[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 13:27:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดนางพญา กับตำนานพระพิมพ์อันโด่งดัง (อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก)  (อ่าน 20690 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 มกราคม 2557 13:16:56 »

.


ภาพมุมสูงเมืองพิษณุโลก
เครดิตภาพ : เว็บไซต์ skyscrapercity.com

พิษณุโลก
เมืองโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี

พิษณุโลก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานเมืองหนึ่ง เคยเป็นชุมชนโบราณของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี  จากร่องรอยทางโบราณคดี พบว่าเมืองพิษณุโลกมีมาแล้วตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ ที่มีความรุ่งเรืองทางด้านศิลปและวัฒนธรรม เคยเป็นทั้งเมืองหลวง เมืองลูกหลวง และเมืองเอก มีชื่อเรียกปรากฏในที่ต่างๆ กัน ทั้งในศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน และนิทานพื้นบ้าน เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองพระพิษณุโลก เมืองสองแคว เมืองสระหลวงสองแคว เมืองทวิสาขะ เมืองทวยนที เมืองชัยนาท เมืองโอฆบุรี เมืองจันทบูร และเมืองอกแตก เป็นต้น

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อนุมานได้ว่า เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีเศษมาแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) โปรดให้สร้างเมืองสองแคว และพระองค์ได้เสด็จมาประทับ ณ ที่เมืองนี้ ทำให้เมืองสองแควถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยและมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย  จนถึงปี พ.ศ. ๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรศรีอยุธยาและได้ส่งพระราเมศวร พระราชโอรส มาปกครองเมืองสองแควในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยจึงมีฐานะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรศรีอยุธยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราเมศวร) เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๑๙๙๑ เมืองสองแควมีฐานะเป็นเมืองเอก พระองค์ได้เสด็จจากกรุงศรีอยุธยามาประทับและครองเมืองสองแคว และโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสองแควเป็น “พิษณุโลก” ซึ่งหมายถึงที่ประทับของพระนารายณ์ ทำให้เมืองพิษณุโลกในขณะนั้นมีสถานะเป็นราชธานี ส่วนทางพระนครศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมราชา พระราชโอรส ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชทรงปกครองแทน

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงประทับอยู่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานานถึง ๒๕ ปี และได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๓๑ ณ เมืองพิษณุโลก นั่นเอง  เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา พระองค์ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ทำให้เมืองพิษณุโลกต้องลดฐานะเป็นเมืองมหาอุปราช และมิได้ทรงแต่งตั้งเจ้านายมาปกครองอีกต่อไป เป็นแต่เพียงแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งพระยาพิษณุโลก ให้ไปเป็นเจ้าเมืองปกครองพิษณุโลกแทนเท่านั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ เมืองพิษณุโลกจึงเริ่มมีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อพระเธียรราชา ซึ่งเสด็จออกทรงผนวชหนีราชภัย ได้ปูนบำเหน็จขุนพิเรนทรเทพ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการกำจัดขุนวรวงศาธิราช และท้าวศรีสุดาจันทร์ และสนับสนุนพระองค์ให้ขึ้นครองราชย์สมบัติในพระนครศรีอยุธยา เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  

จึงได้ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพขึ้นเป็นเจ้า  พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ให้รับพระราชบัณฑูรครองเมืองพระพิษณุโลก กับทั้งทรงพระราชทานพระสวัสดิราช ราชธิดาเป็นพระมเหสี พร้อมกับพระราชทานเปลี่ยนพระนามให้ใหม่ว่า พระวิสุทธิกษัตรี เสด็จขึ้นมาครองพิษณุโลก มาประทับที่พระราชวังจันทร์ ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดากับพระวิสุทธิ์กษัตรี ๓ พระองค์ คือ พระสุพรรณกัลยานี  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ

จากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยสรุปดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่าดินแดนแห่งนี้มีความสำคัญมากในครั้งอดีต เคยเป็นทั้งเมืองหลวง เมืองลูกหลวง มีความรุ่งเรือง มั่นคงผาสุก เป็นศูนย์กลางในทางการเมือง การปกครอง ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

ความรุ่งเรืองแห่งการพระศาสนาในสมัยนั้น ปรากฏจากการสร้างพระพุทธรูป วัดวาอาราม พระปรางค์ พระวิหาร ที่มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สวยงามโดดเด่นมากมาย ปัจจุบันยังคงทิ้งร่องรอยให้เห็นความเจริญเหล่านั้นอยู่ เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดราชบูรณะ วัดนางพญา วัดอรัญญิก วัดตาปะขาวหาย วัดวิหารทอง วัดจุฬามณี (วัดแห่งนี้เป็นที่ทรงผนวชของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ฯลฯ  และบางส่วนยังคงมีการอนุรักษ์สืบสานโบราณศิลป ปรากฏอย่างเด่นชัดจนถึงปัจจุบัน อาทิ พระพุทธชินราช ที่ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร  องค์พุทธปฏิมาที่งดงามยิ่ง และถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปอันล้ำค่าควรแก่การภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งของประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลก และของประชาชนชาวไทยทุกคน และเป็นศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชน จนตราบทุกวันนี้
....กิมเล้ง



สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว  พระประธานพระอุโบสถวัดนางพญา

วัดนางพญา

วัดนางพญา เป็นวัดประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มาได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้ง เมื่อพระนางวิสุทธิกษัตรี ครองเมืองพิษณุโลก เมื่อราว พ.ศ. ๒๐๙๕-๒๑๐๐ ชาวเมืองพิษณุโลกจึงเทิดพระเกียรติ ขนานนามวัดที่พระนาง บูรณะขึ้นใหม่ว่า “วัดนางพญา” ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

วัดนางพญาตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุ และใกล้วัดราชบูรณะ วัดนางพญาเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมายาวนาน หากพิจารณาทางด้านสถาปัตยกรรมของพระวิหารวัดนางพญาแล้ว สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือในสมัยอยุธยาตอนต้น  และเชื่อกันว่าผู้สร้างวัดนางพญา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เป็นเวลานาน ๒๑ ปี (ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๒)

แต่เดิมวัดนางพญา ไม่มีพระอุโบสถ มีแต่วิหารที่ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน แบบทรงโรง ศิลปะสมัยสุโขทัย มี ๖ ห้อง และใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะสมัยสุโขทัย ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิ ส่วนฝาผนังด้านหน้าเขียนภาพพระพุทธประวัติ  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระครูบวร ชินรัตน์ (ม้วน) เจ้าอาวาสวัดนางพญาในขณะนั้น ได้บูรณะดัดแปลงพระวิหารหลังนี้ให้เป็นพระอุโบสถ โดยก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งหลัง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปะของพระวิหารโบราณหลังเดิมได้เลย



พระอุโบสถวัดนางพญา


ตำนานพระพิมพ์นางพญา
วัดนางพญา  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก

พระพิมพ์นางพญา เรียกตามชื่อของวัดนางพญา พระพิมพ์นางพญาเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา พบครั้งแรกในเจดีย์พระประธานของวัดนางพญา ซึ่งชำรุดหักพังทลายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔

พระพิมพ์นางพญานี้ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา ผู้ครองเมืองพิษณุโลก ได้ทรงสร้างพระนางพญาเพื่อพระราชทานแก่พระวิสุทธิกษัตรี องค์อัครมเหสี เนื่องในโอกาสที่พระองค์ได้ทรงสร้างวัดนางพญา และวัดราชบูรณะ และนำพระนางพญาบรรจุไว้บนหอระฆังของเจดีย์ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดนางพญา ต่อมาเจดีย์ได้หักพังไปตามกาลเวลา พระนางพญาจึงตกปะปนกับซากของเจดีย์ และมีการเก็บพระนางพญาส่วนหนึ่งไว้ในบาตรบนธรรมาสน์ที่ศาลาลูกกรง และในสมัยนั้นวัดนางพญามีคลองเล็กๆ ที่ทางวัดต้องการถม จึงนำเอาดินและอิฐซากของเจดีย์มาถม เป็นเหตุให้พระพิมพ์นางพญาที่ติดมากับซากของดินและอิฐได้กระจายตัวอยู่ทั่วไปในบริเวณวัดนางพญา

อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงการสร้างพระนางพญาว่า สร้างขึ้นเพื่อแจกทหารไปรบกับข้าศึก และถวายให้พระวิสุทธิกษัตรี เมื่อไปรบกลับมาจึงนำมาเก็บไว้ที่วัดนางพญา จึงเรียกชื่อตามวัดว่า “พระพิมพ์นางพญา”

บางตำนานกล่าวว่า ฤๅษี ๗ ตน เป็นผู้สร้าง โดยแต่ละตนต่างแสวงหาว่าน ๑๐๘ และเกสรดอกไม้ ๑๐๘ มาใช้ในการสร้างพระนางพญา


การพบพระพิมพ์นางพญา สันนิษฐานกันว่าพบกรุพระนางพญาครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยเล่ากันว่า เนื่องจากทางวัดได้สร้างศาลาไว้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขุดดินเพื่อฝังเสาได้พบพระนางพญา จึงน้อมเกล้าฯ ทูลถวายรัชกาลที่ ๕ และให้ข้าราชบริพาร  ในครั้งหลังพบราว พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยพบพระนางพญาที่พื้นดินทั่วไปในบริเวณวัด เนื่องจากพระภิกษุสามเณรช่วยกันขุดหลุมหลบภัย ในครั้งนี้ประชาชนได้มาขอขุดหาพระ บริเวณที่พบพระจำนวนมากคือ ที่ต้นมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวและต้นไม้อื่นๆ ล้มลงจำนวนมาก ทางวัดจึงขอให้ยุติการขุด

พุทธลักษณะของพระพิมพ์นางพญา พุทธลักษณะเด่นของพระพิมพ์นางพญา คือ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระจะอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเหลี่ยมรอยตัดด้วยเส้นตอกเรียบร้อย สวยงาม และประณีต บางองค์เห็นสังฆาฏิชัดเจน แต่ส่วนมากไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก เช่น พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ไม่ชัดเจน เป็นการกร่อนโดยธรรมชาติ

ลักษณะของเนื้อพระพิมพ์นางพญา พระพิมพ์นางพญามีลักษณะ เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา คล้ายกับเครื่องถ้วยเนื้อดินเผา เนื้อแกร่งและเนื้อหยาบ เนื้อมีส่วนผสมของดิน ว่านชนิดต่างๆ แร่ธาตุ กรวดและทราย พระที่มีสีเขียวและสีดำจะมีความแกร่งมากกว่าสีอื่นๆ เนื่องจากถูกเผาด้วยไฟที่มีอุณหภูมิสูง

ลักษณะสีของเนื้อพระพิมพ์นางพญา มีสีเนื้อเป็นดินเผา ประกอบด้วยสีแดงคล้ำ น้ำตาลแก่ มีสีเขียวตะไคร่แกมดำ สีดำ สีเม็ดพิกุลแห้ง สีกระเบื้อง หรือสีหม้อใหม่ สีสวาทหรือสีเทา และสีแดงคล้ำมีคราบกรุ หรือที่เรียกว่า เนื้อมันปู บางองค์มีสีขาวอมชมพู

รูปแบบของพิมพ์ พระพิมพ์นางพญา มีรูปแบบพิมพ์ ๖ พิมพ์ แยกเป็น
     ๑. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าตรง
     ๒. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง
     ๓. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่อกนูน
     ๔. พระนางพญา พิมพ์เล็กอกนูน
     ๕. พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
     ๖. พระนางพญา พิมพ์เทวดา




พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าตรง
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล

๑. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าตรง มีลักษณะเด่นที่พระชงฆ์ทั้งสองข้างจะวางเป็นเส้นขนานกันตรง
จึงเรียกว่า “เข่าตรง” พระชงฆ์ด้านบนเรียวเล็ก ส่วนด้านล่างหนาใหญ่
พุทธลักษณะคือ พระเกศเป็นปลีไร พระศกยาว วาดโค้งเป็นลำจากยอดพระกรรณขวา
มาสู่ยอดพระกรรณซ้าย พระกรรณทั้งสองข้างเป็นลำเล็กยาว ปลายสะบัดออก
ปลายพระกรรณขวาจรดบ่า ปลายพระกรรณซ้ายเชื่อมติดกับสังฆาฏิ พระพักตร์นูน
คล้ายหลังเต่า ส่วนมากไม่มีพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระหนุมน
พระอังสะเป็นเส้นต่างหากจากสังฆาฏิ สังฆาฏิเลยบ่าไปทางด้านหลังองค์พระเล็กน้อย
พระหัตถ์ขวาเหยียดตรงงอข้อศอกเล็กน้อย ในลักษณะจับหัวเข่า พระอุระจะผายออก
และมีสัดส่วนระหว่างอกกับท้อง ดูสง่า พระอุทระนูนโปนเล็กน้อย


พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล

๒. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง มีลักษณะเด่นที่พระชงฆ์ทั้งสองข้างโค้งงอ
พระพักตร์อูมมาก ลำองค์ใหญ่ จึงเรียกว่า “เข่าโค้ง” มีพุทธลักษณะดังนี้
พระเกศแหลมคล้ายปิ่นปักผม พระศอเรียวบางค่อนข้างชิดกับบ่า พระกรรณจรดกับบ่า
โดยเฉพาะด้านซ้ายจรดกับอังสะ พระพักตร์มีลักษณะคล้ายเป็นผลมะตูม ไม่มีพระเนตร
และพระนาสิก พระพาหาทั้งสองข้างจะกางออกเล็กน้อย พระหัตถ์ขวาจับพระชานุ




พระนางพญา พิมพ์ใหญ่อกนูน
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล


พระนางพญา พิมพ์เล็กอกนูน
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล

๓. – ๔. พระนางพญา พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กอกนูน เนื่องจากลำตัวองค์พระ
จะลอยนูนเด่นกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงเรียกว่า “พิมพ์ใหญ่อกนูน และพิมพ์เล็กอกนูน”
ขนาดฐาน กว้างเฉลี่ย ๑.๙ ซม. สูงเฉลี่ย ๑.๖ ซม.
พุทธลักษณะของพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กอกนูน
คือ พระเกศเป็นปลี พระพักตร์เป็นผลมะตูมออกยาว บางองค์มีพระเนตร
พระนาสิกและพระโอษฐ์ ไรพระศกจะเป็นแนวตรงออกเฉียง
พระกรรณซ้ายโค้งงอปลายสะบัดออกเล็กน้อย พระกรรณขวาสอบลง
ปลายสะบัดจรดพระอังสะ พระอุระนูนใหญ่รวมกับพระอุทระ
ไม่มีทรวดทรงระหว่างอกกับท้อง


พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล

๕. พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พุทธลักษณะคือ เป็นพิมพ์ที่มีเส้นสังฆาฏิ
และอังสะเด่นชัด รูปทรงของพระพิมพ์มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชัด
จึงเรียกว่า “นางพญาพิมพ์สังฆาฏิ” พระเกศเป็นตุ่มคล้ายกับดอกบัวและปลาย
จะเรียวเล็กน้อย พระพักตร์ส่วนมากไม่ปรากฏพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์
พระกรรณทั้งสองข้างคล้ายบายศรี พระกรรณห้อยลงชนกับพระอังสะ พระกรข้างขวา
มีลักษณะเป็นเส้นตรง พระกรข้างซ้ายจะงอเข้าหาลำองค์ สังฆาฏิจะเลยบ่า
ชี้ขึ้นไปเล็กน้อย พระชงฆ์ทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นเส้นตรง



พระนางพญา พิมพ์เทวดา
ภาพจาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล

๖. พระนางพญา พิมพ์เทวดา มีลักษณะเด่น ๒ ลักษณะ
คือ ลำตัวองค์พระบางองค์ลำตัวใหญ่และจะดูกว้าง แต่บางองค์
ลำตัวเล็กอกแฟบ พุทธลักษณะของพระนางพญาพิมพ์เทวดา
คือ พระเกศมีทั้งสั้น คล้ายดอกบัวตูม และบางองค์เรียวยาว
บางองค์คล้ายพิมพ์อกนูน และพิมพ์สังฆาฏิ พระกรรณขวา
บางองค์มีลักษณะคล้ายบายศรี  พระกรรณซ้ายโค้งเรียว
จรดเป็นเส้นเดียวกับพระอังสะ แต่บางองค์ไม่ปรากฏพระกรรณ
มีไรพระศก พระกรรณขวาโค้งเล็กน้อย แบบเดียวกับพิมพ์เข่าตรง


พระพุทธคุณของพระเครื่องพิมพ์นางพญา  พระพิมพ์นางพญาของวัดนางพญา นับเป็นต้นตระกูลของพระเครื่องนางพญาที่โด่งดัง และเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคี เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดเล็ก มีพุทธลักษณะงดงามเด่นชัด ผู้ที่ได้พระพิมพ์นางพญาไปบูชาต่างเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้คนเชื่อว่าพระพิมพ์นางพญามีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม ทำให้ผู้คนรักใคร่ ศัตรูกลายเป็นมิตร ให้ลาภยศแก่ผู้ครอบครอง และแคล้วคลาดจากอันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง ตลอดจนอยู่ยงคงกระพัน ไม่ว่าอาวุธใดๆ ไม่อาจทำร้ายได้ ด้วยเหตุนี้ พระพิมพ์นางพญาจึงเป็นที่นิยมของผู้คน ต่างแสวงหาเพื่อนำไปบูชา ทำให้มีการจัดสร้างจำลองพระพิมพ์นางพญาขึ้นในภายหลังมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖, พ.ศ. ๒๕๐๖, พ.ศ. ๒๕๐๙, พ.ศ. ๒๕๑๔, พ.ศ. ๒๕๑๙๘ และ พ.ศ. ๒๕๓๘

"ตำนานพระพิมพ์นางพญา"
จาก หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพิษณุโลก
จัดทำโดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ  
จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในนามของรัฐบาล โดย กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร



จิตรกรรมฝาผนังวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก









Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 09:56:25 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประวัติหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
หมีงงในพงหญ้า 0 2766 กระทู้ล่าสุด 04 มกราคม 2553 16:33:16
โดย หมีงงในพงหญ้า
เที่ยว น้ำตกแก่งซอง อุทยานแห่งชาติแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 3588 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2556 16:30:03
โดย Kimleng
หลวงพ่อแจง ธัมมโชโต วัดเกาะแก้ว ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1694 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2560 11:37:03
โดย ใบบุญ
สวนธรรมภูสมะ บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 747 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2564 20:14:59
โดย Kimleng
เจดีย์ยอดด้วน วัดเขาสมอแคลง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 515 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2566 16:06:31
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.623 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 12:31:53