[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 20:03:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ออสเตรเลียมีแผนลงประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ให้มี 'เสียง' ที่ปรึกษาในสภาจากชนพื  (อ่าน 54 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 กันยายน 2566 11:40:18 »

ออสเตรเลียมีแผนลงประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ให้มี 'เสียง' ที่ปรึกษาในสภาจากชนพื้นเมือง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-06 10:41</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ในออสเตรเลียกำลังจะมีการโหวตลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีกลไกรับรองสิทธิคนพื้นเมืองในสภาที่เรียกว่า "Voice Referendum" ซึ่งมีการอภิปรายโต้เถียงกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านในหลายแง่มุม ซึ่งฝ่ายสนับสนุนมองเป็นความก้าวหน้าที่ประเทศอื่นๆ ก็มีมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ฝ่ายค้านมองว่ามันไม่ได้รวมผู้คนเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างแท้จริงหรือมองว่ามันไม่ได้ส่งผลจริงในทางปฏิบัติ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52740137755_649df421e7_o_d.png" /></p>
<p>ประเทศออสเตรเลียกำลังจะมีการโหวตลงประชามติภายในวันที่ 14 ต.ค. 2566 ที่จะถึงนี้ เกี่ยวกับเรื่องการมีสิทธิมีเสียงของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมของออสเตรเลียในรัฐสภา ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย แต่การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้จะต้องมีการทำประชามติรับรองจากประชาชนเสียก่อน</p>
<p>แผนการให้สิทธิให้เสียงแก่กลุ่มชนพื้นเมืองในสภานี้เป็นหนึ่งในกระบวนการปรองดองกับชนพื้นเมืองโดยรัฐบาลออสเตรเลียที่ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว แผนการดังกล่าวนี้มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมครั้งประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมจากทั่วประเทศเมื่อปี 2560</p>
<p>ในตอนนั้นมีตัวแทนจากกลุ่มชนพื้นเมืองรวม 250 ราย ประชุมที่โขดหินอุลูรู จนมีการบรรลุข้อตกลงร่วมกันออกมาเป็นแถลงการณ์ 440 ตัวอักษร ที่มีชื่อเรียกว่า "แถลงการณ์อุลูรูจากหัวใจ" ในแถลงการณ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักๆ อยู่ 3 ประการ คือ</p>
<p>1. การมีสิทธิมีเสียงในรัฐสภา หรือที่เรียกว่า "เสียงในรัฐสภา"
2. สนธิสัญญา
3. การพูดความจริง</p>
<p>ในแถลงการณ์ดังกล่าวยังมีการอ้างอิงถึงประชามติเมื่อปี 2510 ซึ่งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการนับรวมกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมของออสเตรเลียและชนพื้นเมืองตามหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประชากรออสเตรเลียด้วย และระบุให้อำนาจรัฐบาลกลางในการร่างกฎหมายเพื่อกลุ่มชนพื้นเมืองในรัฐต่างๆ ของออสเตรเลีย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">"เสียงในรัฐสภา" เป็นกลไกแบบไหนกันแน่</span></h2>
<p>กลไกการให้สิทธิให้เสียงในรัฐสภาหรือที่เรียกว่า "เสียงในรัฐสภา" นี้จะเป็นการให้ชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชนพื้นเมืองหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรสมีผู้แทนถาวรและมีการรับรองชนพื้นเมืองเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ</p>
<p>หน่วยใหม่ในรัฐสภานี้จะเป็นตัวแทนของประชากรชนพื้นเมืองจากทั่วประเทศออสเตรเลีย เพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นต่อรัฐบาลกลาง ในเรื่องการตัดสินใจ, นโยบาย และกฎหมายต่างๆ ที่กระทบต่อชีวิตของพวกเขา ซึ่งจะเป็นประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสังคม, จิตวิญญาณ และสถานะความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจของชนพื้นเมืองดั้งเดิมกับชนพื้นเมืองหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรส</p>
<p>"เสียงในรัฐสภา" จะนับเป็นหน่วยที่คำปรึกษา แต่จะไม่มีอำนาจในการลบล้างมติรัฐสภา หรือที่เรียกว่าอำนาจในการ "วีโต้"</p>
<h2><span style="color:#3498db;">โครงสร้างของ "เสียงในรัฐสภา" จะเป็นอย่างไร</span></h2>
<p>โครงสร้างของกลไก "เสียงในรัฐสภา" สำหรับชนพื้นเมืองจะขึ้นอยู่กับการร่างกฎหมายออกมากำกับหลังจากที่เสียงโหวตประชามติสนับสนุนเป็นฝ่ายชนะแล้วเท่านั้น</p>
<p>ทางรัฐบาลออสเตรเลียตอบข้อซักถามต่อเรื่องนี้โดยอ้างถึงรายงานที่เขียนอย่างละเอียดของศาสตราจารย์ ทอม คัลมา และ มาร์เซีย แลงตัน ถึงแม้ว่าเนื้อหาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่รายงานของพวกเขาก็นำเสนอเป็นโครงร่างออกมาได้ดังนี้ คือ</p>
<p>"เสียงในรัฐสภา" จะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ เสียงในภาคส่วนท้องถิ่นกับภูมิภาค และเสียงในภาคส่วนระดับประเทศ</p>
<p>เสียงในระดับประเทศจะจัดให้มีผู้แทนชนพื้นเมือง 2 ราย ต่อรัฐและอาณาเขต รวมแล้ว 16 ราย  มีผู้แทนจากพื้นที่ชุมชนห่างไกล 5 ราย มี 2 ราย จากช่องแคบทอร์เรส และ 1 ราย จากชาวช่องแคบทอร์เรสที่อาศัยบนออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่ โดยระบุให้ต้องมีความสมดุลระหว่างเพศกันจำนวนสมาชิกเหล่านี้ และแต่ละคนจะอยู่ในตำแหน่งได้ 4 ปี รวมถึงดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัย</p>
<p>มีประธานร่วม 2 รายที่มาจากการโหวตโดยสมาชิกกลุ่มชนพื้นเมืองเอง และผู้แทนต่างๆ จากชนพื้นเมืองจะมาจากการโหวตโดยตัวแทนเสียงจากท้องถิ่นกับภูมิภาค</p>
<p>ผู้ที่เป็นตัวแทนเสียงจากท้องถิ่นกับภูมิภาคจะมีอยู่ 35 ราย แต่ละรายจะมาจากการเลือกของแต่ละชุมชนที่พวกเขาเป็นตัวแทน เพื่อเป็นการสะท้อนว่ากลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมและกลุ่มชนพื้นเมืองช่องแคบทอร์เรสต่างก็มีอยู่มากมายหลากหลาย ไม่ใช่กลุ่มๆ เดียวที่จะสามารถนำวิธีการแก้ปัญหาแบบเดียวมาใช้กับทุกชุมชนได้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">"เสียงในรัฐสภา" ของกลุ่มชนพื้นเมืองจะทำอะไรบ้าง</span></h2>
<p>กลุ่ม "เสียงในรัฐสภา" เหล่านี้ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชนพื้นเมืองทั่วประเทศออสเตรเลียมีปากมีเสียงในนโยบายรัฐบาล กลุ่มทำประชามติในเรื่องนี้ระบุว่า "เสียง" จากชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นกลุ่มอิสระผู้ให้คำปรึกษาต่อรัฐสภาและรัฐบาล ได้รับการเลือกมาจากเจตนารมณ์ของชุมชนในท้องถิ่น มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และ "จะเป็นไปในเชิงเสริมพลัง นำโดยชุมชน มีความครอบคลุม มีความเคารพ เข้าใจในวัฒนธรรม และมีสมดุลทางเพศ รวมถึงจะให้มีการเพิ่มเยาวชนเช้าไปด้วย"</p>
<p>อย่างไรก็ตาม "เสียง" จากชนพื้นเมืองสามารถให้คำปรึกษาได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถเป็นผู้ให้บริการภาครัฐ หรือบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดิน หรือเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างองค์กรชนพื้นเมืองต่างๆ ได้</p>
<p>ถ้าหากการทำประชามติในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะมีการระบุถึง "เสียง" ของชนพื้นเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐบาลถัดไปไม่สามารถล้มล้างกลไกนี้ได้ ถ้าหากว่าประชามติล้มเหลวก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่จะมีการพิจารณากันต่อไปว่าจะมีการใช้วิธีการอื่นหรือไม่อย่างไร</p>
<p>โนเอล เพียร์สัน นักรณรงค์เรื่องชนพื้นเมืองบอกว่า "การปฏิเสธ 'เสียงในรัฐสภา' จะสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการเป็นผู้นำชุมชนชนพื้นเมืองทั้งรุ่น เป็นการบ่งบอกว่ามันจะต้องขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ในการหาทางอื่นๆ เพื่อไปต่อ"</p>
<p>อย่างไรก็ตามทีผู้ที่คัดค้านเช่น เดวิด ลิตเติลพราวด์ จากพรรคชาติออสเตรเลีย กล่าวไว้เมื่อเดือน พ.ย. 2565 ระบุว่าพรรคของเขาต่อต้านระบบ "เสียง" จากชนพื้นเมืองเพราะว่ามันไม่ได้แก้ปัญหาที่ชนพื้นเมืองกำลังเผชิญอยู่อย่างแท้จริง</p>
<p>ในเวลาต่อมาหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพรรคเสรีนิยมออสเตรเลียคือ ปีเตอร์ ดัตตัน ก็กล่าวคล้อยตามพรรคชาติเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา โดยบอกว่าพรรคของเขาสนับสนุนการระบุยอมรับชนพื้นเมืองเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่จะไม่สนับสนุนเรื่องการระบุคณะที่ปรึกษาชนพื้นเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่ามันจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังใดๆ ต่อกลุ่มชนพื้นเมืองออสเตรเลีย</p>
<p>ดัตตันเสนอว่ากลุ่มคนที่เป็นตัวแทน "เสียง" เหล่านี้ควรจะรับฟังผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนของพวกเขามากกว่า และมองว่าระบบแบบ "เสียง" ที่ว่านี้ไม่ได้เป็นการรวมผู้คนเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างแท้จริง</p>
<p>มีชนพื้นเมืองออสเตรเลียบางส่วนที่ประกาศจะโหวต "โน" เช่นกัน กลุ่มที่ประกาศในเรื่องนี้คือกลุ่ม "แฟร์ออสเตรเลีย" ที่นำโดยรัฐมนตรีเงาชนพื้นเมืองออสเตรเลีย จาซินตา นัมปิจินพา ไพรซ์ ที่ร่วมรณรงค์กับนักการเมืองอีกสองพรรคที่เรียกแนวทางของตัวเองว่า "เล็งเห็นถึงหนทางที่ดีกว่า"</p>
<p>นอกจากนี้ในกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่เป็นชนพื้นเมืองอีก 11 ราย มีอยู่ 8 ราย ที่บอกว่าจะสนับสนุนการจัดตั้งหน่วย "เสียง" ของกลุ่มชนพื้นเมือง แต่มีอยู่ 3 รายที่บอกว่าพวกเขาไม่สนับสนุน หรือไม่ก็บอกว่าต้องการให้มีรายละเอียดมากกว่านี้เกี่ยวกับกลุ่ม "เสียง"</p>
<p>ไพรซ์กล่าวว่า "ผู้คนไม่ควรจะเชื่อตามอย่างมืดบอดต่อใครคนใดก็ตามที่เสนอว่าชนพื้นเมืองทุกคนคิดเหมือนกัน"</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong>
What is the Indigenous Voice to Parliament? Here's how it would work and who's for and against it, ABC News, 30-08-2023</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105786
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - 'ภูมิธรรม' ชี้โหวตนายก 'เพื่อไทย' ล่าสุดยังมี 278 เสียง เหตุ รทสช.ยังไม่ชัด
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 99 กระทู้ล่าสุด 12 สิงหาคม 2566 21:37:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'เพื่อไทย' เสนอ 'เศรษฐา' ให้รัฐสภาเห็นชอบเป็นนายกฯ มั่นใจหนุนเกิน 375 เสียง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 77 กระทู้ล่าสุด 15 สิงหาคม 2566 20:53:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เพื่อไทยประกาศตั้งรัฐบาล 314 เสียง จับมือ 11 พรรค
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 66 กระทู้ล่าสุด 21 สิงหาคม 2566 16:06:00
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เพื่อไทยประกาศตั้งรัฐบาล 314 เสียง จับมือ 11 พรรค
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 110 กระทู้ล่าสุด 22 สิงหาคม 2566 04:23:52
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สภาฯ รับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบฯ ปี'67 ด้วยคะแนน 311:177 เสียง พร้อมตั้ง กมธ.พิจารณาร่างงบ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 63 กระทู้ล่าสุด 06 มกราคม 2567 02:54:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.418 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 17:39:38