[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 05:33:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 3 [4]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท)  (อ่าน 52446 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มกราคม 2557 16:21:07 »

.



พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก

ปาราชิก สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑)
ภิกษุเสพเมถุนต้องปาราชิก


ปาราชิกนี้ เป็นกฎหมายอันเด็ดขาดของศาสนาพุทธ ถ้าเป็นกฎหมายทางฝ่ายโลก ก็ตัดสินประหารชีวิต
ถ้าต้องปาราชิกเข้าแล้วข้อใดข้อหนึ่ง ก็ขาดจากความเป็นภิกษุ หาสังวาสไม่ได้

ถ้าต้องปาราชิกแล้วยังไปร่วมอุโบสถสังฆกรรม ทำให้สังฆกรรมเศร้าหมอง
แปลว่า ทำลายศาสนา ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทั้งภพนี้และภพหน้า เป็นมนุสสสุญญตะ
หมดภพชาติที่จะได้มาเป็นมนุษย์ ขาดใจเมื่อไหร่ลงมหาโลกันตนรกเมื่อนั้น

พระสุทินน์ : ต้นบัญญัติ สิกขาบทที่ ๑

ณ สถานที่ไม่ห่างจากพระนครเวสาลี มีบ้านตำบลหนึ่งชื่อกลันทะ ในบ้านนั้นมีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ สุทินน์ เป็นบุตรของกลันทเศรษฐี จึงเรียกกันว่าสุทินกลันทบุตร  สุทินกลันทบุตรได้ทำธุระบางอย่างในพระนครเวสาลีกับสหายหลายคน ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ เขาได้เห็น เกิดความคิดว่า “เราจะฟังธรรมบ้าง” แล้วเดินเข้าไปนั่ง ณ ที่นั้น คิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ทรงแสดงแล้ว เพราะบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้วทำไม่ได้ง่าย ถ้าอย่างนั้นเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตดีกว่า

ครั้นฟังธรรมจบแล้ว เขาและคนอื่นๆ ก็ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมกลับไป หลังจากนั้นไม่นาน สุทินน์ได้ย้อนกลับมาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงความปรารถนาบวช พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ กราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า  ตรัสว่า ดูก่อนสุทินน์ พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต เขากราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำให้มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า

หลังจากนั้น สุทินกลันทบุตรเสร็จธุระในพระนคร กลับถึงบ้านกล่าวขออนุญาตบวช แต่มารดาบิดากล่าวว่า “ลูกสุทินน์ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตาย เราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉนเราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า”

แม้ครั้งสอง...ครั้งที่สาม...เขาก็ยืนยันจะขอบวชให้ได้ แต่ก็ยังคงถูกมารดาบิดายืนยันไม่อนุญาตเหมือนเดิม เมื่อเห็นว่าบิดามารดาไม่อนุญาตให้บวช เขาจึงนอนลงบนพื้น ตัดสินใจว่าการตายหรือการบวชจักมีแก่เราในสถานที่นี้แหละ เขาไม่บริโภคอาหารแม้หนึ่งมื้อ สองมื้อ สามมือ...เจ็ดมื้อ แต่มารดาบิดาก็ยังยืนยันไม่อนุญาตและอ้อนวอนให้เขาอยู่ครองเรือนด้วยคำว่า “ลูกจงกิน จงดื่ม จงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญเถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ต่อมา พวกสหายของสุทินกลันทบุตรได้เข้ามาช่วยบิดามารดาเจรจาอ้อนวอนให้เขาเห็นแก่รักของมารดาบิดา  แต่เขาก็ไม่พูดด้วย ได้นิ่งเสีย เมื่อไม่สำเร็จพวกสหายจึงไปหามารดาบิดาของสุทินน์ ขอให้อนุญาตให้สุทินน์บวชเถิด ไม่เช่นนั้นเขาจักต้องตายแน่แท้ เมื่อเขาบวชแล้วเกิดไม่ยินดีการบวช เขาก็จักกลับมาเองแหละ มารดาบิดาจึงได้อนุญาตให้บวช

พวกสหายได้นำข่าวการอนุญาตของมารดาบิดาไปบอกแก่สุทินน์ เขาก็รื่นเริงดีใจ ลุกขึ้นเยียวยาอยู่สองสามวัน จึงเข้าไปสู่พุทธสำนัก

...สุทินกลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนัก เมื่อบวชแล้วไม่นานท่านประพฤติสมทานธุดงคคุณ คือการถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับเรือน พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง

สมัยนั้น วัชชีชนบทเกิดอัตคัดอาหาร ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีการสลากซื้ออาหาร ภิกษุจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่านพระสุทินน์คิดว่า ญาติของเราในพระนครเวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มีโภคะมาก เราจะไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานทำบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ จักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ท่านจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกไปสู่พระนครเวลาสีโดยลำดับ ถึงแล้วท่านพำนัก ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี

พวกญาติได้ทราบข่าวการมาของท่าน จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อ ไปถวาย ท่านพระสุทินน์ท่านสละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว เช้าวันนั้นท่านเข้าไปบิณฑบาตยังกลันทคามใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดีนางทาสีกำลังจะทิ้งขนมสดที่ค้างคืน ท่านพระสุทินน์จึงกล่าวว่า “น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้ง ขอท่านจงเกลี่ยลงในบาตรของเราเถิด” นางทาสีกำลังเกลี่ยขนมสดลงในบาตร นางจำเค้ามือ เท้า และเสียงของท่านได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาของท่านกล่าวว่า “คุณนายเจ้าขาโปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้ว เจ้าค่ะ” มารดาพระสุทินน์ได้กล่าวว่า หากพูดไม่จริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี

ขณะที่พระสุทินน์กำลังฉันขนมสดอยู่นั้น พอดีบิดาของท่านเดินกลับมาจากที่ทำงานได้แลเห็น จึงเข้าไปกล่าวว่า “พ่อควรไปเรือนของตนมิใช่หรือ” ท่านพระสุทินน์กล่าวว่า “ไปมาแล้ว ก็ขนมนี้ได้มาจากเรือนของคุณโยม” บิดาของท่านได้จับที่แขนกล่าวว่า “มาเถิด เราจักไปเรือนกัน” ท่านได้เดินตามเข้าไปสู่เรือน นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย บิดานิมนต์ให้ฉัน ท่านปฏิเสธว่า ภัตตาหารวันนี้เรียบร้อยแล้ว บิดาจึงนิมนต์ให้มาฉันในวันรุ่งขึ้น ท่านรับนิมนต์แล้วหลีกไป

ครั้งนั้น มารดาของท่านสั่งให้ไล้ทาพื้นแผ่นดินด้วยโคมัยสด ให้จัดทำกองทรัพย์ไว้ ๒ กอง คือ เงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง เป็นกองใหญ่ ไม่สามารถแลเห็นกันและกันได้ ให้ปิดกองทรัพย์ด้วยลำแพน จัดอาสนะไว้ตรงกลาง แวดล้อมด้วยม่าน แล้วสั่งให้อดีตภรรยาท่านพระสุทินน์ตกแต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่

เวลาเช้า ท่านพระสุทินน์เข้ามาสู่เรือน นั่งบนอาสนะ บิดาให้คนเปิดกองทรัพย์เหล่านั้นออก แล้วกล่าวว่า พ่อสุทินน์ ทรัพย์นี้ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยบำเพ็ญบุญเถิด แต่ท่านได้ปฏิเสธว่ายังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ แล้วขอโอกาสกล่าวอีกว่า คุณโยมจงให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ๆ บรรจุเงินและทองให้เต็ม บรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมีทรัพย์เป็นเหตุให้จักเกิดแก่คุณโยม จักไม่มีแก่คุณโยมเลย

เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจ ได้เรียกอดีตภรรยาของท่านออกมา คิดว่าเป็นที่รักที่พอใจของท่านสุทินน์ บางทีลูกสุทินน์จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง นางได้ออกมาจับเท้า กล่าวว่า “ข้าแต่ลูกนาย นางอัปสรผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นชื่ออะไร” พระสุทินน์ตอบว่า “น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย” นางน้อยใจที่ถูกเรียกว่าน้องหญิง ได้สลบล้มลงในที่นั้นเอง พระสุทินน์กล่าวว่า “ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มี ก็จงให้เถิด อย่ารบกวนอาตมภาพเลย


 พระสุทินน์เสพเมถุนกับภรรยาเก่า

บิดามารดาได้ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน จนท่านเสร็จภัตกิจแล้ว มารดาของท่านได้อ้อนวอนให้ท่านสึก เพื่อเห็นแก่ทรัพย์สมบัติมากมายด้วยเถิด แต่ท่านก็ยังคงปฏิเสธ มารดาจึงกล่าวว่า “ทรัพย์สมบัติของเรามีมาก ดังนี้พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา เพราะหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้” ท่านตอบว่า “คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้อาจทำได้” มารดาถามว่า “ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน?” “ที่ป่าหิมวัน” ท่านตอบแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป

หลังจากนั้น มารดาของท่านได้สั่งอดีตภรรยาว่า เมื่อใดที่เจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมีแก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าจงบอกแก่แม่ นางรับคำ ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดู ต่อมโลหิตได้เกิดขึ้นแก่นาง จึงได้แจ้งให้มารดาพระสุทินน์ ทราบ มารดาสั่งให้แต่งตัวพร้อมด้วยเครื่องประดับ แล้วพานางไปหาพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน รำพันอ้อนวอนให้สึก ท่านตอบปฏิเสธ จึงกล่าวว่าขอพืชพันธุ์ไว้ ท่านตอบว่าอาจทำได้  แล้วจูงแขนอดีตภรรยาเข้าป่าหิมวันต์ ท่านคิดว่าไม่มีโทษ เพราะสิขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามไว้ จึงเสพเมถุนในปุราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) ๓ ครั้ง นางได้ตั้งครรภ์เพราะความประพฤตินี้

เหล่าภุมเทวดากระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินกลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว, เทพชั้นจาตุมหาราชิกาได้สดับเสียงเหล่าภุมเทวดาแล้วกระจายเสียงต่อไป, เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกันต่อๆ ไปอย่างนี้

(สมัยต่อมา อดีตภรรยาของท่านพระสุทินน์ได้คลอดบุตร พวกสหายของท่านตั้งชื่อทารกนั้นว่า พีชกะ ตั้งชื่ออดีตภรรยาว่า พีชกมารดา ตั้งชื่อพระสินทินน์ว่า พิชกปิตา ภายหลังทั้งอดีตภรรยาและบุตรต่างออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว)

ครั้งนั้น ความรำคาญใจ ความเดือดร้อนใจ ได้เกิดแก่ท่านพระสุทินน์ว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความรำคาญและความเดือดร้อนใจนั้น ท่านได้ซูบผม เศร้าหมอง ผิวพรรณทราม มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสารซบเซาแล้ว

บรรดาภิกษุสหายของท่านพระสุทินน์เห็นความผิดปกตินั้น ได้สอบถามท่านสุทินน์ว่า “คุณไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์หรือ?” พระสุทินน์ตอบว่า “มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แต่เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนในภรรยา ผมจึงได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ เพราะผมบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว แต่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต”

ภิกษุสหายเหล่านั้นติเตียนท่านพระสุทินน์เป็นอันมาก ที่บวชแล้วไม่อาจจะคลายความกำหนัดและความยึดมั่นเป็นต้นได้ ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า


ทรงประชุมแล้วติเตียน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า “ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา จริงหรือ?" พระสุทินน์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า “ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชเรียนในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ (คำว่า โมฆบุรุษนี้ ทรงใช้กับภิกษุที่มิได้เป็นพระอริยะ) ธรรมอันเราแสดงแล้ว โดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อความถือมั่น

ดูก่อน โมฆบุรุษ ธรรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่ถอนอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดวัฏฏะ เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราได้บอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าไปในปากงูเห่ายังดีกว่า องค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า...ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?

เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตายหรือความทุกข์ เพียงแค่ตายซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป จักไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าไปในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการทำนี้เป็นเหตุ

ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำอันชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลกรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั้นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระสุทินน์เป็นอันมากดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงหลักธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า



เหตุผลที่ทรงบัญญัติสิกขาบท ๑๐ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดขึ้นในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑


ปฐมบัญญัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า “ภิกษุใด เสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้” นี้เป็นพระปฐมบัญญัติ


อนุบัญญัติ ๑
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน พระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้งนั้นภิกษุหลายรูปสังเกตความผิดปกติของลิง ที่เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง  สันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าถิ่นนี้คงเสพเมถุนกับลิงตัวเมียอย่างไม่ต้องสงสัย จึงพากันคอยแอบดู ภิกษุนั้นได้เสพเมถุนอีก เมื่อภิกษุเหล่านั้นถามว่า ทำไมทำเช่นนั้น ทรงมีบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ? เธอนั้นตอบว่า พระบัญญัตินั้นห้ามเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุเหล่านั้นต่างพากันติเตียน แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ตรัสถามภิกษุนั้น ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วมีอนุบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใด เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”


ผู้ต้องปาราชิกแล้วปรารถนาการบวชอีก
สมัยต่อมา ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูปไม่ได้บอกลาสิกขาบท ได้เสพเมถุนธรรม สมัยถัดมา พวกเขาถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้ว ถูกความวอดวายแห่งโภคะกระทบแล้ว ถูกโรคภัยเบียดเบียนแล้ว จึงเข้าไปหาพระอานนท์ กล่าววิงวอนให้ช่วยกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทอีกครั้ง โดยให้สัญญาว่าจะหมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม

พระอานนท์รับคำของวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว เข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

ครั้งนั้น พระองค์รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้วสงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ ส่วนผู้ใดแลเป็นภิกษุบอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้วสงฆ์ก็พึงอุปสมบทให้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทแสดงอย่างนี้ว่า :


พระอนุบัญญัติ ๒
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้”

     อรรถาธิบาย
- บทว่า ภิกษุที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยาวัตร, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกขุ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะมีสารธรรม, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ,  ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัติติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ   บรรดาภิกษุที่กล่าวมานี้ ภิกษุที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
- บทว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการนี้ อธิศีลสิกขา ชื่อว่า สิกขาที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ (ถึงพร้อมซึ่งสิกขา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล)


อาบัติ
๑. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค (มรรคใดมรรคหนึ่ง หรือทั้งสาม) ของมนุษย์ผู้หญิง...อมนุษย์ผู้หญิง...สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องปาราชิก
๒. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค ของมนุษย์อุภโต พยัญชนก...อมนุษย์อุภโตพยัญชนก...สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องปาราชิก
๓. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๓ คือ ของมนุษย์บัณเฑาะก์...อมนุษย์บัณเฑาะก์...ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ต้องปาราชิก
๔. ภิกษุเสพเมถุนในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของมนุษย์ผู้ชาย...อมนุษย์ผู้ชาย...สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ต้องปาราชิก
๕. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด (ของภิกษุ) ด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการชักออก ต้องปาราชิก
๖. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการชักออก ไม่ต้องอาบัติ
๗. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการชักออก ต้องปาราชิก
๘. พวกภิกษุเป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงตายแล้วถูกสัตว์กัดมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดี ต้องถุลลัจจัย หากเธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๙. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงที่ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดของภิกษุด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค ถ้าเธอยินดี ต้องปาราชิก ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๑๐. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมา แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค...ปัสสาวมรรค...มุขมรรค คือ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงมีเครื่องลาด ของภิกษุมีเครื่องลาด ๑ ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ต้องปาราชิก ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๑๑. การเสพเมถุนธรรมในบุคคลที่เหลือ มีอมนุษย์ผู้หญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หรือมนุษย์อุภโตพยัญชนก เป็นต้น พึงทราบคำอธิบายตามทำนองที่กล่าวมา
๑๒. ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางมรรค ต้องปาราชิก
๑๓. สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคทางมรรค ต้องปาราชิก (ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางปัสสาวมรรค เป็นต้น แล้วชักออกในทางแผลใกล้ต่อมรรคนั้น)
๑๔. สอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางอมรรค ต้องปาราชิก (ยังองค์กำเนิดให้เข้าทางแผล ใกล้ต่อมรรค แล้วชักออกทางมรรค)
๑๕. สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคออกทางอมรรค ต้องถุลลัจจัย
๑๖. ภิกษุปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้ประทุษร้าย
๑๗. ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะเสียทั้งสองรูป เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงนาสนะภิกษุผู้ประทุษร้าย
๑๘. สามเณรปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ และสามเณรปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ ก็มีอธิบายนัยเดียวกับข้อ ๑๖,๑๗

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2558 13:12:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #61 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2563 16:23:06 »


ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๒)
ภิกษุเข้าไปในห้องที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จอยู่กับพระมเหสี
ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตก่อน

       พระเจ้าปเสนทิโกศล เลื่อมใสอุบาสกคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเชิญให้อุบาสกกล่าวธรรมในฝ่ายในของพระองค์ แต่อุบาสกปฏิเสธว่า ตนเองรู้ธรรมจากพระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอให้พระราชานิมนต์พระคุณเจ้าเถิด พระราชาจึงเข้าเฝ้ากราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานภิกษุรูปหนึ่งเพื่อสอนธรรม
      พระองค์ทรงแต่งตั้งพระอานนท์ให้เข้าไปสอนธรรม วันหนึ่งเวลาเช้า พระอานนท์เข้าสู่พระราชนิเวศน์เร็วไป ขณะนั้นพระราชาและพระนางมัลลิกาเทวียังบรรทมอยู่ พระนางทอดพระเนตรเห็นพระอานนท์มาแต่ไกล จึงผลีผลามลุกขึ้น พระภูษาทรงสีเหลืองได้เลื่อนหลุด พระอานนท์กลับจากที่นั้นทันที ถึงอารามได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ติเตียนว่า ไฉน ท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับบอกก่อน จึงได้เข้าไปสู่พระราชฐานชั้นในเล่า...แล้วกราบทูล... ทรงติเตียน แล้วแสดงโทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน มีความระแวงจากพระราชาเมื่อเห็นภิกษุและพระมเหสียิ้มให้กันเป็นต้น แล้วทรงบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไปในห้องของพระราชาผู้กษัตริย์ ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า ผู้กษัตริย์ คือ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายพระราชมารดาและพระราชบิดา เป็นผู้มีพระครรภ์เป็นที่ปฏิสนธิหมดจดดีแล้ว ตลอด ๗ ชั่วบุรพชนก ไม่มีใครคัดค้าน ติเตียน โดยกล่าวถึงชาติกำเนิดได้
      - ที่ชื่อว่า ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว คือ ได้รับอภิเษกโดยสรงสนานให้เป็นกษัตริย์แล้ว
      - บทว่า ที่พระราชายังไม่เสด็จออก คือ พระเจ้าแผ่นดินยังไม่เสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
      - บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม หรือทั้งสองยังไม่ได้เสด็จออก
      - บทว่า ยังไม่ได้รับบอกก่อน คือ ไม่มีใครนิมนต์ไว้ก่อน
      - ที่ชื่อว่า ธรณี ได้แก่ สถานที่ซึ่งเขาเรียกกันว่า ธรณีแห่งตำหนักที่บรรทม
      - ที่ชื่อว่า ตำหนักที่บรรทม ได้แก่ ที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงานจัดแต่งไว้ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระสูตร (ม่าน)
      - คำว่า ก้าวล่วงธรณีเข้าไป คือ ยกเท้าที่ ๑ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องทุกกฏ ยกเท้าที่ ๒ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อาบัติ
       ๑. ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุรู้ว่ายังไม่ได้รับบอก ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องปาจิตตีย์
       ๒. ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสงสัย... ต้องปาจิตตีย์
       ๓. ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุคิดว่าได้รับบอกแล้ว... ต้องปาจิตตีย์
       ๔. ได้รับบอกแล้ว ภิกษุคิดว่ายังไม่ได้รับบอก... ต้องทุกกฏ
       ๕. ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฏ
       ๖. ได้รับบอกแล้ว ภิกษุรู้ว่าได้รับแล้ว... ไม่ต้องอาบัติ
     
อนาบัติ
      ได้บอกแล้ว ๑  ไม่ใช่กษัตริย์ ๑  ไม่ได้รับอภิเษกโดยสรงสนานให้เป็นกษัตริย์ ๑  พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกแล้ว ๑  พระมเหสีเสด็จออกแล้ว ๑  ทั้งสองพระองค์เสด็จออกแล้ว ๑  ไม่ใช่ตำหนักที่บรรทม ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๐๘-๘๐๙
      ๑. พระมเหสี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า รัตนะ
      ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา  เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓   



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่๑๓๓)
ภิกษุเก็บของมีค่าที่ตกอยู่ ถือเอาเป็นของเก็บได้เอง ใช้ผู้อื่นเก็บก็ดี ต้องปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่ตกอยู่ในวัด ต้องเก็บไว้ให้เจ้าของ

       พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงเงินประมาณ ๕๐๐ กษาปณ์ ไว้บนบก แล้วลงอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้วได้ลืมถุงทรัพย์นั้นไว้ ภิกษุรูปหนึ่งสรงน้ำขึ้นมาพบเข้า คิดว่านี้คงเป็นถุงทรัพย์ของพราหมณ์นั้น อย่าได้เสียหายเลย จึงได้เก็บไว้
      ฝ่ายพราหมณ์นึกขึ้นได้ รีบวิ่งมาถามภิกษุ ภิกษุนั้นคืนให้แล้ว พราหมณ์ฉุกคิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรหนอ เราจึงจะไม่ต้องให้ค่าไถ่ร้อยละ ๕ แก่ภิกษุนี้ จึงพูดเชิงขู่ว่า ทรัพย์ของข้าพเจ้าไม่ใช่ ๕๐๐ กษาปณ์ แต่มี ๑,๐๐๐ กษาปณ์  ดังนั้น แล้วปล่อยภิกษุไป
      ภิกษุนั้นถึงอาราม ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ติเตียนว่า ไฉน จึงได้เก็บเอารัตนะเล่า แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เป็นปาจิตตีย์”
      ต่อมา นางทาสีของนางวิสาขามิคารมาตา ได้ลืมเครื่องประดับของนางวิสาขาไว้ในอาราม ภิกษุกราบทูล... ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า...
      ต่อมา คนสนิทของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีถอดแหวนแล้ว อังคาสภิกษุทั้งหลายที่เข้าไปฉันยังโรงงานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่กาสีชนบท คนสนิทนั้นได้ลืมแหวนไว้แล้วออกไปข้างนอก ภิกษุทั้งหลายกลัวหายจึงนั่งดูให้อยู่ จนคนสนิทกลับมา ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูล... ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี พึงเก็บไว้ด้วยหมายว่าของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้ว ทับทิม แก้วลาย นี้ชื่อว่ารัตนะ
      - ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ของมวลมนุษย์ นี้ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ
      - คำว่า เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
      - ที่ชื่อว่า ภายในวัดที่อยู่ คือ สำหรับวัดที่มีเครื่องล้อม กำหนดภายในวัด, สำหรับที่ไม่มีเครื่องล้อม กำหนดอุปจารวัด
      - ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่ ภายในที่อยู่พัก, สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่ อุปจารที่อยู่พัก
      - บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์, บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      - คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี พึงเก็บไว้นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูป หรือตามนิมิต เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามารับ พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของของท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณหรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนี้พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป
      - คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดียิ่งในเรื่องนี้

 อนาบัติ
      ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่าเป็นรัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใดผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ ๑  ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ ๑  ภิกษุถือเป็นของขอยืม ๑  ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๑๖-๘๑๘
      ๑. ๒ ชั่วขว้างก้อนดินตกแห่งวัดที่อยู่ ชื่อว่า อุปจาร, แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สำหรับที่อยู่พักชั่วเหวี่ยงกระด้งตก หรือชั่วเหวี่ยงสากตก (ชื่อว่าอุปจาร)
      ๒. ภิกษุรับเอาก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์, รับเอาก็ดี ให้รับเอาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ, ภิกษุรับเอาก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งรัตนะมีมุกดาเป็นต้นที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่ตนหรือสงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฏ
      สิ่งที่เป็นกัปปิยวัตถุก็ดี เป็นอกัปปิยวัตถุก็ดี อันเป็นของคฤหัสถ์ ชั้นที่สุดแม้ใบตาล อันเป็นเครื่องประดับหูอันเป็นของมารดา เมื่อภิกษุรับเก็บโดยมุ่งวัตรแห่งภัณฑาคาริก (ผู้รักษาคลังสิ่งของ) เป็นใหญ่ เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน, แต่ถ้าของของมารดาบิดาเป็นกัปปิยภัณฑ์อันควรที่ภิกษุจะเก็บไว้ได้แน่นอน พึงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์ตน, แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านโปรดเก็บของนี้ไว้ให้ด้วย พึงห้ามว่า ไม่ควร
      ถ้าพวกคฤหัสถ์โยนของทิ้งไว้กล่าวว่า นิมนต์ท่านเก็บไว้ให้ด้วย แล้วไปเสีย จัดว่าเป็นธุระ สมควรจะเก็บไว้, พวกคนงาน มีช่างไม้เป็นต้น ผู้กระทำการงานในวิหารก็ดี พวกราชวัลลภก็ดี ขอร้องให้ช่วยเก็บเครื่องมือ หรือเครื่องนอนของตนว่า นิมนต์ท่านช่วยเก็บไว้ให้ด้วย อย่าพึงกระทำเพราะชอบกันบ้าง เพราะกลัวบ้าง แต่จะแสดงที่เก็บให้ ควรอยู่,  ส่วนในเหล่าชนผู้โยนของทิ้งไว้โดยพลการ แล้วไปเสีย จะเก็บไว้ให้ก็ควร
      ๓. ถ้าอารามใหญ่เช่นกับมหาวิหาร, ภิกษุเก็บเองก็ดี ใช้ให้เก็บก็ดี ซึ่งของคฤหัสถ์ที่ตกในสถานที่ เช่นกับที่ซึ่งจะเกิดมีความระแวงสงสัยว่าจักถูกพวกภิกษุและสามเณรฉวยเอาไป แล้วพึงเก็บไว้ในบริเวณที่มีกำแพงกั้นในอารามใหญ่นั้น, แต่ที่ตกในสถานที่สัญจรของมหาชน เช่น ที่ซุ้มประตูแห่งมหาโพธิ์และสวนมะม่วง ไม่ควรเก็บ ไม่ใช่หน้าที่ของภิกษุ, แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปเห็นภัณฑะบางอย่างในสถานที่ไม่มีคน แม้เมื่อเกิดมีคนพลุกพล่าน พวกชาวบ้านก็จะสงสัยภิกษุนั้นทีเดียว เพราะฉะนั้น พึงแวะออกจากทางแล้วนั่งพัก เมื่อพวกเจ้าของมา พึงบอกทรัพย์นั้น ถ้าไม่ทราบเจ้าของ เธอจักต้องทำให้เป็นของสมควร (มีการถือเอาเป็นของบังสุกุลเป็นต้น)
      ๔. เมื่อไม่พบเจ้าของ เมื่อจะหลีกไป ไม่ควรมอบไว้ในมือของพวกคนผู้มีนิสัยโลเล อย่าพึงทำให้เป็นมูลค่าแห่งจีวรเป็นต้น เพื่อตนเอง แต่พึงให้สร้างเสนาสนะ หรือเจดีย์ หรือสระโบกขรณี ที่เป็นของถาวร ถ้าว่าล่วงกาลไปนาน เจ้าของจึงมาทวง พึงบอกเขาว่า อุบาสก ของชื่อนี้เขาสร้างด้วยทรัพย์ของท่าน จงอนุโมทนาเถิด ถ้าว่าเขาอนุโมทนาด้วย ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าเขาไม่อนุโมทนา กลับทวงว่า ขอทรัพย์ผมคืน พึงชักชวนคนอื่นคืนทรัพย์ให้เขาไป
      ๕. ในการถือวิสาสะ ตรัสหมายเอาอามาสวัตถุ (ของควรจับต้องได้) เท่านั้น ของอนามาส ไม่ควรเลย
      ๖.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓



ทูรงฺคมํ เอกจรํ   อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ   โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ ๓๗ ฯ 

จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้  ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

Faring afar, solitary, incorporeal  Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed  From the bond od Mara.
... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ....


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #62 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2563 16:37:05 »


ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๔)
ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัดก่อน
ต้องปาจิตตีย์ เว้นแต่มีกิจรีบด่วน

     พระฉัพพัคคีย์เข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้ว นั่งในชุมนุมกล่าวเรื่องดิรัจฉานกถา มีเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เป็นต้น  ชาวบ้านต่างเพ่งโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายได้ยินต่างติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติ... (ห้ามเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาล)
      ต่อมา ภิกษุหลายรูปเดินทางมาถึงหมู่บ้านหนึ่งในเวลาเย็น ชาวบ้านอาราธนาให้เข้าพัก เธอทั้งหลายรังเกียจเพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ได้เข้าไป จึงถูกพวกโจรแย่งชิงแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ทรงอนุญาตให้อำลาแล้วเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาลได้ แล้วทรงมีพระอนุบัญญัติ...
      ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาถึงหมู่บ้านในเวลาเย็น  ชาวบ้านนิมนต์ให้เข้าพัก เธอรังเกียจเพราะมารูปเดียว ไม่มีภิกษุอื่นเพื่ออำลา ได้ถูกโจรแย่งชิงแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ทรงมีพระอนุบัญญัติให้อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้
      ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุอีกรูปจะเข้าบ้านเพื่อหาไฟมา แต่เธอรังเกียจจึงไม่ได้เข้าไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปอยู่ในบ้านในเวลาวิกาล เว้นไว้แต่กิจรีบด่วน มีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย
      - ภิกษุที่ชื่อว่า มีอยู่ คือ มีภิกษุที่ตนสามารถจะอำลาแล้วเข้าไปสู่บ้านได้, ภิกษุที่ชื่อว่า ไม่มีอยู่ คือ ไม่มีภิกษุที่ตนสามารถจะอำลาแล้วเข้าไปสู่บ้านได้
      - ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาเที่ยงวันไปแล้ว ตราบจนถึงอรุณขึ้นมาใหม่
      - คำว่า เข้าไปสู่บ้าน ความว่า เมื่อเดินล่วงเครื่องล้อมของบ้านที่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์,  เดินล่วงอุปจารบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
      - คำว่า เว้นไว้แต่กิจรีบด่วน มีอย่างนั้นเป็นรูป คือ เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วน มีอาพาธเป็นต้น
    
อาบัติ
       ๑. เวลาวิกาล ภิกษุรู้ว่าเป็นเวลาวิกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วน เห็นปานนั้น ต้องปาจิตตีย์
       ๒. เวลาวิกาล ภิกษุสงสัย... ต้องปาจิตตีย์
       ๓. เวลาวิกาล ภิกษุคิดว่าเป็นในกาล... ต้องปาจิตตีย์
       ๔. ในกาล ภิกษุคิดว่าเป็นเวลาวิกาล... ต้องทุกกฏ
       ๕. ในกาล ภิกษุสงสัย... ต้องทุกกฏ
       ๖. ในกาล ภิกษุรู้ว่าในกาล... ไม่ต้องอาบัติ
      
อนาบัติ
      เข้าไปสู่บ้าน เพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ๑  อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไป ๑  ภิกษุไม่มี ไม่อำลาเข้าไป ๑  ไปสู่อารามอื่น ๑  ไปสู่สำนักภิกษุณี ๑  ไปสู่สำนักเดียรถีย์ ๑  ไปสู่โรงฉัน ๑  เดินไปตามทางผ่านบ้าน ๑  มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๒๕-๘๒๖
      ๑. บทว่า ติรจฺฉานากถํ ได้แก่ ถ้อยคำเป็นเหตุขัดขวางต่ออริยมรรค
      ๒. ถ้าว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน จะเข้าไปยังบ้านด้วยการงานบางอย่าง เธอทุกรูปพึงบอกลากันและกันว่า วิกาเล คามปฺปเวสนํ แปลว่ พวกเราบอกลาการเข้าบ้านในเวลาวิกาล, การงานนั้นในบ้านนั้นยังไม่เสร็จ เหตุนั้นภิกษุจะไปสู่บ้านอื่น แม้ตั้งร้อยบ้านก็ตามที ไม่มีกิจจะต้องบอกลาอีก
           ก็ถ้าว่า ภิกษุระงับความตั้งใจแล้ว กำลังกลับไปวิหาร ใคร่จะไปสู่บ้านอื่นในระหว่างทาง ต้องบอกลาเหมือนกัน ทำภัตกิจในเรือนแห่งสกุลก็ดี โรงฉันก็ดี แล้วใคร่จะเที่ยวภิกษาน้ำมัน หรือภิกษาเนยใส ก็ถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ๆ พึงบอกลาก่อนแล้วจึงไป, เมื่อไม่พึงไปด้วยใส่ใจว่า ภิกษุไม่มี ย่างลงสู่ทางแล้ว จึงเห็นภิกษุ ไม่มีกิจจะต้องบอกลา, แม้ไม่บอกลาก็ควรเที่ยวไปได้เหมือนกัน
           มีทางผ่านไปท่ามกลางบ้าน เมื่อภิกษุเดินไปตามทางนั้นเกิดมีความคิดขึ้นว่า เราจักเที่ยวภิกษาน้ำมันเป็นต้น ถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ๆ พึงบอกลาก่อนจึงไป แต่เมื่อไม่แวะออกจากทางเดินไป ไม่มีกิจจำเป็นต้องบอกลา
      ๓. สีหะก็ดี เสือก็ดี กำลังมา เมฆตั้งเค้าขึ้นก็ดี อุปัทวะอย่างอื่นเกิดขึ้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติในอันตรายเห็นปานนี้ จะไปยังภายในบ้านจากภายนอกบ้าน ควรอยู่
      ๔. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นอจิตตกะ  ปัณณัตติวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม  มีจิต ๓  



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๕)
ภิกษุทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา เขาสัตว์ ต้องปาจิตตีย์

      ครั้งนั้น ช่างงาคนหนึ่งปวารณาต่อภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใด ต้องการกล่องเข็ม กระผมจะจัดกล่องเข็มมาถวาย ภิกษุทั้งหลายจึงขอกล่องเข็มเขาเป็นจำนวนมาก ภิกษุที่มีกล่องเข็มขนาดย่อมก็ขอขนาดเขื่อง ที่มีขนาดเขื่องก็ขอขนาดย่อม  ช่างงามัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากถวายอยู่ ไม่สามารถทำของอย่างอื่นไว้สำหรับขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็ไม่สะดวก แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก
      ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน ภิกษุได้ยินต่างติเตียน แล้วกราบทูล,,, ทรงติเตียนความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณของภิกษุเหล่านั้น แล้วมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็มแล้ว ด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงาก็ดี ด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยเสีย”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง
      - ที่ชื่อว่า งา ได้แก่ สิ่งที่เรียกกันว่างาช้าง
      - ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง
      - บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นให้ทำก็ดี เป็นทุกกฏในขณะทำ, เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้กล่องเข็มมา ต้องต่อยให้แตกก่อนจึงแสดงอาบัติตก

อาบัติ
     - กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
     - กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
     - กล่องเข็ม ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
     - ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
     - ภิกษุได้กล่องเข็มอันคนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องทุกกฏ
 
อนาบัติ
      ทำลูกดุม ๑  ทำตะบันไฟ ๑  ทำถูกถวิล ๑  ทำกลักยาตา ๑  ทำไม้ป้ายยาตา ๑  ทำฝักมีด ๑  ทำธมกรก ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๓๐
      ๑. การทำต่อยนั่นแหละ ชื่อ เภทนกะ,  เภทนกะนั้นมีอยู่แก่ปาจิตตีย์นั้น เพราะเหตุนั้นปาจิตตีย์นั้นจึงชื่อว่า เภทนกะ
      ๒.  สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (ดูเทียบเคียงจากสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕)  เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ  ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม  มีจิต ๓  



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๖)
ภิกษุทำเตียง ตั่ง มีเท้าสูงกว่า ๘ นิ้วพระสุคต ต้องปาจิตตีย์

      ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บนเตียงนอนอันสูง พอดีกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่านมาทางที่อยู่ของท่านอุปนันท์ๆ แลเห็น ได้กราบทูลให้พระองค์ทอดพระเนตรเตียงนอนของตน
      พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากที่นั่น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทราบ โมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ทรงติเตียนพระอุปนันท์เป็นอย่างมาก แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุผู้ทำให้เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่  พึงทำให้เท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย”

อรรถาธิบาย
       - ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น
       - ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑  เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑  เตียงมีขาดังก้ามปู ๑  เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑
       - บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี
       - คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วพระสุคต คือ ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ
       - ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในทุกขณะกำลังทำ, เป็นปาจิตตีย์ เมื่อได้เตียง ตั่ง นั้นมา  ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อนจึงแสดงอาบัติตก
      

อาบัติ
       ๑. เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๒. เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๓. เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๔. เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๕. ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
       ๖. ได้เตียง ตั่ง ที่คนอื่นทำเสร็จแล้วมาใช้สอย  ต้องทุกกฏ

อนาบัติ
      ทำสายรัดเข่า ๑  ทำประคดเอว ๑  ทำสายโยกบาตร ๑  ทำถุงบาตร ๑  ทำผ้ากรอง ๑  ทำหมอน ๑  ได้เตียง ตั่ง ที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้สอย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๓๖
      ๑. เตียงและตั่งที่ชื่อว่า หุ้มนุ่น เพราะความว่าเป็นที่มีนุ่นถูกหุ้มไว้,  ภิกษุยัดนุ่นแล้วหุ้มด้วยผ้าลาดพื้นข้างบน
      ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (เหมือนสิกขาบทก่อน)



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๘)
ภิกษุพึงทำผ้าปูนั่งให้ได้ประมาณ ยาว ๒ คืบพระสุคต กว้างคืบหนึ่ง ชายคืบหนึ่ง
ถ้าทำให้เกินกว่ากำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณให้ห้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แห่งเตียงบ้าง แห่งตั่งบ้าง ภิกษุทั้งหลายต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล...ทรงมีพระบัญญัติว่า (ให้ทำได้โดยยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต)
      ต่อมา พระอุทายีเป็นผู้มีร่างกายใหญ่ ท่านปูผ้าสำหรับนั่งลงตรงเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งดึงออกอยู่โดยรอบ  ตรัสถาม... พระอุทายีกราบทูลว่า ทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแก่ภิกษุทั้งหลายเล็กเกินไป  ตรัสว่า เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่งเพิ่มอีกคืบหนึ่ง แล้วมีพระอนุบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้นโดยยาว ๒ คืบ  โดยกว้างคืบครึ่ง  ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ ผ้าที่เขาเรียกกันว่า ผ้ามีชาย
      - บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้นคือ โดยยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต  ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณนั้นไปเป็นทุกกฏในขณะที่ทำ, เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้ผ้าสำหรับนั่งมา พึงตัดก่อนจึงแสดงอาบัติตก
    
อาบัติ
       ๑. ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๒. ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๓. ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๔. ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๕. ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
       ๖. ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาใช้สอย ต้องทุกกฏ
      
อนาบัติ
      ภิกษุทำผ้าสำหรับนั่งได้ประมาณ ๑  ทำผ้าสำหรับนั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑  ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสีย แล้วใช้สอย ๑  ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นม่านก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๔๐-๘๔๑
      ๑. ผ้านิสีทนะนี้ ทรงอนุญาตไว้ในเรื่องปณีตโภชนะ ในจีวรขันธกะ สมจริงดังที่ตรัสไว้ (ใน วินย. มหาวคฺค) ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย เพื่อรักษาจีวร เพื่อรักษาเสนาสนะ” ดังนี้
      ๒. ภิกษุปูผ้าเช่นกับสันถัตลงแล้ว ผ่าที่ ๒ แห่ง ในเนื้อที่ประมาณคืบ ๑  โดยคืบพระสุคต ที่ชายด้านหนึ่งให้เป็น ๓ ชาย นิสีทนะนั้นเรียกว่า ผ้ามีชายด้วยชายเหล่านั้น
      ๓. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (เหมือนสิกขาบทก่อน)  



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๓๙)
ภิกษุพึงทำผ้าปูนั่งให้ได้ประมาณ ยาว ๔ คืบพระสุคต กว้าง ๒ คืบพระสุคต
ถ้าทำให้เกินกว่ากำหนด ต้องปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าปิดฝีแล้ว จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ ปล่อยเลื้อยไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต เธอให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตแก่ภิกษุอาพาธ เป็นฝี เป็นสุกใส เป็นโรคอันมีน้ำหนอง น้ำเหลือง เปรอะเปื้อน หรือเป็นฝีดาษ ที่ใต้สะดือลงไปเหนือหัวเข่าขึ้นมา เพื่อจะได้ใช้ปิดแผล
      - บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น คือ โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต
      - ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฎในขณะที่ทำ, เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสียแล้วจึงแสดงอาบัติตก

อาบัติ
        ๑. ผ้าปิดฝี ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
        ๒. ผ้าปิดฝี ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
        ๓. ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
        ๔. ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้คนอื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
        ๕. ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
        ๖. ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องทุกกฏ
  
อนาบัติ
       ทำผ้าปิดฝีได้ประมาณ ๑  ทำผ้าปิดฝีให้หย่อนกว่าประมาณ ๑  ได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินประมาณมาตัด แล้วใช้สอย ๑  ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๔๔-๘๔๕
      ๑. ผ้าปิดฝีทรงอนุญาตไว้ในเรื่องพระเวฬฏฐสีสะ จีวรขันธกะ สมจริงดังนี้ ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุมีอาพาธ เป็นฝีก็ดี เป็นสุกใสก็ดี เป็นโรคอันน้ำหนอง น้ำเหลืองเปรอะเปื้อนก็ดี เป็นลำลาบเพลิงก็ดี” ดังนี้
          ผ้าที่ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้อาพาธที่ภายใต้สะดือลงไป เหนือมณฑลเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา, หิดเปื่อย ชื่อว่า กัณฑุ, ต่อมเล็กๆ มีเมล็ดโลหิต ชื่อว่า ปีฬกา,  น้ำเหลืองไม่สะอาดไหลออกด้วยอำนาจริดสีดวงทวารบานทะโรค และเบาหวานเป็นต้น ชื่อว่า โรคน้ำเหลืองเสีย, อาพาธเป็นเม็ดยอดใหญ่ ท่านเรียกว่า เป็นลำลาบเพลิง
       ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (เหมือนสิกขาบทก่อน)



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๐)
ภิกษุพึงทำผ้าอาบน้ำฝนให้ได้ประมาณ ยาว ๖ คืบพระสุคต กว้าง ๒ คืบครึ่ง
ถ้าทำเกินกว่ากำหนด ต้องปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ปล่อยเลื้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำได้ประมาณ ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้สี่เดือนแห่งฤดูฝน
      - บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต
      - ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฎในขณะที่ทำ, เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสียแล้วจึงแสดงอาบัติตก

อาบัติ
       ๑. ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๒. ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๓. ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๔. ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
       ๕. ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องทุกกฏ
      
อนาบัติ
      ทำผ้าอาบน้ำฝนได้ประมาณ ๑  ทำผ้าอาบน้ำฝนหย่อนกว่าประมาณ ๑  ได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัด แล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูที่นอนก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๔๘
      ๑. ผ้าอาบน้ำฝนทรงอนุญาตไว้ในเรื่องนางวิสาขา ในจีวรขันธกะ
      ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (เหมือนสิกขาบทก่อน)  



ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๑)
ภิกษุทำจีวรเท่าพระสุคต หรือเกินกว่าก็ดี ต้องปาจิตตีย์

      ครั้งนั้น พระนันทะโอรสพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า (โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางปชาบดี ศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้ทรงโฉม เป็นที่ต้องตาต้องใจ มีความสูงต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ องคุลี ท่านทรงจีวรพระสุคต ภิกษุเถระได้เห็นพระนันทะมาแต่ไกล ครั้นแล้วลุกจากอาสนะ สำคัญว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา ท่านพระนันทะเข้ามาใกล้จึงจำได้ ได้เพ่งโทษติเตียนว่า ไฉน ท่านพระนันทะจึงได้ทรงจีวรเท่าพระสุคตเล่า แล้วกราบทูล... ทรงติเตียน แล้วมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ประมาณแห่งพระสุคตจีวรของพระสุคต”

อรรถาธิบาย
      - ที่ชื่อว่า มีประมาณเท่าสุคตจีวร คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต   
      - บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในขณะที่ทำ, เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้จีวรมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติ    

อาบัติ
       ๑. จีวรตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๒. จีวรตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๓. จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๔. จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนเสร็จ ต้องปาจิตตีย์
       ๕. ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องทุกกฏ
       ๖. ได้จีวรผู้อื่นที่ทำเสร็จแล้วมาใช้สอย ต้องทุกกฏ
      
อนาบัติ
      ทำจีวรหย่อนกว่าประมาณ ๑  ได้จีวรที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาตัดเสียแล้วใช้สอย ๑  ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี  ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๕๒
      ๑. บทว่า จตุรงฺคุโลมโก คือ มีขนาดต่ำกว่า ๔ นิ้ว (พระนันทะมีขนาดต่ำกว่าพระศาสดา ๔ นิ้ว)
      ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ (เหมือนสิกขาบทก่อน)  




ทูรงฺคมํ เอกจรํ   อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ   โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ ๓๗ ฯ

Faring afar, solitary, incorporeal   Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed   From the bond od Mara.

... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2563 16:38:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #63 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2563 16:19:05 »


ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๒ )
ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ด้วยมือตน
แล้วบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ

      ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปเพื่อภิกษา ท่านพบภิกษุณีรูปหนึ่ง นางกล่าวนิมนต์ให้ภิกษุรับภิกษาจากนาง ภิกษุนั้นรับเอาจนหมด นางได้อดอาหาร แม้วันที่ ๒ ภิกษุนั้นก็ได้รับเอาจนหมด  แม้วันที่ ๓, นางอดอาหารเป็นวันที่ ๓ หมดแรงล้มลงหน้ารถของเศรษฐีๆ ขอขมานางให้นางอดโทษ นางกล่าวว่าเศรษฐีไม่มีโทษ เพราะนางมีกำลังน้อย เศรษฐีได้ถามถึงเหตุที่มีกำลังน้อย ภิกษุณีนั้นได้แจ้งเรื่องแก่เศรษฐีๆ เพ่งโทษติเตียน ภิกษุทั้งหลายได้ยินจึงพากันเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล...  ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสูละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น”

อรรถาธิบาย
     - ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสามแยก เรือน ตระกูล
     - ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ, ของเคี้ยว, ของฉัน พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทก่อนๆ
     - ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ, กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน

อาบัติ
       ๑. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุรู้ว่ามิใช่ญาติ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๒. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๓. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุคิดว่าเป็นญาติ ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๔. ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร ต้องทุกกฏ, กลืนต้องทุกฏทุกๆ คำกลืน
       ๕. ภิกษุรับยามกาลิกจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องทุกกฎ กลืนต้องทุกฏทุกๆ คำกลืน
       ๖.ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุคิดว่าไม่ใช่ญาติ ต้องทุกกฏ
       ๗. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย.. ต้องทุกกฏ
       ๘. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุรู้ว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
     ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑  ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติสั่งให้ถวาย มิได้ถวายเอง ๑  เก็บวางไว้ถวาย ๑  ถวายในอาราม ๑  ในสำนักภิกษุณี ๑  ในสำนักเดียรถีย์ ๑  ในโรงฉัน ๑  นำออกจากบ้านแล้วถวาย ๑  ถวายยามกาลิก สัตตาหกาลิก  ยาวชีวิก ด้วยคำว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่นิมนต์ฉันได้ ๑  สิกขมานาถวาย ๑  สามเณรีถวาย ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๕๗-๘๕๙
      ๑. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓    



ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๓)
ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุณีบงการให้ทายกถวายโภชนะชนิดนี้ๆ แก่ภิกษุรูปนี้ๆ
พึงห้ามภิกษุณีนั้นให้ถอยไปเสีย ถ้าไม่ห้าม ต้องปาฏิเทสนียะ

      ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล มีภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์มายืนบงการให้เขาถวายของแก่พระฉัพพัคคีย์ จงถวายแกงแก่องค์นี้ จงถวายข้าวแก่องค์นี้ พวกพระฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามความต้องการ ภิกษุพวกอื่นฉันไม่ได้ดังความประสงค์ ภิกษุทั้งหลายต่างเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุอยู่ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น”

อรรถาธิบาย
     - คำว่า รับนิมนต์ฉันอยู่ คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะทั้งห้า อย่างใดอย่างหนึ่ง
     - ที่ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่ คือ บงการว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ดังนี้ ตามความที่เป็นมิตรกัน เป็นเพื่อนร่วมเห็นกัน เป็นเพื่อนร่วมคบกัน เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์กัน เป็นผู้ร่วมอาจารย์กัน นี้ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่
     - คำว่า อันภิกษุทั้งหลายนั้น ได้แก่ ภิกษุที่ฉันอยู่, คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้สั่งเสียนั้น
        ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเธอจงหลีกไปจนกว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่รุกราน รับด้วยหวังว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องทุกกฏ, กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน

อาบัติ
       ๑. ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุรู้ว่าเป็นภิกษุณีผู้อุปสัมบัน (บวชในสงฆ์ ๒ ฝ่ายแล้ว) ไม่ห้ามปราม ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๒. ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสีย ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฏต้องปาฏิเทสนียะ
       ๓. ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุคิดว่าเป็นภิกษุณีผู้อนุปสัมบัน (บวชในสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว) ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๔. ภิกษุณีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียวสั่งเสียอยู่ ภิกษุไม่ห้ามปราม ต้องทุกกฏ
       ๕. ภิกษุณีผู้อนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุคิดว่าเป็นภิกษุผู้อุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ต้องทุกกฏ
       ๖. ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้องทุกกฏ
       ๗. ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุรู้ว่าเป็นภิกษุณีผู้อนุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง ๑  ถวายภัตตาหารของผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย ๑  สั่งให้ถวายภัตตาหารที่เขาไม่ได้ถวาย ๑  สั่งให้เขาถวายในภิกษุที่เขาไม่ได้ถวาย ๑  สั่งให้ถวายเท่าๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป ๑  สิกขมานาสั่งเสีย ๑  สามเณรีสั่งเสีย ๑  เว้นโภชนะห้า  อาหารทุกอย่างไม่เป็นอาบัติ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๖๒
      ๑. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีถวายภัตของตนเอง ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้เลย เป็นอาบัติโดยสิกขาบทก่อน, ถ้าภิกษุณีใช้ให้ถวาย พึงเป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้, แต่เมื่อภิกษุณีถวายเองไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้ และไม่เป็นโดยสิกขาบทก่อน
      ๒. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓



ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๔)
ภิกษุไม่อาพาธ รับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ
โดยที่เขาไม่ได้นิมนต์ ต้องปาฏิเทสนียะ

      ครั้งนั้นในพระนครสาวัตถี มีตระกูลหนึ่งเป็นตระกูลที่เลื่อมใส สองสามีภรรยาเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เขาได้สละของเคี้ยวของฉันอันเป็นอาหารมื้อเช้านั้นทั้งหมดแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บางคราวถึงกับอดอาหารอยู่ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตรรับอาหารไม่รู้จักประมาณ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน...กราบทูล...ทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษว่า ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธาแต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เราอนุญาตให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูล เห็นปานนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ดังนี้
      “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
      ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า...การให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
      การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ สงฆ์ให้แล้วแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้”
      แล้วทรงมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใดรับของเคี้ยวก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ เห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น”
      ต่อมา ตระกูลที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสกขะ ได้นิมนต์ภิกษุให้ฉัน ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับนิมนต์สองสามีภรรยากล่าวว่า พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ภิกษุทั้งหลายกราบทูล... ทรงอนุญาตว่า “เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อันทายกนิมนต์แล้ว รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉันได้”
      ต่อมา ภิกษุประจำตระกูลนั้นผ่านไปยังตระกูลนั้นแล้วเกิดอาพาธ เขานิมนต์ให้ฉัน เธอรังเกียจ เพราะเขาไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน เธอได้อดอาหารในวันนั้นแล้ว เธอถึงอารามได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูล ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ เห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น”

อรรถาธิบาย
     - คำว่า ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอันสงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ ได้รับสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมว่าเป็นเสกขะ
     - บทว่า ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ ตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ
     - ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือ เขาไม่ได้รับนิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไป เขาจึงนิมนต์ นี้ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์
     - ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุมิได้เดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไป เขานิมนต์ นี้ชื่อว่า ได้รับนิมนต์
     - ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถไปบิณฑบาตได้, ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้
     - ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ของฉัน พึงทราบคำอธิบายตามสิกขาบทก่อนๆ
        ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวของฉันไว้ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ, ต้องปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน

อาบัติ
       ๑. ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุรู้ว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่ใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๒. ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัย...ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๓. ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุคิดว่าไม่ใช่...ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๔. ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำให้เป็นอาหาร ต้องทุกกฎ, ฉันต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน
       ๕. มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติเป็นเสกขะ ภิกษุคิดว่าใช่...ต้องทุกกฏ
       ๖. มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฏ
       ๗. มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติเป็นเสกขะ ภิกษุรู้ว่าไม่ใช่ ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      ภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ ๑  ภิกษุอาพาธ ๑  ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุอาพาธ ๑  ภิกษุฉันภิกษาที่เขาจัดไว้ในที่นั้นเพื่อภิกษุอื่นๆ ๑  ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขานำออกจากเรือนไปถวาย ๑  ภิกษุฉันนิตยภัต ๑  ภิกษุฉันสลากภัต ๑  ฉันปักขิกภัต ๑  ฉันอุโบสถิกภัต ๑  ฉันปาฏิปทิกภัต ๑  ฉันยามกาลิก  สัตตาหกาลิก  ยาวชีวิก ที่เขาบอกถวายว่า เมื่อปัจจัยมีก็นิมนต์ฉัน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๗๑
      ๑. ได้ยินว่า อุบาสกอุบาสิกาคู่นั้นเป็นพระโสดาบันเหมือนกัน,  ตระกูลเช่นนี้ ถ้าแม้นมีทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ ก็ย่อมร่อยหรอจากโภคทรัพย์ เพราะเหตุไร?  เพราะทั้งอุบาสกอุบาสิกาในตระกูลนั้นไม่สงวนโภคทรัพย์
      ๒. อุบาสกอุบาสิกานั้นนำภัตไปยังโรงฉันหรือวิหารแล้วถวาย ถ้าแม้นเมื่อภิกษุยังไม่มา พวกเขานำออกก่อนทีเดียว วางไว้ที่ประตูแล้ว ถวายแก่ภิกษุผู้มาถึงภายหลัง ควรอยู่, ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ภัตที่ตระกูลนั้นเห็นภิกษุแล้วนำออกมาถวายจากภายในเรือน ควรอยู่
      ๓. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓  



ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๕)
ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่า รับของเคี้ยวของฉัน ด้วยมือตนเอง
โดยที่เขาไม่ได้บอกให้รู้ก่อนมาฉัน ต้องปาฏิเทสนียะ

      ครั้งนั้น พวกบ่าวของเจ้าศากยะทั้งหลายก่อการร้าย นางสากิยานีทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า บรรดาบ่าวของเจ้าศากยะได้ทราบข่าว จึงไปซุ่มอยู่ที่หนทาง ได้ออกมาแย่งชิงพวกนางสากิยานีและประทุษร้าย พวกเจ้าศากยะออกไปจับผู้ร้ายพวกนั้นได้ พร้อมด้วยของกลาง แล้วพากันเพ่งโทษติเตียนว่า เมื่อพวกผู้ร้ายอยู่ในอาราม ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่แจ้งความเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยิน จึงกราบทูล ทรงมีพระบัญญัติ (ห้ามรับของเคี้ยวของฉันอันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน)
      ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในเสนาสนะป่า มีชาวบ้านนำของเคี้ยวของฉันไปเสนาสนะป่า นิมนต์ให้รับ เธอรังเกียจ ได้อดอาหารแล้ว เธอได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย... กราบทูล... ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับได้ แล้วมีพระอนุบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น”

อรรถาธิบาย
     - คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มีกำหนดเขต ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างต่ำ
     - ที่ชื่อว่า เป็นที่น่ารังเกียจ คือ ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม มีสถานที่พวกโจรซ่องสุมบริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่
     - บทที่ว่า  ในเสนาสนะเห็นปานนั้น คือ ในเสนาสนะมีร่องรอยเช่นนั้นปรากฏ
     - ที่ชื่อว่า อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ คือ เขาส่งสหธรรมิก ๕ ไปบอก นี้ชื่อว่า ไม่เป็นอันเขาได้บอกให้รู้ เขาบอกนอกอาราม นอกอุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่า ไม่เป็นอันเขาได้บอกให้รู้
     - ที่ชื่อว่า บอกให้รู้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม มาสู่อาราม หรืออุปจารแห่งอาราม แล้วบอกว่า ท่านเจ้าข้า สตรีหรือบุรุษชื่อโน้น จักนำของเคี้ยวหรือของฉันมาถวายภิกษุมีชื่อนี้
        ถ้าที่นั้นเป็นสถานที่น่ารังเกียจ ภิกษุพึงบอกเขาว่า เป็นสถานน่ารังเกียจ ถ้าที่นั้นเป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า พึงบอกเขาว่า เป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า ถ้าเขากล่าวว่า ไม่เป็นไรเจ้าข้า เขาจักนำมาเอง ภิกษุพึงบอกพวกโจรว่า ชาวบ้านจักเข้ามาในที่นี้ พวกท่านจงหลีกไปเสีย
        เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะยาคู แล้วเขานำบริวารแห่งยาคูมาด้วย นี้ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้
        หรือเมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะตระกูล คนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวหรือของฉันมาถวาย นี้ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้ เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ของฉัน พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทก่อน
     - ที่ชื่อว่า วัดที่อยู่ สำหรับอารามที่มีเครื่องล้อม ได้แก่ ภายในอาราม อารามที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่ อุปจาร
     - ที่ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้,  ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้
        ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ รับประเคนของที่เขาไม่ได้บอกให้รู้ ด้วยหมายว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ, ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน

อาบัติ
       ๑. เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุรู้ว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๒. เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุสงสัย...ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๓. เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุคิดว่าเขาบอกให้รู้แล้ว...ต้องปาฏิเทสนียะ
       ๔. ภิกษุรับประเคนของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร ต้องทุกกฏ, ฉัน ต้องทุกกฏทุกๆ คำกลืน
       ๕. เขาบอกให้รู้ ภิกษุคิดว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้...ต้องทุกกฏ
       ๖. เขาบอกให้รู้แล้ว ภิกษุสงสัย...ต้องทุกกฏ
       ๗. เขาบอกให้รู้ ภิกษุรู้ว่าเขาบอกให้รู้แล้ว ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
      เขาบอกให้รู้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑  ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุอาพาธ ๑  ภิกษุรับนอกวัด แล้วมาฉันในวัด ๑  ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ซึ่งเกิดขึ้นในวัดนั้น ๑  ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก  สัตตาหกาลิก  ยาวชีวิก ในเมื่อมีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๘๗๘-๘๘๐
      ๑. แม้ขาทนียะ (ของเคี้ยว) โภชนียะ (ของฉัน) ที่เขาส่งสหธรรมิก ๕ คนใดคนหนึ่งไปบอกให้รู้ว่า พวกเราจักนำขาทนียะ โภชนียะ มาถวาย ดังนี้ ก็ไม่ชื่อว่า เป็นอันเขาบอกให้รู้เลย
          ถึงขาทนียะ โภชนียะ ที่เขาพบภิกษุผู้ออกไปจากอุปจารในระหว่างทาง บอกให้รู้ก็ดี บอกแก่ภิกษุผู้มายังบ้านให้รู้ก็ดี ยกเว้นอาราม คือเสนาสนะป่า และอุปจารแห่งอาราม คือ เสนาสนะป่านั้นเสีย ก็พึงทราบว่า ไม่เป็นอันเขาบอกให้รู้ เหมือนกัน
      ๒. ภิกษุพึงบอกพวกชาวบ้านให้รู้ เพื่อเปลื้องคำว่า มีพวกโจรอยู่ในวัด แต่ภิกษุทั้งหลายไม่บอกให้พวกเราทราบ ภิกษุทั้งหลายพึงบอกแก่พวกโจรด้วย เพื่อเปลื้องคำว่า ภิกษุทั้งหลายใช้พวกอุปัฏฐากของตนมาจับพวกเรา
      ๓. พวกตระกูลอื่นได้ยินว่า ตระกูลชื่อโน้น ทำการบอกให้รู้แล้ว กำลังถือเอาขาทนียะเป็นต้นมา จึงนำเอาไทยธรรมของตนมาสมทบมากับตระกูลนั้น สมควรอยู่,  ในกุรุนทีกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลายบอกให้รู้เฉพาะยาคู แล้วนำขนมหรือข้าวสวยมาถวาย แม้ขนมและข้าวสวยนั้น ก็ควร
      ๔. ขาทนียะ โภชนียะ ที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง แม้ภิกษุอื่นจะฉันของเป็นเดนแห่งภิกษุนั้น ควรอยู่, ขาทนียะ โภชนียะ เป็นของที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวายเป็นอันมากแก่ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๕ รูป พวกเธอปรารถนาจะถวายแม้แก่ภิกษุพวกอื่น,  ขาทนียะ โภชนียะ แม้นั่นก็เป็นเดนของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้เหมือนกัน จึงสมควรแม้แก่ภิกษุทุกรูป ถ้าของนั่นเหลือเฟือทีเดียว เก็บไว้ให้พ้นสันนิธิแล้ว ย่อมควรแม้ในวันรุ่งขึ้น แม้ในของเป็นเดนที่เขานำมาถวายแก่ภิกษุอาพาธ ก็นัยนี้เหมือนกัน
          ส่วนขาทนียะ โภชนียะ ที่เขาไม่ได้บอกให้รู้เลย นำมาถวาย ภิกษุพึงส่งไปยังภายนอกวัด แล้วให้ทำเป็นของบอกให้รู้ก่อนแล้วจึงให้นำกลับมา หรือพวกภิกษุพึงไปรับเอาในระหว่างทางก็ได้ แม้ของใด พวกชาวบ้านเดินผ่านท่ามกลางวัด นำมาถวาย หรือพวกพรานป่าเป็นต้น นำมาถวายจากป่า ของนั้นภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของอันเขาบอกให้รู้โดยนัยก่อนนั่นแล
      ๕. ภิกษุฉันของที่เกิดขึ้นในวัดนั่นเอง มีมูลขาทนียะเป็นต้น ที่ผู้อื่นทำให้เป็นกัปปิยะแล้วถวาย ไม่เป็นอาบัติ ก็ถ้าว่าพวกชาวบ้านนำเอาของนั้นไปยังบ้าน ต้มแกงแล้วนำมาถวาย ไม่ควร, ภิกษุพึงให้เขาทำเป็นของบอกให้รู้ก่อน
      ๖. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรม มีจิต ๓  




อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส   สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปุลวปสาทสฺส   ปญฺญา น ปริปูรติ ฯ ๓๘ ฯ  

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง

He whose mind is inconstant, He who knows not the true doctrine,
He whose confidence wavers The wisdom of such a one is never fulfilled.
... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ....  
no.๓๙

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2563 16:24:58 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2563 16:16:15 »




เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท
เสขิยวัตร เป็นหมวดที่ ๗ ในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ
เป็นวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา,  เป็นธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาท
ที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกปฏิบัติ มี ๗๕ สิกขาบท ว่าด้วย

๑. สารูป ๒๖ สิกขาบท
๒. โภชนปฏิสังยุต ๓๐ สิกขาบท
๓. ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท
๔. ปกิณณกะ ๓ สิกขาบท
-------------------------

เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เรียบร้อย

       พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียน...ทรงมีพระบัญญัติว่า
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะนุ่งเป็นปริมณฑล”

อาบัติ
      ภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ  มณฑลเข่า ชื่อว่า นุ่งเป็นปริมณฑล
      ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ต้องทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  ไม่มีสติ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มให้เรียบร้อย

       พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง... ทรงมีพระบัญญัติว่า
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล”

อาบัติ
      อันภิกษุห่มทำมุมทั้งสองให้เสมอกัน ชื่อว่า ห่มเป็นปริมณฑล, ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ห่มผ้าเลื้อยหน้า เลื้อยหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ   
 
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  ไม่มีสติ (เผลอ) ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑.... 

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๔๙-๙๕๐
      ๑. บทว่า ปริมณฺฑลํ แปลว่า เป็นมณฑลโดยรอบ, ภิกษุนั่งปิดเหนือมณฑลสะดือ ใต้มณฑลเข่า ให้ผ้านุ่งห้อยลงภายใต้มณฑลเข่าตั้งแต่กระดูกแข้งไปประมาณ ๘ นิ้ว ท่านปรับเอาเป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้นุ่งให้ห้อยล้ำลงมากว่านั้น,  ในมหาปัจจรีย กล่าวว่า สำหรับภิกษุผู้นุ่งจะปกปิดภายใต้มณฑลเข่าประมาณ ๔ องคุลี แต่ผ้านุ่งของภิกษุอย่างนี้ได้ประมาณ จึงควร
      ผ้านุ่งมีประมาณยาว ๕ ศอกกำ กว้าง ๒ ศอกคืบ หากไม่ได้ผ้าเช่นนี้ แม้ผ้านุ่งขนาดกว้าง ๒ ศอก ก็ควร เพื่อจะปิดมณฑลเข่าได้ โดยปิดมณฑลสะดือด้วยจีวร
      แม้ภิกษุผู้นุ่ง เช่น พระฉัพพัคคีย์นุ่งอย่างคฤหัสถ์ เช่น นุ่งมีชายดุจงวงช้าง ดุจหางปลา นุ่งผ้าไว้ ๔ มุมแฉก นุ่งผ้ามีกลีบตั้งร้อย ก็ต้องทุกกฎเหมือนกัน
      ภิกษุไม่รู้ธรรมเนียมการนุ่ง ก็ไม่พ้นอาบัติ อันที่จริงภิกษุพึงเรียนธรรมเนียมการนุ่งให้ดี การไม่เรียนเอาธรรมเนียมการนุ่งนั้นนั่นเอง จัดเป็นความไม่เอื้อเฟื้อ, ส่วนภิกษุใดเรียนธรรมเนียมการนุ่งแล้ว ก็ยังไม่รู้จักว่า ผ้านุ่งเลื้อยลงเป็นเช่นไร ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น, ในกุรุนทีว่า ภิกษุผู้มีแข้งลีบก็ดี มีปั้นเนื้อปลีแข้งใหญ่ก็ดี จะนุ่งให้เลื้อยลงจากมณฑลเข่าเกินกว่า ๘ องคุลี เพื่อต้องการให้เหมาะสม ควรอยู่
      ภิกษุมีแผลเป็นที่แข้งหรือที่เท้า จะนุ่งให้เลื้อยขึ้นหรือลง ก็ควร
      เนื้อร้ายก็ดี พวกโจรก็ดี ไล่ติดตามมา ผ้าจะเลื้อยขึ้น-ลง ไม่เป็นอาบัติ
      ภิกษุพึงห่มกลัดลูกดุมแล้ว เอาชายอนุวาตทั้ง ๒ ข้าง ปิดคอจัดมุมทั้ง ๒ แห่งจีวรให้เสมอกัน ม้วนเข้ามาปิดจนถึงข้อมือแล้วจึงไปในละแวกบ้าน
      ๒. สิกขาบทที่ ๑-๒ นี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา เป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ, กายกรรม อกุศลจิต, พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า เป็นสจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ ฝ่ายพระอุปติสสะกล่าวว่า เป็นโลกวัชชะ อกุศลจิต เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดีไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ       

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ 



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๔๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกายไปในละแวกบ้าน
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงปิดกายด้วยดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยูในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑ .....
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๒
      ๑. ภิกษุพึงนุ่งห่มปกปิดกายดังนี้ คือ เปิดศีรษะตั้งแต่หลุมคอ เปิดมือทั้ง ๒ ข้าง ตั้งแต่ข้อมือ เปิดหน้าแข้งทั้ง ๒ ตั้งแต่เนื้อปลีแข้ง ภิกษุผู้เข้าไปเพื่อต้องการอยู่พัก ถึงจะนั่งเปิดกายในกลางวันหรือกลางคืน ก็ไม่เป็นอาบัติ



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักระวังมือ เท้า ด้วยดี ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าน เข้าไปในละแวกบ้าน...
       “ภิกษุใดพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี ไปในละแวกบ้าน   ต้องอาบัติทุกกฏ     

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักระวังมือ เท้า ด้วยดี นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงสำรวมดีนั่งในละแวกบ้าน  ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาอันทอดลง ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินไปในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง เดินไปในละแวกบ้าน พึงแลประมาณชั่วแอกหนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อไปในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาอันทอดลง นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งไปในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน พึงแลดูประมาณชั่วแอกหนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อนั่งในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๒-๙๕๓
      ๑. ม้าอาชาไนยตัวฝึกหัดแล้ว อันเขาเทียมไว้ที่แอก ย่อมมองดูชั่วแอก คือ แลดูภาคพื้นไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก ภิกษุก็พึงแลดูชั่วระยะประมาณเท่านี้
      ภิกษุใดเดินแลดูทิศาภาค ปราสาท เรือนยอด หรือถนนนั้นๆ ไปพลาง ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ จะหยุดยืนในที่แห่งหนึ่งตรวจดูว่า ไม่มีอันตรายจากช้าง ม้า เป็นต้น ควรอยู่, แม้ภิกษุผู้จะนั่งก็ควรนั่ง มีจักษุทอดลงเหมือนกัน 



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า”

อาบัติ
      ภิกษุพึงไม่พึงเวิกผ้า นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๓
      ๑. อันภิกษุอย่าพึงเดินมีจีวรเวิกขึ้นข้างเดียว หรือสองข้าง ไปตั้งแต่ภายในเสาเขื่อน (ภายในธรณีประตู) ในเวลานั่งแล้ว เมื่อจะนำธมกรกออก อย่าเวิกจีวรขึ้นก่อนแล้วจึงนำออก



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่หัวเราะ ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเดินหัวเราะไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ทำอาการเพียงยิ้มแย้มในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่หัวเราะ นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินนั่งหัวเราะลั่นอยู่ในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยความหัวเราะลั่น”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ทำอาการเพียงยิ้มแย้มในเมื่อมีเรื่องขัน ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินส่งเสียงตะบึง เสียงตะโกน ไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงมีเสียงเบาเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๕๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกนลั่น อยู่ในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุพึงมีเสียงเบานั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๔
      ๑. จัดว่าเป็นผู้มีเสียงน้อยโดยประมาณขนาดไหน?
      บรรดาพระเถระทั้งหลายผู้นั่งในเรือนขนาด ๑๒ ศอกอย่างนี้ คือ พระสังฆเถระนั่งข้างต้น พระเถระรูปที่๒ นั่งท่ามกลาง  พระเถระรูปที่ ๓ นั่งข้างท้าย,  พระสังฆเถระปรึกษากับพระเถระรูปที่๒,  พระเถระรูปที่ ๒ ฟังเสียงและกำหนดถ้อยคำของพระสังฆเถระนั้นได้ ส่วนพระเถระรูปที่๓ ได้ยินเสียง แต่กำหนดถ้อยคำไม่ได้, ด้วยขนาดเพียงเท่านี้จัดเป็นผู้มีเสียงน้อย, แต่ถ้าว่าพระเถระรูปที่ ๓ กำหนดถ้อยคำได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเสียงดังแล



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่โคลงกาย ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกายไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน พึงประคองกายเดินไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ .....



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่โคลงกาย นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายอยู่ในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองกาย ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขน ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขวนไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน พึงประคองแขน (ทำแขนให้นิ่งๆ เดินไป) ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขน แสดงท่ากรีดกรายในละแวกบ้าน
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขวนนั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงนั่งไกวแขนในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองแขน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๑๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะไป (ตั้งศีรษะตรง ไม่เอียงไปเอียงมา) ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกาย ไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเดินค้ำกาย (ข้างเดียวก็ตาม สองข้างก็ตาม) ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ... 



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งค้ำกายในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกายนั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงนั่งค้ำกายในละแวกบ้าน (จะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตาม) ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑... 
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๕
      ๑. การยกมือวางบนสะเอวทำความค้ำ ชื่อว่า ทำความค้ำ



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะ ไปในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑... 



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๖๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑...   



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าเข้าไปในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์กระโหย่งเท้าเดินไปในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งความกระโหย่ง”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงมีการกระโหย่งเท้าเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑...   



เสขิยวัตร สารูป สิกขาบทที่ ๒๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

       พระฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้านด้วยทั้งความรัด”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงมีการรัดเข่าในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี ด้วยผ้าก็ดี (ด้วยสายโยกก็ดี) ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
       
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  อยู่ในที่พัก ๑  มีอันตราย ๑... 
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๕
      ๑. กิริยาที่ภิกษุยกส้นเท้าทั้ง ๒ จรดพื้นดินด้วยเพียงปลายเท้าทั้ง ๒ หรือเขย่งปลายเท้าทั้ง ๒ จรดพื้นดินด้วยเพียงส้นเท้าทั้ง ๒ เดินไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เดินกระโหย่งเท้า




อนวสฺสุตจิตฺตสฺส   อนนุวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส  นตฺถิ ชาครโต ภยํ ฯ ๓๙ ฯ 

ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์  มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ
ละบุญและบาปได้  ย่อมไม่กลัวอะไร

He who is vigilant,  He whose mind is not overcome by lust and hatred,
He who has discarded both good and evil-  For such a one there is no fear.

 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก .... 
no.๔๐

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #65 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2563 16:22:13 »



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ

       พระฉัพพัคคีย์เดินรับบิณฑบาตโดยไม่เอาใจใส่ ทำอาการดุจทิ้งเสีย…     
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ”
     
อาบัติ
       ภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำอาการดุจทิ้งเสีย  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร

       พระฉัพพัคคีย์เดินรับบิณฑบาตพลางแลไปในที่นั้นๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หารู้สึกตัวไม่       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต”
     
อาบัติ
       ภิกษุพึงดูแลบาตรรับบิณฑบาต (ตั้งสติไว้) ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่นั้นๆ  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

       พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต รับแต่สูปะเป็นส่วนมาก...       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน”
     
อาบัติ
       ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑  สูปะทำด้วยถั่วเหลือง ๑  ที่จับได้ด้วยมือ
      ภิกษุพึงรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับแต่สูปะอย่างเดียวเป็นส่วนมาก ต้องทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  รับกับข้าวต่างอย่าง ๑  รับของญาติ ๑  รับของผู้ปวารณา ๑  รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร

       พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตรถึงล้นบาตร       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจรดเสมอขอบบาตร”
     
อาบัติ
       ภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตรจนล้น  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  มีอันตราย ๑...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๕
      ๑. บิณฑบาตซึ่งมีกับข้าวประมาณเท่าส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสวย ชื่อว่า บิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน
          ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า แม้แกงที่ปรุงขึ้นด้วยถั่วพูเป็นต้น ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในคำว่า มุคฺคสูโป  มาสสูโป นี้,  กับข้าวมีรสชวนให้ยินดี แกงผักดอง รสปลาและรสเนื้อเป็นต้น ที่เหลือ เว้นกับข้าว ๒ อย่างเสีย (สูปะทำด้วยถั่วเขียว  สูปะทำด้วยถั่วเหลือง) พึงทราบว่า รสรเส (กับข้าวต่างอย่าง) ในคำว่า รสรเส นี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับกับข้าวต่างอย่างนั้น แม้มาก
      ๒. บิณฑบาตที่ภิกษุทำให้ล้นรอยขอบภายในปากบาตรขึ้นมา ชื่อว่า ทำให้พูนล้นบาตร คือเพิ่มเติมแต่งเสริมให้เต็มแปล้ในบาตร,  ภิกษุไม่รับบิณฑบาตที่ทำอย่างนั้น พึงรับพอประมาณเสมอรอยภายในขอบปากบาตร
      ๓. บิณฑบาตล้นบาตรกำหนดด้วยอะไร?  พระจูฬสุมนเถระกล่าวว่า กำหนดด้วยยาวกาลิก เพราะฉะนั้น ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ผลาผลก็ดี ที่เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุพึงรับเสมอขอบบาตรเท่านั้น,  ก็แลยาคูและภัตหรือผลาผลนั้น พึงรับเสมอขอบบาตรด้วยบาตรที่ควรอธิษฐาน,  แต่ด้วยบาตรนอกนี้รับให้ล้นขึ้นมา แม้เป็นเหมือนยอดสถูป ก็ควร, ส่วนยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก รับให้ล้นเหมือนยอดสถูป แม้ด้วยบาตรควรอธิษฐานก็ได้,  ภิกษุรับภัตตาหารด้วยบาตร ๒ ใบ บรรจุให้เต็มใบหนึ่งแล้วส่งไปยังวิหาร ควรอยู่,  แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ของกินมีขนม ลำอ้อย ผลไม้น้อยใหญ่ เป็นต้น ที่เขาบรรจุลงในบาตร พร่องอยู่แต่ข้างล่าง ไม่ชื่อว่า ทำให้ล้นบาตร
          พวกชาวบ้านถวายบิณฑบาต วางกระทงขนมไว้ข้างบน จัดว่ารับล้นบาตรเหมือนกัน แต่พวงดอกไม้และพวงผลกระวาน ผลเผ็ดร้อน (พริกไทย) เป็นต้น ที่เขาถวายวางไว้ข้างบน ไม่จัดว่ารับล้นบาตร ภิกษุรับเต็มแล้ววางถาดหรือใบไม้ข้างบนข้าวสวย ไม่ชื่อว่า รับล้นบาตร, แม้ในกุรุนทีก็กล่าวไว้ว่า พวกทายกใส่ข้าวสวยลงบนถาดหรือบนใบไม้แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้นั้นบนสุดบาตร (บนฝาบาตร), ภาชนะแยกกัน ควรอยู่,  ภิกษุอาพาธไม่มีมาในอนาบัติในสิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น โภชนะที่ทำให้เป็นยอดดุจสถูป (ที่รับล้นบาตร) ไม่ควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธ จะรับประเคนพร่ำเพรื่อในภาชนะทั่วไปก็ไม่ควร, แต่โภชนะที่รับประเคนไว้แล้ว จะรับประเคนใหม่ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงฉัน ควรอยู่ ฉะนี้แล


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ

       พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่เอาใจใส่ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน...       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ”
     
อาบัติ
       ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยไม่รังเกียจ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร

       พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่นั้นๆ เมื่อเขาเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หารู้สึกตัวไม่       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต”
     
อาบัติ
       ภิกษุผู้ฉันอาหารพึงแลดูในบาตร ฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตพลางแลดูไปในที่นั้นๆ  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง

       พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ...     
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง”
     
อาบัติ
       ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ตักให้ภิกษุอื่นเว้าแหว่ง ๑  ตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่นแหว่ง ๑  ตักสูปะแหว่งเว้า ๑  มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๗๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก

       พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ฉันแต่กับข้าวอย่างเดียวมาก       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน”
     
อาบัติ
       ที่ชื่อว่าสูปะ มี ๒ ชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑  สูปะทำด้วยถั่วเหลือง ๑  ที่จับได้ด้วยมือ
       ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่สูปะอย่างเดียว  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันกับข้าวอย่างอื่นๆ ๑  ฉันของญาติ ๑  ฉันของคนปวารณา ๑  ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป

       พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด...       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต”
     
อาบัติ
       ภิกษุไม่พึงขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ขยุ้มลงแต่ยอด  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  กวาดตะล่อมข้าวที่เหลือเล็กน้อยรวมเป็นคำแล้วเปิบฉัน ๑  มีอันตราย ๑...


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก

       พระฉัพพัคคีย์อาศัยความอยากได้มาก จึงกลบแกงบ้าง กับข้าวบ้าง ด้วยข้าวสุก...       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก เพราะอาศัยความอยากได้มาก”
     
อาบัติ
       ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงกลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  เจ้าของกลบถวาย ๑  ไม่ได้มุ่งอยากได้มาก ๑  มีอันตราย ๑...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๘
       ๑. บทว่า ถูปโต คือ แต่ยอด ความว่า แต่ท่ามกลาง


เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก มาเพื่อตน

       พระฉัพพัคคีย์ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันเพื่อประโยชน์แก่ตน (ทรงมีพระบัญญัติไม่ให้ขอ) ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เธอรังเกียจที่จะขอ จึงไม่มีความผาสุก ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า       
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธจักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน”
     
อาบัติ
       ภิกษุผู้ไม่อาพาธไม่พึงขอสูปะหรือข้าวสุกมาฉัน เพื่อประโยชน์ตน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
       ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ขอต่อญาติ ๑  ขอต่อคนปวารณา ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  มีอันตราย ๑...

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #66 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2563 15:18:03 »



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่น ด้วยคิดว่าจะเพ่งโทษ

       พระฉัพพัคคีย์มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ จึงแลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะไม่เพ่งโพนทะนา แลดูบาตรของผู้อื่น”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  แลดูด้วยคิดว่าจักเติมของฉันให้ หรือจักสั่งให้เขาเติมถวาย ๑ มิได้ความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ ๑ มีอันตราย ๑ (ในสิกขาบทนี้ ภิกษุอาพาธก็ไม่พ้นจากอาบัติ) วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก

       พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉัน ทำคำข้าวให้ใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันของเคี้ยว ๑  ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม

       พระฉัพพัคคีย์ฉันข้าวทำคำข้าวยาว...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม”

อาบัติ
      ภิกษุพึงฉันอาหาร พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันของเคี้ยว ๑  ฉันผลไม้ ๑  ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ ...
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๕๘
      ๑. ฟองไข่นกยูงใหญ่เกินไป ฟองไข่ไก่ก็เล็กเกินไป, คำข้าวมีประมาณขนาดกลางระหว่างฟองไข่นกยูงและไข่ไก่นั้น (ชื่อว่าคำข้าวไม่ใหญ่เกินไป)



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๕
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจะไม่อ้าปากไว้คอยท่า

       พระฉัพพัคคีย์เมื่อคำข้าวยังไม่มาถึงปาก ย่อมอ้าช่องปากไว้คอยท่า...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าช่องปากไว้ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ อ้าช่องปากไว้คอยท่า ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย … 



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก

       พระฉัพพัคคีย์กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าไปในปาก...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าไปในปาก”

อาบัติ
      ภิกษุผู้กำลังฉันอาหารอยู่ ไม่พึงสอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าปาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ สอดนิ้วมือเข้าไปในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด

       พระฉัพพัคคีย์เจรจาทั้งๆที่ในปากยังมีคำข้าว...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงพูดด้วยทั้งปากยังมีคำข้าว...พูดด้วยทั้งปากยังมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๘๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะไม่โยนคำข้าวเข้าปาก

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโยนคำข้าว...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันเดาะคำข้าว... ฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันอาหารที่แข้น (แข็ง) ๑  ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๙๕๙
      ๑. ภิกษุกำลังแสดงธรรม ใส่สมอหรือชะเอมเครือเข้าปาก แสดงธรรมไปพลางๆ คำพูดจะไม่ขาดหายไป ด้วยชิ้นสมอเป็นต้นเท่าใด เมื่อชิ้นสมอเป็นต้นเท่านั้น ยังมีอยู่ในปาก จะพูดก็ควร



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารกัดคำข้าว...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันกัดคำข้าว... ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันขนมที่แข้นแข็ง ๑  ฉันผลไม้ ๑  ฉันกับแกง ๑  มีอันตราย ๑   



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย... ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ฉันผลไม้ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลาง สะบัดมือพลาง

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหาร สลัดมือ
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันสลัดมือ... ฉันอาหารสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  ไม่รู้ตัว ๑  สลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๑  มีอันตราย ๑ ...   



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๒
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตก

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโปรยเมล็ดข้าว...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก... ฉันทำเมล็ดข้าวตก ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ทิ้งผงข้าว แต่เมล็ดข้าวติดไปด้วย ๑ มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๓
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารแลบลิ้น...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงแลบลิ้น... ฉันอาหารแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๔
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดัง จับๆ

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารดังจับๆ
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันทำเสียงดังจับๆ...  ฉันอาหารดังจับๆ ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑   



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๕   
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดัง ซูด ๆ

       พราหมณ์คนหนึ่ง ปรุงน้ำปานะน้ำนมถวายพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังซูดๆ ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้ถูกความเย็นรบกวนแล้ว ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า “ข่าวว่าเธอได้พูดปรารภพระสงฆ์เล่น จริงหรือ” “จริงพระพุทธเจ้าข้า”  ภิกษุรูปนั้นทูลรับ ทรงติเตียนแล้วมีพระบัญญัติว่า “ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่น รูปใดฝ่าฝืนต้องอาบัติทุกกฏ แล้วมีพระบัญญัติอีกว่า
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันดังซูดๆ... ฉันอาหารทำเสียงดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๖
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ

       พระฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ... ฉันเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ 

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๖๐
      ๑. ภิกษุผู้กำลังฉันจะเลียมือแม้เพียงนิ้วมือ ก็ไม่ควร, แต่ภิกษุจะเอานิ้วมือทั้งหลาย หยิบยาคูแข้นน้ำอ้อยงบ และข้าวปายาสเป็นต้น แล้วสอดนิ้วมือเข้าในปากฉัน ควรอยู่, แม้ในการฉันขอดบาตร เลียริมฝีปาก เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรเอานิ้วมือ แม้นิ้วเดียว ขอดบาตร, แม้ริมฝีปากข้างหนึ่ง ก็ไม่ควรเอาลิ้นเลีย แต่จะเอาเฉพาะเนื้อริมฝีปากทั้ง ๒ ข้าง คาบแล้วขยับให้เข้าไปภายในปาก ควรอยู่



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๗
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันอาหารขอดบาตร”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันขอดบาตร... ฉันอาหารขอดบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ข้าวสุกเหลือน้อย กวาดขอดรวมกันแล้วฉัน ๑  มีอันตราย ๑



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๘
(พระวินัยข้อที่ ๑๙๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก

       พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก... ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑  



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒๙
(พระวินัยข้อที่๒๐๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ

       ภิกษุทั้งหลายรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ในโกกนุทปราสาท...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส”

อาบัติ
      ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่พึงรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส... รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  รับประเคนด้วยหมายว่า จักล้างเอง หรือให้ผู้อื่นล้าง มีอันตราย ๑ ... 



เสขิยวัตร โภชนปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๓๐
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทในบ้าน

       ภิกษุทั้งหลายเทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ใกล้โกกนุทปราสาท...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงเทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน... เทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน  ต้องอาบัติทุกกฏ     
   
อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑ เก็บเมล็ดข้าวออกแล้ว จึงเทน้ำล้างบาตรหรือขยี้เมล็ดข้าวให้ละลาย แล้วเท หรือเทน้ำล้างบาตรลงในกระโถน แล้วจึงนำไปเทข้างนอก ๑ มีอันตราย ๑ ... 
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๖๐
      ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามการรับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส ด้วยอำนาจแห่งความน่าเกลียด เพราะฉะนั้น สังข์ก็ดี ขันก็ดี ภาชนะก็ดี เป็นของสงฆ์ก็ตาม เป็นของบุคคลก็ตาม เป็นของคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นของส่วนตัวก็ตาม ไม่ควรเอามือเปื้อนอามิสจับทั้งนั้น, เมื่อจับเป็นทุกกฎ แต่ถ้าว่าบางส่วนของมือไม่ได้เปื้อนอามิส จะจับโดยส่วนนั้น ควรอยู่
      ๒. ภิกษุควรซาวเมล็ดข้าวสุกขึ้นจากน้ำ แล้วกองไว้ในที่แห่งหนึ่ง จึงเทน้ำทิ้ง, หรือขยี้เมล็ดข้าวสุกให้มีคติเหมือนน้ำ แล้วเททิ้งไป โดยเทลงในกระโถนแล้วนำไปเทข้างนอก



กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา   นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน   ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ ๔๐ ฯ

เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ  พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา  เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้ ระวังอย่าตกอยู่ในอำนาจมารอีก

Realizing that body is fragile as a pot,   Establishing one's mind as firm as a fortified city,
Let one attack let one guard one's conqust  And afford no rest to Mara.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก .... 
no.๔๑
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #67 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2563 16:28:57 »


เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่๒๐๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีร่มในมือ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม (ทรงมีพระบัญญัติมิให้แสดงธรรมแก่คนกั้นร่ม) ต่อมาภิกษุทั้งหลายรังเกียจ เพื่อจะแสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือ... ทรงมีพระอนุบัญญัติว่า
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ”

อธิบายและอาบัติ
      - ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ ร่ม ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑  ร่มลำแพน ๑ (ร่มสานด้วยตอกไม้ไผ่)  ร่มใบไม้ ๑  ที่เย็บเป็นวงกลมผูกติดกับซี่
      - ที่ชื่อ ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต
      - บทว่า แสดง คือ โดยบท ต้องอาบัติทุกฏ ทุกๆ อักขระ
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกฏ

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑  …



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีไม้พลองในมือ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือไม้พลอง...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีไม้พลองในมือ”

อธิบายและอาบัติ
     - ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาว ๔ ศอก ของมัชฌิมบุรุษ ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้นก็ไม่ใช่ไม้พลอง
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑  ...
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๖๑
      ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงโครงร่มทั้ง ๓ ชนิด, ก็ร่มทั้ง ๓ ชนิดนั้น เป็นร่มที่เย็บเป็นวงกลมและผูกติดกับซี่ ถึงแม้ร่มใบไม้ใบเดียว อันเขาทำด้วยคันซึ่งเกิดที่ต้นตาลเป็นต้น ก็ชื่อว่าร่มเหมือนกัน, บรรดาร่มเหล่านี้ ร่มชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในมือของบุคคลนั้น เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ามีร่มในมือ
      บุคคลนั้นกั้นร่มอยู่ก็ดี แบกไว้บนบ่าก็ดี วางไว้บนตักก็ดี ยังไม่ปล่อยมือตราบใด จะแสดงธรรมแก่เขาไม่ควรตราบนั้น เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้แสดง โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล, แต่ถ้าว่าผู้อื่นกางร่มให้เขา หรือร่มนั้นตั้งอยู่บนที่รองร่ม พอแต่ร่มพ้นจากมือ ก็ไม่ชื่อว่า ผู้มีร่มในมือ, จะแสดงธรรมแก่บุคคลนั้นควรอยู่, ก็การกำหนดธรรมในสิกขาบทนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปทโสธรรมสิกขาบท (ว่าด้วยการแสดงธรรมเกิน ๖ คำ) นั่นแล
      ๒. ไม้พลองยาว ๔ ศอก ของมัชฌิมบุรุษ ชื่อว่า ไม้พลอง พึงทราบความที่บุคคลนั้นมีไม้พลองในมือ โดยนัยที่กล่าวแล้วในบุคคลผู้มีร่มในมือนั่นแล แม้ในบุคคลผู้มีศัสตราในมือก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะว่าแม้บุคคลยืนผูกสอดดาบ ยังไม่ถึงการนับว่าเป็นผู้มีศัสตราในมือ



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีศัตราในมือ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือศัตรา...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศัตราในมือ”

อธิบายและอาบัติ
      - ที่ชื่อ ศัตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว และมีคมสองข้าง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัตรา... แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัตรา ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีอาวุธในมือ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถืออาวุธ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ”

อธิบายและอาบัติ
      - ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...
 
สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ. ๒/๙๖๒
      ๑. ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์ ดังนี้ ถึงอย่างนั้นธนูแม้ทุกชนิดพร้อมด้วยลูกศรชนิดแปลกๆ ก็พึงทราบว่า “อาวุธ” เพราะฉะนั้น ภิกษุจะแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เจ็บไข้ ซึ่งยืนหรือนั่งถือธนูกับลูกศรก็ดี ถือแต่ลูกศรล้วนก็ดี ถือแต่ธนูมีสายก็ดี ถือแต่ธนูไม่มีสายก็ดี ย่อมไม่สมควร, แต่ถ้าธนูสวมคล้องไว้แม้ที่คอของเขา ภิกษุจะแสดงธรรมแก่เขาตลอดเวลาที่เขายังไม่เอามือจับ (ธนู) ควรทีเดียวแล



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ สวมเขียงเท้า

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมเขียงเท้า...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ สวมรองเท้า

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมรองเท้า
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้สวมรองเท้า”

อาบัติ
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมรองเท้า... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบรองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๗
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ไปในยาน

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งในยาน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้ไปในยาน”

อธิบายและอาบัติ
      - ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งไปในยาน... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งไปในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๘
(พระวินัยข้อที่ ๒๐๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อยู่บนที่นอน

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน”

อาบัติ
      -  ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้อยู่บนที่นอน... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นอนอยู่โดยที่สุดแม้บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๒/๙๖๓
      ๑. คนที่ถูกชน ๒ คน หามไปด้วยมือประสานกันก็ดี, คนที่เขาวางไว้บนผ้า แล้วใช้บ่าแบกไปก็ดี, คนผู้นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียม มีคานหามเป็นต้นก็ดี ผู้นั่งบนยานที่เขารื้อออกวางไว้ แม้มีแต่เพียงล้อก็ดี ย่อมถึงการนับว่า ผู้ไปในยานทั้งนั้น, แต่ถ้าคนแม้ทั้งสองฝ่าย นั่งไปบนยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ควรอยู่
      ๒. ภิกษุยืนหรือนั่งบนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี บนภูมิประเทศก็ดี แม้สูง จะแสดงธรรมแก่ (คนไม่เป็นไข้) ผู้นอนอยู่ ชั้นที่สุดบนเสื้อลำแพนก็ดี บนพื้นตามปกติก็ดี ไม่ควร, แต่ภิกษุผู้อยู่บนที่นอน จะนอนบนที่นอนสูงกว่า หรือมีประมาณเสมอกัน แสดงธรรมแก่ผู้ไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ควรอยู่, ภิกษุผู้นอนจะแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็นไข้ ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ควรอยู่, แม้ภิกษุนั่งจะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืน หรือว่านั่งก็ควร, ภิกษุยืนจะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนเหมือนกันก็ได้



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ นั่งรัดเข่า

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้นั่งรัดเข่า”

อาบัติ
      - ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งรัดเข่า... ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี ผู้นั่งรัดเข่าด้วยผ้าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๑)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ พันศีรษะ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกผ้าพันศีรษะ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้พันศีรษะ”

อาบัติ
      - ที่ชื่อว่า พันศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม (หรือโพกศีรษะด้วยผ้าสำหรับโพก หรือด้วยพวงดอกไม้ เป็นต้น มัดจนริมผมไม่ปรากฏให้เห็น)
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้โพกผ้าพันศีรษะ... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ให้เขาเปิดปลายผมจุกแล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๒)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ คลุมศีรษะ

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีผ้าคลุมศีรษะ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้คลุมศีรษะ”

อธิบายและอาบัติ
      -  ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ที่เขาเรียกกันว่า คลุมตลอดศีรษะ
      ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้คลุมศีรษะ... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๒
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๓)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ นั่งบนอาสนะ

       พระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนพื้นดินแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ”

อาบัติ
      - ภิกษุนั่งอยู่บนพื้น ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ (ชั้นที่สุด ได้แก่ ผู้ปูผ้าหรือหญ้านั่ง) ...นั่งอยู่ที่พื้นดินแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๓
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๔)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ นั่งบนอาสนะสูง

       พระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง ทรงเล่าเรื่องบุรุษจัณฑาลคนหนึ่งเข้าไปขโมยมะม่วงในอุทยานหลวง เขาเห็นพราหมณ์ปุโรหิตกำลังสอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดิน โดยพราหมณ์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ พระราชาประทับอยู่พระราชอาสน์สูง คนจัณฑาลทนไม่ได้ เพราะเห็นว่าไม่เคารพธรรม จึงลงมาจากต้นมะม่วง กล่าวตำหนิการไม่เคารพธรรม
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง”

อาบัติ
      -  ภิกษุผู้นั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง... นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๔
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๕)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่

       พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่”

อาบัติ
      - ภิกษุผู้ยืนอยู่ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่... ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๒/๙๖๖-๙๖๗
      ๑. บุรุษจัณฑาลกล่าวเตือนพวกพราหมณ์ว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงรีบออกไปเถิด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ยังหุงต้มหากินอยู่, ความอธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว อย่าได้ทำลายท่าน ดุจก้อนหินทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น
      ๒. ภิกษุจะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้ ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะชั้นที่สุด แม้บนภูมิประเทศที่สูงกว่า ก็ไม่ควร
      ๓. ถ้าแม้นว่า พระมหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากับภิกษุหนุ่มผู้มายังที่บำรุงของพระเถระแล้วยืนอยู่ เธอไม่ควรกล่าว แต่ด้วยความเคารพ เธอไม่อาจกล่าวกับพระเถระว่า นิมนต์ท่านลุกขึ้นถามเถิด จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ข้างๆ ควรอยู่



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๕
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๖)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ที่เดินไปข้างหน้า...

       พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้าหน้า”

อาบัติ
      -  ภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ธรรมเทศนาปฏิสังยุต สิกขาบทที่ ๑๖
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๗)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปในทาง

       พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปในทาง...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เดินไปในทาง”

อาบัติ
      - ภิกษุผู้เดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง... แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๒/๙๖๗
      ๑. ถ้าคนผู้เดินไปข้างหน้า ถามปัญหากับภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง เธอไม่ควรตอบ แต่จะกล่าวด้วยใส่ใจว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้อยู่ข้างหลัง ย่อมควร, จะสาธยายธรรมที่ตนเรียนร่วมกัน ควรอยู่, จะกล่าวแก่บุคคลผู้เดินเคียงคู่กันไป ก็ควร
      ๒. แม้ชนทั้งสองเดินคู่เคียงกันไปในทางเกวียน ตามทางล้อเกวียนคนละข้าง หรือออกนอกทางไป จะกล่าวก็ควร



เสขิยวัตร ปกิณณกะ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๘)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ”

       พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ”

อาบัติ
      - ภิกษุผู้ยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ... มิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ปกิณณกะ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๒๑๙)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
บ้วนเขฬะลงบนของสดเขียว

       พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงบนของสดเขียว ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว”

อาบัติ
      - ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระลงบนของสดเขียว... มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงบนของสดเขียว  ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายลงในที่ปราศจากของสดเขียว แล้วไหลไปรดของสดเขียว ๑  มีอันตราย ๑ ...



เสขิยวัตร ปกิณณกะ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๒๒๐)
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ

       พระฉัพพัคคีย์ ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง  บ้วนเขฬะลงในน้ำ ...
      “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ”

อาบัติ
      - ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ... มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ 

อนาบัติ
      ไม่แกล้ง ๑  เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑  อาพาธ ๑  ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้วไหลลงสู่น้ำ ๑  มีอันตราย ๑ ...

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๒/๙๖๗-๙๖๘
      ๑. เมื่อภิกษุกำลังไปยังที่กำบัง อุจจาระหรือปัสสาวะพลันเล็ดออก ชื่อว่า ไม่แกล้งถ่าย ไม่เป็นอาบัติ
      ๒. แม้รากของต้นไม้ที่ยังเป็น (ยังไม่ตาย) ชอนไปบนพื้นดิน ปรากฏให้เห็นก็ดี กิ่งไม้เลื้อยระไปบนพื้นดินก็ดี ทั้งหมดเรียกว่าของสดเขียวทั้งนั้น ภิกษุจะนั่งบนขอนไม้ ถ่ายให้ตกลงไปในปราศจากของเขียวสด ควรอยู่, เมื่อยังกำลังมองหาที่ปราศจากของสดเขียวอยู่นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะพลันทะลักออกมา จัดว่าตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้อาพาธ ควรอยู่ 
      เมื่อภิกษุไม่ได้ที่ปราศจากของสดเขียว แม้วางเทริดบนหญ้าหรือเทริดฟางไว้บนของสดเขียว ทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ก็ควรเหมือนกัน, ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ถึงแม้น้ำมูกก็สงเคราะห์เข้ากับน้ำลายในสิกขาบทนี้
      ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำบริโภคเท่านั้น แต่ในน้ำที่วัจจกุฎีและในน้ำทะเลเป็นต้น ไม่ใช่ของบริโภค ไม่เป็นอาบัติ, เมื่อฝนตก ห้วงน้ำมีอยู่ทั่วไป เมื่อภิกษุกำลังมองหาที่ไม่มีน้ำอยู่นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะเล็ดออกมา ควรอยู่, ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ในเวลาเช่นนั้น ภิกษุไม่ได้ที่ไม่มีน้ำ จะทำการถ่าย ควรอยู่

เสขิยวัตร มีสมุฏฐานเป็นต้นดังนี้
      ๑. สิกขาบท ๑๐ สิกขาบท ๑๕๖ (ดูในวงเล็บ หน้าสิกขาบท), ๑๕๗, ๑๕๙, ๑๘๘, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๑๕, ๒๑๖, ๒๑๗ มีสมนุภาสนสิกขาบท (ดูสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑ : และสิกขาบทที่ ๘ สัปปาณวรรคแห่งปาจิตตีย์) เกิดขึ้นทางกาย วาจา และจิต เป็นกิริยา สจิตตกะ โลกวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
      ๒. สูโปทนวิญญัตติสิกขาบท (ดู ๑๘๒) มีสมุฏฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๖ สัปปาณวรรค แห่งปาจิตตีย์) เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา สจิตตกะ โลกวัชชะ, วจีกรรม อกุศลจิต
      ๓. สิกขาบท ๑๑ สิกขาบท คือ ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๗, ๒๐๘, ๒๐๙,  ๒๑๐, ๒๑๑, ๒๑๒ มีสมุฏฐานดุจธรรมเทสนาสิกขาบท (สิกขาบทที่ ๗ มุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์) เกิดขึ้นทางวาจากับจิต เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา สจิตตกะ โลกวัชชะ, วจีกรรม อกุศลจิต
      ๔. ที่เหลืออีก ๕๓ สิกขาบท มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก
      ๕. ในเสขิยสิกขาบททั้งหมด แม้อาพาธก็ไม้พ้นจากอาบัติได้ มี ๓ สิกขาบท คือ ๑๗๕, ๑๘๑, ๑๘๓



อจิรํ วตยํ กาโย  ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ ๔๑ ฯ 

อีกไม่นาน ร่างกายนี้จักปราศจากวิญญาณ
ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้

Soon, alas! will this body lie  Upon the ground, unheeded,
Devoid of consciousness, Even as useless log.
... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ....
42

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2563 13:44:57 »



อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท
อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ เป็นวิธีการเพื่อระงับอธิกรณ์
เป็นเรื่องราวของพระวินัยธรและสงฆ์  จะชำระอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าสงฆ์ก็ดี
ต่อหน้าบุคคลก็ดี ให้เสร็จสิ้นทุกอย่าง ในสีลขันธวรรคอรรถกถา ฉบับลังกา ไม่นับ
อธิกรณ์สมถะ ๗ ข้อ นี้ว่าเป็นสิกขาบท จึงคงมี ๒๒๐ สิกขาบท แต่ในฉบับไทย
พม่า และยุโรป นับจำนวนสิกขาบทของภิกษุ ว่ามี ๒๒๗ สิกขาบท สำหรับใน
หนังสือนี้ การนับจำนวนสิกขาบทของภิกษุ ยึดถือจากสีลขันธวรรคอรรถกถา
ฉบับไทย จึงมี ๒๒๗ สิกขาบท.


อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ
ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์
(๒๒๑)  ๑.สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า
(๒๒๒)  ๒.สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก
(๒๒๓)  ๓.อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า
(๒๒๔)  ๔.ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ
(๒๒๕)  ๕.เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก
(๒๒๖)  ๖. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ)
(๒๒๗)  ๗. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)
วินย.มหาวิ. ข้อ ๘๘๐

วินิย.ปริ. ข้อ ๑,๐๖๔-๑,๐๖๗
แสดงอธิกรณ์ (เรื่องที่เกิดขึ้นที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) ๔ อย่าง

       ๑. วิวาทาธิกรณ์        -  ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า
.   นี้เป็นธรรม นี้ไม่ใช่ธรรม, นี้เป็นวินัย นี้ไม่ใช่วินัย
.  นี้พระตถาคตตรัสไว้,   นี้พระตถาคตไม่ได้ตรัสไว้
.   นี้พระตถาคตทรงประพฤติมา, นี้พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา
.  นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้,  นี้พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
.   นี้เป็นอาบัติ, นี้ไม่เป็นอาบัติ
.  นี้เป็นอาบัติเบา,  นี้เป็นอาบัติหนัก
.   นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ,  นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
.  นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ, นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
   

       ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์

       ๒. อนุวาทาธิกรณ์ – ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังในเรื่องนั้น อันใด นี้การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์

       ๓. อาปัตตาธิกรณ์ – กองอาบัติทั้ง ๕ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ นี้อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ (รวมการปรับอาบัติและการออกจากอาบัติด้วย)
       ๔. กิจจาธิกรณ์ – ความมีแห่งกรณียะของสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม เป็นกิจจาธิกรณ์
       สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์, เมื่อวิวาทกันย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์, เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์, สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์



อธิกรณสมถะ สัมมุขาวินัย สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่๒๒๑)
ระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า

       พระฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง
        ดัชชนียกรรม (กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงอยู่, สังฆกรรมประเภทนิคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิโทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์ เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร) บ้าง,

        นิสยกรรม (กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ ได้แก่ การถอดยศ, เป็นชื่อนิคหกรรมที่สงฆ์ทำแก่ผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร โดยปรับให้ถือนิสัยใหม่อีก) บ้าง,

        ปัพพาชนียกรรม (กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล และประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑  อนาจาร ๑  ลบล้างพระบัญญัติ ๑  มิจฉาชีพ ๑) บ้าง,

        ปฏิสารนียกรรม (กรรมอันสงฆ์จะพึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา เป็นทายกอุปัฏฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังผู้คนยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่น)

        อุกเขปนียกรรม (กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึง วิธีลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละ ซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย พูดง่ายๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว) บ้าง

       บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา... แล้วกราบทูล... รับสั่งให้ตามภิกษุฉัพพัคคีย์... ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ดัชชนียกรรมก็ดี นิสยกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารนียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฎ”

โดยมีวิธีระงับที่ถูกต้อง ดังนี้
       ๑. ธรรมวาทีบุคคล (ผู้มีปกติกล่าวธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรม หรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม) ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
       ๒. ธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๓. ธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๔. ธรรมวาทีมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๕. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๖. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๗. สงฆ์ธรรมวาที ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๘. สงฆ์ธรรมวาที ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย
       ๙. สงฆ์ธรรมวาที ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม... เป็นสัมมุขาวินัย


ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา  เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ  ปาปิดย น ตโต กเร ฯ ๔๒ ฯ

จิตที่ฝึกฝนผิดทาง ย่อมทำความเสียหายได้
ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร 

Whatever harm a foe may do to a foe, Or a hater to a hater,
An ill-directed mind  Can harm one even more. 
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก .... 
no.๔๓

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #69 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2564 19:20:43 »


อธิกรณสมถะ สติวินัย สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๒๒๒)
ระงับอธิกรณ์ด้วยยกว่าพระอรหันต์ ย่อมเป็นผู้มีสติเสมอ

      เรื่องพระทัพพมัลลบุตรถูกพระเมตติยะกับพระภุมมชกะวางแผนให้นางภิกษุณีเมตติยาโจทท่านพระทัพพะ (ดูเรื่องจากสิกขาบทที่ ๘ แห่งสังฆาทิเสส) ภายหลังพระเมตติยะและภุมมชกะสารภาพแล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว”
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ ทัพพมัลลบุตรนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่า
       “ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
       พึงขอแม้ครั้งที่สอง... พึงขอแม้ครั้งที่สาม...”
       ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้
       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่านทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ท่านทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนี้... ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง...
       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม...
       สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”
       - การให้สติวินัยที่เป็นธรรม มี ๕ อย่าง คือ ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ ๑  ผู้อื่นโจทเธอ ๑  เธอขอ ๑  สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ ๑  สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. จุล. ๖/๖๐๘
       กล่าวว่า สติวินัยนี้ พึงให้แก่พระขีณาสพผู้ถูกภิกษุอื่นโจทเท่านั้น ไม่พึงให้แก่ภิกษุอื่น โดยที่สุดแม้เป็นพระอนาคามี ก็ไม่ควรให้


อธิกรณสมถะ อมูฬหวินัย สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๒๒๓)
ระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้เพราะเกิดขึ้นในขณะบ้า

      พระคัดคะเกิดวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าววาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทพระคัคคะด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติล่วงละเมิดแล้ว ว่าท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว... ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิม... ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้โจทพระคัคคะ... แล้วกราบทูล... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้อมูฬหวินัย”
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้อย่างนี้ คัคคะภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า... กล่าวคำขอว่าดังนี้
       “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติล่วงละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติล่วงละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว  ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์
       พึงขอแม้ครั้งที่สอง...
       พึงขอแม้ครั้งที่สาม...”
       ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้
       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน... ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร... นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า...
       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง...  ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม...
       อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”
อมูฬหวินัยที่เป็นธรรม ๓ คือ

       ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึกไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูลหวินัยเป็นธรรม
       ๒.ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้... เธอระลึกไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าระลึกได้คล้ายความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม
       ๓. ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้... เธอวิกลจริต ทำอาการวิกลจริตว่า ข้าพเจ้าก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแม้แก่ข้าพเจ้า สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม


อธิกรณสมถะ ปฏิญญาตกรณะ  สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่๒๒๔)
ระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำสารภาพของจำเลย

      พระฉัพพัคคีย์ทำกรรม คือ ดัชนีกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารนียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญญาณ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์...แล้วกราบทูล...ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย...ทรงติเตียน ครั้นแล้วมีรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ดัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารนียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตามปฏิญญาณ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

       - “ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม” เช่น ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก  สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติปาราชิก  ข้าพเจ้าต้องสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส การปรับอย่างนี้ชื่อว่า ทำตามปฏิญญาณ ไม่เป็นธรรม หรือภิกษุต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาษิต เธอกล่าวว่า ท่าน ข้าพเจ้ามิได้ต้องอาบัติทุพภาษิต ข้าพเจ้าต้องทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฎ การปรับอย่างนี้ชื่อว่า ทำตามปฏิญญาณไม่เป็นธรรม เป็นต้น
       - “ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม” คือ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวว่า ถูกละท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การปรับอย่างนี้ชื่อว่า ทำตามปฏิญญาณเป็นธรรม
                     ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส...
                     ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย...
                     ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์...
                     ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ...
                     ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ...
                     ภิกษุต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาษิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาษิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาษิต การปรับอย่างนี้ชื่อว่า ทำตามปฏิญญาณเป็นธรรม


อธิกรณสมถะ เยภุยยสิกาสิกขาบทที่ ๕
(พระวินัยข้อที่ ๒๒๕)
ระงับอธิกรณ์ด้วยเสียงข้างมาก

      (กิริยาเป็นไปตามข้างมาก ได้แก่  วิธีตัดสินอธิกรณ์โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกท่านนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์)
       สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะวิวาทกันในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจจะระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้จับสลาก คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบพอ  ๒. เพราะความเกลียดชัง  ๓. เพราะความงมงาย  ๔. เพราะความกลัว  ๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ
       ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
       “ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้จับสลาก นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้จับสลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้จับสลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
       ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้จับสลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”

       - การจับสลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง คือ
       อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๑   ลุกลามไปไกล ๑  ภิกษุพวกนั้นระลึกได้และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้ ๑  รู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า ๑  รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๑  รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน ๑  รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน ๑  ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม ๑  ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ ๑  จับตามความเห็น ๑  


อธิกรณสมถะ ตัสสปาปิยสิกา สิกขาบทที่ ๖
(พระวินัยข้อที่๒๒๖)
ระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด

      พระอุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ท่านปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา  กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย...ต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา...กราบทูล...ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย แล้วมีรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัสสปาปิยสิกากรรม (กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม,  กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิด แม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง) แก่ภิกษุอุปวาฬ”
       ก็แล สงฆ์พึ่งทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุอุปวาฬก่อน แล้วให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้
        “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬนี้ ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้ว ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬนี้... การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง...
       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม...
       ตัสสปาปิยสิกากรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”

       - การทำตัสสปาปิยกิกากรรมที่เป็นธรรม ๕ อย่าง คือ
       ภิกษุเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ (จากอาบัติ) ๑  เป็นอลัชชี ๑  เป็นผู้ถูกโจท ๑  สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่เธอ ๑  สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำโดยธรรม ๑
       - ลักษณะกรรมเป็นธรรม
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์๓ เป็นกรรมเป็นธรรม  เป็นวินัยและระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑  สอบถามก่อนแล้วทำ ๑  ทำตามปฏิญาณ ๑  นี้แลเป็นกรรมเป็นธรรมเป็นวินัย และระงับดีแล้ว
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑  ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี (อาบัตินั้นออกได้เพราะแสดง มีปาจิตตีย์เป็นต้น) ๑  ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำต่อหน้า ๑  ทำโดยธรรม ๑  สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑  ทำโดยธรรม ๑  สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำพระต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ  โจทก่อนทำ ๑  ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑  ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... คือ ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
       - ภิกษุสงฆ์จำนงที่จะทำตัสสปาปิยสิกากรรม ดังนี้
        ๑. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง การทะเลาะวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
        ๒. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร
        ๓. เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
        ๔. เป็นผู้มีศีลวิบัติ
        ๕. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ
        ๖. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
        ๗. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
        ๘. กล่าวติเตียนพระธรรม
        ๙. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
       - ภิกษุที่ถูกสงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว ต้องประพฤติชอบ ดังนี้
        ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
        ๒. ไม่พึงให้นิสัย
        ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
        ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
        ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
        ๖. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
        ๗.ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
        ๘. ไม่พึงติกรรม (วัตร, วิธีลงโทษ)
        ๙. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
       ๑๐. ไม่ถึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ (ภิกษุปกติ)
       ๑๑. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
       ๑๒. ไม่พึงทำการไต่สวน
       ๑๓. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
       ๑๔. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาส (อนุญาตให้เธอโจท)
       ๑๕. ไม่ถึงโจทภิกษุอื่น
       ๑๖. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
       ๑๗. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้กันในอธิกรณ์
  

อธิกรณสมถะ ติณวัตถารกะ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่๒๒๗)
ระงับอธิกรณ์ด้วยการประนีประนอม หรือให้เลิกแล้วกันไป

      (ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกัน ชวนให้ทะเลาะวิวาท จะระงับด้วยวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวน ปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็จะมีแต่ทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับด้วยวิธีนี้ ต้องยกเลิกเสีย ไม่ต้องสะสางความหลังกันอีก)
       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามด้วยกาย ครั้งนั้นพวกเธอคิดว่าพวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงกราบทูล...มีรับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ”
       ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
        บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
        ขอท่านทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง... เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน
        ลำดับนั้นบรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
        “ขอท่านทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง...เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
        บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก... เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า... ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
        อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้”

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น ดังนี้
        - อาบัติที่มีโทษหนัก คือ ปาราชิกและสังฆาทิเสส
        - อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ คือ อาบัติที่ด่าว่าคฤหัสถ์ด้วยคำเลว และรับแล้วไม่ทำตามรับที่เป็นธรรม
        - วินย.จุล.ข้อ ๖๗๒-๖๙๔ แสดงการรับงับของอธิกรณ์ ๔ ด้วยสมถะ ๗ ดังนี้
        ๑. วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ๑ และเยภุยยสิกา ๑
             ๑.๑ โดยมีความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑  ความพร้อมหน้าธรรม ๑  ความพร้อมหน้าวินัย ๑  ความพร้อมหน้าบุคคล ๑
                    - ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร? ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์
                    - อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
                    - โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้า นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล
                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นย่อมเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะแล้วติเตียน ย่อมเป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน
                    ๑.๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวิธีจับสลาก ๓ อย่าง คือ ปกปิด ๑  กระซิบบอก ๑  เปิดเผย ๑
                     ก็วิธีจับสลากปกปิดเป็นไฉน? ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงทำสลากให้มีสีและไม่มีสี แล้วเข้าไปหาภิกษุที่ละรูปๆ แล้วแนะนำอย่างนี้ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าแสดงแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ดังนี้
                     ก็วิธีจับสลากกระซิบบอกเป็นไฉน? ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้น พึงกระซิบบอกที่ใกล้หูของภิกษุแต่ละรูปๆ ว่า นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ นี้สลากของผู้กล่าวอย่างนี้ ท่านจงจับสลากที่ชอบใจ เมื่อภิกษุนั้นจับแล้ว พึงแนะนำว่า ท่านอย่าบอกแก่ใครๆ ถ้ารู้ว่าอธรรมวาทีมากกว่า พึงบอกว่า สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ดังนี้
                     ก็วิธีจับสลากเปิดเผยเป็นไฉน? ถ้ารู้ว่าธรรมวาทีมากกว่า พึงให้จับสลากเปิดเผยอย่างแจ่มแจ้ง วิธีจับสลากเปิดเผยเป็นอย่างนี้แหละ
        ๒. อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑  สติวินัย ๑  อมูฬหวินัย ๑  ตัสสปาปิยสิกา ๑
        ๓. อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย ๑  ปฏิญญาตกรณะ ๑  ติณวัตถารกะ ๑
        ๔. กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย

        
การนับจำนวนสิกขาบทของภิกษุ
      ในสีลขันธวรรคอรรถกถา
       ฉบับภาษาไทย มีคำว่า (สตฺต) วีสาธิกานิ เทฺว สิกฺขาปทสตานิ.
       ฉบับพม่า มีคำว่า สตฺตวีสาธิกานิ เทฺว สิกฺขาปทสตานิ.
       ฉบับยุโรป มีคำว่า สตฺตวีสาธิกานิ เทฺว สิกฺขาปทสตานิ.
       ฉบับลังกา มีคำว่า  วีสาธิกานิ เทฺว สิกฺขาปทสตานิ.

       ฉบับไทย พม่า ยุโรป นับจำนวนสิกขาบทของภิกษุว่ามี ๒๒๗ ส่วนฉบับลังกามี ๒๒๐ ฉบับ ที่นับ ๒๒๗ นั้น เห็นว่ายังไม่ถูกต้อง เพราะอธิกรณสมถะ ๗ ข้อ เป็นข้อระงับอธิกรณ์ ไม่ใช่สิกขาบท  ฉะนั้น จึงไม่ควรนับรวมเข้าในสิกขาบท เข้าใจว่าเป็นความผิดพลาดของอาจารย์ผู้ตรวจชำระพระบาลีที่เพิ่มบทว่า “สตฺต” เข้ามา ตามความเห็นของตน ซึ่งเคยได้ยินได้ฟังสืบๆ กันมาอย่างนั้น (นานาวินิจฉัย/๑๗๑)
 



พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท)
จบบริบูรณ์

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 2 3 [4]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อาบัติ(ปาราชิก)
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
時々๛कभी कभी๛ 0 2016 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2554 17:26:36
โดย 時々๛कभी कभी๛
อาบัติ ปาราชิก
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 2855 กระทู้ล่าสุด 02 ตุลาคม 2556 13:27:09
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.598 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 05:22:47