[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 20:37:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดโต๊ะหมู่บูชา - การเตรียมสถานที่ และเครื่องใช้ในพิธีทางพุทธศาสนา  (อ่าน 5182 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2557 19:19:55 »

.



การจัดโต๊ะหมู่บูชา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์อธิบาย การจัดโต๊ะหมู่บูชา ว่า เริ่มมีมาแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น สืบเนื่องมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างม้าหมู่ขึ้นสำหรับตั้งเครื่องบูชาหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นม้าหมู่ขนาดใหญ่ และม้าหมู่ขนาดน้อย ที่ตั้งประจำวิหารทิศ แต่ยังไม่มีโต๊ะตัวล่างที่เป็นฐานรองรับม้าหมู่ ซึ่งเป็นการจัดแปลงโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนมาเป็นอย่างไทย และต่อมามีผู้นิยมจัดโต๊ะเครื่องบูชาม้าหมู่เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และมีโต๊ะประกอบเป็นที่ตั้งเครื่องบูชาในการทำบุญโอกาสต่างๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์และของเจ้านายผู้ใหญ่ในสมัยนั้น

ช่วงระยะเวลาที่ถือว่าได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับโต๊ะหมู่บูชามากที่สุดยุคหนึ่ง ก็คือ ในการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าภาษี นายอากร พ่อค้า จัดโต๊ะเครื่องบูชาเข้าไปตั้งเป็นเครื่องประดับ จำนวน ๑๐๐ โต๊ะ เป็นปฐมเหตุความนิยมในการประกวดโต๊ะเครื่องบูชา ดังนั้น ในการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูติของพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายผู้ใหญ่ หรืองานทำบุญวันคล้ายวันเกิดของผู้มีบรรดาศักดิ์ มักจะมีการประกวดโต๊ะหมู่บูชาและการจัดเครื่องบูชา เมื่อของผู้ใดดีก็จะมีรางวัลพระราชทานหรือมอบให้

เมื่อมีความนิยมการประกวดม้าหมู่ ก็ย่อมมีการดูแลรักษาเครื่องบูชาให้คงอยู่ครบชุด มีการจัดแปลงการสร้างม้าหมู่บูชาให้มีความวิจิตรสวยงาม เป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาและฝีมือเชิงช่างของนายช่างไทย ดังที่ได้พระนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับข้อกำหนดการพิจารณาม้าหมู่หรือโต๊ะหมู่ของคณะผู้จัดการประกวดในสมัยนั้นข้อหนึ่ง คือ 'ตัวม้าหมู่นั้นควรใช้ของทำประเทศนี้ ถ้ายิ่งฝีมือการทำประณีต และการจัดโต๊ะหมู่บูชาความคิดประกอบม้าสูงต่ำให้ได้ทรวดทรงงดงาม ก็ยิ่งถือเป็นการทำด้วยการมีความคิดริเริ่มจัดแปลงให้สวยงามเหมาะสมได้สัดส่วน ผู้เป็นเจ้าของโต๊ะหมู่ชุดนั้นก็เป็นผู้สมแก่รางวัล'

ที่เป็นดังนี้เพราะต้องการส่งเสริมให้ช่างไม้ไทยได้มีความคิดในการจัดแปลงและสร้างม้าหมู่อันเป็นการแสดงออกถึงศิลปะและฝีมือเชิงช่างของนายช่างไทยที่มีลักษณะอันอ่อนช้อยและสวยงาม เป็นการแสดงให้เห็นวัฒนธรรมทางด้านศิลปะของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์ในการคิดลวดลายเป็นแบบเฉพาะของตนเอง และต่อมาก็มีการจัดสร้างโต๊ะตัวล่างเป็นฐานสำหรับรองรับม้าหมู่เพื่อให้มีความสะดวกในการจัดตั้ง เนื่องจากเมื่อนำม้าหมู่ไปจัดตั้งในสถานที่ทำบุญบางแห่งซึ่งมีพื้นที่ไม่เสมอกัน ก็จะต้องจัดหาวัสดุมารองรับที่ฐานของม้าหมู่แต่ละตัวให้มีความเสมอกันและสวยงามซึ่งทำได้ยาก เมื่อมีโต๊ะตัวล่างสำหรับตั้งเป็นฐานไว้รองรับกลุ่มโต๊ะหมู่หรือม้าหมู่แล้ว ทำให้ตั้งโต๊ะหมู่ได้ง่าย เกิดความเด่นและมีความสวยงามเพิ่มขึ้น ถือเป็นการพัฒนาด้านความคิดในการจัดสร้างโต๊ะหมู่ของนายช่างไม้ของไทย

การจัดโต๊ะหมู่บูชาถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันสำคัญประการหนึ่งของสังคมไทย ปฏิบัติสืบทอดและสืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น พระราช ประเพณี หรือพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือประเพณีต่างๆ ของสังคมไทย จึงจัดโต๊ะหมู่บูชาในการประกอบพิธี เป็นการแสดงออกถึงการบูชาต่อสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะสูงยิ่งตามที่บรรพบุรุษได้กระทำเป็นแบบอย่างไว้
....ที่มา หนังสือการจัดโต๊ะหมู่บูชา, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๕๓




ดอกไม้ ธูป เทียน และปัจจัย สำหรับถวายแด่พระสงฆ์
(เงินแทนปัจจัย ๔ หรือจตุปัจจัย - มอบให้สงฆ์นำไปซื้อหาตามความเหมาะสม)




เครื่องรับรองพระ อันสมควรแก่สมณบริโภค เช่น น้ำสะอาด หรือน้ำร้อน หรือน้ำชา เป็นต้น



 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2562 11:40:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2562 11:39:11 »






การเตรียมสถานที่และเครื่องใช้ในพิธีทางพุทธศาสนา


คนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และมักจะบำเพ็ญกุศลทางศาสนาในโอกาสสำคัญๆของการดำรงชีวิต ทั้งที่เป็นงานมงคล เช่น การโกนผมไฟ ตัดจุก ฉลองอายุ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และงานอวมงคล เช่น ทำบุญในงานศพ ซึ่งมีผู้ถาม "ปถพีรดี" ขอความรู้เรื่องการจัดเตรียมงานอยู่เสมอ จึงขอเสนอเกี่ยวกับการจัดงานมงคลก่อน

งานมงคล เช่น การทำบุญโกนผมไฟเด็ก ตัดจุก ขึ้นบ้านใหม่ วันเกิดฉลองอายุ มงคลสมรส

สถานที่ ส่วนใหญ่ถ้าจัดที่บ้าน ควรมีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะจัดพิธีกรรม โดยเฉพาะการนิมนต์พระมาสวดมนต์ และควรให้มีบริเวณจัดไว้รับรองแขกที่มาร่วมงาน หรืออาจจัดตามสถานที่ของหน่วยงาน เช่น หอประชุม หรือห้องจัดกิจกรรม

การนิมนต์พระ ควรเขียนเป็นฎีกาเพื่อเป็นหลักฐาน โดยแจ้งวัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ที่ชัดเจน พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้นิมนต์ ที่อยู่ การเขียนนิมนต์พระมาสวดในงานมงคล "นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์" แต่ถ้านิมนต์มาสวดในงานอวมงคล เช่น งานศพ ให้เขียนว่า "นิมนต์มาสวดมนต์"

การนิมนต์มาเลี้ยงอาหาร ให้เขียนให้ถูกต้องว่า นิมนต์มารับอาหารบิณฑบาตเช้า ฉันเช้า หรือฉันเพล ไม่ควรเขียนว่า นิมนต์มาฉันอาหาร หรือฉันข้าว เพราะผิดวินัยบัญญัติ

จำนวนพระที่นิยมนิมนต์ โดยทั่วไปนิยมนิมนต์ ๕ รูป ๗ รูป ๙ รูป ๑๐ รูป

งานมงคลสมรส นิยมนิมนต์ พระจำนวนคู่ ๖ รูป ๘ รูป ๑๐ รูป

การทำบุญอายุ ถ้าไม่ต้องการให้เป็นพิธีใหญ่ต้องจัดการมาก อาจนิมนต์มารับสังฆทาน คือจัดอาหารไว้เป็นปิ่นโต ไม่ต้องเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระ แต่พระจะสวดอำนวยพร

การจัดสถานที่ ควรดูแลบริเวณให้สะอาดเรียบร้อย ไม่มีสิ่งของรกรุงรัง เช่น โต๊ะ ตู้ โทรทัศน์ ถ้ายกย้ายไม่ได้ ให้ใช้ม่านผ้าขึงบังไว้ ถ้าเป็นพื้นที่ข้างฝาเรียบอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขึงผ้าม่านบัง

บริเวณที่ทำพิธี ควรปูลาดด้วยเสื้อหรือพรม ทั้งในส่วนที่ทำพิธีสงฆ์ และส่วนรับรองแขกที่ต้องนั่งราบกับพื้น ในปัจจุบัน มักให้แขกนั่งเก้าอี้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องจัดที่นั่งพระเจริญพระพุทธมนต์เป็นยกพื้นสูงขึ้นเสมอเก้าอี้ที่ให้แขกนั่ง ไม่ให้พระนั่งต่ำกว่าแขก เครื่องปูลาดนี้ ถ้าปูทับกัน ให้จัดด้านพระพุทธรูปและพระสงฆ์เป็นด้านสูง ให้ด้านสูงทับบนด้านต่ำ

การจัดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ จัดยาวให้เป็นแถวเพียงพอจำนวนพระนั่ง ถ้าจัดบนพื้นราบระดับเดียวกับคฤหัสถ์หรือคนทั่วไปนั่ง ให้ยกอาสนะปูทับบนที่นั่งของคนทั่วไป เพื่อให้ระดับของพระสูงกว่า และควรแยกที่นั่งของคนทั่วไป หากไม่จัดให้อาสนะพระสูงกว่า พระสงฆ์นั่งรวมบนเครื่องปูลาดผืนเดียวกับสตรี พระจะอาบัติ ข้อสำคัญ ห้ามจัดอาสนะสงฆ์ให้พระนั่งบนพื้นที่ราบ แล้วจัดให้คฤหัสถ์นั่งบนเก้าอี้เป็นอันขาด เพราะเป็นเรื่องต่ำ-สูงไม่บังควร เว้นแต่พระสงฆ์นั่งบนยกพื้นต่างหาก แขกหรือคฤหัสถ์จึงจะนั่งเก้าอี้ได้

เครื่องรับรองพระ มีที่น้ำร้อนและที่น้ำเย็น อาจเป็นภาชนะกระบะมุก หรือชุดเครื่องแก้วพวง หรือถ้วยมีจานรอง จัดไว้ด้านขวา นำถวายเมื่อพระมาถึง

เครื่องบูชาและตั้งพระพุทธรูป ตั้งม้าหมู่ ซึ่งมี ชุดห้า ชุดเจ็ด ชุดเก้า ตามความสะดวก หรือหากไม่มีชุดม้าหมู่ อาจตั้งโต๊ะเดี่ยวเพื่อตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปตามพระสงฆ์ เพื่อสะดวกในการจุดธูป เทียน และกราบไหว้ พระพุทธรูปที่ตั้งควรเป็นปางสมาธิ หรือปางมารวิชัย

เครื่องสักการะ ที่จัดเป็นหลักมี ๓ อย่าง คือ ดอกไม้ ธูปเทียน ตั้งบนม้าหมู่ หรือโต๊ะบูชาอย่างน้อย ๕ ที่คือ ดอกไม้ ๒ ที่ซ้ายขวา เทียน ๒ ที่ กระถางธูปสำหรับปักธูป ๓ ดอก ๑ ที่ อย่าลืมใช้น้ำมันยางหรือน้ำมันเล็กน้อย  ชุบปลายธูปเพื่อให้จุดติดง่าย หน้าโต๊ะเครื่องสักการะ ปูผ้าหรือพรมผืนเล็กๆ หรือวางหมอนไว้สำหรับเป็นที่กราบพระ ไม่ควรตั้งโต๊ะกราบ เพราะโต๊ะกราบใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

ภาชนะน้ำมนต์ หรือหม้อน้ำมนต์ นิยมใช้ครอบสำริด อาจเป็นครอบทองเหลืองหรือทองแดงก็ได้ ถ้าไม่มีครอบ ใช้บาตรหรือขันก็ได้ ใส่น้ำไว้พอสมควรสำหรับทำน้ำมนต์ประพรมเป็นสิริมงคล ถ้าเป็นพิธีตัดจุกหรือมงคลสมรสต้องใช้น้ำมาก เพิ่มบาตรหรือหม้อน้ำมนต์ขึ้นก็ได้ ส่วนเครื่องประพรมน้ำมนต์ นิยมใช้หญ้าคามัดเป็นกำเล็กๆ ตัดปลาย หรือยาวประมาณ ๑ ศอก

สิ่งของเครื่องใช้ในพิธีมงคล
ก. งานมงคล โกนผมไฟ ตัดจุก ควรเตรียมสังข์ โถปริกใส่กระแจะ กรรไกร กรรบิด (มีดโกน) บางแห่งมีหญ้าแพรก ใบบัวหลวง หรือใบบอนหรือใบบัวรองรับผมที่ตัดหรือโกนแล้วด้วย

ข. งานมงคลสมรส ต้องเตรียมสังข์สำหรับรดน้ำบ่าวสาว มงคลคู่ทำด้วยด้ายสายสิญจน์ สำหรับสวมศีรษะบ่าวสาว (สายมงคลควรกะให้ห่างพอดี)

ค. งานขึ้นบ้านใหม่ เตรียมโถปริกใส่กระแจะสำหรับเจิมประตูบ้าน ทรายใส่ภาชนะ เช่น บาตร จะได้ใช้ทรายโรยรอบบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและป้องกันอันตราย ครอบน้ำมนต์ นำเข้าตั้งถวายพระ เมื่อท่านเข้านั่งที่แล้ว รวมทั้งโถปริก ตั้งไว้ด้านซ้ายของเครื่องบูชาในที่อันเหมาะ เพื่อพระใช้เจิม

เทียนสำหรับทำน้ำมนต์ ควรใช้ขี้ผึ้งแท้ นิยมใช้ขนาดหนัก ๑ บาท หย่อนหรือเกินเล็กน้อยก็ได้ ติดไว้ที่ขอบภาชนะใส่น้ำมนต์

การทำบุญอายุ ถ้าเกิดวันใด ให้เริ่มนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในวันนั้น เช่น เกิดวันที่ ๕ เจริญพระพุทธมนต์วันที่ ๕ แล้วเลี้ยงพระในวันที่ ๖ ถ้าจัดงานวันเดียว ก็เจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระในวันเดียวกัน ในการทำบุญอายุตามที่นิยมกัน อาจจะบำเพ็ญกุศลให้แก่บุรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก่ บังสุกุล กรวดน้ำอุทิศกุศลด้วยก็ได้

การวางด้ายสายสิญจน์ สายสิญจน์คือ ด้ายดิบ จับเป็น ๓ หรือ ๙ เส้น ส่วนมากนิยม ๙ เส้น ในงานมงคล นิยมวางสายสิญจน์ล้อมรอบบ้าน เริ่มแต่ที่องค์พระพุทธรูป เวียนขวาออกจากที่ตั้งพระพุทธรูปในบ้าน วงไปรอบบ้านแล้วกลับมาที่จุดเริ่ม โดยพันไว้ที่พระหัตถ์หรือฐานส่วนบนของพระพุทธรูป ไม่ควรพันรอบองค์พระเพราะดูไม่งาม และดูคล้ายมัดพระพุทธรูป เมื่อวงแล้ววางม้วนสายสิญจน์ไว้ในพาน หน้าพระภิกษุที่เป็นประธานสงฆ์ พระภิกษุจะวงสายสิญจน์รอบภาชนะใส่น้ำมนต์ต่อไป

ควรระมัดระวัง ไม่ข้ามกราบสายสิญจน์ ไม่ว่าพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ ถ้าจำเป็นให้ใช้วิธียกสายสิญจน์ขึ้นสูงแล้วลอดใต้สายสิญจน์ และควรเตรียมทุกสิ่งให้พร้อมก่อนเวลาพระสงฆ์มาถึง

การต้อนรับพระสงฆ์ เตรียมน้ำไว้ล้างเท้าพระ เพราะท่านเดินมาโดยไม่สวมรองเท้า เมื่อล้างแล้ว มีผ้าใช้เช็ดเท้าพระให้แห้งด้วย ถ้าพระสวมรองเท้าก็ควรเตรียมที่เช็ดเท้าและที่วางรองเท้าพระไว้ จัดวางรองเท้าพระให้เรียบร้อย เมื่อพระเข้านั่งประจำที่แล้ว เจ้าภาพหรือเจ้าของงานเข้าไปประเคน (ถวาย) สิ่งของที่เตรียมไว้ เช่น แก้วน้ำ พานหมากพลู (ถ้ามี) ประเคนแล้วกราบ ๓ ครั้ง สิ่งที่ประเคนแล้ว ห้ามหยิบหรือยกย้ายหรือสัมผัสจับต้องของนั้นๆอีก มิฉะนั้นต้องประเคนใหม่

การเริ่มพิธี เมื่อพระสงฆ์นั่งที่อาสนะและประเคนถ้วยน้ำหมากพลูแล้ว เริ่มพิธี เจ้าภาพหรือเจ้าของงานหรือผู้รับมอบหมายจุดธูป เทียน โดยใช้เทียนชนวน คือเทียนที่ติดปักไว้กับเชิง จุดเทียนชนวนแล้วนำไปจ่อติดกับเทียนบนม้าหมู่ หรือโต๊ะบูชา

ก่อนจุดเทียนให้กราบพระก่อน ๓ ครั้ง คือ กราบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (พระรัตนตรัย) แล้วจึงจุดเทียนด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน คือเทียนข้างซ้ายมือของผู้จุด แล้วจึงจุดข้างขวา ต่อไปจุดธูป แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นึกในใจหรือจะออกเสียงก็ได้ว่า 

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ 

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ 

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
  แล้วกราบ ๓ ครั้ง ครั้งแรกบูชาในใจว่า พุทธังวันทามิ ครั้งที่สองว่า ธัมมังวันทามิ ครั้งที่สามว่า สังฆังวันทามิ

หรือจะสวดบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้ ก็ได้

กราบครั้งที่ ๑ อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

กราบครั้งที่ ๒ สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ

กราบครั้งที่ ๓ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ

เมื่อบูชาพระและกราบพระเสร็จแล้ว ถวายพานสายสิญจน์แก่ประธานสงฆ์ แล้วเริ่มอาราธนาศีล เจ้าของงานจะอาราธนาเอง หรือให้ผู้ที่ชำนาญปฏิบัติก็ได้ โดยนั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าวอาราธนาศีล ดังนี้

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณ นะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณ นะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณ นะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ


ต่อจากนั้น ประธานสงฆ์ให้ศีลห้า ผู้ร่วมงานรับศีลโดยกล่าวตามรับศีลแล้ว กราบ ๓ ครั้ง

การจุดเทียนน้ำมนต์ ในพิธีการบำเพ็ญกุศล เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ถึงมงคลคาถาว่า "อเสวนา..." เป็นเวลาที่เจ้าของงานต้องจุดเทียนทำน้ำมนต์ที่ปักไว้ที่ขอบภาชนะน้ำมนต์ จุดแล้วภาชนะหรือหม้อน้ำมนต์ประเคนถวายพระ การจุดเทียนน้ำมนต์ เจ้าของงานควรจุดเอง

ในการนี้ ถ้าเจ้าของงานขอให้ประธานสงฆ์ประพรมม้ำมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลจะต้องเตรียมเครื่องมือประพรมน้ำมนต์ ที่นิยมใช้คือ ใช้ก้านมะยมซึ่งมีปลายแข็ง มัดรวมกันเป็นกำพอมือจับ ประธานสงฆ์ซึ่งจะเป็นผู้ประพรมน้ำมนต์จะจุ่มปลายกำมะยมลงในภาชนะใส่น้ำมนต์ แล้วเดินไปประพรมผู้มาร่วมบำเพ็ญกุศลหรือประธานสงฆ์จะนั่งอยู่ที่บนอาสนะ แล้วให้เจ้าของงานและผู้มาร่วมงานเข้ามารับน้ำมนต์ โดยจัดเป็นกลุ่มๆก็ได้ ถ้าประธานสงฆ์เดินไปประพรมน้ำมนต์ ต้องจัดผู้ถือภาชนะใส่น้ำมนต์เดินตามท่าน

เมื่อพระสงฆ์ให้พร "ยะถา สัพพี" แล้ว พระสงฆ์กลับวัด จัดให้มีคนดูแล จัดรองเท้าให้พระ และจัดคนไปส่งพระ ถ้าพระมีรถมาเอง ส่งจนพระสงฆ์ขึ้นรถแล้ว ถ้าไม่มีรถ ให้จัดรถส่งพระกลับถึงวัด

พิธีเลี้ยงพระ วันรุ่งขึ้นจากวันสวดมนต์เย็น มีพิธีเลี้ยงพระเช้า เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่จัดงานแล้ว เริ่มจุดเทียนอาราธนาศีล และรับศีลเช่นเดียวกับวันก่อน

ถ้าเป็นงานมงคลสมรส นิยมให้บ่าวสาวตักบาตรร่วมกันตอนเช้า และถ้ามีการเลี้ยงพระ ให้คู่บ่าวสาวร่วมกันประเคนอาหารพระสงฆ์

ส่วนการเลี้ยงพระ ควรจัดเตรียมที่ฉัน จัดอาหาร และเครื่องใช้ให้พร้อม ในปัจจุบัน มีธุรกิจการจัดอาหารเลี้ยงพระ เลี้ยงแขก ซึ่งเจ้าภาพจะได้รับความสะดวก หรือจะจ้างโต๊ะจีนมาก็ได้ ในการนี้ ให้ดูแลน้ำดื่ม และอย่าลืมช้อนกลางสำหรับตักอาหารด้วย ถ้าเลี้ยงพระเป็นอาหารโต๊ะ ให้จัดอาหารไว้ให้พร้อม แล้วจึงนิมนต์พระเข้าโต๊ะ การเลี้ยงแบบโบราณ นิยมจัดอาหารเป็นชุดสำรับ หรือใส่โตกถวายเฉพาะรูป ระหว่างพระฉัน จัดคนดูแลอาหาร ถ้าหมดถ้วยควรสั่งให้เติมอาหารให้เพียงพอ พระสงฆ์อาจจะฉันช้าบ้างเร็วบ้าง ถ้ายังฉันอาหารคาวยังไม่เสร็จทุกรูป อย่าเพิ่งนำของหวานไปประเคน เพราะจะเป็นการเร่งพระที่ยังฉันไม่เสร็จ

เมื่อพระฉันเสร็จ พระจะสวดอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ จัดหาอุปกรณ์เครื่องกรวดน้ำใส่น้ำไว้ให้พร้อม ถ้าไม่มีที่กรวดน้ำ ก็ใช้ถ้วยแก้วใส่น้ำก็ได้

การกรวดน้ำ ขณะพระสวดอนุโมทนา เจ้าภาพเทน้ำจากเครื่องกรวดน้ำ ไม่ต้องใช้นิ้วมือกั้นน้ำ และเมื่อพระสวดมาถึงข้อความว่า "ยะถา" และขึ้นคำว่า "สัพพี" ให้เทน้ำที่กรวดให้หมด แล้วนำออกไปเทที่โคนต้นไม้นอกอาคารหรือเทลงดิน ถ้ามีน้ำมนต์ ประธานสงฆ์จะประพรมน้ำมนต์ (ดังกล่าวแล้ว) เป็นเสร็จพิธี ถ้าเป็นการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ให้นิมนต์ประธานสงฆ์เจิมประตูบ้าน ประตูห้อง พรมน้ำมนต์ที่ประตูห้องต่างๆด้วย แล้วถวายทรายให้โปรยรอบบ้าน เป็นเสร็จพิธี


(ข้อมูล- เว็บไซต์ .keepitthai.com: คู่มือปฏิบัติศาสนพิธี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางระเบียบ ศิลปวิจิตร, ๒๕๒๒.)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 14:35:45