที่สุด แล้วเก็บเข็มไว้ (ในกล่องเข็ม)
     -จีวรถูกพวกโจรเป็นต้นลักเอาไป ท่านเรียกว่า สำเร็จแล้ว ก็เพราะความกังวลด้วยการกระทำนั่นเองสำเร็จลงแล้ว (ไม่มีกิจต้องทำอีก)
     -หมดความหวังในจีวรซึ่งบังเกิดขึ้นว่า เราจักได้จีวรในตระกูลชื่อโน้นก็ดี อันที่จริงควรทราบด้วยความที่จีวรแม้เหล่านี้สำเร็จแล้ว เพราะความกังวลด้วยการกระทำนั่นแลสำเร็จลงแล้ว
     -สองบทว่า อพฺภตสฺมํ กฐิเน คือ (เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว) และเมื่อกฐินเดาะเสียแล้ว, ด้วยบทว่า อุพฺภตสฺมึ กฐิเน นี้ ทรงแสดงความไม่มีแห่งปลิโพธิที่ ๒, ก็กฐินนั้นอันภิกษุทั้งหลายย่อมเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามาติกา (หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน) ๘ หรือด้วยการเดาะในระหว่าง
     -วินยฺ มหา.ข้อ ๙๙ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้ คือกำหนดด้วยหลีกไป ๑ กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ ๑ กำหนดด้วยตกลงใจ ๑ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๑ กำหนดด้วยได้ยินข่าว ๑ กำหนดด้วยสิ้นหวัง ๑ กำหนดด้วยล่วงเขต ๑ กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน ๑
     ๕.จีวรที่ชื่อว่า อดิเรก เพราะไม่นับเข้าในจำพวกจีวรที่อธิษฐานและวิกัปไว้
     -จีวร ๖ ชนิด มีจีวรที่เกิดจากผ้าเปลือกไม้ เป็นต้น เพื่อจะทรงแสดงขนาดแห่งจีวร จึงตรัสว่า จีวรอย่างต่ำควรจะวิกัปได้ขนาดแห่งจีวรนั้น ด้านยาว ๒ คืบ ด้านกว้างคืบหนึ่ง ในขนาดแห่งจีวรนั้น มีพระบาลีดังนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปจีวรอย่างต่ำ ด้านยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต”
     -เมื่อภิกษุยังจีวรมีกำเนิดและประมาณตามที่กล่าวแล้วนั้น ให้ล่วงกาลมี ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ เมื่อไม่ทำโดยวิธีที่จะไม่เป็นอดิเรกจีวรเสียในระหว่างกาลมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งนี้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  อธิบายว่า จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ด้วย เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง การเสียสละชื่อว่านิสสัคคีย์  คำว่า นิสสัคคีย์ เป็นชื่อของวินัยกรรมอันภิกษุพึงกระทำในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น, การเสียสละมีอยู่แก่ธรรมชาติใด เหตุนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า นิสสัคคีย์,  นิสสัคคีย์นั้นคืออะไร? คือปาจิตตีย์ “เป็นปาจิตตีย์ มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม แก่ภิกษุผู้ให้ล่วงกาลนั้นไป”
     ๖.อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ
     พึงแสดงเหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประนมมือ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ (ท่านเจ้าข้า กระผมต้องอาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น)
     ถ้าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวว่า เอกํ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ...(ต้องแล้ว)  ซึ่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง ถ้าจีวร ๒ ผืน พึงกล่าวว่า เทฺว...ซึ่งอาบัติ ๒ ตัว, ถ้าจีวรมากผืนพึงกล่าวว่า สมฺพหุลา...ซึ่งอาบัติหลายตัว
     แม้ในการเสียสละ ถ้าว่าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวตามสมควรแก่บาลีนั่นแลว่า อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ท่านเจ้าขา จีวรของกระผมผืนนี้ เป็นต้น, ถ้าหากว่าจีวร ๒ ผืนหรือมากผืน พึงกล่าวว่า อิมานิ เม ภนฺเต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ อิมานาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ (ท่านเจ้าข้า จีวรของกระผมเหล่านี้ ล่วง ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์, เมื่อไม่สามารถจะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้, ภิกษุพึงรับอาบัติโดยนัยดังกล่าวไว้ในขันธกะนั่นแลว่า ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงเผดียงสงฆ์ว่า ท่านเจ้าขา ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึกได้ เปิดเผย กระทำให้ตื้น ย่อมแสดงซึ่งอาบัติ ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ดังนี้
     ภิกษุผู้แสดง  อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (เธอเห็นหรือ)
     ผู้แสดง  อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ผมเห็น)
     ผู้รับ  อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป)    
     ผู้แสดง  สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี)
     -ก็ในอาบัติ ๒ ตัว หรือหลายตัวด้วยกัน ผู้ศึกษาพึงทราบความต่างแห่งวจนะโดยนัยก่อนนั่นแล แม้ในการให้จีวรคืน ก็พึงทราบความแตกต่างแห่งวจนะด้วยอำนาจแห่งจำนวน คือ สงฺโฆ อิมํ จีวรํ อิมานิ จีวรานิ...สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้...พึงให้จีวรทั้งหลายเหล่านี้...ถึงในการเสียสละแก่คณะและแก่บุคคลก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
     -ในการแสดงและการรับอาบัติ (แก่คณะ) มีบาลีดังต่อไปนี้, เตน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา ฯเปฯ เอวมสฺสุ วจนียา อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปาตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ  แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุมากรูป กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าทั้งหลายแห่งภิกษุแก่ทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนซึ่งอาบัตินั้น
     อันภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ให้ทราบว่า สุณาตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ อาปตฺตึ สรติ วิวรติ อุตฺตานี กโรติ เทเสติ ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ อหํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเหยฺยํ แปลว่า ท่านเจ้าข้า! ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รูปนี้ ย่อมระลึก ย่อมเปิดเผย ย่อมกระทำให้ตื้น ย่อมแสดงอาบัติ ถ้าว่าความพรั่งพร้อมแห่งท่านผู้มีอายุทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้
     ภิกษุผู้แสดง  อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ)
     ผู้แสดง  อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ผมเห็น)  
     ผู้รับ  อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป)
     -ภิกษุ (ผู้ต้องเสียสละ) พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง (บุคคล) ทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า แล้วนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้าพเจ้าต้องอาบัติมีชื่ออย่างนี้แล้ว จะแสดงคืนอาบัติภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้นพึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ)
     ผู้แสดง  อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ผมเห็น)
     ผู้รับ  อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป)
     -ในการแสดงและรับอาบัติ พึงทราบการระบุชื่ออาบัติและความต่างแห่งวจนะ โดยนัยก่อนนั่นแหละ และพึงทราบบาลีแม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูป เหมือนการสละแก่คณะฉะนั้น เพราะถ้าจะมีความแปลกกัน, พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสบาลีไว้แผนกหนึ่ง เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๓ รูป โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุทั้งหลายก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถเหล่านั้นอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงเผดียงให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ แล้วตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๒ รูปอีกแผนกหนึ่งต่างหาก โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงทำอุโบสถนั้นอย่างนี้ ภิกษุเถระพึงทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า ดังนี้  ฉะนั้น ก็เพราะไม่มีความแปลกกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสไว้ เพราะฉะนั้นบาลีในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้ เป็นบาลีที่ตรัสไว้แก่คณะเหมือนกัน
     -ส่วนในการรับอาบัติมีความแปลกกัน ดังนี้ บรรดาภิกษุ ๒ รูป ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อย่าตั้งญัตติเหมือนภิกษุผู้รับอาบัติตั้งญัตติ ในเมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติสละแก่คณะแล้วแสดงอาบัติ พึงรับอาบัติเหมือนบุคคลคนเดียวรับฉะนั้น, แท้จริง ชื่อว่าการตั้งญัตติสำหรับภิกษุ ๒ รูป ย่อมไม่มี, ก็ถ้าหากจะพึงมีจะไม่พึงตรัสปาริสุทธิอุโบสถไว้แผนกหนึ่ง
     สำหรับภิกษุ ๒ รูป แม้ในการให้จีวรที่เสียสละแล้วคืน จะกล่าวว่า อิมํ จีวรํ อายสฺมโต เทม พวกเราให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน, เหมือนภิกษุรูปเดียวกล่าวว่า อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ ผมให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ก็ควร, จริงอยู่ แม้ญัตติทุติยกรรมซึ่งหนักกว่านี้ ตรัสว่า ควรอปโลกน์ทำก็มี, วินัยกรรมมีการสละนี้สมควรแก่ญัตติทุติยกรรมเหล่านั้น แต่จีวรที่สละแล้ว ควรให้คืนทีเดียว จะไม่ให้คืนไม่ได้ ก็การให้คืนจีวรที่สละเสียแล้วนี้ เป็นเพียงวินัยกรรม จีวรนั้นจะเป็นอันภิกษุนั้นให้แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคลหามิได้ทั้งนั้นแล
     ๗.จีวรที่ควรอธิษฐานและวิกัป มีพระบาลี (วิ.มหา.) ดังต่อไปนี้
     ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า จีวรทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ คือ ไตรจีวรก็ดี คือ วัสสิกสาฎกก็ดี นิสีทนะก็ดี คือปัจจัตถรณะ (ผ้าปูนอน) ก็ดี คือ ภัณฑุปฏิจฉาทิ (ผ้าปิดแผล) ก็ดี คือ มุขปุญฺฉนโจลก (ผ้าเช็ดหน้า) ก็ดี ปริขารโจลกะ (ท่อนผ้าใช้เป็นบริขารเช่นผ้ากรองนี้ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่มของ) ควรอธิษฐานทั้งหมดหรือว่าควรจะวิกัปหนอแล? ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่อนุญาตให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานวัสสิกสาฎก ตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากฤดูฝนนั้นอนุญาตให้วิกัปไว้ อนุญาตให้อธิษฐานนิสีทนะ ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานผ้าปูนอน ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานกัณฑุปฏิจฉาทิชั่วเวลาอาพาธ พ้นจากกาลอาพาธนั้น อนุญาตให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษบานมุขปุญฺฉนโจล (ผ้าเช็ดหน้า) ไม่อนุญาตให้วิกัป อนุญาตให้อธิษฐานบริขารโจล ไม่อนุญาตให้วิกัป ดังนี้
     ๘.การอธิษฐานไตรจีวร เป็นต้น
     บรรดาจีวรเป็นต้นเหล่านั้น อันภิกษุเมื่อจะอธิษฐานไตรจีวรย้อมแล้ว ให้กัปปะพินทุ พึงอธิษฐานจีวรที่ได้ประมาณเท่านั้น, ประมาณแห่งจีวรนั้น โดยกำหนดอย่างสูง หย่อนกว่าสุคตจีวร (จีวรของพระสุคต) จึงควร, และโดยกำหนดอย่างต่ำ ประมาณแห่งสังฆาฏิและอุตราสงค์ ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง ๓ ศอกกำ จึงควร, อันตรวาสก ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้างแม้ ๒ ศอก ก็ควร เพราะอาจเพื่อจะปกปิดสะดือ ด้วยผ้านุ่งบ้าง ผ้าห่มบ้างแล ก็จีวรที่เกินและหย่อนกว่าประมาณดังกล่าวแล้ว พึงอธิษฐานว่าบริขารโจล
     การอธิษฐานจีวรมี ๒ อย่าง คือ อธิษฐานด้วยกายอย่างหนึ่ง อธิษฐานด้วยวาจาอย่างหนึ่ง ฉะนั้นภิกษุพึงถอนสังฆาฏิผืนเก่าว่า อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ (เราถอนสังฆาฏิผืนนี้) แล้วเอามือจับสังฆาฏิใหม่ หรือพาดบนส่วนแห่งร่างกาย กระทำการผูกใจว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฐามิ (เราอธิษฐานสังฆาฏินี้) แล้วพึงทำกายวิการ (มีการเอามือจับจีวรเป็นต้น) อธิษฐานด้วยกายนี้ ชื่อว่า การอธิษฐานด้วยกาย, เมื่อไม่ถูกต้องจีวรนั่นด้วยส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การอธิษฐานนั้นไม่ควร
     ส่วนในการอธิษฐานด้วยวาจา พึงเปล่งวาจาแล้วอธิษฐานด้วยวาจา มีการอธิษฐาน ๒ วิธี, ถ้าผ้าสังฆาฏิอยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิฐานสังฆาฏิผืนนี้, ถ้าอยู่ภายในห้องในปราสาทชั้นบน หรือในวัดใกล้เคียง พึงกำหนดที่เก็บสังฆาฏิไว้แล้วเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิฐานสังฆาฏินั่น, ในอุตราสงค์ และอันตรวาสก ก็มีนัยอย่างนี้, พึงอธิษฐานจีวรทั้งหมดโดยชื่อของตนเท่านั้น อย่างนี้ว่า สงฺฆาฏึ อุตฺตราสงฺคํ อนฺตรวาสกํ ดังนี้
     ถ้าภิกษุกระทำจีวรสังฆาฏิเป็นต้น ด้วยผ้าที่อธิษฐานเก็บไว้ เมื่อย้อมและกัปปะเสร็จแล้ว พึงถอนว่า ข้าพเจ้าถอนผ้านี้ แล้วอธิษฐานใหม่ แต่เมื่อเย็บแผ่นผ้าใหม่หรือขัณฑ์ใหม่ เฉพาะที่ใหญ่กว่าเข้ากับจีวรที่อธิษฐานแล้ว ควรอธิษฐานใหม่, ในแผ่นผ้าที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ไม่มีกิจด้วยการอธิษฐานใหม่
     -ผ้าอาบน้ำฝนที่ไม่เกินประมาณ อันภิกษุพึงระบุชื่อแล้วอธิษฐานสิ้น ๔ เดือนแห่งฤดูฝน โดยนัยดังกล่าวแล้ว ต่อจากนั้นพึงถอนแล้ววิกัปไว้, ผ้าอาบน้ำฝนนี้ แม้ย้อมพอทำให้เสียสี ก็ควร, แต่สองผืนไม่ควร
     -ผ้านิสีทนะพึงอธิษฐานโดยนัยดังกล่าวแล้ว ก็แลผ้านิสีทนะมีได้เพียงผืนเดียวเท่านั้น สองผืนไม่ควร
     -แม้ผ้าปูนอนก็ควรอธิษฐานเหมือนกัน; ผ้าปูนอนนี้ถึงใหญ่ก็ควร แม้ผืนเดียวก็ควร แม้มากผืนก็ควร มีลักษณะเป็นต้นว่าสีเขียวก็ดี สีเหลืองก็ดี มีชายก็ดี มีชายเป็นลายดอกไม้ก็ดี ย่อมควรทุกประการ ภิกษุอธิษฐานคราวเดียว ย่อมเป็นอันอธิษฐานแล้วทีเดียว
     -ผ้าปิดฝีที่ได้ประมาณพึงอธิษฐานชั่วเวลาที่ยังมีอาพาธอยู่ เมื่ออาพาธหายแล้ว พึงถอนแล้ววิกัปเก็บไว้ผืนเดียวเท่านั้น จึงควร
     -ผ้าเช็ดหน้าพึงอธิษฐานเหมือนกัน ภิกษุจำต้องปรารถนาผืนอื่น เมื่อต้องการใช้ในเวลาที่ยังซักอีกผืนหนึ่งอยู่ เพราะฉะนั้น สองผืนก็ควร
     -ในบริขารโจล ชื่อว่าการนับจำนวนไม่มี พึงอธิษฐานได้เท่าจำนวนที่ต้องการนั่นเทียว, ถุงย่ามก็ดี ผ้ากรองน้ำก็ดี มีประมาณเท่าจีวรที่ควรวิกัปเป็นอย่างต่ำ พึงอธิษฐานว่าบริขารโจลเหมือนกัน แม้จะรวมจีวรมากผืนเข้าด้วยกันแล้วอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานจีวรเหล่านี้เป็นบริขารโจร ดังนี้ก็สมควรเหมือนกัน แม้ภิกษุจะเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่เภสัช นวกรรมและมารดา เป็นต้น ก็จำต้องอธิษฐาน แต่ในมหาปัจจรีว่า ไม่เป็นอาบัติ
     -ส่วนในเสนาสนบริขารเหล่านี้คือ ฟูกเตียง ๑ ฟูกตั่ง ๑ หมอน ๑ ผ้าปาวาร ๑ ผ้าโกเชาว์ ๑  และในเครื่องปูลาดที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนบริขาร ไม่มีกิจที่ต้องอธิษฐานเลย
     ๙.เหตุให้ขาดอธิษฐาน
     ถามว่า จีวรอธิษฐานแล้ว เมื่อภิกษุใช้สอยอยู่ จะละอธิษฐานไปด้วยเหตุอย่างไร? ตอบว่า ย่อมละด้วยเหตุ ๙ อย่างนี้ คือ ด้วยให้บุคคลอื่น ๑ ด้วยถูกชิงไป ๑ ด้วยถือเอาโดยวิสาสะ ๑ ด้วยหันไปเป็นคนเลว (เข้ารีตเดียรถีย์) ๑ ด้วยลาสิกขา ๑ ด้วยกาลกิริยา (ตาย) ๑ ด้วยเพศกลับ ๑ ด้วยถอนอธิษฐาน ๑ ด้วยความเป็นช่องทะลุ ๑
     บรรดาเหตุ ๙ อย่างนั้น จีวรทุกชนิดย่อมละอธิษฐานด้วยเหตุ ๘ อย่างข้างต้น, แต่เฉพาะไตรจีวรละอธิษฐานด้วยความเป็นช่องทะลุ อรรถกถาทุกแห่งกล่าวว่า ช่องทะลุประมาณเท่าหลังเล็บแห่งนิ้วก้อย และช่องทะลุเป็นช่องโหว่ทีเดียว ถ้าภายในช่องทะลุมีเส้นด้ายเส้นหนึ่งยังไม่ขาด ก็ยังไม่ละอธิษฐาน
     “บรรดาไตรจีวรนั้น สำหรับสังฆาฏิและอุตราสงค์ ช่องทะลุจากด้านในแห่งเนื้อที่มีประมาณเพียง ๑ คืบ จากชายด้านยาว, มีประมาณ ๘ นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน แต่สำหรับอันตรวาสก ช่องทะลุจากด้านในแห่งเนื้อที่ มีประมาณเพียง ๑ คืบ จากชายด้านยาว, มีประมาณ ๔ นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน ช่องทะลุเล็กลงมาไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน....เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเป็นช่องทะลุ จีวรนั้นย่อมตั้งอยู่ในฐานแห่งอดิเรกจีวร, ควรกระทำสูจิกรรมแล้ว อธิษฐานใหม่”. (สูจิกรรม-การเย็บ)
     ก็ภิกษุใดดามผ้าปะลงในที่ชำรุดก่อนแล้ว เลาะที่ชำรุดในภายหลัง การอธิษฐานของภิกษุนั้นยังไม่ขาดไป, แม้ในการเปลี่ยนแปลงกระทงจีวรก็มีนัยนี้เหมือนกัน สำหรับจีวร ๒ ชิ้น เมื่อชิ้นหนึ่งเกิดเป็นช่องทะลุหรือขาดไป อธิษฐานยังไม่ขาด, ภิกษุกระทำจีวรผืนเล็กให้เป็นผืนใหญ่ หรือกระทำผืนใหญ่ให้เป็นผืนเล็ก อธิษฐานยังไม่ขาด เมื่อจะต่อริมสองข้างเข้าที่ตรงกลาง ถ้าว่าตัดออกก่อนแล้วภายหลังเย็บติดกัน อธิษฐานย่อมขาด ถ้าเย็บต่อกันแล้วภายหลังจึงตัด อธิษฐานยังไม่ขาด, แม้เมื่อใช้พวกช่างย้อมซักให้เป็นผ้าขาว อธิษฐานก็ยังคงเป็นอธิษฐานอยู่ทีเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ธันวาคม 2558 15:00:51 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2558 16:58:08 »

.
     (ต่อ)

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๒๐)
ภิกษุเก็บจีวรที่ไม่ได้ทำเป็นสองเจ้าไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน
ถ้าเกินกว่ากำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์


    ๑๐.อธิบายการวิกัปจีวร
     วิกัปมี ๒ อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑
     ภิกษุพึงทราบว่า จีวรมีผืนเดียวหรือมากผืน และจีวรนั้นอยู่ใกล้หรือมิได้อยู่ใกล้ (อยู่ในหัตถบาส หรือนอกหัตถบาส) แล้วกล่าวว่า อิมํ จีวรํ-จีวรผืนนี้บ้าง ว่า อิมานิ จีวรานิ-จีวรเหล่านี้บ้าง ว่า เอตํ จีวรํ-จีวรนั่นบ้าง ว่า เอตานิ จีวรานิ-จีวรเหล่านั้นบ้าง แล้วพึงกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ-ข้าพเจ้าวิกัปแก่ท่าน ดังนี้
     วิกัปต่อหน้านี้มีอยู่อย่างเดียว วิกัปแล้วจะเก็บไว้สมควรอยู่, จะใช้สอย จะสละหรืออธิษฐาน ไม่ควร, แต่หากภิกษุผู้รับวิกัป กล่าวคำว่า มยฺหํ สนฺตกํ สนฺตกานิ ปริภุญฺช วา วิสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ-จีวรนี้หรือจีวรเหล่านี้ เป็นของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จงจำหน่าย จงกระทำตามสมควรแก่ปัจจัยเถิด ดังนี้ชื่อว่า ปัจจุทธรณ์ (ถอนวิกัป) จำเดิมจากนี้ แม้จะบริโภคเป็นต้น ย่อมสมควร
     อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพึงรู้ว่าจีวรผืนเดียว หรือมากผืน อยู่ใกล้หรือมิได้อยู่ใกล้ แล้วกล่าวว่า อิมํ จีวรํ, อิมานิ จีวรานิ, เอตํ จีวรํ, เอตานิ จีวรานิ ดังนี้ ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแหละ ระบุชื่อสหธรรมิก ๕ รูปใดรูปหนึ่งที่ตนชอบใจแล้ว พึงกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ-เข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุติสสะ หรือว่า ติสฺสาย ภิกฺขุนิยา, ติสฺสาย สิกฺขมานาย, ติสฺสสฺส สามเณริยา วิกปฺเปมิ-ข้าพเจ้าวิกัปแล้วแก่ติสสาภิกษุณี แก่ติสสาสิกขมานา แก่ติสสสามเณร ติสสสามเณรี ดังนี้ นี้เป็นวิกัปต่อหน้า, วิกัปแล้วจะเก็บไว้สมควรอยู่ แต่ในการใช้สอยเป็นต้น ย่อมไม่ควร แต่เมื่อภิกษุนั่นกล่าวคำว่า จีวรนี้ของภิกษุชื่อติสสะ...ท่านจงบริโภคก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม ชื่อว่าเป็นอันถอน, จำเดิมแต่นี้ไปแม้การใช้สอยเป็นต้น ก็สมควร
     -ภิกษุพึงทราบว่า จีวรผืนเดียวหรือมากผืน อยู่ใกล้หรือมิได้อยู่ใกล้ กล่าวว่า อิมํ จีวรํ-ซึ่งจีวรนี้ หรือว่า อิมานิ จีวรานิ-ซึ่งจีวรทั้งหลายนี้ว่า เอตํ จีวรํ-ซึ่งจีวรนั่น หรือว่า เอตานิ จีวรานิ-ซึ่งจีวรทั้งหลายนั้น ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺปนตุ ถาย ทมฺมิ-ข้าพเจ้าให้แก่ท่าน เพื่อประโยชน์แก่การวิกัป
     ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึงกล่าวว่า ใครเป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนเห็น หรือเป็นเพื่อนคบกันของท่าน ภิกษุผู้วิกัปกล่าวว่าภิกษุชื่อติสสะ หรือว่า ฯลฯ สามเณรชื่อติสสา โดยนัยที่กล่าวแล้ว ภิกษุนั้นพึงกล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกขุโน ทมฺมิ-ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ หรือว่า อหํ ติสฺสาย สามเณริยา ทมฺม ข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา ดังนี้ อย่างนี้ชื่อว่าวิกัปลับหลังด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ การเก็บไว้สมควรอยู่, ส่วนในการใช้สอยเป็นต้น กิจแม้อย่างเดียวก็ไม่สมควร, แต่หากภิกษุ (ผู้วิกัป) กล่าวคำว่า อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ-(จีวร) ของภิกษุชื่อนี้ ท่านจงใช้สอยก็ได้ จงจำหน่ายก็ได้ จงกระทำตามสมควรแก่ปัจจัยก็ได้ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิกัปต่อหน้าอย่างที่สองนั้นแล, ชื่อว่าเป็นอันถอนจำเดิมแต่นั้น กิจทั้งหลายมีการใช้สอยเป็นต้น ย่อมควร
     ถามว่า การวิกัปทั้ง ๒ อย่างต่างกันอย่างไร?
     ตอบว่า ในการวิกัปต่อหน้า ภิกษุวิกัปเองแล้วให้ผู้อื่นถอนได้, ในวิกัปลับหลัง ภิกษุให้คนอื่นวิกัปแล้วให้คนอื่นนั่นเองถอน นี้เป็นความต่างกัน, ในเรื่องวิกัปทั้ง ๒ นี้ ก็ถ้าวิกัปแก่ผู้ใด ผู้นั้นไม่ฉลาดในพระบัญญัติ ไม่รู้จะถอน พึงถือจีวรนั้นไปยังสำนักสหธรรมิกอื่นผู้ฉลาด วิกัปใหม่แล้วพึงให้ถอน นี้ชื่อว่าการวิกัปบริขาร ที่วิกัปไปแล้ว ควรอยู่
     ๑๑.เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่คืนให้ ด้วยสำคัญว่า ภิกษุนี้ให้แล้วแก่เรา แต่ภิกษุผู้รู้ว่าเป็นของภิกษุนั้นต้องการชิงเอาด้วยเลศ พระวินัยธรพึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ
     ๑๒.สิกขาบทนี้ชื่อว่า มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เกิดทางกายกับวาจา และทางกายวาจากับจิต, เป็นอกิริยา เพราะต้องด้วยการไม่อธิษฐานและไม่วิกัป, เป็นอจิตตกะ (แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ) ปัณณัติติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต, พระอรหันต์ก็ต้องได้)
     ๑๓.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
     กฐิน
-ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร, ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตราสงค์ หรือสังฆาฏิ ก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์ คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔),  ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน,  สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป, ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
     ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ ๑) เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา  ๒) จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ  ๓) ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้  ๔) เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา  ๕) จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ
     อานิสงส์ ๕ นี้ หากจำพรรษาแล้ว ย่อมได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่งนับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, เมื่อกรานกฐินแล้วย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ นี้ ออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น
     เดาะ-(ในคำว่าการเดาะกฐิน) เสียหาย คือ กฐินใช้ไม่ได้ หมดประโยชน์ หมดอานิสงส์ ออกมาจากคำว่า อุพฺภาโร. อุทฺธาโร แปลว่า ยกขึ้น หรือรื้อ เข้ากับศัพท์กฐิน แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือ หมดโอกาสได้ประโยชน์จากกฐิน


.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๒๑)
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากผ้าสังฆาฏิไว้กับภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์และผ้าอันตรวาสก หลีกไปจาริกในชนบท ผ้าสังฆาฏิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นานก็ขึ้นรา ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น พระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ พบเข้า จึงถามว่าจีวรที่ขึ้นราเหล่านี้ของใคร ภิกษุเหล่านั้นแจ้งแก่ท่านพระอานนท์แล้ว พระอานนท์เพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล...
     ทรงมีพระบัญญัติว่า “จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
     สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปนิมนต์ให้ท่านไปยังบ้านญาติเพื่อพยาบาล แต่ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรีจีวรไปด้วยได้ ผมจักไม่ไป”
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... รับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้ว่า

วิธีสมมติจีวราวิปวาส
     ภิกษุผู้อาพาธพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอสมมติ เพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓
     จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ควรแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
     การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้” แล้วทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
    “จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -บทว่า จีวร...สำเร็จแล้ว และคำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทที่ ๑ ที่ผ่านมา
     -คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ได้แก่ ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิก็ดี ผ้าอุตราสงค์ก็ดี ผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว
     -บทว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ภิกษุผู้ได้รับสมมติสามารถอยู่ปราศจากได้
     -บทว่า เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำจะสละ พร้อมกับเวลาอรุณขึ้น ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าอยู่ปราศจากและล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรนั้นด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป กล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าปราศจากแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรนั้นด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กล่าวว่า... ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ พึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้
     -เขตที่กำหนดไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอยู่มากมาย เช่น บ้าน เรือน โรงเก็บของ ป้อม เป็นต้น,  “บ้าน” ที่ชื่อว่ามีอุปจารเดียว คือ เป็นบ้านของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในบ้าน ต้องอยู่ภายในบ้าน; บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส
     -ที่ชื่อว่า อุปจารต่าง คือ เป็นบ้านของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เมื่อจะไปสู่ห้องโถงต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาส แล้วอยู่ในห้องโถง หรืออยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส, บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส,  “เรือ” ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือ ต้องอยู่ภายในเรือ เรือของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส
     “โคนไม้” ของสกุลเดียว กำหนดเอาเขตที่เงาแผ่ไปโดยรอบในเวลาเที่ยง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตเงา ต้องอยู่ภายในเขตเงา, โคนไม้ต่างสกุลไม่พึงละจากหัตถบาส
     “ที่แจ้ง” ที่ชื่อว่า อุปจารเดียว, มีอุปจารต่าง คือ ในป่าหาบ้านมิได้ กำหนด ๗ อัพภันดร โดยรอบจัดเป็นอุปจารเดียว, พ้นนั้นไป จัดเป็นอุปจารต่าง
     คำอธิบายเขตไม่อยู่ปราศจากของเรือน วิหาร โรงเก็บของ ป้อม เป็นต้น พึงทราบทำนองเดียวกับบ้านและเรือ เป็นต้น
    
อาบัติ
     ๑.จีวรอยู่ปราศจาก ภิกษุรู้ว่าอยู่ปราศจาก เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.จีวรอยู่ปราศจาก ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.จีวรอยู่ปราศจาก ภิกษุคิดว่าไม่อยู่ปราศจาก... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุคิดว่าสละให้ไปแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๖.จีวรยังไม่หาย ภิกษุคิดว่าหายไปแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๗.จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๘.จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุคิดว่าถูกไฟไหม้แล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๙.จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุคิดว่าโจรชิงไปแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
    ๑๐.ภิกษุไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องทุกกฎ
    ๑๑.จีวรไม่อยู่ปราศจาก ภิกษุคิดว่าอยู่ปราศจาก บริโภค (ใช้สอย) ต้องทุกกฎ
    ๑๒.จีวรไม่อยู่ปราศจาก ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     จีวรไม่อยู่ปราศจาก ภิกษุรู้ว่าไม่อยู่ปราศจาก บริโภค ไม่ต้องอาบัติ ๑  ภิกษุสละให้ไป ๑  ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย ๑  จีวรหาย ๑  ฉิบหาย ๑  ถูกไฟไหม้ ๑  โจรชิงเอาไป ๑  ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ภิกษุได้รับสมมติ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๗๔๒-๗๕๓
     ๑.อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ตรัสเรียกว่า อันตระ, อุตราสงค์ (ผ้าห่ม) ตรัสเรียกว่า อุตตระ, ผ้าห่มกับผ้านุ่ง ชื่อว่า สันตรุตตระ
     ๒.ภิกษุอาพาธผู้ได้รับสมมติ
       สมมติในการไม่อยู่ปราศจาก (ไตรจีวร) ชื่อว่า อวิปปวาสสมมติ, ก็อวิปปวาสสมมตินี้ มีอานิสงส์อย่างไร?  ตอบว่า ภิกษุผู้อยู่ปราศจากจีวรผืนใด จีวรผืนนั้นย่อมไม่เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุผู้อยู่ปราศจาก ไม่ต้องอาบัติ, อยู่ปราศจากได้สิ้นเวลาเท่าไร? พระมหาสุมเถระกล่าวว่า ชั่วเวลาที่โรคยังไม่หาย แต่เมื่อโรคหายแล้ว ภิกษุพึงรีบกลับมาสู่สถานที่เก็บจีวร, ก็ภิกษุยังแสวงหาพวกเกวียน หรือว่าทำความผูกใจอยู่ว่า เราจะไป จำเดิมแต่กาลนั้นจะอยู่ปราศจาก ก็ควร,  แต่เมื่อภิกษุทำการทอดธุระว่า เราจักยังไม่ไปในเวลานี้ พึงถอนเสีย ไตรจีวรที่ถอนแล้วจักอยู่ในฐานะเป็นอดิเรกจีวร ดังนี้
     ถ้าว่าโรคของเธอกลับกำเริบขึ้น เธอจะทำอย่างไร?  ตอบว่า พระปุสสเทวเถระกล่าวว่า ถ้าโรคนั้นนั่นเองกลับกำเริบขึ้น อวิปปวาสสมมตินั้นนั่นแล ยังคงเป็นสมมติอยู่ ไม่มีกิจที่จะต้องสมมติใหม่, ถ้าโรคอื่นกำเริบ พึงให้สมมติใหม่ ดังนี้, พระอุปติสสะเถระกล่าวว่า โรคนั้นหรือโรคอื่นก็ตาม จงยกไว้ ไม่มีกิจที่จะต้องให้สมมติใหม่ ดังนี้
     ๓.พระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง หรือบ้านของนายบ้านคนหนึ่งชื่อว่า บ้านของตระกูลเดียว, ล้อมแล้วด้วยกำแพง ด้วยรั้ว หรือด้วยคูน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง
     ภิกษุอยู่ ณ ที่ใด ไม่พึงละที่นั้น จากหัตถบาสโดยรอบ ไม่พึงละให้ห่างจากที่นั่นประมาณ ๒ ศอกคืบไป; ก็การอยู่ใน ๒ ศอกคืบ ย่อมสมควร, ล่วงเลยประมาณนั้นไป ถ้าแม้นภิกษุมีฤทธิ์ยังอรุณให้ตั้งขึ้นในอากาศ ก็เป็นนิสสัคคีย์เหมือนกัน
     -ที่ชื่อว่า โรงเก็บของ ได้แก่ โรงเก็บสิ่งของ มียวดยาน เป็นต้น
     -ที่ชื่อว่า ป้อม ได้แก่ ที่อาศัยพิเศษ ซึ่งเขาก่อด้วยอิฐ เพื่อป้องกันพระราชาจากข้าศึกเป็นต้น มีฝาผนังหนา มีพื้น ๔-๕ ขั้น
     -ปราสาท ๔ เหลี่ยมจัตุรัส อันสงเคราะห์เข้าด้วยยอดเดียวกัน ชื่อว่า เรือนยอดเดียว, ปราสาทยาวชื่อว่า ปราสาท, ปราสาทที่มีหลังคาตัด (ปราสาทโล้น) ชื่อว่า ทิมแถว, อัพภันดรท่านกล่าวไว้ในคำว่า ๗ อัพภันดรนี้มีประมาณ ๒๘ ศอก
     -ถ้าหมู่เกวียนไปหยุดพักโอบหมู่บ้านหรือไม่น้ำ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับหมู่เกวียนที่เข้าไป ภายในกระจายอยู่ตลอดไปทั้งฝั่งในฝั่งนอก ย่อมได้บริหารว่า หมู่เกวียนแท้, ถ้าหมู่เกวียนยังเนืองกันอยู่ที่บ้านหรือว่าที่แม่น้ำ, หมู่เกวียนที่เข้าไปภายในแล้ว ย่อมได้บริหารว่าบ้าน และบริหารว่าแม่น้ำ, ถ้าหมู่เกวียนหยุดพักอยู่เลยวิหารสีมาไป จีวรอยู่ภายในสีมา พึงไปยังวิหารแล้วอยู่ภายในสีมานั้น, ถ้าจีวรอยู่ในภายนอกสีมา พึงอยู่ในที่ใกล้หมู่เกวียนนั่นแล, ถ้าหมู่เกวียนกำลังเดินทาง เมื่อเกวียนหักหรือโคหาย ย่อมขาดกันในระหว่าง จีวรที่เก็บไว้ในส่วนไหนพึงอยู่ในส่วนนั้น, หัตถบาสแห่งจีวรนั่นแล ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาของตระกูลเดียว, หัตถบาสแห่งประตูไร่นา ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาของตระกูลต่างกัน, หัตถบาสแห่งจีวรเท่านั้น ชื่อว่าหัตถบาสในไร่นาที่ไม่ได้ล้อม
     -โคนไม้ เก็บจีวรไว้เฉพาะภายในโอกาสที่เงาแผ่ไปถึง แต่จีวรที่ภิกษุเก็บไว้ในโอกาสที่แดดถูกต้นไม้มีกิ่งโปร่ง เป็นนิสสัคคีย์แท้ เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเก็บจีวรไว้ที่เงาแห่งกิ่งไม้ หรือที่เงาแห่งลำต้นของต้นไม้เช่นนั้น ถ้าจะเก็บไว้บนกิ่งหรือบนคาคบ พึงวางไว้ในโอกาสที่เงาแห่งต้นไม้ต้นอื่นข้างบนแผ่ไปถึงเท่านั้น เงาของต้นไม้เตี้ยย่อมแผ่ทอดไปไกล พึงเก็บไว้ในโอกาสที่เงาแผ่ไปถูก ควรจะเก็บไว้ในที่เงาทึบเท่านั้น, หัตถบาสแห่งโคนไม้นี้ ก็คือ หัตถบาสแห่งจีวรนั่นเอง
     -ลาน ท่านเรียกว่า ธัญญกรณ์ (ลานนวดข้าวเปลือก), ส่วนดอกไม้หรือสวนผลไม้ท่านเรียกว่า สวนในลานนวดข้าว และสวนดอกไม้ สวนผลไม้ มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวในไร่นา, บทว่า วิหาร ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับเรือนพักนั่นเอง
     ๔.อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าภิกษุผู้ประกอบความเพียร บำเพ็ญเพียรตลอดคืนยันรุ่งใฝ่ใจว่า เราจักสรงน้ำในเวลาใกล้รุ่ง แล้วออกไป วางจีวรทั้ง ๓ ผืนไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ ลงสู่แม่น้ำ เมื่อเธออาบอยู่นั่นเอง อรุณขึ้น เธอพึงกระทำอย่างไร? ด้วยว่า ถ้าขึ้นมาแล้วนุ่งห่มจีวร ย่อมต้องทุกกฎเพราะไม่เสียสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้วใช้สอยเป็นปัจจัย ถ้าเธอเปลือยกายไป แม้ด้วยการเปลือยกายไปอย่างนั้นก็ต้องทุกกฎ
     ตอบว่า เธอไม่ต้อง เพราะว่าเธอตั้งอยู่ในฐานแห่งภิกษุผู้มีจีวรหาย เพราะจีวรเหล่านั้นเป็นของไม่ควรบริโภค ตราบเท่าที่ยังไม่พบภิกษุรูปอื่นแล้วกระทำวินัยกรรม, และชื่อว่าสิ่งที่ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้มีจีวรหาย ไม่มี เพราะฉะนั้นเธอพึงนุ่งผืนหนึ่ง เอามือถือสองผืน ไปสู่วิหารแล้วกระทำวินัยกรรม, ถ้าว่าวิหารอยู่ไกล ในระหว่างทางมีพวกชาวบ้านสัญจรไปมา เธอพบชาวบ้านเหล่านั้น พึงนุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง วางผืนหนึ่งไว้บนจะงอยบ่า แล้วพึงเดินไป, ถ้าหากไม่พบภิกษุที่ชอบพอกันในวิหาร ภิกษุทั้งหลายไปเที่ยวภิกษาจารเสีย เธอพึงวางผ้าสังฆาฏิไว้ภายนอกบ้าน ไปสู่โรงฉันด้วยผ้าอุตราสงค์กับอันตรวาสกแล้วกระทำวินัยกรรม, ถ้าในภายนอกบ้านมีโจรภัยพึงห่มสังฆาฏิไปด้วย ถ้าโรงฉันคับแคบ มีคนพลุกพล่าน เธอไม่อาจเปลื้องจีวรออกทำวินัยกรรมในด้านหนึ่งได้ พึงพาภิกษุรูปหนึ่งไปนอกบ้านกระทำวินัยกรรม แล้วใช้สอยจีวรทั้งหลายเถิด
     -ถ้าภิกษุทั้งหลายให้บาตรและจีวรไว้ในมือแห่งภิกษุหนุ่มทั้งหลายผู้กำลังเดินทางไป มีความประสงค์จะนอนพักในปัจฉิมยาม พึงกระทำจีวรของตนๆ ไว้ในหัตถบาสก่อนแล้วจึงนอน, ถ้าเมื่อภิกษุหนุ่มมาไม่ทัน อรุณขึ้นไปแก่พระเถระทั้งหลายผู้กำลังเดินไปนั่นแล จีวรทั้งหลายย่อมเป็นนิสสัคคีย์ ส่วนนิสัยไม่ระงับ, เมื่อพวกภิกษุหนุ่มเดินล่วงไปก่อนก็ดี พระเถระทั้งหลายเดินตามไม่ทันก็ดี มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
     เมื่อภิกษุทั้งหลายพลัดทางไม่เห็นกันและกันในป่าก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, ก็ถ้าพวกภิกษุนุ่มเรียกว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจักนอนพักสักครู่หนึ่ง จักตามไปทันพวกท่านในที่โน้น ดังนี้ แล้วนอนอยู่จนอรุณขึ้น จีวรเป็นนิสสัคคีย์ด้วย นิสัยก็ระงับด้วย, แม้เมื่อพระเถระทั้งหลายส่งพวกภิกษุหนุ่มไปก่อนแล้วนอน ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน พบทางสองแพร่ง พระเถระทั้งหลายบอกว่า ทางนี้ พวกภิกษุหนุ่มเรียนว่าทางนี้ ไม่เชื่อถือถ้อยคำของกันและกันไปเสีย (แยกทางกันไป) พร้อมกับอรุณขึ้น จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ และนิสัยย่อมระงับ
     ถ้าพวกภิกษุหนุ่มแวะออกจากทางกล่าวว่า พวกเราจักกลับมาให้ทันภายในอรุณ แล้วเข้าไปยังบ้านเพื่อต้องการเภสัช เมื่อกำลังเดินมาและอรุณขึ้นก่อนพวกเธอผู้กลับมายังไม่ถึงนั่นเอง จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยไม่ระงับ, ก็ถ้าว่าพวกเธอกล่าวว่า พวกเรายืนอยู่สักครู่หนึ่งแล้วจักไป แล้วยืนหรือนั่ง เพราะกลัวแม่โคนม (โคแม่ลูกอ่อน) หรือเพราะกลัวสุนัข แล้วจึงเดินไป เมื่ออรุณขึ้นในระหว่างทาง จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ด้วย นิสัยก็ระงับด้วย, เมื่อภิกษุทั้งหลาย (เมื่ออาจารย์และอันเตวาสิก) เข้าไปสู่บ้านภายในสีมาด้วยใส่ใจว่า เราจักมาในภายในอรุณขึ้นนั่นเทียว อรุณขึ้นในระหว่าง จีวรทั้งหลายไม่เป็นนิสสัคคีย์ นิสัยก็ไม่ระงับ, ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายนั่งอยู่ด้วยไม่ใส่ใจว่า ราตรีจะสว่างหรือไม่ก็ตามที แม้เมื่ออรุณขึ้นแล้ว จีวรไม่เป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยย่อมระงับ
     ก็ภิกษุเหล่าใดเข้าไปสู่โรงในภายนอกอุปจารสีมาด้วยทั้งที่ยังมีอุตสาหะว่า เราจักมาในภายในอรุณนั่นแล เพื่อประโยชน์แก่กรรมมีอุปสมบทกรรมเป็นต้น อรุณตั้งขึ้นที่โรงนั้นแก่พวกเธอ จีวรเป็นนิสสัคคีย์แต่นิสัยไม่ระงับ, ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่โรงนั้นนั่นแลภายในอุปจารสีมา เมื่ออรุณตั้งขึ้น จีวรไม่เป็นนิสสัคคีย์ นิสัยไม่ระงับ, แต่ภิกษุเหล่าใดยังมีอุตสาหะไปยังวิหารใกล้เคียง เพื่อประสงค์จะฟังธรรม ตั้งใจว่าจักมาให้ทันภายในอรุณ แต่อรุณขึ้นในระหว่างทางนั่นเอง จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยยังไม่ระงับ. ถ้าพวกเธอนั่งอยู่ด้วยเคารพในธรรมว่า พวกเราฟังจนจบแล้วจึงจักไป พร้อมกับอรุณขึ้นนั้น จีวรทั้งหลายก็เป็นนิสสัคคีย์ ทั้งนิสัยก็ระงับ
     พระเถระ เมื่อจะส่งภิกษุหนุ่มไปสู่ละแวกบ้าน เพื่อต้องการซักจีวร พึงปัจจุทธรณ์จีวรของตนก่อน แล้วจึงให้ไป แม้จีวรของภิกษุหนุ่มก็พึงให้ปัจจุทธรณ์แล้วเก็บไว้ ถ้าภิกษุหนุ่มไปด้วยไม่มีสติ พระเถระพึงถอนจีวรของตนแล้วถือเอาจีวรของภิกษุหนุ่มด้วยวิสาสะ พึงเก็บไว้, ถ้าพระเถระระลึกไม่ได้ แต่ภิกษุหนุ่มระลึกได้ ภิกษุหนุ่มพึงถอนจีวรของตน แล้วถือเอาจีวรของพระเถระด้วยวิสาสะ แล้วไปเรียนว่า ท่านขอรับ ท่านจงอธิษฐานจีวรของท่านเสียแล้วใช้สอยเถิด จีวรของตนเธอก็พึงอธิษฐาน, แม้ด้วยความระลึกได้ของภิกษุรูปหนึ่งอย่างนี้ ก็ย่อมพ้นอาบัติได้แล
     ๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค, แปลกกันแต่สิกขาบทนี้เป็นอกิริยา คือ ไม่ปัจจุทธรณ์ (จึงต้องอาบัติ)




อนิกฺกสาโว กาสาวํ   โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน   น โส กาสาวมรหติ ฯ ๙ ฯ

คนที่กิเลสครอบงำใจ  ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์ ก็หาคู่ควรไม่

whosoever, not freed from defilements, Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe- He is not worthy of it.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 15:57:06 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 28 มกราคม 2559 14:19:08 »

.

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๒๒)
ภิกษุประสงค์จะทำจีวร แต่ผ้ายังไม่พอ พึงเก็บไว้ได้เพียงเดือนหนึ่ง
ถ้าเก็บไว้เกินกว่าเดือนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

   ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เธอจะทำจีวรก็ไม่พอ (ผ้าที่ได้มาไม่พอแก่การที่จะตัด เย็บ ย้อม เป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง) จึงเอาจีวรจุ่มน้ำตากแล้วดึงอยู่หลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาพบ ตรัสถามว่า เธอทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร? ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาลจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะทำจีวรก็ไม่พอ จึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึงหลายๆ ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า
     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ (ความหวังที่จะได้ผ้ามาตัดเย็บเข้าด้วยกันให้เพียงพอ) ภิกษุกราบทูลว่า มี พระพุทธเจ้าข้า
     รับสั่งว่า เราอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ให้ดี โดยมีหวังว่าจะได้จีวรมาเพิ่มเติม
     สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจึงรับอกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน โดยห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง พระอานนท์มาพบเห็น ท่านถามภิกษุทั้งหลายว่า เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว ภิกษุตอบว่า นานกว่าหนึ่งเดือน ขอรับ พระอานนท์จึงเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
     “จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมื่อความหวังจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ ก็เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว และคำว่ากฐินเดาะเสียแล้ว พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทที่ ๑
     -ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เมื่อไม่ได้กรานกฐินเกิดได้ตลอด ๑๑ เดือน เมื่อได้กรานกฐินแล้วเกิดได้ตลอด ๗ เดือน แม้ผ้าที่เขาเจาะจงให้เป็นอกาลจีวรถวายในกาลนี้ก็ชื่อว่า อกาลจีวร
     -บทว่า เกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ก็ตาม (อุทิศถวายแก่สงฆ์) คณะก็ตาม (ถวายแก่ภิกษุผู้เรียนพระสูตรเป็นต้น) จากญาติมิตรก็ตาม จากที่บังสุกุลก็ตาม จากทรัพย์ของตนก็ตาม, หากหวังอยู่ คือ เมื่อต้องการก็พึงรับไว้, ครั้นรับแล้วพึงทำให้เสร็จภายใน ๑๐ วัน
      -ถ้าผ้านั้นมีไม่พอที่จะทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างมาก
     -คำว่า เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน คือ เพื่อประสงค์จะยังจีวรที่บกพร่องให้บริบูรณ์ หากเก็บไว้เกินเดือนหนึ่งแล้ว แม้ว่าจะยังมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่มอีกก็ตาม (จะได้จากสงฆ์หรือญาติ เป็นต้น)
     “ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังจะได้มีอยู่” อธิบายว่า จีวรเดิมเกิดในวันนั้น จีวรที่หวังก็เกิดขึ้นในวันนั้น พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน (ตามพระบัญญัติสิกขาบทที่ ๑)
     จีวรเดิมเกิดได้ ๒ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
     จีวรเดิมเกิดได้ ๓ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
     จีวรเดิมเกิดได้ ๒๑ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงทำให้เสร็จใน ๙ วัน
     จีวรเดิมเกิดได้ ๒๒ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงทำให้เสร็จใน ๘ วัน
     จีวรเดิมเกิดได้ ๒๙ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงทำให้เสร็จใน ๑ วัน
     จีวรเดิมเกิดได้ ๓๐ วัน  จีวรที่หวังจึงเกิด พึงอธิษฐาน พึงวิกัปไว้ หรือพึงสละให้ผู้อื่นไปในวันนั่นแหละ ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปไว้ หรือไม่สละให้ผู้อื่นไป เมื่ออรุณที่ ๓๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิคสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
     วิธีเสียสละแก่สงฆ์... วิธีเสียสละแก่คณะ..
     วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กล่าวว่า “ท่าน อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วงเดือนหนึ่งเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละ พึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรที่สละนั้นว่า “ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้
     เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้น (ได้คืนมา) แล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน และราตรียังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการ ก็ไม่พึงทำ

อาบัติ
     ๑.จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุรู้ว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๓.จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุคิดว่ายังไม่ล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๔.จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน, ยังไม่ได้วิกัป, ยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว, วิกัปแล้ว, สละให้ไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๕.จีวรยังไม่หาย, ยังไม่ฉิบหาย, ยังไม่ถูกไฟไหม้, ยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว, ฉิบหายแล้ว, ถูกไฟไหม้แล้ว, โจรชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๖.จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่เสียสละ บริโภค ต้องทุกกฎ
     ๗.จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุคิดว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องทุกกฎ
     ๘.จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุรู้ว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ ๑ ในภายในหนึ่งเดือน ภิกษุอธิษฐาน ๑ วิกัปไว้ ๑ สละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ ถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๗๖๔-๗๖๗
     ๑.มีความหวังจากสงฆ์ หรือจากคณะ อย่างนี้ว่า ณ วันชื่อโน้น สงฆ์จักได้จีวร คณะจักได้จีวร จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรา จากสงฆ์หรือจากคณะนั้นๆ หรือมีความหวังจากญาติหรือจากมิตร อย่างนี้ว่า ผ้าพวกญาติส่งมาแล้ว พวกมิตรส่งมาแล้วแก่เรา เพื่อประโยชน์แก่จีวร ชนเหล่านั้นมาแล้วจักถวายจีวร, หรือหวังจะได้จากผ้าบังสุกุล
     -เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ทำจีวร ได้จีวรที่หวังจะได้มาแล้วเท่านั้น พึงกระทำในภายในกาล แม้จีวรที่หวังจะได้มา พึงอธิษฐานเป็นบริขารโจล
     ถ้าจีวรเดิมเป็นผ้าเนื้อหยาบ จีวรที่หวังจะได้มาเป็นเนื้อละเอียด พึงอธิษฐานจีวรเดิมให้เป็นบริขารโจล และเก็บจีวรที่หวังจะได้มานั่นแลให้เป็นจีวรเดิม, จีวรนั้นย่อมได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ภิกษุย่อมได้เพื่อผลัดเปลี่ยนกันและกันไว้เป็นจีวรเดิม จนตราบเท่าที่ตนปรารถนา โดยอุบายนี้แล
     ๒.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับปฐมกฐินสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๑) ที่กล่าวแล้ว  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่๔
(พระวินัยข้อที่ ๒๓)
ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    อดีตภรรยาของพระอุทายี บวชในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักของพระอุทายีเสมอ ท่านอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้นเสมอ
     เช้าวันหนึ่ง ท่านอุทายีเข้าไปยังสำนักภิกษุณีนั้น นั่งบนอาสนะเปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายีๆ มีความกำหนัดเพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของท่านพระอุทายีๆ พูดว่า น้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจักซักผ้าอันตรวาสก
     นางบอกว่า ส่งมาเถิด ดิฉันจักซักถวาย ครั้นแล้วนางได้นำอสุจิส่วนหนึ่งสอดเข้าไปในองค์กำเนิด ต่อมานางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว  ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจารี นางจึงมีครรภ์ นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจารีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ เพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนพระอุทายีจึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า แล้วแจ้งกับภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูล... ตรัสถามพระอุทายีว่า ภิกษุณีเป็นญาติหรือไม่ พระอุทายีทูลว่า มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า... แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถธิบาย

     -ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรุพชนก
     -ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
     -จีวรเก่า ได้แก่ ผ้านุ่งแล้วหนหนึ่งก็ดี ห่มแล้วหนหนึ่งก็ดี
     ภิกษุสั่งว่า จงซัก ต้องอาบัติทุกกฎ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์
     ภิกษุสั่งว่า จงย้อม ต้องอาบัติทุกกฎ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็นนิสสัคคีย์
     ภิกษุสั่งว่า จงทุบ ต้องอาบัติทุกกฎ เมื่อจีวรที่ภิกษุณีทุบด้วยมือก็ตาม ด้วยตะลุมพุกก็ตามเพียงทีเดียว จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
     วิธีเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ไม่ขอแสดงไว้ เนื่องจากปัจจุบันภิกษุณีในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทถือว่าขาดสูญไปแล้ว

อาบัติ
     ไม่ขอแสดงไว้ เนื่องจากปัจจุบันภิกษุณีในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทถือว่าขาดสูญไปแล้ว

อนาบัติ
     ภิกษุณีเป็นญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ ๑ ภิกษุไม่ได้บอกใช้ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุใช้ให้ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค ๑ ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่น เว้นจีวร ๑ ใช้สามเณรให้ซัก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๗๗๘-๗๘๓
     ๑.ภิกษุณีไม่ใช่คนเนื่องถึงกันด้วยความเกี่ยวเนื่องทางมารดา ไม่ใช่คนเนื่องถึงกันด้วยความเกี่ยวเนื่องทางบิดา ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรุพชนก อย่างนี้คือ บิดา, บิดาของบิดา (ปู่) บิดาของบิดา (ปู่ทวด), บิดาของปู่ทวดนั้น (ปู่ชวด)
     ตลอด ๗ ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ อย่างนี้คือ บิดา ๑ มารดาของบิดา (ย่า) ๑, บิดาและมารดาของมารดา (ตา ยาย) ๑ พี่น้องชาย ๑ พี่น้องหญิง ๑ บุตร ๑ ธิดา ๑
     ตลอด ๗ ชั่วยุค อย่างนี้คือ บิดา, พี่น้องชายของบิดา, พี่น้องหญิงของบิดา, ลูกชายของบิดา, ลูกหญิงของบิดา, เชื้อสายของบุตรธิดาของชนเหล่านั้น
       ตลอด ๗ ชั่วยุค อย่างนี้คือ มารดา, มารดาของมารดา (ยาย), มารดาของยาย (ยายทวด), มารดาของยายทวด (ยายชวด) นั้น ๑
     ตลอด ๗ ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ อย่างนี้คือ มารดา ๑ บิดาของมารดา (ตา) ๑ บิดาและมารดาของบิดานั้น (ทวดชายหญิง) ๑ พี่น้องชาย ๑ พี่น้องหญิง ๑ บุตร ๑ ธิดา ๑
     ตลอด ๗ ชั่วยุค อย่างนี้คือ มารดา, พี่น้องชายของมารดา (ลุง น้าชาย), พี่น้องหญิงของมารดา (ป้า น้าหญิง), ลูกชายของมารดา, ลูกหญิงของมารดา เชื้อสายบุตรธิดาของคนเหล่านี้ นี้ชื่อว่าผู้มิใช่ญาติ
     ๒.เป็นทุกกฎเมื่อใช้นางภิกษุณีผู้อุปสมบทแล้วในสำนักของภิกษุณีทั้งหลายให้ซัก (ยังไม่ได้อุปสมบทในภิกษุสงฆ์)
     ๓.สิกขาบทนี้สมุฏฐาน ๖ (ดูเทียบเคียงสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส) เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ (ไม่รู้ว่าเป็นญาติก็เป็นอาบัติ) ปัณณัติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๒๔)
ภิกษุรับจีวรจากมือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน

    ภิกษุณีอุบลวัณณา นำเนื้อไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เวฬุวันวิหาร ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน เหลือแต่ท่านพระอุทายีอยู่เฝ้าพระวิหาร ภิกษุณีอุบลวัณณา จึงฝากให้ท่านถวายเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
     ท่านพระอุทายีได้กล่าวขออันตรวาสกจากนาง นางกล่าวว่า พวกดิฉันเป็นมาตุคาม มีลาภน้อย ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวรผืนสุดท้ายที่ครบ ๕ ของดิฉันๆ ถวายไม่ได้ พระอุทายีพูดว่า น้องหญิง เปรียบเสมือนบุรุษให้ช้างแล้วก็ควรสละสัปคับสำหรับช้างด้วย ฉันใด  เธอก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถวายเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็จงสละผ้าอันตรวาสกถวายแด่อาตมา
     ครั้นนางถูกท่านพระอุทายีวิงวอน จึงได้ถวายผ้านั้นแก่ท่านอุทายีแล้วกลับสู่สำนัก ภิกษุณีทั้งหลายที่คอยรับบาตรจีวรของภิกษุณีอุบลวัณณาได้ถามว่า แม่เจ้า ผ้าอันตรวาสกของคุณแม่อยู่ที่ไหน นางได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ พากันเพ่งโทษติเตียน แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงสอบถามพระอุทายีว่า นางเป็นญาติหรือมิใช่ญาติ, อุ.มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า, ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ได้รับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
     ต่อมา ภิกษุรังเกียจ ไม่รับแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีทั้งหลายๆ จึงกราบทูล...รับสั่งว่า “เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ นี้” แล้วมีพระอนุบัญญัติว่า “ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ และภิกษุณี พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทที่ ๔
     -ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด (จะเห็นว่า จีวรนี้มิได้หมายเฉพาะผ้าห่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผ้านุ่ง (อันตรวาสก) และผ้าสังฆาฏิด้วย ตามเรื่องท่านอุทายีรับอันตรวาสกจากภิกษุณี อันตรวาสก (สบง) นี้ เรียกว่าจีวรด้วย)
     -บทว่า เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน คือ ยกเว้นแต่จีวรที่แลกเปลี่ยนกัน สามารถแลกเปลี่ยนกันได้
     -ภิกษุรับเป็นทุกกฎในขณะที่รับ เมื่อได้จีวรมาเป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

อนาบัติ
     ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ แลกเปลี่ยนกันคือ แลกเปลี่ยนจีวรดีกับจีวรเลว หรือจีวรเลวกับจีวรดี ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุขอยืมไป ๑ ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร ๑ ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา ๑ ภิกษุรับจีวรของสามเณรี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๗๙๒-๗๙๖
     ๑.ถ้าภิกษุณีให้ที่มือด้วยมือก็ตาม วางไว้ที่ใกล้เท้าก็ตาม โยนไปเบื้องบนก็ตาม ถ้าภิกษุยินดี จีวรย่อมเป็นอันถือว่าภิกษุนั้นรับแล้ว, ถ้าว่าภิกษุรับเอาจีวรที่ภิกษุณีฝากไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสกและอุบาสิกา เป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ
     บริษัททั้ง ๔ นำจีวรและผ้าสีต่างๆ มาวางไว้ใกล้เท้าแห่งภิกษุผู้กล่าวอรรถกถา หรือยืนในอุปจาร หรือละอุปจาร โยนให้ บรรดาผ้าเหล่านั้น จีวรใดเป็นของภิกษุณีย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับจีวรนั้นเหมือนกัน, นอกจากแลกเปลี่ยนกัน
     -หากภิกษุณีอุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว เป็นทุกกฎ
     ๒.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (ดูเทียบเคียงจากสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส) เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๒๕)
ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณา
ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีสมัยที่จะขอจีวรได้

    ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญการแสดงธรรมกถา มีบุตรเศรษฐีคนหนึ่งฟังแล้วเลื่อมใสได้เข้าไปหาท่านอุปนันทศากยบุตร กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าพึงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะจัดถวายแด่พระคุณเจ้าได้
     พระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ถ้าประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าที่ท่านนุ่งห่มเหล่านี้ เศรษฐีบุตรกล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตร จะมีผ้าผืนเดียวเดินไปดูกระไรอยู่ โปรดรอก่อน ผมกลับไปบ้านแล้ว จักส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้มาถวาย
     แต่ท่านอุปนันท์ก็ไม่ยอม กล่าวว่า ท่านไม่ประสงค์จะถวายแล้วจะปวารณาทำไม ท่านปวารณาแล้วไม่ถวายจะมีประโยชน์อะไร บุตรเศรษฐีนั้นจึงได้ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งแล้วกลับไป ระหว่างทางชาวบ้านถามเศษฐบุตรจึงเล่าเรื่องนั้นให้ฟัง ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียนท่านอุปนันทศากยบุตร ภิกษุทั้งหลายได้ยิน พากันติเตียน แล้วกราบทูล...ทรงสอบถามว่า เขาเป็นญาติหรือมิใช่ญาติ พระอุปนันท์กราบทูลว่า มิใช่ญาติพระพุทธเจ้าข้า แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดขอต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปเดินทางจากเมืองสาเกตสู่พระนครสาวัตถี พวกเธอถูกพวกโจรแย่งชิงจีวร พวกเธอรังเกียจ จึงไม่กล้าขอจีวร พากันเปลือยกายเดินไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วกราบไหว้ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจพูดกันว่านี้เป็นพวกอาชีวก ภิกษุผู้เปลือยกายตอบว่า พวกกระผมไม่ใช่พวกอาชีวก พวกกระผมเป็นภิกษุ ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านพระอุบาลีให้สอบสวนภิกษุเหล่านี้ ท่านพระอุบาลีสอบสวนแล้วจึงแจ้งให้ภิกษุทั้งหลายให้จีวร แล้วกราบทูล,,,ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในคำนั้นดังนี้คือ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี จีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น”

อรรถาธิบาย

     -ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน, แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
     -บทว่า นอกจากสมัย คือสามารถขอได้ในคราวที่จีวรถูกพวกราชา พวกโจร พวกนักเลง หรือพวกใดพวกหนึ่งชิงเอาจีวรไป, หรือคราวมีจีวรฉิบหาย คือ ถูกไฟไหม้ก็ดี ถูกน้ำพัดไป ถูกหนูหรือปลวกกัดก็ดี หรือเก่าเพราะใช้สอยก็ดี
     ภิกษุขอนอกจากสมัยเป็นทุกกฎในขณะที่ขอ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์...กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ดังนี้
     “ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป...

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพอเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
      ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติแล้ว พึงคืนจีวรด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
    ๑.พ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.พ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.พ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.พ่อเจ้าเรือน ผู้เป็นญาติ ภิกษุคิดว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร...ต้องทุกกฏ
     ๕.พ่อเจ้าเรือน ผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฏ
     ๖.พ่อเจ้าเรือน ผู้เป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุขอในสมัย ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๘๐๗-๘๑๓
     ๑.บรรดาภิกษุผู้บวชจากศากยตระกูลประมาณแปดหมื่นรูป พระอุปนันทศากยบุตรเป็นภิกษุเลวทราม มีชาติโลเล, แต่เป็นผู้สามารถฉลาดถึงพร้อมด้วยเสียง คือ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีลูกคอไพเราะ
     ๒.ถ้าพวกภิกษุหนุ่มเห็นพวกโจรแล้วถือบาตรและจีวรหนีไป, พวกโจรชิงเอาเพียงผ้านุ่ง และผ้าห่มของพระเถระทั้งหลายนั้นไป พระเถระทั้งหลายยังไม่ควรให้ขอจีวร ยังไม่ควรหักกิ่งไม้และเด็ดใบไม้; ถ้าพวกภิกษุหนุ่มทิ้งห่อของทั้งหมดหนีไป พวกโจรชิงเอาผ้านุ่งและผ้าห่มของพระเถระและห่อสิ่งของนั้นไป, พวกภิกษุหนุ่มมาแล้ว ยังไม่ควรให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลาย เพราะว่าพวกภิกษุผู้มิได้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป จักไม่ได้เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้เพื่อประโยชน์แก่ตน, แต่ย่อมได้เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีถูกโจรชิงจีวรไป และพวกภิกษุผู้ถูกโจรชิงเอาจีวรไปย่อมได้ เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้เพื่อประโยชน์แก่ตนทั้งแก่คนอื่น, เพราะฉะนั้นพระเถระทั้งหลายพึงหักกิ่งไม้และใบไม้เอาปอเป็นต้น ถักแล้วพึงให้แก่พวกภิกษุหนุ่ม หรือพวกภิกษุหนุ่มหักเพื่อประโยชน์แก่พวกพระเถระทั้งหลาย ถักแล้วพึงให้แก่พวกภิกษุหนุ่ม หรือพวกภิกษุหนุ่มหักเพื่อประโยชน์แก่พวกพระเถระทั้งหลาย ถักแล้วให้แก่พระเถระเหล่านั้นที่มือ หรือไม่ให้ โดยตนนุ่งเสียเอง แล้วให้ผ้านุ่งห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลาย ไม่เป็นเป็นปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคามเลย และไม่เป็นทุกกฎเพราะทรงผ้าธงชัยของพวกเดียรถีย์
     ถ้าในระหว่างทางมีลานของพวกช่างย้อม หรือพบเห็นชาวบ้าน พึงให้ขอจีวร และพวกชาวบ้านที่ถูกขอ หรือชาวบ้านพวกอื่นที่เห็นพวกภิกษุนุ่งกิ่งไม้และใบไม้แล้ว เกิดความอุตสาหะถวายผ้าเหล่าใดแก่ภิกษุเหล่านั้น, ผ้าเหล่านั้นจะมีชายหรือไม่มีชายก็ตาม มีสีต่างๆ เช่น สีเขียวเป็นต้นก็ตาม เป็นกัปปิยะบ้าง เป็นอกัปปิยะบ้าง ทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นควรนุ่งควรห่มได้ทั้งนั้น เพราะพวกเธอตั้งอยู่ในฐานผู้ถูกโจรชิงจีวร
๓.ภิกษุ (ผู้ถูกโจรชิงจีวร) เดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหาร หรือของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ เป็นต้นว่า
 -จีวรสำหรับวิหาร คือ จีวรที่พวกชาวบ้านให้สร้างวัดแล้ว เตรียมจีวรไว้ถวายด้วย
      -เครื่องปูลาดบนเตียง คือ ท่านเรียกว่า เครื่องลาดข้างบน
     -เครื่องปูลาดที่ทำด้วยเศษหญ้า เพื่อต้องการจะรักษาพื้นที่ทำกสิกรรม ท่านเรียกว่า ผ้าลาดพื้น
     -เหลือก (ปลอก) ฟูกรองเตียง หรือฟูกรองตั่ง ชื่อว่า เปลือกฟูก ถ้าเปลือกฟูกเขายัดไว้เต็ม แม้จะรื้อออกแล้วถือเอา (คลุมกาย) ก็ควร
     บรรดาผ้าที่กล่าวมานี้ จีวรที่มีอยู่ในวัดนั้น พวกภิกษุที่ถูกโจรชิงเอาไป แม้ไม่ขออนุญาต จะถือเอานุ่งหรือห่มก็ได้, โดยตั้งไว้ในใจว่า เราได้ผ้านุ่งผ้าห่มเมื่อใด จักนำมาไว้ยังที่เดิม โดยย่อมไม่ได้การถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์, เมื่อได้จีวรพึงกระทำกลับให้เป็นปกติทีเดียว, ถ้าภิกษุไปยังต่างถิ่นแล้ว พึงเก็บไว้ในอาวาสของสงฆ์แห่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย โดยใช้สอยอย่างเป็นของสงฆ์, ถ้าผ้าที่นำไปชำรุดหรือหายไป โดยการใช้สอยของภิกษุนั้น ไม่เป็นสิ้นใช้ (ไม่ต้องหามาคืน) แต่ถ้าว่าภิกษุไม่ได้ผ้าอะไรเลยตามกล่าวมา เธอพึงเอาหญ้าหรือใบไม้ปกปิดแล้วมาเถิด
     ในปัจจัยทั้งหลายที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจสงฆ์ (ให้สงฆ์) ควรขอแต่พอประมาณเท่านั้น, ในการปวารณาเฉพาะบุคคล ควรขอแต่เฉพาะสิ่งของที่เขาปวารณาเหมือนกัน (ไม่พึงขอที่เขาไม่ได้ปวารณา) แท้จริงคนใดปวารณาด้วยจตุปัจจัยกำหนดไว้เองทีเดียว แต่ถวายสิ่งของที่ต้องการโดยอาการอย่างนี้ คือ ย่อมถวายจีวรตามสมควรแก่กาล ย่อมถวายอาหารมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นทุกวัน กิจที่จะต้องออกปากขอกะคนเช่นนี้ไม่มี, ส่วนบุคคลใดปวารณาแล้ว ย่อมไม่ได้ (เมื่อภิกษุออกปาก) เพราะเป็นผู้เขลา หรือเพราะหลงลืมสติ บุคคลนั้นอันภิกษุควรขอ, บุคคลกล่าวว่า ผมปวารณาเรือนของผม ภิกษุไปสู่เรือนของบุคคลนั้นแล้ว พึงนั่งนอนตามสบาย แต่ไม่พึงรับเอาอะไรๆ ส่วนบุคคลใดกล่าวว่า ผมขอปวารณาสิ่งของที่มีอยู่ในเรือนของผม ดังนี้ ภิกษุพึงขอสิ่งของที่เป็นกัปปิยะซึ่งมีอยู่ในเรือนของบุคคลนั้น ในกุรุนทีกล่าวว่า แต่ภิกษุจะนั่งหรือจะนอนในเรือนไม่ได้
     ๔.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (ดูเทียบเคียงสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส) เป็นกิริยา เป็น อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)




อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ   อชินิ มํ อหาสิ เม
เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ ๓ ฯ

ใครมัวคิดอาฆาตว่า "มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา" เวรของเขาไม่มีทางระงับ

'He abused me, he beat me, He defeated me, he robbed me'
In those who harbour such thoughts Hatred never ceases
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2559 13:11:04 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 07 มีนาคม 2559 13:25:28 »

.

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๒๖)
ภิกษุขอได้เพียงสบง จีวร หรือสังฆาฏิเท่านั้น
ถ้าขอเกินกว่านั้น ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุผู้ถูกชิงจีวรไปแล้ว กล่าวให้พวกท่านขอจีวร ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พอแล้ว ขอรับ พวกผมได้จีวรมาแล้ว พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า งั้นพวกผมจะขอเพื่อประโยชน์ของพวกท่าน, ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า จงขอเถิด ขอรับ
     พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกพ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ แล้วกล่าวขอว่า ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีจีวรถูกชิงไปมาแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงถวายจีวรแก่พวกเธอ แล้วขอจีวรได้มาเป็นอันมาก
     ต่อมา พ่อเจ้าเรือนเหล่านั้นมาพบกันต่างพูดกันว่า ตนเองได้ถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ถูกโจรชิงไปแล้ว จึงรู้ว่าภิกษุไม่รู้จักประมาณ พากันเพ่งโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล...พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน แล้วมีพระบัญญัติว่า
     “ถ้าพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุนั้นด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างมากจากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ, พ่อเจ้าเรือน, แม่เจ้าเรือน พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทก่อนๆ
     -บทว่า ปวารณา...เพื่อนำไปได้ตามใจ คือปวารณาว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด
     -คำว่า ภิกษุนั้นพึงยินดี จีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างมากจากจีวรเหล่านั้น คือถ้าจีวรหาย ๓ ผืน เธอพึงยินดีเพียง ๒ ผืน, หาย ๒ ผืน พึงยินดีผืนเดียว, หายผืนเดียว ไม่พึงยินดีเลย
     -คำว่า ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น คือ ขอมาได้มากกว่านั้นเป็นทุกกฏ ในขณะที่ยินดีที่ได้เกินกำหนดเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้จีวรมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์...กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป...กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า...ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า
     “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง...”ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า...ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
     ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรนั้นด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุคิดว่ามิใช่ญาติ...ต้องทุกกฎ
     ๕.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฎ
     ๖.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน ๑  เจ้าเรือนบอกว่า จีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว ๑  เจ้าเรือนมิได้ถวายเพราะเหตุจีวรถูกชิงไป ๑  ไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย ๑  ภิกษุขอต่อญาติ ๑  ขอต่อคนปวารณา ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๘๒๐-๘๒๒
     ๑.ถ้าภิกษุใดมีจีวรหาย ๓ ผืน ภิกษุนั้นพึงยินดี ๒ ผืน คือ จักนุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แล้วแสวงหาอีกผืนหนึ่งจากภิกษุผู้เป็นสภาค (มีส่วนเสมอกัน), ภิกษุใดมีจีวรหาย ๒ ผืน ภิกษุนั่นพึงยินดีผืนเดียว, ถ้าภิกษุเที่ยวไปโดยปกติด้วยอุตราสงค์กับอันตรวาสก พึงยินดี ๒ ผืนนั้น เมื่อยินดีเช่นนั้น ก็จักเป็นผู้เสมอกับภิกษุผู้ยินดีผืนเดียวนั่นเอง, หายผืนเดียว ไม่พึงยินดี, ภิกษุใดมีจีวรหายไปผืนเดียวในบรรดาจีวร ๓ ผืน ภิกษุนั้นไม่ควรยินดี
     แต่บรรดาจีวร ๒ ผืน ของภิกษุใด หายผืนเดียว เธอพึงยินดีผืนเดียว, แต่ของภิกษุใดมีผืนเดียว และจีวรผืนนั้นหาย ภิกษุนั้นพึงยินดี ๒ ผืน, แต่สำหรับภิกษุที่หายไปทั้ง ๕ ผืน พึงยินดี ๒ ผืน, เมื่อหาย ๔ ผืน พึงยินดีผืนเดียว เมื่อหาย ๓ ผืน ไม่พึงยินดีอะไรๆ เลย
     -ไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย ได้แก่ การที่พวกทายกถวายด้วยเห็นว่าเป็นพหูสูตเป็นต้น
     ๒.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๒๗)
ภิกษุแนะนำให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าที่เขาตั้งใจจะให้
ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ได้ยินบุรุษผู้หนึ่งกล่าวกับภรรยาว่า จักให้พระอุปนันทศากยบุตรครองจีวร เมื่อกลับมาถึงวิหาร จึงเข้าไปหาพระอุปนันทะ บอกความที่ได้ยินมานั้น
     พระอุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาบุรุษที่จะถวายจีวรนั้น กล่าวถามเขาว่า จักให้อาตมาครองจีวรหรือ บุรุษนั้นกล่าวว่าเป็นความจริง ผมตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า จักให้ท่านพระอุปนันท์ครองจีวร
     พระอุปนันท์กล่าวว่า ถ้าท่านประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้เถิด เพราะจีวรที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
     บุรุษนั้นจึงเพ่งโทษติเตียนว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท์อันเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้ามาหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
     ภิกษุทั้งหลายได้ยินต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า
    “อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนเข้าไปหา แล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูป (อาตมา) ให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี”

อรรถาธิบาย
     -ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า ด้าย หรือฝ้าย คือด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
     -จ่าย คือ แลกเปลี่ยน, ให้ครอง คือ จักถวาย
     -คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ
     -เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน
     -ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด
     -บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มีราคาแพง
     หากเขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตามคำของเธอ เป็นทุกกฎ ในขณะที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์...”ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าจะสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า
    “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป... “ท่านเจ้าขา จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
     “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้...เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
     ครั้นสละแล้วแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือน แล้วถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุคิดว่ามิใช่ญาติ... ต้องทุกกฎ
     ๕.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
     ๖.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑  ขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๘๓๐-๘๓๕
     ๑.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนสิกขาบทที่ ๗ ที่กล่าวมาแล้ว (ตทุตตริสิกขาบท)  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๒๘)
ภิกษุแนะนำให้เขารวบรวมทรัพย์ซื้อจีวรอย่างดีเพื่อตนผู้เดียว
ซึ่งแต่เดิมเขาตั้งใจจะซื้ออย่างถูก ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กับบุรุษผู้หนึ่งว่า ผมจักให้ท่านพระอุปนันทะครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ผมก็จักให้ท่านพระอุปนันทะครองจีวร
     ภิกษุรูปหนึ่งถือการเที่ยวบิณฑบาต ได้ยินการสนทนานั้น กลับมาท่านจึงเข้าไปพระอุปนันทะ กล่าวชมว่า “อาวุโสอุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก” แล้วบอกความที่ได้ยินมานั้น
     พระอุปนันทะได้เข้าไปหาบุรุษทั้งสองนั้น ถามถึงการจะถวายจีวร บุรุษทั้งสองตอบว่า จริง พวกเราตั้งใจจักให้ท่านครองจีวร ท่านอุปนันทะกล่าวว่า ถ้าท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้เถิด เพราะจีวรทั้งหลายที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
     บุรุษทั้งสองจึงเพ่งโทษติเตียนว่า ท่านอุปนันทะมักมาก จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ภิกษุทั้งหลายได้ยินต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
    “อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่า เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ทั้งสองคนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี”

อรรถาธิบาย
     -ทั้งสองคนรวมกัน คือ รวมทรัพย์ทั้งสองเข้าเป็นรายเดียว
     -ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มีราคาแพง
     ถ้าเขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตามคำของเธอเป็นทุกกฎในขณะที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำต้องสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจาดังนี้ “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป... ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
     “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้... ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”  ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุคิดว่ามิใช่ญาติ... ต้องทุกกฎ
     ๕.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
     ๖.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑  ขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ ๑  ขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑  ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๘๔๓
     ๑.สิกขาบทนี้เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๘ ที่กล่าวแล้ว, ต่างแต่ในสิกขาบทก่อน ภิกษุทำความเบียดเบียนแก่คนๆ เดียวเท่านั้น ส่วนในสิกขาบทนี้กระทำการเบียดเบียนแก่คน ๒ คน และผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นอาบัติ หากภิกษุผู้กระทำความเบียดเบียนแก่คนมากคน ก็เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เช่นเดียวกัน
  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๒๙)
ภิกษุทวงเอาจีวรจากผู้เก็บเงินที่ผู้อื่นฝากไว้เป็นค่าจีวร เกิน ๓ ครั้ง
หรือไปยืนให้เขาเห็นเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    มหาอำมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอุปนันทศากยบุตร ให้ทรัพย์สำหรับซื้อจีวรไปกับคนของตน สั่งว่า เจ้าจงซื้อจีวรด้วยทรัพย์นี้ แล้วให้ท่านอุปนันท์ครองจีวร บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านอุปนันท์กล่าวว่า กระผมนำทรัพย์ซื้อจีวรนี้มาเฉพาะพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงรับทรัพย์สำหรับซื้อจีวร
      ท่านอุปนันท์ตอบว่า พวกเรารับทรัพย์สำหรับซื้อจีวรไม่ได้ รับได้แต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาลเท่านั้น บุรุษนั้นถามว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?
     ขณะนั้น อุบาสกผู้หนึ่งเดินมาสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง ท่านอุปนันท์จึงกล่าวว่า อุบาสกนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจึงเข้าไปหาสั่งให้เข้าใจแล้วกลับมาบอกท่านอุปนันท์ว่า อุบาสก ที่พระคุณเจ้าแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น กระผมสั่งให้เขาเข้าใจแล้ว ขอพระคุณเจ้าจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล
     สมัยต่อมา เป็นคราวประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกากันไว้ว่า ผู้ใดมาภายหลังต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ คราวนั้นท่านอุปนันท์เข้าไปหาอุบาสกนั้นกล่าวว่า อาตมาต้องการจีวร
     อุบาสกขอผลัดว่า โปรดรอสักวันหนึ่งก่อน วันนี้เป็นวันประชุมของชาวนิคม ผู้ใดเข้าประชุมภายหลังจักถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
     ท่านอุปนันท์ได้กล่าวคาดคั้นว่า ท่านต้องให้จีวรในวันนี้แหละ แล้วยึดชายพกไว้ อุบาสกถูกคาดคั้นจึงซื้อจีวรถวายท่าน แล้วได้ไปถึงภายหลัง คนทั้งหลายพากันถามอุบาสกว่า เหตุใดจึงมาภายหลัง ท่านต้องเสียเงิน ๕๐ กหาปณะ อุบาสกได้แจ้งเรื่องนั้นแล้ว คนทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน ภิกษุได้ยิน กราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
     “อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับซื้อจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงซื้อจีวรด้วยทรัพย์สำหรับซื้อจีวรนี้ แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับซื้อจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับซื้อจีวร ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับซื้อจีวรไม่  พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ หากภิกษุต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่าคนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล
     ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือน ๒-๓ ครั้ง ว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒-๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่ง ๔-๖ครั้งเป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
     ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับซื้อจีวรมาเพื่อเธอบอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับซื้อจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น

อรรถาธิบาย
     -ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ทรงราชย์, ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยงจากพระราชา, พราหมณ์ ได้แก่ พวกพราหมณ์โดยกำเนิด, คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกเว้นพระราชา ราชอำมาตย์ และพราหมณ์ นอกนั้นชื่อว่าคหบดี
     -ภิกษุเมื่อจะแสดงไวยาวัจกร ไม่ควรกล่าวว่าจงให้แก่คนนั้น หรือว่าคนนั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือจักซื้อ
     -เมื่อภิกษุต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือน ๒-๓ ครั้ง ว่า รูป (อาตมา) ต้องการจีวร อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงซื้อจีวรให้รูป
     -หากเขายังไม่จัดการ, พึงไปยืนนิ่งต่อหน้า ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า มาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด
     ถ้านั่งบนอาสนะก็ดี รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย พึงยืนได้ครั้งที่สอง พึงยืนได้แม้ครั้งที่สาม ทั้ง ๔ ครั้งแล้ว พึงยืนได้ ๔ ครั้ง, ทวง ๕ ครั้งแล้ว พึงยืนได้ ๒ ครั้ง, ทวง ๖ ครั้งแล้ว จะพึงยืนไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรให้สำเร็จ เป็นทุกกฎในขณะที่พยายาม เป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
     -ในประโยคที่ว่า “ถ้าให้สำเร็จไม่ได้...นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น” คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์...กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุผู้มีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป...”ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า...ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า...ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง...”ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้...ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติแล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุรู้ว่าเกิน ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติอาจิตตีย์
     ๒.ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุเข้าใจว่าไม่ถึง...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุเข้าใจว่าเกิน...ต้องทุกกฏ
     ๕.ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฎ
     ๖.ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุรู้ว่าไม่ถึง...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ๑  ภิกษุทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ๑  ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรถวายเอง ๑  เจ้าของทวงเอามาถวาย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๑/๓/๘๕๕-๘๗๔
     ๑.ภิกษุพึงยืนนิ่งเฉพาะจีวร ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ไม่พึงกระทำกิจอะไรๆ อื่น  นี้เป็นลักษณะแห่งการยืน เพื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้นิ่ง
        -แม้ไวยาวัจกรกล่าวว่า โปรดนั่งที่นี่เถิดขอรับ ก็ไม่ควรนั่ง, แม้เขาอ้อนวอนอยู่ว่า โปรดรับยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น สักเล็กน้อยขอรับ ก็ไม่ควรรับ, แม้ถูกเขาอ้อนวอนอยู่ว่า โปรดกล่าวมงคลหรืออนุโมทนาเถิด ก็ไม่ควรกล่าวอะไรเลย เมื่อถูกเขาถามอย่างเดียวว่า ท่านมาเพราะเหตุไร? พึงบอกเขาว่าจงรู้เอาเองเถิด
        -ในพระบาลีนี้ตรัสให้ลดการยืน ๒ ครั้ง โดยเพิ่มการทวงครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันทรงแสดงลักษณะว่า การทวงหนึ่งครั้งเท่ากับการยืนสองครั้ง, ภิกษุทวง ๓ ครั้ง พึงยืนได้ ๖ ครั้ง, ทวง ๒ ครั้ง พึงยืนได้ ๘ ครั้ง, ทวงครั้งเดียว พึงยืนได้ ๑๐ ครั้ง, เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทวง ๖ ครั้งแล้วไม่พึงยืน ฉันใด ยืน ๑๒ ครั้งแล้วก็ไม่พึงทวงฉันนั้น ดังนี้ก็มีเหมือนกัน
     เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในการทวงและการยืนทั้งสองนั่นอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทวงอย่างเดียว ไม่ยืน ย่อมได้การทวง ๖ ครั้ง, ถ้ายืนอย่างเดียว ไม่ทวง ย่อมได้การยืน ๑๒ ครั้ง ถ้าทวงบ้าง ยืนบ้าง พึงลดการยืน ๒ ครั้ง ต่อการทวงครั้งหนึ่ง, บรรดาการทวงและการยืนนั้น ภิกษุใดไปทวงบ่อยๆ วันเดียวเท่านั้นถึง ๖ ครั้ง หรือว่าไปเพียงครั้งเดียว แต่พูด ๖ ครั้งว่า ผู้มีอายุ รูปต้องการจีวร,  อนึ่ง ไปยืนบ่อยๆ วันเดียวเท่านั้นถึง ๑๒ ครั้ง หรือว่าไปเพียงครั้งเดียว แต่ยืนในที่นั้นๆ ๑๒ ครั้ง  ภิกษุแม้นั้นย่อมหักการทวงทั้งหมดและการยืนทั้งหมด
        -เมื่อไม่ได้ ภิกษุพึงไปเอง หรือส่งทูตไป หากไม่กระทำเช่นนั้นต้องทุกกฎ เพราะละเลยวัตร
      ๒.ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ? แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติอย่างนี้เสมอไป
      แท้จริง ชื่อว่า กัปปยการกนี้ โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ ผู้ที่ถูกแสดง ๑  ผู้ที่มิได้ถูกแสดง ๑  ใน ๒ พวกนั้น กัปปิยการกผู้ที่ถูกแสดงมี ๒ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงอย่างหนึ่ง ผู้ที่ทูตแสดงอย่างนึ่ง, แม้กัปปิยการกที่ไม่ถูกแสดงก็มี ๒ อย่าง คือ กัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า ๑  กัปปิยการกลับหลัง ๑  บรรดากัปปิยการกที่ภิกษุแสดงเป็นต้นนั้น กัปปิยการกที่ภิกษุแสดงมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจต่อหน้าและลับหลังกัปปิยการกที่ทูตแสดงก็เช่นเดียวกันแล
     อย่างไร?  คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมส่งอกัปปิยวัตถุ (วัตถุที่ไม่สมควรแก่สมณะ) ไปด้วยทูตเพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับภิกษุ ทูตเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ ส่งอกัปปิยวัตถุนี้มาเพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับท่าน ขอท่านจงรับอกัปปิยวัตถุนั้น ภิกษุห้ามว่า อกัปปิยวัตถุนี้ไม่สมควร ทูตถามว่า ท่านขอรับ ก็ไวยาวัจกรของท่านมีอยู่หรือ และไวยาวัจกรทั้งหลายที่พวกอุบาสกผู้ต้องการบุญสั่งไว้ว่า พวกท่านจงทำการรับใช้ภิกษุทั้งหลาย หรือไวยาวัจกรบางพวก เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาของภิกษุทั้งหลายมีอยู่ บรรดาไวยาวัจกรเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งนั่งอยู่ในสำนักของภิกษุในขณะนั้น ภิกษุแสดงแก่เขาว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ดังนี้, ทูตมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้น สั่งว่า ท่านจงซื้อจีวรถวายพระเถระ ดังนี้ แล้วไป นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงต่อหน้า
     ถ้าไวยาวัจกรมิได้นั่งอยู่ในที่นั้น ภิกษุย่อมแสดงขึ้นว่า คนชื่อนี้ ในบ้านชื่อโน้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ทูตนั้นไปมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือไวยาวัจกรนั้นสั่งว่า ท่านพึงซื้อจีวรถวายพระเถระ มาบอกแก่ภิกษุแล้วจึงไป, ไวยาวัจกรชื่อว่า ผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่หนึ่ง, ก็แลทูตนั้นมิได้มาบอกด้วยตนเองเลย แต่กลับวานผู้อื่นไปบอกว่า ท่านขอรับ! ทรัพย์สำหรับจ่ายค่าจีวร ผมได้มอบไว้ในมือผู้นั้น ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ไวยาวัจกรนี้ชื่อว่า ผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สอง
     ทูตนั้นมิได้วานคนอื่นไปเลย แต่ไปบอกภิกษุเสียเองแลว่า ผมจักมอบทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือแห่งผู้นั้น ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ผู้นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สาม
     ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาวัจกร ๔ จำพวกนี้ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงต่อหน้าพวกหนึ่ง ผู้ที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดง, ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกนี้ ภิกษุพึงปฏิบัติโดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว (ดูในตัวสิกขาบทและอรรถาธิบาย)
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2559 13:28:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 07 มีนาคม 2559 13:27:45 »

.

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๑/๓/๘๕๕-๘๗๔ (ต่อ)

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้วโดยนัยก่อนนั่นแล เพราะไวยาวัจกรไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า พวกเราไม่มีกัปปิยการก และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของเขา แล้วกล่าวว่า ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย ไวยาวัจกรนี้ชื่อว่า ผู้อันทูตแสดงต่อหน้า
     -ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้าน แล้วมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใดผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อนนั่นแล หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อโน้น ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย,  ไวยาวัจกรที่ ๓ นี้ ชื่อว่า ผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า
     ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง ไวยาวัจกรที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ทูตแสดง, ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้ ภิกษุพึงปฏิบัติโดยนัยที่ตรัสไว้ในเมณฑกสิกขาบท
     จริงดังที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส มนุษย์เหล่านั้นย่อมมอบหมายเงินและทองไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลาย แล้วสั่งว่า พวกท่านจงจัดของที่ควรถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าด้วยเงินและทองนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีสิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น ภิกษุทั้งหลาย แต่เราหากล่าวไม่เลยว่า ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ”
     ในอธิการแห่งไวยาวัจกร ๔ จำพวกที่ทูตแสดงนี้ ไม่มีกำหนดการทวง การที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์โดยการทวงหรือการยืน แม้ตั้งพันครั้ง ก็ควร ถ้าไวยาวัจกรนั้นไม่ให้ แม้จะพึงตั้งกัปปิยการกอื่นให้นำมาก็ได้ ถ้ากัปปิยการกอื่นปรารถนาจะนำมา ภิกษุพึงบอกแม้แก่เจ้าของเดิม ถ้าไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องบอก
     ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ถูกทูตถามโดยนัยก่อน กล่าวว่า พวกเราไม่มีกัปปิยการก (ผู้ทำของที่สมควรแก่สมณะ) คนอื่นนอกจากทูตนั้นยืนอยู่ใกล้ๆ ได้ยิน  จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ โปรดนำมาเถิด ผมจักจ่ายจีวรถวายพระคุณเจ้า  ดังนี้ ทูตกล่าวว่า เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านพึงถวายแล้วมอบไว้ในมือของผู้นั้น ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย นี้ชื่อว่า กัปปิยการก ผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า
     ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคนอื่น สั่งว่า ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว นี้ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง
     ฉะนั้น กัปปยการกทั้งสองชื่อว่า กัปปิยการกที่ทูตไม่ได้แสดง ในกัปปิยการกทั้งสองนี้ พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญาตกสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๖ แห่งจีวรวรรค) และอัปปวาริตสิกขาบท, ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้แสดงทั้งหลายนำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ ถ้าไม่ได้นำมาถวาย อย่าพึงพูดคำอะไรๆ สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ กิริยา อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๓๐)
ภิกษุหล่อสันถัต ด้วยขนเจียมเจือไหม ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างไหม กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม
     ช่างไหมเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนสมณะพวกนี้จึงมาขอตัวไหมต้ม แม้พวกเราผู้ทำสัตว์เล็กๆ มากมายให้วอดวาย เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา พวกเราชื่อว่าไม่ได้ลาภ หาได้สุจริตไม่
     ภิกษุทั้งหลายได้ยิน จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ (หล่อด้วยขนเจียม)
     -บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ให้ทำก็ดี เจือด้วยไหมแม้เส้นเดียวเป็นทุกกฎ ในขณะที่ทำเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้สันถัตมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ของข้าพเจ้าได้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
     ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป...

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... “ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมนี้... ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้เสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๒.สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องทุกกฎ
     ๖.ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     ภิกษุทำเป็นเพดาน เป็นเครื่องลาดพื้น เป็นม่าน เป็นเปลือกฟูก เป็นปลอกหมอน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๑/๓/๘๘๐-๘๘๑
     ๑.”สันถัต” หมายถึง สันถัตที่ลาดเส้นไหมซ้อนๆ กัน บนภาคพื้นที่เสมอแล้ว เอาน้ำข้าวต้ม เป็นต้น เทราดลงไปแล้วหล่อ
     ๒.พึงทราบว่า สันถัตที่เจือไหม ด้วยอำนาจแห่งความพอใจของตน จงยกไว้, ถ้าแม้นว่า ลมพัดเอาเส้นไหมเส้นเดียวไปตกลงในที่หล่อสันถัตนั้น แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า หล่อสันถัตเจือด้วยไหมเหมือนกัน
    ๓.สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)    




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๓๑)
ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์ให้เขาทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ชาวบ้านที่มาเที่ยวชมวิหารแลเห็นแล้ว จึงเพ่งโทษติเตียนว่า พระสมณะเหล่านี้ ทำไมจึงให้เขาสันถัตขนเจียมดำล้วน เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า
     ภิกษุทั้งหลายได้ยิน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -ที่ชื่อว่า ดำ มี ๒ อย่าง คือ ดำเองโดยกำเนิดอย่างหนึ่ง ดำโดยย้อมอย่างหนึ่ง
     -ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ
     -บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ให้เขาทำก็ดีเป็นทุกกฎ ในขณะที่ทำเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้สันถัตมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ แก่บุคคล เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๑

อาบัติ
     ๑.สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องทุกกฎ
     ๖.ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องทุกกฎ


อนาบัติ
     ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้น เป็นม่าน เป็นเปลือกฟูก เป็นปลอกหมอน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๘๘๗
     ๑.บทว่า สุทฺธกาฬกานํ แปลว่า ดำล้วน คือ ดำไม่เจือด้วยขนเจียมอย่างอื่น
     ๒.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนกับสิกขาบทที่ ๑ (โกสิยสิกขาบท) แห่งโกสิยวรรค ที่กล่าวแล้ว    




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๓๓)
ภิกษุหล่อสันถัตใหม่ ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า ทรงห้ามการกระทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน จึงถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิมนั้นแหละ
     ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ เพ่งโทษติเตียน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมสีแดงเป็นส่วนที่ ๔ ให้ทำสันถัตใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
     -ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึง การทำขึ้น
     -บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
     -คำว่า พึงถือขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า พึงชั่งถือเอาขนเจียมดำล้วนน้ำหนัก ๒ ชั่ง
     -ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาวน้ำหนัก ๑ ชั่ง, ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดงน้ำหนัก ๑ ชั่ง
     ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองก็ดี ให้เขาทำก็ดี ซึ่งสันถัตใหม่เป็นทุกกฎ ในขณะที่ทำเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้มาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
     -วิธีการเสียสละพึงทราบทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๑

อาบัติ
     ๑.สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๒.สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของคนอื่น ต้องทุกกฎ
     ๖.ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง แล้วทำ ๑  ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า แล้วทำ ๑  ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวล้วน ขมเจียมแดงล้วน แล้วทำ ๑ ภิกษุทำเป็นเพดาน เป็นเครื่องลาด เป็นม่าน เป็นปลอกหมอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๘๙๔
     ๑.พึงทราบโดยใจความว่า ภิกษุมีความประสงค์จะทำด้วยขนเจียมมีประมาณเท่าใดในขนเจียมมีประมาณเท่านั้น ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน
     ๒.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนกับสิกขาบทที่ ๑ (โกสิยสิกขาบท) แห่งโกสิยวรรค, ต่างแต่สิกขาบทนี้เป็นทั้งกิริยาและอกิริยา เพราะถือเอา (ทำดำล้วน) ก็เป็นอาบัติ และไม่ถือเอา ทำ (ไม่ปนกัน, ก็เป็นอาบัติ)    




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๓๓)
ภิกษุหล่อสันถัต พึงใช้สันถัตให้ได้ ๖ ปี
ถ้ายังไม่ถึงหกปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี พวกเธออ้อนวอนเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ จึงได้ขอให้ทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไป ส่วนสันถัตของพวกเราทำคราวเดียว ถูกเด็กๆ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังอยู่ได้ถึง ๕-๖ ปี
     ภิกษุทั้งหลายได้ยิน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า... (ให้ทรงไว้ได้ ๖ ฝน ถ้าไม่ถึง ๖ ฝน ให้ทำสันถัตใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์)
     สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี ญาติต้องการให้ท่านกลับไปเพื่อพยาบาล ท่านรังเกียจเพราะอาพาธอยู่ ไม่อาจนำสันถัตไปด้วยได้ เนื่องจากมีพระบัญญัติว่า ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่ พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน
     ทรงอนุญาตให้สงฆ์สมมติสันถัตแก่ภิกษุผู้อาพาธ โดยให้ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาสงฆ์ ห่ามผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓...”
     จากนั้นภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้...แล้วทรงมีพระอนุบัญญัติว่า “ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
    -ให้ทำแล้ว คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
     -พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน คือ พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน เป็นอย่างเร็ว
     -ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน คือ ยังไม่ถึง ๖ ฝน
     -สละเสียแล้วก็ดี... ซึ่งสันถัตนั้น คือ ให้แก่คนอื่นไป
     -ยังไม่สละแล้วก็ดี คือ ยังไม่ได้ให้แก่ใครๆ
     -เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
     ภิกษุทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตอื่นใหม่ เป็นทุกกฎ ในขณะที่ทำเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้สันถัตมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
     -วิธีการเสียสละ พึงทราบทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๑

อาบัติ
     ๑.สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์

อนาบัติ
     ครบ ๖ ฝนแล้ว ภิกษุทำใหม่ ๑ เกิน ๖ ฝนแล้ว ภิกษุทำใหม่ ๑ ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ๑ ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุทำเป็นเพดาน เป็นเครื่องลาดพื้น เป็นม่าน เป็นเปลือกฟูก เป็นปลอกหมอน ๑ ภิกษุได้สมมติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๑/๓/๙๐๓-๙๐๔
     ๑.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนกับสิกขาบทที่ ๑ (โกสิยสิกขาบท) แห่งโกสิยวรรค, ต่างแต่สิกขาบทนี้เป็นทั้งกิริยาและอกิริยา    




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๓๔)
ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ ไม่ปนขนเจียมที่ตัดโดยรอบ ๑ คืบ จากสันถัตเก่า
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย เขตพระนครสาวัตถีว่า พระองค์ปรารถนาการอยู่ผู้เดียวตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว
     ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธาณัติแล้วตั้งกติกากันว่า ใครๆ ไม่พึงเข้าเฝ้า นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุใดเข้าเฝ้า ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์
     ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าสนทนากับพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกย่องว่า ท่านอุปเสนวังคันตบุตรแนะนำบริษัทได้ดียิ่ง และบริษัทก็ประพฤติตามพระอุปเสนวังคันตบุตรผู้เป็นอุปัชฌาย์ เช่น สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร และทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นต้น
     ตรัสถามท่านอุปเสนะว่า เธอไม่ทราบหรือว่าสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีตั้งกติกา และจักปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้เข้าเฝ้าเรา ท่านอุปเสนะกราบทูลว่า ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า แต่พวกข้าพระองค์จักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้
     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้...เราอนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหาเราได้ตามสะดวก
     เมื่อพระอุปเสนวังคันตบุตรและภิกษุบริษัทออกจากการเฝ้า ภิกษุหลายรูปที่อยู่ข้างนอกได้กล่าวแจ้งให้พวกท่านทราบแล้ว ขอให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์ ท่านพระอุปเสนะได้เล่าถึงคำสนทนาระหว่างท่านกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงกติกาของภิกษุเขตนครสาวัตถีแก่ภิกษุพวกนั้น
     ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงว่า ท่านพระอุปเสนพูดถูกต้องจริงแท้ แล้วพากันสมาทานการอยู่ป่า บิณฑบาตและการถือผ้าบังสุกุล หมายได้เข้าเฝ้า ต่างละทิ้งสันถัตไว้มากมาย
     หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวประพาสตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ตรัสถามว่า สันถัตเหล่านี้เป็นของใคร แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -ที่ชื่อว่า สำหรับนั่ง ตรัสหมายผ้ามีชาย
     -บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ให้เขาทำก็ตาม
     -ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่แม้นั่งแล้วคราวเดียว แม้นอนแล้วคราวเดียว
     -คำว่า พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบ... เพื่อทำให้เสียสี คือ ตัดกลมๆ หรือสี่เหลี่ยมแล้วลาดในส่วนหนึ่ง หรือฉีกออกปนแล้วหล่อ เพื่อความทน
     -คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ความว่า ไม่ถือเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบแล้ว ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นทุกกฎ ในขณะที่ทำเป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้สันถัตมาต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน”  ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
     ๒.สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อจนเสร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของคนอื่น ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ ๑  ภิกษุไม่ได้ถือเอาแต่น้อยแล้วทำ (ถือเอาของเก่ามากแล้วทำ) ๑  ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ ๑  ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้วใช้สอย ๑ ภิกษุทำเป็นเพดาน เป็นเครื่องลาดพื้น เป็นม่าน เป็นเปลือกฟูก เป็นปลอกหมอน ๑  ภิกษุวิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ ๑/๓/๙๑๓-๙๑๖
     ๑.ได้ยินว่า พรรษานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ที่ควรให้ตรัสรู้ไรๆ เลย ตลอดภายในไตรมาสนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสอย่างนี้, แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ ก็จะต้องทรงกระทำพระธรรมเทศนาด้วยสามารถแห่งตันติ (แบบแผน) ประเพณี
     อนึ่ง เพราะพระองค์ได้ทรงมีรำพึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราให้ทำโอกาสหลีกเร้นอยู่ ภิกษุทั้งหลายจักกระทำกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรม, แล้วอุปเสนะจักทำลายกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรมนั้น เราจักเลื่อมใสเธอ แล้วอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเฝ้า แต่นั้นพวกภิกษุผู้ประสงค์จะเยี่ยมเรา จักสมาทานธุดงค์ทั้งหลาย และเราจักบัญญัติสิกขาบทเพราะสันถัตที่ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเป็นปัจจัย  ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนั้น ก็ในการหลีกเร้นนี้มีอานิสงส์มากอย่างนี้แล
     ๒.พระอุปเสนเถระนี้ เคยได้รับการตำหนิจากพระผู้มีพระภาคเจ้า ในคราวที่ท่านให้การอุปสมบทกุลบุตร เพราะตัวท่านเองมีพรรษายังไม่ถึง ๑๐ พรรษา, คราวนี้ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว คิดว่าพระศาสดาทรงอาศัยบริษัทของเรา ได้ทรงประทานการตำหนิแก่เรา บัดนี้ เราจักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เปล่งพระสุรเสียงดุจพรหม ด้วยพระพักตร์อันบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง มีสิริดังพระจันทร์เพ็ญนั้นนั่นแล แล้วจักให้ประทานสาธุการ เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ ท่านเป็นกุลบุตรผู้มีหทัยงามเดินทางล่วงไปได้ ๑๐๐ กว่าโยชน์ ท่านได้แนะนำบริษัทเป็นผู้อันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป แวดล้อมแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก, จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจจะให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดปรานได้โดยประการอื่นนอกจากความถึงพร้อมด้วยวัตร
     ๓.พระเถระกราบทูลว่า เราทั้งหลายชื่อว่า เป็นสาวก จักไม่บัญญัติข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้, จริงอยู่ วิสัย คือ การบัญญัติสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติ หรือการถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว โดยนัยว่าปาจิตตีย์หรือทุกกฏเป็นต้นนี้เป็นพุทธวิสัย
      ๔.ภิกษุทั้งหลายละทิ้งสันถัตทั้งปวงแล้ว เพราะเป็นผู้มีความสำคัญในสันถัตว่า เป็นจีวรผืนที่ ๕
     -พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นสันถัตทั้งหลายเกลื่อนกลาด แล้วทรงดำริว่า ไม่มีเหตุในการที่จะยังศรัทธาไทยให้ตกไป เราจักแสดงอุบายในการใช้สอยแก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงกระทำธรรมีกถาตรัสเตือนภิกษุทั้งหลาย
     -พึงถือเอาโดยประการที่ตนตัดเอาเป็นวงกลม หรือเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจากชายข้างหนึ่ง จะมีประมาณคืบหนึ่ง แล้วลาดลงในส่วนหนึ่ง หรือฉีกออกแล้วลาดให้ผสมกัน, สันถัตที่ภิกษุหล่อแล้วอย่างนี้จะเป็นของมั่นคงยิ่งขึ้น
     ๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ (เทวภาคสิกขาบท) แห่งโกสิยวรรคที่กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นทั้งกิริยาและอกิริยาฉะนี้แล
     ๖.ในเรื่องสันถัตที่กล่าวมา ๕ สิกขาบทนี้  ๓ สิกขาบทข้างต้น (๑-๓) พึงทราบว่า กระทำวินัยกรรมแล้วได้มา ไม่ควรใช้สอย (แม้สละได้คืนมาก็ไม่ควรใช้สอย), ส่วน ๒ สิกขาบทหลัง (๔-๕) ทำวินัยกรรมแล้วได้มา จะใช้สอยควรอยู่
     ๗.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
     คืบพระสุคต – ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่าเท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือเท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริงก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกิดกำหนด ไม่เสียทางวินัย    




อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ    อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ    เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ ๔ ฯ 

ใครไม่คิดอาฆาตว่า  "มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"   เวรของเขาย่อมระงับ

'Heabused me, he beat me, He defeated me, he robbed me'
In those who harbour not such thoughts Hatred finds its end.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 16:02:02 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 08 เมษายน 2559 15:39:35 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๓๕)
ภิกษุนำขนเจียมที่มิได้มีใครถวายติดตัวไปเกินกว่า ๓ โยชน์
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีแถบโกศลชนบท ขนเจียมเกิดขึ้นแก่เธอในระหว่างทาง ท่านจึงเอาจีวรห่อขนเจียม ชาวบ้านเห็นจึงพูดสัพยอกว่า ท่านซื้อขนเจียมมาด้วยราคาเท่าไร? จักมีกำไรเท่าไร?
     ท่านเป็นผู้เก้อเขิน ถึงนครสาวัตถีจึงโยนจนเจียมเหล่านั้นลง ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาไกลเท่าไร? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เกินกว่า ๓ โยชน์ ขอรับ
     ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “หนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการพึงรับได้ ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเองตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -บทว่า แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุเดินทาง
     -ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นจากสงฆ์ก็ตาม จากคณะก็ตาม จากญาติก็ตาม มิตรก็ตาม จากที่บังสุกุลก็ตาม จากทรัพย์ของตนก็ตาม
     -ต้องการ คือ เมื่อปรารถนาก็พึงรับได้
     -คำว่า ครั้นรับแล้ว พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างมาก คือนำไปด้วยมือของตนเองได้ชั่วระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างไกล
     -บทว่า เมื่อคนถือไม่มี ความว่า คนถือคือสตรี หรือบุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตสักคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยถือไป ไม่มี
     -คำว่า ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี อธิบายว่า เธอก้าวเกิน ๓ โยชน์ เท้าแรกต้องอาบัติทุกกฎ เท้าที่สองขนเจียมเหล่านั้นเป็นนิสสัคคีย์, เธอยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมลงนอกระยะ ๓ โยชน์ ก็เป็นนิสสัคคีย์ ซ่อนไว้ในยานพาหนะก็ตาม ในห่อถุงของคนอื่นก็ตาม ซึ่งเขาไม่รู้ ให้ล่วง ๓ โยชน์ไป ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล...

วิธีเสียสละแก่บุคคล
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้คำว่า “ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
     ๑.เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุรู้ว่าเกิน เดินเลย ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๒.เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุคิดว่ายังไม่ถึง เดินเลย ๓ โยชน์ไป เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุคิดว่าเกิน... ต้องทุกกฎ
     ๕.หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
     ๖.หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุรู้ว่าหย่อน... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุถือไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑ ภิกษุถือไปหย่อนระยะ ๓ โยชน์ ๑ ภิกษุถือไปก็ดี ถือกลับมาก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑  ภิกษุถือไปเพียง ๓ โยชน์ แล้วพักแรมเสีย รุ่งขึ้นถือต่อจากนั้นไปอีก ๑ ขนเจียม ถูกโจรชิงไปแล้ว ภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก ๑  ขนเจียมที่สละแล้ว (ตามวินัยกรรม) ภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก ๑ ภิกษุให้คนอื่นช่วยถือไป ๑  ขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้ว ภิกษุถือไป ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๙๒๓-๙๒๖
     ๑.ภิกษุโยนออกไปภายนอก ๓ โยชน์ เมื่อขนเจียมจะตกไปโดยไม่มีอันตราย พอพ้นจากมือเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนเส้นขน, ถ้าขนเจียมที่โยนไปนั้นกระทบที่ต้นไม้หรือเสาในภายนอก ๓ โยชน์ แล้วตกลงภายใน (๓ โยชน์) อีก ยังไม่ต้องอาบัติ, ถ้าห่อขนเจียมตกลงพื้น หยุดแล้วกลิ้งไป กลับเข้ามาภายในอีก เป็นอาบัติแท้
     ภิกษุยืนข้างใน เอามือ หรือเท้า หรือไม้เท้ากลิ้งไป ห่อขนเจียมจะหยุดหรือไม่หยุดก็ตามกลิ้งออกไป เป็นอาบัติเหมือนกัน ภิกษุวางไว้ด้วยตั้งใจว่า คนอื่นจักนำไป แม้เมื่อคนนั้นนำขนเจียมไปเป็นอาบัติเหมือนกัน, ขนเจียมที่ภิกษุวางไว้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ลมพัดไปหรือคนอื่นให้ตกไปในภายนอกโดยธรรมดาของตนเป็นอาบัติเหมือนกัน เพราะภิกษุมีอุตสาหะ และเพราะสิกขาบทเป็นอจิตตกะ
     -ภิกษุวางขนเจียมไว้บนยานหรือบนหลังช้างเป็นต้น ซึ่งกำลังไป ด้วยตั้งใจว่า เมื่อเจ้าของเขาไม่รู้เลย มันจักนำไปเอง เมื่อยานนั้นล่วงเลย ๓ โยชน์ไป เป็นอาบัติทันที แม้ในยานที่จอดอยู่ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, ก็ถ้าว่า ภิกษุวางขนเจียมไว้บนยาน หรือบนหลังช้าง เป็นต้น ที่ไม่ไป และขึ้นขับขี่ไป หรือไปเตือนให้ไป หรือเรียกให้ (จอดอยู่) ติดตามไป ไม่เป็นอาบัติ เพราะมีพระบาลีว่า ภิกษุให้คืนอื่นช่วยนำไป (อาบัติเรื่องตะบัดภาษีในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เป็นอนาบัติในสิกขาบทนี้, ส่วนอาบัติในสิกขาบทนี้เป็นอนาบัติในอทินนาทานนั้น)
     ภิกษุไปถึงสถานที่ (๓ โยชน์) นั้น ส่งใจไปอื่น หรือถูกพวกโจรเป็นต้น รบกวน เลยไปเสียก็ดี เป็นอาบัติเหมือนกัน, พึงทราบจำนวนอาบัติตามจำนวนเส้นขนในฐานะทั้งปวง
     ๒.ขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ มีผ้ากัมพล พรม และสันถัต เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงมัดด้วยเส้นด้าย
     อนึ่ง ภิกษุใด สอดขนเจียมลงในระหว่างถลกบาตรบางๆ ก็ดี ในหลืบผ้ารัดเข่า ผ้าอังสะ และประคดเอว เป็นต้นก็ดี ในฝักมีด เพื่อป้องกันสนิมกรรไกรเป็นต้นก็ดี โดยที่สุดอาพาธเป็นลม ยอนขนเจียมไว้ไม้ในช่องหูแล้วเดินไป เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเหมือนกัน แต่ขนเจียมที่มัดด้วยเส้นด้ายใส่ไว้ในระหว่างรองเท้าและถลกบาตรเป็นต้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ, ภิกษุทำให้เป็นช้องผมแล้วนำไป นี้ชื่อว่าทางเลี่ยงเก็บ เป็นอาบัติเหมือนกัน
     ๓.สิกขาบทนี้มีขนเจียมเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นทางกาย ๑  ทางกายกับจิต ๑  เป็นกิริยา ๑  เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต)    


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๓๖)
ภิกษุใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียม
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซัก ย้อม สางขนเจียม  ภิกษุณีทั้งหลายมัวสาละวนซัก ย้อม สาง จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา  พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า...แล้วกราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุบุรุพชนก
     -ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
     -ภิกษุสั่งว่า จงซัก หรือจงย้อม หรือจงสาง ต้องทุกกฎ ขนเจียมที่ซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล...

อนาบัติ
     ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ ๑ ภิกษุไม่ได้ใช้ แต่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่จำเป็นสิ่งของแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้ ๑ ใช้สิกขมานาซัก ๑ ใช้สามเณรีซัก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๙๓๗
     ๑.สิกขาบทนี้มีเนื้อความพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนปุราณจีวร สิกขาบทที่ ๔ แห่งจีวรวรรค      




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๓๗)
ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน
หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ครั้งนั้น สกุลหนึ่งได้ถวายภัตแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเป็นประจำ  เย็นวันหนึ่ง สกุลนั้นได้แบ่งเนื้อเป็น ๒ ส่วน คือ ของครอบครัวส่วนหนึ่ง เตรียมทำถวายท่านพระอุปนันทะส่วนหนึ่ง
     รุ่งเช้า เด็กในสกุลตื่นแต่เช้ามืด ร้องไห้ขอให้ให้เนื้อ สามีจึงให้ภรรยาให้เนื้อส่วนนั้นแก่เด็ก แล้วพูดว่าเราจักซื้อของอื่นถวายท่านอุปนันทะ  ในเวลาเช้าท่านอุปนันทะถือบิณฑบาตเข้าสู่สกุลนั้น สามีได้กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้า แต่ว่าได้ให้เด็กที่ร้องไปในตอนเช้ามืด พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ
     ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า ท่านจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา
     บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะ แล้วเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนจึงรับรูปิยะเหมือนพวกเรา
     ภิกษุทั้งหลายได้ยิน...จึงกราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า  “อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายถึง ทองคำ
     -ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้
     -บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์, ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์
     -บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ มีความว่า หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์, ทองเงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

วิธีเสียสละรูปิยะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้า ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัดหรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่าจะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้ ถ้าเขาทิ้งให้นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
     ๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
     ๒.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง
     ๓.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
     ๔.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว
     ๕.รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
     พึงขอภิกษุให้ตกลงรับก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้

คำสมมติ
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
     ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”
     ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น (เวลาที่ทิ้ง) พึงทิ้งอย่าจำหมายที่ตก ถ้าทิ้งจำหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฎ

อาบัติ
     ๑.รูปิยะ ภิกษุรู้ว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๒.รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.รูปิยะ ภิกษุคิดว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุคิดว่าเป็นรูปิยะ ต้องทุกกฎ
     ๕.ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
     ๖.ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ทองหรือเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี หรือภายในที่อยู่ก็ดี ภิกษุหยิบยกเองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจักนำไป ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๙๔๕/๙๕๗
     ๑.กหาปณะและมาสกชนิดต่างๆ ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง;  วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้ และมาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้ว แม้ทั้งหมดจัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์, วัตถุนี้คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย นา ไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นต้น จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฎ, วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติ มีอเนกประการ และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบ เป็นต้น จัดเป็นกัปปิยวัตถุ
     -บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฎวัตถุนั้น ภิกษุจะรับนิสสัคคียวัตถุ เพื่อประโยชน์ตนเองหรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคลและเจดีย์ เป็นต้น ย่อมไม่ควร, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ, มีรับเพื่อสงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฎอย่างเดียวแก่ภิกษุผู้รับทุกกฎวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง, ไม่เป็นอาบัติในกัปปิยวัตถุ, เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนะสิกขาบทข้างหน้าแก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงิน เป็นต้น แม้ทั้งหมดด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริก เพื่อต้องการจะเก็บไว้
     ๒.ในการรับเองและใช้ให้รับนั้น มีวินิจฉัยดังนี้
         เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียว ในบรรดาภัณฑะ คือ ทอง เงิน ทั้งกหาปณะ และมาสก ถ้าแม้นว่าภิกษุรับเองหรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนทีกล่าวรวมกันว่า เป็นอาบัติโดยนับรูปิยะในถุงที่ผูกไว้หย่อนๆ หรือในภาชนะที่บรรจุไว้หลวมๆ ส่วนในถุงที่ผูกไว้แน่น หรือในภาชนะที่บรรจุแน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น
     ๓.ส่วนในการยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ มีวินิจฉัยดังนี้
         เมื่อเขากล่าวว่า นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา แต่ปฏิเสธว่า นี้ไม่ควร ไม่เป็นอาบัติ, แม้ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ไม่ยินดีด้วยคิดว่า นี้ไม่ควรแก่เรา ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน จริงอยู่ บรรดาไตรทวาร (มีกายเป็นต้น) อันภิกษุห้ามแล้วด้วยไตรทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกายและวาจา รับอยู่ด้วยจิต ย่อมต้องอาบัติ, ในกายทวารและวจีทวาร มีการไม่กระทำเป็นสมุฏฐาน เพราะไม่กระทำการห้ามที่ตนพึงกระทำด้วยกายและวาจา, แต่ชื่อว่าอาบัติทางมโนทวาร ไม่มี,
        บุคคลคนเดียวกันนั้น วางเงินทองตั้งร้อยพันไว้ใกล้เท้า แล้วกล่าวว่า นี้จงเป็นของท่าน ภิกษุห้ามว่า นี้ไม่ควร อุบาสกพูดว่า กระผมสละถวายท่าน แล้วก็ไป, เมื่อมีคนอื่นมาที่นั้น แล้วถามว่านี้อะไรขอรับ ภิกษุพึงบอกคำที่อุบาสกและตนพูดกัน, ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเก็บให้ ขอรับ ท่านจงแสดงที่เก็บ, ภิกษุพึงขึ้นไปยังปราสาทถึงชั้น ๗ แล้วพึงบอกว่า นี้ที่เก็บ, แต่อย่าพึงบอกว่า จงเก็บไว้ในที่นี้, อกัปปิยวัตถุ (มีทองและเงินเป็นต้น) ย่อมเป็นอันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ตั้งอยู่ด้วยคำบอกมีประมาณเท่านี้, พึงปิดประตูแล้วอยู่รักษา
         ถ้าว่า อุบาสกถือเอาบาตรและจีวร ซึ่งเป็นของจะขายบางอย่างมา, เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจักรับสิ่งนี้ไหม? พึงกล่าวว่า อุบาสก พวกเรามีความต้องการสิ่งนี้ และวัตถุชื่อเห็นปานนี้ก็มีอยู่ แต่ไม่มีกัปปิยการก, ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเป็นกัปปิยการก ขอท่านโปรดเปิดประตูให้เถิด, พึงเปิดประตูแล้วกล่าวว่า ตั้งอยู่ในที่โน้น และอย่ากล่าวว่าท่านจงถือเอาสิ่งนี้,  อกัปปิยวัตถุก็เป็นอันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะตั้งอยู่เหมือนกัน ถ้าเขาถือเอากหาปณะนั้นแล้ว ถวายกัปปิยภัณฑ์ (สิ่งของที่ควรแก่สมณะ) แก่เธอ ควรอยู่, ถ้าเขาถือเอาเกินไป พึงบอกเขาว่า พวกเราจักไม่เอาภัณฑะของท่าน จงเก็บเสีย
     ๔.พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า พึงสละแก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล ก็เพราะธรรมดาว่า รูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร)  อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น เธอไม่ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น  ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้สอยโดยอุบาย จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์
     ๕.”ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ” ความว่า ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับส่วนแบ่ง, แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่น หรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภคก็ไม่ควร, โดยที่สุด เนยใสหรือน้ำมันมั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า หรือที่หล่นจากมือของสัตว์เหล่านั้น ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่สมควรทั้งนั้น, แม้จะอบเสนาสนะด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควร; จะตามประทีปด้วยเนยใสหรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี กระทำกสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี ด้วยแสงสว่างแห่งประทีปนั้นก็ไม่ควร, จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นจากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน
         ชนทั้งหลายเอาวัตถุนั้นจ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี สร้างอุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี จะบริโภคใช้สอยก็ไม่ควร, แม้ร่มเงาของโรงฉันเป็นต้น แผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร, ร่วมเงาที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา, จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ ไม่ควร, จะดื่มหรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่ม สระโบกขรณีซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้น ก็ไม่ควร, แต่ว่าเมื่อน้ำภายในสระนั้นไม่มี น้ำใหม่ไหลเข้ามา หรือน้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่ แม้น้ำที่มาใหม่ ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระโบกขรณี ที่ซื้อมาด้วยวัตถุนั้น (วัตถุที่ภิกษุใช้รูปิยะซื้อมา) ก็ไม่ควร
         สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เพื่อเก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย, แม้ปัจจัยเหล่านั้นก็ไม่ควรแก่เธอ แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย, ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็นอกัปปิยะ จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ ไม่ควรทั้งนั้น ถ้าภิกษุซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น จะบริโภคผล ควรอยู่, ถ้าภิกษุซื้อพืชมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ จะบริโภคผล ไม่ควร, จะนั่งหรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่
     ๖.ถ้าอุบาสกเป็นต้น โยนทิ้งไป ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือแม้เขาไม่ทิ้ง ถือเอาไปเสียเอง ก็ไม่พึงห้ามเขา, ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการขวนขวายนี้,  ลำดับนั้นสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
         -ภิกษุผู้กระทำวัตถุนั้น เพื่อตนหรือยกตนขึ้นอ้าง ด้วยอำนาจแห่งความโลภ ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน, เมื่อรุกรานผู้อื่นด้วยอำนาจแห่งโทสะว่า ภิกษุนี้ไม่รู้บทเลย ไม่รู้วินัย ชื่อว่าย่อมถึงความลำเอียงเพราะโทสะ, เมื่อถึงความเป็นผู้พลั้งเผลอและหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะหลง, เมื่อไม่อาจจะทิ้งเพราะกลัวภิกษุผู้รับรูปิยะ ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะกลัว, ภิกษุผู้ไม่ทำอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่าย่อมไม่ถึงความลำเอียง
     ๗.ทองและเงินแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า ถึงการสงเคราะห์ว่า รูปิยะทั้งนั้น
         -ภิกษุสงสัยว่า โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นทองคำ หรือทองเหลืองหนอ
         -มีความสำคัญในทองคำเป็นต้นว่า เป็นทองเหลืองเป็นต้น
        อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ใคร่ในบุญทั้งหลาย มีนางสนมของพระราชาเป็นต้น ถวายเงินและทองใส่ไว้ในภัตของควรเคี้ยว ของหอม และกำยาน เป็นต้น, ถวายแผ่นผ้าเล็กๆ รวมกับกหาปณะที่ขอดไว้ที่ชายผ้าเป็นต้นนั่นแหละ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตผ้า ภิกษุทั้งหลายรับเอาด้วยเข้าใจว่า เป็นภัตตาหารเป็นต้น หรือสำคัญว่าเป็นผ้า ภิกษุนี้พึงทราบว่า ผู้มีความสำคัญในรูปิยะว่า มิใช่รูปิยะ รับเอารูปิยะด้วยอาการอย่างนี้
         แต่ภิกษุผู้รับ พึงกำหนดให้ดีว่า วัตถุนี้เราได้ในเรือนหลังนี้ เพราะว่าผู้ที่ถวายของด้วยไม่มีสติ เมื่อได้สติแล้วจะกลับมาทวงถาม ภิกษุพึงบอกเขาว่า ท่านจงตรวจดูห่อผ้าของท่าน ดังนี้
     ๘.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖  บางคราวเป็นกิริยา เพราะต้องอาบัติด้วยการรับ บางคราวเป็นอกิริยา เพราะไม่ทำการห้าม, รูปิยสิกขาบท อัญญาวาทกสิกขาบท และอุปัสสุติสิกขาบท ทั้ง ๓ มีกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
     ๙. พระพุทธเจ้าอนุญาตพระภิกษุรับเงินและทองคำด้วยไวยาวัจกรหรือกัปปิยการกไว้ ๒ แห่ง คือ
          (๑) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปฐมวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ ชื่อ ราชสิกขาบท
          (๒) วินัย มหาวรรค เภสัชชขันธก เมณฑกสิกขาบท
         พระภิกษุรับเงินและทองคำตามวิธีปฏิบัติในเมณฑกสิกขาบทดีที่สุด ดั่งสาธกนี้ว่า
         สนฺติ ภิกฺขเว มนุสฺสา สทฺธา ปสนฺนา, เต กปฺปิยการกานํ หตฺเถ หิรญฺญสุวณฺณํ อุปนิกฺขิปนฺติ “อิมินา อยฺยสฺส ยํ กปฺปิยํ, ตํ เทถา” ติ, อนุชานามิ ภิกฺขเว ยํ ตโต กปฺปิยํ, ตํ สาทิตุํ.  
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของกัปปิยะจากกัปปิยะภัณฑ์นั้นได้
     ทายกควรกล่าวคำถวายเงินและทองด้วยคำที่สมควรตามเมณฑกสิกขาบท ดังนี้คือ
     ขอถวายปัจจัยอันสมควรแก่สมณบริโภค เป็นมูลค่าเท่าราคา.........บาท........สตางค์  ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่ากำหนดนี้ โปรดเรียกจากกัปปิยการกผู้รับมอบนั้นเทอญ
     คำถวายนี้แก้ไขนิดหน่อยจากใบปวารณาของกรมการศาสนา คือ ตัดคำว่า ปัจจัย ๔ ออก เหลือเพียงคำว่าปัจจัยเท่านั้น เพราะว่าเมื่อกล่าวคำถวายว่า ขอถวายปัจจัย ๔ แล้ว ก็จะขอสิ่งของที่สมควรกับสมณะได้เพียง ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยารักษาโรค เท่านั้น เพราะจำกัดความด้วยคำว่า ปัจจัย ๔ หากต้องการสมุดและดินสอเป็นต้น ก็ขอไม่ได้ ตามพระบาลีว่า ยถา ทายกา วทนฺติ, ตถา ปฏิปชฺชิตพฺพํ (ทายก ทายิกา กล่าวคำถวายไว้อย่างไร ภิกษุก็ควรปฏิบัติอย่างนั้น) เนื่องจากพระวินัยเปรียบเหมือนกฎหมาย บัญญัติพระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างไร ภิกษุทั้งหลายจึงควรประพฤติปฏิบัติตามอย่างนั้นโดยแท้  ฉะนั้น ถ้าใช้คำว่า ขอถวายปัจจัยอย่างเดียว โดยไม่เติมจำนวนคำว่า ๔ ลงไปด้วย จะเหมาะสมกว่า เนื่องจากสามารถขอปัจจัยที่สมควรกับสมณบริโภคทุกอย่างโดยไม่ผิดพระวินัย
     คำถวายว่า “อิมานิ มยํ ภนฺเต จตุปจฺจยานิ สปริวารานิ ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ จตุปจฺจยานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย”
นี้ เป็นคำถวายที่ไม่สมควรในกรณีที่ถวายเงินและทอง (สตางค์) เพราะเป็นการแสวงหาเงินและทองโดยปริยาย แต่ถ้าถวายเป็นจีวรเป็นต้น ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้ว ไม่เป็นไร
     ในเมณฑกสิขาบทนั้น ทายกเป็นผู้แสดงกัปปิยการกเอง เพราะฉะนั้น พระภิกษุขอกี่ครั้งก็ได้ ส่วนในราชสิกขาบทนั้น พระภิกษุเป็นผู้แสดงกัปปิยการก มีกำหนดขอได้ ๓ ครั้ง ไม่เกิน ๖ครั้ง
     สมัยนี้ บางวัดปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย ต้องสั่งสอนเด็กวัดหรือกัปปิยการก เมื่อมีผู้มาถวายเงิน โดยให้กัปปิยการกว่าดังนี้
     ขอถวายปัจจัยอันสมควรแก่สมณบริโภค เป็นมูลค่าเท่าราคา..........บาท.......สตางค์  ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่าในกำหนดนี้ โปรดเรียกจากข้าพเจ้าผู้รับมอบตามประสงค์เทอญ พระคุณเจ้ากรุณาบอกที่เก็บรักษาเงินแก่กระผมด้วย (จาก นานาวินิจฉัย/๒๗๕-๗)




น หิ เวเรน เวรานิ   สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ   เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ ๕ ฯ

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้   เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร  นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว

At any time in this world, Hatred never ceases by haterd,
But through non-hatred it ceases, This is an eternal law.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 16:05:58 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 21 เมษายน 2559 14:56:17 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๓๘)
ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    พระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน  
     ภิกษุทั้งหลายได้ยิน...จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

     -ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้งรูปพรรณ และมิใช่รูปพรรณบ้าง
     -ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับต่างๆ ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือ ที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง, ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ของ ๒ อย่างนั้น
     -ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยสิ่งต่างๆ ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้
     -ถึงความซื้อขาย คือ เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณ, เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นต้น  การซื้อขายดังกล่าวมาล้วนเป็นนิสสัคคีย์ทั้งสิ้น ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุพึงเสียสละของนั้นอย่างนี้

วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ
     ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์”
     ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ ถ้าคนทำการวัดหรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่าจะให้นำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำเอาสิ่งนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
     -องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำสมมติ พึงทราบตามสิกขาบทที่ ๘

อาบัติ
     ๑.รูปิยะ ภิกษุรู้ว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๒.รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๓.รูปยะ ภิกษุคิดว่า มิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๔.มิใช่รูปิยะ ภิกษุคิดว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๕.มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๖.มิใช่รูปิยะ ภิกษุรู้ว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
     ๗.มิใช่รูปิยะ ภิกษุคิดว่าเป็นรูปิยะ ต้องทุกกฎ
     ๘.มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
     ๙.มิใช่รูปิยะ ภิกษุรู้ว่ามิใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุวิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๙๖๕-๙๗๐
     ๑.พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ)
     ๒.บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน เมื่อภิกษุซื้อขายนิสสัคคิยวัตถุ (ของที่ใช้รูปิยะซื้อเป็นของที่พึงสละทิ้ง) ด้วยนิสสัคคิยวัตถุ (รูปิยะ) เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน (สิกขาบทที่ ๘) ในเพราะการรับมูลค่า (รับรูปิยะ), ในเพราะการซื้อขายของอื่นๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล, แม้เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุ หรือกัปปิยวัตถุ ด้วยนิสสัคคิยวัตถุ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
         -ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่านิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนในภายหลัง เพราะซื้อขายของหนัก เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุนั้นแหละ (มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ เป็นทุกกฎเป็นต้น) หรือกัปปิยวัตถุด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อนในเพราะการรับมูลค่า เป็นทุกกฎเช่นกันด้วยสิกขาบทนี้ แม้ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง เพราะซื้อขายด้วยอกัปปิยวัตถุ
         -สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะและสิ่งมิใช่รูปิยะ และสิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ ส่วนการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ มิได้ตรัสไว้ในบาลีในสิกขาบทนี้ และมิได้ตรัสไว้ในกยวิกกยสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๑๐ แห่งโกสิยวรรค) นั้นเลย ก็ในการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎด้วยวัตถุแห่งทุกกฎนี้ ไม่ควรจะเป็นอนาบัติ, เพราะฉะนั้นพวกอาจารย์ผู้รู้พระประสงค์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคำว่า ในเพราะรับวัตถุแห่งทุกกฎเป็นทุกกฎ ฉันใด  แม้ในเพราะซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎนั้นด้วยวัตถุแห่งทุกกฎนั้นนั่นแลเป็นทุกกฎ ก็ชอบแล้วฉันนั้นเหมือนกัน
         อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุด้วยนิสสัคคีย์ ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอาบัติด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะ ว่าไม่ใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์, เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎด้วยกัปปิยวัตถุนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนอย่างนั้นในเพราะการรับมูลค่า, เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง (จากรับรูปิยะแล้ว) เพราะเหตุไร? เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ
         เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ นอกจากพวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยกยวิกกยสิกขาบทที่จะปรากฏข้างหน้า เพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง, เมื่อภิกษุถือเอาการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ แม้โดยสิกขาบทข้างหน้า แต่เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ประการหาผลกำไร
     ๓.ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้วจ้างให้เร่งขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้นแล้ว ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น, บาตรนี้ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้นไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายใดๆ ก็ถ้าว่าทำลายบาตรนั้นแล้ว ให้ช่างทำเป็นกระถาง แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ ให้กระทำมีด แม้ไม้สีฟันที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาทำให้ตายด้วยเบ็ดนั้นก็เป็นอกัปปิยะ, ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อน แช่น้ำหรือนมสดให้ร้อน แม้น้ำและนมสดนั้นก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน
         ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้นก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่สหธรรมมิกทั้ง ๕ แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้นให้เป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า และเมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอย สมควรอยู่
     ๔.ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้ว ไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วยกัปปิยการก เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้เราชอบใจ และกัปปิยการกให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอาโดยกัปปิยโวหาร เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง จัดเป็นอกัปปิยะเหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า
         ถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่สมควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ? แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า
         อนึ่ง ภิกษุใดไม่รับรูปิยะ ไปยังตระกูลช่างเหล็กพร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า ท่านจงซื้อบาตรถวาย พระเถระเมื่อเห็นบาตรนั้นแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้วให้บาตรนี้แล้วได้ถือเอาไป บาตรนี้ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ, แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า
         ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อ อนุรุทธเถระ ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็มด้วยเนยใสแล้วสละแก่สงฆ์ พวกสัทธิวิหาริกของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎกก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็มด้วยเนยใสแล้วให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล
         ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะ ไปสู่ตระกูลช่างเหล็กพร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกสั่งมาว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระๆ เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่าเราจักเอาบาตรนี้ และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นไปแล้ว ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภคแห่งพระพุทธะทั้งหลาย
     ๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
         ๖.วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย
         ถ้าใครๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงินนี้แก่สงฆ์ ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ภิกษุจะรับทองและเงินแม้นี้ ไม่ควร,  ในมหาปัจจรีกล่าวว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฏิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้หรือพวกกรรมการ ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดีและไม่ดีอย่างเดียว แล้วมอบไว้ในมือของพวกช่างไม้หรือพวกกรรมกรเหล่านั้น แล้วหลีกไป จะรับก็ควร, ถ้าแม้นเขากล่าวว่าทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกคนของผมเอง หรือจักอยู่ในมือของผมเอง ท่านพึงส่งข่าวไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้ที่เราจะต้องให้ทองและเงินเขาอย่างเดียว แม้อย่างนี้ก็ควร ก็ถ้าว่าพวกเขาไม่ระบุสงฆ์ คณะ หรือบุคคล กล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายเงินและทองนี้แก่เจดีย์ ถวายแก่วิหาร ถวายเพื่อก่อสร้าง ดังนี้ จะปฏิเสธไม่สมควร พึงบอกแก่พวกกัปปิยการกว่า ชนพวกนี้กล่าวคำนี้ แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์เป็นต้นเถิด พึงปฏิเสธว่า การที่พวกเรารับไว้ ไม่สมควร
         แต่บางคนนำเอาเงินและทองมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายเงินและทองนี้แกสงฆ์ ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด ถ้าสงฆ์รับเงินและทองนั้น เป็นอาบัติ ทั้งเพราะรับ ทั้งเพราะบริโภค, ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปฏิเสธว่า สิ่งนี้ไม่ควร อุบาสกกล่าวว่า ถ้าไม่ควรจักเป็นของผมเสียเอง ดังนี้แล้วไป, ภิกษุนั้น อันภิกษุบางรูปไม่พึงกล่าวคำอะไรๆ ว่า เธอทำอันตรายลาภของสงฆ์ เพราะภิกษุใดโจทเธอ ภิกษุนั้นเองเป็นผู้มีอาบัติติดตัว เพราะเธอรูปเดียวกระทำภิกษุเป็นอันมากไม่ให้เป็นอาบัติ, ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายปฏิเสธว่า ไม่ควร เขากล่าวว่า จักอยู่ในมือของพวกกัปปิยการก หรือจักอยู่ในมือของพวกคนของผม หรือในมือของผม ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้สมควรอยู่
         เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จตุปัจจัย พึงน้อมไปเพื่อปัจจัย ๔ ที่ต้องการ เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จีวร พึงน้อมไปในจีวรเท่านั้น ถ้าว่าไม่มีความต้องการจีวรนั้น หากสงฆ์ลำบากด้วยปัจจัย มีบิณฑบาตเป็นต้น พึงอปโลกน์เพื่อความเห็นดีแห่งสงฆ์แล้วน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้น แม้ในอกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตและคิลานปัจจัย ก็มีนัยนี้
         อนึ่ง อกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ พึงน้อมไปในเสนาสนะเท่านั้น เพราะเสนาสนะเป็นครุภัณฑ์ ก็ถ้าว่า เมื่อพวกภิกษุทิ้งเสนาสนะไป เสนาสนะจะเสียหาย ในกาลเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้ว บริโภคปัจจัยได้
         เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาเสนาสนะไว้ ภิกษุอย่ากระทำให้ขาดมูลค่า (ไม่มีราคา) พึงบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไป และมิใช่แต่เงินทองอย่างเดียวเท่านั้น แม้อกัปปิยวัตถุอื่น มีนาและสวนเป็นต้น ภิกษุก็ไม่ควรรับ
     ๗.วิธีปฏิบัติในบึงและสระน้ำที่มีผู้ถวาย
         ถ้าใครๆ กล่าวว่า บึงใหญ่ให้สำเร็จข้าวกล้า ๓ ครั้ง ของข้าพเจ้ามีอยู่, ข้าพเจ้าขอถวายบึงใหญ่นั้นแก่สงฆ์, ถ้าสงฆ์รับบึงใหญ่นั้น เป็นอาบัติทั้งในการรับ ทั้งในการบริโภคเหมือนกัน, แต่ภิกษุใดปฏิเสธบึงใหญ่นั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุบางรูปไม่ควรว่ากล่าวอะไรๆ โดยนัยก่อนเหมือนกัน เพราะว่าภิกษุใดโจทเธอ ภิกษุนั้นเองมีอาบัติติดตัว เพราะเธอรูปเดียวได้ทำให้ภิกษุมากรูปไม่ต้องอาบัติ
         ผู้ใดแม้กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึงใหญ่เช่นนั้นเหมือนกัน ถูกพวกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร ถ้าเขายังกล่าวว่า บึงโน้นและบึงโน้นของสงฆ์ทำไมมีอยู่ล่ะ บึงนั้นสงฆ์มีได้อย่างไร? พึงบอกเขาว่า เขาจักทำให้เป็นกัปปิยะแล้วถวายกระมัง?  เขาถามว่า อย่างไรจึงจะเป็นกัปปิยะ? พึงกล่าวว่า เขากล่าวถวายว่า ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด  ดังนี้ ถ้าเขากล่าวว่า ดีละ ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด ดังนี้ควรอยู่
         ถ้าแม้นเขากล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับบึงเถิด ถูกพวกภิกษุทั้งหลายห้ามว่า ไม่ควร แล้วถามว่า กัปปิยการกมีอยู่หรือ? เมื่อภิกษุตอบว่าไม่มี จึงกล่าวว่า คนชื่อโน้นจักจัดการบึงนี้ หรือว่าจักอยู่ในความดูแลของคนโน้น หรือในความดูแลของข้าพเจ้า ขอสงฆ์จงบริโภคกัปปิยภัณฑ์เถิด ดังนี้จะรับควรอยู่, ถ้าแม้นว่าทายกนั้นถูกปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วกล่าวว่า คนทั้งหลายจักบริโภคน้ำ จักซักล้างสิ่งของพวกเนื้อและนกจักดื่มกิน, การกล่าวอย่างนี้ก็สมควร
         ถ้าทายกถูกพวกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วยังกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับโดยมุ่งถึงของสมควรเป็นใหญ่เถิด ภิกษุจะกล่าวว่า ดีละ อุบาสก สงฆ์จักดื่มน้ำ จักซักล้างสิ่งของ พวกเนื้อและนก จักดื่มกิน ดังนี้แล้วบริโภคอยู่ แม้หากว่าเมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึง หรือสระโบกขรณีแก่สงฆ์ ภิกษุจะกล่าวคำเป็นต้นว่า ดีละ อุบาสก สงฆ์จักดื่มน้ำ แล้วบริโภคใช้สอย สมควรเหมือนกัน
         ก็ถ้าพวกภิกษุขอหัตถกรรมและขุดกัปปิยปฐพีด้วยมือของตนเอง ให้สร้างสระน้ำเพื่อต้องการใช้น้ำ, ถ้าพวกชาวบ้านอาศัยสระน้ำนั้นทำข้าวกล้าให้สำเร็จแล้วถวายกัปปิยภัณฑ์ในวิหาร ควรอยู่, ถ้าแม้นว่าพวกชาวบ้านนั่นแหละ ขุดพื้นที่ของสงฆ์เพื่อต้องการอุปการะแก่สงฆ์ แล้วถวายกัปปิยภัณฑ์จากข้าวกล้าที่อาศัยสระน้ำนั้นสำเร็จแล้ว แม้นี้ก็สมควร, ก็เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงตั้งกัปปิยการกให้พวกผมคนหนึ่ง แม้ภิกษุจะตั้งก็ได้
         อนึ่ง ถ้าพวกชาวบ้านนั้นถูกราชพลีรบกวนพากันหนีไป, ชาวบ้านพวกอื่นจักทำนาเป็นต้น แต่ไม่ถวายอะไรๆ แก่ภิกษุทั้งหลายเลย, พวกภิกษุจะหวงห้ามน้ำก็ได้ ก็แลการหวงน้ำนั้น ย่อมได้ในฤดูทำนาเท่านั้น ไม่ใช่ในฤดูข้าวกล้า (กำลังงอกงามแล้ว) ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า ท่านขอรับ แม้เมื่อก่อนพวกชาวบ้านได้อาศัยน้ำนี้ทำข้าวกล้ามิใช่หรือ? เมื่อนั้นพึงบอกพวกเขาว่า พวกนั้นเขาได้กระทำอุปการะอย่างนี้แก่สงฆ์ และได้ถวายแม้กัปปิยะภัณฑ์อย่างนี้, ถ้าพวกเขากล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็จักถวาย อย่างนี้ก็ควร
         ก็ถ้าว่า ภิกษุบางรูปไม่เข้าใจ รับสระน้ำหรือให้สร้างสระโดยอกัปปิยโวหาร (คำพูดที่ผิดพระวินัย), สระนั้นพวกภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย, แม้กัปปิยภัณฑ์ที่อาศัยสระน้ำได้มา ก็เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน ถ้าเจ้าของมีบุตรและธิดา หรือใครๆอื่นผู้เกิดในสกุลวงศ์ของเขา ทราบว่าภิกษุทั้งหลายสละแล้ว จึงถวายด้วยกัปปิยโวหารใหม่  สระนั้น ควร,  เมื่อสกุลวงศ์ของเขาขาดสูญ ผู้ใดเป็นเจ้าของชนบทนั้น ผู้นั้นริบเอาแล้วถวายคืน เหมือนพระราชมเหสีนามว่าอนุฬา ทรงริบเอาฝายน้ำที่ภิกษุในจิตตลดาบรรพตซักมาแล้วถวายคืนฉะนั้น แม้อย่างนี้ก็ควร
         จะทำการโกยดินขึ้น และกั้นคันสระใหม่ ในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจแห่งน้ำ แม้เป็นกัปปิยโวหาร ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์ แต่การที่ภิกษุเห็นพวกชาวบ้านอาศัยสระน้ำกระทำข้าวกล้าอยู่ จะตั้งกัปปิยการก ไม่ควร,  ถ้าพวกเขาถวายกัปปิยภัณฑ์เสียเอง ควรรับ,  ถ้าพวกเขาไม่ถวาย ไม่ควรทวง ไม่ควรเตือน  การที่จะตั้งกัปปิยการกในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ควรอยู่, แต่จะทำการโกยดินขึ้นและกั้นคันสระเป็นต้น ไม่ควร, ถ้าพวกกัปปิยการกกระทำเองเท่านั้น จึงควร,  เมื่อลัชชีภิกษุผู้ฉลาดใช้พวกกัปปิยการกทำการโกยดินขึ้นเป็นต้น สระน้ำจะเป็นกัปปิยะในเพราะการรับ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นการบริโภคไม่ดี ดุจบิณฑบาตที่เจือยาพิษ และดุจโภชนะที่เจืออกัปปิยะมังสะฉะนั้น เพราะกัปปิยภัณฑ์ที่เจือด้วยสิ่งของอันเกิดจากประโยชน์ของภิกษุเป็นปัจจัย เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไปเหมือนกัน
         แต่ยังมีโอกาสเพื่อน้ำ ภิกษุจะจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงทำโดยประการที่คันของสระจะมั่นคง จุน้ำได้มาก คือ จงทำให้น้ำเอ่อขึ้นปริ่มฝั่ง ดังนี้ควรอยู่
     ๘.วิธีปฏิบัติในทาส คนวัด และปศุสัตว์ที่มีผู้ถวาย
         หากทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทาส การถวายนั้นไม่ควร, เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายคนวัด ถวายไวยาวัจกร ถวายกัปปิยการก ดังนี้จึงควร, ถ้าอารามิกชนนั้นทำการงานของสงฆ์เท่านั้น ทั้งก่อนภัตและหลังภัต ภิกษุพึงกระทำแม้การพยาบาลด้วยยาทุกอย่างแก่เขาเหมือนกับสามเณร, หากเขาทำการงานของสงฆ์ก่อนภัตเวลาเดียว ภายหลังภัตไปกระทำการงานของตน ไม่พึงให้อาหารในเวลาเย็น, แม้ชนจำพวกใดกระทำงานของสงฆ์ตามวาระ ๕ วัน หรือตามวาระปักษ์ เวลาที่เหลือทำงานของตน พึงให้ภัตและอาหารแม้แก่บุคคลพวกนั้นในเวลากระทำเท่านั้น, ถ้าการงานของสงฆ์ไม่มี พวกเขากระทำงานของตนเองเลี้ยงชีพ, ถ้าพวกเขาเอามูลค่าหัตถกรรมมาถวายพึงรับ, ถ้าพวกเขาไม่ถวายก็อย่าพึงพูดอะไรเลย การรับทาสย้อมผ้าก็ดี ทาสช่างหูกก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยชื่อว่าอารามิกชน ควรอยู่
         หากพวกทายกกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายโคทั้งหลาย ดังนี้ ภิกษุพึงห้ามพวกเขาว่า ไม่สมควร, เมื่อมีพวกชาวบ้านถามว่า โคเหล่านี้ท่านได้มาจากไหน? พึงบอกเขาว่า พวกบัณฑิตถวายเพื่อประโยชน์แก่การบริโภคปัญจโครส เมื่อพวกเขากล่าวว่า แม้พวกผมก็ถวายเพื่อประโยชน์บริโภคปัญจโครส ดังนี้ควรอยู่, แม้ในปศุสัตว์มีแม่แพะเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ
         พวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายช้าง ถวายม้า กระบือ ไก่ สุกร ดังนี้จะรับ ไม่ควร ถ้าพวกชาวบ้านบางหมู่กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด พวกผมจะรับสัตว์เหล่านี้แล้วถวายกัปปิยภัณฑ์แก่ท่านทั้งหลาย แล้วรับไป ย่อมควร, จะปล่อยเสียในป่าด้วยกล่าวว่า ไก่และสุกรเหล่านี้ จงอยู่ตามสบายเถิด ดังนี้ก็ควร, เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายสระนี้ นานี้ ไร่นี้ แก่วิหาร ภิกษุจะปฏิเสธไม่ได้ ฉะนี้แล



ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ   วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ   ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ ๑๓ ฯ

เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย  ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด  ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ

Even as rain into an ill-thatched house,
Even so lust penetrates an undeveloped mind..
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
[/center]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 16:09:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2559 15:40:11 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๓๙)
ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของมีประการต่างๆ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเป็นผู้ชำนาญการทำจีวร เธอเอาผ้าเก่าๆ ทำผ้าสังฆาฏิย้อมแต่งดีแล้วห่ม  ขณะนั้นปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้ามีราคามาก เห็นผ้าของพระอุปนันทะแล้วเกิดชอบใจ ชักชวนกันแลก
       ปริพาชกห่มผ้าผืนของท่านอุปนันท์ไปอาราม พวกปริพาชกพูดว่า ผ้าผืนนี้จักอยู่ได้กี่วัน ปริพาชกเห็นจริงตามนั้น จึงกลับไปหาท่านอุปนันท์ขอแลกกลับคืน แต่ท่านอุปนันท์ไม่ยอม ปริพาชกได้เพ่งโทษติเตียนว่า คฤหัสถ์เขายังคืนให้กัน นี่บรรพชิตต่อบรรพชิตไฉนจึงไม่ยอมคืน ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ได้ติเตียนที่เธอแลกเปลี่ยนกับปริพาชก กราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า "อนึ่ง ภิกษุใด ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษใช้ โดยที่สุดแม้ก้อนฝุ่น ไม้ชำระฟัน ด้ายชายผ้า
       -ถึงการแลกเปลี่ยน คือภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏในเวลาที่แลกแล้ว ของๆ ตนไปอยู่ในมือของคนอื่น และเปลี่ยนแล้ว คือของๆ คนอื่นมาอยู่ในมือของตน เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยน มีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์"
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ พึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า "ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้"

วิธีเสียสละแก่คณะ
       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป...กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ...ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่านทั้งหลาย" ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ "ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า...ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้"

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง..."ท่าน ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยน มีประการต่างๆ...ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน"
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า "ข้าพเจ้าให้ของสิ่งนี้แก่ท่าน" ดังนี้

อาบัติ
       ๑.แลกเปลี่ยน ภิกษุรู้ว่าแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.แลกเปลี่ยน ภิกษุคิดว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุคิดว่าแลกเปลี่ยน ต้องทุกกฏ
       ๕.ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฏ
       ๖.ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุรู้ว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุถามราคา ๑  ภิกษุบอกแก่กัปปิยการว่าของสิ่งนี้เรามีอยู่ แต่เราต้องการของสิ่งนี้และของสิ่งนี้ ดังนี้ ๑  ภิกษุวิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๑/๓/๙๗๘-๙๘๓
      ๑.ทรงแสดงเฉพาะกัปปิยภัณฑ์ตั้งต้นแต่จีวร มีด้ายชายผ้าเป็นที่สุด เพราะการแลกเปลี่ยนด้วยอกัปปิยภัณฑ์ ย่อมไม่ถึงการสงเคราะห์เข้าในการซื้อขาย
         -ในเวลาทำภัณฑะของผู้อื่นให้อยู่ในมือของตน ชื่อว่าซื้อ และในเวลาทำภัณฑะของตนให้อยู่ในมือของผู้อื่น ชื่อว่าขาย
         -พึงสละกัปปิยภัณฑ์ ที่รับเอาจากมือของคนอื่น ด้วยอำนาจแห่งการซื้อขายอย่างนี้; ก็การซื้อขายอย่างนี้กับพวกคฤหัสถ์และนักบวชที่เหลือ เว้นสหธรรมิกทั้ง ๕ โดยที่สุดแม้กับมารดาบิดา ก็ไม่ควรซื้อขาย
       ๒.วินิจฉัยในการซื้อขายนั้นดังต่อไปนี้.
         -ผ้ากับผ้าก็ตาม อาหารกับอาหารก็ตาม จงยกไว้, ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ เป็นทุกกฏ, ภิกษุกล่าวอย่างนั้น แล้วให้ภัณฑะของตนแม้แก่มารดาก็เป็นทุกกฏ, ภิกษุอันมารดากล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ หรือกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ฉันจักให้สิ่งนี้แก่ท่าน แล้วถือเอาภัณฑะของมารดาเพื่อตน ก็เป็นทุกกฏ, เมื่อภัณฑะของตนถึงมือของคนอื่น และเมื่อภัณฑะของคนอื่นถึงมือของตน เป็นนิสสัคคีย์
       แต่เมื่อภิกษุกล่าวกะมารดาหรือบิดาว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ไม่เป็นการออกปากขอ, เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ ไม่เป็นการยังศรัทธาไทยให้ตกไป, เมื่อภิกษุพูดกะผู้มิใช่ญาติว่า ท่านจงให้สิ่งนี้เป็นการออกปากขอ, เมื่อพูดว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ เป็นการยังศรัทธาไทยให้ตกไป; เมื่อภิกษุถึงการซื้อขายว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้จะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ พึงแลกเปลี่ยนกับมารดาบิดาให้พ้นการซื้อขายกับพวกคนผู้มิใช่ญาติให้พ้นอาบัติ ๓ ตัว
       ๓.อธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ ดังนี้
         ภิกษุมีข้าวสารเป็นเสบียงเดินทาง เธอเห็นบุรุษถือข้าวสุกในระหว่างทางแล้ว พูดว่า เรามีข้าวสารและเราไม่มีความต้องการด้วยข้าวสารนี้ แต่มีความต้องการด้วยข้าวสุก บุรุษรับเอาข้าวสารแล้วถวายข้าวสุก ควรอยู่ ไม่เป็นอาบัติทั้ง ๓ ตัว, ชั้นที่สุดแม้เพียงสักว่านิมิตกรรมก็ไม่เป็น เพราะเหตุไร? เพราะมีมูลเหตุ และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ข้างหน้านั่นแลว่า ภิกษุพูดว่า เรามีสิ่งนี้ แต่มีความต้องการด้วยสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้
         อนึ่ง ภิกษุใด ไม่กระทำอย่างนี้ แลกเปลี่ยนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ เป็นอาบัติตามวัตถุแท้, ภิกษุเห็นคนกินเดน กล่าวว่า เธอจงกินข้าวสุกนี้ แล้วนำน้ำย้อมหรือฟืนมาให้เรา แล้วให้ข้าวสุกนั้น เป็นนิสสัคคีย์หลายตัว ตามจำนวนสะเก็ดน้ำย้อมและจำนวนฟืน, ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านบริโภคข้าวสุกนี้แล้ว จงทำกิจชื่อนี้ แล้วใช้พวกช่างศิลป์ มีช่างแกะสลักงาเป็นต้น ให้ทำบริขารนั้นๆ บรรดาบริขารมีธมกรก เป็นต้น  หรือใช้พวกช่างย้อมให้ซักผ้า เป็นอาบัติตามวัตถุทีเดียว
         ภิกษุให้พวกช่างกัลบกปลงผม ให้พวกกรรมกรทำนวกรรม เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือนกัน, ก็ถ้าภิกษุไม่กล่าวว่า พวกท่านบริโภคอาหารนี้แล้ว จงทำกิจนี้ กล่าวว่า เธอจงบริโภคอาหารนี้ เธอบริโภคแล้ว หรือจักบริโภค จงช่วยทำกิจชื่อนี้ ย่อมสมควร, ก็ในการให้ทำบริขารเป็นต้นนี้ ภัณฑะของผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน ชื่อว่า อันภิกษุพึงสละย่อมไม่มี ในการซักผ้า หรือในการปลงผม หรือในนวกรรม มีการถางพื้นที่เป็นต้น แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นเพราะท่านกล่าวไว้หนักแน่นในมหาอรรถกถา ซึ่งใครๆ ไม่อาจคัดค้านคำนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงแสดงปาจิตตีย์ในเพราะการจ้างซักผ้าเป็นต้นนี้ เหมือนแสดงปาจิตตีย์ในเพราะนิสสัคคิยวัตถุที่ตนใช้สอยแล้ว หรือเสียหายแล้ว ฉะนั้น
       ๔.ภิกษุใดถึงการซื้อขาย ภิกษุนั้นจงเป็นผู้มีความสำคัญในการซื้อขายนั้นว่า เป็นการซื้อขายหรือมีความสงสัย หรือมีความสำคัญว่า ไม่ใช่การซื้อขายก็ตามที เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ทั้งนั้น
         -ภิกษุถามว่า บาตรของท่านนี้ราคาเท่าไร? แต่เมื่อเจ้าของบาตรกล่าวว่า ราคาเท่านี้ ถ้ากัปปิยภัณฑ์ของภิกษุนั้นมีราคามาก และภิกษุตอบอุบาสกนั้นไปอย่างนี้ว่า อุบาสก วัตถุของเรานี้มีราคามาก ท่านจงให้บาตรของท่านแก่คนอื่นเถิด ฝ่ายอุบาสกได้ยินคำนั้น กล่าวว่า ผมจะแถมกระถางอื่นให้อีก จะรับเอาไว้ก็ควร, ของนั้นตกไปในลักษณะที่ตรัสไว้ว่า เรามีสิ่งนี้เป็นต้น, ถ้าบาตรนั้นมีราคาแพง สิ่งของของภิกษุมีราคาถูก และเจ้าของบาตรไม่รู้ว่าของนั้นราคาถูก ภิกษุอย่าพึงรับเอาบาตร พึงบอกว่า ของของเรามีราคาถูก, เมื่อภิกษุกล่าวหลอกลวงว่า มีราคามาก แล้วรับเอาบาตรไป จะถึงความเป็นผู้อันพระวินัยธรพึงให้ตีราคาสิ่งของแล้วปรับอาบัติ, ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ช่างเถอะ ขอรับ ที่เหลือจักเป็นบุญแก่ผม แล้วถวาย ควรอยู่
         -ภิกษุทำคนอื่นเว้นคนที่ตนรับภัณฑะจากมือ โดยที่สุดแม้เป็นบุตรหรือพี่น้องชายของเขาให้เป็นกัปปิยการก แล้วบอกว่า เธอจงเอาสิ่งนี้ด้วย สิ่งนี้ให้ด้วย ถ้าบุตรหรือพี่น้องชายนั้นเป็นคนฉลาด คัดเลือกต่อรองซ้ำๆ ซากๆ แล้วจึงรับเอง, ภิกษุพึงยืนนิ่งอยู่ ถ้าเขาเป็นคนไม่ฉลาด ไม่รู้จักจะถือเอา พ่อค้าจะลวงเขา ภิกษุพึงบอกเขาว่า เธออย่าเอา ดังนี้
         -ในคำว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น  มีวินิจฉัยว่า ภิกษุกล่าวว่าน้ำมันหรือเนยใสที่รับประเคนแล้วนี้ ของเรามีอยู่ แต่เราต้องการของอื่นที่ยังไม่ได้ประเคน ถ้าเขารับเอาน้ำมันหรือเนยใสนั้น ให้น้ำมันหรือเนยใสอื่น อย่าพึงให้ตวงน้ำมันของตนก่อน เพราะเหตุไร? เพราะยังมีน้ำมันที่เหลืออยู่ในทะนานน้ำมัน น้ำมันที่เหลือนั้นจะพึงทำน้ำมันที่ยังไม่ได้รับประเคนของภิกษุผู้ตวงในภายหลังให้เสียไป
       ๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓




นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๔๐)
ภิกษุเก็บอดิเรกบาตรได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ชาบ้านพบเข้าติเตียนว่า ท่านคงจักตั้งร้านขายบาตรหรือร้านขายดินเผา
       ภิกษุทั้งหลายได้ยิน...จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า "อนึ่ง ภิกษุใด ทรงอดิเรกบาตร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"
       สมัยต่อมา บาตรเกิดแก่พระอานนท์ ท่านประสงค์จะถวายพระสารีบุตร จึงกราบทูล...ตรัสถามว่า พระสารีบุตรจะกลับมาเมื่อไร ทูลว่า อีก ๙ หรือ ๑๐ วัน จึงทรงมีพระอนุบัญญัติว่า "พึงทรงอดิเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"
       สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ไม่คืนบาตรที่เสียสละ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุรูปใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ"

อรรถาธิบาย
       -บทว่า ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ ทรง (เก็บ) ไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างมาก
       -ที่ชื่อว่า อดิเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังมิได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
       -ที่ชื่อว่า บาตร มี ๒ อย่าง คือ บาตรเล็ก ๑  บาตรดินเผา ๑
       บาตร มี ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑  ขนาดกลาง ๑  ขนาดเล็ก ๑
       บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
       บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ นาฬี ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
       บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ปัตถะ ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้
       -คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า
       "ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ  ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์"  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนบาตรให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า "ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้"

วิธีเสียสละแก่คณะ
       ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป... "ท่านเจ้าข้า...ข้าพเจ้าสละบาตรนี้ให้แก่ท่านทั้งหลาย" ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า "ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า... ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้"

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านเจ้าข้า... ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน"  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วคืนให้ด้วยคำว่า "ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน" ดังนี้

อาบัติ
       ๑.บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุรู้ว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุคิดว่ายังไม่ล่วง... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป ยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว วิกัปแล้ว สละแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๕.บาตรยังไม่หาย ยังไม่ฉิบหาย ยังไม่แตก ยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว ฉิบหายแล้ว แตกแล้ว ถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๖.บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่เสียสละ บริโภค ต้องทุกกฏ
       ๗.บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ๑.ภิกษุอธิษฐาน ๑  วิกัปไว้ ๑  สละให้ไป ๑  บาตรหายไป ๑  บาตรฉิบหาย ๑  บาตรแตก ๑  โจรชิงเอาไป ๑  ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ในภายใน ๑๐ วัน วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๙๙๒-๑๐๐๑
       ๑.ในบาตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
          พึงเอาข้าวสารแห่งข้าวสาลีเก่า (ซึ่งเก็บไว้แรมปี) ที่ไม่หัก ซึ่งซ้อมบริสุทธิ์ดีแล้ว ๒ ทะนานมคธ หุงให้เป็นข้าวสุกด้วยข้าวสารเหล่านั้นไม่เช็ดน้ำ ไม่เป็นข้าวท้องเล็น ไม่แฉะ ไม่เป็นก้อน สละสลวยดี เช่นกับกองดอกมะลิตูมในหม้อ แล้วบรรจุลงในบาตรไม่ให้เหลือ เพิ่มแกงถั่วที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงทุกอย่าง ไม่ข้นนัก ไม่เหลวนัก พอมือหยิบได้ ลงไปปริมาณเท่าส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสุกนั้น แต่นั้นจึงเพิ่มกับข้าวมีปลา และเนื้อเป็นต้น ลงไปสมควรแก่คำข้าวเป็นคำๆ จนเพียงพอกับคำข้าวเป็นอย่างยิ่ง, ส่วนเนยใส น้ำมัน รสเปรี้ยว และน้ำข้าวเป็นต้น ไม่ควรนับ, เพราะของเหล่านั้นมีคติอย่างข้าวสุกนั่นเทียว ไม่อาจเพื่อจะลดลง และไม่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ อาหารที่บรรจุลงอย่างนี้แม้ทั้งหมดนั่น ถ้าตั้งอยู่เสมอแนวล่างแห่งขอบปากบาตร, เมื่อเอาเส้นด้ายหรือไม้ซีก (เสี้ยนตาล) ปาดไป (ของในบาตรนี้) ถูกที่สุดภายใต้เส้นด้าย หรือไม้ซีกนั้น (คือ ของในบาตรมีข้าวสุกทะนานหนึ่ง เป็นต้นนี้ ถูกที่สุดเบื้องล่างแห่งด้ายหรือเสี้ยนตาลของบุคคลผู้ตัดด้วยด้าย หรือเสี้ยนตาล), บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ (อย่างกลาง), ถ้าของในบาตรนั้นพูนเป็นจอมเลยแนว (ขอบปากบาตร) นั้นขึ้นมา  บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่อย่างเล็ก, ถ้าของในบาตรนั้นไม่ถึงแนวขอบ (ปากบาตร) พร่องอยู่ภายในเท่านั้น บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่อย่างใหญ่
       -ถ้าของมีข้าวสุก ๑ ทะนาน เป็นต้น แม้ทั้งหมดที่บรรจุแล้ว อยู่เสมอแนวขอบล่าง โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง (อย่างกลาง), ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบนั้นขึ้นมา บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดลางอย่างเล็ก, ถ้าไม่ถึงแนวขอบนั้น พร่องอยู่เพียงภายในเท่านั้น บาตรนี้ชื่อว่าบาตรขนาดกลางอย่างใหญ่
       -ถ้าของทั้งหมดมีข้าวสุกประมาณกึ่งทะนานเป็นต้น ที่บรรจุลงแล้วอยู่เสมอแนวล่าง (แห่งขอบปากบาตร) บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง (อย่างกลาง), ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบนั้นขึ้นมา บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดกลางอย่างเล็ก, ถ้าของไม่ถึงแนวขอบนั้นพร่องอยู่ภายในเท่านั้น บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดเล็กอย่างใหญ่ ผู้ศึกษาพึงทราบ บาตร ๙ ชนิดเหล่านี้โดยประการดังกล่าวมาฉะนี้แล
       -บรรดาบาตร ๙ ชนิดนั้น บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรขนาดใหญ่อย่างใหญ่ ๑ บาตรเล็กอย่างเล็ก ๑ ไม่จัดเป็นบาตร (เป็นบาตรใช้ไม่ได้), จริงอยู่ คำว่า ใหญ่กว่านั้นไม่ใช่บาตร เล็กกว่านั้นไม่ใช่บาตรนี้ตรัสหมายเอาบาตร ๒ ชนิดนั่น, แท้จริงบรรดาบาตร ๒ ชนิด บาตรขนาดใหญ่อย่างใหญ่ คือ ใหญ่กว่านั้น ตรัสว่าไม่ใช่บาตร เพราะใหญ่กว่าขนาดใหญ่, และบาตรขนาดเล็กอย่างเล็ก คือ เล็กกว่านั้น ตรัสว่าไม่ใช่บาตร เพราะเล็กกว่าขนาดเล็ก เพราะฉะนั้น บาตรเหล่านี้ ควรใช้สอยอย่างใช้สอยภาชนะ ไม่ควรอธิษฐาน ไม่ควรวิกัป ส่วนบาตร ๗ ชนิดนอกนี้ พึงอธิษฐานหรือวิกัปไว้ใช้เถิด
       เมื่อภิกษุไม่กระทำอย่างนี้ ให้บาตรนั้นล่วง ๑๐ วันไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ เมื่อภิกษุให้บาตรแม้ทั้ง ๗ ชนิด ล่วงกาลมี ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

       ๒.อธิบายบาตรที่ควรอธิษฐานและวิกัป
            บาตรเหล็กระบมแล้วด้วยการระบม ๕ ไฟ บาตรดินระบมแล้วด้วยการระบม ๒ ไฟ จึงควรอธิษฐาน, บาตรทั้ง ๒ ชนิด เมื่อให้มูลค่าที่ควรให้แล้วนั่นแล ถ้าระบมยังหย่อนอยู่แม้เพียงหนึ่งไฟ หรือยังไม่ได้ให้มูลค่าแม้เพียงกากกณิกหนึ่ง ไม่ควรอธิษฐาน, ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ท่านจงให้ในเวลาที่ท่านมีมูลค่า ท่านจงอธิษฐานใช้สอยเถิด ดังนี้ก็ยังไม่ควรอธิษฐานแท้ เพราะว่ายังไม่ถึงการนับว่าเป็นบาตร เพราะการระบมยังหย่อนอยู่ ยังไม่ถึงความเป็นบาตรของตน ยังเป็นของผู้อื่นอยู่ทีเดียว เพราะมูลค่าทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้ให้ เพราะฉะนั้น เมื่อระบมและเมื่อให้มูลค่าเสร็จแล้วนั่นแล จึงเป็นบาตรควรอธิษฐาน บาตรใบที่ควรอธิษฐานเท่านั้นจึงควรวิกัป บาตรนั้นจะมาถึงมือแล้วก็ตาม ยังไม่มาถึงก็ตาม ควรอธิษฐานหรือควรวิกัปไว้เสีย

       ๓.อธิบายการอธิษฐานบาตร
           บรรดาการอธิฐานและวิกัปนั้น อธิฐานบาตรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกายอย่าง ๑ อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง ๑  ภิกษุเมื่อจะอธิษฐานด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน ๒ อย่างนั้น พึงปัจจุทธรณ์ (ถอน) บาตรเก่าที่ตั้งอยู่ต่อหน้าหรือในที่ลับ อย่างนี้ว่า อิมํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถอนบาตรใบนี้  หรือว่า เอตํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถอนบาตรใบนั้น หรือให้แก่ภิกษุอื่นแล้ว เอามือลูบคลำบาตรใหม่ที่ตั้งอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ทำความคำนึงด้วยใจ และทำกายวิการอธิษฐานด้วยกายหรือเปล่งวาจาแล้วอธิษฐานด้วยวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้
          ในอธิษฐาน ๒ อย่าง ถ้าบาตรอยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้, ถ้าบาตรนั้นอยู่ภายในห้องก็ดี ที่ปราสาทชั้นบนก็ดี ในวิหารใกล้เคียงก็ดี ภิกษุพึงกำหนดสถานที่บาตรตั้งอยู่ แล้วพึงเปล่งวาจาว่า เอตํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนั้น, ก็ภิกษุผู้อธิษฐาน แม้อธิษฐานรูปเดียว ก็ควร แม้จะอธิษฐานในสำนักของภิกษุอื่นก็ควร การอธิษฐานในสำนักของภิกษุอื่น มีอานิสงส์ดังต่อไปนี้, ถ้าเธอเกิดความเคลือบแคลงว่าบาตรเราอธิษฐานแล้วหรือไม่หนอ. ดังนี้อีกรูปหนึ่งจักเตือนให้นึกได้ ตัดความสงสัยเสีย, ถ้าภิกษุบางรูปได้บาตรมา ๑๐ ใบ ตนเองประสงค์จะใช้สอยทั้งหมดทีเดียว, อย่าพึงอธิษฐานทั้งหมด, อธิษฐานบาตรใบหนึ่งแล้ววันรุ่งขึ้น ปัจจุทธณ์บาตรนั้นแล้ว พึงอธิษฐานใบใหม่ โดยอุบายนี้อาจจะได้บริหาร (การคุ้มครอง) ตั้ง ๑๐๐ ปี

       ๔.การขาดอธิฐานของบาตร
          ถามว่า การขาดอธิษฐาน พึงมีแก่ภิกษุผู้ไม่ประมาทอย่างนี้ได้หรือ? ตอบว่า พึงมีได้, หากว่าภิกษุนี้ให้บาตรแก่ภิกษุอื่นก็ดี หมุนไปผิดก็ดี บอกลาสิกขาก็ดี กระทำกาละเสียก็ดี เพศของเธอกลับก็ดี ปัจจุทธรณ์เสียก็ดี บาตรมีช่องทะลุก็ดี บาตรย่อมขาดอธิษฐาน และคำนี้แม้พระอาจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
          การขาดอธิษฐานย่อมมีได้ด้วยการให้ ๑ หมุนไปผิด ๑ ลาสิกขา ๑ กระทำกาลกิริยา ๑ เพศกลับ ๑ ปัจจุทธณ์ ๑ เป็นที่ ๗ กับช่องทะลุ ๑ ดังนี้
         แม้เพราะโจรลักและการถือเอาโดยวิสาสะ บาตรก็ขาดอธิษฐานเหมือนกัน บาตรจะขาดอธิษฐานด้วยช่องทะลุประมาณเท่าไร? จะขาดอธิษฐานด้วยช่องทะลุพอเมล็ดข้าวฟ่างลอดออกและลอดเข้าไปได้
          บรรดาธัญชาติ ๗ ชนิด เมล็ดข้าวฟ่างนี้เป็นเมล็ดธัญชาติอย่างเล็ก เมื่อช่องนั้นอุดให้กลับเป็นปกติด้วยผงเหล็ก หรือด้วยหมุด แล้วพึงอธิษฐานบาตรนั้นใหม่ภายใน ๑๐ วัน

       ๕.การวิกัปบาตร
         วิกัปมี ๒ อย่าง คือ วิกัปต่อหน้าอย่าง ๑ วิกัปลับหลังอย่าง ๑, วิกัปต่อหน้าคือภิกษุพึงรู้ว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้ แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านี้ก็ดี, ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านั้นก็ดี, แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ท่าน นี้ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า ด้วยวิธีวิกัปเพียงเท่านี้ จะเก็บไว้ ควรอยู่ แต่จะใช้สอย จะจำหน่าย หรือจะอธิษฐาน ไม่สมควร, แต่เมื่อภิกษุผู้รับวิกัปกล่าวอย่างนี้ว่า มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จงจำหน่าย หรือจงกระทำตามปัจจัยก็ตาม ดังนี้ชื่อว่า ถอน, จำเดิมแต่นั้นแม้การใช้สอยเป็นต้น ควรอยู่
       อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทราบว่า บาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านี้ ก็ดี, ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านั้นก็ดี ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแหละ แล้วระบุชื่อแห่งบรรดาสหธรรมิกทั้ง ๕ รูปใดรูปหนึ่ง คือ ท่านใดท่านหนึ่งที่ตนชอบใจ แล้วพึงกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกขุโน วิกฺปเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุ ชื่อว่า ติสสะ ดังนี้ก็ดี, ว่า ติสฺสาย ภิกฺขุนิยา...ติสฺสาย สิกฺขมานาย... ติสฺสสฺส สามเณรสฺส...ติสสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุณีชื่อติสสา...แก่สิกขมานาชื่อติสสา...แก่สามเณรชื่อติสสะ...แก่สามเณรีชื่อติสสา ดังนี้ก็ดี นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้า, ด้วยคำเพียงเท่านี้ จะเก็บไว้สมควรอยู่ แต่บรรดากิจมีการบริโภคเป็นต้น แม้กิจอย่างหนึ่ง ก็ไม่ควร
          แต่เมื่อภิกษุผู้รับวิกัปนั้นกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกขุโน สนฺตกํ ฯลฯ ติสฺสาย สามเณริยา สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้ ของภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ ของสามเณรชื่อติสสา ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จงกระทำตามปัจจัยก็ตาม ดังนี้แล้วชื่อว่า ถอน, จำเดิมแต่นั้น แม้จะบริโภคเป็นต้น ก็สมควร
          -วิกัปลับหลังเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุทราบว่า บาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นนั่นแล แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือ อิเมฺ ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านี้ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านั้นก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺปนตฺถาย ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อต้องการวิกัป ดังนี้
          ภิกษุผู้รับวิกัปนั้นพึงถามเธอว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นเพื่อนเห็นกันของท่าน ลำดับนั้น ภิกษุผู้วิกัปนอกนี้ พึงกล่าวว่า ติสฺโส ภิกฺขุ ภิกษุชื่อว่า ติสฺส ฯลฯ หรือว่า ติสฺสา สามเณรี สามเณรีชื่อว่าติสสา โดยนัยก่อนนั่นแหละ ภิกษุนั้นพึงกล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน ทมฺมิ ฯลฯ หรือว่า ติสสาย สามเณริยา ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ หรือว่าข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา นี้ชื่อว่าวิกัปลับหลัง, ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ จะเก็บไว้ ควรอยู่, แต่กิจมีการบริโภคเป็นต้น ไม่ควร แต่เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า อิตฺถนฺนามสฺส สนฺตกํ ปริภุญช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้...ในวิกัปต่อหน้าอย่างที่สองนั่นแล ย่อมชื่อว่า ถอนจำเดิมแต่นั้น แม้การจะใช้สอยเป็นต้น ก็ควร

        ๖.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนปฐมสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค)

         ๗.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์/๒๓๐

                                 มาตราตวง
          ๑ มุฏฐิ (กำมือ)    เป็น ๑ กุฑวะ (ฝายมือ)
          ๒ กุฑวะ             เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
          ๓ ปัตถะ             เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน)
          ๔ นาฬี              เป็น ๑ อาฬหกะ




อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ   ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ    ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ ๑๕ ฯ 

คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน

Here he grieves, hereaafter he grieves, In both worlds the evil-doer grieves;
He mourns, he is afflicted, Beholding his own impure deeds. .
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2559 14:58:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2559 16:04:59 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๔๑)
ภิกษุมีบาตรมีแผลน้อยกว่า ๕ แผล ขอบาตรใหม่จากคฤหัสถ์
ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      นายช่างหม้อในนครกบิลพัสดุ์ผู้หนึ่ง กล่าวปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการบาตร กระผมจักถวายแก่พระคุณเจ้านั้น
       ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขาเป็นอันมาก ที่มีบาตรเล็กก็ขอบาตรใหญ่ ที่มีบาตรใหญ่ก็ขอบาตรเล็ก เขาหมดเวลาไปกับการทำบาตร ครอบครัวเดือดร้อน เป็นอยู่ลำบาก
       ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน...ภิกษุผู้มักน้อยทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน... แล้วกราบทูล... รับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุไม่ควรขอบาตร ภิกษุใดขอ ต้องอาบัติทุกกฎ”
       สมัยต่อมา บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอรังเกียจที่จะขอบาตร เพราะมีบัญญัติห้าม จึงได้ใช้มือทั้งสองเที่ยวบิณฑบาต ชาวบ้านติเตียนว่าเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล ทรงมีพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหาย หรือบาตรแตก ขอบาตรเขาได้”
       พระฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขัดเพียงเล็กน้อย ไม่รู้จักประมาณ พากันขอบาตรมาไว้เป็นอันมาก นายช่างหม้อเป็นอยู่ลำบาก ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน... ภิกษุได้ยิน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
       “อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นให้ในภิกษุบริษัท บาตรใบสุดแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า ภิกษุนี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้จนกว่าจะแตก นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น”

อรรถาธิบาย
       -บาตร ที่ชื่อว่า มีแผลหย่อนห้า คือ ไม่มีแผล มีแผล ๑ หรือมีแผล ๔
       -บาตร ที่ชื่อว่า ไม่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวไม่ถึงสององคุลี, บาตรที่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวถึงสององคุลี
       -บาตร ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายเอาบาตรที่ขอเขามา
       -ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฎในขณะขอ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
       ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานแล้วไปประชุม อย่าอธิษฐานบาตรเลวด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ถ้าอธิษฐานบาตรเลวด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ต้องอาบัติทุกกฎ

วิธีเสียสละบาตร
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้ามีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วสงฆ์พึงสมมติผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร
       องค์ ๕ คือ ๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบพอ  ๒. ...เพราะเกลียดชัง  ๓. ...เพราะงมงาย  ๔. ...เพราะกลัว  ๕.รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน จากนั้นสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร โดยขอภิกษุให้รับตกลงก่อนแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

คำสมมติ
       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความไว้อย่างนี้”
       ภิกษุผู้รับสมมติแล้ว พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงเปลี่ยนบาตร ถ้าพระเถระเปลี่ยนพึงถวายบาตรพระเถระ ให้พระทุติยเถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฎ ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมา โดยอุบายนี้แลตลอดจนถึงพระสังฆนวกะ ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบบาตรนั้นแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล้วสั่งกำชับว่า ดูก่อนภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปจนกว่าจะแตก  ดังนี้ ภิกษุนั้นอย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่าทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหายก็ช่าง จะฉิบหายก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กันก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ
      นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

อาบัติ
       ๑.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๕.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๖.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๗.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๘.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๙.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
      ๑๐.ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่งขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
      ๑๑.ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์

อนาบัติ
       ภิกษุมีบาตรหลาย ๑  ภิกษุมีบาตรแตก ๑  ขอต่อญาติ ๑  ขอต่อคนปวารณา ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๑๐๒๑-๑๐๒๕
       ๑.ช่างหม้อนั้นเป็นพระอริยสาวกโสดาบัน ถึงแม้ถูกรบกวนเป็นอันมาก ก็หาเสียใจไม่
       ๒.ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ ๕ แห่ง บาตรของภิกษุนั้นไม่จัดเป็นบาตร เพราะฉะนั้นจึงควรขอบาตรใหม่ได้
          -บาตรที่มีรอยร้าวรอยเดียว พึงเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะที่สุดริมล่างของรอยร้าวนั้น ระบมแล้วผูกรัดด้วยเชือกด้ายและเชือกปอเป็นต้น หรือด้วยลวดดีบุก พึงอุดแผลนั้นด้วยแผ่นดีบุก หรือด้ายยาว สำหรับติดบางอย่างเพื่อกันอามิส (มีข้าวเป็นต้น) ติด และพึงอธิษฐานไว้ใช้เถิด,  อนึ่ง พึงผูกทำช่องให้เล็ก; แต่จะยาด้วยขี้ผึ้ง ครั่ง และยางสนเป็นต้นล้วนๆ ไม่ควร, จะเคี่ยวน้ำอ้อยด้วยผงหิน ควรอยู่
       แต่บาตรที่ภิกษุเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะในที่ใกล้ขอบปากบาตรจะแตก เพราะแผ่นเหล็กหนา เพราะฉะนั้นจึงควรเจาะข้างล่าง, สำหรับบาตรที่มีรอยร้าว ๒ แห่ง หรือเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๔ องคุลี ควรให้เครื่องผูก ๒ แห่ง, พึงให้เครื่องผูก ๓ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๓ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียว แต่ยาวถึง ๖ องคุลี, พึงให้เครื่องผูก ๔ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๔ แห่ง หรือเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๘ องคุลี บาตรที่มีรอยร้าว ๕ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๑๐ องคุลี จะผูกก็ตาม ไม่ผูกก็ตาม ไม่จัดเป็นบาตรเลย ควรขอบาตรใหม่ ที่วินิจฉัยมานี้เป็นบาตรที่ทำด้วยหิน
       ๓.ส่วนวินิจฉัยในบาตรเหล็ก มีดังนี้
          ถ้าแม้มีช่องทะลุ ๕ แห่งหรือเกินกว่า และช่องทะลุเหล่านั้นอุดด้วยผงเหล็ก ด้วยหมุด หรือด้วยก้อนเหล็กกลม, เป็นของเกลี้ยงเกลา ควรใช้สอยบาตรนั้นนั่นแล ไม่ควรขอบาตรใหม่, แต่ถ้ามีช่องทะลุแม้ช่องเดียว แต่เป็นช่องใหญ่ แม้อุดด้วยก้อนเหล็กกลมก็ไม่เกลี้ยงเกลา, อามิสติดที่บาตรได้ เป็นอกัปปิยะ บาตรนี้ไม่ใช่บาตร ควรขอบาตรใหม่ได้
       ๔.ภิกษุผู้ได้สมมติ พึงเรียนถามพระเถระว่า ท่านขอรับ บาตรใบนี้มีขนาดถูกต้อง สวยดี สมควรแก่พระเถระ ขอท่านโปรดรับบาตรนั้นไว้เถิด, เมื่อพระเถระไม่รับไว้เพื่ออนุเคราะห์เป็นทุกกฎ แต่เพราะความสันโดษไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รับ ด้วยคิดว่าจะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยบาตรใบอื่น
     ๕.ผู้ได้บาตรใบสุดท้ายมาไม่พึงเก็บบาตรใบนั้นไว้ มีบนเตียง ตั่ง ร่ม หรือไม้ฟันนาค เป็นต้น  พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนเก็บบาตรดีใบก่อนไว้นั้นแล หรือเก็บตามที่ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรองบาตร” ดังนี้
         -ไม่พึงใช้บาตรโดยการใช้ไม่สมควร มีการต้มข้าวหรือต้มน้ำย่อมอยู่เป็นต้น แต่เมื่อเกิดอาพาธในระหว่างทาง เมื่อภาชนะอื่นไม่มี จะเอาดินเหนียวพอกแล้วต้มข้าวต้ม หรือต้มน้ำร้อน ควรอยู่
         -ไม่ควรให้แก่คนอื่น แต่ถ้าว่าสัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกวางบาตรที่ดีใบอื่นไว้แทน ถือเอาไปด้วยคิดว่าบาตรนี้ควรแก่เรา บาตรนี้ควรแก่พระเถระ ดังนั้นควรอยู่, หรือภิกษุอื่นถือเอาบาตรใบนั้นแล้วถวายบาตรของตน ก็ควร
       ๖.ในกุรุนทีกล่าวว่า ภิกษุมีบาตรเป็นแผลเพียง ๕ แห่ง จะขอบาตรใหม่ในที่ที่เขาปวารณาไว้ ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรอยู่ ถึงมีบาตรเป็นแผลหย่อน ๕ แห่ง จะขอในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ก็ควร
        ๗.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓      



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๔๒)
ภิกษุเก็บเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ไว้ได้ ๗ วัน
เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ท่านพระปิลันทวัจฉะให้คนชำระเงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำเป็นสถานที่หลีกเร้น พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาพบเข้า รับสั่งถามว่า พระคุณเจ้าต้องการคนทำการวัดบ้างไหม? พระปิลันทวัจฉะทูลว่า โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วบอกให้ข้าพเจ้าทราบ
       พระราชาเข้าเฝ้าทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด” พระราชาจึงเสด็จไปบอกท่านปิลันทวัจฉะ ตรัสว่า จักถวายคนทำการวัด, แล้วทรงลืม
       วันหนึ่งพระองค์ทรงระลึกได้ ตรัสถามอำมาตย์ว่า เวลาผ่านมากี่ราตรีแล้ว อำมาตย์ทูลว่า ๕๐๐ ราตรีพระพุทธเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงถวายไป ๕๐๐ คน
       คน ๕๐๐ คน เดินทางไปดูแลทำความสะอาดประจำแก่ท่านพระปิลันทวัจฉะ หมู่บ้านที่คน ๕๐๐ คนอยู่นั้น คนทั้งหลายเรียกว่า ตำบลบ้านอารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลันทวัจฉะบ้าง
       ครั้งหนึ่ง ท่านปิลันทวัจฉะเข้าไปบิณฑบาต ขณะนั้นหมู่บ้านมีมหรสพ พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดคนหนึ่งร้องขอดอกไม้ เครื่องตกแต่งกาย พระเถระถามมารดาเด็กนั้นว่า เด็กร้องอยากได้อะไร นางตอบว่า อยากได้ดอกไม้ เครื่องตกแต่งกาย ดิฉันบอกว่า เราเป็นคนจน จักได้มาแต่ที่ไหน
       พระเถระจึงนิรมิตหมวกฟางให้เป็นระเบียงดอกไม้ทองคำ มอบให้เด็กนั้น ชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า บ้านโน้นคงโจรกรรมมา รับสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้น พระปิลันทวัจฉะทราบแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ถามสาเหตุที่ตระกูลนั้นถูกจองจำ พระราชาตรัสว่า เพราะที่เรือนของเขามีระเบียงดอกไม้ทองคำน่าดูน่าชม แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจน ต้องได้มาด้วยโจรกรรมแน่นอน
       ขณะนั้น พระปิลันทวัจฉะอธิษฐานให้ปราสาทของพระราชาเป็นทองทั้งหมด ทูลถามว่า นี่ทองมากมาย มหาบพิตรได้มาแต่ไหน
       พระราชาทราบว่าเป็นอิทธานุภาพของพระเถระ รับสั่งให้ปล่อยตระกูลนั้น
       คนทั้งหลายทราบข่าวว่าท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ต่างเลื่อมใส ได้นำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระเถระ ท่านได้แบ่งให้ภิกษุบริษัท แต่ภิกษุบริษัทมักมาก เก็บเภสัชไว้มากมาย เก็บไว้ในกระถางบ้าง หม้อน้ำบ้าง ถุงย่ามบ้าง แขวนไว้ที่หน้าต่างบ้าง เภสัชเหล่านั้นเยิ้มซึม พวกหนูพากันมาเกลื่อนกล่นทั่ววิหาร ชาวบ้านติเตียน ภิกษุผู้มักน้อยพากันติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า  “อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

       -ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจากน้ำนมโคบ้าง น้ำนมแพะบ้าง น้ำนมกระบือบ้าง มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร เนยใสที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นก็ใช้ได้
       -ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น
       -ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง เมล็ดพันธุ์ผักบ้าง เมล็ดมะซางบ้าง เมล็ดละหุ่งบ้าง จากเปลวสัตว์บ้าง
       -ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ รสหวานที่แมลงผึ้งทำ
       -ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย
       -ภิกษุรับประเคนของเหล่านั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก ภิกษุให้ล่วงกำหนดเมื่ออรุณที่ ๘ ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนเภสัชให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ดังนี้ “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป... “ท่านเจ้าข้า... ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า เภสัชนี้... ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... “ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้... ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุรู้ว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุคิดว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.เภสัชยังไม่ได้ผูกใจ ภิกษุสำคัญว่าผูกใจแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๕.เภสัชยังไม่ได้แจกจ่ายไป ภิกษุคิดว่าแจกจ่ายไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๖.เภสัชยังไม่สูญหายไป ยังไม่เสีย ยังไม่ถูกไฟไหม้ ยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุคิดว่าสูญหายแล้ว เสียแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว ถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๗.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุคิดว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องทุกกฎ
       ๘.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
       ๙.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ล่วง ๗ วัน บริโภค ไม่ต้องอาบัติ
          เภสัชที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกาย และไม่ควรฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีปหรือในการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกายได้อยู่ แต่ไม่ควรฉัน

อนาบัติ
       ภิกษุผูกใจไว้ว่า จะไม่บริโภค ๑  ภิกษุแจกจ่ายให้ไป ๑  เภสัชนั้นสูญหาย ๑  เภสัชนั้นเสีย ๑  ถูกไฟไหม้ ๑  ถูกโจรชิงเอาไป ๑   ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ในภายในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้คืนมา ฉันได้ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๐๓๖-๑๐๕๔
       ๑.อธิบายวิธีปฏิบัติในการรับประเคนเภสัชต่างๆ
          จะกล่าวถึงเนยใสก่อน ที่ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน ควรจะฉันเจืออามิส (ภัตตาหาร) ก็ได้ ปราศจากอามิสก็ได้ ตั้งแต่ภายหลังฉัน (ภัต) ไป พึงฉันปราศจากอามิสในวันนั้นได้ตลอด ๗ วัน, แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ถ้าภิกษุเก็บไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว ถ้าเก็บไว้ในภาชนะมากหลาย เป็นนิสสัคคีย์หลายตัวตามจำนวนวัตถุ
          เนยใสที่ภิกษุรับประเคนภายหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสเลยตลอด ๗ วัน ภิกษุจะกลืนกินเนยใสที่ตนทำให้เป็นอุคคหิตถ์ (ภิกษุจับต้องของนั้นก่อนที่ทายกจะประเคน) จะเก็บไว้ในเวลาก่อนฉัน หรือหลังฉัน ย่อมไม่ควร, พึงน้อมไปใช้ในกิจอื่น มีการใช้ทาเป็นต้น แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะถึงความเป็นของไม่ควรกลืนกิน
          -ถ้าอนุปสัมบันทำเนยใสด้วยเนยข้นที่รับประเคนไว้ในเวลาก่อนฉันถวาย จะฉันกับอามิสในเวลาก่อนฉัน ควรอยู่ ถ้าภิกษุทำเอง ฉันไม่เจืออามิสเลย ย่อมควรแม้ตลอด ๗ วัน แต่เนยใสที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำด้วยเนยข้นที่รับประเคนในเวลาหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสตลอด ๗ วันเหมือนกัน
       ๒.อธิบายวิธีปฏิบัติในเนยใสและเนยข้น
          เนยใสทำด้วยนมสดที่ภิกษุรับประเคนไว้ก่อนฉันก็ดี ด้วยนมส้มก็ดี ที่อนุปสัมบันทำ ควรฉันได้ แม้เจืออามิสในเวลาก่อนฉันวันนั้น ที่ภิกษุทำเอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว ในภายหลังฉันไม่ควร, ตั้งแต่หลังฉันไปก็ไม่ควรเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติแม้ในเพราะล่วง ๗ วันไป เพราะรับประเคนในเวลาฉัน ควรน้อมไปใช้ในกิจ มีการทาตัวเป็นต้น, เนยใสที่ทำด้วยนมสด นมส้ม ซึ่งเป็นอุคคหิตถ์ แม้ในเวลาก่อนฉัน (ก็ควรน้อมเข้าไปใช้ในกิจ มีการทาตัวเป็นต้น) ไม่เป็นอาบัติ แม้เนยใสทั้งสองจะล่วง ๗ วัน ในเนยใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
       ๓.อธิบายวิธีปฏิบัติในเภสัช คือ น้ำมัน
          บรรดาจำพวกน้ำมัน จะว่าถึงน้ำมันงาก่อน ที่รับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิส ย่อมควรในเวลาก่อนฉัน, ตั้งแต่หลังฉันไป ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร, ผู้ศึกษาพึงทราบความที่น้ำมันงานั้นเป็นนิสสัคคีย์ด้วยจำนวนภาชนะ เพราะล่วง ๗ วันไป, น้ำมันงาที่รับประเคนภายหลัง ฉันปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร ตลอด ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ, น้ำมันงาที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในเวลาก่อนภัต เจืออามิสย่อมควรในก่อนภัต, ตั้งแต่หลังภัตไป เป็นของไม่ควรกลืนกิน พึงน้อมไปในกิจมีการทาศีรษะ เป็นต้น แม้เกิน ๗ วัน ก็ไม่เป็นอาบัติ, น้ำมันที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในเวลาหลังภัตแล้วทำ เป็นของไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน เพราะรับประเคนทั้งวัตถุ (รับประเคนพร้อมอาหาร) พึงน้อมไปในการทาเป็นต้น, แม้ในน้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดงาที่ภิกษุจับต้องในก่อนภัตหรือหลังภัต ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
         น้ำมันที่คั่วเมล็ดงา ซึ่งภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนภัต แล้วนึ่งแป้งงา หรือให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่นทำ ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสย่อมควรในก่อนภัต, ที่ตนทำเอง เพราะปล้อนวัตถุออกแล้ว ไม่มีอามิสเลย (แยกน้ำมันออกจากอาหาร) จึงควรในก่อนภัต เพราะเป็นน้ำมันที่เจียวเองเจืออามิส จึงไม่ควร, ก็เพราะเป็นของที่รับประเคนพร้อมวัตถุ แม้ทั้งสองอย่าง จึงไม่ควรกลืนกิน จำเดิมแต่หลังภัตไป พึงน้อมไปในการทาศีรษะเป็นต้น แม้จะล่วง ๗ วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ, แต่ถ้าว่า น้ำอุ่นมีน้อย น้ำนั้นเพียงแต่ว่าพรมลงเท่านั้น เป็นอัพโพหาริก (มีแต่ไม่ปรากฏ, ก็เหมือนไม่มี) ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นสามปักกะ, แม้ในน้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่ภิกษุรับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในน้ำมันงาที่ไม่มีวัตถุนั่นแล
          ก็ถ้าว่า ภิกษุอาจเผื่อทำน้ำมันจากผงแห่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่รับประเคนไว้เวลาก่อนภัต โดยเจียวด้วยแสงแดด, น้ำมันนั้นแม้เจือด้วยอามิส ย่อมควรในก่อนภัต ตั้งแต่หลังภัตไปไม่เจืออามิสเลย จึงควร, ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์
          อนึ่ง เพราะภิกษุทั้งหลาย นึ่งผงเมล็ดพันธุ์ผักกาดและมะซางเป็นต้น และคั่วเมล็ดละหุ่ง แล้วกระทำน้ำมันอย่างนี้, ฉะนั้น น้ำมันของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นที่พวกอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนฉัน ก็เพราะวัตถุเป็นยาวชีวิก จึงไม่มีโทษ, ในการรับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ ฉะนี้แล, น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้นที่ตนเองทำ พึงบริโภคโดยการบริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียวตลอด ๗  วัน น้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่เป็นอุคคหิตถ์ ไม่ควรกลืนกิน ควรแก่การใช้สอยภายนอก, แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ
          น้ำมันที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดพันธุ์ผักกาด มะซาง และเมล็ดละหุ่ง เพื่อต้องการจะทำน้ำมัน แล้วทำในวันนั้นนั่นเอง เป็นสัตตาหกาลิก, ทำในวันรุ่งขึ้นควรบริโภคได้ ๖ วัน, ทำในวันที่ ๓ ควรบริโภคได้ ๕ วัน แต่ที่ทำในวันที่ ๔ ควร ๓ วัน  ในวันที่ ๕ ควร ๒ วัน  ในวันที่ ๖ ควร ๑ วัน  ในวันที่ ๗ ควรในวันนั้นเท่านั้น, ถ้ายังคงอยู่จนถึงอรุณขึ้นเป็นนิสสัคคีย์, ที่ทำในวันที่ ๘ ไม่ควรกลืนกินเลย แต่ควรใช้ภายนอกเพราะเป็นของยังไม่เสียสละ, แม้ถ้าว่าไม่ทำ ในเมื่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่ตนรับไว้เพื่อประโยชน์แก่น้ำมันเป็นต้น ล่วงกาล ๗ วันไป ก็เป็นทุกกฎอย่างเดียว
          อนึ่ง น้ำมันผลไม้มะพร้าว เมล็ดสะเดา สะคร้อ เล็บเหยี่ยว และสำโรง (บางแห่งว่าเมล็ดฝ้าย) แม้เหล่าอื่นที่ไม่ได้มาในพระบาลี ก็ยังมี  เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมันเหล่านั้นแล้วให้ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฎในมะพร้าวเป็นต้นเหล่านี้ มีความแปลกกัน ดังนี้  พึงกำหนดวัตถุแห่งยาวกาลิกที่เหลือแล้ว ทราบวิธีการแห่งสามปักกะ (ให้สุกเอง) สวัตถุ (ของที่รับทั้งวัตถุ) ของที่รับประเคนในก่อนภัต ประเคนในหลังภัต และอุคคหิตวัตถุ (ของที่ยังไม่ได้รับประเคนภิกษุจับต้อง) ทั้งหมด ตามนัยที่กล่าวแล้ว
       ๗.อธิบายน้ำมันที่ทำจากเปลวสัตว์ต่างๆ
          ที่ทรงอนุญาตไว้ใน วินย.มหาวิ. ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเปลวมัน ๕ ชนิด คือ เปลวหมี เปลวปลา เปลวปลาฉลาม เปลวสุกร เปลวลา
          ก็บรรดาเปลวมัน ๕ ชนิดนี้ ด้วยคำว่า เปลวหมี  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเปลวมันแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะทั้งหมด เว้นเปลวมันแห่งมนุษย์เสีย,  อนึ่ง แม้ปลาฉลาม ก็เป็นอันพระองค์ทรงถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า ปลา แต่เพราะปลาฉลามเป็นปลาร้าย พระองค์จึงตรัสแยกไว้ต่างหาก ในบาลีนี้ทรงอนุญาตเปลวมันแห่งสัตว์มีมังสะเป็นกัปปิยะทั้งหมด ด้วยศัพท์ว่า ปลา เป็นต้น
          ในจำพวก (เนื้อ) มังสะแห่งมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู สีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว รวม ๑๐ ชนิด เป็นอกัปปิยะ, บรรดาเปลวมัน เปลวมันของมนุษย์อย่างเดียวเป็นอกัปปิยะ, บรรดาอวัยวะอย่างอื่นมีน้ำนมเป็นต้น ชื่อว่าเป็นอกัปปิยะ ไม่มี, น้ำมันเปลวที่พวกอนุปสัมบันทำและกรองแล้ว ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิส ก็ควรก่อนฉัน  ตั้งแต่หลังฉันไปไม่เจืออามิสเลว จึงควรตลอด ๗ วัน, วัตถุใดที่คล้ายกับธุลีอันละเอียด เป็นมังสะก็ดี เอ็นก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี ปนอยู่ในเปลวมันนั้น วัตถุนั้นจัดเป็นอัพโพหาริก
       ก็ถ้าว่า ภิกษุรับประเคนเปลวมัน กระทำน้ำมันเอง รับประเคนแล้วเจียว กรองเสร็จในเวลาก่อนภัต พึงบริโภคโดยบริโภคปราศจากอามิสตลอด ๗ วัน, แท้จริงทรงหมายถึงการบริโภคปราศจากอามิส จึงตรัสคำนี้ว่า รับประเคนในกาล เจียวเสร็จในกาล กรองในกาล ควรเพื่อบริโภคอย่างบริโภคน้ำมันมังสะที่ละเอียดเป็นต้น แม้ในน้ำมันที่รับประเคนเปลวมัน แล้วเจียวกรองนั้น ก็เป็นอัพโพหาริก, แต่จะรับประเคนหรือเจียวในหลังภัต ไม่ควรเลย สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนเปลวมันในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล กรองในวิกาล ถ้าภิกษุบริโภคน้ำมันนั้น ต้องทุกกฎ ๓ ตัว, ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้นต้องทุกกฎ ๒ ตัว, ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้นต้องทุกกฎ ๑ ตัว, ถ้ารับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้น ไม่เป็นอาบัติ ดังนี้
       ๕.อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำผึ้ง
          น้ำหวานที่พวกผึ้งใหญ่ แมลงผึ้งตัวเล็ก และจำพวกแมลงภู่ ซึ่งมีชื่อว่า แมลงทำน้ำหวาน (น้ำผึ้ง) ทำแล้ว, น้ำผึ้งนั้น ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้จะบริโภคเจืออามิสในก่อนภัตก็ควร แต่หลังภัตไปควรบริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียวตลอด ๗ วัน, ล่วง ๗ วันไป ถ้าน้ำผึ้งชนิดหนามากเป็นเช่นกับยาง (เคี่ยวให้ข้น) ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่เก็บไว้ หรือน้ำผึ้งชนิดบาง นอกนี้เก็บไว้ในภาชนะต่างๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์มากตามจำนวนวัตถุ มีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หรือน้ำผึ้งบางนอกนี้ก็เก็บรวมไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว น้ำผึ้งที่เป็นอุคคหิตถ์พึงทราบตามที่กล่าวแล้ว  พึงน้อมไปในกิจมีทาแผลเป็นต้น รังผึ้งหรือขี้ผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งไม่ติด บริสุทธิ์ เป็นยาวชีวิก, แต่ที่มีน้ำผึ้งติดอยู่เป็นดังน้ำผึ้ง, ในรังของแมลงผึ้ง มีน้ำผึ้งคล้ายยาง น้ำผึ้งนั้นเป็นยาวชีวิก
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2559 16:08:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2559 16:07:27 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๔๒)
ภิกษุเก็บเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ไว้ได้ ๗ วัน
เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ต่อ)

      ๖.อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำอ้อย
          น้ำอ้อยชนิดที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือที่เคี่ยวแล้วไม่มีกาก หรือที่ไม่มีกากแม้ทั้งหมด จนกระทั่งน้ำอ้อยสด พึงทราบว่า “น้ำอ้อย”, น้ำอ้อยที่ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนภัต แต่หลังภัตไปไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน, ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนวัตถุ, ก้อนน้ำอ้อยแม้มาก ภิกษุย่อยให้แหลกแล้วใส่ไว้ในภาชนะเดียวกัน ย่อมจับรวมกันแน่น เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว, น้ำอ้อยที่เป็นอุคคหิตถ์ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว พึงน้อมไปในกิจมีการอบเรือนเป็นต้น
          น้ำอ้อยที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง ภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควร, ถ้าภิกษุทำเอง ไม่เจืออามิสเลย จึงควร, จำเดิมแต่หลังภัตไป ไม่ควรกลืนกิน เพราะเป็นการรับประเคนทั้งวัตถุ, แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ, แม้ที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่ภิกษุรับประเคน ทั้งที่ยังไม่ได้กรองในเวลาหลังภัต ก็ไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ แม้ในผาณิต (น้ำอ้อย) ที่ภิกษุรับประเคนอ้อยเป็นลำทำ ก็มีนัยนี้
          ก็ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและรับประเคนไว้ในกาลก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก็ภัต แต่หลังภัตไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน, ที่ทำเองไม่เจืออามิสเลยย่อมควรแม้ในก่อนภัต แต่หลังภัตไปไม่เจืออามิส ควรตลอด ๗ วัน,  แต่ผาณิตทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและประเคนแล้วในหลังภัตปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควรตลอด ๗ วัน ผาณิตที่เป็นอุคคหิตถ์มีดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          -ผาณิต (รสหวาน) ของดอกมะซางที่เขาทำด้วยน้ำเย็น แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนภัต หลังภัตไปไม่เจืออามิส จึงควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฎตามจำนวนวัตถุ, ส่วนผาณิตมะซางที่เขาเติมนมสดทำเป็นยาวกาลิก แต่ชนทั้งหลายตักเอาฝ้า (ฟอง) นมสดออกแล้วๆ ชำระขัณฑสกรให้สะอาด เพราะฉะนั้นขัณฑสกรนั้นก็ควร, ส่วนดอกมะซางสดย่อมควรแม้ในเวลาก่อนภัต คั่วแล้วก็ควร, คั่วแล้วตำผสมด้วยของอื่น มีเมล็ดงาเป็นต้น หรือไม่ผสม ก็ควร
          แต่ถ้าว่า ชนทั้งหลายถือเอามะซางนั้นประกอบกันเข้า (ปรุง) เพื่อต้องการเมรัย ดอกมะซางที่ปรุงแล้วนั้นย่อมไม่ควรตั้งแต่พืช, ผาณิต (รสหวาน) แห่งผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกทั้งหมด มีกล้วย ผลอินทผลัม (เป้งก็ว่า) มะม่วง ลิเก ขนุน และมะขาม เป็นต้น เป็นยาวกาลิกเหมือนกัน
          ถ้าภิกษุรับประเคนเภสัช ๕ อย่าง มีเนยเป็นต้นแม้ทั้งหมด เก็บไว้ไม่แยกกันในหม้อเดียว ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว, เมื่อแยกเก็บเป็นนิสสัคคีย์ ๕ ตัว
       ๗.อธิบายข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ๗ อย่าง
          (๑) ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อสด เลือดสด ในเพราะอาพาธอันเกิดจากอมนุษย์ เนื้อสดและเลือดสดนั้นควรแก่ภิกษุผู้อาพาธทั้งหลาย ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น ก็แลเนื้อสดและเลือดสดนั้นเป็นกัปปิยะก็ดี เป็นอกัปปิยะก็ดี ย่อมควรทั้งนั้น ทั้งในกาลและทั้งในวิกาล
          (๒) ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเรออวก แก่ภิกษุผู้มักเรออวก  ภิกษุทั้งหลาย แต่ที่เรออวกออกมานอกทวารปากแล้ว ไม่ควรกลืนกิน การเรออวกนั้นควรแก่ภิกษุผู้มักเรออวกนั้นเท่านั้น ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น
          (๓) ทรงอนุญาตเฉพาะกาลที่ภิกษุถูกงูกัด ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยามหาวิกัฏ ๔ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ยามมหาวิกัฎนั่น เฉพาะในกาลนั้นแม้ไม่รับประเคนก็ควร ในกาลอื่นหาควรไม่
          (๔) ทรงอนุญาตเฉพาะสมัย ได้แก่ อนาบัติทั้งหลายที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะสมัยนั้นๆ โดยมีนัยว่า (เป็นปาจิตตีย์) ในเพราะคณโภชนะ เว้นแต่สมัย ดังนี้เป็นต้น
          (๕) ทรงอนุญาตเฉพาะประเทศ ได้แก่ สังฆกรรมมีการอุปสมบทเป็นต้น ที่ทรงอนุญาตเฉพาะในปัจจันตประเทศ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ในปัจจันตชนบทเห็นปานนี้ สังฆกรรมมีอุปสมบทเป็นต้นนั้น ย่อมควรเฉพาะในปัจจันตชนบทเท่านั้น ในมัชฌิมประเทศหาควรไม่
          (๖) ทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลว ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเปลวมันเป็นเภสัช เปลวมันเภสัชนั้นของจำพวกสัตว์ มีเปลวมันเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะทั้งหลาย เว้นเปลวมันของมนุษย์เสีย ย่อมควรเพื่อบริโภคอย่างบริโภคน้ำมัน แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยน้ำมันนั้น
          (๗) ทรงอนุญาตเฉพาะเภสัช ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ที่สามารถแผ่ไปเพื่อให้สำเร็จกิจ คือ อาพาธ ซึ่งทรงอนุญาตไว้โดยชื่อแห่งเภสัชอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัช ๕ เภสัช  เภสัช ๕ เหล่านั้น ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงบริโภคได้ตามสบายในปุเรภัตในวันนั้น ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุพึงบริโภคได้ตลอด ๗ วัน
       ๘.ภิกษุอย่าพึงเอาเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์ทาร่างกาย หรือทาแผลที่ร่างกาย แม้บริขารมีผ้ากาสาวะ ไม้เท้า รองเท้า เขียงเช็ดเท้า เตียงและตั่ง เป็นต้น หากถูกเภสัชนั้นแล้ว เป็นของไม่ควรบริโภคใช้สอย, แม้จะทาที่จับมือแห่งบานประตูและหน้าต่าง ก็ไม่ควรทา
          -ในภายใน ๗ วัน ภิกษุอธิษฐานเนยใส น้ำมัน และเปลวมัน ไว้เป็นน้ำมันทาศีรษะ หรือเป็นน้ำมันสำหรับหยอด, อธิษฐานน้ำผึ้งไว้เป็นยาทาแผล น้ำอ้อยเป็นเครื่องอบเรือน ย่อมไม่เป็นอาบัติ
          -ถ้าเภสัชนั้นเป็นของ ๒ เจ้าของ ภิกษุรูปหนึ่งรับประเคนไว้ แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน เมื่อล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติทั้ง ๒ รูป แต่ไม่ควรบริโภค, ถ้ารูปใดรับประเคนไว้ รูปนั้นกล่าวกะอีกรูปหนึ่งว่า ท่านผู้มีอายุ น้ำมันนี้ถึง ๗ วันแล้ว ท่านจงบริโภคน้ำมันนั้นเสีย ดังนี้  และเธอก็ไม่ทำการบริโภค จะเป็นอาบัติแก่ใคร?  ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ใครๆ ทั้งนั้น  เพราะเหตุไร? เพราะรูปที่รับประเคนก็สละแล้ว อีกรูปหนึ่งก็ไม่ได้รับประเคน (นี้เป็นคำอธิบายอนาบัติว่าด้วยถือวิสาสะ)
          -เภสัชอันภิกษุสละแล้ว ไม่มีความห่วงใย ให้แล้วแก่สามเณร, ท่านพระมหาสุมเถระกล่าวว่า ตรัสไว้เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ให้แล้วในภายใน ๗ วัน ภายหลังได้คืนมาแล้วฉัน
          ส่วนท่านพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า น้ำมัน (ที่สละแล้ว) นี้ ภิกษุไม่ควรขอ ด้วยว่าในเพราะการบริโภคใหม่ซึ่งน้ำมันที่ให้ไปแล้วในภายใน ๗ วัน ไม่มีอาบัติเลย  แต่ตรัสคำนี้ก็เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติในเพราะการบริโภคน้ำมันที่ล่วง ๗ วันไป เพราะเหตุนั้นเภสัชที่เขาถวายแล้วอย่างนี้ ถ้าสามเณรปรุงแล้ว หรือไม่ได้ปรุงถวายแก่ภิกษุนั้น เพื่อกระทำการนัตถุ์, ถ้าสามเณรเป็นผู้เขลา ไม่รู้เพื่อจะถวาย ภิกษุอื่นพึงบอกเธอว่า แน่ะสามเณร เธอมีน้ำมันหรือ เธอรับว่า ขอรับ มีอยู่  ภิกษุพึงบอกเธอว่า นำมาเถิด เราจักทำยาถวายพระเถระ น้ำมันย่อมควรแม้ด้วยการถือเอาอย่างนี้
       ๙.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๒ คือ กายวาจา ๑ กายวาจากับจิต ๑ เป็นอกิริยา อจิตตกะปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓      




อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ  กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ  ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ ๑๖ ฯ

คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้ คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน 

Here he rejoices, hereafter he rejoices, In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices, Seeing his own pure deeds.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2559 15:00:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 16:14:08 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๔๓)
ภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนเกิน ๑ เดือน
และทำผ้านุ่งเกิน ๑๕ วันก่อนวันเข้าพรรษา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแล้ว จึงแสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง ครั้นผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้วก็เปลือยกายอาบน้ำฝน
       ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า "ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอรู้ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"

อรรถาธิบาย
       -คำว่า ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนได้ อธิบายว่า ภิกษุพึงเข้าไปหาชาวบ้านที่เคยถวายจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนมาก่อน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า "ถึงกาลแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงสมัยแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว แม้ชาวบ้านเหล่าอื่นก็ถวายจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน" ดังนี้ แต่อย่าพูดว่า จงให้จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนแก่อาตมา จงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยน จงจ่ายจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา ดังนี้เป็นต้น
       -เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่กึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านเจ้าข้า จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อนซึ่งยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์"
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ "ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของภิกษุ มีชื่อว่า เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่งสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้

วิธีเสียสละแก่คณะ
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป..."ท่านเจ้าข้า จีวร คือผ้าอาบน้ำฝน... ข้าพเจ้าสละจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย"
       ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า "ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า... ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้"

วิธีเสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... "ท่าน จีวรคือผ้าอาบน้ำฝน... ข้าพเจ้าสละจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน" ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยคำว่า "ข้าพเจ้าให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน" ดังนี้

อาบัติ
       ๑.ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุรู้ว่าเกิน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.ฤดูร้อนยังเหลือเกินว่า ๑ เดือน ภิกษุคิดว่ายังไม่ถึง...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุรู้ว่าเกิน ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๕.ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสงสัย ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๖.ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุคิดว่ายังไม่ถึง ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๗.เมื่อผ้าอาบน้ำฝนมี ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องทุกกฏ
       ๘.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุคิดว่าเกิน แสวงหา ต้องทุกกฏ
       ๙.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฏ
       ๑๐.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ถึง... ไม่ต้องอาบัติ
       ๑๑.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุคิดว่าเกิน... ต้องทุกกฏ
       ๑๒.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฏ
       ๑๓.ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ถึงกึ่งเดือน ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน แสวงหา, ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑  ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน แสวงหา ๑  ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑ เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุแสวงหาได้แล้ว ฝนแล้ง  เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุทำนุ่งแล้ว เมื่อฝนแล้ง ซักเก็บไว้ ๑  ภิกษุนุ่งในสมัย ๑  ภิกษุมีจีวรถูกโจรชิงไป ๑  จีวรหาย ๑  มีอันตราย ๑  โจรชิงผ้ามีราคาที่ภิกษุนุ่งอาบน้ำฝน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๑๐๖๒-๑๐๖๗
       ๑.ผ้าอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ในเรื่องนางวิสาขา ในจีวรขันธกะ
          - ภิกษุทำให้สำเร็จลงด้วยการเย็บ ย้อม และกัปปะเป็นที่สุด และภิกษุเมื่อจะทำ พึงกระทำผืนเดียวเท่านั้น แล้วอธิษฐานในสมัย จะอธิษฐาน ๒ ผืน ไม่ควร
       ๒.ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังจากวันเพ็ญของเดือน ๗ ไปจนถึงวันอุโบสถในกาฬปักษ์ข้างแรมนี้ เป็นเขตแห่งการแสวงหาและเขตแห่งการกระทำ แท้จริงในระหว่างนี้ ภิกษุจะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ และจะทำผ้าอาบน้ำฝนที่ได้แล้ว ควรอยู่ จะนุ่งห่มและจะอธิษฐาน ไม่ควร
          กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันอุโบสถในกาฬปักษ์ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ เป็นเขตแห่งการแสวงหา การกระทำ และการนุ่งห่ม  ในระหว่างนี้จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนซึ่งยังไม่ได้กระทำ ผ้าที่ได้แล้วจะนุ่งห่ม ควรอยู่ จะอธิษฐานอย่างเดียว ไม่ควร
          ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันเพ็ญเดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา (เดือน ๑๒) ๔ เดือนนี้ เป็นเขตแห่งการแสวงหา การกระทำ การนุ่งห่ม และการอธิษฐาน  ในระหว่างนี้จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ หรือจะกระทำผ้าที่ได้แล้ว จะนุ่งห่มและจะอธิษฐาน ควรอยู่
         อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันเพ็ญเดือน ๑๒ ไปจนถึงวันเพ็ญแห่งเดือน ๘ ต้น ๗ เดือนนี้ ชื่อว่า ปัฏฐิสมัย (หลังสมัย) ในระหว่างนี้เมื่อภิกษุทำการเตือนสติ โดยนัยเป็นต้นว่า กาลแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้วให้จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน สำเร็จจากที่ของคนผู้ไม่ใช่ญาติและไม่ใช่ปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้  เมื่อกระทำวิญญัติโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านจงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนแก่เรา แล้วให้สำเร็จเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๖ แห่งจีวรวรรค) เมื่อกระทำการเตือนสติโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ให้สำเร็จจากที่แห่งญาติและคนปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล (สิกขาบทนี้แม้ขอจากญาติและคนปวารณามาทำ ก็ไม่พ้นอาบัติ)
           อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันเพ็ญแห่งเดือน ๗ ต้น ไปจนถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา (เดือน ๑๒ ตกในราวปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน)  ๕ เดือนนี้ชื่อว่า กุจฉิสมัย (ท้องสมัย) ในระหว่างนี้เมื่อภิกษุทำการเตือนสติโดยนัยที่กล่าวแล้ว ให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนสำเร็จจากที่แห่งคนผู้มิใช่ญาติมิได้ปวารณา เป็นทุกกฏ เพราะเสียธรรมเนียม  แต่พวกชาวบ้านซึ่งเคยถวายจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน แม้ในกาลก่อน ถึงหากว่าจะเป็นผู้มิใช่ญาติและมิใช่ผู้ปวารณาของตน ก็ไม่มีการเสียธรรมเนียมเพราะทำการเตือนสติ ในชนเหล่านั้นทรงอนุญาตไว้ เมื่อภิกษุกระทำวิญญัติให้สำเร็จเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยอัญญาตกวิญญัติสิกขาบท เพราะเหตุไร?  เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านผู้เคยถวายจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น      
          ก็จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนนี้ ตามปกติย่อมมีแม้ในหมู่ทายกผู้ถวายผ้าอาบน้ำฝนนั่นแล  เมื่อภิกษุเตือนให้เกิดสติโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง แล้วให้สำเร็จจากที่แห่งคนผู้เป็นญาติและคนปวารณาไม่เป็นอาบัติด้วยสิกขาบทนี้  เมื่อกระทำวิญญัติให้สำเร็จมา ไม่เป็นอาบัติด้วยอัญญาตกวิญญัติสิกขาบท คำว่า ไม่พึงบอกเขาว่า จงถวายแก่เรา นี้ตรัสหมายถึงคนผู้มิใช่ญาติและมิใช่ปวารณานั่นเอง
       ๓.ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนนั้น พระวินัยธรอย่าปรับตามจำนวนเมล็ดฝน พึงปรับด้วยทุกกฏทุกๆ ประโยค ด้วยอำนาจเสร็จการอาบน้ำ ก็ภิกษุนั้นอาบน้ำที่ตกลงมาจากอากาศอยู่ในลานที่เปิดเผย (กลางแจ้ง) เท่านั้น (จึงต้องทุกกฏ) เมื่ออาบอยู่ในซุ้มอาบน้ำและในบึงเป็นต้น หรือด้วยน้ำที่ใช้หม้อตักรด (ตักอาบ) ไม่เป็นอาบัติ
       ๔.ถ้าเมื่อผ้าอาบน้ำฝนทำเสร็จแล้ว พวกภิกษุให้เดือนท้ายฤดูสิ้นไปแล้ว เดือนต้นฤดูฝนนั่นแหละขึ้นมาเป็นเดือนท้ายฤดูร้อนอีก พึงซักผ้าอาบน้ำฝนเก็บไว้ ไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้องวิกัป ได้บริหารตลอด ๒ เดือน พึงอธิษฐานในวันวัสสูปนายิกา (วันเข้าพรรษา) ถ้าว่าผ้าอาบน้ำฝนภิกษุมิได้ทำเพราะหลงลืมสติ หรือเพราะผ้าไม่พอก็ดี ย่อมได้บริหารตลอด ๖ เดือน คือ ๒ เดือนนั้นด้วย ๔ เดือนฤดูฝนด้วย  แต่ถ้าภิกษุกรานกฐินในเดือนกัตติกา ย่อมได้บริหารอีก ๔ เดือน รวมเป็น ๑๐ เดือน ด้วยประการอย่างนี้ แม้ต่อจาก ๑๐ เดือนนั้นไป เมื่อมีความหวังจะได้ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุผู้ทำให้เป็นจีวรเดิมเก็บไว้ ได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ดังนั้นจึงได้บริหารตลอด ๑๑ เดือน อย่างนี้
          ในกุรุนทีกล่าวถึงที่สุดแห่งนิสสัคคีย์ว่า ผ้าอาบน้ำฝนควรอธิษฐานเมื่อไร? ก็แลผ้าอาบน้ำฝนที่สำเร็จแล้วภายใน ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่ได้มา ควรอธิษฐานภายใน ๑๐ วันนั้นนั่นแหละ ถ้าผ้าไม่พอย่อมได้บริหารไปจนถึงเพ็ญเดือน ๑๒
       ๕.สิกขาบททนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
       ๖.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
          ผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฎิกา) - ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะ ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และทำให้นุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘      




น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตฺถฺ สหสา นเย
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๒๕๖ ฯ

ผู้ที่ตัดสินความโดยหุนหันพลันแล่น ไม่จัดเป็นผู้เที่ยงธรรม
ส่วนผู้ที่ฉลาด วินิจฉัยรอบคอบ ทั้งฝ่ายถูก และฝ่ายผิด
(จึงจัดเป็นผู้เที่ยงธรรม).  

He who hastily arbitrates Is not known as 'just'
The wise investigating right and wrong
(Is known as such). .
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2559 16:50:24 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 16 กันยายน 2559 17:09:23 »


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๔๔)
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่น โกรธแล้วชิงเอาคืนมาก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นชิงคืนมาก็ดี ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      พระอุปนันทศากยบุตร กล่าวชวนภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกันว่า จงมา เราจะพากันเที่ยวไปตามชนบท ภิกษุนั้นตอบว่า ผมไม่ไปขอรับ เพราะมีจีวรเก่า  ท่านอุปนันทะกล่าวว่า ไปเถิด ผมจักให้จีวรแก่ท่าน แล้วได้ให้จีวรแก่ภิกษุรูปนั้น
       ภิกษุรูปนั้นได้ทราบข่าวการเสด็จของพระศาสดา คิดว่าเราจักไม่ไปกับท่านอุปนันทะ จักตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปตามชนบท
       ครั้นถึงกำหนดเดินทาง เธอแจ้งแก่ท่านอุปนันทะๆ โกรธ น้อยใจ ได้ชิงจีวรที่ให้นั้นคืนมา ภิกษุนั้นแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ เพ่งโทษติเตียน... แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -โกรธ น้อยใจ คือ ไม่ชอบ มีใจฉุนเฉียว เกิดมีใจกระด้าง
       -ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
       -ให้ชิงเอามา คือ ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฎ
       -ภิกษุรับคำสั่งครั้งคราวเดียว ชิงเอามาแม้หลายคราว ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
       -วิธีเสียสละแก่สงฆ์และแก่คณะ พึงทราบโดยทำนองก่อน

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเอง แล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยดีว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.อุปสัมบัน (ภิกษุ, ภิกษุณี) ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.อุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอนุปสัมบัน... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้องทุกกฎ
       ๕.ภิกษุให้จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี แก่อนุปสัมบันแล้ว โกรธ น้อยใจ... ต้องทุกกฎ
       ๖.อนุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอุปสัมบัน... ต้องทุกกฎ
       ๗.อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
       ๘.อนุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอนุปสัมบัน... ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
       ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะแก่ผู้ได้รับไปนั้นก็ดี ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๐๗๔-๑๐๗๗
       ๑.ท่านอุปนันท์ชิงคืน เพราะสำคัญว่าของตน จึงไม่เป็นปาราชิก
       ๒.สำหรับผู้ชิงเอาจีวรผืนเดียวหรือมากผืน ซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นอาบัติตัวเดียว, เมื่อชิงเอาจีวรมากผืน ซึ่งไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน และตั้งอยู่แยกกัน และเมื่อใช้ให้ผู้อื่นนำมาให้โดยสั่งว่า เธอจงนำสังฆาฏิมา จงนำผ้าอุตราสงค์มา เป็นอาบัติมากตัวตามจำนวนวัตถุ, แม้เมื่อกล่าวว่า เธอจงนำจีวรทั้งหมดที่เราให้แล้วคืนมา ก็เป็นอาบัติจำนวนมากเพราะคำพูดคำเดียวนั้นแล
       ๓.ภิกษุหนุ่มถูกพระเถระกล่าวด้วยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า คุณ! เราให้จีวรแก่เธอด้วยหวังว่า คุณจะทำวัตรและปฏิวัตร จักถืออุปัชฌาย์ จักเรียนซึ่งธรรมในสำนักของเรา  มาบัดนี้ เธอนั้นไม่กระทำวัตร ไม่ถืออุปัชฌาย์ ไม่เรียนธรรม ดังนี้ จึงให้คืนว่า ท่านขอรับ ดูเหมือนท่านพูดเพื่อต้องการจีวรๆ นี้ จึงเป็นของท่าน  ภิกษุผู้รับไปนั้นให้คืนด้วยอาการอย่างนี้ก็ดี, ก็หากว่าพระเถระกล่าวถึงภิกษุหนุ่มผู้หลีกไปสู่ทิศอื่นว่า พวกท่านจงให้เธอกลับ, เธอไม่กลับ, พระเถระสั่งว่า พวกท่านจงยึดจีวรกันไว้, ถ้าอย่างนี้ เธอกลับเป็นการดี ถ้าเธอกล่าวว่า พวกท่านดูเหมือนพูดเพื่อต้องการบาตรและจีวร พวกท่านจงรับเอามันไปเถิด แล้วให้คืน, แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี
       อนึ่ง พระเถระเห็นเธอสึกแล้วกล่าวว่า เราได้ให้บาตรและจีวรแก่เธอ ด้วยหวังว่าจะกระทำวัตร บัดนี้เธอก็สึกไปแล้ว, ฝ่ายภิกษุหนุ่มที่สึกไปพูดว่า ขอท่านโปรดรับเอาบาตรและจีวรของท่านไปเถิด แล้วให้คืน, แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ภิกษุผู้รับไปให้คืนเอง, แต่จะให้ด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า เราให้แก่เธอผู้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของเราเท่านั้น เราไม่ให้แก่ผู้ถืออุปัชฌาย์ในที่อื่น เราให้เฉพาะแก่ผู้กระทำวัตร ไม่ให้แก่ผู้ไม่กระทำวัตร เราให้แก่ผู้เรียนธรรมเท่านั้น ไม่ให้แก่ผู้ไม่เรียน เราให้แก่ผู้ไม่สึกเท่านั้น ไม่ให้แก่ผู้สึก   ดังนี้ ไม่ควร เป็นทุกกฎแก่ผู้ให้ แต่จะใช้ให้นำมาคืน ควรอยู่,  ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรที่ตนสละให้แล้วคืนมา พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ
       ๔.สิกขาบทมี ๓ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา เป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ, กายกรรม, วจีกรรม, อกุศลจิต (โทสมูลจิต)



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๔๕)
ภิกษุขอด้ายต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา
เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ครั้งนั้นเป็นคราวทำจีวร พระฉัพพัคคีย์ขอด้ายเขามาเป็นอันมาก แม้ทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่เป็นอันมาก พระฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า พวกเราควรไปหาด้ายอื่นๆ มาให้ช่างหูกทอจีวรเถิด ครั้นไปขอด้ายมาแล้ว ให้ช่างหูกทอ ด้ายก็ยังเหลืออีกมากมาย จึงไปขอมาให้ช่างหูกทอ แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม...
       ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนพระสมณะเหล่านี้จึงได้ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยิน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -บทว่า เอง คือ ขอเขามาเอง
       -ด้าย มี ๖ อย่าง คือ ทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยสัมภาระเจือกันใน ๕ อย่างนั้น ๑
       -ยังช่างหูก คือ ให้ช่างหูกทอ เป็นทุกกฎในขณะที่ช่างหูกทอจัดทำอยู่ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
       -วิธีเสียสละแก่สงฆ์และคณะ พึงทราบตามทำนองก่อน

วิธีเสียสละแก่บุคคล
      ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง...กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน จีวรผืนนี้เป็นของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังให้ช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะสละ... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.ให้เขาทอ ภิกษุรู้ว่าให้เขาทอ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.ให้เขาทอ ภิกษุคิดว่าไม่ได้ให้เขาทอ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุคิดว่าให้เขาทอ ต้องทุกกฎ
       ๕.ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
       ๖.ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุรู้ว่าไม่ได้ให้เขาทอ ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุขอด้ายมาเพื่อเย็บจีวร ๑  ขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า ๑  ขอด้ายมาทำประคดเอว ๑  ทำผ้าอังสะ ๑  ทำถุงบาตร ๑  ทำผ้ากรองน้ำ ๑  ขอต่อญาติ ๑  ขอต่อปวารณา ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๐๘๓-๑๐๘๘
      ๑.ด้ายที่ภิกษุขอเองเป็นอกัปปิยะ ด้ายที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งญาติเป็นต้น เป็นกัปปิยะ แม้ช่างหูกก็ไม่ใช่ญาติและไม่ใช่คนปวารณา ภิกษุได้มาด้วยการขอ เป็นอกัปปิยะ, ช่างหูกที่เป็นญาติและคนปวารณาเป็นกัปปิยะ, บรรดาด้ายและช่างหูกเหล่านั้น ด้ายที่เป็นอกัปปิยะเป็นนิสสัคคีย์แก่ภิกษุผู้ให้ช่างหูกผู้เป็นอกัปปิยะทอ
           อนึ่ง เมื่อภิกษุให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะนั้นแล ทอด้วยด้ายที่เป็นกัปปิยะ เป็นทุกกฎเหมือนนิสสัคคีย์ในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อภิกษุให้ช่างหูกอกัปปิยะนั้นแล ทอด้วยกัปปิยะและอกัปปิยะ ถ้าจีวรเป็นดุจกระทงเนื่องกันเท่าประมาณแห่งจีวรขนาดเล็ก อย่างนี้คือ ตอนหนึ่งสำเร็จด้วยด้ายที่เป็นกัปปิยะล้วนๆ ตอนหนึ่งสำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ เป็นปาจิตตีย์ในทุกๆ ตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ, เป็นทุกกฏในตอนที่สำเร็จด้วยด้ายเป็นกัปปิยะนอกนี้อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้ามีหลายตอนหย่อนกว่าขนาดจีวรที่ควรวิกัปอย่างนั้น ในที่สุดแม้ขนาดเท่าดวงไฟก็เป็นทุกกฏตามจำนวนตอนในทุกๆ ตอน ถ้าจีวรทอด้วยด้ายที่คั่นลำดับกันทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้ายกัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายอกัปปิยะอยู่ทางด้านขวาง (ด้านพุ่ง) ก็ดี เป็นทุกกฎทุกๆ ผัง
       ๒.สิกขาบทนี้เป็นสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๔๖)
ภิกษุไปกำหนดให้ช่างหูกทำให้ดีขึ้น ซึ่งจีวรที่คฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา
สั่งให้ช่างหูกทอถวายแก่ภิกษุ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      บุรุษผู้หนึ่งเมื่อจะไปค้างแรมต่างถิ่น ได้กล่าวกับภรรยาว่า จงกะด้ายให้ช่างหูกคนโน้น ให้ทอจีวรเพิ่มเก็บไว้ เมื่อฉันกลับมาแล้วจักนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันท์ให้ครองจีวร
       ภิกษุผู้ซึ่งเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรได้ยิน ได้ไปบอกแก่ท่านอุปนันท์ๆ ได้เข้าไปหาช่างหูก กล่าวว่า จีวรผืนนี้ เขาให้ท่านทอเฉพาะเรา ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของขึงดี ทอดี ให้เป็นของที่สางดี และให้เป็นของที่กรีดดี
       ช่างหูกแจ้งว่า เขากะด้ายส่งมาเท่านี้ ด้ายมีไม่มีที่จะทำอย่างที่ท่านต้องการให้ทำได้ พระอุปนันท์กล่าวว่า เอาเถิดความขัดข้องด้วยด้ายจักไม่มี ช่างหูกได้ด้ายมาใส่ในหูกแล้วไม่พอ จึงไปหาภรรยาบุรุษนั้น สตรีนั้นแย้งว่า สั่งแล้วมิใช่หรือว่าจงทอด้วยด้ายเท่านี้ ช่างหูกได้แจ้งการมาของท่านอุปนันท์ ให้นางทราบแล้ว นางได้เพิ่มด้ายให้จนพอ
       บุรุษนั้นกลับมา นิมนต์ท่านอุปนันท์มาแล้ว ให้ภรรยาหยิบจีวรมา นางหยิบมาแล้ว เล่าเรื่องนั้นให้สามีทราบ บุรุษนั้นถวายจีวรแล้วเพ่งโทษติเตียนว่า พระสมณะนี้มักมาก จะให้ครองจีวรก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉนเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
       ภิกษุทั้งหลายได้ยิน... กราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างทอหูกให้ทอจีวรเฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่าจีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลโดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

       -บทว่า อนึ่ง...เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ ทำภิกษุให้เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ครองจีวร
       -ช่างหูก ได้แก่ คนทำการทอ
       -เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักทอจีวรเช่นไรถวาย
       -คำว่า ถึงความกำหนดในจีวรนั้น คือ กำหนดว่า ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน
       -คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต อธิบายว่า ยาคูก็ดี ข้าวสารก็ดี ของเคี้ยว ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายเชิงชายก็ดี โดยที่สุดแม้กล่าวธรรม ก็ชื่อว่าบิณฑบาต
       -เขาทำให้ยาวก็ดี กว้างก็ดี แน่นก็ดี ตามคำของเธอ เป็นทุกกฎในขณะที่เขาทำ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
       -วิธีเสียสละแก่สงฆ์และแก่คณะ พึงทราบโดยทำนองก่อนๆ

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณา เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน แล้วถึงความกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุคิดว่ามิใช่ญาติ... ต้องทุกกฎ
       ๕.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
       ๖.เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุขอต่อญาติ ๑  ขอต่อคนปวารณา ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่นๆ ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  เจ้าเรือนใคร่จะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๐๙๗-๑๐๙๘
       สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓  



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๔๗)
ภิกษุเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินกาลจีวร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งเมื่อจะไปค้างแรมต่างถิ่น ได้ส่งคนไปนิมนต์ภิกษุทั้งหลายว่า จักถวายผ้าจำนำพรรษา ภิกษุทั้งหลายไม่ไป เพราะรังเกียจว่าทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ออกพรรษาแล้วเท่านั้น
       มหาอำมาตย์ผู้นั้นได้เพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนจึงไม่มา เราจะไปกองทัพ จะเป็นหรือจะตายก็ยากที่จะรู้ได้ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน จึงกราบทูล...ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
       รับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อรับอัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้ได้”
      ภิกษุทั้งหลายทราบพระพุทธานุญาตนั้นแล้ว รับอัจเจกจีวรเก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้นภิกษุห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง พระอานนท์จาริกไปตามเสนาสนะพบเข้า ถามภิกษุว่าเก็บไว้นานเท่าไรแล้ว ภิกษุเหล่านั้นแจ้งความที่ตนเก็บไว้ พระอานนท์เพ่งโทษ ติเตียนว่า ไฉนจึงรับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลเล่า แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “วันปรุณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับแล้วพึงเก็บไว้ได้ตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

       -บทว่า ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน คือ ก่อนวันปวารณา ๑๐ วัน
       -บทว่า วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา นั่นคือ วันปวารณา ท่านกล่าวว่าวันเพ็ญเดือนกัตติตกา
       -ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี ประสงค์ไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี บุคคลยังไม่ศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามีความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่า อัจเจกจีวร
       -คำว่า ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้... คือ พึงทำเครื่องหมายว่า นี้อัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้
       -ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้ท้ายฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกรานกฐินแล้วได้ขยายออกไปเป็น ๕ เดือน
       -คำว่า ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน เก็บไว้ล่วงเลยวันสุดท้ายแห่งฤดูฝนเป็นนิสสัคคิยะ เมื่อได้กรานกฐินแล้ว เก็บไว้ล่วงเลยวันกฐินเดาะ เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า ”ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
       (พึงทราบทำนองเดียวกับการเสียสละแก่สงฆ์ เพียงเปลี่ยนจากสงฆ์เป็นท่านทั้งหลาย)

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นrพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.อัจเจกจีวร ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.อัจเจกจีวร ภิกษุคิดว่ามิใช่อัจเจกจีวร...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป ยังไม่ได้สละ ภิกษุคิดว่า อธิษฐานแล้ว วิกัปแล้ว สละแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๕.จีวรยังไม่หาย ยังไม่ฉิบหาย ยังไม่ถูกไฟไหม้ ยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุเข้าใจว่าหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว ถูกชิงไปแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๖.จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ บริโภค ต้องทุกกฎ
       ๗.ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุคิดว่าเป็นอัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล ต้องทุกกฎ
       ๘.ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
       ๙.ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุรู้ว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุอธิษฐาน ๑  ภิกษุวิกัป ๑  ภิกษุสละให้ไป ๑  จีวรหาย ๑  จีวรฉิบหาย ๑  ถูกไฟไหม้ ๑  ถูกชิงเอาไป ๑  ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ในภายในสมัย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๑๐๖-๑๑๐๙
       ๑.บทว่า ทสาหานาคตํ มีความว่า วันทั้งหลาย ๑๐ ชื่อว่า ทสาหะ (วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา), ยังไม่มาโดยวัน ๑๐ นั้นชื่อว่า ทสาหานาคตะ, วันมหาปวารณาแรกตรัสรู้ เรียกว่า ทสาหานาคตา ตั้งแต่กาลใดไป ถ้าแม้นว่าอัจเจกจีวรพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุแน่นอนตลอดวันเหล่านั้นทีเดียว (ใน ๑๐ วันนั้น) ภิกษุรู้ว่านี้เป็นอัจเจกจีวร (จีวรรีบด่วน) พึงรับไว้ได้แม้ทั้งหมด, จีวรรีบด่วน ตรัสเรียกว่า อัจเจกจีวร ก็เพื่อแสดงจีวรนั้นเป็นผ้ารีบด่วน
       -คำว่า พึงทำเครื่องหมายแล้วเก็บไว้ ตรัสเพราะว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายแจกอัจเจกจีวรนั้นก่อนวันปวารณา ภิกษุที่ได้ผ้าอัจเจกจีวรนั้นไป ต้องไม่เป็นผู้ขาดพรรษา แต่ถ้าเป็นผู้ขาดพรรษา จีวรจะกลายเป็นของสงฆ์ไปเสีย เพราะฉะนั้นจักต้องกำหนดแจกให้ดี เหตุนั้นจึงได้ตรัสคำนี้ไว้
       ๒.พึงทราบว่า จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ทำ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร ๕ เดือน เมื่อเพิ่มฤดูฝน (เพิ่มอธิกมาส) ได้บริหาร ๖ เดือน เมื่อได้กรานกฐินได้บริหารอีก ๔ เดือน, ได้บริหารอีก ๑ เดือน ด้วยอำนาจการอธิษฐานให้เป็นจีวรเดิม เมื่อมีความหวังจะได้ผ้าในวันสุดท้ายแห่งฤดูหนาว รวมเป็นได้บริหาร ๑๑ เดือน อย่างนี้, อัจเจกจีวรเมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร ๑ เดือน กับ ๑๑ วัน  เมื่อได้กรานกฐินได้บริหาร ๕ เดือน กับ ๑๑ วัน ต่อจากนั้นไปไม่ได้บริหารแม้วันเดียว
       ๓.สิกขาบทนี้มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
       ๔.การถวายอัจเจกจีวร (ผ้ารีบด่วน) เขตในกาลถวายอัจเจกจีวรเริ่มตั้งแต่ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ รวม ๑๐ วัน ด้วยกัน (คือ ถวายก่อนเขตกฐินได้ ๑๐ วัน)

ผู้ถวายอัจเจกจีวร มี ๔ จำพวก คือ
       (๑)บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพ (ไปรบ)
       (๒)บุคคลเจ็บไข้
       (๓)สตรีมีครรภ์
       (๔)บุคคลยังไม่มีศรัทธา แต่มามีศรัทธาเกิดขึ้นในภายหลัง

คำถวายอัจเจกจีวร
       วสฺสาวาสิกํ ทมฺมิ  ข้าพเจ้า ขอถวายผ้าสำหรับภิกษุผู้อยู่จำพรรษา
 
       การถวายอัจเจกจีวรนี้ มีอานิสงส์ดุจเดียวกับการถวายกฐิน เพราะถวายพระสงฆ์เหมือนกัน แต่มีผู้รู้เรื่องการถวายอัจเจกจีวรนี้น้อยมาก และก็ยังมีข้อแตกต่างกันเกี่ยวกับการถวาย คือ กฐินนั้นไม่จำกัดบุคคลผู้ถวาย จะเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือเทวดา เป็นต้น ก็ถวายได้ ส่วนอัจเจกจีวรมีบุคคล ๔ จำพวก ตามที่กล่าวแล้วเท่านั้นที่ถวายได้

อัจเจกจีวรถวายสงฆ์
       มยํ ภนฺเต อิมสฺมึ อาราเม อสฺสาวาสิกานิ อจฺเจกจีวรานิ ภิกฺขุสงฺฆสฺส เทม.  อิทํ โน ปุญฺญํ สพฺพมงฺคลตฺถาย จ สพฺพทุกฺขนิโรธาย จ โหตุ. อิมํ ปุญฺญปตฺตึ สภฺเพสํ สตฺตานํ เทม.  สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนตุ.
       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์ในอารามนี้ ขอให้บุญกุศลจากการถวายทานนี้ จงเป็นปัจจัยเพื่อก่อให้เกิดสิริมงคลทั้งปวง และเพื่อความดับทุกข์ในสังสารวัฏ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนบุญนี้ให้แก่สรรพสัตว์ มีบิดามารดาเป็นต้น ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงมีความสุขกายสุขใจด้วยเถิด.

อัจเจกจีวรถวายบุคคล
       อหํ ภนฺเต อิมสฺมึ อาราเม วสฺสาวาสิกํ อจฺเจกจีวรํ อายสฺมโต ทมุมิ.  อิทํ โน ปุญฺญํ สพฺพมงฺคลตฺถาย จ โหตุ.  อิมํ ปุญฺญปตฺตึ สพฺเพสํ สตฺตานํ ทมฺมิ.  สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ.
       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถวายผ้าจำนำพรรษาแต่ท่านที่พำนักอยู่ในอารามนี้ ขอให้บุญกุศลจากการถวายทานนี้ จงเป็นปัจจัยเพื่อก่อให้เกิดสิริมงคลทั้งปวง และเพื่อความดับทุกข์ในสังสารวัฏ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญนี้ให้แก่สรรพสัตว์ มีบิดามารดาเป็นต้น ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงมีความสุขกาย สุขใจด้วยเถิด (นานาวินิจฉัย/๑๘๒-๔)    



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๔๘)
ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่า ออกพรรษาแล้วเก็บจีวรได้เพียง ๖ คืน
ถ้าเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ

      ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วยับยั้งอยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรเดือน ๑๒ เข้าใจว่า ภิกษุทั้งหลายได้ลาภแล้ว จึงพากันเที่ยวปล้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูล...
       รับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้”
       ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ทรงอนุญาตให้เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ จึงเก็บไว้แล้วอยู่ปราศจาก ๖ คืนบ้าง จีวรเหล่านั้นหายบ้าง ฉิบหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง หนูกัดบ้าง ภิกษุทั้งหลายมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรปอน
       “หนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดวันเพ็ญเดือน ๑๒ เมื่อปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศจากยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

       -บทว่า อนึ่ง จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถี เป็นที่เต็ม ๔ เดือน ในกัตติกมาส (เดือน ๑๒, ได้อานิสงส์จำพรรษา)
       -คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น คือ เสนาสนะที่ชื่อว่าป่านั้นมีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู เป็นอย่างน้อย
       -ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่
       -ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่
       -บทว่า ปรารถนา คือ ภิกษุจะยับยั้งอยู่ หรือพอใจอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น
       -คำว่า และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น คือ มีเหตุมีกิจจำเป็น ก็พึงอยู่ปราศจากได้เพียง ๖ คืน เป็นอย่างมาก
       -บทว่า เว้นไว้แต่ได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น เมื่ออรุณที่ ๗ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าอยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
       (พึงทราบทำนองเดียวกับการเสียสละแก่สงฆ์ เปลี่ยนเพียงสงฆ์เป็นท่านทั้งหลาย)

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน จีวรผืนนี้... ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนจีวรให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุรู้ว่าเกิน อยู่ปราศ เว้นไว้แก่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสงสัย... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุคิดว่ายังไม่เกิน... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.จีวรยังไม่ได้ถอน ยังไม่ได้สละ ภิกษุคิดว่าถอนแล้ว สละแล้ว...เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๕.จีวรยังไม่หาย ยังไม่ฉิบหาย ยังไม่ถูกไฟไหม้ ยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุคิดว่า หายแล้ว ฉิบหายแล้ว ไฟไหม้แล้ว ถูกชิงไปแล้ว... เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๖.จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่ได้สละ บริโภค ต้องทุกกฎ
       ๗.จีวรยังไม่ถึง ๖ คืน ภิกษุคิดว่าเกิน... ต้องทุกกฎ
       ๘.จีวรยังไม่ถึง ๖ คืน ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
       ๙.จีวรยังไม่ถึง ๖ คืน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ถึง ๖ ราตรี บริโภค ไม่ต้องอาบัติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2559 17:13:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 16 กันยายน 2559 17:12:05 »

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๔๘) (ต่อ)

อนาบัติ
      ภิกษุอยู่ปราศ ๖ คืน ๑  อยู่ปราศไม่ถึง ๖ คืน ๑  ภิกษุอยู่ปราศ ๖ คืน แล้วกลับมายังคามสีมา อยู่แล้วหลีกไป ๑  ภิกษุถอนเสียภายใน ๖ คืน ๑  สละให้ไป ๑  จีวรหาย ๑  ฉิบหาย ๑  ถูกไฟไหม้ ๑  ถูกชิงเอาไป ๑  ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ภิกษุได้สมมติ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๑๑๑๗-๑๑๒๑
       ๑.ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น แม้ในกาลก่อนก็อยู่ในป่าเหมือนกัน แต่ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาในเสนาสนะใกล้แดนบ้าน ด้วยสามารถแห่งปัจจัย(หาปัจจัย ๔ ได้สะดวก) เพราะเป็นผู้มีจีวรคร่ำคร่า เป็นผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ปรึกษากันว่า บัดนี้พวกเราหมดกังวลแล้ว จักกระทำสมณธรรม จึงพากันอยู่ในเสนาสนะป่า
       ๒.ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ในละแวกบ้านเพื่อสงวนจีวรไว้ เพราะธรรมดาว่า ปัจจัยทั้งหลายโดยชอบธรรมเป็นของหาได้ยาก, จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความขัดเกลา ไม่อาจเพื่อจะขอจีวร แม้กะมารดา, แต่พระองค์ไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า เพราะเป็นการสมควรแก่ภิกษุทั้งหลาย
       ๓.ลักษณะแห่งป่ากล่าวแล้วในปาราชิกอทินนาทาน, ส่วนที่แปลกกันมีดังนี้ ถ้าว่าวัดมีเครื่องล้อม พึงวัดระยะตั้งแต่เสาเรือนแห่งบ้านซึ่งมีเครื่องล้อม และจากสถานที่ควรล้อมแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อมไปจนถึงเครื่องล้อมวัด ถ้าเป็นวัดที่ไม่ได้ล้อม สถานที่ใดเป็นแห่งแรกของทั้งหมด จะเป็นเสนาสนะก็ดี โรงอาหารก็ดี สถานที่ประชุมประจำก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี เจดีย์ก็ดี ถ้าแม้มีอยู่ห่างไกลจากเสนาสนะ พึงวัดเอาที่นั้นให้เป็นเขตกำหนด
          ถ้าแม้นว่า มีหมู่บ้านอยู่ใกล้ พวกภิกษุอยู่ที่วัดย่อมได้ยินเสียงของพวกชาวบ้าน แต่ไม่อาจจะไปทางตรงได้ เพราะมีภูเขาและแม่น้ำเป็นต้น กั้นอยู่ และทางใดเป็นทางตามปกติของบ้านนั้น ถ้าแม้นจะต้องโดยสารไปทางเรือ ก็พึงกำหนดเอาที่ห้าร้อยชั่วธนูจากบ้านโดยทางนั้น แต่ภิกษุใดปิดกั้นหนทางในที่นั้น เพื่อทำให้ใกล้บ้าน ภิกษุนี้พึงทราบว่าเป็นผู้ขโมยธุดงค์
       ๔.ในเสนาสนะป่า มีองค์สมบัติดังต่อไปนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษาแรก ปวารณาในวันมหาปวารณา นี้เป็นองค์หนึ่ง, ถ้าภิกษุเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลังก็ดี มีพรรษาขาดก็ดี ย่อมไม่ได้เพื่อจะเก็บไว้, เป็นเดือน ๑๒ เท่านั้น นี้เป็นองค์ที่ ๒,  นอกจากเดือน ๑๒ ไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะเก็บ เป็นเสนาสนะที่ประกอบด้วยประมาณอย่างต่ำ ๕๐๐ ชั่วธนูเท่านั้น นี้เป็นองค์ที่ ๓,  ในเสนาสนะที่มีขนาดหย่อนหรือมีขนาดเกินคาวุตไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะเก็บไว้,  จริงอยู่ ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตแล้วอาจเพื่อกลับมาสู่วัดทันเวลาฉันในเสนาสนะใด เสนาสนะนั้นทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้
       แต่ภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้ไปสิ้นทางกึ่งโยชน์บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง แล้วกลับมาเพื่อจะอยู่ ที่นี้ไม่ใช่ประมาณ, เป็นเสนาสนะมีความรังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้าเท่านั้น นี้เป็นองค์ที่ ๔, จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะไม่มีความรังเกียจ ไม่มีภัยเฉพาะหน้า แม้จะประกอบด้วยองค์ก็ไม่ได้เพื่อจะเก็บไว้
       -เว้นไว้แต่โกสัมพิกสมบัติที่ทรงอนุญาตไว้ในอุทโทสติสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๒ แห่งจีวรวรรค) ก็ถ้าว่ามีภิกษุได้สมมตินั้นไซร้ จะอยู่ปราศจากเกิน ๖ ราตรีไปก็ได้
       -ถ้ามีเสนาสนะอยู่ทางทิศตะวันออกจากโคจรคาม และภิกษุนี้จะไปยังทิศตะวันตก เธอไม่อาจจะมายังเสนาสนะให้ทันอรุณที่ ๗ ขึ้น จึงแวะลงสู่ตามสีมา พักอยู่ในสภา หรือในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง (ที่ไม่ใช่ป่า) ทราบข่าวคราวแห่งจีวรแล้วจึงหลีกไป ควรอยู่
       -ภิกษุผู้ไม่อาจกลับไปทัน พึงยืนอยู่ในที่ที่ตนไปแล้วนั้นนั่น แล้วปัจจุทธรณ์ (ถอน) เสีย  จีวรจักตั้งอยู่ในฐานแห่งอดิเรกจีวร ฉะนี้แล
       ๕.สิกขาบทนี้มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นอกิริยา อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
       ๖.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
          จำพรรษา – อยู่ประจำสามเดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น)  หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง), วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา,  อานิสงส์การจำพรรษา มี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา  ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ  ๓.ฉันฉคโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้  ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปวารณา  ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ,  อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒    




อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ   กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ   ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ ๑๘ ฯ

คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้ คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุญกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น

Here he is happy, hereafter he is happy,
In both worlds the well-doer is happy;
Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
When gone to the state of bliss.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2559 15:20:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2559 16:05:24 »



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๔๙)
ภิกษุรู้อยู่ และน้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ครั้งนั้น ชาวบ้านหมู่หนึ่งในกรุงสาวัตถี จัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวายสงฆ์ ตั้งใจว่าจักให้ฉันแล้วให้ครองจีวร ขณะนั้นพระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาชาวบ้านหมู่นั้น กล่าวว่า ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้แก่พวกอาตมา ชาวบ้านชี้แจงว่าถวายไม่ได้ เพราะเราจักถวายแก่สงฆ์ทุกปี แต่พระฉัพพัคคีย์ไม่ลดละ กล่าวว่าดูก่อนท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีมาก ภัตตาหารของสงฆ์มีมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวกท่าน จึงอยู่ในที่นี้ ถ้าท่านไม่ให้ ใครเล่าจักให้แก่พวกอาตมา
       ชาวบ้านหมู่นั้นถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นได้ จึงได้ถวายจีวรไป แล้วอังคาสพระสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร บรรดาภิกษุที่ทราบว่าเขาจัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวายสงฆ์ทุกปี ได้ถามชาวบ้านหมู่นั้นๆ เรียนให้สงฆ์ทราบแล้ว
       ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเพ่งโทษติเตียนพระฉัพพัคคีย์ว่า ไฉนรู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
       “อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกให้รู้ หรือเจ้าตัวบอก (ผู้จะถวายบอก)
       -ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ ของที่ถวายแล้ว บริจาคแล้ว แก่สงฆ์
       -ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้, โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้ายชายผ้า
       -ที่ชื่อว่า ที่เขาน้อมไว้ คือ เขาได้เปล่งวาจาว่า จักถวาย จักกระทำ ภิกษุน้อมมาเพื่อตนเป็นทุกกฎ ในขณะที่น้อมได้มาเป็นนิสสัคคีย์ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหางสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
       (พึงทราบทำนองเดียวกับการเสียสละแก่สงฆ์)

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ลาภนี้... ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน”  ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้ลาภนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุรู้ว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสงสัย น้อมมาเพื่อตน ต้องทุกกฎ
       ๓.ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุคิดว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้องอาบัติ
       ๔.ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี ต้องทุกกฎ
       ๕.ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี ต้องทุกกฎ
       ๖.ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี ต้องทุกกฎ
       ๗.ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุคิดว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ต้องทุกกฎ
       ๘.ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ
       ๙.ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุรู้ว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุอันพวกทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ดังนี้ จึงบอกแนะนำว่า โดยธรรมของพวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรือพึงตั้งอยู่ได้นานในที่ใด ก็หรือจิตของพวกท่านเลื่อมใสในภิกษุรูปใด ก็จงถวายในที่นั้น หรือภิกษุรูปนั้นเถิด ดังนี้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๑๒๙-๑๑๓๓
       ๑.ลาภนั้นแม้ยังไม่ถึงมือสงฆ์ ก็จัดเป็นของสงฆ์โดยปริยายหนึ่ง เพราะเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์แล้ว
       ๒.เป็นทุกกฎทุกประโยคที่น้อมลาภที่เขาน้อมไปเพื่อสงฆ์มาเพื่อตน เมื่อได้มาเป็นนิสสัคคีย์ ก็ภิกษุใดพลอยกิน (ของที่เขาถวายสงฆ์แล้วน้อมมาเพื่อตน) กับพวกคนวัด สงฆ์พึงให้ตีราคาภัณฑะนั้น ปรับอาบัติแก่ภิกษุนั้น, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์เมื่อน้อมลาภที่เขาน้อมไปแล้ว เพื่อสหธรรมิกก็ดี ของพวกคฤหัสถ์ก็ดี โดยที่สุดแม้ของมารดา มาเพื่อตนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่เรา แล้วถือเอา, เป็นปาจิตตีย์ล้วนๆ เมื่อน้อมไปเพื่อคนอื่นอย่างนี้ว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุนี้, ภิกษุน้อมบาตรใบหนึ่งหรือจีวรผืนหนึ่งมาเพื่อตน น้อมไปเพื่อคนอื่นใบหนึ่งหรือผืนหนึ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทั้งสุทธิกปาจิตตีย์ (ปาจิตตีย์ล้วนๆ)
          -ถ้าแม้นภิกษุอาพาธรู้ว่า เขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์แล้ว ยังขออะไรๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์เหมือนกัน, ก็ถ้าภิกษุอาพาธนั้นถามว่า เนยใสเป็นต้น ของพวกท่านที่นำมามีอยู่หรือ? เมื่อพวกเขาตอบว่ามีอยู่ ขอรับ  แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงให้แก่เราบ้าง ดังนี้สมควร, ถ้าแม้นพวกอุบาสกรังเกียจภิกษุอาพาธนั้น พูดว่า แม้สงฆ์ย่อมได้เนยใสเป็นต้น ที่พวกเราถวายนี้แหละ นิมนต์ท่านรับเถิดขอรับ แม้อย่างนี้ก็ควร
       ๓.แม้จะบูชาด้วยดอกไม้ที่เจดีย์อื่น จากต้นไม้ดอกที่เขากำหนดปลูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์อื่น ก็ไม่ควร, แต่เห็นฉัตรหรือธงแผ่นผ้าที่เขาบูชาไว้แก่เจดีย์หนึ่ง แล้วให้ถวายของที่เหลือแก่เจดีย์อื่นสมควรอยู่
          -ชั้นที่สุด แม้อาหารที่เขาน้อมไปเพื่อสุนัข ภิกษุน้อมไปเพื่อตัวอื่นอย่างนี้ว่า ท่านอย่าให้แก่สุนัขตัวนี้ ดังนี้ก็เป็นทุกกฎ, แต่ถ้าพวกทายกกล่าวว่า พวกเราอยากจะถวายภัตแก่สงฆ์ อยากจะบูชาพระเจดีย์ อยากจะถวายบริขารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง จักถวายตามความพอใจของพวกท่าน ขอท่านได้โปรดบอกว่า พวกเราจะถวายในที่ไหน? เมื่อพวกทายกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านจงถวายในที่ซึ่งพวกท่านปรารถนา แต่ถ้าพวกทายกถามอีกว่า พวกข้าพเจ้าจะถวาย ณ ที่ไหน ภิกษุพึงกล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วในอาบัตินั่นแล
       ๔.สิกขาบทนี้มี ๓ สมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สจิตตกะ โลกวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โลภมูลจิต โทสมูลจิต)


คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
คำเสียสละแก่สงฆ์ (จีวรผืนเดียว, อยู่ในหัตถบาส)

      “อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ทสาหาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ สํฆสฺส นิสฺสชฺชามิ” (วิ.มหา.๒/๔๖๓/๓)
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์

คำคืนจีวรที่เสียสละแก่สงฆ์
       “สุณาตุ เม ภนฺเต สํโฆ, อิทํ จีวรํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน นิสฺสคฺคิยํ สํฆสฺส สิสฺสฏฺฐํ; ยทิ สํฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สํโฆ อิมํ จีวรํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน ทเทยฺย”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

คำเสียสละแก่สงฆ์ (จีวร ๒ ผืน หรือมากผืน)
       “อิมานิ เม ภนฺเต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ; อิมานาหํ สํฆสฺส นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรของกระผมเหล่านี้ ล่วง ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคย์, กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์”

คำเสียสละแก่คณะ
       “อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ทสาหาติกฺกนตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมนฺตานํ นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรของกระผมเหล่านี้ ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย”

คำคืนจีวรที่เสียสละแก่คณะ
       “สุณนฺตุ เม อายสฺมนฺตา, อิทํ จีวรํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน นิสฺสคฺคิยํ อายสฺมนฺตานํ นิสฺสฏฺฐํ; ยทายสฺ มนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, อายสฺมนฺตา อิมํ จีวรํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน ทเทยฺยุํ”
       แปลว่า “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม อาวุโส จีวรํ ทสาหาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”

คำคืนจีวรที่เสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน”


ตั้งแต่ จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ เป็นต้นไป จะตัดคำเสียสละแก่บุคคลมาลงเท่านั้น
ถ้าต้องการดูคำเสียสละแก่สงฆ์ หรือแก่คณะ พึงดูได้จากที่มาดังกล่าวแล้ว



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ (ทฺวิจีวรํ, ติจีวรํ) รตฺติวิปฺปวุตฺถํ อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “จีวรผืนนี้ (๒ ผืนนี้, ๓ ผืนนี้) ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) อกาลจีวรํ มาสาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ อญฺญาตกํ คหปติกํ อญฺญตฺร สมยา วิญฺญาปิตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ อญฺญาตกํ คหปติกํ อุปสงฺกมิตฺวา ตตุตฺตรึ วิญฺญาปิตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ ปุพฺเพ อปฺปาวาริโต อญฺญาตกํ คหปติกํ อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปนฺนํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อญฺญาตเก คหปติกํ อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปนฺนํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ อติเรกติกฺขตฺตุํ, โจทนาย, อติเรกฉกฺขตฺตุํ อภินิปฺผาทิตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
คำเสียสละแก่สงฆ์
       “อิทํ ภนฺเต รูปิยํ ปฏิคฺคเหสึ, อิทํ เม นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ สํฆสฺส นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัดหรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้ของสิ่งนี้” ถ้าเขาถามว่า “จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา” อย่าบอกว่า “จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา” ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นแต่ภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า “โปรดช่วยทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้ง นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

คำสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ (ญัตติทุติยกรรมวาจา)
       “สุณาตุ เม ภนฺเต สํโฆ, ยทิ สํฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สํโฆ อิตฺถนฺนามํ ภิกขฺํ รูปิยฉฑฺฑกํ สมฺมนฺเนยฺย; เอสา ญตฺติ, สุณาตุ เม ภนฺเต สํโฆ อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ รูปิยฉฑฺฑกํ สมฺมนฺนติ; ยสฺสายสมฺโต ขมติ อิตฺถฺนนามฺสส ภิกฺขุโน รูปิยฉฑฺฑกสฺส สมฺมติ, โส ตุณฺหสฺส; ยสฺส นกฺขมติ, โสภาเสยฺย สมฺมโต สํเฆยน อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ รูปิยฉฑฺฑโก ขมติ สํฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ”
       “ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ”
       “ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ ขอสงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้”



โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
คำเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะแก่สงฆ์
       “อหํ ภนฺเต นานปฺปาการกํ รูปิยสํโวหารํ, อิทํ เม นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ สํฆสฺส นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
คำเสียสละของที่แลกเปลี่ยนกับบุคคล
       “อหํ ภนฺเต (อาวุโส) นานปฺปการกํ กยวิกฺกยํ สมาปชฺชึ, อิทํ เม นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อยํ เม อาวุโส ปตฺโต ทสาหาติกฺกนฺโต นิสฺสคฺคิโย, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
คำเสียสละแก่สงฆ์
       “อยํ เม ภนฺเต ปตฺโต อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน เจตาปิโต นิสฺสคฺคิโย, อิมาหํ สํฆสฺส นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า เป็นบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ จากนั้นสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร

คำสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร
       “สุณาตุ เม ภนฺเต สํโฆ, ยทิ สํฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สํโฆ อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ ปุตฺตคฺคาหาปกํ สมฺมนฺเนยฺย; เอสา ญตฺติ
       สุณาตุ เม ภนฺเต สํโฆ, สํโฆ อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ ปตฺตคฺคาหาปกํ สมฺมนฺนติ; ยสฺสายสฺมโต ขมติ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน ปตฺตคฺคาหาปกสฺส สมฺมติ, โส ตุณฺหสฺส; ยสฺส นกฺขมติ, โส ภาเสยฺย
       สมฺมโต สํเฆน อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ ปตฺตคฺคาหาปโก; ขมติ สํฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
       “ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต เภสชฺชํ สตฺตาหาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ; อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน”

คำคืนเภสัชที่เสียสละแก่บุคคล
       “อิมํ เภสชฺชํ อายสฺมโต ทมฺมิ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) วสฺสิกสาฏิกจีวรํ  อติเรกมาเส เสเส คิมฺหาเน ปริยิฏฺฐํ อติเรกฑฺฒมาเส เสเส คิมฺหาเน กตฺวา นิวตฺถํ นิสฺสคฺคิยํ: อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ ภิกฺขุสฺส สามํ ทตฺวา อจฺฉินฺนํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ สามํ สุตฺตํ วิญฺญาเปตฺวา ตนฺตวาเยหิ วายาปิตํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเอง แล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อญฺญาตกสฺส คหปติกสฺส ตนฺตวาเย อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปนฺนํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) อจฺเจกจีวรํ จีวรกาลสมยํ อติกฺกามิตํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมชโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน”



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) จีวรํ อติกเรกฉารตฺตํ วิปฺปวุตฺถํ อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน



ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
คำเสียสละแก่บุคคล
       “อิทํ เม ภนฺเต (อาวุโส) ชานํ สํฆิกํ ลาภํ ปริณตํ อตฺตโน ปริณามิตํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ”
       แปลว่า “ท่าน ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน”




คำพินทุ
“อิมํ พินฺทุกปฺปํ กโรมิ”
แปลว่า เราทำหมายด้วยจุดนี้



คำอธิษฐาน
ผ้าสังฆาฏิว่า “อิมํ สงฺฆาฏิ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้
ผ้าอุตราสงค์ว่า “อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าอุตราสงค์นี้
ผ้าอันตรวาสกว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าอันตรวาสกนี้
ผ้านิสีทนะว่า “อิมํ นิสีทนํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้านิสีทนะนี้
ผ้าปิดฝีว่า “อิมํ กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าปิดฝีนี้
ผ้าอาบน้ำฝนว่า “อิมํ วสฺสิกาสาฏิกํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนนี้
ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปากว่า “อิมํ มุขปุญฺฉนโจลํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าเช็ดปากนี้
ผ้าปูนอนว่า “อิมํ ปจฺจตฺถรณํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าปูนอนนี้
ผ้าบริขารโจลว่า “อิมํ ปริขาลโจลํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานผ้าบริขารโจลนี้
บาตรว่า “อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ”
แปลว่า เราอธิษฐานบาตรนี้


คำถอนอธิษฐาน
ผ้าสังฆาฏิว่า “อิมํ (เอตํ) สงฺฆาฏิ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ (นั้น)
ผ้าอุตราสงค์ว่า “อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าอุตราสงค์ผืนนี้
ผ้าอันตรวาสกว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าอันตรวาสกผืนนี้
ผ้านิสีทนะว่า “อิมํ นิสีทนํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้านิสีทนะผืนนี้
ผ้าปิดฝีว่า “อิมํ กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เยกเลิกผ้าปิดฝีผืนนี้
ผ้าอาบน้ำฝนว่า “อิมํ วสฺสิกาสาฏิกํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้
ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปากว่า “อิมํ มุขปุญฺฉนโจลํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกเช็ดหน้าเช็ดปากผืนนี้
ผ้าปูนอนว่า “อิมํ ปจฺจตฺถรณํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าปูนอนผืนนี้
ผ้าบริขารโจลว่า “อิมํ ปริขาลโจลํ ปจฺจุทฺธรามิ”
แปลว่า เรายกเลิกผ้าบริขารผืนนี้


วิธีแสดงอาบัติ
๑.พระนวกะ : อหํ ภนฺเต สพฺพา อาปตฺติโย อาวิกโรมิ.
   พระเถระ  : สาธุ สาธุ.
   พระนวกะ : อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา นานาวตฺถุกา สพฺพา อาปตฺติโย อาปชฺชึ, ตา ตุมฺหมูเล ปฏิเทเสมิ
   พระเถระ  : ปสฺสสิ อาวุโส ตา อาปตฺติโย.
   พระนวกะ : อาม ภนฺเต ปสฺสามิ.
   พระเถระ  : อายตึ อาวุโส สํวเรยฺยาสิ.
   พระนวกะ : สาธุ, สุฏฺฐุ ภนฺเต สํวริสฺสามิ.
   พระเถระ  : สาธุ สาธุ

๒.พระเถระ  : อหํ อาวุโส สพฺพา อาปตฺติโย อาวิกโรมิ.
   พระนวกะ : สาธุ สาธุ.
   พระเถระ  : อหํ อาวุโส สมฺพหุลา นานาวตฺถุกา สพฺพา อาปตฺติโย อาปชฺชึ, ตา ตุยฺหมูเล ปฏิเทเสมิ.
   พระนวกะ : ปสฺสถ ภนฺเต ตา อาปตฺติโย.
   พระเถระ  : อาม อาวุโส ปสฺสามิ.
   พระนวกะ : อายตึ ภนฺเต สํวเรยฺยาถ.
   พระเถระ  : สาธุ, สุฏฺฐุ อาวุโส สํวริสฺสามิ.
   พระนวกะ : สาธุ ภนฺเต สาธุ.

๓.พระนวกะ : อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา นานาวตฺถุกา สพฺพา อาปตฺติโย อาปชฺชึ, ตา ตุมหมูเล ปฏิเทเสมิ.
   พระเถระ  : ปสฺสสิ อาวุโส ตา อาปตฺติโย.
   พระนวกะ : อาม ภนฺเต ปสฺสามิ.
   พระเถระ  : อายตึ อาวุโส สํวเรยฺยาสิ.
   พระนวกะ : สาธุ, สุฏฺฐุ ภนฺเต สํวริสฺสามิ.
   พระเถระ  : สาธุ สาธุ (จากนานาวินิจฉัย/๒๒๖-๗)

*คำแสดงอาบัตินี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ หากศึกษาสิกขาบทดีแล้ว อรรถกถากล่าวว่า ให้ระบุวัตถุ หรือระบุชื่ออาบัติ
หรือระบุทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติ เช่น ระบุว่าล่วงละเมิดวัตถุ คือกล่าวเท็จ เป็นอาบัติปาจิตตีย์เป็นต้น ซึ่งจักเป็นปัจจัย
ให้ทรงจำพระวินัยและเกิดความสำรวมระวัง ไม่ล่วงสิกขาบทบ่อยๆ ด้วยละอายใจ ยามต้องแสดงแก่เพื่อนภิกษุ




พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน   น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ   น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๑๙ * ฯ

คนที่ท่องจำตำราได้มาก แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา

Though much he recites the Sacred Texts,
But acts not accordingly, the heedless man
is like the cowherd who counts others'kine;
He has no share in religious life.

 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)



ต่อไป
ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2559 16:16:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 30 มกราคม 2560 16:27:14 »


ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ปาจิตตีย์ ๙๒ มี ๙ วรรค วรรคละ ๑๐ สิกขาบท ยกเว้น สหธรรมิกวรรค
มี ๑๒ สิกขาบท ว่าด้วย
มุสาวาทวรรคที่ ๑


มุสาวาทวรรคที่ ๑ ภูตคามวรรคที่ ๒ โอวาทวรรคที่ ๓
โภชนวรรคที่ ๔ อเจลกวรรคที่ ๕ สุราปานวรรคที่ ๖
สัปปาณวรรคที่ ๗ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ รตนวรรคที่ ๙
ปาจิตตีย์ แปลตามตัวอักษรว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก,
เป็นชื่ออาบัติจำพวกหนึ่ง จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา เรียก ลหุกาบัติ พ้นได้ด้วยการแสดง


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรควรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๕๐)
ภิกษุพูดปด ต้องปาจิตตีย์

พระหัตถกศากยบุตรเป็นคนพูดสับปลับ ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น ท่านกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียน... ภิกษุทั้งหลายสอบถาม พระหัตถกะตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียถีย์เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะเกิดแก่พวกนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียน กราบทูลให้ทรงทราบ... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน แล้วบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท”

อรรถาธิบาย
-ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งถ้อยคำเป็นแนวทาง เจตนาที่ให้ผู้อื่นเข้าใจทางวาจาของบุคคลผู้จงใจจะพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง ได้แก่ คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑ ไม่ได้ยิน  พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน ๑ ไม่ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑ ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑ เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ๑ ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑ ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑ รู้ พูดว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ๑
-ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา, ไม่ได้ยิน คือ คือ ไม่ได้ยินด้วยหู, ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้สัมผัสด้วยกาย, ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
-ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา, ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู, ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย, รู้ คือ รู้ด้วยใจ

อาบัติ
๑.อาการของการกล่าวเท็จ ๓ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๑ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๑ ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว เป็นปาจิตตีย์
๒.อาการ ๔ เบื้องต้นรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๑ กำลังกล่าวรู้ว่ากล่าวเท็จ ๑ ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๑ อำพรางการกล่าวเท็จนั้น (ว่าไม่ได้พูดเป็นต้น) ๑ เป็นปาจิตตีย์
(อธิบาย...ภิกษุผู้กล่าวเท็จ ย่อมรู้ว่าในขณะที่กล่าวนั้น ตนเองมีความเห็นอยู่ในใจจริงๆ ว่าเรื่องเท็จ. มีความพอใจ ชอบใจ, สภาพความเป็นจริง (ที่เป็นความเท็จ), เมื่อใคร่จะกล่าวเท็จ ในกาลนั้นเขาต้องทิ้งหรือปิดบังความเห็น (ที่เป็นเรื่องเท็จ) นั้น และกล่าวทำให้เป็นเท็จ

อนาบัติ
๑.ภิกษุพูดพลั้ง ๑  พูดพลาด ๑ (ชื่อว่าพูดพลั้งเพราะพูดเร็วไป ชื่อว่าพูดพลาดเพราะตั้งใจจักพูดคำหนึ่ง แต่กลับพูดไปอีกคำหนึ่ง) วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนุตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๒๐-๒๕
๑.คำว่า หตฺถโก เป็นชื่อของพระเถระนั้น ท่านเป็นบุตรของพวกเจ้าศากยะ ออกบวชในครั้งที่คนของศากยะตระกูลแปดหมื่นคนพากันออกบวช ท่านเป็นหนึ่งในแปดหมื่นคนนั้น
-ท่านนัดหมายพวกเดียรถีย์ว่า จักทำการโต้วาทะกัน ณ ที่โน้น ในเวลาก่อนภัตเป็นต้น แล้วท่านก็ไปก่อนนัดหมายบ้าง หลังนัดหมายบ้าง แล้วกล่าวว่า จงดูเอาเถิดผู้เจริญ เดียรถีย์ไม่มาแล้ว แพ้แล้ว ดังนี้แล้ว หลีกไปเสีย
๒.บทว่า สมฺปชานมุสาวาเท ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้แล้วและกำลังรู้
บทว่า วิสํวาทนปุเรกฺขารสฺส ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดว่าจะพูดให้คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า
-โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือ เหล่าพาลปุถุชน ชื่อว่า อนริยโวหาร (อนารยชน)
๓.พูดพลั้ง คือ ภิกษุไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้ใคร่ครวญ พูดโดยเร็วถึงสิ่งที่ไม่เห็นว่า ข้าพเจ้าเห็น เป็นต้น
-พูดพลาด คือ เมื่อตนควรจะกล่าวคำว่า จีวรํ (จีวร) ไพล่ไปกล่าวว่า จีรํ (นาน) ดังนี้เป็นต้น เพราะความเป็นผู้อ่อนความคิด เพราะเป็นผู้เซอะ
-แต่ภิกษุใด ผู้อันสามเณรเรียนถามว่า “ท่านขอรับ เห็นอุปัชฌาย์ของกระผมบ้างไหม?” เธอกระทำการล้อเลียนสามเณร กล่าวว่า “อุปัชฌาย์ของเธอคงจักเทียมเกวียนบรรทุกฟืนไปแล้วกระมัง” หรือเมื่อสามเณรได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกแล้วถามว่า “นี้เสียงอะไร ขอรับ?” ภิกษุกล่าวว่า “เสียงของคนผู้ช่วยกันยกล้อที่ติดหล่มของมารดาเธอ ผู้กำลังไปด้วยยาน” คำกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เพราะพลั้ง ไม่ใช่เพราะพลาด ย่อมต้องอาบัติ
๔.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ, โลกวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม  อกุศลจิต (โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต)



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๕๑)
ภิกษุด่าภิกษุอื่นด้วยวาจาหยาบคาย ต้องปาจิตตีย์

พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ใช้วาจากล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปะบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย ต่างพากันติเตียน แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ... ทรงเล่าเรื่องโคนันทิวิสาลให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า โคนันทิวิสาลกล่าวกับพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของว่า ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ว่า โคถึกของข้าพเจ้า ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกเนื่องกันไปได้ พราหมณ์นั้นได้ทำตามที่โคบอกแล้ว เมื่อผูกเกวียนแล้วพราหมณ์ได้กล่าวว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไปเจ้าโคโกง ครั้งนั้นโคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ที่เดิม พราหมณ์นั้นแพ้พนันแล้ว

ต่อมาโคถึกนันทิวิสาลถามพราหมณ์ว่าเหตุใดจึงซบเซา  พราหมณ์ : ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้เสียพนันไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ละซิ เจ้าตัวดี  โคนันทิวิสาลจึงบอกให้พราหมณ์ไปพนันใหม่ด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของเราจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่ท่านอย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่า “โกง”

พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีแล้ว พูดกับโคถึกว่า “เข็นฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม” พราหมณ์ได้ชนะพนันแล้ว จากนั้นทรงตำหนิการกระทำของพระฉัพพัคคีย์ และบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท”

อรรถาธิบาย
-ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่ คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑  ชื่อ ๑  โคตร ๑  การงาน ๑  ศิลปะ ๑  โรค ๑  รูปพรรณ ๑  กิเลส ๑  อาบัติ ๑  คำด่า ๑
-ด่าเรื่องชาติ เช่น คนชาติจัณฑาล, ชื่อ เช่น อวกณฺณกา (ชื่อของพวกทาส) หรือชื่อที่คนเขาเย้ยหยันอื่นๆ,  โคตร เช่น ตระกูลภารทวาชะ หรือวงศ์สกุลที่คนเขาเย้ยหยัน, การงาน เช่น กรรมกร, ศิลปะ เช่น วิชาการช่างหม้อ, โรค เช่น โรคเรื้อน, รูปพรรณ เช่น ดำ สูง ต่ำ,  กิเลส เช่น คนโลภ คนหลง.  อาบัติ เช่น สังฆาทิเสส,  คำด่า เช่น อูฐ แพะ โค ลา สัตว์นรก เหล่านี้เป็นคำด่าที่เลว, ส่วนคำด่าที่ดี เช่น คนชาติกษัตริย์,  พุทธะ ธัมมะ สังฆะ โคตมะโคตร, บัณฑิต นักปราชญ์ หรือคนฉลาด เป็นต้น

อาบัติ
๑.อุปสัมบัน (พระภิกษุ) ปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาท ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แล้วพูดกับอุปสัมบัน (พระภิกษุ) นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๒.อุปสัมบันพูดเปรยแก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด (เช่นพูดเปรยอ้อมๆ ว่า ภิกษุบางคนเป็นคนชาติจัณฑาล บางคนต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือพวกเราไม่ใช่คนดำเกินไป เป็นต้น)
๓.อุปสัมบันพูดล้ออุปสัมบัน ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด (ไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น เช่น ท่านทำงานเหมือนพวกกรรมกรใช้แรงงานเลยนะ)
๔.อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาท ปรารถนาจะทำให้อัปยศ (ให้เจ็บใจอับอาย) แล้วพูดกับอนุปสัมบัน (ผู้ที่มิใช่ภิกษุ) ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด
๕.อุปสัมบันพูดล้อแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุพภาษิตทุกๆ คำพูด (เช่นพูดว่า ทานของท่านจะทำให้คนทั่วโลกอิ่ม เป็นต้น)

อนาบัติ
ภิกษุมุ่งอรรถ ๑  มุ่งธรรม ๑  มุ่งสั่งสอน ๑  วิกลจริต ๑  มีจิตฟุ้งซ่าน ๑  กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๑๒๘-๑๓๑
๑.โคถึกนั้นมีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้นเจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล, สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล พราหมณ์เลี้ยงดูอย่างดีเหลือเกินด้วยอาหาร มียาคูและข้าวสวยเป็นต้น โคถึกนั้นต้องการจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น
-ทรงชี้ให้เห็นว่า แม้โคถึกซึ่งเกิดจากอเหตุกปฏิสนธิ ก็ย่อมไม่ชอบคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่น
-โคถึกนั้นได้ลากเกวียนไปตลอดชั่ว ๑๐๐ เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่
-คำด่า ทรงจำแนกมีอยู่ ๒ คำ คือ คำด่าที่เลว ๑ คำด่าที่ดี ๑
๒.ภิกษุเมื่อกล่าวให้เลวด้วยถ้อยคำอันเลว ถึงจะกล่าวคำจริงก็ตาม ถึงอย่างนั้น เธอก็ต้องปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดแทง, และเมื่อกล่าวให้เป็นคนเลวด้วยคำที่ดี แม้จะกล่าวคำไม่จริงก็ตาม (เช่นเขาไม่ได้เป็นกษัตริย์ ด่าว่าเป็นกษัตริย์) ถึงอย่างนั้นก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้ เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดสี ไม่ใช่ด้วยสิกขาบทก่อน (มุสาวาท)
ฝ่ายภิกษุใดกล่าวคำ (ที่จริง) เป็นต้นว่า เจ้าเป็นจัณฑาลก็ดี เจ้าเป็นพราหมณ์ดี เจ้าเป็นจัณฑาลชั่ว เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้ แม้ภิกษุนี้พระวินัยธรก็พึงปรับด้วยอาบัตินี้เหมือนกัน (เพราะประสงค์กล่าวเสียดแทง)
๓.ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์อื่นทั้งหมดมีนางภิกษุณีเป็นต้น พึงทราบว่าตั้งอยู่ในฐานะอนุปสัมบัน
๔.ภิกษุผู้กล่าวอรรถ (เนื้อความ, ใจความ) พระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ), ผู้บอกสอนพระบาลีชื่อว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม), ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าทำบาป อย่าได้เป็นคนมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้ชื่อว่า อนุสาสนีปุเรกขาระ (ผู้มุ่งสอน)
๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสมูลจิต)
-แต่ในอาบัติทุพภาสิตมีสมุฏฐานเดียว คือ เกิดทางวาจากับจิต, เป็นสจิตตกะ, อกุศลจิต (โลภมูลจิตและโมหมูลจิต)
๖.มุสาวาท และโอมสวาทสิกขาบท ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ แปลสิกขาบท “สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยํ” ว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชามุสาวาท” และ “โอมสวาเท ปาจิตฺติยํ” ว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท
การแปลทับศัพท์เช่นนี้เป็นการง่ายสำหรับบุคคลผู้แปล แต่ยากสำหรับผู้ศึกษาค้นคว้าในอันที่จะทำความเข้าใจ ควรแปลให้เข้าใจง่ายว่า ”เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่” และ “เป็นปาจิตตีย์ในเพราะพูดเสียดแทง” (นานาวินิจฉัย/๙๘)


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๕๒)
ภิกษุพูดส่อเสียดภิกษุ ต้องปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์เก็บเอาคำส่อเสียดของภิกษุผู้มีความบาดหมาง เกิดทะเลาะวิวาทกัน เมื่อฟังความแล้วเก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำจากฝ่ายโน้นแล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ด้วยเหตุนี้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงมากขึ้น

       ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียน แล้วกราบทูล... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิแล้วมีพระบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า ส่อเสียด อธิบายว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด มีได้ด้วยอาการ ๒ คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ของคนผู้ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑
       ภิกษุเก็บเอาวัตถุสำหรับส่อเสียดมากล่าวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลปะ ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑

อาบัติ
       ๑.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว (ปรารถนาจะให้เขาชอบตน หรือปรารถนาจะให้เขาแตกกัน) เก็บเอาคำส่อเสียด (คำต่อว่า) ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้พูดเหน็บแนมท่านว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
       ๒.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่าภิกษุบางคนเป็นชาติคนจัณฑาล ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด
       ๓.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๔.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาไปบอกแก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาไปบอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
       ภิกษุไม่ต้องการจะให้เขาชอบ ๑  ไม่ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๑๕๓-๑๕๔
       ๑.บทว่า ภณฺฑนชาตานํ  ได้แก่ ผู้เกิดความบาดหมางกันแล้ว, ส่วนเบื้องต้นแห่งความทะเลาะกันชื่อว่า ภัณฑนะ (ความบาดหมาง), การล่วงละเมิดทางกายและวาจาให้ถึงอาบัติ ชื่อว่า กลหะ (การทะเลาะ), การกล่าวขัดแย้งกัน ชื่อว่า วิวาทะ, พวกภิกษุผู้ถึงความวิวาทกันนั้น ชื่อว่า วิวาทาปันนะ
          -บทว่า เปสุญฺญํ ได้แก่ ซึ่งวาจาส่อเสียด อธิบายว่า วาจาทำให้สูญเสียความเป็นที่รักกัน, บทว่า ภิกฺขุเปสุญฺเญ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุ แล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ
       ๒.ชนทั้งหลายแม้พระทั่งภิกษุณี ชื่อว่า อนุปสัมบัน
       ๓.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑  วาจากับจิต ๑  กายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โลภมูลจิต, โทสมูลจิต, โมหมูลจิต)



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๕๓)
ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์

     พระฉัพพัคคีย์ให้เหล่าอุบาสกกล่าวธรรมโดยบท พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
       -ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ
       -ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน
       -ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน
       -ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ  อนุปสัมบันกล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด
       -ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจจา
       -บทว่า อนุบทก็ดี อนุอักขระก็ดี อนุพยัญชนะก็ดี ทั้งหมดนั้นชื่อว่า ธรรมโดยบท
      -ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม
       - ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท ให้กล่าวโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ

อาบัติ
       ๑.อนุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย (ว่าเป็นหรือไม่เป็นหนอ) ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๓.อนุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๔.อุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าว...ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.อุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าว... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๖.อุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าว... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุให้สวดพร้อมกัน ๑  ท่องพร้อมกัน ๑  อนุปสัมบันผู้กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินยะ. มหาวิ.๒/๑๕๘-๑๖๓
       ๑.บทว่า อปฺปติสสา  ได้แก่ ไม่ยำเกรง อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อน อุบาสกทั้งหลาย แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ประพฤติอ่อนน้อม เหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควรประพฤติต่อภิกษุ
       ๒.คำว่า ปทโส ธมมํ วาเจยฺย  ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ รวมกัน (กับอนุปสัมบัน) อธิบายว่า ให้กล่าวธรรมเป็นส่วนๆ ก็เพราะบทที่มีชื่อว่าเป็นส่วนๆ (โกฏฐาส) นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ
         บท หมายเอาคาถาบาทหนึ่ง, อนุบท หมายเอาบาทที่สอง, อนุอักขระ หมายเอาอักขระตัวหนึ่ง (หมายเอาอักขระแต่ละตัว), อนุพยัญชนะ หมายเอาพยัญชนะตัวท้ายคล้ายกับพยัญชนะตัวต้น ผู้ศึกษาพึงทราบความต่างกัน ดังนี้คือ อักขระตัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อนุอักขระ, ประชุมอักขระ ชื่อว่า อนุพยัญชนะ, ประชุมอักขระและอนุพยัญชนะ ชื่อว่า บท และบทแรก ชื่อว่าบทเหมือนกัน, บทที่สองชื่อว่า อนุบท
       ๓.เมื่อภิกษุให้กล่าวธรรมเนื่องด้วยคาถา เริ่มบทแต่ละบทนี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา พร้อมกันกับอนุปสัมบัน แล้วให้จบลงพร้อมกัน ภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนบท
       -เมื่อพระเถระกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ดังนี้  สามเณรกล่าวบทนั้นไม่ทัน จึงกล่าวบทที่สองพร้อมกันว่า มโนเสฏฺฐา มโนมยา.  ภิกษุและสามเณรทั้งสองรูปนี้ ชื่อว่าขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน ภิกษุให้กล่าวอย่างนี้ พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุบท
       -ภิกษุสอนสามเณรว่า เธอจงว่า รูปํ อนิจฺจํ กล่าวพร้อมกันเพียงรูปอักษรเท่านั้น แล้วหยุดอยู่ แม้ภิกษุให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุอักขระ, และคาถาประพันธ์ บัณฑิตก็ย่อมได้นับเช่นนี้เหมือนกันแท้ทีเดียว
       -สามเณรให้บอกสูตรนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเว อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา เป็นต้น พระเถระบอกว่า รูปํ อนิจฺจํ ดังนี้  สามเณรเปล่งวาจากล่าวว่า เวทนา อนิจจา พร้อมกับ รูปํ อนิจฺจํ ของพระเถระนั้น เพราะความที่เธอมีปัญญาว่องไว ภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ พระวินัยธรพึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุพยัญชนะ, ส่วนความสังเขปในบทเหล่านี้มีดังนี้ว่า บรรดา “บท” เป็นต้นนี้ ภิกษุกล่าวบทใดๆ พร้อมกัน ย่อมต้องอาบัติด้วยบทนั้นๆ
       ๔.”ภาษิต ๔ อย่าง”
      -วินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎก ธรรมบท จริยปิฎก อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ และพระสูตรทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต
       -ธรรมที่พวกสาวกผู้นับเนื่องในบริษัท ๔ ภาษิตไว้มี อนังคณสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร อนุมานสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น ชื่อว่า สาวกภาษิต
       -ธรรมที่พวกปริพาชกภายนอกกล่าวไว้ มีอาทิอย่างนี้คือ ปริพาชกวรรคทั้งหมด คำปุจฉาของพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นอันเตวาสกของพราหมณ์ ชื่อว่า พาวรี ชื่อว่า อิสิภาษิต
      -ธรรมที่พวกเทวดากล่าวไว้ มีเทวตาสังยุตต์ เทวปุตตสังยุตต์ มารสังยุตต์ พรหมสังยุตต์ และสักกสังยุตต์ เป็นต้น ชื่อว่า เทวตาภาษิต
       ภาษิตทั้ง ๔ ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม (ธรรมที่อาศัยอรรถกถา ชื่อว่า อรรถ, ธรรมที่อาศัยพระบาลี ชื่อว่าธรรม) ด้วยบทว่า “ประกอบด้วยอรรถ และประกอบด้วยธรรมนี้” พระอุบาลีเถระกล่าวหมายถึงธรรมที่อาศัยนิพพานซึ่งปราศจากวัฏฏะนั่นเอง, ภิกษุให้กล่าวย่อมเป็นอาบัติเหมือนกัน
       -เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ให้กล่าวธรรมที่ขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ คราว (สังคายนาครั้งที่ ๑-๓) โดยบทเหมือนกัน, ไม่เป็นอาบัติแม้ในคำที่อาศัยพระนิพพาน ซึ่งท่านรจนาโดยผูกเป็นคาถาโศลกไว้เป็นต้น ด้วยอำนาจภาษาต่างๆ
       -แม้ในพระสูตรที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ คราว เช่น กุลุมพสูตร ราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร และนันโทปนันทสูตร ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน, ถึงการทรมานพญานาคชื่อว่า อปลาละ อาจารย์ก็กล่าวว่าเป็นอาบัติ แต่ในมหาปัจจรีท่านว่าไม่เป็น
       -ในปฏิภาณส่วนตัวของพระเถระ ในเมณฑกมิลินฑปัญหา ไม่เป็นอาบัติ, แต่เป็นอาบัติในถ้อยคำที่พระเถระนำมากล่าว เพื่อให้พระราชามิลินฑ์ยินยอม
       -อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมชื่อว่า สีลูปเทส ซึ่งพระสารีบุตรกล่าวไว้ เป็นอาบัติเหมือนกัน, ยังมีปกรณ์แม้อื่น เช่น มัคคกถา อารัมมณกถา วุฑฒิกรันฑกญาณวัตถุ และอสุภกถา เป็นต้น ในปกรณ์เหล่านี้ ท่านจำแนกโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ไว้, ในธุดงคปัญหาท่านจำแนกปฏิปทาไว้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเป็นอาบัติในปกรณ์เหล่านั้น
       -แต่ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวอนาบัติไว้ในจำพวกราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร นันโทปนันทสูตร กุลุมพสูตร (ทั้งหมดเป็นพระสูตรของฝ่ายมหายาน) นั้นแล ซึ่งไม่ขึ้นสู่สังคีติ (การสังคายนา) แล้วกำหนดอรรถไว้ดังนี้ว่า บรรดาคำในสูตรเหล่านั้น เฉพาะคำที่ท่านนำมาจากพุทธพจน์กล่าวไว้เท่านั้น เป็นวัตถุแห่งอาบัติ นอกจากนี้หาเป็นไม่
       ๕.อุปสัมบันกับอนุปสัมบันนั่งแล้ว ขอให้อาจารย์สวด อาจารย์คิดว่าเราจะสวดแก่อุปสัมบันและอนุปสัมบันทั้งสองผู้นั่งแล้ว จึงสวดพร้อมกันกับเธอเหล่านั้น เป็นอาบัติแก่อาจารย์ เป็นอนาบัติแก่ภิกษุผู้เรียนเอาพร้อมกับอนุปสัมบัน, แม้อุปสัมบันกับอนุปสัมบันทั้งสองยืนเรียนอยู่ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
       -ภิกษุหนุ่มนั่ง สามเณรยืน ไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์ผู้บอก ด้วยคิดว่าเราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้นั่ง, ถ้าภิกษุหนุ่มยืน สามเณรนั่ง ก็ไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์ผู้กล่าวอยู่ ด้วยคิดว่าเราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน
       -ถ้าสามเณรรูปหนึ่งนั่งอยู่ระหว่างภิกษุมากรูป เป็นอจิตตกาบัติแก่อาจารย์ผู้ให้กล่าวธรรมโดยบท ในเฉพาะสามเณรนั่งอยู่ด้วย
       -ถ้าสามเณรยืนหรือนั่งละอุปจารเสีย เพราะสามเณรไม่นับเนื่องอยู่ในพวกภิกษุที่อาจารย์ให้กล่าว (ธรรมโดยบท) เธอจึงถึงการนับว่า เรียนเอาคัมภีร์เล็ดลอดออกไปโดยทิศหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์
       ๖.อุปสัมบันเมื่อกระทำการสาธยายร่วมกันกับอนุปสัมบัน สวดพร้อมกันกับอนุปสัมบันนั้นแล ไม่เป็นอาบัติ แม้ภิกษุเรียนอุเทศในสำนักแห่งอนุปสัมบัน สวดร่วมกับอนุปสัมบันนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะว่าแม้อุปสัมบันนี้ก็ถึงอันนับว่ากระทำสาธยายพร้อมกันแท้
       -ถ้าในคาถาเดียวกัน บาทหนึ่งๆ ยังจำไม่ได้ ที่เหลือจำได้ นี้ชื่อว่าคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก, แม้ในพระสูตรผู้ศึกษาก็พึงทราบโดยนัยนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทักให้คัณฐะ (คัมภีร์) นั้นค้างอยู่ จึงสวดพร้อมกัน
       ๗.สิกขาบทนี้มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐาน เกิดทางวาจา ๑  วาจากับจิต ๑  เป็นอจิตตกะ เป็นปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต (โลภมูลจิต), กุศลจิต, กิริยาจิต)
       ๘.ในพระไตรปิฎกฯ เล่มเดียวกัน แปลสิกขาบท “โย ปน ภิกฺขุ อนุปสมฺปนฺนํ ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย ปาจิตฺติย” ว่า “อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์” แปลเช่นนี้นอกจากจะไม่เข้าใจแล้ว ยังทำให้สงสัยได้อีกด้วยว่า เมื่อไม่กล่าวโดยบทแล้ว จะให้กล่าวทีละอักษรหรืออย่างไร
       บทว่า “ปทโส” ในสิกขาบทนี้ไม่ควรแปลว่า “โดยบท” เพราะโส ปัจจัยในที่นี้ไม่ได้ลงใจอรรถตติยาวิภัตติ แต่ลงในอรรถวิจฉา (คำซ้ำ) ลง ทุติยาวิภัตติ หลัง ปทโส แต่ลงแล้วลบไป  ฉะนั้น ปทโส จึงเท่ากับ ปทํ ปทํ (ทุกๆ บท) นั่นเอง
       “ปท” ศัพท์ในบทว่า “ปทโส” นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (ส่วน) ดังที่อรรถกถาพรรณนาไว้ว่า “ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺยาติ เอกโต ปทํ ปทํ ธมฺมํ วาเจยฺย โกฏฺฐาสํ โกฏฺฐาสํ วาเจยฺยาติ อตฺโถ
       คำว่า “ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺยํ” หมายความว่า ให้กล่าว (สวด) ธรรมทุกๆ บท คือ ทุกๆ ส่วนพร้อมกัน (กับตน)

ปทศัพท์ มีอรรถ ๙ อย่าง คือ

ปทํ ฐาเน ปริตฺตาเณ       นิพฺพานมฺหิ จ การเณ
สทฺเท วตฺถุมฺหิ โกฏฺฐาเส     ปาเท ตลฺลญฺฉเน มตํ.
     
      พึงทราบว่า บทว่า ปท มีอรรถ ๙ อย่าง คือ ฐาน ที่ตั้ง, ปริตฺตาณ ป้องกัน, นิพฺพาน พระนิพพาน, การณ เหตุ, สทฺท เสียง, วตฺถุ พัสดุ, โกฏฺฐาส ส่วน, ปาท เท้า, ตลฺลญฺฉน รอยเท้า
       ปท ศัพท์ในสิกขาบทนี้หมายเอาอรรถ “โกฏฺฐาส” เท่านั้น  ฉะนั้น จึงควรแปลว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมทุกๆ บทพร้อมกัน (กับตน) เป็นอาบัติปาจิตตีย์
       โดยมาก ในครั้งโบราณสอนธรรมกันด้วยปาก แล้วให้ลูกศิษย์ว่าตามจนกว่าจะจำได้ ในกรณีนี้ ถ้าภิกษุใดให้ลูกศิษย์เป็นอนุปสัมบันว่าตามไปพร้อมกันกับตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่สมัยนี้เรียนกันด้วยตัวหนังสือ จึงไม่เป็นอาบัติเพราะสิกขาบทนี้ (นานาวินิจฉัย/๙๘-๙)



คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
           ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
           (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มิถุนายน 2560 16:15:47 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 05 เมษายน 2560 18:20:14 »


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๕๔)
ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน เกิน ๓ คืนขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์

       พวกอุบาสกพากันมาสู่อารามในเมืองอาฬวี เพื่อฟังธรรม  เมื่อพระธรรมถึกแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุชั้นเถระกลับไปยังที่อยู่ ภิกษุชั้นนวกะสำเร็จการนอนร่วมกับพวกอุบาสกอยู่ในศาลาที่ฟังธรรมนั่นเอง ภิกษุนวกะเหล่านั้นได้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมออยู่
       พวกอุบาสกพากันกล่าวโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายได้ยินคำติเตียน จึงพากันติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์”
       กาลต่อมาที่เมืองโกสัมพี ภิกษุทั้งหลายได้ห้ามท่านสามเณรราหุลมิให้เข้านอน  วันนั้น สามเณรราหุลได้นอนในวัจจกุฏี ตอนเช้ามืด พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพบท่านสามเณราหุล ทรงทราบความนั้น จึงทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่า อนุปสัมบัน
       -บทว่า ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน คือ เกินกว่า ๒-๓ คืน
       -บทว่า ร่วม คือ ด้วยกัน
       -ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก
       -คำว่า สำเร็จการนอน ได้แก่ ในวันที่ ๔ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบันนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์, ภิกษุนอนแล้ว อนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์, หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์, ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติ
       ๑.อนุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วมยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วมยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๓.อนุปสัมบัน ภิกษุคิดว่า (สำคัญว่า) เป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วมยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๔.ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วมยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.อุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอนุปสัมบัน... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๖.อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๗.อุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑  อยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑  ภิกษุอยู่ ๒ คืน แล้วคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณ แล้วอยู่ใหม่ ๑  อยู่ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑  อยู่ในสถานที่บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑  อยู่ในสถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑  อนุปสัมบันนอน ภิกษุนั่ง ๑  ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง ๑ หรือนั่งทั้งสอง ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๑๖๙-๑๗๘
       ๑.ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านราหุลว่า “ท่านราหุล สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว” ดังนี้ ด้วยความเคารพในสิกขาบทนั่นเทียว, แต่โดยปกติ เพราะความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าและเพราะท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ยามที่ท่านราหุลมายังที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นๆ จึงปูลาดเตียงเล็กๆ หรือพนักพิงอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่แล้ว ถวายจีวร (สังฆาฏิ) หรืออุตราสงค์ เพื่อต้องการให้ท่านราหุลทำเป็นเครื่องหนุนศีรษะ

       ข้อที่กล่าวว่า ท่านราหุลเป็นผู้ใคร่ศึกษา มีตัวอย่างดังนี้
       ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านราหุลนั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ก็พากันวางไม้กวาดหรือกระเช้าเทขยะไว้ข้างนอก เมื่อภิกษุพวกอื่นมากล่าวถามว่า ท่านผู้มีอายุ นี้ใครเอามาวางทิ้งไว้ ดังนี้ ภิกษุอีกพวกหนึ่งจะกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านราหุลเที่ยวมาแถวนี้ ชะรอยเธอคงวางทิ้งไว้กระมัง ส่วนท่านราหุลนั้น ไม่ค่อยปริปากพูดเลยว่า นี้ไม่ใช่การกระทำของผมขอรับ ได้เก็บงำไม้กวาดเป็นต้นนั้นแล้ว ขอขมาภิกษุทั้งหลายก่อนแล้วจึงไป
       -ท่านราหุลนั้นเพิ่มพูนอยู่ซึ่งความเป็นผู้ใคร่ในสิกขาบทนั้นนั่นเอง จึงไม่ไปสู่สำนักแห่งพระธรรมเสนาบดี พระมหาโมคคัลลานะและพระอานนท์ เป็นต้น จึงสำเร็จการนอนในเวจกุฎีที่บังคนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินว่า กูฎีนั้นเขาติดบานประตูไว้ ทำการประพรมด้วยของหอม มีพวงดอกไม้แขวนไว้เต็ม ตั้งอยู่ดุจเจติยสถาน ไม่ควรแก่การบริโภคใช้สอยของคนเหล่าอื่น
       ๒.พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประทานบริหารสิ้น ๓ ราตรี เพื่อต้องการสงเคราะห์แก่พวกสามเณร จริงอยู่ การที่ภิกษุให้พวกเด็กในสกุลบวชแล้วไม่อนุเคราะห์ ย่อมไม่สมควร
       -บทว่า สหเสยฺยํ คือ การนอนร่วมกัน, แม้การนอน กล่าวคือการทอดกาย ท่านเรียกว่า ไสย, ภิกษุทั้งหลายนอนในเสนาสนะใด แม้เสนาสนะนั้นท่านก็เรียกว่าไสย (ที่นอน)
       -ก็เสนาสนะใดที่เขากั้นตั้งแต่พื้นดินจนจรดหลังคา ด้วยกำแพง หรือด้วยวัตถุอะไรๆ อื่นก็ตาม โดยที่สุดแม้ด้วยผ้า ที่นอนนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า บังทั้งหมด
       -ในอรรถกถากุรุนทีกล่าวว่า ที่นอนแม้ที่เขากั้นด้วยเครื่องกั้น มีกำแพงเป็นต้น อย่างต่ำสูงศอกคืบ ไม่จรดหลังคา จัดว่าบังทั้งหมดเหมือนกัน ก็เพราะที่ที่มุงข้างบนมากกว่าที่ไม่ได้มุงน้อย หรือว่าที่เขากั้นโดยรอบมากกว่าที่ไม่ได้กั้นน้อย ฉะนั้นที่นอนนี้จึงชื่อว่า มุงโดยมาก บังโดยมาก
       ๓.อธิบายลักษณะแห่งที่นอนคือเสนาสนะต่างๆ กัน
       ก็ด้วยบทว่า สพฺพจฺฉนฺนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสลักษณะแห่งที่นอน กล่าวคือเสนาสนะนั้น เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใดมุงทั้งหมดทีเดียวในเบื้องต้น ด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด หรือด้วยวัตถุอะไรๆ อื่นก็ตาม, ที่นอนนี้ชื่อว่า มุงทั้งหมด
       แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านถือเอาโวหารที่ปรากฏกล่าวด้วยอำนาจคำคล่องปากว่า ที่นอนอันมุงด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด ชื่อว่ามุงทั้งหมด ดังนี้ แม้ท่านกล่าวคำนั้นไว้แล้วก็จริง, ถึงกระนั้นก็ไม่อาจทำให้ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฏีผ้าได้,  เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเครื่องมุงและเครื่องบังในสิกขาบทนี้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถปิดบังได้
       จริงอยู่ เมื่อถือเอาเครื่องมุง ๕ ชนิดเท่านั้น การนอนร่วมในกุฎีแม้ที่มุงด้วยไม้กระดาน ก็ไม่พึงมีได้ ก็เสนาสนะใดที่เขากั้นตั้งแต่พื้นดินจนจรดหลังคาด้วยกำแพง หรือด้วยวัตถุอะไรๆ อื่นก็ตาม โดยที่สุดแม้ด้วยผ้า, ที่นอนนี้ พึงทราบว่าชื่อว่า บังทั้งหมด
       ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ที่นอนแม้เขากั้นด้วยเครื่องกั้นมีกำแพงเป็นต้น สูงศอกคืบโดยปริยาย อย่างต่ำสุดไม่จรดหลังคา จัดว่าบังทั้งหมดเหมือนกัน ก็เพราะที่ที่มุงข้างบนมากกว่าที่ไม่ได้มุงน้อย หรือว่าที่ที่เขากั้นโดยรอบมากกว่าที่ไม่ได้กั้นน้อย ฉะนั้นที่นอนนี้จึงชื่อว่า มุงโดยมาก บังโดยมาก
       ก็ปราสาทที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ ถ้าแม้นมีถึง ๗ ชั้น มีอุปจารเดียวกัน หรือว่าศาลา ๔ มุข มีห้องตั้งร้อย ก็ถึงอันนับว่าที่นอนอันเดียวกันแท้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงที่นอนนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ในวันที่ ๔ เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้ และเป็นปาจิตตีย์โดยเพียงแต่นอนบนที่นอนนั้นเท่านั้น
       ก็ถ้าว่า มีสามเณรมากรูป ภิกษุรูปเดียว เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนสามเณร ถ้าหากว่าสามเณรเหล่านั้นผุดลุกผุดนอน ภิกษุต้องอาบัติทุกๆ ประโยคของสามเณรเหล่านั้น ก็ด้วยการผุดลุกผุดนอนของภิกษุ เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะประโยคของภิกษุนั้นเอง
       ถ้าภิกษุมากรูป สามเณรรูปเดียว, แม้สามเณรรูปเดียวก็ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด แม้ด้วยการผุดลุกผุดนอนของสามเณรนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน ถึงในความที่ภิกษุและสามเณรมากรูปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
       ๔.ลักษณะแห่งอาวาสอื่นๆ
       อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ พึงทราบหมวด ๔ แม้มีอาวาสแห่งเดียวเป็นต้น ความพิสดารว่า ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเพียงคนเดียว ในอาวาสแห่งเดียวกัน สิ้น ๓ ราตรี เป็นอาบัติทุกวัน จำเดิมแต่วันที่ ๔ แก่ภิกษุแม้นั้น, ฝ่ายภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมสิ้น ๓ ราตรี กับอนุปสัมบันต่างกันหลายคน ในอาวาสแห่งเดียวนั่นเอง เป็นอาบัติทุกวันแก่ภิกษุแม้นั้น (จำเดิมแต่วันที่ ๔) แม้ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วม สิ้น ๓ ราตรี กับอนุปสัมบันเพียงคนเดียวเท่านั้น ในอาวาสต่างๆ กัน เป็นอาบัติทุกๆ วัน แม้แก่ภิกษุนั้น (จำเดิมแต่วันที่ ๔) แม้ภิกษุใดเดินทางสิ้นระยะตั้ง ๑๐๐ โยชน์ สำเร็จการนอนร่วม (สิ้น ๓ ราตรี ) กับอนุปสัมบันต่างกันหลายคน ในอาวาสต่างๆ กัน เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้นทุกๆ วัน นับแต่วันที่ ๔ ไป
       ก็ชื่อว่า สหเสยยาบัติ นี้ ย่อมเป็นแม้กับสัตว์ดิรัจฉาน เพราะพระบาลีว่า ที่เหลือ เว้นภิกษุ ชื่อว่าอนุปสัมบัน ในสหเสยยาบัตินั้นการกำหนดสัตว์ดิรัจฉาน พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเมถุนธรรมาบัตินั่นแล เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่าบรรดาสัตว์ดิรัจฉานชนิด ๔ เท้า มีเหี้ย แมว และตะกวด เป็นต้น ดิรัจฉานบางชนิดเข้าไปนอนอยู่ในที่มีอุปจารอันเดียวกันในเสนาสนะเป็นที่อยู่ของภิกษุ จัดเป็นการนอนร่วมเหมือนกัน ถ้าว่ามันเข้าไปทางโพรงของหัวไม้ขื่อ (คาน) มีโพรงที่ตั้งอยู่ข้างฝาแห่งปราสาทที่เขาสร้างไว้เบื้องบนเสาทั้งหลาย ซึ่งมีฝาไม่เชื่อมต่อกันกับพื้นชั้นบน แล้วนอนอยู่ภายในไม้ขื่อ ออกไปทางโพรงนั้นนั่นเอง ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมภายใต้ปราสาท
       ถ้ามีช่องบนหลังคา มันเข้าไปตามช่องนั้น อยู่ภายในหลังคาแล้วออกไปทางช่องเดิมนั้นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมภายในหลังคาที่พื้นชั้นบนซึ่งมีอุปจารต่างกัน, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนที่พื้นชั้นล่าง ถ้าพวกภิกษุขึ้นทางด้านในปราสาททั้งนั้น ใช้สอยพื้นที่ทั้งหมด, พื้นที่ทั้งหมดมีอุปจารเดียวกัน, เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนบนพื้นใดพื้นหนึ่งในบรรดาพื้นทั้งหมดนั้น
       ภิกษุผู้นอนในเสนาสนะที่มีฝาเป็นเพิง ซึ่งสร้างโดยอาการคล้ายกับสภา มีนกพิราบเป็นต้น เข้าไปนอนอยู่ในที่ทั้งหลาย มีเต้าที่ทำเป็นรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น เป็นอาบัติเหมือนกัน นกพิราบเป็นต้น นอนในภายในชายคาที่ยื่นออกไปภายนอกเครื่องล้อม (ฝาผนังกั้น) ไม่เป็นอาบัติ ถ้าแม้นเสนาสนะกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีห้องตั้ง ๑๐๐ ห้องด้วยแถวห้องที่มีหลังคาเดียวกัน ถ้าพวกภิกษุเข้าไปในเสนาสนะนั้น ทางประตูสาธารณะประตูหนึ่งแล้ว เลยเข้าไปในห้องทั้งหมด ซึ่งมีอุปจารห้องที่มิได้กั้นด้วยกำแพงต่างหาก. เมื่ออนุปสัมบันนอนแล้ว แม้ในห้องหนึ่ง ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายผู้นอนในทุกๆ ห้อง
       ถ้าห้องทั้งหลายมีหน้ามุข, และหน้ามุขไม่ได้มุงข้างบน, ถ้าแม้นเป็นที่มีพื้นที่สูง, อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุข ไม่ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายผู้นอนในห้อง แต่ถ้าว่า หน้ามุขมีหลังคาต่อเนื่องกันกับหลังคาแห่งห้องทีเดียว อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุขนั้นทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป, เพราะเหตุไร? เพราะเป็นห้องมุงทั้งหมดและบังทั้งหมด จริงอยู่ เครื่องกั้นห้องนั้นแหละเป็นเครื่องกั้นหน้ามุขนั้นด้วยแล สมจริงโดยนัยนี้แหละ ในอรรถกถาทั้งหลายท่านอาจารย์จึงปรับอาบัติไว้ในซุ้มประตูทั้ง ๔ แห่งเครื่องกั้น (ฝาผนัง) โลหปราสาท แต่คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาอันธกะว่า คำว่า ในหน้ามุขที่ไม่ได้กั้น เป็นอนาบัติ ท่านกล่าวหมายเอาหน้ามุขบนพื้นนอกจากพื้นดิน ดังนี้, คำว่า ท่านกล่าวหมายเอาห้องแถวที่มีหลังคาอันเดียวกัน ซึ่งสร้างไว้เป็นสัดส่วนต่างหากในแคว้นอันธกะ ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บนพื้นนอกจากพื้นดินในอรรถกถาอันธกะนั้น ไม่มีในอรรถกถาทั้งหลายเลย ทั้งไม่สมด้วยพระบาลี ความจริงพื้นดินแม้สูงถึง ๑๐ ศอก ก็ไม่ถึง การนับว่าเป็นเครื่องกั้นได้ เพราะฉะนั้น แม้คำใดที่ท่านกล่าวประมาณแห่งพื้นดินไว้ในสิกขาบทที่ ๒ ในอันธกอรรถกถานั้น แล้วกล่าวว่า ฐาน  กล่าวคือพื้นดินนั้นชื่อว่า กั้นด้วยอุปจารเดียวกัน ดังนี้, คำนั้นบัณฑิตไม่ควรถือเอา
       มหาปราสาทแม้เหล่าใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียว ๒ หลัง ๓ หลัง และ ๔ หลัง ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้วเข้าไป อาจเดินเวียนรอบไปได้ในทุกที่ทุกแห่ง แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น ภิกษุย่อมไม่พ้นจากสหเสยยาบัติ ถ้าว่ามหาปราสาทเป็นที่อันเขาสร้างกำหนดอุปจารไว้ในที่นั้นๆ เป็นอาบัติเฉพาะในที่มีอุปจารเดียวกันเท่านั้น
       พวกช่างทำกำแพงกั้นในท่ามกลางแห่งมณฑปซึ่งมีหลังคาฉาบปูนขาวประกอบด้วยประตู ๒ ช่อง อนุปสัมบันเข้าไปทางประตูหนึ่ง นอนอยู่ในเขตหนึ่ง และภิกษุนอนอยู่ในเขตหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ ที่กำแพงมีช่อง แม้พอสัตว์ดิรัจฉานมีเหี้ยเป็นต้น เข้าไปได้, พวกเหี้ยนอนอยู่ในเขตหนึ่ง, ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน เพราะเรือนไม่ชื่อว่ามีอุปจารเดียวกับด้วยช่อง, ถ้าว่าพวกช่างเจาะตรงกลางกำแพง แล้วประกอบประตูไว้ เป็นอาบัติเพราะเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน, ภิกษุทั้งหลายปิดบานประตูนั้นแล้วนอน เป็นอาบัติเหมือนกัน เพราะการปิดประตูเรือนจะชื่อว่ามีอุปจารต่างกัน หรือประตูจะชื่อว่าไม่ใช่ประตูหามิได้เลย เพราะบานประตูเขากระทำไว้เพื่อประโยชน์สำหรับใช้สอยด้วยการปิดเปิดได้ตามสบาย ไม่ใช่เพื่อต้องการจะตัดการใช้สอย ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายเอาพวกอิฐปิดประตูนั้นซ้ำอีก ไม่จัดว่าเป็นประตู ย่อมตั้งอยู่ในภาวะที่มีอุปจารต่างๆ กันตามเดิมนั้นแล
       เรือนเจดีย์มีหน้ามุขยาว บานประตูบานหนึ่งอยู่ด้านใน บานหนึ่งอยู่ด้านนอก อนุปสัมบันนอนในระหว่างประตูทั้ง ๒ ย่อมทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนภายในเรือนเจดีย์ เพราะมีอุปจารเดียวกัน
       มีคำทักท้วงว่า ในคำว่า ทีฆมุขํ เป็นต้นนั้น อาจารย์ผู้ทักท้วงท่านใดพึงมีความประสงค์ดั่งนี้ว่า ชื่อว่า ความเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน และมีอุปจารต่างกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในอุทโทสิตสิกขาบท, แต่ในสิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเพียงเท่านี้ว่า ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก ดังนี้เท่านั้น, และห้องที่ปิดประตูแล้ว จัดว่าบังทั้งหมดเหมือนกัน;  เพราะเหตุนั้น ในเรือนแห่งเจดีย์นั้นจึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันผู้นอนภายในเท่านั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันผู้นอนภายนอก
       อาจารย์ผู้ท้วงนั้น อันสกวาทีพึงกล่าวค้านอย่างนี้ว่า ก็ในเรือนแห่งเจดีย์ที่ไม่ปิดประตู เหตุไรจึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันผู้นอนในภายนอกเล่า?
       อาจารย์ผู้ท้วงจะพึงเฉลยว่า เพราะหน้ามุขกับห้องเป็นที่มุงทั้งหมด
       สกวาทีถามว่า ก็เมื่อปิดห้องแล้ว หลังคารื้อออกได้หรือ?
       อาจารย์ผู้โจทก์เฉลยว่า รื้อออกไม่ได้, เพราะหน้ามุขกับห้องบังทั้งหมดจึงรื้อไม่ได้
       สกวาทีถามว่า ผนังกั้น (หน้ามุข) รื้อออกได้หรือ?
       อาจารย์ผู้โจทก็จักกล่าวแน่นอนว่า รื้อออกไม่ได้ (เพราะ) อุปจารกั้นไว้ด้วยบานประตู อาจารย์ผู้โจทก์จักดำเนินไปไกลแสนไกล โดยนัยอย่างนี้ แล้วจักวกกลับมาหาความมีอุปจารเดียวกัน และอุปจารต่างกันนั่นแหละอีก
       อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากว่า เนื้อความจะพึงเป็นอันเข้าใจได้ง่ายด้วยเหตุว่าสักว่าพยัญชนะอย่างเดียวไซร้, ที่นอนมุงด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น จึงจะจัดเป็นที่นอนได้ ตามพระบาลีที่ว่ามุงทั้งหมด, ที่นอนมุงด้วยเครื่องมุงอย่างอื่นไม่ใช่, และเมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่พึงเป็นอาบัติในที่นอนซึ่งมุงด้วยไม้กระดานเป็นต้น เพราะไม่มีความเป็นอาบัตินั้น สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นแหละจะเสียประโยชน์อันนั้นไปหรือไม่ก็ตามที : ทำไมจะไปถือเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้เล่า? หรือว่าใครเล่ากล่าวว่า ควรเชื่อถือถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอนิยตสิกขาบททั้งสองว่า อาสนะ ที่ชื่อว่ากำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
       เพราะฉะนั้น ในอนิยตสิกขาบทนั้น ท่านถือเอาอาสนะที่เขากำบังด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันใด, ถึงสิกขาบทนี้ บัณฑิตก็พึงถือเอาเสนาสนะนั้นฉันนั้น เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใดๆ จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที เกี่ยวเนื่องหรือไม่เกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุอื่น ยาวหรือกลม หรือ ๔ เหลี่ยมจัตุรัสก็ตาม มีพื้นชั้นเดียวหรือมีพื้นมากชั้นก็ตาม ซึ่งมีอุปจารเดียวกัน, เป็นสหเสยยาบัติในเสนาสนะนั้นๆ ทั้งหมด ซึ่งมุงทั้งหมด หรือมุงโดยมาก ด้วยเครื่องกำบังอย่างใดอย่างหนึ่งแล
       ในคำว่า มุงกึ่งหนึ่ง บังกึ่งหนึ่ง ต้องทุกกฎนี้ ในมหาปัจจรีก็กล่าวว่าเป็นทุกกฎเหมือนกัน แม้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ในเสนาสนะที่มุงทั้งหมด บังโดยมาก เป็นปาจิตตีย์, ในเสนาสนะมุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์, มุงโดยมาก บังกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์, บังทั้งหมด มุงโดยมาก เป็นปาจิตตีย์, บังทั้งหมด มุงกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์, บังโดยมาก มุงกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์, เป็นปาจิตตีย์ ๗ ตัว รวมกับปาจิตตีย์ที่ตรัสไว้ในบาลี (ในมหาอรรถกถา) กล่าวว่า ในเสนาสนะ มุงทั้งหมด บังเล็กน้อย เป็นทุกกฎ, มุงโดยมาก บังเล็กน้อย เป็นทุกกฎ, บังทั้งหมด มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฎ, บังโดยมาก มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฎ, เป็นทุกกฎ ๕ ตัว รวมกับทุกกฎในบาลี ในเสนาสนะที่มุงกึ่งหนึ่ง บังเล็กน้อย เป็นอนาบัติ, บังกึ่งหนึ่ง มุงเล็กน้อย เป็นอนาบัติ, มุงเล็กน้อย บังเล็กน้อย เป็นอนาบัติ
       ก็ในคำว่า ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้  ท่านกล่าวว่า มีความประสงค์เอาเปนัมพมณฑปวรรณ พื้นดินย่อมไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนังกั้นได้ ฉันใด, แม้ด้วยคำว่า ในที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมดนี้ บัณฑิตก็พึงทราบคำว่า พื้นดินไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนังกั้นได้นี้ ฉันนั้น บทที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล
       ๓.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑  ทางกายกับจิต ๑  เป็น กิริยา อจิตตกะ ปัณณัติติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓


คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
           ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
           (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2560 16:32:04 »


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๕๕)
ภิกษุนอนในที่มุงบังอันเดียวกันกับผู้หญิง แม้คืนแรก ต้องปาจิตตีย์

      พระอนุรุทธะเดินทางไปพระนครสาวัตถี ในเวลาเย็นท่านเข้าไปในหมู่บ้าน มีสตรีผู้หนึ่งจัดบ้านพักไว้สำหรับอาคันตุกะ ท่านเข้าไปหาสตรีนั้นกล่าวว่า ถ้าเธอไม่หนักใจ อาตมาขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่ง สตรีนั้นกล่าวว่านิมนต์พักเถิดเจ้าข้า ต่อมาพวกคนเดินทางได้เข้ามาขอพักด้วย นางบอกให้พวกเขาไปขอพระอนุรุทธะพัก ท่านได้อนุญาตแล้ว
       นางมีจิตปฏิพัทธ์ในพระอนุรุทธะ จึงเข้าไปหาพระอนุรุทธะเรียนว่า ในที่นี้ปะปนกัน จักพักผ่อนไม่สบาย ขอให้ไปพักที่ใหม่ที่นางจัดให้ เมื่อพระอนุรุทธะเข้าไปในห้องที่นางจัดให้ นางได้เข้าไปหาพูดคุยชักชวนให้พระอนุรุทธะชมรูปร่างของนาง และขอเป็นภรรยาของพระอนุรุทธะ ท่านได้นั่งสำรวมอินทรีย์ไม่แลดู แม้นางจะเปลื้องผ้าทั้งหมดก็ตาม นางได้เห็นถึงความอัศจรรย์ สำนึกผิดขอขมาโทษต่อพระอนุรุทธะ ขอให้ท่านอภัยให้ พระอนุรุทธะได้ให้อภัยนาง
       รุ่งขึ้น นางได้ถวายภัตตาหารเช้าแก่พระอนุรุทธะ ท่านได้แสดงธรรมแก่นาง นางได้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต  เมื่อท่านไปถึงนครสาวัตถีได้แจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นแก่พวกภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้ตำหนิติเตียนท่านว่า นอนร่วมกับมาตุคาม... กราบทูลพระศาสดา... ทรงมีพระบัญญัติว่า...
       “อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
      -ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น
      -บทว่า ร่วม คือ ด้วยกัน
      -ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ ภูมิสถานอันเป็นที่นอน อันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก
      -คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว มาตุคามนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ภิกษุนอนแล้ว มาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติ
       ๑.มาตุคาม  ภิกษุรู้ว่าเป็นมาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.มาตุคาม ภิกษุสงสัย แล้วสำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๓.มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๔.ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๕.ภิกษุสำเร็จการนอนร่วมกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๖.มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม... ต้องอาบัติทุกกฏ
       ๗.มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๘.มิใช่มาตุคาม ภิกษุรู้ว่ามิใช่มาตุคาม... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑  ในสถานที่บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑  ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑  มาตุคามนอน ภิกษุนั่ง ๑  ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง ๑  นั่งทั้งสอง ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๑๘๔-๑๘๕
       ๑.สตรีนางนั้นจัดสร้างสถานที่นั้นเพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ
       ๒.นางได้ประดับประพรมของหอม คิดว่า ไฉนหนอ เมื่อพระผู้เป็นเจ้านั้นเห็นเรา จะพึงเกิดความกำหนัด
       -กลิ่นของหอมนั้นมีแก่หญิง เหตุนั้น หญิงนั้นจึงชื่อว่า คันธคันธินี ผู้มีกลิ่นหอม
       ๓.ความผิดพลาด ชื่อว่าโทษล่วงเกิน
       สิกขาบทนี้มีความต่างจากสิกขาบทก่อน (สิกขาบทที่ ๕) คือ ในสิกขาบทก่อนเป็นอาบัติในวันที่ ๔,  ในสิกขาบทนี้เป็นอาบัติแม้ในวันแรก,  เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้สำเร็จการนอนร่วมกับนางยักษ์และนางเปรตผู้มีรูปปรากฏ (ให้เห็น) และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เฉพาะที่เป็นวัตถุแห่งเมถุนธรรม (เฉพาะที่พอจะเสพเมถุนได้) สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียที่เหลือเป็นอนาบัติ, แม้สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นเอง      



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๕๖)
ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้หญิงเกินกว่า ๖ คำขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์

      ครั้งนั้นเวลาเช้า พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลแห่งหนึ่ง เวลานั้นหญิงแม่เรือนนั่งที่ประตูเรือน หญิงสะใภ้นั่งอยู่ที่ประตูห้องนอน ท่านอุทายีเดินเข้าไปทางหญิงแม่เรือน แล้วแสดงธรรมในที่ใกล้หูหญิงแม่เรือน หญิงสะใภ้สงสัยว่าพระสมณะนี้คงเป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือพูดเกี้ยว  จากนั้นพระอุทายีเดินเข้าไปหาหญิงสะใภ้แล้วแสดงธรรมในที่ใกล้หูอีก ฝ่ายหญิงแม่เรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนี้คงเป็นชายชู้ของหญิงสะใภ้ หรือคงพูดเกี้ยว เมื่อท่านอุทายีกลับไปแล้ว หญิงทั้งสองนั้นได้สอบถามกันและกันต่างทราบว่าท่านอุทายีแสดงธรรม
       สตรีทั้งสองจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าอุทายีจึงแสดงธรรมในที่ใกล้หูมาตุคามเล่า ธรรมดาของผู้แสดงธรรมควรจะแสดงด้วยเสียงชัดเจน เปิดเผย มิใช่หรือ?  ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ต่างก็เพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงติเตียนแล้วมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด แสดงธรรมแก่มาตุคาม เป็นปาจิตตีย์”
       สมัยต่อมา พวกอุบาสิกาพบภิกษุทั้งหลายแล้ว อาราธนาให้แสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ เพราะพวกข้าพเจ้าก็สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรม แม้ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้ แต่ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ด้วยมีพระบัญญัติห้ามไว้ พวกอุบาสิกาจึงเพ่งโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล,,, ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เป็นปาจิตตีย์”
       พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ จึงให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ภิกษุทั้งหลายต่างเพ่งโทษติเตียน... แล้วกราบทูล... ทรงมีพระอนุบัญญัติ ว่า
       "อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา สามารถทรายถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต
       -บทว่า ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ คือ เกินกว่า ๕-๖ คำ
       -ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม
       -บทว่า แสดง คือ แสดงโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท แสดงโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ, ยกไว้แต่มีบุรุษผู้รู้ความอยู่ด้วย
       -บุรุษผู้รู้เดียงสา คือ ผู้สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ

อาบัติ
       ๑.มาตุคาม ภิกษุรู้ว่าเป็นมาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.มาตุคาม ภิกษุสงสัย... ต้องปาจิตตีย์
       ๓.มาตุคาม ภิกษุคิดว่าไม่ใช่มาตุคาม...ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย มีกายคล้ายมนุษย์ ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.มิใช่มาตุคาม ภิกษุคิดว่าเป็นมาตุคาม... ต้องทุกกฎ
       ๖.มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
       มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย ๑  ภิกษุแสดงเพียง ๕-๖ คำ ๑  แสดงหย่อนกว่า ๕-๖ คำ ๑  ภิกษุลุกขึ้น แล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป ๑  มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น ๑  ภิกษุแสดงแก่มาตุคามอื่น ๑  มาตุคามถามปัญหา ภิกษุกล่าวแก้ปัญหา ๑  ภิกษุแสดงเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น มาตุคามฟังอยู่ด้วย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๑๙๒-๑๙๔
       ๑.หญิงแม่เจ้าเรือน ชื่อว่า ฆรณี, หญิงสะใภ้ในเรือนนั้น ชื่อว่า ฆรสุณหา
       ๒.ในคำว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ พึงทราบอย่างนี้ คือ คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่า วาจาคำหนึ่ง หากว่าภิกษุเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวอรรถกถา หรือว่าเรื่อง มีธรรมบทและชาดกเป็นต้น จะกล่าวเพียง ๕-๖ บทเท่านั้น ควรอยู่, เมื่อจะกล่าวพร้อมด้วยบาลี พึงกล่าวธรรมอย่าให้เกิน ๖ บท อย่างนี้คือ จากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา ๕ บท จริงอยู่ ธรรมมีประการดังกล่าว ในปทโสธรรมจัดเป็นธรรมเหมือนกันหมด แม้ในสิกขาบทนี้
       ๓.ภิกษุนั่งบนอาสนะเดียวแสดงธรรม แม้แก่มาตุคามตั้ง ๑๐๐ คน อย่างนี้คือ แสดงแก่หญิงคนหนึ่งแล้ว แสดงแม้แก่หญิงผู้มาแล้วๆ อีก  ในอรรถกามหาปัจจรีกล่าวว่า ภิกษุกล่าวว่า อาตมาจะแสดงคาถาแก่พวกท่านคนละคาถา พวกท่านจงฟังคาถานั้น ดังนี้แล้วแสดงธรรมแก่พวกมาตุคามผู้นั่งประชุมกันอยู่ ไม่เป็นอาบัติ, ภิกษุทำความใฝ่ใจตั้งแต่แรกว่า เราจักกล่าวคาถาแก่หญิงคนละคาถา ดังนี้แล้วบอกให้รู้ก่อนแสดง สมควรอยู่
       -มาตุคามถามว่า ท่านเจ้าคะ ชื่อว่า ทีฆนิกายแสดงอรรถอะไร? ภิกษุถูกถามปัญหาอย่างนี้ แม้จะกล่าวแก้ทีฆนิกายทั้งหมด ก็ไม่เป็นอาบัติ
       ๔.สิกขาบทนี้มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางวาจา ๑  วาจากับจิต ๑  เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓      



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๕๗)
ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์

      ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยพบเห็นร่วมคบกันมา พากันจำพรรษาที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา  สมัยนั้นที่นั่นเกิดอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง ต้องแจกสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์เป็นอยู่อย่างยากลำบาก ท่านพากันคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจักเป็นผู้พร้อมเพรียง ไม่วิวาท ร่วมใจกันจำพรรษาอย่างผาสุกและไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุหลายรูปพากันเสนอความเห็น
       ภิกษุรูปหนึ่งเสนอว่า พวกเราจักกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เช่นว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมญาน รูปโน้นได้ทุติยญาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระอรหันต์   รูปโน้นได้วิชชา ๓  รูปโน้นได้อภิญญา ๖  เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักพากันมุ่งถวายบิณฑบาต
       ที่สุดทั้งหมดได้ตกลงตามนั้น ต่างพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมต่างๆ ให้คฤหัสถ์ฟัง ประชาชนพากันยินดี พากันถวายบิณฑบาตเป็นอันมาก พวกท่านมีน้ำมีนวล มีสีหน้าสดชื่น ผิวพรรณผุดผ่อง ออกพรรษาแล้วได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
       สมัยนั้น ในที่ประชุมมีภิกษุที่จำพรรษายังทิศต่างๆ เข้าเฝ้าด้วย ต่างมีผิวพรรณสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ส่วนภิกษุวัดคุมุทาเป็นผู้มีน้ำมีนวล ผิวพรรณผุดผ่อง  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามกับภิกษุทั้งหลายถึงความเป็นอยู่ในพรรษาที่ผ่านมา  ภิกษุวัดคุมุทาได้กราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ ทรงตำหนิ แล้วบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด บอกอุตริมนุสธรรมแก่อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง”

อรรถาธิบาย

       -ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า อนุปสัมบัน
       -ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
       -ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
       -ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
       -ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
       -ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
       -ที่ชื่อว่า ฌาณ ได้แก่ วิชชา ๓
       -ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
       - ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
       -ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ โทสะ โมหะ
       -ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ โทสะ โมหะ
       -ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

อาบัติ
       ๑.บอกแก่อนุปสัมบัน เช่นว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒ประสงค์จะบอกแก่อนุปสัมบันอย่างหนึ่ง ไพล่ไปบอกอีกอย่างหนึ่ง หากเขาเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หากเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฎ (เช่น ภิกษุประสงค์จะบอกว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กลับบอกว่า ข้าพเจ้าเข้าทุตยิฌานแล้ว ดังนี้เป็นต้น)
       ๓.บอกโดยไม่ตรง (บอกอ้อม, บอกเป็นนัยๆ) แก่อนุปสัมบัน เช่นว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ เป็นผู้ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌานเป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
       ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริงแก่อุปสัมบัน ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ ๒/๒๔๔-๒๔๖
       ๑.จักกล่าวส่วนที่แปลกไปจากปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เท่านั้น
       -ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พวกภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริง, ในสิกขาบทนี้บอกอุตริมนุสธรรมที่มีอยู่จริง, ปุถุชนทั้งหลายบอกอุตริมนุสธรรมแม้จะมีจริง แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่บอกเลย เพราะปยุตตวาจา (วาจาที่เปล่งเพราะเหตุแห่งปากท้อง) ไม่มีแก่พระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่เมื่อผู้อื่นบอกคุณของตน ท่านก็ไม่ได้ห้าม, และท่านก็ยินดีในปัจจัยที่ได้มา เพราะยังไม่มีสิกขาบทนี้ในขณะนั้น
       -พระองค์ไม่ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า โมฆปุริสา (โมฆบุรุษ – บุรุษเปล่า) เพราะว่ามีภิกษุอริยะปนอยู่ด้วยในการกล่าวคุณวิเศษนี้
       -พระอริยเจ้าทั้งหลายที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ถูกพวกชาวบ้านเลื่อมใส เพราะภิกษุปุถุชนพากันไปบอกว่าท่านได้คุณวิเศษต่างๆ เช่น ท่านรูปโน้นได้ปฐมฌานเป็นต้น, พวกชาวบ้านจึงมากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นโสดาบันหรือ ดังนี้, ท่านมีปกติเห็นว่าไม่มีโทษ ในเมื่อสิกขาบทนี้พระองค์ยังไมได้ทรงบัญญัติ จึงปฏิญาณการบรรลุคุณวิเศษของตนและของภิกษุปุถุชนเหล่อื่นด้วยจิตที่บริสุทธิ์
       และท่านเหล่านั้น เมื่อปฏิญาณอย่างนี้ แม้ยินดีอยู่ซึ่งบิณฑบาตที่ภิกษุปุถุชนเหล่าอื่นกล่าวคุณแห่งอุตริมนุสธรรม เพราะเหตุแห่งท้องเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แม้ว่าจะเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ แต่ก็เป็นเหมือนไม่บริสุทธิ์ เพราะยินดีในปัจจัยที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงตำหนิรวมกันไปว่า ไฉน? พวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกัน แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดังนี้
       ๒.ในปาราชิกข้อที่ ๔ เป็นปาราชิกกับถุลลัจจัย, ในสิกขาบทนี้เป็นปาจิตตีย์และทุกกฎ เพราะมีคุณอยู่จริง
       -ภิกษุผู้ถูกรบเร้าถามถึงคุณวิเศษ ในเวลาจะปรินิพพาน ในกาลอื่น จะบอกคุณที่มีจริงแก่อุปสัมบัน ก็ควร,  อนึ่ง จะบอกคุณ คือ สุตะ ปริยัติ และศีล แม้แก่อนุปสัมบัน ก็ควร
       -ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ
       -สิกขาบทนี้ อนาบัติไม่มีคนวิกลจริต (คนบ้า) เพราะผู้ทีมีคุณวิเศษจริง ย่อมไม่เป็นบ้า
       ๓.สิกขาบทนี้เกิดโดยสมุฏฐาน ๓ คือ ทางกาย ๑ ทางวาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑ (ไม่มีจิต เพราะจิตที่ท่านคิดจะล่วงละเมิดย่อมไม่มี เพราะท่านเหล่านี้ย่อมเป็นผู้มีความเคารพในสิกขาบทยิ่ง) เป็นอจิตตกะ, ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๒ คือ โดยเป็นกุศลจิต และอัพยากตจิต (มหากิริยา)


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๕๘)
ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์

พระอุปนันทศากยบุตรได้ทะเบาะกับพระฉัพพัคคีย์แล้ว  ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทะต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ (ทำสุกกะเคลื่อน) ท่านได้ขอปริวาสเพื่อให้สงฆ์ให้ปริวาส ขณะที่ทานอยู่ปริวาสจึงต้องนั่งท้ายอาสนะในโรงภัต พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับอุบาสกทั้งหลายว่า “ท่านพระอุปนันทศากยบุตร พระประจำตระกูลของพวกท่าน ที่พวกท่านสรรเสริญ ได้พยายามปล่อยอสุจิด้วยมือ ท่านต้องอาบัติ ท่านจึงต้องอยู่ปริวาส จึงนั่งท้ายอาสนะ"
       บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย ต่างพากันเพ่งโทษรังเกียจ ได้กราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่าภิกษุเพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
       -บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น
       -อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
       -ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ เว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า อนุปสัมบัน
       -บทว่า บอก คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต (มีสามเณรเป็นต้น)
       -บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นแต่ภิกษุผู้ที่สงฆ์สมมติ (ให้เป็นผู้บอกได้)
       ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงบอกตามที่สงฆ์กำหนด คือ กำหนดอาบัติและกำหนดสกุล สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ภิกษุนั้นบอกอาบัติอื่นนอกจากที่สงฆ์กำหนด เป็นอาบัติปาจิตตีย์, สงฆ์กำหนดว่า พึงบอกในสกุลมีจำนวนเท่านี้ ภิกษุนั้นบอกในสกุลอื่นนอกจากที่สงฆ์กำหนด ต้องอาบัติปาจิตตีย์, สงฆ์กำหนดอาบัติและกำหนดสกุลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในสกุลมีจำนวนเท่านี้ ภิกษุนั้นบอกอาบัติและสกุลนอกจากที่สงฆ์กำหนดให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์, หากสงฆ์ไม่ได้กำหนดอาบัติและไม่ได้สกุล ภิกษุนั้นบอก ไม่ต้องอาบัติ

อาบัติ
       ๑.อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุรู้ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๓.อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุคิดว่ามิใช่อาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๔.ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.ภิกษุบอกอัชฌาจารที่ชั่วหยาบก็ตาม ไม่ชั่วหยาบก็ตาม แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๖.อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุคิดว่าชั่วหยาบ... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๗.อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๘.อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุรู้ว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ... ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
       ภิกษุบอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ ๑ ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอกวัตถุ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ ๒/๒๕๑-๒๕๓
       ๑.อาบัติที่ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓ แต่ในสิกขาบทนี้ทรงประสงค์เอาสังฆาทิเสส
       ๒.ในการสมมติภิกษุนั้น สงฆ์ทำด้วยต้องการอนุเคราะห์ เมื่อเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติเนืองๆ แล้ว อปโลกน์ ๓ ครั้ง ทำด้วยความเป็นผู้เสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้นว่า ภิกษุ (ผู้ต้องสังฆาทิเสส) นี้ จักถึงความสังวรต่อไป แม้ด้วยความละอายและความเกรงกลัวในคนเหล่าอื่นอย่างนี้
       ๓.อาบัติไม่ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต (กองอาบัติ ๕) ภิกษุบอกเป็นทุกกฎ
       ๔.สังฆาทิเสส ๕ สิกขาบทต้น ชื่อว่า อัชฌาจารชั่วหยาบ ที่เหลือชื่อ อัชฌาจารไม่ชั่วหยาบ
       ๕.ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอกอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ต้องสุกกวิสัฏฐิ (จงใจให้อสุจิเคลื่อน) ต้องกายสังสัคคะ ต้องทุฏฐุลละ ต้องอัตตกามะ” เพราะบอกวัตถุ แต่ไม่บอกอาบัติ
        และไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอกอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ต้องปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส ต้องถุลลัจจัย ต้องปาจิตตีย์” เป็นต้น เพราะบอกอาบัติแต่ไม่บอกวัตถุ
       แต่เมื่อภิกษุบอกเชื่อมต่ออาบัติกับวัตถุโดยนัยเป็นต้น “ภิกษุนี้ปล่อยอสุจิ ต้องสังฆาทิเสส” ดังนี้เท่านั้น จึงเป็นอาบัติ
       ๖.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสมูลจิต)          



คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
           ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
           (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 16 กันยายน 2560 11:57:45 »


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๕๙)
ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน
ต้องปาจิตตีย์

      พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม (ก่อสร้าง) ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้าง ซึ่งปฐพี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
       -บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใดคือผู้เช่นใด...
       -ที่ชื่อว่า ปฐพี ได้แก่ ปฐพี ๒ อย่าง คือ ปฐพีแท้ และปฐพีไม่แท้
       -ที่ชื่อว่า ปฐพีแท้ คือ มีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน มีหินน้อย มีกรวดน้อย กระเบื้อง แร่ ทรายน้อย มีดินร่วนมาก มีดินเหนียวมาก แม้ดินที่ยังไม่ได้เผาไฟก็เรียกว่า ปฐพีแท้
       กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้ว แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีแท้
       -ที่ชื่อว่า ปฐพีไม่แท้ คือ เป็นหินล้วน กรวดล้วน กระเบื้องล้วน แร่ล้วน ทรายล้วน มีดินร่วนน้อย มีดินเหนียวน้อย มีหินมาก มีกรวด กระเบื้อง แร่ ทรายมาก แม้ดินที่เผาไปแล้วก็เรียกว่า ปฐพีไม่แท้
       กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดยังหย่อนกว่า ๔ เดือน แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีไม่แท้
       -บทว่า ขุด คือขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์, ให้ผู้อื่นขุดต้องอาบัติปาจิตตีย์, สั่งครั้งเดียว เขาขุดแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติ
       ๑.ปฐพี ภิกษุรู้ว่าเป็นปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้เขาทำลายก็ดี เอาไฟเผาก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.ปฐพี ภิกษุสงสัย ขุดเองก็ดี...ต้องทุกกฏ
       ๓.ปฐพี ภิกษุคิดว่ามิใช่ปฐพี ขุดเองก็ดี...ไม่ต้องอาบัติ
       ๔.มิใช่ปฐพี ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
       ๕.มิใช่ปฐพี ภิกษุรู้ว่ามิใช่ปฐพี...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ดินนี้ ท่านจงให้ดินนี้ ท่านจงนำดินนี้มา เรามีความต้องการด้วยดินนี้ ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ๑    ภิกษุไม่ได้แกล้ง ๑  ไม่มีสติ ๑  ไม่รู้ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๒/๒๕๘-๒๖๕
       ๑.ปฐพีแท้มีหินน้อย คือ มีหินเกินกว่าขนาดกำมือหนึ่ง, กรวดก็มีขนาดกำมือหนึ่ง, ใน ๓ ส่วน ๒ ส่วน เป็นดินร่วนเสีย ส่วนหนึ่งเป็นหิน เป็นต้น
       - ปฐพีแท้มีก้อนกรวดเป็นต้นมากกว่า ได้ยินว่า ในหัตถิกุจฉิประเทศ พวกภิกษุให้ขนดินมาเต็มกระบุงหนึ่ง แล้วล้างในลำธาร รู้ว่าเป็นปฐพีที่มีกรวดโดยมาก จึงขุดสระโบกขรณีเสียเอง
       ๒.เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ ครั้งที่ขุด, ถึงแม้ว่าผู้รับสั่งขุดตลอดวันก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้นแก่ผู้สั่ง, แต่ถ้าผู้รับสั่งเป็นคนเกียจคร้าน ผู้สั่งต้องสั่งบ่อยๆ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สั่งให้เขาขุดทุกๆ คำ
       ๓.ภิกษุกล่าวว่า เธอจงขุดสระโบกขรณี ดังนี้ ควรอยู่ เพราะว่าสระที่ขุดแล้วเท่านั้นจึงชื่อว่าเป็นสระโบกขรณี  ฉะนั้นโวหารนี้เป็นกัปปิยโวหาร, แม้ในคำเป็นต้นว่า จงขุดบึง บ่อ หลุม ดังนี้ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน แต่จะกล่าวว่า จงขุดโอกาสนี้ จงขุดสระโบกขรณีในโอกาสดังนี้ ไม่ควร, จะกล่าวไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่า จงขุดเหง้า จงขุดราก ดังนี้ ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงขุดเถาวัลย์นี้ จงขุดเหง้า หรือรากในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่สมควร, เมื่อชำระสระโบกขรณี อาจจะเอาหม้อวิดเปือกตมเหลวๆ ออก ควรอยู่, จะนำเปือกตมที่ข้นออก ไม่ควร, เปือกตมแห้งเพราะแสงแดด แตกระแหง ในเปือกตมแห้งนั้น ส่วนใดไม่เนื่องกับแผ่นดินในเบื้องล่าง จะนำออกก็ควรอยู่, ชื่อว่าระแหง (แผ่นคราบน้ำเพราะน้ำแห้ง) มีอยู่ในที่น้ำไหลไป ย่อมไหว้เพราะถูกลมพัด จะนำเอาระแหงนั้นออก ควรอยู่, ฝั่ง (ตลิ่ง) แห่งสระโบกขรณีเป็นต้น พังตกลงไปริมน้ำ ถ้าถูกฝนตกรดต่ำกว่า ๔ เดือน จะฟันออก หรือทุบออก ก็ควร, ถ้าเกิน ๔ เดือน ไม่ควร, แต่ถ้าตกลงในน้ำเลย แม้เมื่อฝนตกรดเกิน ๔ เดือนแล้ว ก็ควร เพราะน้ำ (ฝน) ตกลงไปในน้ำเท่านั้น
       -ภิกษุทั้งหลายขุด (เจาะ) สะพังน้ำ (ตะพังหิน) บนหินดาด, ถ้าแม้นว่าผงละเอียดตกลงไปในตะพังหินนั้นตั้งแต่แรกทีเดียว ผงละเอียดนั้นถูกฝนตกรด ต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน จึงถึงอันนับว่าเป็นอกัปปิยปฐพี, เมื่อน้ำงวดแล้ว (แห้ง) พวกภิกษุชำระตะพังหิน จะแยกผงละเอียดนั้นออก ไม่ควร, ถ้าเต็มด้วยน้ำอยู่ก่อน ผงละอองตกลงไปภายหลัง จะแยกผงละอองนั้นออก ควรอยู่, แท้จริง แม้เมื่อฝนตกในตะพังหินนั้น น้ำย่อมตกลงในน้ำเท่านั้น ผงละเอียดมีอยู่บนพวกหินดาด ผงละเอียดนั้นเมื่อถูกฝนชะอยู่ก็ติดกันเข้าอีก จะแยกผงละอองแม้นั้นออกโดยล่วง ๔ เดือนไป ไม่ควร
       -จอมปลวกเกิดขึ้นที่เงื้อม เป็นเอง ไม่มีคนสร้าง จะแยกออกตามสะดวก ควรอยู่, ถ้าจอมปลวกเกิดขึ้นในที่แจ้ง ถูกฝนตกรดต่ำกว่า ๔ เดือนเท่านั้น จึงควร, แม้ในดินเหนียวของตัวปลวกที่ขึ้นไปบนต้นไม้เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, แม้ในขุยไส้เดือน ขุยหนู และระแหงกีบโคเป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน, เปือกตมที่ถูกตัดด้วยกีบฝูงโค (โคลนรอยกีบฝูงโค) เรียกว่า ระแหงกีบโค, ก็คำว่า ระแหงกีบโคนั้นติดกับแผ่นดินพื้นล่าง แม้ในวันเดียว จะแยกออก ก็ไม่ควร, ภิกษุถือเอาก้อนดินเหนียวที่ถูกไถตัด แม้ในที่ที่ชาวนาไถไว้ก็มีนัยอย่างนี้
       -เสนาสนะเก่า ไม่มีหลังคา หรือมีหลังคาพังก็ตาม ถูกฝนรดเกิน ๔ เดือน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าปฐพีแท้เหมือนกัน ภิกษุจะถือเอากระเบื้องมุงหลังคา หรือเครื่องอุปกรณ์ มีกลอนเป็นต้น ที่เหลือจากเสนาสนะเก่านั้น ด้วยสำคัญว่าเราจะเอาอิฐ จะเอากลอน จะเอาเชิงฝา จะเอากระดานปูพื้น จะเอาเสาหิน ดังนี้ ควรอยู่, ดินเหนียวตกลงติดกับกระเบื้องหลังคาเป็นต้นนั้น ไม่เป็นอาบัติ, แต่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเอาดินเหนียวที่ฉาบฝา ถ้าดินก้อนใดๆ ไม่เปียกชุ่ม ภิกษุถือเอาดินก้อนนั้นๆ ไม่เป็นอาบัติ
       -ภายในเรือนมีกองดิน เมื่อกองดินนั้นถูกฝนตกรดเสียวันหนึ่ง ชนทั้งหลายจึงมุงเรือน, ถ้ากองดินเปียกหมดต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน กลายเป็นปฐพีแท้เหมือนกัน, ถ้าส่วนเบื้องบนแห่งกองดินเท่านั้นเปียก ภายในไม่เปียก จะใช้ให้พวกอกัปปิยการกคุ้ยเอาดินเท่าจำนวนที่เปียกออกเสีย ด้วยกัปปิยโวหาร แล้วใช้สอยดินส่วนที่เหลือตามสะดวก ก็ควร, จริงอยู่ ดินที่เปียกน้ำแล้วจับติดเนื่องเป็นอันเดียวกันนั่นแล จัดเป็นปฐพีแท้ นอกนี้ไม่ใช่
       -กำแพงดินเหนียวอยู่ในที่แจ้ง ถ้าถูกฝนตกรดเกิน ๔ เดือน ย่อมถึงอันนับว่าปฐพีแท้ แต่ภิกษุจะเอามือเปียกจับต้องดินร่วนอันติดอยู่ที่ปฐพีแท้นั้น ควรอยู่, ถ้าหากว่าเป็นกำแพงอิฐตั้งอยู่ในฐานเป็นเศษกระเบื้องอิฐเสียโดยมาก จะคุ้ยเขี่ยออกตามสบายก็ได้
       -ภิกษุจะโยกเอาเสามณฑปที่ตั้งอยู่ในที่แจ้งไปทางโน้นทางนี้ ทำให้ดินแยกออก ไม่ควร, ยกขึ้นตรงๆ เท่านั้น จึงควร, สำหรับภิกษุผู้จะถือเอาต้นไม้แห้งหรือตอไม้แห้ง แม้อย่างอื่นก็นัยนี้แล, ภิกษุทั้งหลายเอาพวกไม้ท่อนงัดหิน หรือต้นไม้ กลิ้งไปเพื่อก่อสร้าง แผ่นดินในที่กลิ้งไปแตกเป็นรอย ถ้าภิกษุทั้งหลายมีจิตบริสุทธิ์กลิ้งไป ไม่เป็นอาบัติ, แต่หากภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ใคร่จะทำลายแผ่นดินด้วยเลศนั้น เป็นอาบัติ, พวกภิกษุผู้ลากกิ่งไม้เป็นต้นไปก็ดี ผ่าฟืนบนแผ่นดินก็ดี ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, จะตอกหรือจะเสียบวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกระดูก เข็ม และหนาม เป็นต้น ลงไปในแผ่นดิน ก็ไม่ควร, แม้จะถ่ายปัสสาวะด้วยคิดว่า เราจะพังแผ่นดินด้วยกำลังแห่งสายปัสสาวะ ก็ไม่ควร, เมื่อภิกษุถ่าย ดินพัง เป็นอาบัติ, แม้จะเอาไม้กวาดครูดถู ด้วยคิดว่าเราจักทำพื้นดินที่ไม่เสมอ ดังนี้ ก็ไม่ควร, ความจริงควรจะกวาดด้วยหัวข้อแห่งวัตรเท่านั้น
       -ภิกษุบางพวก กระทุ้งแผ่นดินด้วยปลายไม้เท้า เอาหลายนิ้วหัวแม่เท้าขีดเขียน (แผ่นดิน), เดินจงกรมทำลายแผ่นดินคราแล้วคราเล่า ด้วยคิดว่า เราจักแสดงสถานที่ที่เราจงกรม ดังนี้, การกระทำเช่นนั้นไม่ควรทุกอย่าง, แต่ภิกษุผู้กระทำสมณธรรมเพื่อยกย่องความเพียร มีจิตบริสุทธิ์ จงกรม สมควรอยู่, เมื่อกระทำ (การเดินจงกรมอยู่แผ่นดิน) จะแตก ก็ไม่เป็นอาบัติ, ภิกษุทั้งหลายครูดสีที่แผ่นดิน ด้วยคิดว่าจักล้างมือ ไม่ควร, ส่วนภิกษุผู้ไม่ครูดสี แต่วางมือเปียกลงบนแผ่นดิน แล้วแตะเอาละอองไปได้อยู่, ภิกษุบางพวกอาพาธด้วยโรคคันและหิดเป็นต้น จึงครูดสีอวัยวะใหญ่น้อยลงบนที่มีตลิ่งชันเป็นต้น การทำนั้นก็ไม่สมควร
       ๔.ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุดด้วยปลายนิ้วเท้าบ้าง ด้วยซี่ไม้กวาดบ้าง, ภิกษุทำลายเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำลายก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุด แม้จะเทน้ำ
       -ภิกษุเผาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นเผาก็ดี ชั้นที่สุดแม้จะระบมบาตร, ภิกษุจุดไฟเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นจุด
       -ในที่มีประมาณเท่าใด เป็นปาจิตตีย์มีประมาณเท่านั้นตัว, ภิกษุแม้เมื่อจะระบมบาตร พึงระบมในที่เคยระบมแล้วนั่นแหละ, จะวางไฟลงบนแผ่นดินที่ไฟยังไม่ไหม้ ไม่ควร แต่จะวางไฟลงบนกระเบื้องสำหรับระบมบาตร ควรอยู่, วางไฟลงบนกองฟืน ไฟนั้นไหม้พื้นเหล่านั้น แล้วจะลุกลามเลยไปไหม้ดิน ไม่ควร, แม้ในที่มีอิฐและหินเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, จริงอยู่ ในที่แม้นั้น จะวางไฟลงบนกองอิฐเป็นต้นนั้นแล ควรอยู่, เพราะเหตุไร? เพราะอิฐเป็นต้นนั้นมิใช่เชื้อไฟ, จริงอยู่ อิฐเป็นต้นนั้นไม่ถึงอันนับว่าเป็นเชื้อแห่งไฟ จะติดไฟแม้ที่ตอไม้แห้งและต้นไม้แห้งเป็นต้น ก็ไม่ควร
       แต่ถ้าว่า ภิกษุจะติดไฟด้วยคิดว่า เราจักดับไฟที่ยังไม่ทันถึงแผ่นดินเสียก่อน แล้วจึงจักไป ดังนี้ควรอยู่, ภายหลังไม่อาจเพื่อจะดับได้ ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ใช่วิสัย, ภิกษุถือคบเพลิงเดินไป เมื่อมือถูกไฟไหม้จึงทิ้งลงที่พื้น ไม่เป็นอาบัติ, ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า จะเติมเชื้อก่อไฟในทีคบเพลิงตกนั่นแหละ ควรอยู่, ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ที่มีประมาณเท่าใดในแผ่นดินซึ่งถูกไฟไหม้ ไอร้อนระอุไปถึง จะโกยที่ทั้งหมดนั้นออก ควรอยู่
       ก็ภิกษุใด ยังไม่รู้จะสีให้ไฟเกิดด้วยไม่สีไฟ เอามือหยิบขึ้นแล้วกล่าวว่า ผมจะทำอย่างไร? ภิกษุอื่นบอกว่า จงทำให้ลุกโพลงขึ้น เธอกล่าวว่า มันจะไหม้มือผม จึงบอกว่า จงทำอย่างที่มันจะไม่ไหม้, แต่ไม่พึงบอกว่า จงทิ้งลงพื้น, ถ้าว่า เมื่อไฟไหม้มือ เธอทิ้งลง ไม่เป็นอาบัติ เพราะเธอไม่ได้ทิ้งลงด้วยตั้งใจว่าเราจักเผาแผ่นดิน, ในกุรุนทีว่า ถึงจะก่อไฟในที่ไฟตกลง ก็ควร
       ๕.ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวว่า เธอจงรู้หลุมสำหรับเสานี้, จงรู้ดินเหนียวก้อนใหญ่, จงรู้ดินปนแกลบ, จงให้ดินเหนียวก้อนใหญ่, จงให้ดินปนแกลบ, จงนำดินเหนียวมา, จงนำดินร่วนมา, ต้องการดินเหนียว, ต้องการดินร่วน, จงทำหลุมให้เป็นกัปปิยะสำหรับเสานี้, จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ, จงทำดินร่วนนี้ให้เป็นกัปปิยะ
       -เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นไป หรือเดินเอาไม้เท้ายันไป แผ่นดินแตก, แผ่นดินนั้นชื่อว่า อันภิกษุไม่ได้แกล้งทำแตก เพราะเธอไม่ได้จงใจทำลายอย่างนี้ว่า เราจักทำลาย (แผ่นดิน) ด้วยไม้เท้านี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งทำลาย
       -ภิกษุส่งใจไปทางอื่น ยืนพูดอะไรกับคนบางคน เอานิ้วหัวแม่เท้าหรือไม้เท้าขีดเขียนแผ่นดินไปพลาง, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ขีดเขียนหรือทำลาย (ดิน) ด้วยไม่มีสติอย่างนี้
       -ภิกษุไม่รู้แผ่นดินที่ฝนตกรดภายในเรือนซึ่งมุงหลังคาปิดแล้ว เป็นอกัปปิยปฐพี จึงโกยออกด้วยสำคัญว่าเป็นกัปปิยปฐพีก็ดี ไม่รู้ว่าเราขุด เราทำลาย เราเผาไฟก็ดี เก็บเสียมเป็นต้น เพื่อต้องการรักษาไว้อย่างเดียวก็ดี มือถูกไฟไหม้ ทิ้งไฟลงก็ดี ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รูอย่างนี้
       ๖.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นกิริยา สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓



คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กุมภาพันธ์ 2561 14:58:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2560 16:11:34 »


ปาจิตตีย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๖๐)
ภิกษุพรากของเขียวซึ่งเกิดอยู่กับที่ให้หลุดจากที่ ต้องปาจิตตีย์

       พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ภิกษุรูปหนึ่งตัดต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้นได้กล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านประสงค์จะทำที่อยู่ของท่าน โปรดอย่าตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย ภิกษุรูปนั้นไม่เชื่อฟังได้ตัดลงจนได้ และฟันถูกแขนทารกลูกเทวดานั้น เทวดาคิดว่า เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย แต่ก็ไม่สมควร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เข้าเฝ้า กราบทูลความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดีแล้วเทวดา ที่ท่านไม่ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น ถ้าท่านปลงจะได้รับบาปเป็นอันมาก ไปเถิด ต้นไม้ในที่โน้นว่างแล้ว ท่านจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น” แล้วทรงติเตียน และทรงพระบัญญัติว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม

อรรถาธิบาย
      -ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่ พืช ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเหง้า ๑  เกิดจากต้น ๑  เกิดจากข้อ ๑  เกิดจากยอด ๑  เกิดจากเมล็ด ๑
      -พืชเกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู เป็นต้น
      -พืชเกิดจากต้น ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นมะเขือ ต้นมะขวิด เป็นต้น
      -พืชเกิดจากข้อ ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ เป็นต้น
      -พืชเกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง เป็นต้น
      -พืชเกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา เป็นต้น

อาบัติ
      ๑.พืช ภิกษุรู้ว่าเป็นพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๒.พืช ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
      ๓.พืช ภิกษุคิดว่าไม่ใช่พืช...ไม่ต้องอาบัติ
      ๔.ไม่ใช่พืช ภิกษุคิดว่าเป็นพืช...ต้องอาบัติทุกกฏ
      ๕.ไม่ใช่พืช ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
      ๖.ไม่ใช่พืช ภิกษุคิดว่าไม่ใช่พืช...ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชนี้ ท่านจงนำพืชนี้มา เรามีความต้องการพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะดังนี้ ๑  ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑  ไม่มีสติ ๑  ไม่รู้ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๒๖๙-๒๘๕
      ๑.ภิกษุนั้นไม่อาจยั้งขวานที่เงื้อขึ้น จึงตัดเอาแขนตรงที่ใกล้ราวนมของทารกผู้นอนอยู่บนวิมานทิพย์ ซึ่งตั้งอยู่บนต้นไม้
      ได้ยินว่า ในป่าหิมพานต์มีการประชุมเทวดาทุกๆวันปักษ์, ในป่าหิมพานต์นั้นพวกเทวดาย่อมถามถึงรุกขธรรมว่า ท่านตั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้งอยู่ในรุกขธรรม, ชื่อว่า รุกขธรรม ได้แก่ การที่รุกขเทวดาไม่ทำความประทุษร้ายทางใจ ในเมื่อต้นไม้ถูกตัด, บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาองค์ใดไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรม เทวดาองค์นั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าสู่ที่ประชุม, เทวดาองค์นั้นได้มองเห็นโทษ มีการไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรมเป็นปัจจัยนี้ ด้วยประการดังนี้, และระลึกถึงบุรพจรรยาในปางที่พระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัททันต์ เป็นต้น  โดยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาที่ตนเคยสดับมาเฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น เทวดานั้นจึงได้มีความรำพึงว่า ก็การที่เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้นั้นไม่สมควรเลย เกิดความรำพึงว่า ถ้ากระไร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา  ดังนี้ เทวดานั้นฉุกคิดว่า ภิกษุนี้เป็นบุตรมีบิดา, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับอัชฌาจารนี้ของภิกษุนี้แล้ว จักทรงป้องกันมารยาท จักทรงบัญญัติสิกขาบทแน่นอน
      -ทรงแสดงพระคาถานี้แก่เทวดา ”บุคคลใดแล ข่มความโกรธที่เกิดขึ้นได้แล้ว เหมือนสารถีหยุดรถซึ่งกำลังแล่นอยู่ได้ เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี ชนนอกจากนี้เป็นแต่คนถือบังเหียน”  ในเวลาจบพระคาถา เทวดานั้นได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
      -จากนั้น ทรงตรวจดูสถานที่อยู่ของเทวดานั้น ทอดพระเนตรเห็นสถานที่อันสมควรแล้ว จึงตรัสว่า ไปเถิดเทวดา! ณ ที่โอกาสโน้นมีต้นไม้ว่างอยู่ เธอจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น, ได้ยินว่า ต้นไม้นั้นไม่มีในแคว้นอาฬวี มีอยู่ภายในกำแพงเครื่องล้อมแห่งพระเชตวัน ซึ่งมีเทวบุตรผู้เป็นเจ้าของได้จุติไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ต้นไม้นั้นจึงตรัสว่า ว่างแล้ว, ก็แลจำเดิมนั้นมา เทวดานั้นได้ความคุ้มครองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฏฐายิกา, ในคราวมีเทวสมาคม เมื่อเทวดาผู้ศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายมาอยู่ เทวดาเหล่าอื่นผู้มีศักดิ์น้อย ย่อมถอยร่นไปจนจรดมหาสมุทรและภูเขาจักรวาล  ส่วนเทวดานี้ นั่งฟังธรรมอยู่ในที่อยู่ของตนนั่นแหละ เทวดานั้นนั่งฟังปัญหาทั้งหมด แม้ที่พวกภิกษุถามในปฐมยาม (และ) ที่พวกเทวดาถามในมัชฌิมยาม บนวิมานนั้นนั่นแหละ แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะไปก็เยี่ยมเทวดานั้นก่อน แล้วจึงไป
      ๒.ที่ชื่อว่า ภูตะ เพราะอรรถว่า เกิดอยู่ด้วย เติบโตอยู่ด้วย  อธิบายว่า ย่อมเกิด ย่อมเจริญ หรือว่าเกิดแล้ว เจริญแล้ว,  บทว่า คาโม แปลว่า กอง, กองแห่งภูตทั้งหลาย,  เหตุนั้นจึงชื่อว่า ภูตคาม, อีกอย่างหนึ่ง กอง คือ ภูต ชื่อภูตคาม, คำว่า ภูตคาม นั่นเป็นชื่อแห่งหญ้าและต้นไม้เขียวสดที่ยืนต้นแล้วเป็นต้น
      ภาวะแห่งการพราก ชื่อ ปาตัพยตา (ความเป็นแห่งการพราก) อธิบายว่า ภาวะอันบุคคลพึงบริโภคใช้สอยตามความพอใจ ด้วยการตัดและการทุบ เป็นต้น, เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุเพราะการตัดภูตคาม เป็นต้น เป็นปัจจัย
      ๓.ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์, พรากพืชคามแม้ทั้ง ๕ อย่าง อันนอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ (ภูตคาม-ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด มีพืชเกิดจากเหง้าเป็นต้น, พืชคาม-พืชพันธุ์ อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังจะเป็นได้อีก)
      ชื่อว่า พืชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่บนบกก็มี, พืชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำคือเสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบ ทั้งหมดมีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยมีสุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) พึงทราบว่า ภูตคาม
      บรรดาสาหร่ายนั้น ซากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน, แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี, ยกขึ้นย้ายไปสู่ที่อื่นก็ดี เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่ลอยไปมาบนน้ำเหมือนกัน, แต่จะเอามือทั้งสองแหวกทางโน้นทางนี้แล้วอาบน้ำ ควรอยู่
      -น้ำทั้งสิ้น เป็นฐานของสาหร่ายที่อยู่ในน้ำ เพราะเหตุนั้น สาหร่ายนั้นยังไม่จัดว่าเป็นอันภิกษุย้ายไปสู่ที่อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แต่จะแกล้งยกขึ้นจากน้ำโดยเว้นน้ำเสีย ไม่ควร ยกขึ้นพร้อมน้ำ แล้ววางลงในน้ำอีก ควรอยู่  สาหร่ายออกมาทางช่องผ้ากรองน้ำ, ควรให้ทำกัปปิยะก่อน จึงบริโภคน้ำ ภิกษุถอนเถาวัลย์และหญ้าที่เกิดในน้ำ มีกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ, กออุบล เป็นต้น ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้นั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์เข้าในพืชคาม แม้สาหร่ายคือจอกและแหนที่เขายกขึ้นจากน้ำแล้ว ยังไม่เหี่ยว ย่อมถึงซึ่งอันสงเคราะห์เข้าในพืชที่เกิดจากยอด
      ๔.ส่วนที่เหลือของจำพวกต้นไม้ที่ถูกตัด จัดว่าเป็นตอไม้ที่เขียวสด ในตอไม้เขียวสดนั้น ตอแห่งไม้กุ่ม ไม้กระถินพิมาน ไม้ประยงค์ และไม้ขนุนเป็นต้น ย่อมงอกขึ้นได้ ตอไม้นั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคาม ตอแห่งต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น ย่อมไม่งอกขึ้นได้ ตอแห่งต้นตาลเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพืชคาม
      ส่วนดอกกล้วยที่ยังไม่ตกเครือ ท่านสงเคราะห์ด้วยภูตคาม ตอกล้วยที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพืชคาม แต่ต้นกล้วยที่ตกเครือแล้วท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ยังมีใบเขียวอยู่ ไม้ไผ่ที่ตกขุยแล้วก็อย่างนั้น แต่ไม้ไผ่ในเวลาแห้งลงมาตั้งแต่ยอด จึงถึงอันสงเคราะห์ด้วยพืชคาม สงเคราะห์ด้วยพืชคามชนิดไหน? ด้วยพืชคามชนิดเกิดจากข้อ อะไรเกิดจากต้นไผ่นั้น จริงอยู่ ถ้าหากว่าอะไรๆไม่พึงเกิด (ต้นไผ่ตกขุย) พึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม
      ชนทั้งหลายตัดไม้ช้างน้าวเป็นต้น รวมเป็นกองไว้ กิ่งทั้งหลายแม้ประมาณศอกหนึ่งงอกจากท่อนไม้ที่รวมเป็นกองไว้ ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าด้วยพืชคามเหมือนกัน ชนทั้งหลายปักลงในพื้นดิน เพื่อประโยชน์เป็นมณฑปก็ดี เพื่อประโยชน์เป็นรั้วก็ดี เพื่อประสงค์จะปลูกเถาวัลย์ก็ดี เมื่อจำพวกรากและใบงอกออกแล้ว ย่อมถึงอันนับเข้าเป็นภูตคามอีกแม้โดยแท้, ถึงอย่างนั้นเมื่องอกเพียงตุ่มรากหรือเพียงตุ่มใบก็สงเคราะห์เข้าเป็นพืชคามเท่านั้น
      เมล็ดจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ชนทั้งหลายเอาน้ำรดชำไว้ในแผ่นดิน หรือชนทั้งหลายใส่ดินเปียกลงในกระถางเป็นต้น เพาะไว้ เมล็ดทั้งหมดนั้นแม้เมื่องอกเพียงตุ่มราก หรือเพียงตุ่มใบ ก็จัดเป็นเพียงพืชเท่านั้น ถ้าแม้ว่ารากทั้งหลายและหน่อข้างบนงอกออก ก็ยังจัดเป็นพืชนั่นแล ตลอดเวลาที่หน่อยังไม่เขียว ก็เมื่อใบแห่งถั่วเขียวเป็นต้นงอกขึ้น หรือเมื่อหน่อแห่งข้าวเปลือกเป็นต้นสดเขียว เกิดใบมีสีเขียวแล้วย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นภูตคาม
      รากแห่งเมล็ดตาลทั้งหลายงอกออกทีแรก เหมือนเขี้ยวสุกร แม้เมื่องอกออกแล้ว ก็จัดเป็นพืชคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบ ใบข้างบนยังไม่คลี่ออก หน่องอกทะลุเปลือกมะพร้าวออกเหมือนไม้สลัก ก็จัดเป็นพืชคามอยู่นั่นเอง ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบใบเขียวคล้ายกับเขามฤคยังไม่มี แม้เมื่อรากยังไม่ออก กลีบใบเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคามที่ไม่มีราก
      จำพวกเมล็ดมีเมล็ดมะม่วงเป็นต้น พระวินัยธรพึงตัดสินด้วยจำพวกข้าวเปลือกเป็นต้น ก้านหรือรุกชาติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เกิดที่ต้นไม้แคล้วคลุมโอบต้นไม้ ต้นไม้นั่นแหละเป็นฐานของก้านเป็นต้นนั้น ภิกษุพรากก้านเป็นต้นนั้นก็ดี ถอนขึ้นจากต้นไม้นั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์
      เถาวัลย์ชนิดหนึ่งไม่มีราก ย่อมพันพุ่มไม้ป่าและท่อนไม้ดุจวงแหวน (ฝอยทอง), แม้เถาวัลย์นั้นก็มีวินิจฉัยอย่างนี้เหมือนกัน ที่หน้ามุขเรือนกำแพงชุกชีและเจดีย์เป็นต้น มีตะไคร้น้ำสีเขียว ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดใบ ๒-๓ ใบ ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นพืชเกิดจากยอด เมื่อใบทั้งหลายเกิดแล้วเป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น จะให้การฉาบปูนขาวในฐานะเช่นนั้น ไม่ควร จะให้การฉาบน้ำปูนขาวที่ละเอียดบนที่อันอนุปสัมบันฉาบแล้ว ควรอยู่
      ถ้าในฤดูร้อนตะไคร้น้ำแห้งติดอยู่ จะเอาไม้กวาดเป็นต้น ขูดตะไคร้น้ำนั้นออกเสีย ควรอยู่ ตะไคร้น้ำข้างนอกหม้อน้ำดื่มเป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ อยู่ภายในเป็นอัพโพหาริก แม้เห็ดราที่ไม้ชำระฟันและขนมเป็นต้น เป็นอัพโพหาริกเหมือนกัน สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าฝาที่เขากระทำบริกรรมด้วยยางไม้เกิดเป็นเห็ดรา ภิกษุพึงชุบผ้าให้เปียก บีบแล้ว เช็ดเถิด
      ปาสาณชาติ ปาสาณทัททุ เสวาละ เสเลยยกะ (ราหิน ตะไคร้หิน สาหร่าย และเอื้องหิน หรือเอื้องผา) เป็นต้น ยังไม่มีสีเขียวสด และไม่มีใบเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ เห็ดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏตลอดเวลาที่ยังตูมอยู่ จำเดิมแต่บานแล้วเป็นอัพโพหาริก ก็ภิกษุเก็บเห็ดจากต้นไม้สดแกะเอาเปลือกต้นไม้ออก เพราะเหตุนั้นจึงเป็นปาจิตตีย์ในเพราะการแกะเปลือกไม้นั้น แม้ในสะเก็ดไม้ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน สะเก็ดแห่งต้นช้างน้าวและต้นกุ่มเป็นต้น หลุดจากต้นแล้ว ยังเกาะอยู่ เมื่อภิกษุถือเอาสะเก็ดนั้น ไม่เป็นอาบัติ แม้ยางไม้ไหลออกจากต้นไม้แล้ว ยังติดอยู่ก็ดี ติดอยู่ที่ต้นไม้แห้งก็ดี จะถือเอา ควรอยู่ จะถือเอาต้นที่ยังสด ไม่ควร แม้ในครั่งก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน เมื่อภิกษุเขย่าต้นไม้ให้ใบไม้เหลืองหล่นก็ดี ทำให้ดอกหล่นก็ดี เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น แม้ภิกษุจารึกตัวอักษรลงบนต้นไม้ มีต้นช้างน้าวและต้นสลัดไดเป็นต้น ตรงที่ยังอ่อนก็ดี ที่ใบตาลซึ่งเกิดอยู่บนต้นตาลเป็นต้นนั้นก็ดี ด้วยความคะนองมือ ก็มีนัยนี้นั่นแล
      ๕.เมื่อพวกสามเณรเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ภิกษุจะเหนี่ยวกิ่งลงให้ก็ควร แต่ภิกษุอย่าพึงอบน้ำดื่มด้วยดอกไม้เหล่านั้น ภิกษุต้องการอบกลิ่นน้ำดื่ม พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บดอกไม้ให้ แม้กิ่งไม้ที่มีผล ตนเองต้องการจะขบฉัน พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บผลไม้ จะจับฉุดมาร่วมกับสามเณรทั้งหลายผู้กำลังถอนไม้กอหรือเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร แต่เพื่อให้เกิดความอุตสาหะแก่สามเณรเหล่านั้น จะจับที่ปลายแสดงท่าทีฉุดดุจกำลังลากมา ควรอยู่
      ภิกษุกรีดกิ่งต้นไม้ที่มีกิ่งงอกขึ้น อันตนมิได้ให้อุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะ ถือเอาเพื่อประโยชน์แก่พัดไล่แมลงวันเป็นต้น ที่เปลือกหรือที่ใบโดยที่สุดแม้ด้วยเล็บมือ เป็นทุกกฎ แม้ในขิงสดเป็นต้นก็นัยนี้แล ก็ถ้าหากว่ารากแห่งขิงสดที่ภิกษุให้กระทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว เก็บไว้ในพื้นที่เย็นงอกขึ้น จะตัดที่ส่วนเบื้องบน ควรอยู่ ถ้าเกิดหน่อจะตัดที่ส่วนล่าง ก็ควร เมื่อรากกับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร
      ๖.ภิกษุเมื่อจะกวาดพื้นดิน ด้วยคิดว่า เราจักตัดหญ้า ตัดเองก็ดี ใช้คนอื่นตัดก็ดี โดยที่สุดแม้ด้วยซี่ไม้กวาด โดยที่สุดแม้เมื่อจะเดินจงกรมแล้วเอาเท้าทั้งสองเหยียบไป ด้วยคิดว่าสิ่งที่จะขาด จงขาดไป, สิ่งที่จะแตก จงแตกไป, เราจักแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ย่อมทำลายเองก็ดี ใช้คนอื่นทำลายก็ดี ซึ่งหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น ถ้าแม้นว่าเมื่อภิกษุทำหญ้าและเถาวัลย์ให้เป็นขมวด หญ้าและเถาวัลย์จะขาด แม้จะทำให้เป็นขมวด ก็ไม่ควร
      ก็ชนทั้งหลาย ย่อมตอกไม้แมลงมุม (หุ่นยนต์แมลงมุม) ผูกหนามที่ต้นตาลเป็นต้น เพื่อต้องการไม่ให้พวกโจรขึ้นลัก การกระทำอย่างนั้นไม่ควรแก่ภิกษุ ก็ถ้าว่าหุ่นยนต์แมลงมุมเป็นแต่เพียงติดอยู่ที่ต้นไม้เท่านั้น ไม่บีบรัดต้นไม้ ควรอยู่ แม้จะกล่าวว่า เธอจงตัดต้นไม้, จงตัดเถาวัลย์, จงถอนเหง้าหรือราก ดังนี้ ก็ควรอยู่ เพราะเป็นคำพูดไม่กำหนดลงแน่นอน แต่จะกำหนดลงไป พูดคำเป็นต้นว่า จงตัดต้นไม้นี้ไม่ควร ถึงแม้การระบุชื่อ กล่าวคำเป็นต้นว่า จงตัด จงทุบ จงถอน ต้นมะม่วง เถาสี่เหลี่ยม หัวเผือกมัน หญ้ามุงกระต่าย สะเก็ดต้นไม้โน้น ดังนี้ก็เป็นคำที่ไม่กำหนดแน่นอนเหมือนกัน คำเป็นต้นว่า ต้นมะม่วงนี้เท่านั้น ชื่อว่าเป็นคำกำหนดแน่นอน คำนั้นไม่ควร
      ๗.”การเผา” บัณฑิตพึงทราบคำทั้งปวงโดยนัยดังได้กล่าวแล้วในปฐวีขนนสิกขาบทนั้นแลว่า ชั้นที่สุดแม้ประสงค์จะระบมบาตร แกล้งก่อไฟข้างบนกองหญ้าเป็นต้น เผาเองก็ดี ใช้คนอื่นเผาให้ก็ดี ดังนี้ แต่จะกล่าวไม่กำหนดแน่นอนว่า จงต้มถั่วเขียว จงต้มถั่วเหลือง เป็นต้น ควรอยู่ จะกล่าวอย่างนี้ว่า จงต้มถั่วเขียวเหล่านี้, จงต้มถั่วเหลืองเหล่านี้ ไม่ควร
      บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า เธอจงรู้มูลเภสัชนี้ จงให้รากไม้ หรือใบไม้นี้ก็ดี จงนำต้นไม้หรือเถาวัลย์นี้มาก็ดี ต้องการดอกไม้ หรือผลไม้ หรือใบไม้นี้ก็ดี จงกระทำต้นไม้ หรือเถาวัลย์ หรือว่าผลไม้นี้ ให้เป็นกัปปิยะก็ดี ด้วยคำเพียงเท่านี้ย่อมเป็นอันภิกษุกระทำการปลดเปลื้องภูตคาม แต่ภิกษุผู้จะบริโภค พึงให้อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะซ้ำอีก เพื่อปลดเปลื้องพืชคาม
      ๘.อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ
      ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร) ๕ คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อนเม็ดออกแล้ว เป็นคำรบ ๕
      บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิตํ มีอรรถว่า ฉาบ คือ ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ
      บทว่า สตฺถกปริจิรํ มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง แล้วด้วยมีดเล็กๆ  ในข้อว่า จิกด้วยเล็บก็นัยนี้นั่นแล ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดและผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้
      ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟโคมัย เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด (อุปสัมบันผู้ให้ทำกล่าวว่า “กปฺปิยํ กโรหิ” อนุปสัมบันผู้ทำกัปปิยะเอามือหนึ่งจับสิ่งของที่จะทำกัปปิยะ มือหนึ่งจับวัตถุที่จะใช้ทำกัปปิยะ มีมีดเป็นต้น แล้วตัดหรือผ่า หรือจี้ลงไปที่สิ่งของนั้น พร้อมกับกล่าวว่า “กปฺปิยํ ภนฺเต”)
      เมื่อจะทำด้วยมีด แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลายหรือด้วยคมแห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บเป็นต้น พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด
      เมื่อจะทำกัปปิยังด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า ก็เล็บของพวกมนุษย์ สัตว์ ๔ เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิง เป็นต้น และแห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น กีบแห่งสัตว์ มีม้า กระบือ สุกร เนื้อ และโค เป็นต้น ไม่คม, อย่าพึงทำด้วยกีบเหล่านั้น แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ ส่วนเล็บช้างไม่เป็นกีบ จะทำกัปปิยะด้วยเล็บช้างเหล่านั้น ควรอยู่  แต่การทำกัปปิยะด้วยเล็บเหล่าใด สมควร, พึงแสดงการตัด การจิกด้วยเล็บเหล่านั้น ก็เกิดอยู่ในที่นั้นก็ดี กล่าวว่า กัปปิยัง แล้วกระทำเถิด
      บรรดาพืชเป็นต้นเหล่านั้น ถ้าแม้นว่าพืชกองเท่าภูเขาก็ดี ต้นไม้จำนวนพันที่เขาตัดแล้วทำให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน กองไว้ก็ดี อ้อยมัดใหญ่ที่เขามัดรวมไว้ก็ดี, เมื่อทำพืชเมล็ดหนึ่ง กิ่งไม้กิ่งหนึ่ง หรืออ้อยลำหนึ่ง ให้เป็นกัปปิยะแล้ว ย่อมเป็นทำให้เป็นกัปปิยะแล้วทั้งหมด อ้อยลำและไม้ฟืนเป็นของอันเขามัดรวมกันไว้ อนุปสัมบันจะแทงไม้ฟืนด้วยตั้งใจว่าเราจักกระทำอ้อยให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ก็ควรเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นของที่เขาผูกมัดด้วยเชือกหรือด้วยเถาวัลย์ใด จะแทงเชือกหรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควร ชนทั้งหลายบรรจุกระเช้าให้เต็มด้วยลำอ้อยท่อน แล้วนำมา เมื่อทำอ้อยท่อนลำหนึ่งให้เป็นกัปปิยะแล้ว อ้อยท่อนทั้งหมดย่อมเป็นอันทำให้กัปปิยะแล้วเหมือนกัน
      ก็ถ้าว่า พวกทายกนำภัตปนกับพริกสุกเป็นต้นมา, เมื่อภิกษุกล่าวว่าจงกระทำกัปปิยะ ถ้าแม้ว่าอนุปสัมบันแทงที่เมล็ดข้าวสวย ก็สมควรเหมือนกัน แม้ในเมล็ดงาและข้าวสารเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล แต่พริกสุกเป็นต้นนั้น ที่เขาใส่ลงในข้าวต้ม ไม่ตั้งอยู่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน บรรดาพริกสุกเป็นต้นนั้น พึงทำกัปปิยะแทงทีละเมล็ดนั่นเทียว เยื่อในแห่งผลมะขวิดเป็นต้น ร่อนเปลือกแล้วคลอนอยู่ (หลุดจากกะลา คลอนอยู่ข้างใน) ภิกษุพึงให้ทุบแล้วให้ทำกัปปิยะ (ถ้า) ยังติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน (กับเปลือก), จะทำ (กัปปิยะ) แม้ทั้งเปลือก (ทั้งกะลา) ก็สมควร
      ๙.อธิบายอนาบัติ
      -บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นก็ดี ฉุดลากกิ่งไม้ก็ดี เอาไม้เท้ายันพื้นดินเดินไปก็ดี หญ้าเป็นต้น ขาดไป  หญ้าเหล่านั้นย่อมชื่อว่าเป็นอันภิกษุไม่ได้จงใจทำให้ขาด เพราะไม่ได้จงใจตัดอย่างนี้ว่า เราจักตัดหญ้าด้วยการกลิ้งเป็นต้นนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งตัด อย่างนี้
      -บทว่า อสติยา มีความว่า ส่งใจไปทางอื่น ยืนพูดอะไรๆกับใครๆ เอาหัวแม่เท้า หรือมือเด็ดหญ้าหรือเถาวัลย์อยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ตัดเพราะไม่มีสติอย่างนี้
      -บทว่า อาชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้ว่า พืชคาม หรือว่าภูตคาม มีอยู่ในภายในนี้ ทั้งไม่รู้ว่า เรากำลังตัด วางสิ่ว เสียม และจอบ ที่รั้วหรือที่กองฟาง เพื่อต้องการเก็บรักษาอย่างเดียว หรือว่ามือถูกไฟไหม้ทิ้งไฟลงก็ดี, ถ้าว่าในที่นั้น หญ้าเป็นต้น ขาดก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ
      ๑๐.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นกิริยา สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ ดังนี้แล


อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ  อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญู  สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ ๘ ฯ 

มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
รู้จักควบคุมการแสดงออก รู้ประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา

As the wind does not overthrow a rocky mount, So Mara indeed does not overpower him
Who lives unattached to sense pleasures, Who lives with his senses well-controlled,
Who knows moderation in his food, And who is full of faith and high vitality.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2561 16:16:35 »


ปาจิตตีย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๒

(พระวินัยข้อที่ ๖๑)
ภิกษุประพฤติอนาจาร พูดกลบเกลื่อนหรือนิ่ง เมื่อถูกสอบสวนความผิด ต้องปาจิตตีย์

      พระฉันนะประพฤติอนาจารเพราะต้องอาบัติ แล้วถูกไต่สวนในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ต้องอย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร?  ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงติเตียน แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ พึงยกอย่างนี้ว่า
กรรมวาจาลงอัญญวาทกกรรม
      ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุกติยกรรมวาจา ว่าดังนี้   ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี้เป็นญัตติ
      ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้...การยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
      อัญญวาทกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้

      แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า เป็นปาจิตตีย์ ในความเป็นผู้กล่าวคำอื่น”
      สมัยต่อมา พระฉันนะถูกไต่สวนอีก คิดว่า ครั้งก่อนเราพูดกลบเกลื่อน ครั้งนี้เราจะนิ่ง จึงทำให้สงฆ์ลำบาก พากันติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงให้สงฆ์ยกวิเหสกกรรมอย่างนี้ว่า

กรรมวาจาลงวิเหสกกรรม
      ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ดังนี้
      ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี้เป็นญัตติ
      ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน... การยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
      วิเหสกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้

      แล้วทรงมีพระอนุบัญญัติว่า ”เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก”
 
อรรถาธิบาย
      - เป็นผู้กล่าวคำอื่น คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ต้องอะไร? ต้องในเพราะเรื่องอะไร? ต้องอย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร?  ดังนี้ นี้ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวคำอื่น
      - เป็นผู้ให้ลำบาก คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่อง จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก นี้ชื่อว่า เป็นผู้ให้ลำบาก

อาบัติ
      ๑.เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกอัญญวาทกกรรม ภิกษุผู้ไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องด้วยเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ดังนี้ต้องอาบัติทุกกฎ
      เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรือาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๒.เมื่อสงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง...ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๓.กรรมเป็นธรรม (คือสงฆ์ทำถูกต้องแล้ว) ภิกษุรู้ว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก
      ๔.กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๕.กรรมเป็นธรรม ภิกษุคิดว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๖.กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุคิดว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๗.กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฎ
      เมื่อสงฆ์ยกวิเหสกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาบัติ
      ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๑  ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ ๑  ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่าความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความวิวาท อาจมีแก่สงฆ์ ๑  ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่าจักเป็นสังฆเภทหรือสังฆราชี ๑  ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่ชอบธรรมโดยเป็นวรรค หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๒๙๒-๒๙๕
      ๑.พระฉันนะกระทำสิ่งที่ไม่ควรทำ คือ ต้องอาบัติในทางกายทวาร วจีทวาร, เมื่อถูกติเตียนก็เป็นผู้กล่าวกลบเกลื่อน ปกปิด ทับถมคำอื่นด้วยคำอื่น
      ภิกษุทั้งหลายสอบถามด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ต้องอาบัติใช่ไหม? ก็กล่าวว่าใครต้อง? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่าน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติอะไร? ที่นั้นเมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปาจิตตีย์ หรือทุกกฎ เมื่อจะถามวัตถุ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องในเพราะวัตถุอะไร? ลำดับนั้นเมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ในเพราะวัตถุชื่อโน้น จึงถามว่า ข้าพเจ้าต้องอย่างไร? และข้าพเจ้าทำอะไรจึงต้อง? ดังนี้
      ครั้งนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ทำการละเมิดชื่อนี้ จึงต้อง? ดังนี้ ก็กล่าวว่า พวกท่านพูดกะใครกัน? เมื่อภิกษุกล่าวว่า พวกเราพูดกะท่าน จึงกล่าวว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไร?
      พึงทราบวิธีกลบเกลื่อนคำอื่นด้วยคำอื่น แม้นอกพระบาลีดังต่อไปนี้
      ภิกษุถูกพวกภิกษุกล่าวว่า 1พวกเราเห็นกหาปณะในถุงของท่าน ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร” ก็กล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่นไม่ใช่กหาปณะ มันเป็นก้อนดีบุก” ดังนี้ก็ดี, ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านดื่มสุรา ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่นไม่ใช่สุรา เป็นยาดอง ชื่อ อริฏฐะ เขาปรุงขึ้นเพื่อต้องการเป็นยา” ดังนี้ก็ดี
      ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า ”พวกเราเห็นท่านนั่งในอาสนะกำบังกับมาตุคาม” ก็กล่าวว่า ”ท่านที่เห็นนับว่าเห็นถูกต้องแล้ว แต่ในที่นั่นมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เห็นเขา?” ถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านเห็นการละเมิดเช่นนี้บางอย่างไหม?” ก็ตะแคงหูเข้าไปพูดว่า ”ไม่ได้ยิน” หรือจ้องตาเข้าไปหาพวกภิกษุ พูดกระซิบถามในที่ใกล้หูก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่าย่อมกลบเกลื่อนถ้อยคำ
      ๒.พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อญฺญวาทเก วิเหสเก ปาจิตฺติยํ คำใด ย่อมกล่าวความอื่นจากที่ถาม เพราะฉะนั้นชื่อว่า อัญญวาทกะ เป็นชื่อแห่งความกลบเกลื่อนถ้อยคำ
      ความเป็นผู้นิ่งใด ย่อมทำสงฆ์ให้ลำบาก เพราะฉะนั้นความเป็นผู้นิ่งนั้น ชื่อว่า วิเหสกะ เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้นิ่งในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น, พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว ใน ๒ วัตถุ คือ กล่าวถ้อยคำกลบเกลื่อน ๑  เป็นผู้นิ่ง ๑
      ๓.อัญญวาทวิเหสกโรปนกรรม อันสงฆ์กระทำแล้ว ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม และภิกษุนั้นมีความสำคัญในกรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ยังทำความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และความเป็นผู้ให้ลำบาก, เมื่อนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น
      ๔.ภิกษุเมื่อไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าตนต้องอาบัติเลย จึงถามว่า ”ท่านทั้งหลายพูดอะไร? ข้าพเจ้าไม่รู้เลย” ย่อมไม่เป็นอาบัติ
      - ภิกษุมีพยาธิที่ปาก เช่น พยาธิที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถจะพูดได้ หรืออาพาธอื่นๆ ที่ไม่อาจพูดได้ ย่อมไม่เป็นอาบัติ
      ๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ ทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายกับจิต ๑ เป็นสจิตตกะ, เป็นโลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสมูลจิต), (มีความไม่ชอบใจเป็นเหตุให้พูดกลบเกลื่อนหรือนิ่ง โดยใช้กายและวาจาพูดกลบเกลื่อน หรือนิ่งกระทำให้ลำบาก)
ศัพท์ที่ควรทราบจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
      ๑.สังฆเภท – ความแตกแห่งสงฆ์, การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕), กำหนดด้วยการไม่ทำอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน
      ๒.สังฆราชี – ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณา และสังฆกรรมต่างหากกัน



ปาจิตตีย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๖๒)
ภิกษุติเตียนภิกษุผู้สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์
ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่าๆ ต้องปาจิตตีย์

      ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตแก่สงฆ์ สมัยนั้นพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นผู้บวชใหม่ และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ที่เลวและอาหารที่ทราม ย่อมตกมาถึงเธอทั้งสอง, จึงให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรว่าจัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัตตามความพอใจ
      บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย ต่างพากันเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า ”เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา” ต่อมาพระเมตติยะและภุมมชกะคิดว่าทรงห้ามโพนทะนา จึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรใกล้ๆ ว่า จัดเสนาสนะและแจกภัตตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า ”เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า”  

อรรถาธิบาย
      -ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ให้โพนทะนา คือ อุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์จะใส่โทษให้อัปยศ ให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์      

อาบัติ
      ๑.กรรมเป็นธรรม (คือสงฆ์กระทำถูกต้องแล้ว) ภิกษุรู้ว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า
      ๒.กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๓.กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๔.ภิกษุให้โพนทะนา หรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๕.อุปสัมบันผู้อันสงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ และแจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์จะใส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงโพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
      ๖.อนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ดี มิได้สมมติก็ดี แจกยาคู แจกผลไม้ ภิกษุประสงค์จะใส่โทษ จึงโพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๗.กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๘.กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๙.กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
      ภิกษุผู้ให้โพนทะนาหรือบ่นว่า ภิกษุผู้มีปกติทำเพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ (เพราะการกระทำของภิกษุนั้นไม่เป็นธรรม) ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๓๐๐-๓๐๒
      ๑.พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ กล่าวคำเป็นต้นว่า พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะโดยฉันทาคติเป็นต้น ยังภิกษุทั้งหลายให้ดูหมิ่นท่านพระทัพพะ
      - เมื่อภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ กล่าวคำว่า ท่านทัพพะถึงความลำเอียงด้วยฉันทาคติ เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมประกาศ
      - พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ ย่อมให้โพนทะนาด้วยคำใด คำนั้นชื่อว่า อุชฌาปนกะ และบ่นว่าด้วยคำใด คำนั้นชื่อว่า ขิยฺยนกะ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ๑  ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า ๑, พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๑ ตัว ใน ๒ วัตถุ
      ๒.”สมมติกรรมใด สงฆ์ทำแล้วเพื่ออุปสัมบันนั้น” ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม และภิกษุมีความสำคัญกรรมนั้นว่า ”กรรมชอบธรรม” ย่อมทำการโพนทะนา และบ่นว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา และบ่นว่านั้น
      - ภิกษุยังอนุปสัมบันให้โพนทะนาอุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว หรือให้ดูหมิ่นก็ดี หรือบ่นว่าเธอในสำนักแห่งอนุปสัมบันนั้นก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๓.”ผู้มิได้สมมติ” ก็คือ ผู้อันสงฆ์มิได้สมมติด้วยกรรมวาจา
      ๔.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสมูลจิต)



ปาจิตตีย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๖๓)
ภิกษุเอาเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ของสงฆ์ ไว้กลางแจ้ง
เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ ต้องปาจิตตีย์

      ครั้งนั้นเป็นฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง ผิงกายอยู่ ครั้นในเวลาภัตกาล เมื่อจะไป ภิกษุไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บซึ่งเสนาสนะนั้น ทั้งไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะเสียหาย ภิกษุทั้งหลายต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น... ทรงตำหนิแล้วมีพระบัญญัติว่า
”อนึ่ง ภิกษุใดวางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้แล้วก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์”
      สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรีบเก็บเสนาสนะก่อนกาลอันสมควร พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น จึงทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในปะรำ หรือที่โคนไม้ หรือในที่ซึ่งนกกาหรือนกเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด ๘ เดือน (หนาว ๔ ร้อน ๔) ซึ่งกำหนดว่ามิใช่ฤดูฝน”

อรรถาธิบาย

      - ที่ชื่อว่า อันเป็นของสงฆ์ ได้แก่ ของที่ถวายแล้ว สละแล้วแก่สงฆ์
      - วางไว้แล้ว คือ วางไว้เอง, ให้วางไว้แล้ว คือคนอื่นวางไว้ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น ไม่ให้คนอื่นเก็บ ไม่บอกไม่มอบหมายแก่ภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด แล้วเดินล่วงเลฑฑุบาตรของมัชฌิมบุรุษไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์      

อาบัติ
      ๑.เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุรู้ว่าเป็นของสงฆ์... ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๒.เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติอาจิตตีย์
      ๓.เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุคิดว่าเป็นของบุคคล... ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      ๔.ภิกษุวางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวพื้นก็ดี เครื่องลาดเตียง ลาดพื้น เสื่ออ่อนก็ดี ท่อนหนัง เครื่องเช็ดเท้าก็ดี ตั่งกระดานก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี... ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๕.เสนาสนะของบุคคล ภิกษุคิดว่าเป็นของสงฆ์... ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๖.เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๗.เสนาสนะของบุคคล ภิกษุรู้ว่าเป็นของบุคคล... ต้องอาบัติทุกกฎ
      ๘.เสนาสนะส่วนตัวของตน... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑  ให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑  บอกมอบหมายแล้วไป ๑  ภิกษุเอาออกผึ่งแดดไว้ ไปด้วยตั้งใจจักกลับมาเก็บ ๑  เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ๑  ภิกษุมีอันตราย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๓๐๘-๓๑๖
      ๑.นกกาและนกตะกรุม หรือนกอื่นทำรังอยู่ ด้วยการอยู่ประจำในต้นไม้ใด มันจะไม่ถ่ายมูลรดเสนาสนะนั้น เราอนุญาตให้เก็บไว้ที่โคนไม้เช่นนั้น, นกทั้งหลายเสาะแสวงหาเหยื่อ พักผ่อนที่ต้นไม้ใดแล้วบินไป จะเก็บไว้ที่โคนแห่งต้นนั้น ก็ควร, แต่ว่านกทั้งหลายทำรังอยู่ด้วยการอยู่เป็นประจำที่ต้นไม้ใด อย่าพึงเก็บไว้ที่โคนต้นไม้นั้น
      - ชนบทใดฝนไม่ตกในฤดูฝน ชนบทเหล่านั้นจะเก็บไว้ตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ก็ไม่ควรเหมือนกัน
      - ชนบทเหล่าใดฝนตกในฤดูเหมันต์ (หนาว) ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ในที่แจ้ง แม้ในฤดูเหมันต์ก็ไม่ควร, ส่วนในฤดูคิมหันต์ ท้องฟ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆในที่ทั่วไป ในเวลาเช่นนี้จะเก็บเตียงและตั่งไว้ในที่แจ้งด้วยกรณีจำเป็นบางอย่าง ย่อมควร
      - แม้ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ (อยู่ที่แจ้ง) ก็ควรรู้วัตร, ถ้าเธอมีเตียงส่วนบุคคล ก็พึงนอนบนเตียงส่วนบุคคลนั่นแล เมื่อจะถือเอาเตียงของสงฆ์ พึงถือเอาเตียงที่ถักด้วยหวายหรือด้วยปอ, เมื่อเตียงถักด้วยหวายหรือด้วยปอนั่นไม่มี พึงถือเอาเตียงเก่า, เมื่อเตียงเก่านั้นไม่มี พึงถือเอาเตียงที่ถักใหม่ๆ หรือที่บุด้วยหนัง, ก็แลครั้นถือเอาแล้ว คิดว่า เราจะถือรุกขมูล (อยู่โคนไม้) อย่างเคร่ง ถืออัพโภกาสอย่างเคร่ง ดังนี้ แล้วไม่ทำแม้ซึ่งกุฎีจีวร (เพดานทำด้วยจีวร) จักตั้งเตียงตั่งนั้นในที่แจ้งหรือที่โคนไม้ แล้วนอนในคราวที่มิใช่สมัย ย่อมไม่ควร, ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่อาจเพื่อจะรักษากุฎีที่ทำด้วยจีวรแม้ตั้ง ๔ ชั้น ไม่ให้เปียกได้ มีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน (จะจัดตั้งเตียงน้อยนอน) ก็ควร เพราะเตียงนอนเป็นไปตามร่างกายของภิกษุ
      พวกมนุษย์มีจิตเลื่อมใสในสีลสัมปทาของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในกระท่อมใบไม้ในป่า จึงถวายเตียงและตั่งใหม่ กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดยใช้สอยเป็นของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่แล้วจะไป พึงส่งข่าวไปบอกแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันในวิหารที่ใกล้เคียง แล้วจึงไป เมื่อไม่มีพวกภิกษุผู้ชอบกัน พึงเก็บไว้ในที่ที่ฝนจะไม่รั่วรด แล้วจึงไป เมื่อไม่มีที่ที่ฝนไม่รั่วรด พึงแขวนไว้ที่ต้นไม้ แล้วจึงไป
      ๒.ภิกษุถือเอาไม้กวาดที่ลานพระเจดีย์ไปกวาดลานหอฉันก็ดี ลานโรงอุโบสถก็ดี ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีบริเวณที่พักกลางวันและโรงไฟเป็นต้น ล้าง เคาะ (ไม้กวาดนั้น) แล้ว พึงเก็บไม้กวาดไว้ในโรงนั้นแหละ, ส่วนภิกษุผู้ถือเอาไม้กวาดในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีโรงอุโบสถเป็นต้น ไปกวาดบริเวณที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ, ส่วนภิกษุใดกวาดทางเที่ยวภิกขาจารประสงค์จะไปบิณฑบาตเลย ภิกษุนั้นกวาดแล้วพึงเก็บไว้ที่ศาลาซึ่งมีอยู่ในระหว่างทาง, ถ้าศาลาไม่มี กำหนดว่าเมฆฝนยังไม่ตั้งเค้าขึ้น รู้ว่าฝนจักยังไม่ตกจนกว่าเราจะออกมาจากบ้าน เก็บไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วกลับมาพึงนำเก็บไว้ในที่เดิม
      มหาปัจจรีกล่าวว่า ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่าฝนจักตก วางไว้ในกลางแจ้ง เป็นทุกกฎ ดังนี้ แต่ถ้าว่าไม้กวาดเป็นของอันเขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์สำหรับกวาดในที่นั้นๆ นั่นเอง ภิกษุจะกวาดที่นั้นๆ แล้ว เก็บไว้ในที่นั้นๆ แล สมควรอยู่
      ภิกษุจะกวาดโรงฉัน ควรรู้จักวัตร ดังนี้ พึงกวาดทรายตั้งแต่ท่ามกลาง ตะล่อมมาไว้ตรงหน้าที่เท้ายืน พึงเอามือทั้งสองกอบอยากเยื่อออกไปทิ้งข้างนอก
      ๓.เตียงที่เขาทำเจาะที่เท้าเตียง สอดแม่แคร่ทั้งหลายเข้าไปในเท้าเตียงนั้น ชื่อว่า มสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา), เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา), เตียงที่เขาด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า กุลีรปาท (เตียงมีขาดังก้ามปู) ก็หรือว่าเตียงที่มีเท้างออย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ท่านเรียกว่า เตียงมีขาดังก้ามปู เตียงที่ทำเจาะตัวเตียงทำ ชื่อว่า อาหัจจปาทกะ (เตียงมีขาจรดแม่แคร่) เพราะเหตุนั้น เตียงที่ทำเจาะแม่แคร่ทั้งหลาย แล้วสอดปลายขาเข้าไปในแม่แคร่นั้น สลักลิ่มในเบื้องบน พึงทราบว่า เตียงมีขาจรดแม่แคร่, แม้ในตั่งก็มีนัยนี้เหมือนกัน
      ๔.พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉันแล้ว สั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไปแต่งตั้งเตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน, ภิกษุหนุ่มนั่นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้ จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ  พระเถระนั่งแล้ว เมื่อจะไปไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์เมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตรไป
      - ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั้น จงกรมพลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียง ตั่ง ขอรับ! ถ้าพระเถระรู้จักธรรมเนียม พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด เราจักทำให้เป็นปกติเดิม; แต่ถ้าภิกษุผู้เถระเป็นคนเขลา ไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุหนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้ เราจะไม่ให้ใครนั่ง ไม่ให้ใครนอน, ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิดขอรับ! ได้ข้ออ้างไว้แล้ว พึงไปเถิด, เมื่อภิกษุหนุ่มไปแล้วเป็นธุระของพระเถระท่านนั้น และเป็นอาบัติตามนัยก่อนนั่นเทียว (หากไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บ)
      - ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี, ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียงและตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น เป็นภารธุระของพระภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น, ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปสำหรับอุปัชฌาย์ สำหรับอาจารย์ของตน ดังนี้ แต่นั้นไปเป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะเท่านั้น, ในเวลาไป เมื่อไม่กระทำไว้ตามเดิม เดินเลยเลฑฑุบาตรไป เป็นอาบัติ
      ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มา หรือเป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวกภิกษุผู้นั่ง ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย เป็นทุกกฎ เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง
      -เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่เพียงใด เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น, มีการฟังธรรมตลอดวันและตลอดคืน ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป ภิกษุอื่นมานั่ง ภิกษุใดๆ มานั่งเป็นภาระของภิกษุนั้นๆ แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้เป็นภาระของท่าน แล้วจึงไป, ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนี้มานั่งอยู่ภายใน อุปจารสถานที่นั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ, ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรม นอกนี้ยังไม่มานั่งนั่นแหละ
      ภิกษุนั่งอยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตรไป พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ, แต่ในมหาปัจจรีกล่าวนัยนี้ไว้ว่า ทุกๆ แห่งในเมื่อเดินเลฑฑุบาตรไป เป็นทุกกฎในย่างเท้าที่ ๑, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒
      ๕.เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เมื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ชื่อว่า จิมิลิกา, ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อลำแพนทับไว้ข้างบน
      เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่า เครื่องลาดเตียง ชนิดแห่งเครื่องปูลาดมีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาดพื้น, เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสื่ออ่อน, แม้บรรดาหนังสัตว์มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น; หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง, จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้ามในการบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฏในอรรถกถาทั้งหลาย เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหาร (จัดทำ, ใช้สอย) หนังสีหะ เป็นต้น
      เครื่องเช็ดที่ทำด้วยเชือกเล็กๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า, ตั่งที่เขาด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน อีกอย่างหนึ่งได้แก่ แผ่นกระดานและตั่งที่ทำด้วยไม้ แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่านสงเคราะห์ด้วยตั่งแผ่นกระดานนั้นๆ แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้โดยพิสดารทีเดียวว่า ภิกษุวางเชิงรองบาตร ฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล พัดใบไม้ เครื่องไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดกระบวยตักน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม ไว้ในที่แจ้ง แล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ, แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทที่ ๒ (สิกขาบทที่ ๕) ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือ ภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม ราวน้ำย้อม เป็นต้น ไว้ในโรงไฟ, ถ้าโรงไฟไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด, แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวางไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร
      ๖.เสนาสนะถูกรบกวนด้วยอันตรายบางอย่าง (ฉุกเฉิน), ก็ถ้าภิกษุผู้แก่กว่าให้ย้ายออกแล้วถือเอาเสนาสนะนั้นก็ดี ถ้าว่ายักษ์หรือเปรตมานั่งอยู่ก็ดี หรือว่าอิสรชนบางคนมายึดเอาก็ดี เสนาสนะนั้นจัดว่าถูกหวงแหง (กางกั้น) ก็หรือว่าเหล่าสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น มาสู่ที่นั้นแล้วพักอยู่ จัดว่าถูกรบกวนเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่เก็บ ไปเสีย เพราะเสนาสนะถูกอันตรายบางอย่างรบกวนอย่างนี้
      - หรือไม่เก็บในเพราะอันตรายแห่งชีวิตและอันตรายแห่งพรหมจรรย์
      ๗.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๑ จีวรวรรค นิสัคคิยปาจิตตีย์) เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยา (วาง, ให้วาง) ทั้งอกิริยา (ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บ) อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓




อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๒๐ ฯ  

ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้ รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช  

Though little he recites the Sacred Texts, But puts the precepts into practice,
Forsaking lust, hatred and delusion, With rigth knowledge, with mind well freed,
Cling to nothing here or hereafter, He has a share in religious life.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กุมภาพันธ์ 2561 16:18:47 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อาบัติ(ปาราชิก)
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
時々๛कभी कभी๛ 0 2017 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2554 17:26:36
โดย 時々๛कभी कभी๛
อาบัติ ปาราชิก
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 2856 กระทู้ล่าสุด 02 ตุลาคม 2556 13:27:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.357 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:51:45