[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 05:47:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 15 16 [17] 18 19 20   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 129524 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2553 20:39:52 »





มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เสร็จไปหาพระนาคเสนแล้ว
ทรงปราศรัยพอให้เกิดความร่าเริงยินดีแล้วก็ประทับนั่ง
ฝ่ายพระนาคเสนก็แสดงความชื่นชมยินดี
ทำให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามิลินท์
ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมประสงค์จะสนทนาด้วย "
พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
" เชิญสนทนาเถิด มหาบพิตร อาตมภาพใคร่จะฟัง "
" โยมสนทนาแล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงฟังเถิด "
" อาตมภาพฟังอยู่แล้ว มหาบพิตรเชิญเจรจาเถิด "

" พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรเจรจาว่าอย่างไร ? "
" โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า "
" จงถามเถิด มหาบพิตร "
" โยมถามแล้ว "
" อาตมภาพก็แก้แล้ว "

" พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรถามว่าอย่างไร ? "


เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว พวกโยนกเสนาทั้ง ๕๐๐
ก็เปล่งเสียง สาธุการ ถวายพระนาคเสน
แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า
คราวนี้ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหาต่อไปเถิดพระเจ้าข้า "





: http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=205.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2555 19:24:04 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #321 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2554 11:24:50 »



   ตลาดยาอมฤต

   " ข้อนี้ก็ชอบแล้ว พระนาคเสน "
   " ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดยาอมฤต ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร ? "

   " ขอถวายพระพร ได้แก่ กายคตาสติ ที่เทพยดามนุษย์ได้ดื่มแล้ว ก็หลุดพ้นจากการเกิด แก่ ตาย โศกเศร้า รำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ ทั้งสิ้น เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นประชุมชนเกิดโรคต่าง ๆ จึงได้ทรงตั้งตลาดยาอมฤติ คือไม่รู้จักตายไว้ขอถวายพระพร "

   " ข้อนี้ก็สมควรแล้ว พระนาคเสน "

ต่อที่ # ๓๓๐
- http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=205.330

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 11.0 Firefox 11.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #322 เมื่อ: 12 เมษายน 2555 15:25:33 »



   ตลาดรัตนะ

   " ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดรัตนะ ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร ? "
   " ขอถวายพระพร ได้แก ศีลรัตนะ สมาธิรัตนะ ปัญญารัตนะ วิมุตติรัตนะ วิมุตติญาณทัสสนรัตนะ ปฏิสัมภิทารัตนะ โพชฌงครัตนะ อันทำให้โลกทั้งสิ้นสว่างไสว

   ศีลรัตนะ นั้นได้แก่อะไร...ได้แก่ปาฏิโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสิตศีล จูฬศีล มัชฌิมศีล มฺหาศีล มรรคศีล ผลศีล

   สมาธิรัตนะ นั้นได้แก่ สมาธิอันมีทั้งวิตกวิจาร ๑ สมาธิอันไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิอันไม่มีทั้งวิตกวิจาร ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑ ภิกษุได้แก้วคือสมาธินี้แล้ว ย่อมกำจัด กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เสียได้กำจัดมานะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา กิเลสทั้งปวงเสียไป สิ่งเหล่านั้นไม่ติดค้างอยู่ในใจ เหมือนกับน้ำไม่ติดอยู่ใบบัวฉะนั้น

   ปัญญารัตนะ นั้นได้แก่ การรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งที่เป็นกุศล เป็นอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ควรประพฤติ ไม่ควรประพฤติ เลว ดี ดำ ขาว ทั้งดำ ทั้งขาว ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ผู้ที่ได้แก้วคือปัญญาแล้ว ย่อมไม่ติดอยู่ในภพ ไม่ยินดีในภพ ย่อมได้ถูกต้องสิ่งที่ไม่รู้จักตายโดยเร็วพลัน

   วิมุตติรัตนะ ได้แก่ความเป็นพระอรหันต์อันหลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง
   วิมุตติญาณทัสสนรัตนะ ได้แก่การพิจารณาเห็นซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลส

   ปฏิสัมภิทารัตนะ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อันทำให้แกล้วกล้าในที่ทั้งปวง
   โพชฌงครัตนะ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ขอถวายพระพร "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 11.0 Firefox 11.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #323 เมื่อ: 22 เมษายน 2555 20:22:29 »



   ตลาดสิ่งทั้งปวง

   " ข้าแต่พระนาคเสน ตลาดสิ่งทั้งปวง ของพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่อะไร ? "

   " ขอถวายพระพร ได้แก่พระพุทธวจนะอันประกอบด้วยองค์ ๙ และพระบรมสารีริกธาตุ บริโภคเจดีย์ พระสังฆรัตนะ ชาติสมบัติ โภคสมบัติ อายุสมบัติ อาโรคยสมบัติ วัณณสมบัติ ปัญญาสมบัติ ญาณสมบัติ มานุสิกสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ มีอยู่ในตลาดนี้ทั้งสิ้น

   บุคคลย่อมซื้อเอาได้ด้วยทรัพย์คือศรัทธา ผู้ซื้อเอาสมบัติเหล่านี้ ได้ด้วยทรัพย์ คือศรัทธา ก็มีความสุขตลอดไป

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 11.0 Firefox 11.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #324 เมื่อ: 22 เมษายน 2555 20:24:32 »



   อุปมาธรรมนคร

   ขอถวายพระพร ในธรรมนครของพระพุทธเจ้านั้น มีแต่บุคคลผู้วิเศษทั้งนั้น คือมีแต่พระธรรมกถึก พระวินัยธร พระผู้ทรงพระสูตร พระผู้ทรงพระอภิธรรม พระผู้ทรงชาดก พระผู้ทรงนิกายทั้ง ๕ พระผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ยินดีในโพชฌงคภาวนาเป็นพระวิปัสสนา เป็นผู้ประกอบประโยชน์ของตน และผู้อยู่ในป่าช้า ผู้อยู่ตามลอมฟาง ผู้ถือธุดงค์ต่าง ๆ ผู้ได้สำเร็จมรรคผล คุณวิเศษต่าง ๆ ทั้งนั้น

   ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีอาสวะ ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน ย่อมอยู่ในธรรมนคร
   ผู้ไกลจากกิเลส ผู้พ้นจากิเลส ผู้เจริญฌาน ผู้มีเครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง ผู้ยินดีอยู่ในป่าก็มีอยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้ไม่นอนได้แต่นั่ง ผู้อยู่ในป่าช้า ผู้มีแต่ยืนกับเดิน ผู้ใช้ผ้าบังสุกุล ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้ใช้เฉพาะไตรจีวร มีพระธรรมขันธ์เป็นที่ ๔ ผู้ยินดีในอาสนะเดียว ผู้รู้แจ้ง ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้ยินดีในฌาน ผู้มีจิตสงบ ผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้ปรารถนาความไม่มีสิ่งใด ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น

   ผู้ได้มรรคผล ผู้ยังศึกษาอยู่ ผู้ยังหวังผลสูงสุดอยู่ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ยินดีในโพชฌงคภาวนา ผู้เห็นแจ้งธรรมต่าง ๆ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนาประกอบสัมมัปปธานเนือง ๆ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้สำเร็จอภิญญา ผู้ยินดีในปีติ และโคจรผู้เที่ยวไปในอากาศ ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น

   ผู้ทอดจักษุลงเบื้องต่ำ ผู้พูดน้อย ผู้สำรวมรักษาทวาร ผู้ฝึกตนดี ผู้มีธรรมสูงสุด ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น
   ผู้สำเร็จวิชชา ๓ อภิญญา ๖ อิทธิฤทธิ์ ปัญญา ก็อยู่ในธรรมนครทั้งนั้น ขอถวายพระพร


   พระภิกษุทั้งหลายผู้ทรงญาณอันประเสริญหาประมาณมิได้ ผู้ไม่มีเครื่องข้อง ผู้มีคุณชั่งไม่ได้ ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณและยศ ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงกำจัด ผู้ทรงเชาว์ ผู้ทรงฤทธิ์ ผู้ทรงแสงสว่าง ผู้ทรงมติ ผู้ทรงวิมุตติ ผู้ทรงธรรม ผู้ทรงพระธรรมจักร ผู้สำเร็จปัญญา เรียกว่า " เป็นธรรมเสนาบดี " ในธรรมนคร

   พระภิกษุทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์ ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ผู้มีเวสารัชชญาณ ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณ ผู้เข้าใกล้ได้ยาก ผู้เที่ยวไปไม่มีห่วง ผู้ทำแผ่นดินให้ไหว ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ผู้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้เรียกว่า " ธรรมปุโรหิต " ในธรรมนคร

   พวกประพฤติธุดงค์ พวกมักน้อย พวกสันโดษ พวกเกลียดการแสวงหาที่ไม่ชอบธรรม พวกถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ผู้เกลียดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ผู้อยู่ในที่สงัด ผู้ไม่ห่วงใยในกายและชีวิต ผู้ถึงพระอรหันต์ ผู้ไม่ทิ้งธุดงค์ เรียกว่า " ธัมมักขทัสสนา " คือเป็นผู้ว่ากล่าวผู้น้อยผู้ใหญ่อยู่ในธรรมนคร

   ผู้บริสุทธิ์ ผู้ฉลาดในการตายการเกิด ผู้ได้ทิพจักขุ เรียกว่า " พวกโชตกา " คือพวกนั่งยามตามไฟ ตรวจตราไปในธรรมนคร

   พวกเป็นพหูสูตร มีอาคม ทรงธรรมวินัย ทรงมาติกา ฉลาดในอักขระน้อยใหญ่และเสียงหนัก เสียงเบา เสียงยาว เสียงสั้น ผู้ทรงไว้ซึ่งศาสนาประกอบด้วยองค์ ๙ เรียกว่า " ธรรมรักขา " คือผู้รักษาธรรมในธรรมนคร

   ผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย เรียกว่า " รูปทักขา " คือเป็นคนทายลักษณะในธรรมนคร
   ผู้สำเร็จอริยสัจ ๔ เรียกว่า " ผลาปณิกา " คือชาวร้านขายดอกไม้ในธรรมนคร
   ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เรียกว่า " คันธาปณิกา " คือชาวร้ายขายของหอมในธรรมนคร
   ผู้ยินดีในพระธรรม ผู้ถือธุดงค์ ผู้มั่นในกถาวัตถุ ๑๐ เรียกว่า " นักดื่ม " ในธรรมนคร
   ผู้ประกอบความเพียรเพื่อป้องกันกิเลสเรียกว่า " ผู้รักษานคร " ในธรรมนคร

   ผู้บอกกล่าวสั่งสอนซึ่งธรรม เรียกว่า " ธัมมาปณิก "
   ผู้ออกตลาดพระธรรมในธรรมนคร ผู้กินพระธรรม ทรงไว้ซึ่งพระธรรมคำสอนมาก ผู้แทงตลอดซึ่งลักษณะแห่งสระ พยัญชนะในพระธรรม ผู้รู้แจ้งพระธรรม เรียกว่า " ธรรมเศรษฐี " ในธรรมนคร

   ผู้แทงตลอดซึ่งการแสดงธรรมอย่างสูง ผู้สะสม ผู้แจก ผู้แสดงออกซึ่งอารมณ์ ผู้สำเร็จคุณคือการศึกษา เรียกว่า " อิสสรธัมมิกา "
   เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงสร้างธรรมนครไว้ดีอย่างนี้แล้ว จึงทำให้รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ เหมือนกับเมื่อเห็นนครมีอยู่ ก็ต้องรู้ว่านายช่างผู้สร้างนครก็ต้องมีอยู่ฉะนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน พระภิกษุทั้งหลายผู้มีกำลังปัญญาดีอย่างพระผู้เป็นเจ้า อาจสร้างธรรมนครได้ แต่ยังเชื่อได้ยากว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #325 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 18:35:52 »



  อุปมาลูกคลื่นในมหาสมุทร

   " ขอถวายพระพร มหาสมุทรย่อมลึกตามลำดับ ทรงไว้ซึ่งทรายประมาณมิได้ เกลื่อนกล่นไปด้วยปลาติมิติ ปลามิงคละ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งนาค ครุฑ และผีเสื้อน้ำเป็นต้น เมื่อมีปลาใหญ่จะแสดงกำลังของตนก็ผุดขึ้นมาทำให้มหาสมุทรตีฟองนองละลอก คนได้เห็นแล้วก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า มีปลาใหญ่อยู่ในมหาสมุทรนี้ฉันใด

   มหาสมุทรคือโลกนี้ ก็ลึกไปตามลำดับเป็นที่ขังน้ำ คือราคะ โทสะ โมหะ หาประมาณมิได้ เกลื่อนกล่นด้วยพาลปุถุชน แออัดรกรุงรังด้วยกิเลส ล้อมไว้ด้วยข่ายคือทิฏฐิ เป็นที่ไหลไปแห่งกระแสน้ำคือตัณหา สล้างสลอนด้วยธงชัยคือมานะ เร่าร้อนด้วยไฟ ๓ กองมืดด้วยความไม่รู้ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งคนดีคนชั่วทั้งสิ้น มีกษัตริย์ พราหมณ์ เวศย์ ศูทร อาชีวก ปัณฑรัค์ ปริพาชก นิครนถ์ และต่าง ๆ หาประมาณมิได้

   พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้ว ก็ทำให้โลกสะเทื้อนสะท้านด้วยลูกคลื่น คือพระธรรมเปลื้องสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุคติทั้งปวงประทานความไม่มีภัย ความไม่รู้จักตาย และยาแก้พิษ ยาแก้โรคต่าง ๆ ทำให้โลกไปถึงที่ปลอดภัย ทำให้โลกไม่มีมลทิน ปราศจากมลทิน ทำให้โลกขาว ฝึกโลก ทำให้โลกสงบ ทำให้โลกตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาทั้งปวง ตลอดถึงหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์

   ทรงแสดงลูกคลื่นคือพระธรรมว่า อันนี้เป็นทุกขอริยสัจ ผู้ได้เห็นลูกคลื่นคือพระธรรมแล้ว ได้สำเร็จโสดาปัตติผลก็มี สำเร็จสกิทาคามีผลก็มี สำเร็จอนาคามีผลก็มี สำเร็จอรหัตตผลก็มี ถือศีลก็มี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็มี ได้เพียงศรัทธาเลื่อมใสก็มี

   เหมือนครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดง ทุกขสัจ ที่ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ฉะนั้น คือในคราวนั้น ด้วยกำลังลูกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ได้มีเทวดาถึง ๘๐ โกฏิ ได้ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีมลทินว่า " สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาทั้งสิ้น " พวกใดได้เห็นลูกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ถึงซึ่งความตกลงใจ พวกนั้นย่อมได้คุณวิเศษยิ่งอย่างนั้น

   เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดง สมุทัยสัจ ก็ทำให้โลกนี้กับทั้งเทวโลกกระเพื่อม ทำให้เกิดละลอกคลื่นคือพระธรรม ดังคราวทรงแสดงสมุทัยสัจที่ ปาสาณกเจดีย์ เป็นตัวอย่าง คือในคราวนั้น ด้วยกำลังละลอกคลื่นคือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ทำให้เทพยดามนุษย์ ๑๔ โกฏิ ได้ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีมลทินว่า " ทุกสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็มีความดับไปเป็นธรรมดาทั้งนั้น " พวกใดได้เห็นละลอกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วตกลงใจ พวกนั้นก็ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างนั้น

   เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดง นิโรธสัจ ก็ทรงทำให้โลกนี้กับทั้งเทวโลกกระเพื่อม ทำให้เกิดลูกคลื่นคือพระธรรม เหมือนครั้งทรงแสดงนิโรธสัจ คราวเสด็จลงจาก ดาวดึงส์สวรรค์ คือในคราวนั้น มีผู้ได้สำเร็จธรรมจักษุถึง ๓๐ โกฏิ ด้วยกำลังลูกคลื่น คือกำลังของพระพุทธเจ้า พวกใดได้เห็นลูกคลื่น คือกำลังของพระพุทธเจ้า แล้วถึงความตกลงใจพวกนั้นก็ได้คุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนั้น

   ส่วนในบัดนี้ พระสาวกเหล่าใดของพระพุทธเจ้า ตัดเครื่องผูกได้แล้ว กำจัดราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว มีใจบริสุทธิ์แล้วมีใจข้ามไปได้ดีแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว พระสาวกเหล่านั้น ก็ชื่อว่าถึงความสงบอย่างเยี่ยม ด้วยกำลังลูกคลื่นคือพระธรรม
   ด้วยเหตุการณ์อันนี้ ด้วยอนุมานอันนี้แหละ จึงควรทราบว่า พระพุทธเจ้านั้นมีอยู่

   ขอมหาบพิตรจงทรงจำไว้ว่า พวกที่ได้เห็นลูกคลื่นในสาคร ก็รู้ด้วยอนุมานว่า สาครนั้น จักต้องเป็นของ กว้างใหญ่ฉันใด ผู้มีปัญญาทั้งหลายได้เห็นลูกคลื่น คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้กำจัดความเศร้าโศกแล้ว ผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ผู้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ผู้เปลื้องการเวียนว่ายอยู่ในภพได้แล้ว ก็รู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ทำให้เกิดลูกคลื่น คือพระธรรม จักต้องเป็นผู้ล้ำเลิศในโลก ดังนี้ "

   " ข้าแต่พระนาคเสน โยมเคยได้ฟังมาว่าพวกฤาษีภายนอก ย่อมทำให้โลกนี้กับเทวโลกหวั่นไหวได้ แสดงกำลังฤทธิ์ก็ได้ จึงยากที่จะเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #326 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 18:47:35 »



   อุปมาพระยาเขาหิมพานต์

   " ขอถวายพระพร พระยาเขาหิมพานต์ประกอบด้วยระเบียบแห่งยอดเขา เงื้อมเขาล้วนเป็นศิลา ตั้งอยู่ในประเทศชื่อว่า " อชปถะ สังกุปถะ วลปถะ และเปตตปตะ " เป็นที่อาศัยอยู่แห่งตระกูลช้างฉัททันต์ ล้อมไปด้วยต้นไม้เครือไม้ อันปกคลุมเป็นสุมทุมต้นพฤกษาประดับประดาด้วยโตรกตรอกซอกเหวเขา มีต้นไม้เครือไม้นานาประการ ใหญ่สูงกว้างขวางดังท้องฟ้า เต็มไปด้วยต้นไม้ดอกต้นไม้ผล เกลื่อนกล่นไปด้วยสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งน้ำ คือซอกเขาลำเนาธาร อันมีน้ำเย็นใสสบายดี ประดับประดาไปด้วยเครื่องแวดล้อมคือหมู่สัตว์ต่าง ๆ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งหมู่คนธรรพ์เป็นที่เที่ยวไปมาแห่งวิชาธรและสัตว์มีปีกต่าง ๆ เป็นที่อาศัยอยู่แห่ง ครุฑ นาค อสูร กุมภัณฑ์ และยักษ์ทั้งหลาย และเป็นที่อาศัยอยู่แห่งหมู่สัตว์ร้ายนานาประการ ทั้งเต็มไปด้วยรากไม้ผลไม้ที่เป็นยา ทั้งมากไปด้วยเครื่องหอมมีจันทร์แดง กฤษณา กะลัมพัก เป็นต้น เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งที่มีกลิ่นหอมทั้งปวง มีภูเขา ล้อมรอบ คือ เขาตรีกูฏ เขาศิริกูฏ เขาไกรลาส เขาสุมนกูฏ เขาจิตตกูฏ เขายุคันธร แลดูสูงขึ้นไปเป็นชั้นเหมือนกับก้อนเมฆในวันแรม หรือเหมือนกับดอกอัญชันสีเขียวดูเป็นสีคราม สีม่วง สีหม่น บางแห่งก็เหมือนสีกายแห่งพญานาคอันเขียวดำ หรือเหมือนกับพยับแดดในเดือน ๕

   มนุษย์ทั้งหลายเห็นยอดเขานั้นตั้งแต่ไกลก็เข้าใจด้วยอนุมานว่า พระยาเขาหิมพานต์มีอยู่ฉันใด

   ภูเขาใหญ่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า อันพัวพันไว้ด้วยอารมณ์ คือฌานและธรรม มรรคผลเป็นเอนก เป็นที่อาศัยอยู่แห่งยอดเขา เงื้อมเขาอันว่างเปล่าอันไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง อันมีผลคือพระธรรมกถึก พระวินัยธรพระผู้ทรงพระสูตร พระผู้ทรงพระอภิธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกุศลคือพระอรหันต์ เป็นที่เที่ยวไปมาแห่งพระอริยเจ้าผู้ได้มรรคผล เป็นที่อาศัยอยู่แห่งผู้เข้าใกล้ได้ยากด้วยศีลธรรมคือผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ผู้ถือบิณฑบาตเป็นข้อวัตร ผู้มักน้อย ผู้ถือปฏิสัมภิทา ๔ เวสารัชชญาณ ๔ และผู้เลิศด้วยปัญญา เป็นต้น เกลื่อนกล่นด้วยยาถ่ายโรค ยาแก้พิษ ยารักษาไข้ เป็นบ่อเกิดแห่งของหอมทั้งปวง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สติปัฏฐาน สันโดษ ห้อมล้อมด้วยภูเขาอันประเสริฐคือ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค ล้วนแต่เป็นภูเขาธรรมสูง ๆ ทั้งนั้น ส่วนภูเขาธรรมที่สูงยิ่งก็คือ พระนิพพาน อันไม่มีธุลีมลทิน อันขาวผ่อง ไม่มีสิ่งใดถูกต้องเป็นที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง เป็นที่สักการะเคารพนับถือยิ่ง ของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย

   ภูเขาธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ ด้วยภูเขาธรรมนั้นแหละ ทำให้รู้ด้วยอนุมานว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แน่ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานนานมาแล้วก็ดี พระศาสนาของพระองค์อันไม่หวั่นไหว อันแพร่หลายดีก็ยังมีอยู่

   ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลได้เห็นยอดภูเขาอันสูงเยี่ยมเทียมเมฆ ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า ภูเขาใหญ่ในป่าหิมพานต์นั้นก็มีอยู่ฉันใด บุคคลได้เห็นธรรมบรรพตคีรี ภูเขาธรรมของพระพุทธเจ้า อันเป็นที่เยือกเย็นไม่เป็นที่ขังทุกข์ แล้วก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิสนั้นจักมีอยู่แน่ ดังนี้ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน พวกศาสนาภายนอกเขาก็แสดงมหาสมุทรโลก และธรรมคีรีได้โดยเอนกวิธี เพราะฉะนั้น จึงยากที่จะเชื่อได้ว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ด้วยเหตุนี้ ขอจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #327 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 18:54:37 »



   อุปมาเมฆฝนห่าใหญ่

   " ขอถวายพระพร เมื่อเมฆใหญ่อันจะตั้งขึ้นมาในทิศทั้ง ๔ จะให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมานั้นย่อมมีเครื่องหมายเป็นสำคัญ คือเบื้องบนอากาศเป็นกลุ่มเป็นก้อนห้อยย้อยเหมือนสร้อยสังวาลย์ทั้งมีลมใหญ่พัดผ่านมา ประชาชนทั้งหลายก็ดีใจ ช้าง ม้า สกุณา ก็บินร่อนชื่นชม สายฟ้าก็แปลบปลาบทั่วทิศทั้งหลาย ก้อนเมฆก็มีมากมายกว่าหมื่นพัน มีสีสันต่าง ๆ กัน บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างแดง บ้างขาว บ้างเลื่อม มีสีอ่อนแซมซ้อนสลับกัน อึงมี่กึกก้องไปด้วยเสียงฟ้าร้องเป็นอัศจรรย์ เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมา ก็มีน้ำฝนเต็มไปทั้งโตรกตรอกซอกเขา และห้วยหนองคลองบึงต้นไม้ใหญ่น้อยก็เขียวชอุ่มเป็นพุ่มงาม
   คนทั้งหลายก็อนุมานว่า ฝนครั้งนี้เป็นฝนห่าใหญ่ฉันใด

   อันว่าเมฆใหญ่ คือพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อจะตกลงมาก็มีอาการเหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็ทำให้มนุษย์โลก เทวโลก ชื่นชมยินดีด้วยห่าฝนพระธรรม ทำให้จิตใจของผู้ได้มรรคผล เกิดความอภิรมย์ยิ่ง กำจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหา เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน บางพวกก็ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกข์สังวรศีล และมรรคผลชั้นสูง ๆ เป็นลำดับขึ้นไป

   จึงควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่

   ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า คนทั้งหลายได้เห็นแผ่นดินชุ่มเย็นดี มีของสดเขียวเกิดขึ้น มีน้ำมาก ก็รู้ด้วยอนุมานว่า แผ่นดินดับร้อนด้วยฝนห่าใหญ่ฉันใด ผู้มีปัญญาได้เห็นเทพยดามนุษย์ร่าเริงบันเทิงใจ ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เอิบอิ่มด้วยฝนห่าใหญ่ คือพระธรรมฉันนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เมฆใหญ่ คือพระธรรม อันตกลงมากำจัดเสียซึ่งอวิชชานี้ก็เป็นการดีแล้ว แต่ขอจงแสดงซึ่งกำลังของพระพุทธเจ้า ตามเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #328 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 18:58:50 »



   อุปมารอยพญาช้าง

   " ขอถวายพระพร พญาช้างตัวประเสริฐอันสูง ๗ ศอก ยาว ๙ ศอก มีลักษณะดีถึง ๑๐ แห่ง เป็นเจ้าแห่งฝูงช้างอันมีในธรณี มีตาขาว หางขาว เล็บขาว เหมือนกับสีหมอก และเหมือนกับเศวตฉัตร เหมือนกับวิมานขาว มีกายเต็มไม่บกพร่อง มีอายตนะครบบริบูรณ์ ดูงามเหมือนยอดเขา อันมีหมู่ไม้ขึ้นสะพรั่ง พญาช้างนั้นอาจกำจัดข้าศึกทั้งปวงได้ มีกายใหญ่โต มีงางอกงามดังงอนไถ มีฤทธิ์ กล้าหาญ ชำนาญในการที่จะท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เป็นพญาช้างหนุ่ม แต่ละเสียซึ่งที่อยู่ของตน เที่ยวไปแสดงหาอาหารในป่าตามสบายใจ

   เวลาคนทั้งหลายได้เห็นรอย ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เป็นรอยพญาช้างฉันใด พระพุทธเจ้าก็เปรียบเหมือนกับช้างฉันนั้น เพราะเหตุว่า รอยพระพุทธเจ้ามีลักษณะประเสริฐถึง ๑๐๘ ประการ พระพุทธเจ้านั้นเปรียบด้วยพญาราชสีห์ก็ได้ เปรียบด้วยโคอสุภราชก็ได้ เพราะพระองค์ทรงพร้อมด้วยพระคุณธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงสละพระนครกบิลพัสดุ์ อันเป็นพระนครที่น่ายินดีเสียแล้วเที่ยวแสวงหาทางธรรม ได้สำเร็จพระธรรมแล้วก็ทรงแสดงรอยพระบาท คือ โพชฌงค์ ๗ ไว้ รอยพระบาทเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นรอยล้ำเลิศ ทำให้เกิดผลอันเลิศนานาประการ ด้วยเหตุการณ์อันนี้ ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่เป็นแน่ ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน น่าอัศจรรย์ เพราะรอยพญาช้างไม่ตั้งอยู่นาน ปรากฏอยู่เพียง ๕ - ๖ เดือนเท่านั้น นอกนั้นลบเลือนไป ส่วนรอยพระบาท คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ยังปรากฏอยู่ในโลกกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงซึ่งกำลังของพระพุทธเจ้าให้ยิ่งขึ้นไปอีกตามเหตุการณ์ "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #329 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 19:16:41 »



   อุปมาพญาราชสีห์

   " ขอถวายพระพร พญาราชสีห์ไม่มีความสะดุ้งกลัวสิ่งใดฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อสิ่งใดฉันนั้น พญาราชสีห์เป็นใหญ่กว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด พระพุทธเจ้าก็เป็นใหญ่กว่าคณาจารย์ทั้งหมดฉันนั้น เสียงพญาราชสีห์ ย่อมเป็นที่สะดุ้งกลัวของสัตว์เหล่าอื่น แต่เป็นที่ยินดีของหมู่ราชสีห์ด้วยกันฉันใด เสียงแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นที่สะดุ้งกลัวแก่พวกเจ้าลัทธิ แต่ทำให้เกิดความโสมนัสยินดีแก่พวกมีความเลื่อมใสศรัทธาฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ ก็ควรทราบว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งคุณอันหาที่สุดมิได้ ขอให้มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยเถิดว่า เมื่อคนทั้งหลายได้เห็นเนื้อและนก สะดุ้งกลัวด้วยเสียงราชสีห์ ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พวกเดียรถีย์ก็สะดุ้งกลัวพระธรรมของพระพุทธเจ้าฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลือพระสุรเสียง คือการทรงแสดงพระธรรมไว้ให้พวกเดียรถีย์ สะดุ้งกลัวกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าให้ยิ่งขึ้นไปอีก "


   อุปมาแม่น้ำใหญ่

   " ขอถวายพระพร แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ย่อมไหลมาจากป่าหิมพานต์ พัดเอาสัตว์และสิ่งของต่าง ๆ ลงไปสู่มหาสมุทร คนทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นกระแสแม่น้ำใหญ่ฉันใด ธรรมนทีของพระพุทธเจ้าก็พัดเอาหมู่สัตว์ ให้ไหลเข้าไปสู่สาครอันประเสริฐ คือนิพพานฉันนั้น ด้วยเหตุอันนี้ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ประกอบด้วยพระคุณธรรมทั้งปวง ขอมหาบพิตรจงทรงจำไว้ว่า เมื่อบุคคลได้เห็นเปือกตมโคลนเลนติดค้างอยู่ตามยอดไม้ ก็รู้ได้ว่ามีน้ำใหญ่ท่วมมาฉันใด เวลาได้เห็นเทพยดามนุษย์ ผู้ทิ้งเปือกตมคือกิเลสไว้ในโลกก็ควรรู้ได้ด้วยอุปมาว่า พระธรรมนทีอันใหญ่ของพระพุทธเจ้า ได้พัดพาเอาสัตวโลกไปฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน พระธรรมนทีของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตกแต่งไว้เพื่อให้พัดพาเอากิเลสไปมีอยู่หรือ ? "
   " มีอยู่ ขอถวายพระพร " " ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "


   อุปมากลิ่นดอกไม้

   " ขอถวายพระพร เมื่อลมพัดเอากลิ่นดอกไม้ไปถึงไหน ก็หอมไปถึงนั้น แต่ว่าหอมไปได้ตามลมเท่านั้น หอมทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ด้วยเหตุนี้ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอได้โปรดใส่พระทัยว่า คนทั้งหลายได้กลิ่นหอมมาตามลม ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เป็นกลิ่นหอมดอกไม้ฉันใด ผู้มีปัญญาทั้งหลายได้กลิ่นหอมคือศีล ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้าผู้เยี่ยมมีอยู่ ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่อาจแสดงให้สิ้นสุดกำลังของพระพุทธเจ้าได้ด้วยเหตุตั้งพัน จะอ้างเหตุอย่างไรก็ได้ เพราะว่าพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้ามีมาก หาประมาณมิได้ ข้อนี้เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ผู้ฉลาดเมื่อดอกไม้มีอยู่มาก จะร้อยให้เป็นดอกไม้อย่างไรก็ได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เท่าที่พระผู้เป็นเจ้าแสดงกำลังของพระพุทธเจ้ามานี้ ก็เป็นที่พอใจของโยมแล้ว โยมสบายใจด้วยการแก้ปัญหาอันวิจิตรยิ่งแล้ว "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #330 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 19:39:29 »



   ปัญหาที่ ๙ ถามเกี่ยวกับธุดงค์

   พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงเห็นพวกภิกษุที่ถือธุดงค์อยู่ในป่ามีอยู่ ทั้งรู้ว่าคฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จอนาคามีผลมีอยู่ จึงทรงสงสัยว่า ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จธรรมได้ ธุดงค์ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราจักถามถึงพระศาสนาอันละเอียดอันย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคำของผู้อื่น อันเป็นของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้ เพื่อให้สิ้นสงสัยของเรา

   ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้รีบเสด็จไปหาพระนาคเสนด้วยความรีบร้อน เหมือนกับโคที่กระหายน้ำ และเหมือนกับคนที่หิวข้าว เหมือนกับคนเดินทางไปพบพวกเดียว หรือเหมือนกับคนเจ็บไข้ต้องการหมอ เหมือนกับคนไม่มีทรัพย์แสดงหาทรัพย์ เหมือนกับผู้จะข้ามฟากต้องการเรือ เหมือนกับคนกำลังเกิดความรัก ต้องการความรัก หรือเหมือนกับคนเป่าปี่ ต้องการให้ปี่มีเสียงไพเราะ หรือเหมือนกับคนกลัวภัยแสวงหาที่พึ่ง หรือเหมือนกับพระภิกษุผู้ต้องการความดับกิเลสฉะนั้น

   ครั้นเสด็จเข้าไปถึงแล้ว จึงทรงนึกถึงคุณอันประเสริฐ ๑๐ ประการ ว่า
   ถ้าเราถามแล้ว ท่านแก้ให้เราฟัง

   เราก็จักหมดสงสัย ๑ ใจของเราจักบริสุทธิ์ ๑ เราจักไม่มีวิตกที่ชั่ว ๑ จักถึงซึ่งกระแสธรรม ๑ จักได้ปัญญาจักษุ ๑ จะได้ชื่อว่าอาจารย์อนุเคราะห์ ๑ จักเป็นผู้ไม่มีเครื่องกีดขวางกุศลธรรมทั้งปวง ๑ จะได้ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๑ จักไม่สะดุ้งกลัวต่อภพทั้งปวง ๑ เวลาเข้าสู่ที่ประชุมจะอาจแทงตลอดเหตุผลทั้งปวง ๑

   ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสถามขึ้นว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ได้สำเร็จนิพพานมีอยู่หรือ? "

   " มีอยู่ มหาบพิตร มีอยู่มากทีเดียว นับเป็นจำนวนร้อยหมื่นแสนล้านโกฏิไม่ได้"
   " ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงให้โยมแจ่มแจ้งด้วยเถิด "

   " ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นอาตมภาพจักแสดงถวาย คือพระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประกอบด้วยองค์ ๙ ย่อมรวมลงใน ธุดงค์ ทั้งนั้น เหมือนกับน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งสิ้น ย่อมไหลไปรวมมหาสมุทรฉันนั้น
   อาตมภาพจักจำแนกเนื้อความข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง เหมือนอาจารย์เลขผู้ฉลาดสอนเลขให้แก่ลูกศิษย์ฉะนั้น

   คฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผลในสมัยพุทธกาล
   ขอถวายพระพร ที่กรุงสาวัตถีมีอริยสาวก ๕ โกฏิ มีอุบาสกอุบาสิกาตั้งอยู่ในอนาคามีผลถึง ๓๕๗,๐๐๐คน พวกนั้นล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นบรรพชิตเลย

   ยังมีอีกคือคราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก็มีพวกคฤหัสถ์บรรลุมรรคผลถึง ๒๐ โกฏิ

   คราวทรงแสดงราหุโลวาทสูตร มหามงคลสูตร สมจิตตปริยายสูตร ปราภวสูตร จูฬสุภัททสูตร กลหวิวาทสูตร จูฬพยูหสูตร มหาพยูหสูตร ตุวัฏฏกสูตร สารีปุตตสูตร มีเทวดาบรรลุมรรคผลนับไม่ถ้วน ในกรุงราชคฤห์มีอริยสาวก ซึ่งล้วนแต่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ๓๕๐,๐๐๐ คน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #331 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 20:18:33 »



  ยังมีอีกคือในคราวทรงทรมานช้างธนบาล มีผู้ได้บรรลุมรรคผลอีก ๙๐ โกฏิ
   คราวทรงแก้ปัญหาแห่งมาณพ ๑๖ คน ( ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ที่ปาสาณกเจดีย์มีผู้บรรลุมรรคผลอีก ๑๔ โกฏิ
   คราวทรงแสดงสักกปัญหาสูตร ที่ถ้ำอินทสาลคูหา มีเทวดาบรรลุมรรคผลถึง ๘๐ โกฏิ

   คราวทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรที่ป่าอิสิปตนมิคทายวันครั้งแรก มีพรหม ๑๘ โกฏิ กับเทวดาประมาณมิได้บรรลุมรรคผล
   ในคราวทรงแสดงพระอภิธรรม ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ มีเทวดาบรรลุมรรคผล ๘๐ โกฏิ
   ในคราวเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ก็มีผู้บรรลุมรรคผล ๓๐ โกฏิ
   ในคราวทรงแสดงพุทธวงศ์ที่นิโครธารามกรุงบิลพัสดุ์ และในคราวทรงแสดงมหาสมัยสูตร ก็มีเทวดาได้บรรลุมรรคผลนับไม่ได้

   ในคราวนายสุมนมาลาการบูชาด้วยดอกมะลิ อันเรียกว่าในสมาคมแห่งสุมนมาลาการ และในสมาคมคราวทรงแสดงเรื่องอานันทเศรษฐี ในสมาคมคราวโปรดชัมพุกาชีวา ในคราวมัณฑุกเทพบุตรลงมาเฝ้า ในสมาคมคราวมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรลงมาเฝ้า คราวสมาคมนางสุรสานครโสเภณี และนางสิริมานครโสเภณี ธิดาช่างทอผูก ( เปสการี ) นางจูฬสุภัททา สาเกตพราหมณ์ อาฬาหณทัสสนะ สุนาปรัตปะ สักกปัญหา ติโลกุฑฑสูตร มีผู้บรรลุมรรคผลถึง ๘๔,๐๐๐คน

   พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในโลก อันมีใน ๑๖ ชนบทนั้น หรือไม่ว่าประทับอยู่ในที่ใด ๆ โดยมากมีเทพยดามนุษย์ สำเร็จนิพพานในที่นั้น ๆ คราวละ ๒ - ๓ ตลอดถึงคราวละแสน เทพยดามนุษย์เหล่านั้น เป็นพวกคฤหัสถ์ทั้งนั้นขอถวายพระพร "

   พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ธุดงคคุณ ๑๓ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
   ถ้าหากว่าความเจ็บไข้หายไปได้ด้วยการร่ายมนต์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับยาถ่าย
   และคนผู้มีความรู้ ถ้าปราบศัตรูได้ด้วยกำปั้น ดาบ หอก แหลน หลาว เกาทัณฑ์ ธนู หน้าไม้ ค้อนเหล็ก ไม้ค้อน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

   ถ้าขึ้นต้นไม้ได้ด้วยการผูกไม้ หรือกิ่งไม้ที่เป็นข้อเป็นปม คด ๆ งอ ๆ เป็นโพรงได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการที่แสวงหาบันไดยาว ๆ
   ถ้าธาตุจะเสมอดีได้ด้วยการนอนตามพื้นดิน ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาที่นอนที่สุขสบายดี
   ถ้าสามารถเดินผ่านพ้นทางที่มีอันตรายลำพังผู้เดียวได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาพรรคพวกที่มีศาตราวุธ

   ถ้าสามารถข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยแขนของตน ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาสะพานหรือเรือ
   ถ้าการกินอยู่ของตนมีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องเที่ยวขอผู้อื่น
   ถ้าได้น้ำในที่ไม่มีห้วงน้ำแล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะขุดบ่อน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ

   ข้อความเหล่านี้ฉันใด ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องถือธุดงคคุณ"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #332 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 20:24:09 »



   คุณแห่งธุดงค์ ๒๘ ประการ

   " ขอถวายพระพร ธุดงค์ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการคุณแห่งธุดงค์เหล่านั้น มีอยู่ ๒๘ ประการคือ

   ๑. การหาเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
   ๒. มีผลเป็นสุข
   ๓. เป็นของไม่มีโทษ
   ๔. บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย
   ๕. เป็นของไม่มีภัย

   ๖. เป็นของไม่เบียดเบียน
   ๗. มีแต่เจริญฝ่ายเดียว
   ๘ ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม
   ๙. ไม่ขุ่นมัว
   ๑๐. เป็นเครื่องป้องกัน

   ๑๑. ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา
   ๑๒. กำจัดเสียซึ่งอาวุธทั้งปวง
   ๑๓. มีประโยชน์ในทางสำรวม
   ๑๔. สมควรแก่สมณะ
   ๑๕. สงบนิ่ง

   ๑๖ พ้นจากความเศร้าหมองใจ
   ๑๗. เป็นเหตุให้สิ้นราคะ
   ๑๘ เป็นเหตุให้สิ้นโทสะ
   ๑๙. ทำโมหะให้พินาศ
   ๒๐. กำจัดเสียซึ่งมานะ
   
   ๒๑. เป็นเหตุตัดเสียซึ่งวิตกชั่ว
   ๒๒. ทำให้ข้ามสงสัยเสียได้
   ๒๓. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
   ๒๔. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
   ๒๕. เป็นเหตุให้อดทน

   ๒๖. เป็นของชั่งไม่ได้
   ๒๗. เป็นของหาประมาณมิได้
   ๒๘. ทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #333 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 20:31:56 »



   องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์

   ขอถวายพระพร บุคคลเหล่าใดสมาทานถือมั่นธุดงคคุณ บุคคลเหล่านั้นย่อมประกอบด้วยองค์ ๑๘ คือ

   ๑. มีมรรยาทบริสุทธิ์
   ๒. มีปฏิปทาบริบูรณ์ดี
   ๓. รักษากาย วาจา ดี
   ๔. มีใจบริสุทธิ์ดี
   ๕. ประคองความเพียรดี

   ๖. ระงับความกลัว
   ๗. ปราศจากความยึดถือในตัวตน
   ๘. ระงับความอาฆาต
   ๙. มีจิตเมตตา
   ๑๐. รอบรู้อาหาร


   ๑๑. เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง
   ๑๒. เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ
   ๑๓. เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
   ๑๔. ไม่ห่วงที่อยู่
   ๑๕. อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น


   ๑๖. เกลียดชังความชั่ว
   ๑๗. ยินดีในวิเวก
   ๑๘. ไม่ประมาทเนือง ๆ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #334 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 20:50:51 »



   ผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐

   ขอถวายพระพร
   บุคคลผู้ที่ควรแก่ธุดงคคุณ มีอยู่ ๑๐ คือ

    ๑. ผู้มีศรัทธา
    ๒. ผู้มีหิริ ( ละอายชั่ว )
    ๓. ผู้มีความอดทน
    ๔. ผู้ไม่คดโกง
    ๕. ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล

    ๖. ผู้ไม่ละโมภ
    ๗. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
    ๘. ผู้มีใจมั่นคง
    ๙. ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น
   ๑๐. ผู้อยู่ด้วยเมตตา


   ขอถวายพระพร พวกคฤหัสถ์ที่กระทำให้แจ้งนิพพานทั้งสิ้น ล้วนได้กระทำให้ธุดงคคุณ ๑๓ ไว้ในชาติก่อน ๆ แล้วทั้งนั้น มาในชาตินี้ได้กระทำความประพฤติ และการปฏิบัติให้บริสุทธิ์ซึ่งอีก จึงจะสำเร็จนิพพานได้
   อุปมาธุดงคคุณ เปรียบเหมือนพวกนายขมังธนูผู้ฉลาดได้ฝึกหัดวิชาธนูไว้ก่อนแล้ว ครั้งเข้าไปสู่พระราชฐาน ก็ยิงถวายพระมหากษัตริย์ได้แม่นยำ แล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก

   ฉะนั้นผู้ไม่ได้กระทำในธุดงค์ไว้เมื่อชาติก่อน ย่อมไม่สำเร็จอรหันต์ในชาตินี้ จะสำเร็จก็เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น
   อีกประการหนึ่ง ผู้ได้กระทำธุดงค์ ๑๓ ไว้ในชาติก่อนมาชำนาญแล้ว มาชาตินี้ได้อบรมความประพฤติและข้อปฏิบัติซ้ำอีก ก็กระทำให้แจ้งนิพพานได้ เหมือนกับแพทย์ที่เรียนจนชำนิชำนาญในสำนักอาจารย์มาแล้ว ก็รักษาโรคได้ดีฉะนั้น

   การสำเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ เหมือนกับการไม่งอกขึ้นแห่งพืชด้วยไม่ถูกรดน้ำฉะนั้น
   หรือเหมือนกับการไปสู่สุคติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำกุศลไว้ฉะนั้น ขอถวายพระพร


http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=205.345
(ต่อที่ # ๓๔๕ หน้า ๒๔ ธุดงคคุณ)

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #335 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 17:31:34 »



   ธุดงคคุณ
   
   เปรียบเหมือนปฐพี เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์   
   และเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นเครื่องชำระกิเลสมลทิน   
   เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนลม เพราะเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป   
   เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้ความเจ็บไข้คือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนดังน้ำอมฤต เพราะทำลายกิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแก้วมโนหรจินดา เพราะให้สำเร็จสมบัติตามความปรารถนา   
   เปรียบเหมือนเรือ เพราะให้ข้ามฟากคือสงสารได้   
   เปรียบเหมือนเครื่องป้องกันภัย เพราะทำให้เกิดความเบาใจแก่ผู้กลัวชรามรณะ

   
   เปรียบเหมือนมารดา เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ ซึ่งผู้กำจัดกิเลสแห่งทุกข์   
   เปรียบเหมือนบิดา เพราะทำให้เกิดผลแห่งความเป็นสมณะ   
   เปรียบเหมือนมิตร เพราะไม่ทำให้ผิดพลาด จากการแสวงหาคุณธรรม   
   เปรียบเหมือนดอกปทุม เพราะไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส   
   เปรียบเหมือนของหอม ๔ อย่าง เพราะกำจัดกลิ่นเหม็นคือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนพระยาเขาสิเนรุราช เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘   
   เปรียบเหมือนอากาศ เพราะปราศจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแม่น้ำ เพราะเป็นที่ล้างเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส   
   เปรียบเหมือนผู้นำทางเพราะช่วยให้ข้ามพ้นหนทางที่กันดาร คือหลงผิดไปกับการเกิด   
   เปรียบเหมือนหมู่เกวียนเพราะส่งให้ถึงพระนครคือนิพพาน อันประเสริฐอันไม่มีภัย ไม่มีกิเลสและกองทุกข์

   
   เปรียบเหมือนกระจกที่บริสุทธิ์สะอาดเพราะทำให้เห็นความจริงแห่งสังขารทั้งหลาย   
   เปรียบเหมือนโล่ห์ เพราะเป็นเครื่องกั้นซึ่งไม้ค้อน ลูกศร อาวุธ คือกิเลศ   
   เปรียบเหมือนดวงจันทร์เพราะทำให้เกิดความเย็นใจ   
   เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เพราะกำจัดความมืดทั้งปวง

   
   ขอถวายพระพร ธุดงคคุณย่อมมีคุณมาก เป็นของทำความเกื้อกูล ทำความสบาย ทำความรัก ทำความไม่มีโทษ ทำให้ไปจากบาป เป็นที่ตั้งนำมาซึ่งยศ นำมาซึ่งสุข มีสุขเป็นผล มีคุณมากมายก่ายกอง มีพระคุณหาประมาณมิได้ เป็นของประเสริฐในที่ทั้งปวง เป็นเครื่องกำจัดภัย กำจัดโศก กำจัดทุกข์ กำจัดความกระวนกระวาย กำจัดความเร่าร้อน กำจัดความไม่ยินดีทางธรรม กำจัดภพ กำจัดตะปู กำจัดราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กำจัดอกุศลทั้งปวง ขอถวายพระพร

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #336 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 17:54:27 »



   มนุษย์ทั้งหลายย่อมบริโภคอาหาร เพราะเป็นเครื่องค้ำชูชีวิต ย่อมบริโภคยา ใช้ยา เพราะเป็นของเกื้อกูล ย่อมคบมิตร เพราะเห็นแก่อุปการคุณ ย่อมหารือ เพราะมุ่งจะข้าฟาก ย่อมหาดอกไม้ของหอม ด้วยต้องการกลิ่นหอม ย่อมหาเครื่องป้องกันภัยด้วยไม่อยากมีภัย ย่อมหาแผ่นดินด้วยเห็นว่าเป็นที่อาศัย ย่อมหาอาจารย์ เพราะอยากได้ความรู้ ย่อมหาพระราชา เพราะอยากได้ยศ ย่อมหาแก้วมณี เพราะอยากได้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวงฉันใด
   
   พระอริยะทั้งหลาย
ก็เป็นประพฤติธุดงคคุณ ด้วยเห็นว่าเป็นเครื่องให้สำเร็จคุณแห่งสมณะทั้งปวงฉันนั้น ขอถวายพระพร
   
   อีกอย่างหนึ่ง น้ำเป็นของทำให้พืชงอกงาม ไฟเป็นของเผา อาหารเป็นของทำให้เกิดกำลัง เครื่องไม้สำหรับผูกมัดอาวุธสำหรับผ่าตัด น้ำดื่มสำหรับกำจัดความกระหายน้ำ ขุมทรัพย์ทำให้เกิดความยินดี เรือสำหรับข้ามฟาก ยาสำหรับแก้โรค ยานพาหนะสำหรับไปมาให้สบาย เครื่องป้องกันสำหรับกำจัดภัย พระราชาสำหรับปกครอง โล่ห์สำหรับป้องกันไม้ค้อน ก้อนดิน ก้อนเหล็ก ลูกศร อาวุธ อาจารย์สำหรับสั่งสอน มารดาสำหรับเลี้ยง กระจกสำหรับส่องเครื่องแต่งกายให้สวยงาม ผ้าสำหรับปกปิด บันไดสำหรับให้ขึ้นลง คันชั่งสำหรับชั่งมนต์สำหรับร่าย อาวุธสำหรับป้องกันตัว ประทีปสำหรับกำจัดความมืด ลมสำหรับดับความร้อน ศิลปะสำหรับเลี้ยงชีวิต ยาแก้พิษสำหรับประดับ บ่อสำหรับทำให้เกิดแก้ว แก้วสำหรับประดับ อาญาสำหรับไม่ให้ล่วงละเมิด ความเป็นใหญ่สำหรับให้มีอำนาจ ฉันใด
   
   ธุดงคคุณก็ฉันนั้น
คือธุดงคคุณสำหรับเป็นที่งอกแห่งพืชคือคุณแห่งความเป็นสมณะ สำหรับเผามลทินคือกิเลส ทำให้เกิดกำลังฤทธิ์เป็นเครื่องผูกสติไว้ เป็นเครื่องกำจัดลูกศรคือความสงสัย เป็นเครื่องกำจัดความหิวกระหายคือตัณหา เป็นเครื่องทำให้เบาใจในการสำเร็จธรรม เป็นเครื่องข้ามห้วงกิเลสทั้ง ๔ เป็นเครื่องดับโรคคือกิเลส เป็นเครื่องทำให้ไปสู่ที่มีความสุขคือนิพพาน เป็นเครื่องดับทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องรักษาสมณคุณ เป็นเครื่องกำจัดวิตกชั่วร้าย เป็นเครื่องสอนให้ได้สมณคุณ เป็นเครื่องเลี้ยงสมณคุณ เป็นเครื่องทำให้เป็นสมถะวิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน เป็นที่สรรเสริญแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเครื่องทำให้เกิดคุณอันใหญ่อันงาม เป็นเครื่องเปิดเผยอุบายทั้งปวง เป็นที่ขึ้นไปสู่ยอดเขาคือสมณคุณ เป็นเครื่องชั่งซึ่งความเป็นไปแห่งจิตไม่ให้คดโกง เป็นเครื่องสาธยายธรรมที่ควรเกี่ยวข้องและไม่ควรเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องปราบศัตรูคือกิเลส เป็นเครื่องกำจัดความมืดคืออวิชชา เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนคือไฟ ๓ กอง เป็นเครื่องให้สำเร็จสมบัติอันสงบละเอียด เป็นเครื่องให้เกิดการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นเครื่องรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมทั้งปวง เป็นที่เกิดแห่งแก้วอันประเสริฐคืออภิญญา เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดสันติสุขอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ล่วงอริยธรรมไปได้
   
   เป็นอันว่า ธุดงคคุณอย่างหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้ได้คุณเหล่านี้ ธุดงคคุณเป็นของมีคุณชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนเป็นของประเสริฐสุด ขอถวายพระพร

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #337 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 18:08:10 »



   บุคคลผู้มักมาก ผู้ลวงโลก ผู้ละโมภ ผู้เห็นแก่ท้อง ผู้มุ่งลาภยศสรรเสริญ ผู้ไม่ประกอบในทางธรรม ย่อมไม่สมควรสมาทานธุดงค์ เพราะจะทำให้ได้รับโทษทวีคูณ ทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป
   
   คือในชาตินี้ก็จะได้รับแต่ความติเตียน ส่วนในชาติหน้าก็จักไปจมอยู่ในอเวจีนรก พ้นจากอเวจีนรกมาแล้ว จะมาเกิดเป็นเปรตอีก เหมือนกับผู้ทำผิดต่อพระราชา ย่อมได้รับพระราชอาชญา มีตัดมือตัดเท้าเป็นต้นฉะนั้น
   
   ส่วนผู้ที่มักน้อยสันโดษ ชอบสงัดมีความเพียรแรงกล้า ไม่มีความโอ้อวดมารยา ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่มุ่งลาภยศ สรรเสริญ เป็นผู้บวชด้วยศรัทธา ปรารถนาจะพ้นจากชรามรณะ จึงควรสมาทานธุดงค์ เมื่อสมาทานธุดงค์แล้ว ย่อมได้รับผลทวีคูณ ย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของเทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อมั่นอยู่ในธุดงค์แล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็เจริญขึ้น แล้วก็ได้สำเร็จโลกุตตรผลนานาประการ
   
   เหมือนกับผู้เป็นข้าเฝ้าของพระมหากษัตริย์ ทำให้เป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์แล้ว ย่อมได้รับพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ ฉะนั้น ขอถวายพระพร


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #338 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 18:13:23 »



   ผู้ที่กระทำให้บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว ย่อมได้สำเร็จคุณวิเศษต่าง ๆ เป็นต้นว่า รูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ และอภิญญา ๖
   
   อันว่าธุดงคคุณ ๑๓ นั้นได้แก่อะไร...   
   ธุดงค์ ๑๓ ข้อ
   
   ๑. ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร   
   ๒. ถือทรงเพียรไตรจีวรเป็นวัตร   
   ๓. ถือเที่ยวบิณฑาตเป็นวัตร   
   ๔. ถือเที่ยวบิณฑาตไปตามแถวเป็นวัตร   
   ๕. ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
   
   ๖. ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร   
   ๗. ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร   
   ๘. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร   
   ๙. ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร

   ๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร   
   ๑๑. ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร   
   ๑๒. ถืออยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร   
   ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร
   
   ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ๑๓ นั้นแล้ว ย่อมได้สามัญคุณทั้งปวง เปรียบเหมือนพ่อค้าเรือผู้มีทรัพย์ ไปค้าขายได้กำไรงามฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนชาวนาทำนาได้ข้าวมาก เปรียบเหมือนกษัตริย์ ได้เป็นใหญ่ในปฐพีฉะนั้น ขอถวายพระพร   
   พระอุปเสนเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งวังคันตพราหมณ์ ได้ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ได้รับสรรเสริญจากพระพุทธองค์ในที่ประชุมชน ขอถวายพระพร

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #339 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 18:46:11 »



   ดอกปทุมอันเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คือเป็นของอ่อนนุ่ม ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและตม ๑ ประดับไปด้วยใบอ่อนเกษรและกลีบ ๑ เป็นที่ประชุมแห่งแมลงผึ้งแมลงภู่ ๑ เจริญอยู่ในน้ำอันเย็น๑ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
   
   ธุดงคคุณก็ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการฉันนั้น คือ อ่อนสนิท ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนเลน ๑ ประดับด้วยใบเกษรและก้าน ๑ เป็นที่เกาะเกี่ยวแห่งหมู่แมลงผึ้ง ๑ เกิดขึ้นในน้ำอันเย็น ๑

   คุณอันประเสริฐ ๓๐ ของผู้บำเพ็ญธุดงค์   
   ขอถวายพระพร อริยสาวกย่อมประกอบด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐
   ด้วยธุดงค์ ๑๓ อันตนได้บำเพ็ญแล้วในชาติก่อน
   
   คุณอันประเสริฐ ๓๐ นั้น ได้แก่อะไร...ได้แก่   
   ๑. มีจิตเมตตา อ่อนโยน เยือกเย็น   
   ๒. ฆ่ากิเลส กำจัดกเลส   
   ๓. ฆ่ามานะทิฏฐิ กำจัดมานะทิฏฐิ   
   ๔. มีศรัทธาตั้งมั่น   
   ๕. ได้ความร่าเริงดีใจง่าย
   
   ๖. ได้สมาบัติอันเป็นสุขอย่างสงบแน่นอน   
   ๗. อบรมด้วยกลิ่นหอมคือศีล   
   ๘. เป็นที่รักของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย   
   ๙. ได้กำลังแห่งพระขีณาสพ   
   ๑๐. เป็นที่ปรารถนาของพระอริยบุคคล
   
   ๑๑. เป็นที่สรรเสริญและเป็นที่เชยชม แห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย   
   ๑๒. เป็นที่กราบไหว้บูชาของพวกอสูร   
   ๑๓. เป็นที่สรรเสริญของมารทั้งหลาย   
   ๑๔. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก   
   ๑๕. เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
   
   ๑๖. เป็นผู้สำเร็จประโยชน์อันประเสริฐ คือมรรคผล   
   ๑๗. เป็นผู้มีส่วนแห่งปัจจัยอันไพบูลย์ประณีต   
   ๑๘. เป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่อยู่ที่นอน   
   ๑๙. เป็นผู้อยู่ด้วยฌานอันประเสริฐ   
   ๒๐. เป็นผู้ตัดวัตถุแห่งกิเลสให้ขาดสูญ
   
   ๒๑. มั่นอยู่ในธรรมอันไม่รู้จักกำเริบ   
   ๒๒. มีการบริโภคสิ่งไม่มีโทษ   
   ๒๓. เป็นผู้หลุดพ้นจากคติ คือภพที่จะถือกำเนิดอีก   
   ๒๔. เป็นผู้ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้   
   ๒๕. เป็นผู้เพ่งต่อวิมุตติ คือความหลุดพ้น
   
   ๒๖. เป็นผู้เข้าถึงซึ่งเครื่องป้องกันภัย อันไม่หวั่นไหว   
   ๒๗. เป็นผู้ตัดอนุสัย คือกิเลสละเอียดเสียได้   
   ๒๘. เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะทั้งปวง   
   ๒๙. เป็นผู้ได้ซึ่งสุขสมาบัติอันสงบ   
   ๓๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสมณคุณ คือคุณแห่งสมณะ ขอถวายพระพร
   
   พระสารีบุตรเถระ ผู้ลำเลิศในหมื่นโลกธาตุ ยกองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอเหมือนก็เพราะได้อบรมในธุดงคคุณ ๑๓ มาตลอดอสงไขย หาประมาณมิได้ ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า   
   " เป็นผู้ใช้พระธรรมจักรอันเยี่ยม ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธองค์ได้"   
   จึงเป็นอันว่า ธุดงคคุณ ให้ซึ่งคุณหาที่สุดมิได้อย่างนี้แล ขอถวายพระพร "
   
   พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า   
   " ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธวจนะทั้งสิ้น ที่ได้สำเร็จคุณวิเศษทั้งหลายย่อมรวมลงใน ธุดงคคุณ ๑๓ ทั้งนั้น ข้อนี้เป็นอันโยมเข้าใจดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.168 Chrome 18.0.1025.168


ดูรายละเอียด
« ตอบ #340 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 19:08:16 »



   อุปมากถาปัญหา   
   บทมาติกา
   อุปมาปัญหาว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสำเร็จพระอรหันต์ได้? "   
   " ขอถวายพระพร ภิกษุผู้มุ่งจะสำเร็จพระอรหันต์ ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งลา องค์ ๕ แห่งไก่ องค์ ๑๐ แห่งกระแต องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง องค์ ๕ แห่งเต่า องค์ ๑ แห่งไม่ไผ่ องค์ ๒ แห่งกา องค์ ๒ แห่งวานร ( นี้เป็น วรรคที่ ๑ )   
   ( วรรคที่ ๒ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้า องค์ ๓ แห่งดอกปทุม องค์ ๒ แห่งพัด องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง องค์ ๓ แห่งเรือ องค์ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือ องค์ ๑ แห่งเสากระโดง องค์ ๓ แห่งนายท้ายเรือ องค์ ๑ แห่งกรรมกร องค์ ๕ แห่งทะเล
   
   ( วรรคที่ ๓ ) ควรถือเอาองค์ ๕ แห่งปฐพี องค์ ๕ แห่งแม่น้ำ องค์ ๕ แห่งไฟ องค์ ๕ แห่งพายุ องค์ ๕ แห่งบรรพต องค์ ๕ แห่งอากาศ องค์ ๕ แห่งพระจันทร์ องค์ ๕ แห่งพระอาทิตย์ องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ องค์ ๕ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ   
   ( วรรคที่ ๔ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งปลวก องค์ ๒ แห่งแมว องค์ ๑ แห่งหนู องค์ ๑ แห่งแมงป่อง องค์ ๑ แห่งพังพอน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า องค์ ๔ แห่งโค องค์ ๒ แห่งหมู องค์ ๕ แห่งช้าง   
   ( วรรคที่ ๕ ) ควรถือเอาองค์ ๗ แห่งราชสีห์ องค์ ๓ แห่งนกจากพราก องค์ ๒ แห่งนกเงือก องค์ ๑ แห่งนกกระจอก องค์ ๒ แห่งนกเค้า องค์ ๒ แห่งตะขาบ องค์ ๒ แห่งค้างคาว องค์ ๑ แห่งปลิง องค์ ๓ แห่งงู องค์ ๑ แห่งงูเหลือม
   
   ( วรรคที่ ๖ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งแมงมุม องค์ ๑ แห่งเด็กออ่น องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง องค์ ๕ แห่งป่า องค์ ๓ แห่งต้นไม้ องค์ ๕ แห่งเมฆ องค์ ๓ แห่งแก้วมณี องค์ ๔ แห่งนายพราน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด องค์ ๒ แห่งช่างไม้   
   ( วรรคที่ ๗ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งช่างหม้อ องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ องค์ ๓ แห่งฉัตร องค์ ๓ แห่งนา องค์ ๒ แห่งยาดับพิษงู องค์ ๓ แห่งโภชนะ องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู องค์ ๔ แห่งพระราชา องค์ ๒ แห่งนายประตู องค์ ๑ แห่งหินบด   
   ( วรรคที่ ๘ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งประทีป องค์ ๒ แห่งนกยูง องค์ ๒ แห่งโคอุสุภราช องค์ ๒ แห่งม้า องค์ ๒ แห่งบ่อน้ำ องค์ ๒ แห่งเขื่อน องค์ ๒ แห่งคันชั่ง องค์ ๒ แห่งพระขรรค์ องค์ ๒ แห่งชาวประมง องค์ ๑ แห่งกู้หนี้
   
   ( วรรคที่ ๙ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งคนเจ็บป่วย องค์ ๒ แห่งหนทาง องค์ ๒ แห่งแม่น้ำ องค์ ๑ แห่งมหรสพ องค์ ๓ แห่งบาตร องค์ ๑ แห่งของเสวย องค์ ๓ แห่งโจร องค์ ๑ แห่งเหยี่ยวนกเขา องค์ ๑ แห่งสุนัข องค์ ๓ แห่งคนรักษาโรค องค์ ๒ แห่งหญิงมีครรภ์   
   ( วรรคที่ ๑๐ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งนกจามรี องค์ ๒ แห่งนกกระต้อยตีวิด องค์ ๒ แห่งนกพิราบ องค์ ๒ แหงนกตาข้างเดียว องค์ ๓ แห่งคนไถนา องค์ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอกชัมพุกะ องค์ ๒ แห่งผ้ากรองด่าง องค์ ๑ แห่งทัพพี องค์ ๓ แห่งคนใช้หนี้แล้ว องค์ ๑ แห่งอวิจีนิกะ   
   ( วรรคที่ ๑๑ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งนายสารถี องค์ ๑ แห่งช่างหูก องค์ ๑ แห่งมัตถยิกะ องค์ ๒ แห่งโภชนกะ องค์ ๑ แห่งช่างชุน องค์ ๑ แห่งนายเรือ องค์ ๒ แห่งแมลงภู่ "

   
   หมายเหตุ ในมาติกามีถึงวรรคที่ ๑๑ แต่ในรายละเอียดท่านกล่าวไว้เพียงวรรค ๗ ปัญหาที่ ๗ (องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู) เท่านั้น

บันทึกการเข้า
คำค้น: ท่านเมนานเดอร์ พระนาคเสน ปัญหาธรรม 
หน้า:  1 ... 15 16 [17] 18 19 20   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.351 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กุมภาพันธ์ 2567 03:11:24