[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 05:19:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 134018 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2553 20:39:52 »





มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เสร็จไปหาพระนาคเสนแล้ว
ทรงปราศรัยพอให้เกิดความร่าเริงยินดีแล้วก็ประทับนั่ง
ฝ่ายพระนาคเสนก็แสดงความชื่นชมยินดี
ทำให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามิลินท์
ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมประสงค์จะสนทนาด้วย "
พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
" เชิญสนทนาเถิด มหาบพิตร อาตมภาพใคร่จะฟัง "
" โยมสนทนาแล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงฟังเถิด "
" อาตมภาพฟังอยู่แล้ว มหาบพิตรเชิญเจรจาเถิด "

" พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรเจรจาว่าอย่างไร ? "
" โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า "
" จงถามเถิด มหาบพิตร "
" โยมถามแล้ว "
" อาตมภาพก็แก้แล้ว "

" พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรถามว่าอย่างไร ? "


เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว พวกโยนกเสนาทั้ง ๕๐๐
ก็เปล่งเสียง สาธุการ ถวายพระนาคเสน
แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า
คราวนี้ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหาต่อไปเถิดพระเจ้าข้า "





: http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=205.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2555 19:24:04 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #221 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 15:40:40 »



ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องพ้นจากบ่วงมรณะ

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามปัญหาสืบไปว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายจะเร้นซ่อนตนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตาม ที่พ้นความตายไม่มี ที่ความตายจะครอบงำไม่ได้ไม่มีดังนี้ แต่ได้ทรงแสดงพระปริตร คือพระพุทธมนต์อันเป็นเครื่องป้องกันไว้พระปริตรนั้นได้แก่อะไรบ้างคือ ขันธปริตร ๑ สุวัตถิปริตร ๑ โมรปริตร ๑ ธชัคคปริตร ๑ อาฏานาฏิยปริตร ๑ ถ้าผู้อยู่ในอากาศ หรือในท่ามกลางมหาสมุทร หรืออยู่ในท่ามกลางภูเขา ไม่พ้นจากอำนาจความตายแล้ว พระปริตรนั้นก็ผิดไป ถ้าพ้นจากความตายด้วยพระปริตรคำว่า "ที่ความตายไม่ครอบงำไม่มีนั้น" ก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ยุ่งยากมากขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้ง่ายเถิด"

พระนาคเสนจึงตอบว่า
" ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้อย่างนั้นจริง และได้ทรงแสดงพระปริตรไว้เป็นอันมากจริง พระปริตรนั้นย่อมป้องกันได้เฉพาะผู้ที่ยังไม่หมดอายุขัย ทั้งไม่มีบุพพกรรมมาตัดรอนเท่านั้น ส่วนผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว ไม่สามารถที่กระทำอย่างใดที่จะให้มีอายุสืบต่อไปได้ ขอถวายพระพร

ต้นไม้ที่ตายแล้วแห้งผุแล้ว ไม่มียางแล้ว มีเปลือกกระพี้ร่วงไปหมดแล้ว ถึงจะตักน้ำมารดวันละพันโอ่งก็ตาม ต้นไม้แห้งนั้นก็ไม่กลับสดเขียวขึ้นได้อีกฉันใด ผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว จะทำให้มีอายุด้วยยา หรือด้วยพระปริตรก็ไม่ได้ฉันนั้น

ยาทั้งสิ้นในแผ่นดินนี้ ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ที่หมดอายุขัยแล้ว มีประโยชน์แก่ผู้มีอายุขัยยังเหลืออยู่เท่านั้น พระปริตรทั้งหลายก็รักษาคุ้มครองอยู่แต่ผู้ยังไม่ถึงที่ตาย ผู้ไม่มีบุพพกรรมตามทันเท่านั้น สมเด็จพระทรงธรรม์ได้ทรงแสดงพระปริตรไว้เพื่อผู้มีอายุขัยยังเหลืออยู่ ทั้งไม่มีบุพพกรรมเท่านั้น ชาวนาเมื่อข้าวแก่แล้ว ก็กั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าไปในนา ส่วนข้าวกล้าที่ยังไม่แก่ ก็งอกงามขึ้นด้วยน้ำที่มีอยู่ฉันใด ยากับพระปริตรก็มีไว้สำหรับผู้ยังมีอายุขัยเหลืออยู่ฉันนั้น"

" ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าผู้หมดอายุขัยแล้วย่อมตายไป ผู้ยังไม่หมดอายุขัยก็ยังมีชีวิตอยู่เป็นธรรมดา พระปริตรกับยาก็ไม่มีประโยชน์อันใด ? "
" ขอถวายพระพร ผู้ที่หายจากโรคด้วยยา มหาบพิตรเคยเห็นหรือไม่? "

" เคยเห็นหลายร้อยราย พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น คำที่มหาบพิตรว่า ยากับพระปริตรไม่มีประโยชน์ก็ผิดไป"

" ข้าแต่พระนาคเสน โรคย่อมหายไปด้วยการกระทำของหมอทั้งหลายมีปรากฏอยู่"
" ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้เคยทรงสดับเสียงของผู้สวดพระปริตรจนสิ้นแห้งอ่อนใจ คอแหบ แล้วหายจากความเจ็บไข้ทั้งปวง หายจัญไรทั้งปวง และเคยเห็นหรือไม่ว่า ผู้ถูกงูกัดแล้วหายด้วยอำนาจมนต์? "
" เคยได้สดับ ผู้เป็นเจ้า เพราะในโลกได้เคยมีอย่างนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ "

" ขอถวายพระพร กุศลที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญมานั้น เป็นของที่ให้สำเร็จประโยชน์ แต่กุศลนั้นอันมารผู้ใจบาปปิดไว้เสียด้วยกำลังอกุศลจิตอันแรงกล้าของตน "
"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น ก็จะมีคำกล่าวเข้ามาได้ ๒ ประการ คือประการหนึ่งว่า "อกุศลมีกำลังมากกว่ากุศล" อีกประการหนึ่งว่า " มารมีกำลังมากกว่าพระพุทธเจ้า"

ข้างปลายไม้หนักกว่าข้างต้น ผู้ที่ลามกมีกำลังกว่าผู้สมบูรณ์ด้วยความดี จะมีได้เพราะเหตุใด ? "

" ขอถวายพระพร ไม่ใช่อกุศลมีกำลังมากกว่ากุศลเลย ไม่ใช่มารมีกำลังมากกว่าพระพุทธเจ้าเลย แต่มีเหตุอยู่อย่างหนึ่งซึ่งเป็นของควรรู้ คือมีบุรุษคนหนึ่ง นำเอาน้ำผึ้ง น้ำอ้อยข้าวน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งมาถวายพระเจ้าจักรพรรดิ นายประตูบอกว่า ไม่ใช่เวลาเฝ้าพระราชา พวกท่านจงขับคนนี้ออกไปเสียโดยเร็ว อย่าให้พระราชาทรงลงโทษ บุรุษนั้นกลัวพระราชอาญา จึงรีบถือเอาของเหล่านั้นกลับไปโดยเร็ว ขอถามมหาบพิตรว่า จะว่าพระเจ้าจักรพรรดิมีกำลังน้อยกว่านายประตู ด้วยเหตุเพียงไม่ให้นำของเข้าไปถวาย ทั้งไม่ให้ผู้อื่นได้รับของนั้นด้วยหรืออย่างไร? "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่นายประตูนั้นมีกำลังมากกว่า"
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่ว่ามารที่เข้าดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีที่บ้านปัญจสาลคามด้วยความริษยานั้น จะมีกำลังมากกว่าพวกเทวดาอื่นอีกตั้งหลายแสนกล่าวกันว่า พวกเราจักถือเอาทิพยโอชาอันไม่รู้จักตายเข้าไปโปรยลงในพระกายของพระพุทธเจ้า แล้วก็พากันไปยืนประนมมือเฝ้าอยู่ "

พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้จงยกไว้ อันปัจจัย ๔ เป็นของพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในโลกนี้ได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าย่อมได้เสวยพระกระยาหารตามพระพุทธประสงค์ พระพุทธเจ้าผู้ที่เทวดาทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว ย่อมเสวยปัจจัย ๔ แต่ว่าความประสงค์อันใดของมารมีอยู่ ความประสงค์อันนั้นก็สำเร็จด้วยเหตุที่ไม่ให้พระพุทธเจ้าได้อาหารบิณฑบาต เป็นอันว่า มารได้ทำอันตรายแก่โภชนาหารของพระพุทธเจ้า โยมยังสงสัยในข้อนี้มาก เพราะสมเด็จพระบรมโลกนาถผู้ล้ำเลิศในโลก ผู้ได้สะสมบุญกุศลไว้เต็มที่แล้วผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เกลียด แต่มารยังทำอันตรายแก่ลาภอันเล็กน้อยได้ "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #222 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 15:53:03 »



อันตรายแห่งลาภ ๔ ประการ

" ขอถวายพระพร อันตรายแห่งลาภมีอยู่ ๔ ประการ คือ อทิฏฐันตราย ๑ อุทิสกตันตราย ๑ อุปักขตันตราย ๑ ปริโภคันตราย ๑

อทิฏฐันตราย นั้นคืออย่างไร ? คือมีผู้ใดผู้หนึ่งกระทำการขัดขวางซึ่งลาภ อันบุคคลตกแต่งไว้โดยเฉพาะเจาะจง และไม่ทันได้เห็นผู้จะรับด้วยการกล่าวว่า " ประโยชน์อะไรในการให้แก่ผู้อื่น " ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า อทิฏฐันตราย
อุทิสกตันตราย นั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่การขัดขวางซึ่งโภชนะ อันบุคคลจัดไว้เฉพาะเจาะจงผู้รับ

อุปักขตันตราย นั้นได้แก่สิ่งใด ? ได้แก่การขัดขวางซึ่งลาภ อันผู้ใดผู้หนึ่งตกแต่งไว้แล้ว แต่ผู้รับยังไม่ได้รับ
ปริโภคันตราย นั้นเป็นประการใด ? คือการขัดขวางลาภในขณะที่บริโภคอยู่

มหาบพิตร มารผู้ลามกได้เข้าสิงใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีในบ้านปัญจสาลคาม ไม่ให้ใส่บาตรพระพุทธเจ้านั้น เป็นการขัดลาภที่บุคคลยังไม่ได้ตกแต่งไว้ และไม่ได้กระทำไว้เฉพาะว่าจะถวาย หรือให้แก่ผู้นั้นผู้นี้ ทั้งยังไม่ได้เห็นผู้รับด้วย ไม่เข้าในลักษณะ ๔ นั้น การที่มารขัดขวางลาภคราวนั้น ไม่ใช่ขัดขวางเฉพาะลาภของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น แม้พวกนิครนถ์ทั้งหลาย ก็ไม่ได้โภชนาหารเลยในวันนั้น อาตมภาพไม่เล็งเห็นผู้จะขัดขวางลาภ ๓ ประการ คือลาภที่จะ จัดไว้เฉพาะ ๑ จัดตั้งไว้แล้ว ๑ กำลังเสวยอยู่ ๑ ของพระพุทธเจ้าได้ ถ้าผู้ใดขัดขวางลาภ ๓ ประการนี้ของพระพุทธเจ้า ด้วยความริษยาเกลียดชัง ศีรษะของผู้นั้น จะต้องแตกร้อยเสี่ยงพันเสี่ยงเป็นแน่แท้ "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #223 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:00:12 »



อนาวรณิยฐาน ๔ ประการ

" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้ามีของอยู่ ๔ ประการ ที่ไม่มีใครหวงห้ามกั้นกางได้ เรียกว่า อนาวรณิยฐาน ของ ๔ ประการนั้นคืออะไรบ้าง คือลาภที่บุคคลตั้งใจจัดไว้เฉพาะพระพุทธองค์ ๑ พระรัศมีด้านละวาที่ประจำพระองค์ ๑ พระสัพพัญญุตญาณ ๑ พระชนม์ชีพ ๑ ของ ๔ ประการนี้ ไม่มีใคร ๆ ในโลกจะทำอันตรายได้ ของ ๔ ประการนี้ มีรสเป็นอันเดียวกัน คือเป็นของที่แน่นอน คงที่ ไม่มีใครทำให้แปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ การที่มารผู้ลามกเข้าสิงใจของพวกพราหมณ์และคฤหบดี ในปัญจสาลคามคราวนั้น ด้วยการลอบเข้าสิงใจ เหมือนกับหญิงที่มีสามีลอบคบบุรุษอื่นฉะนั้น ขอถวายพระพร ถ้าหญิงคบหาบุรุษต่อหน้าสามี เขาจักได้รับความสวัสดีหรือไม่? "

" ไม่ได้รับเลย พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสามีได้เห็นก็จะต้องฆ่าตี จองจำ หรือปลดให้เป็นทาสี อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่"

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือมารลอบเข้าสิงใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีในบ้านปัญจสาลคาม ถ้าได้กระทำอันตรายแก่ลาภของพระพุทธเจ้า ที่เขาทำไว้ด้วยตั้งใจถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ยกเข้าไปตั้งไว้แล้วหรือพระพุทธเจ้ากำลังเสวยอยู่ มารนั้นจะต้องแหลกเป็นผงไปเหมือนขี้เถ้า หรือไม่อย่างนั้นศีรษะของศีรษะของมารนั้น ก็จะต้องแตกออกไปร้อยเสี่ยงพันเสี่ยง

อีกประการหนึ่ง เหมือนกับพวกโจรลอบทำร้ายคนเดินทาง ในปลายแดนพระราชอาณาเขต พระราชาได้พบเห็นก็จะต้องให้ผ่าศีรษะของโจรนั้น ด้วยขวานให้แตกเป็นร้อยเสี่ยงพันเสี่ยงฉะนั้น ขอถวายพระพร"

" สาธุ... พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้ลึกซึ้งยากยิ่งนัก ยากที่บุคคลอื่นจะแก้ไขได้ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งกระจ่างแล้ว โยมจะขอรับเอาไว้ในกาลบัดนี้ "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #224 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:12:39 »



ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องทรงบำเพ็ญ ประโยชน์แก่สรรพสัตว์

พระเจ้ามิลินท์มีพระราชดำรัสถามว่า

" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สมเด็จพระบรมศาสดามีแต่กำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายออกไปทรงเพิ่มให้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ดังนี้

แล้วกล่าวไว้อีกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยาย อันเปรียบด้วยกองเพลิงให้ภิกษุทั้งหลายฟัง จิตของภิกษุ ๖๐ รูป ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ภิกษุอีก ๖๐ รูปก็ได้สึกไป ส่วนภิกษุอีก ๖๐ รูป ก็อาเจียนเป็นโลหิตออกมา

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้ามีแต่กำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย แล้วเพิ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ คำว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิง โลหิตร้อน ๆ ก็พลุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป" นั้นก็ผิด

ถ้าคำว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิง โลหิตร้อน ๆ ก็พลุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป" นั้นถูก คำว่า "พระพุทธเจ้าทรงกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย เพิ่มให้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นก็ผิด "

ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ถอนได้ยากลึกมาก ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว "

พระนาคเสนถวายพระพรว่า

" มหาราชะ ข้อว่า พระพุทธเจ้าทรงกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายออกไปเสีย เพิ่มแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ก็ถูก คำว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปริยายอันเปรียบด้วยกองเพลิง โลหิตร้อน ๆ ของภิกษุ ๖๐ รูปได้พลุ่งออกมาจากปากนั้น ก็ถูก แต่ว่าการที่โลหิตร้อน ๆ พลุ่งออกจากปากภิกษุเหล่านั้น ไม่ใช่ด้วยการกระทำของพระพุทธเจ้า เป็นด้วยการกระทำของภิกษุเหล่านั้นต่างหาก "

" ข้าแต่พระนาคเสน การแก้อย่างนี้ไม่มีเหตุผลเพียงพอ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงธรรมปริยาย อันเปรียบด้วยกองเพลิงหรือภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ฟัง โลหิตร้อน ๆ จะพลุ่งออกจากปากของภิกษุเหล่านั้นหรือ ? "

" ขอถวายพระพร ไม่พลุ่ง ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติผิดได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย โลหิตร้อน ๆ ก็ได้พลุ่งออกจากปากด้วยความเร่าร้อนนั้น "

" เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าได้ทรงกระทำให้ภิกษุเหล่านั้น อาเจียนเป็นโลหิตออกมา ข้าแต่พระนาคเสน เปรียบเหมือนงูเลื้อยเข้าไปอยู่ในรูจอมปลวก มีบุรุษคนหนึ่งต้องการฝุ่นดิน จึงไปขุดจอมปลวกนำฝุ่นไป ดินก็ได้ไปถมรูจอมปลวก งูหายใจไม่ได้ก็ต้องตาย จะว่างูนั้นตายเพราะการกระทำของบุรุษนั้นได้หรือไม่ ? "

"ได้ มหาบพิตร "

" ข้อนี้มีอุปมาฉันนั้นแหละ พระนาคเสน ก็เป็นอันว่า ภิกษุเหล่านั้นอาเจียนเป็นโลหิตร้อน ๆ ออกมาด้วยการกระทำของพระพุทธเจ้า "

"ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมไม่ได้ทรงแสดงด้วยความคิดยินดียินร้ายอย่างไร ทรงแสดงด้วยปราศจากความยินดียินร้าย เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธรรม พวกใดปฏิบัติถูก พวกนั้นก็รู้ธรรม พวกใดปฏิบัติผิด พวกนั้นก็ตกไป บุรุษผู้รักษาต้นมะม่วงหรือต้นหว้า ต้นมะซาง ที่กำลังมีผล ผลเหล่าใดที่มั่นคงดี ผลเหล่านั้นก็ไม่หล่น ส่วนผลเหล่าใดมีขั้วรากเน่า ผลเหล่านั้นก็หล่นไปฉันใด สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ทรงแสดงธรรมไปตามวิถีธรรม แต่เมื่อทรงแสดงธรรม พวกใดปฏิบัติถูก พวกนั้นก็รู้ธรรม พวกใดปฏิบัติผิด พวกนั้นก็ตกไปจากธรรมฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง
พวกชาวนาอยากจะหว่านข้าวจึงไถนา เมื่อไถนาไปหญ้าก็ตายตั้งพัน ๆ ฉันใด สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรม เพื่อให้ผู้มีบารมีแก่กล้ารู้ธรรม เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่พวกปฏิบัติถูกก็รู้ธรรม พวกปฏิบัติผิดก็ตายไป เหมือนกับหญ้าทั้งหลายฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพวกมนุษย์จะหีบอ้อยด้วยต้องการน้ำอ้อย ก็นำอ้อยเข้าเครื่องหีบ บุ้ง หนอน ตัวเล็กๆ ที่อยู่ในอ้อยนั้นก็ตายไปฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถก็บีบเวไนยสัตว์ผู้มีบารมีแก่กล้าด้วยเครื่องยนต์คือ พระธรรมเพื่อให้รู้แจ้ง พวกปฏิบัติผิดก็ตายไปเหมือนตัวบุ้งตัวหนอนเล็ก ๆ ฉะนั้น "

"ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุทั้ง ๖๐ รูปนั้น ก็ตกไปด้วยพระธรรมเทศนานั้นอย่างนั้นหรือ ? "

" อย่างนั้น มหาบพิตร แต่อาตมภาพขอถามว่า ช่างถากไม้ย่อมถากไม้ให้เกลี้ยงให้ตรงใช่ไหม ? "

" ใช่แล้ว พระผู้เป็นเจ้า "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือสมเด็จพระพิชิตมารผู้รักษาบริษัท ไม่อาจให้ผู้ไม่ใช่พุทธเวไนยรู้ได้ ก็กำจัดพวกปฏิบัติผิดเสีย แล้วกระทำพวกปฏิบัติถูกให้รู้ธรรม พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปด้วยการกระทำของตน อนึ่ง โจรได้ถูกควักลูกตาเสียก็มี ถูกเสียบหลาวทั้งเป็นก็มี ถูกตัดมือตัดเท้า ตัดศีรษะก็มี เพราะการกระทำของเขาฉันใด พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปจากพระพุทธศาสนาฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง ต้นกล้วย ไม้ไผ่ แม่ม้าอัศดร ย่อมตายไปด้วยผลของตนเองฉันใด พวกปฏิบัติผิดก็ตกไปจากพระพุทธศาสนาฉันนั้น พวกภิกษุ ๖๐ รูป ได้อาเจียนเป็นโลหิตร้อน ๆ ออกมานั้น ไม่ใช่เป็นด้วยการกระทำของพระพุทธเจ้า หรือของผู้อื่นเลยเป็นด้วยการกระทำของตนต่างหาก

อีกประการหนึ่ง เหมือนดังเช่นบุรุษคนหนึ่งให้ยาอมฤตแก่คนทั้งปวง คนทั้งปวงนั้นได้ดื่มยาอมฤตแล้ว ก็หายโรคมีอายุยืนหมดจัญไร แต่อีกพวกหนึ่งหายโรคมีอายุยืน อีกพวกหนึ่งตายเพราะการทำไม่ดีของตน ขอถามว่าบุรุษผู้ให้ยาอมฤตนั้น จะได้บาปอย่างไรหรือไม่ ? "

" ไม่ได้บาปอะไรเลย ผู้เป็นเจ้า "

"ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือพระตถาคตเจ้าย่อมทรงประทานธรรมอันไม่รู้จักตายให้แก่เทพยดามนุษย์ในหมื่นโลกธาตุ พวกใดได้อบรมวาสนาบารมีมาแล้วพวกนั้นก็รู้ธรรม พวกนั้นก็ตกไปด้วยยาอมฤต คือพระธรรม พวกฟังอมตธรรมแล้วตกไปจากความเป็นสมณะนั้นเปรียบเหมือนพวกกินยาอมฤตแล้วตายไปฉะนั้น ธรรมดาโภชนะย่อมรักษาชีวิตสัตว์ทั้งปวงไว้ แต่บางคนกินแล้วก็เสียดท้องตายผู้ที่ให้โภชนะนั้นก็ไม่ได้บาปอะไร ขอถวายพระพร "

"ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ โยมขอรับทราบไว้ว่าถูกต้องดีแล้ว "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #225 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:18:34 »



ปัญหาที่ ๗ ถามถึงธรรมอันประเสริฐสุด

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พระธรรมเป็นของประเสริฐสุด ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น แต่ตรัสไว้อีกว่า คฤหัสถ์ถึงความเป็นพระโสดาบัน ละอบายภูมิทั้ง ๔ แล้ว ถึงความเห็นแล้ว รู้แจ้งศาสนาแล้ว ก็ยังกราบไหว้ลุกรับ ซึ่งพระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชนอยู่

ถ้าถือว่าพระธรรมประเสริฐสุดจริง คำที่กล่าวถึงการที่คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรปุถุชนนั้นก็ผิดไป

ถ้าคำว่า คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชนนั้นถูก คำว่าพระธรรมประเสริฐสุดในโลกนั้นก็ผิดไป

ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ แก้ได้ยาก ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิดพระคุณเจ้าข้า "

พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไว้ว่า

"ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นถูกต้องทั้งนั้น แต่ว่าเหตุที่ให้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันกราบไหว้พระภิกษุสามเณรปุถุชนนั้น มีอยู่ต่างหาก

เหตุนั้นคืออะไร ? คือ สมณกรณธรรม ๒๐ อย่าง และ เพศ ๒ อย่าง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #226 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:21:56 »



สมณกรณธรรม ๒๐ นั้นคือ

๑. มีภูมิอันประเสริฐ
๒. มีความนิยมอันเลิศ
๓. ความประพฤติอันดีงาม
๔. ธรรมเป็นเครื่องอยู่
๕. ความสำรวมอินทรีย์ ๖

๖. ความระวังปาฏิโมกข์
๗. ความอดทน
๘. ความยินดีในธรรมอันดี
๙. ความยินดียิ่งในธรรมอันแท้
๑๐. ความประพฤติในธรรมเที่ยงแท้

๑๑. ความอยู่ในที่สงัด
๑๒. ความละอาย
๑๓. ความสะดุ้งกลัว
๑๔. ความเพียร
๑๕. ความไม่ประมาท

๑๖. บำเพ็ญสิกขา
๑๗. ตั้งใจเล่าเรียนสอบถาม
๑๘. ยินดียิ่งในศีลเป็นต้น
๑๙. ไม่มีความอาลัย
๒๐. ทำสิกขาบทให้เต็ม

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #227 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:27:41 »



เพศ ๒ นั้นได้แก่ นุ่งห่มผ้าเหลือง ๑ มีศีรษะโล้น ๑

ภิกษุย่อมถือสรณกรณธรรม ๒๐ กับเพศ ๒ ไว้อย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าย่างลงสู่ภูมิของพระเสขะ ชื่อว่าย่างลงสู่ภูมิพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้นอย่างบริบูรณ์ สมควรเรียกว่าผู้ถึงซึ่งระหว่างแห่งภูมิอันประเสริฐ ผู้ถึงซึ่งที่ตั้งแห่งเหตุอันจะให้เป็นพระอรหันต์

เพราะฉะนั้น
อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันจึงควรกราบไหว้ ลุกรับ พระภิกษุปุถุชนด้วยคิดว่า
ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสมณะ คุณวิเศษอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ๑

คิดว่าท่านเข้าถึงความเป็นบริษัทอันเลิศ และได้เพื่อจะฟังปาฏิโมกข์อุทเทส เราไม่ได้ฟัง ๑
ท่านให้บรรพชาอุปสมบทได้ อาจให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ เราให้บรรพชาอุปสมบทไม่ได้ ๑

ท่านเป็นผู้ปฏิบัติในสิกขาบาท อันไม่มีประมาณ เราไม่ได้ปฏิบัติ ๑
ท่านประกอบด้วยเพศสมณะ ถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ เราห่างไกลจากเพศนั้น ๑

ท่านไม่ปล่อยขนรักแร้ เล็บมือเล็บเท้า หนวดเคราให้รกรุกรัง ทั้งไม่หวั่นไหวในกามารมณ์ ไม่ได้ประดับประดาร่างกาย ไม่ได้ลูบไล้เครื่องหอม ส่วนเรายังยินดีอยู่ในการตกแต่งร่างกาย ๑

ขอถวายพระพร สมณกรณธรรม ๒๐ กับ เพศ ๒ นั้นย่อมมีแก่ภิกษุ พระภิกษุนั้นย่อมทรงธรรมเหล่านั้นไว้ และให้ผู้อื่นศึกษาในธรรมเหล่านั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน ควรกราบไหว้ลุกรับภิกษุปุถุชน ด้วยคิดว่า ความรู้ความดีเหล่านั้น ไม่ได้มีอยู่แก่เรา "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #228 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:32:02 »



อุปมาพระราชโอรส

" ขอถวายพระพร เนื้อความข้อนี้ควรกำหนดทราบด้วยอุปมาอย่างเช่นว่า พระราชโอรสย่อมศึกษาวิชาในสำนักปุโรหิต เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้นก็ได้อภิเษกเป็นพระราชา พระราชกุมารนั้นย่อมกราบไหว้ลุกรับอาจารย์ด้วยคิดว่า เป็นผู้สอนวิชาให้ฉันใดพระภิกษุก็เป็นผู้ในศึกษา เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความสำรวม เพราะฉะนั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน จึงควรกราบไหว้ ลุก รับ ภิกษุปุถุชน

อีกประการหนึ่ง ขอจงทราบว่า ภูมิของภิกษุเป็นภูมิใหญ่ ไม่มีภูมิอื่นเสมอ เป็นภูมิไพบูลย์ด้วยปริยายอันนี้ ถ้าอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันได้สำเร็จพระอรหันต์ มีคติอยู่ ๒ คือต้องปรินิพพานในวันนั้น หรือเข้าถึงความเป็นภิกษุในวันนั้นจึงจะได้ เพราะว่าบรรพชานั้นเป็นของใหญ่ เป็นของบริสุทธิ์ เป็นของถึงซึ่งความเป็นของสูง คือภูมิของภิกษุ ขอถวายพระพร "

" ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหานี้พระผู้เป็นเจ้าผู้มีญาณ ผู้มีกำลัง ผู้มีวุฒิยิ่ง ได้ชี้แจงไว้แล้ว ผู้อื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีใครสามารถให้รู้แจ้งได้ "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #229 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:42:31 »



ปัญหาที่ ๘ ถามถึงเรื่องความไม่แตกกัน แห่งบริษัทของพระพุทธเจ้า

" ข้าแต่พระนาคเสนพระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า สมเด็จพระบรมศาสดามีบริษัทไม่แตก แต่กล่าวอีกว่า พระเทวทัตทำให้ภิกษุ ๕๐๐ แตกออกจากพระพุทธเจ้าได้ด้วยการกระทำเพียงครั้งเดียว

ถ้าพระตถาคตเจ้ามีบริษัทไม่แตกจริง ข้อที่ว่า พระเทวทัตทำให้ภิกษุ ๕๐๐ นั้นแตก ก็ผิดไป
ถ้าคำว่า พระเทวทัตทำลายภิกษุ ๕๐๐ ให้แตก นั้นถูก ข้อว่า พระตถาคตเจ้ามีบริษัทไม่แตก นั้นก็ผิดไป
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิยุ่งยากมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงกำลังญาณเถิด "

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
" มหาบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระพิชิตมารเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกจริง พระเทวทัตก็ทำให้ภิกษุ ๕๐๐ แตกไปจริง เพราะเมื่อเหตุให้แตกมีอยู่ ความต้องแตกระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่ชายกับพี่หญิง พี่หญิงกับพี่ชาย สหายกับสหาย ก็ยังต้องแตกกัน ถึงเรือที่ขนานด้วยไม้ต่าง ๆ ก็ยังแตกด้วยถูกลูกคลื่นซัด ต้นไม้ที่มีรสหวาน เมื่อปะปนกับสิ่งที่มีรสขม ก็ยังมีรสแปรไป ทองคำหรือเงินปนทองแดงก็ยังเปลี่ยนสีไปได้ ก็แต่ว่าความแตกอย่างนั้น ไม่ใช่ความประสงค์ของผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ใช่พระพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่ความพอใจของบัณฑิตทั้งหลายว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทแตก ( หมายความว่า ผู้รู้ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลาย ไม่ลงความเห็นว่า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทแตก )

ข้อที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกนั้นมีอยู่ คือพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกด้วยกระทำ หรือด้วยการถือเอา หรือด้วยการกล่าวถ้อยคำอันไม่เห็นเป็นที่รัก หรือด้วยการไม่ช่วยเหลือ หรือด้วยการวางตนไม่สมควรของพระพุทธเจ้าเอง ขอถวายพระพร

ความข้อนี้มีปรากฏอยู่ในพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ หรือไม่ว่าบริษัทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แตกไป ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงกระทำไว้ ในเวลายังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ? "

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสยอมรับว่า
" ไม่มีเลยพระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เคยได้ฟังเลยว่า บริษัทของพระตถาคตเจ้าได้แตกไปด้วยกรรมที่พระองค์กระทำไว้ ในเมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ โยมจึงขอรับว่าพระผู้เป็นเจ้าแก้ไขข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #230 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:48:41 »



ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องการทำบาปของผู้ไม่รู้

สมเด็จพระบรมกษัตริย์แห่งสาคลนครจอมบพิตรอดิศร ตรัสถามอรรถปัญหาอีกว่า

" ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่า ผู้ไม่รู้ทำปาณาติบาต ย่อมได้บาปมากกว่าผู้รู้ แต่กล่าวไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ ดังนี้

ถ้าผู้ไม่รู้ทำปาณาติบาต ได้บาปมากกว่าคำว่า " ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ" ก็ผิดไป
ถ้าคำว่า " ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ " นั้นถูก คำว่า " ผู้ไม่รู้ทำปาณาติบาตได้บาปมากกว่า " ก็ผิดไป
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ข้ามไปได้ยากนะ พระคุณเจ้าข้า "

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า
" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าได้ตรัสไว้จริงว่า ผู้ไม่รู้ทำปาณาติบาต ย่อมได้บาปมากกว่า และที่ทรงบัญญัติไว้ก็จริงว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ แต่ความหมายในข้อนี้มีอยู่ต่างหาก คืออย่างไร...คืออาบัติแยกเป็นหลายอย่างเช่น เป็น สัญญาวิโมกข์ คือพ้นเพราะรู้ เพราะเข้าใจก็มีและที่เป็น นสัญญาวิโมกข์ คือไม่พ้นเพราะรู้ เพราะเข้าใจก็มี ข้อที่ว่า ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัตินั้น หมายอาบัติที่เป็น สัญญาวิโมกข์ ขอถวายพระพร "

" ถูกดีแล้ว พระนาคเสน "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #231 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2554 16:59:24 »



ปัญหาที่ ๑๐ ถามเรื่องความไม่ทรงห่วงพระภิกษุสงฆ์

" ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า
" ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตเจ้าย่อมไม่คิดว่า เราปกครองภิกษุสงฆ์ หรือภิกษุสงฆ์มุ่งเฉพาะเรา " ดังนี้

แต่เมื่อจะทรงแสดงสภาวคุณของ พระเมตไตรยโพธิสัตว์เจ้า ก็ได้ตรัสไว้ว่า
" พระศรีอาริยเมตไตรยนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์ไม่ใช่พันเดียว เหมือนเราบริหารพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ร้อยเดียวอยู่ในบัดนี้" ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า " เราไม่ได้คิดว่าเราบริหารพระภิกษุสงฆ์ หรือว่าพระภิกษุสงฆ์มุ่งเฉพาะต่อเรา" นั้นถูก คำที่ว่า " พระเมตไตรยโพธิสัตว์เจ้า จะบริหารพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่พันเดียว เหมือนเราบริหารภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ร้อยเดียวอยู่ในบัดนี้" ก็ผิดไป

ถ้าคำนี้ถูก คำที่ว่า " พระพุทธเจ้าไม่ได้คิดว่า เราบริหารภิกษุสงฆ์" ก็ผิดไป
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด"

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
" ข้อความทั้งสองข้อนั้น จริงทั้งนั้น ถูกทั้งนั้น แต่ว่าในปัญหาข้อนี้ ข้อหนึ่งเป็นคำมีเศษ อีกข้อหนึ่งเป็นคำไม่มีเศษไม่มีเหลือ ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าไม่ใช่ผู้ติดตามบริษัท ส่วนบริษัทก็ไม่ได้ติดตามพระตถาคตเจ้า คำว่า "เรา...ของเรา" เป็นคำสมมุติ ไม่ใช่คำปรมัตถ์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ได้ปราศจากความรัก ความใยดีเสียแล้ว การถือว่าเป็น " ของเรา " ย่อมไม่มีแก่พระองค์ แต่มีการอาศัยเนื่องถึงเท่านั้น"

ต่อที่ # ๒๔๐  http://agaligohome.com/index.php?topic=205.240

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #232 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 01:26:35 »



อุปมาอุปมัย

" แผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่บนภาคพื้น แต่แผ่นดินไม่ได้มีความเยื่อใยว่า สัตว์เหล่านี้เป็นของเราฉันใด

สมเด็จพระจอมไตร ก็เป็นที่พึ่งที่อาศัยของสัตว์ทั้งปวง แต่ไม่ทรงห่วงใยว่า เป็นของเราฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เมฆใหญ่ที่ตกลงมาย่อมให้ความเจริญแก่ต้นหญ้า ต้นไม้ สัตว์เลี้ยงและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลี้ยงรักษาสัตว์ทั้งปวงไว้ สัตว์ทั้งปวงก็มีชีวิตอยู่ได้เพราะน้ำฝน แต่ว่าน้ำฝนไม่ได้ถือว่าเป็นของเราฉันใด

สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงทำให้เกิดกุศลธรรมแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงรักสัตว์ทั้งปวงไว้ด้วยศีล สัตว์ทั้งปวงที่ไว้ด้วยศีล สัตว์ทั้งปวงที่เลื่อมใสก็ได้อาศัยพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงห่วงใยว่า "เป็นของเรา" ฉันนั้น

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร...เป็นเพราะเหตุว่า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงละอัตตานุทิฏฐิคือ ความเห็นว่าเป็นตัวตนอย่างเด็ดขาดเสียแล้วขอถวายพระพร"

"ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขชัดแล้ว "

จบวรรคที่ ๒

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #233 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 01:46:10 »



เมณฑกปัญหา วรรคที่ ๓

ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องทรงแสดงของลับ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระพิชิตมารได้ตรัสประทานไว้ว่า

" ความสำรวมทางกาย วาจา ใจ เป็นของดี ความสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นของดี" ดังนี้ แต่มีกล่าวไว้ว่า พระตถาคตเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ทรงแสดงวัตถุคุยหะ ( ของลับ ) อันอยู่ในฝักแก่ เสลพราหมณ์ ต่อหน้าเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ทั้งทรงแลบพระชิวหาออกแยงช่องพระโสตทั้งสอง และทรงแลบพระชิวหาออกปิดพระนลาต คือหน้าผาก ไม่สำรวมสิ่งที่ควรปกปิด

ถ้าได้ตรัสไว้ว่า " การสำรวมเป็นการดีจริงแล้ว " คำที่ว่า " ทรงแสดงวัตถุคุยหะแก่เสลพราหมณ์นั้น " ก็ผิด

ถ้าคำว่า " ทรงแสดงวัตถุคุยหะแก่เสลพราหมณ์ " นั้นถูก คำว่า " การสำรวมเป็นความดีนั้น " ก็ผิด

ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด"

พระนาคเสนเฉลยปัญหานี้ว่า

" ขอถวายพระพร คำทั้งสองข้อนั้นถูกทั้งนั้น แต่ว่าผู้ใดมีความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ก็ทรงแสดงเงาแห่งพระกายคล้ายกับสิ่งนั้นด้วยฤทธิ์ เพื่อให้ผู้นั้นสิ้นสงสัยผู้นั้นก็ได้เห็นปาฏิหาริย์นั้น"

" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนั้นใครจักเชื่อถือ คือผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น ได้เห็นวัตถุคุยหะนั้นแต่ผู้เดียว นอกนั้นไม่มีใครเห็น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงให้โยมเข้าใจอีก "

" ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยเห็นบุรุษผู้เจ็บไข้ เกลื่อนกล่นด้วยญาติมิตรหรือไม่? "

" อ๋อ...เคยเห็นซิ พระผู้เป็นเจ้า "

"ขอถวายพระพร ญาติมิตรที่อยู่ในที่ประชุมนั้น ได้เห็นทุกขเวทนาของบุรุษนั้นหรือไม่ ? "

" ไม่ได้เห็น พระผู้เป็นเจ้า "

" ข้อนี้อุปมาฉันใด ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ ผู้นั้นก็ได้เห็นเพียงแต่เงาแห่งวัตถุคุยหะ ที่อยู่ในภายในผ้าสบงของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงบันดาลให้เห็นฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง เวลาภูตผีปีศาจเข้าสิงบุรุษ มีผู้เห็นหรือไม่ ? "

" ไม่เห็น พระผู้เป็นเจ้า "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ใดสงสัยในเรื่องวัตถุคุยหะของพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงแสดงให้เห็นแต่ผู้นั้นเท่านั้น "

" ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า สิ่งที่ไม่น่าจะเห็นได้แต่ผู้เดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้เห็นได้แต่ผู้เดียว เป็นการกระทำได้ยาก"

" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าไม่ได้ทรงแสดงพระคุยหะด้วยกิริยาปกติธรรมดา ได้ทรงบันดาลให้เห็นเพียงเงาเท่านั้น แต่เมื่อเสลพราหมณ์ได้เห็นแล้วก็สิ้นสงสัยถึงสิ่งที่กระทำได้แสนยาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคก็ทรงกระทำ เพื่อให้ผู้ที่ควรรู้ธรรมได้รู้ธรรม"

ถ้าพระตถาคตเจ้าไม่ทรงทำอย่างนั้น ผู้ที่ควรรู้ธรรมก็จะไม่รู้ธรรม พระตถาคตเจ้าชื่อว่าเป็นพระสัพพัญญูไม่ใช่หรือ เพราะเหตุที่พระองค์เป็นพระสัพพัญญู ผู้ที่ควรรู้ธรรมด้วยการประกอบอย่างใด ๆ พระตถาคตเจ้าก็ทรงให้รู้ธรรมด้วยการประกอบอย่างนั้นๆ

เหมือนกับนายแพทย์ผู้ฉลาด รู้ว่าโรคจะหายไปด้วยยาชนิดใด จะเป็นยาถ่าย หรือยาทา หรือผ่าตัด อบ รม อย่างใด ก็ทำอย่างนั้น

อีกประการหนึ่ง หญิงที่มีครรภ์แก่ถ้วนแล้ว ย่อมแสดงกระทั่งของลับ ซึ่งไม่ควรแสดงแก่หมอฉันใด สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระคุยหะอันไม่ควรทรงแสดงแก่เวไนย เพื่อให้รู้ธรรมด้วยฤทธิ์ฉันนั้น

โอกาสอันชื่อว่าไม่ควรแสดงด้วยการกำหนดบุคคลย่อมไม่มี ถ้ามีใครได้เห็นพระหฤทัยของพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ธรรมได้ พระองค์ก็ต้องทรงแสดงพระหฤทัยให้ผู้นั้น

สมเด็จพระภควันต์เป็นโยคัญญูคือทรงรู้จักวิธีประกอบ เป็นเทสนากุสโล คือทรงฉลาดในทางทรงแสดง พระตถาคตเจ้าทรงทราบอธิมุตติ คือนิสัยของ พระนันทะ ได้ดี จึงทรงนำพระนันทะขึ้นไปสู่สวรรค์ ให้เห็นพวกเทพกัญญา ด้วยทรงดำริว่า กุลบุตรผู้นี้จักรู้ธรรมได้ด้วยอุบายอันนี้ แล้วกุลบุตรนี้ก็ได้รู้ธรรมด้วยอุบายนั้น

เป็นอันว่า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงติเตียน เกลียดชัง ศุภนิมิต คือสิ่งที่เห็นว่าสวยงามไว้เป็นอันมาก แต่ได้ทรงแสดงนางอัปสรผู้ประดับด้วยเครื่องแก้วเครื่องทอง มีสีเท้าแดงดังสีเท้านกพิราบแก่พระนันทะ เพื่อจะให้พระนันทะรู้ธรรม พระนันทะก็ได้รู้ธรรมด้วยอุบายอันนั้น พระตถาคตเจ้าเป็นโยคัญญู เป็นเทสนากุสโลอย่างนี้

ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง มหาบพิตร คือสมเด็จพระพิชิตมารถูกพราหมณ์ โมฆราช ทูลถามปัญหาถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ทรงแก้ ด้วยทรงเห็นว่ามานะของกุลบุตรนี้ จักหายไปด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อมานะหายไปธรรมวิเศษก็จักมี ดังนี้ ด้วยอาการที่ทรงกระทำอย่างนั้น มานะของกุลบุตรนั้นก็สงบไป มานะสงบไปแล้ว ก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ สมเด็จพระชินสีห์ก็ชื่อว่าเป็นโยคัญญู คือผู้รู้จักวิธีประกอบ หรือวิธีการชื่อว่าเทสนากุสโส ผู้ฉลาดในเทศนาขอถวายพระพร "

" ดีแล้ว พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ปัญหานี้ออกให้แจ่มแจ้ง ด้วยอ้างเหตุการณ์หลายอย่างแล้ว ได้ทำลายป่ารกแล้ว ทำมืดให้สว่างแล้ว ทำลายข้อยุ่งยากเสียแล้ว หักล้างถ้อยคำของผู้อื่นเสียหมดแล้ว ทำให้เกิดจักษุคือปัญญา แก่ศากยบุตรพุทธชิโนรสได้แล้ว"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #234 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 01:56:33 »



ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องผรุสวาจาของพระพุทธเจ้า

" ข้าแต่พระนาคเสน พระสารีบุตรธรรมเสนาบดี กล่าวไว้ว่า " พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารอันบริสุทธิ์  แล้ว ไม่ต้องรักษาวจีทุจริต ว่า ขออย่าให้ผู้อื่นล่วงรู้วจีทุจริตนี้ของเรา" และกล่าวไว้อีกว่า " เมื่อพระสุทินกลันทกบุตรกระทำความผิด พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติปาราชิก ก็ได้ทรงเปล่งพระวาจาว่า พระสุทินเป็นโมฆบุรุษด้วยผรุสวาจา "

ด้วยเหตุที่สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสเรียกว่า " โมฆบุรุษ " นั้น พระสุทินก็สะดุ้งใจ ด้วยความสะดุ้งใจอย่างแรงกล้า แล้วเกิดความกินแหนง ไม่อาจแทงตลอดอริยมรรคได้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคำว่า " พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารบริสุทธิ์ คือมีวาจาอ่อนโยนแล้วไม่มีวาจาทุจริต " นั้นถูก

ข้อที่ว่า " ตรัสเรียกพระสุทินด้วยพระวาจาว่าเป็นโมฆบุรุษนั้น เพราะความผิดของพระสุทินนั้น" ก็ผิดไป

ถ้าคำว่า " ได้เปล่งวาจาเรียกพระสุทินว่าเป็นโมฆบุรุษ เพราะความผิดนั้น " เป็นของถูก ข้อว่า " พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารย์บริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจริตนั้น " ก็ผิดไป

ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอได้โปรดวิสัชนาต่อไปเถิด "

พระนาคเสนแก้ไขว่า

" ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า " พระสารีบุตรเสนาบดีกล่าวไว้ว่า พระตถาคตเจ้ามีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจริตที่จะต้องปิดบังไว้ด้วยคิดว่า อย่าให้ผู้อื่นรู้ " ดังนี้เป็นของจริง ข้อที่ว่า " ทรงเปล่งพระวาจาว่า โมฆบุรุษเวลาจะทรงบัญญัติปฐมปาราชิก เพราะความผิดขอพระสุทินนั้น " ก็เป็นของจริง

แต่การทรงเปล่งพระวาจานั้น ได้มีขึ้นด้วยพระหฤทัยไม่ขุ่นมัว ด้วยความไม่แข่งดี ด้วยลักษณะตามเป็นจริง อะไรเป็นลักษณะจริงในข้อนั้น ?

การรู้อริยสัจ ๔ ในอัตภาพนี้จะไม่มีแก่ผู้ใด ความเป็นบุรุษของผู้นั้นก็เป็นโมฆะ ซึ่งแปลว่าบุรุษเปล่า คือจะทำบุญภาวนาสักเท่าใดจะได้สำเร็จมรรคผลก็หาไม่ ผู้นั้นจึงเรียกว่า " โมฆบุรุษ " ด้วยเหตุนี้แหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงเรียกพระสุทินว่า โมฆบุรุษตามเป็นจริง ไม่เป็นจริง "

" ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ที่ด่าผู้อื่น ก็ย่อมด่าตามเป็นจริง แต่โยมก็ลงโทษปรับสินไหมเพราะเขามีความผิด อาศัยเรื่องที่เขาด่านั้นเป็นของจริง"

" ขอถวายพระพร ผู้ที่กระทำผิด มหาบพิตรเคยทรงกราบไหว้ หรือลุกรับ หรือสักการบูชา หรือพระราชทานรางวัล หรือพระราชทานทรัพย์ให้มีอยู่หรือไม่ ? "

" ไม่มีเลย พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กระทำผิดย่อมสมควรแก่การด่าว่า ขู่เข็ญ กระทั่งศีรษะของเขาก็ควรตัด ควรฆ่า "

" ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น สมเด็จพระภควันต์ก็ทรงกระทำถูกแล้ว ไม่ใช่ทรงกระทำผิด "

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะกระทำให้เหมาะ ให้ดีกว่านั้นเพราะเพียงแต่เทพยดามนุษย์ ได้ยินพระนามของพระศาสดาจารย์เท่านั้น ก็เคารพยำเกรงสะดุ้งกลัว ละอายใจอยู่แล้ว ยิ่งได้เห็นหรือได้เข้าไปเฝ้า ได้เข้าไปใกล้ ก็ยิ่งเคารพเกรงกลัว "

" ขอถวายพระพร แพทย์ย่อมให้ยาถ่ายที่แรงกล้า ตามสมควรแก่โรคในลำไส้ เพื่อให้กัดเสมหะอันร้ายในลำไส้ออกเสีย มีบ้างไหม ?"

" มี พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขามุ่งความหายจากโรค "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อสมเด็จพระธรรมสามิสร์จะทรงประทานยาถ่ายโรค คือกิเลสทั้งสิ้น ก็ได้ทรงประทานยาถ่ายที่สมควรแก่โรค คือกิเลส ถึงผรุสวาจา คือคำด่าว่าของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสด้วยพระทัยเมตตา ก็ทำให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ ใจอ่อนโยนได้

น้ำร้อนย่อมทำของอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มียางเหนียวให้เหนียวได้ ให้อ่อนได้ฉันใด ผรุสวาจาของพระตถาคตเจ้า อันประกอบด้วยพระกรุณาก็มีประโยชน์ฉันนั้น

อนึ่ง ถ้อยคำของบิดาอันประกอบด้วยกรุณา ก็มีประโยชน์แก่บุตรทั้งหลายฉันใด วาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา แต่ประกอบด้วยพระกรุณาก็มีประโยชน์ฉันนั้น

วาจาสมเด็จพระทรงธรรม์ ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ทำลายกิเลสของสัตว์ทั้งปวงได้

น้ำมูตร โค ที่ดองยา ถึงจะมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อบุคคลดื่มกินเข้าไปแล้วก็แก้โรคทั้งปวงได้ฉันใด พระวาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ไม่ทำให้เกิดทุกข์แก่ใครฉันนั้น

ปุยนุ่นถึงจะใหญ่ เวลาตกถูกร่างกายของผู้อื่น ก็ไม่ทำให้เจ็บปวดฉันใด พระวาจาของพระตถาคตเจ้า ถึงจะเป็นผรุสวาจา ก็ไม่ทำให้เกิดทุกข์แก่ใครฉันนั้น ขอถวายพระพร "

" ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขดี ด้วยเหตุหลายอย่างนี้แล้ว "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #235 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:01:48 »



ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องวิญญาณของต้นไม้

" ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " ดูพราหมณ์ เหตุไฉนเธอผู้มีความรู้ มีความเพียร มีความไม่ประมาทจึงถามสุขไสยากับต้นไม้ ซึ่งไม่มีเจตนา ฟังอะไรไม่ได้ ไม่รู้อะไร " ดังนี้ แต่ตรัสไว้อีกว่า " นี่แน่ะภารทวาชพราหมณ์ เธอจงไปถามต้นสะคร้อ ต้นสะคร้อจะตอบเธอตามถ้อยคำของเรา" ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าต้นไม้ไม่มีเจตนา คำที่ว่า " ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับต้นสะคร้อนั้น" ก็ผิดไป
ถ้าคำว่า " ภารทวาชพราหมณ์ไปพูดกับต้นไม้นั้น" เป็นคำถูกต้อง คำว่า " ต้นไม้ไม่มีเจตนา " ก็ผิด
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยเถิด"

พระนาคเสนชี้แจงแสดงว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า "ต้นไม่มีเจตนานั้น " ก็ถูก ข้อที่ว่า " ภารทราชพราหมณ์ได้พูดกับต้นสะคร้อนั้น" ก็ถูก คือถูกตามโลกสมัญญา อันได้แก่ตามความเชื่อถือของคนทั้งหลาย ความจริงนั้น การพูดแห่งสิ่งไม่มีเจตนา คือไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มี แต่ว่ามี เทวดา ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อนั้น พราหมณ์นั้นได้ไปถามต้นสะคร้อขึ้น เทวดาจึงตอบแทนต้นสะคร้อ แต่คนทั้งหลายก็เรียกว่าพูดกับต้นไม้ อันนี้เป็นโลกบัญญัติ ขอถวายพระพร

เกวียนอันเต็มด้วยข้าวเปลือก คนก็เรียกว่า " เกวียนข้าวเปลือก " คือเกวียนอันบรรทุกเต็มด้วยข้าวเปลือก คนจึงเรียกว่า " เกวียนข้าวเปลือก "

แต่เกวียนนั้นเป็นเกวียนทำด้วยไม้ ไม่ใช่ทำด้วยข้าวเปลือก ที่เขาเรียกว่า " เกวียนข้าวเปลือก" ก็เพราะบรรทุกข้าวเปลือกฉันใด ต้นไม้พูดไม่ได้ ต้นไม้ไม่มีเจตนา แต่เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้นต่างหากเป็นผู้พูดคนทั้งหลายจึงถือว่าต้นไม้พูดฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง เหมือนกับคนกำลังเอานมส้ม มากระทำให้เป็นน้ำมันเปรียงอยู่ เขาก็เรียกว่า " เราทำน้ำมันเปรียง " ความจริงนั้น นมส้มนั้นยังไม่เป็นน้ำมันเปรียง เพียงแต่เขากำลังกระทำอยู่ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ข้อที่ว่าต้นไม้พูด ซึ่งหมายถึงเทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้นั้นพูด ก็เป็นคำโลกบัญญัติขึ้นฉันนั้น คนพูดกันตามความเข้าใจของโลกฉันใด พระตถาคตเจ้าก็ทรงแสดงธรรมตามความเข้าใจของโลกฉันนั้น ขอถวายพระพร "

" ถูกต้องแล้ว พระนาคเสน โยมยอมรับว่าถูก "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #236 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:08:13 »



ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องอานิสงส์แห่งบิณฑบาตทั้งสองคราว

" ข้าแต่พระนาคเสน พระเถระทั้งหลายผู้กระทำธรรมสังคีติ  ได้กล่าวไว้ว่า
พระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารของนายจุนท์ ผู้เป็นบุตรช่างทอง แล้วก็เกิดอาพาธหนัก มีมรณะเป็นที่สุด ดังนี้

และกล่าวไว้อีกว่า
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า บิณฑบาตทั้งสองคราวนี้มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ บิณฑบาตทั้งสองคราวนี้ คือเมื่อใดบ้าง คือบิณฑบาตที่ นางสุชาดา ถวายก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ๑ และบิณฑบาตที่ นายจุนท์ ถวายก่อนที่จะปรินิพาน ๑ ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน
" ถ้าอาพาธแรงกล้าทำให้เกิดทุกขเวทนา มีมรณะเป็นที่สุดแก่พระตถาคตเจ้า เพราะเสวยอาหารของนายจุนท์" ถูกแล้ว คำที่ว่า " บิณฑบาตนั้นมีผลเสมอกันมีวิบากเสมอกัน มีผลอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ " ก็ผิดไป

ถ้าคำว่า " บิณฑบาตนั้น มีผลวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่นๆ " ถูกแล้ว คำที่ว่าเกิดอาพาธแรงกล้า มีทุกขเวทนาหนัก มีมรณะเป็นที่สุด เพราะเสวยอาหารของนายจุนท์นั้น " ก็ผิดไป

ข้าแต่พระนาคเสน บิณฑบาตนั้นจะมีผลมาก เพราะเจือยาพิษ เพราะทำให้เกิดโรค เพราะทำให้สิ้นอายุ ทำให้จักษุของชาวโลกพินาศไป ทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นพระชนม์ แล้วเหตุไรจึงมีผลมาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจงแสดงไว้ เพื่อข่มขี่ถ้อยคำของผู้อื่นเสียในเรื่องนี้ ประชุมชนหลงเข้าใจว่า โรคพระโลหิตได้เกิดแก่พระพุทธเจ้า เพราะเสวยมากเกินไปด้วยอำนาจความโลภ ดังนี้ เรื่องนี้จึงเป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด "

พระนาคเสนจึงตอบว่า
" ขอถวายพระพร คำที่ว่า " พระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารของนายจุนท์แล้ว เกิดอาพาธหนักมีมรณะนั้น " ก็ถูก คำที่ว่า " บิณฑบาตทั้งสองคราวนั้น มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่นๆนั้น " ก็ถูก

เพราะว่าบิณฑบาตนั้นมีคุณมาก มีผลมาก มีวิบากมาก มีอานิสงส์ไม่ใช่น้อย เทวดาทั้งหลายมีความยินดีเลื่อมใส ด้วยคิดเห็นว่า บิณฑบาตคราวนี้เป็นคราวสุดท้ายของพระพุทธองค์แล้ว จึงโปรยผงทิพย์ลงในสุกรมัททวะ  ผลทิพย์นั้นสุกเสมอกัน สุกมาก เป็นที่ยินดีแห่งใจ ร้อนด้วยไฟในท้อง

แต่ใช่ว่าโรคจะบังเกิดด้วยอาหารนั้นหามิได้ แต่เพราะพระพุทธเจ้ามีพระวรกายไม่สู้มีกำลังอยู่แล้ว อายุสังขารก็สิ้นแล้ว โรคที่เกิดขึ้นจึงกำเริบ เหมือนกับกระแสน้ำไหลอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อฝนตกลงมาใหญ่ ก็ยิ่งมีกระแสน้ำมากขึ้นฉะนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับไฟอันลุกอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อใส่เชื้อไฟอย่างอื่นลงไปก็ยิ่งลุกมากขึ้น

อีกนัยหนึ่ง เหมือนลมในท้อง ซึ่งพัดไปมาอยู่ตามปกติแล้ว เมื่อกินของไม่สุกอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป ก็เกิดลมมากขึ้นฉะนั้น

ไม่มีใครอาจชี้โทษในบิณฑบาตนั้นได้ว่า บิณฑบาตนั้นทำให้เกิดโรค ขอถวายพระพร "

" ข้าแต่พระนาคเสน เป็นเพราะเหตุไรบิณฑบาตทั้งสองนั้น จึงมีผลวิบากเสมอกัน มีผลานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ ? "

" ขอถวายพระพร เพราะอำนาจคุณธรรมในการเข้าสมาบัติอยู่เนือง ๆ "
" คุณธรรมในการเข้าสมาบัติอยู่เนือง ๆ นั้นได้แก่อะไร พระผู้เป็นเจ้า ? "
" ขอถวายพระพร ได้แก่การเข้า อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙  กลับไปกลับมา ถอยหน้าถอยหลัง "

" ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าได้เข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ กลับไปกลับมาถึง ๓ ครั้ง เมื่อก่อนจะนิพพานนั้นไม่เคยมีบ้างหรือ? "
" ไม่เคยมี มหาบพิตร "

" น่าอัศจรรย์ ! พระนาคเสน ทานอย่างเยี่ยมซึ่งไม่มีทานอื่นใดเสมอเหมือน อันไม่นับเข้าในบิณฑบาตทั้งสองคราวนี้ก็มีอยู่น่าอัศจรรย์ ! ที่ทานนั้นมีผลานิสงส์ยิ่งกว่าทานอื่นๆ ด้วยอำนาจแห่งอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ซึ่งเป็นของใหญ่"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #237 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:22:53 »



ปัญหาที่ ๕ ถามเรื่องทรงอนุญาตพุทธบูชา

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ เธอทั้งหลายไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า " แล้วตรัสไว้อีกว่า " เธอทั้งหลาย จงบูชาธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทำอย่างนั้น เวลาจากโลกนี้แล้ว จักได้ไปบังเกิดในสวรรค์"

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ พวกเธอไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า" ดังนี้ถูกแล้ว คำว่า " เธอทั้งหลายจงบูชาธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทำอย่างนั้น จากโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์" ดังนี้ก็ผิด

ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า " พวกเธอจงบูชาธาตุของผู้ควรบูชา เพราะผู้ทำอย่างนั้นจากโลกนี้แล้วจักได้ไปสวรรค์ " ดังนี้ถูก คำที่ว่า " พวกเธอไม่ต้องขวนขวาย เพื่อบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า" ดังนี้ก็ผิด
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว"

พระนาคเสนแก้ข้อสงสัยว่า
" ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้น จริงทั้งนั้น คำที่ตรัสห้ามไม่ให้ขวนขวายบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้านั้น ทรงห้ามเฉพาะ พระภิกษุสงฆ์ เท่านั้น เพราะการบูชาพระสรีระศพของพระตถาคตเจ้านั้น ไม่จำเป็นแก่พระภิกษุทั้งหลาย จำเป็นแก่เทวดามนุษย์นอกนั้นต่างหาก

อุปมาเรียนศิลปศาสตร์ ข้อนี้มีอุปมาเหมือนกับการศึกษาทางช้าง ม้า รถ ธนู หอก ดาบ เลข คำนวณ เวทย์ มนต์ กลยุทธ์ต่างๆ จำเป็นสำหรับราชบุตรทั้งหลายเท่านั้น ไม่จำเป็นแก่พวกเวศย์ พวกศูทร เพราะพวกนี้จำเป็นที่จะต้องทำกสิกรรม พาณิชกรรม และเลี้ยงโคเท่านั้น

การพิจารณาสังขาร การกระทำโยนิโสมนสิการ การเจริญมหาสติปัฏฐาน การค้นหาแก่นธรรม การสู้รบกับกิเลส การฝึกฝนอยู่เนือง ๆ ซึ่งประโยชน์ของตนนั้น เป็นของจำเป็นสำหรับพระภิกษุทั้งหลาย
ส่วนการบูชาพระสรีระศพ หรือพระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นสำหรับเทพยดา - มนุษย์นอกนั้น

อีกประการหนึ่ง เวทต่าง ๆ คือ อุรุเวท รู้ภาษาสัตว์ ยชุเวท รู้บูชายัญ อาถัพพเวท รู้ผูกแก้อาถรรพณ์ลักขณะ รู้ทายลักษณะเป็นต้น เป็นของจำเป็นที่พวกพราหมณ์มาณพจะต้องศึกษา ส่วนพวกเวศย์ พวกนอกนั้น จำเป็นที่จะต้องกระทำกสิกรรม พาณิชกรรมและเลี้ยงโคเท่านั้น เพราะฉะนั้น สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาจึงทรงห้ามเสีย ถ้าไม่ทรงห้าม พระภิกษุทั้งหลาย ก็จะสละกระทั่งบาตรจีวรของตน ออกกระทำพุทธบูชา ขอถวายพระพร "

" ถูกแล้ว พระนาคเสน "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #238 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:23:47 »



ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องสะเก็ดศิลาถูกพระบาท

" ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เสด็จดำเนินไปบนพื้นปฐพีในเวลาใด พื้นปฐพีอันไม่มีจิตวิญญาณ ก็ทำอาการเหมือนมีจิตวิญญาณ คือที่ต่ำก็สูงขึ้น ที่สูงก็ต่ำลง แต่มีกล่าวไว้อีกว่า สะเก็ดศิลาได้กระเด็นมาถูกพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุใดสะเก็ดศิลาที่กระเด็นมานั้น จึงไม่กระเด็นกลับไปให้เหมือนของที่มีจิตวิญญาณ ถ้าคำว่า " เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบนแผ่นดินในที่ใด แผ่นดินในที่นั้น ที่ต่ำก็สูง ที่สูงเป็นต่ำ เหมือนมีจิตวิญญาณ จริงแล้ว ข้อที่ว่า " สะเก็ดศิลากระเด็นมาถูกพระบาท " ก็ผิดไป

ถ้าข้อว่า " สะเก็ดศิลากระเด็นมาถูกพระบาท " นั้นถูก ข้อว่า " แผ่นดินอันไม่มีจิตวิญญาณ ก็แสดงอาการสูงต่ำเหมือนมีจิตวิญญาณ" ก็ผิด
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาลึก หยั่งรู้ได้ยาก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว "

พระนาคเสนเถระตอบว่า
" ขอถวายพระพร จริงทั้งสองอย่าง นั่นแหละ แต่สะเก็ดศิลานั้น ไม่ได้กระเด็นมาตามธรรมชาติของมัน ตกลงมาด้วยการกระทำของ พระเทวทัต ต่างหาก พระเทวทัตได้อาฆาตต่อสมเด็จพระบรมโลกนาถมาหลายแสนชาติแล้ว

พระเทวทัตคิดว่า จักให้ก้อนศิลาตกลงมาทับพระพุทธเจ้า จึงได้กลิ้งก้อนศิลาใหญ่โตเท่าเรือนยอด ลงมาด้วยกำลังเครื่องยนต์ ขณะนั้นมีก้อนศิลา ๒ ก้อน ได้ผุดขึ้นจากฟื้นดิน มารับก้อนศิลานั้นไว้ ก้อนศิลานั้นถูกกระทบ ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้นก็แตกกระจายไป สะเก็ดศิลาก้อนหนึ่ง จึงได้ตกไปถูกพระบาทของพระพุทธเจ้า"

" ข้าแต่พระนาคเสน ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้น ได้รับก้อนศิลานั้นไว้แล้ว ก็ควรจะรับสะเก็ดศิลาไว้ด้วย"

" รับไว้แล้วมหาบพิตร แต่ว่าสะเก็ดศิลามีมาก บางสะเก็ดก็รับไว้ไม่หมด จึงได้ตกกระเด็นไปเปรียบเหมือนกับนมสด หรือน้ำมันเปรียงน้ำอ้อย น้ำผึ้ง เนยใส น้ำมัน เนื้อหมี เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่บุคคลกำไว้ในกำมือ เล็ดลอดไหลออกไปตามช่องนิ้วมือก็มีฉันใด สะเก็ดศิลาที่เล็ดลอดไปจากการรับไว้แห่งศิลา ๒ ก้อนนั้น ก็มีได้เช่นกันฉันนั้น ก้อนที่เล็ดลอดไป ก็ได้ไปตกพระบาทของพระพุทธเจ้า

ข้อนี้เปรียบได้อีกอย่างหนึ่ง คือเหมือนกับทรายละเอียดที่บุคคลกำไว้ แล้วเล็ดลอดออกตามช่องนิ้วมือฉะนั้น
หรืออีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนกับคำข้าวที่บุคคลรับไว้ด้วยปากตกร่วงออกจากปากก็มีได้ฉันนั้น"

" ข้าแต่พระนาคเสน ก้อนศิลา ๒ ก้อนนั้นได้รับก้อนศิลาไว้แล้ว สะเก็ดศิลานั้นก็ควรจะเคารพพระพุทธเจ้า เหมือนแผ่นดินใหญ่แสดงความเคารพ ต่อพระพุทธเจ้าเช่นกันไม่ใช่หรือ ? "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #239 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:27:29 »



ผู้ที่เคารพผู้อื่นไม่ได้ ๑๒ จำพวก

" ขอถวายพระพร ผู้ที่เคารพผู้อื่นไม่ได้มีอยู่ ๑๒ จำพวกคือ

๑. ผู้กำหนัดยินดี
๒. ผู้โกรธ
๓. ผู้หลง

๔. ผู้กำเริบ
๕. ผู้เนรคุณ
๖. ผู้มีใจกระด้างเกินไป

๗. ผู้ชั่วช้า
๘. ผู้จักลงโทษ
๙. ผู้ไม่สละ

๑๐. ผู้กำลังทุกข์
๑๑. ผู้โลภครอบงำ
๑๒. ผู้วุ่นอยู่กับการงาน

มหาราชะ ถ้าสะเก็ดศิลานั้น ไม่แตกไปจากก้อนศิลา ก้อนศิลาใหญ่ทั้งสองที่ผุดขึ้นรับนั้น ก็จะได้รับสะเก็ดศิลานั้นไว้ได้ สะเก็ดศิลานั้น ได้ตั้งอยู่ที่อากาศ ได้แตกกระเด็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีทิศที่หมาย ตกไปตามแต่จะได้ จึงไปตกถูกพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อีกอย่างหนึ่ง ใบไม้แห้งที่ถูกลมหัวด้วนพัดขึ้นไป ก็ไม่มีทิศที่หมาย ย่อมตกไปตามแต่จะได้ฉันใด สะเก็ดนั้นก็ไม่มีทิศที่หมายตกไปตามแต่จะได้ฉันนั้น

อนึ่ง สะเก็ดศิลานั้น ได้ตกไปถูกพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะให้พระเทวทัตผู้อกตัญญู ผู้กระด้าง ได้เสวยทุกข์ในนรก ขอถวายพระพร "

" ดีแล้วพระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #240 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:37:51 »



ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องการถวายโภชนาหาร

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " โภชนะอันได้ด้วยการกล่าวคาถา ไม่สมควรที่เราจะบริโภค ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นธรรมดาของผู้รู้แจ้งเห็นจริงทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมกำจัดเสียซึ่งการกล่าวคาถา ดูก่อนพราหมณ์ ความประพฤติข้อนี้อยู่ในธรรม" ดังนี้

แต่ต่อมา เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงไปตามลำดับคือทรงแสดง ทานกถา ก่อนแล้วจึงทรงแสดง สีลกถา ในภายหลัง เทพยดามนุษย์ทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในโลกจึงได้ชวนกันถวายทาน พระสาวกทั้งหลายก็ได้บริโภคทานอันนั้น

ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงกำจัดการกล่าวคาถา จริงแล้ว ข้อที่ว่า ทรงแสดงทานกถาก่อนก็ผิดไป
ถ้าข้อว่า ทรงแสดงทานกถาก่อนนั้นถูก ข้อที่ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกำจัดการกล่าวคาถานั้นก็ผิด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร....เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การถวายทานนั้น ได้ทรงแสดงผลแห่งการถวายบิณฑบาตให้คฤหัสถ์ทั้งหลายฟัง คฤหัสถ์ทั้งหลายฟังแล้วมีใจเลื่อมใสได้ถวายทานเรื่อย ๆ ไป พวกที่ได้บริโภคทานนั้นก็ชื่อว่า บริโภคสิ่งที่ได้ด้วยการกล่าวคาถา
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โภชนะอันได้ด้วยการกล่าวคาถา ไม่สมควรที่เราจะฉัน แล้วทรงแสดงทานกถาก่อน อันกิริยานั้น เป็นกิริยาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทำให้สาธุชนยินดียิ่งด้วยทานกถาก่อน แล้วจึงทรงชักนำในเรื่องศีล ต่อภายหลัง เปรียบเหมือนคนทั้งหลายที่ให้ของเล่นแก่เด็ก ๆ ซึ่งกำลังเล่นฝุ่นเล่นทราย มีไถและค้อนเล็ก ๆ หม้อข้าวเล็ก ๆ ตุ๊กตาเล็ก ๆ ภาชนะเล็ก ๆ รถเล็ก ๆ ธนูเล็ก ๆ เสียก่อน จึงแนะนำให้เรื่องการงานต่อภายหลังฉะนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับแพทย์ที่ให้คนไข้หนักดื่มน้ำมันสัก ๔ วัน หรือ ๕ วันก่อน พอมีกำลังดี จึงให้กินยาถ่ายภายหลังฉะนั้น

กล่าวคือ เมื่อจิตของผู้ถวายทานทั้งหลายอ่อนแล้ว ก็เป็นสะพานเป็นเรือช่วยให้ข้ามฝั่งสาคร คือสงสารได้ เพราะฉะนั้น สมเด็จพระทรงธรรม์ จึงทรงสอนตามสมควรแก่ภูมิเสียก่อน คำสอนของพระองค์นั้น ไม่แสดงการขอด้วยกาย หรือแสดงการขอด้วยวาจา"

บันทึกการเข้า
คำค้น: ท่านเมนานเดอร์ พระนาคเสน ปัญหาธรรม 
หน้า:  1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.345 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤศจิกายน 2566 11:25:00