[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 05:33:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชมเจดีย์แบบรามัญ "วัดเจดีย์ทอง" อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  (อ่าน 3319 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 ตุลาคม 2558 20:36:01 »

.



วัดเจดีย์ทอง
ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

วัดเจดีย์ทอง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชุมชนของชาวรามัญ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี  

วัดเจดีย์ทองเป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รกร้างไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ หลักฐานที่พบ คือ ใบเสมาขนาดใหญ่ หินทรายแดง  ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวรามัญอพยพหนีพม่ามาจากเมืองเมาะตะมะ โดยมีพระยาราม (ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญชาติเสานาบดี) ราชบุตรเขยพระยาเจ่ง เป็นน้องของเจ้าพระยามหาโยธาเป็นผู้นำ อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วเมืองสามโคก เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุ กุฏิ ศาลาขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์ (ต่อมาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นรัชกาลที่ ๔) ขณะทรงผนวชเป็นภิกษุ ได้เสด็จประพาสทางชลมารคไปเยี่ยมเยียนวัดวาอารามต่างๆ เมื่อเสด็จเข้าไปในเขตเมืองสามโคก ได้ทรงแวะที่วัดเจดีย์ทองแห่งนี้ ทรงสนทนากับเจ้าอาวาสในสมัยนั้นซึ่งเป็นชาวรามัญพูดภาษาไทยไม่ได้ และรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงตรัสภาษารามัญไม่ได้ จึงต้องสนทนากันด้วยภาษาบาลี ซึ่งพระองค์ทรงศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญในภาษามคธ ทั้งบาลีและสันสกฤต   และเมื่อทรงทราบว่าเจ้าอาวาสมีพรรษามากกว่า รัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงนมัสการเจ้าอาวาสก่อนตามแบบธรรมเนียมของสงฆ์


               สิ่งสำคัญในวัด
   


เจดีย์ทอง
เจดีย์ทอง เป็นเจดีย์แบบรามัญ สร้างมานานประมาณ ๑๖๐ ปีเศษ  รูปแบบการก่อสร้างเลียนแบบพระเจดีย์จิตตะกอง ของพม่า ลักษณะสถูปทรงระฆังก่อด้วยอิฐบนฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระนำโค้ง  ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ด้าน ลงรักปิดทองประดับกระจกสี ยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตร ๙ ชั้น เป็นที่เคารพสักการะของชาวรามัญ...ข้อมูลจากป้ายประชาสัมพันธ์ในวัดเจดีย์ทอง

เจดีย์ คือ สิ่งก่อสร้างชนิดถาวรสถานประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับบรรจุสิ่งที่นับถือ มีพระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น

กล่าวโดยนัย ต้นเค้าอันเป็นที่มาของคำว่า "เจดีย์" ที่เป็นคำแปลของคำว่าเจติย ในภาษาบาลี หรือไจตย ในคำสันสกฤต ก็ดี  พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่องเจดีย์ ว่า ความหมายดั้งเดิมนั้นหมายถึง "เนินดินที่ฝังศพ สิ่งที่ก่อขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว...คำว่าไจตยหรือเจดีย์ มีธาตุหรือรากของคำมาจาก ‘จิธาตุ’ แปลว่า ทำกองดินให้พูนขึ้นหรือตะล่อมขึ้น ลางแห่งว่ามาจากจิตาธาตุ แปลว่า กองฟอน คำว่า จิตกาธาน ซึ่งแปลว่า เชิงตะกอน ที่เผาศพ ก็ว่ามาจากธาตุคำเดียวกัน  

ในหนังสือธรรมบทแห่งหนึ่ง กล่าวว่า พระพาหิยอรหันต์สาวกถูกโคขวิดถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าโปรดให้เผาศพพระอรหันต์องค์นั้น แล้วตะล่อมดินเป็นเจดีย์ มีสัณฐานเป็นโคกหรือจอมปลวกเหนือกองฟอน นี่เป็นความหมายเดิมของคำว่า ‘เจดีย์’...ถ้ากองฟอนนั้นเป็นของศาสดาจารย์หรือของคนใหญ่โต ก็ตกแต่งเนินดินเหนือกองฟอนนั้นให้ใหญ่โตและงดงาม ต่อมาก็สร้างเป็นถาวรวัตถุคร่อมเนินดินตรงนั้น หรือไม่ก็ย้ายหรือแบ่งอัฐิไปบรรจุไว้ในถาวรวัตถุที่อื่นซึ่งจุใจ  ถาวรวัตถุที่กล่าวนี้ก็ยังเรียกว่าเจดีย์อยู่ และคงใช้หมายความแต่สถานที่ซึ่งบรรจุอัฐิของผู้ซึ่งเป็นที่เคารพยิ่ง  ต่อมาชั้นหลังต้องการจะมีที่เช่นนี้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกบูชา แม้ไม่ได้อัฐิมาบรรจุก็ไม่เป็นไร ขอให้ได้สร้างเป็นอย่างจำลองก็ใช้ได้ เพราะลักษณะสิ่งที่ก่อเป็นเจดีย์ลงรูปแล้ว ว่ารูปอย่างนี้เป็นเจดีย์ จึงได้เกิดมีพระเจดีย์เป็นสองอย่าง ที่บรรจุอัฐธาตุก็มี ที่ไม่ได้บรรจุอะไรก็มี เป็นอย่างอนุสาวรีย์ ซึ่งมีทั้งที่บรรจุอัฐิและที่ไม่ได้บรรจุอะไร...”

เจดีย์ ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธาตุเจดีย์" หมายถึงสิ่งที่บรรจุอัฐธาตุ เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปยังนานาประเทศที่นับถือพุทธศาสนา เนื่องมาแต่พระเจ้าอโศกมหาราชพระราชทานพระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่คณะทูตให้ไปสร้างเจดีย์หรือสถูปมากมายหลายแห่งหลายประเทศ  และสยามประเทศก็รับพระพุทธศาสนา โดยสมณะทูตสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนำเข้ามาประดิษฐานและเผยแผ่ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา








"หลวงพ่อขาว" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อขาว
หลวงพ่อขาวถูกอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์ทอง เมื่อวันที่๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เจศ ๑๒๗๑ ร.ศ.๑๒๘ โดบพระอมรา ภิรกฺขิต นามภิกขุ เป็นผู้สร้างถวายวัดเจดีย์ทอง

หลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่ที่หอสวดมนต์ของวัดเจดีย์ทอง เป็นพระพุทธรูปลักษณะปางมารวิชัย สร้างจากหินหยกขาวพม่า แกะสลักด้วยมือ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑ ศอก ตั้งแต่ฐานจรดถึงเกศสูงประมาณ ๒ ศอก เป็นศิลปกรรมแบบมอญ มีอายุราวๆ ๑๐๐ กว่าปี นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงาม มีความงดงามมาก

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อขาว
ครั้งหนึ่งได้มีพระภิกษุชาวรามัญองค์หนึ่งมีชื่อว่า พระอมราภิกขุ  ท่านเป็นเครือญาติของท่านอาจารย์น้อย คุณสาโร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ทองในสมัยนั้น  ตัวท่านเองก็ได้อุปสมบท ณ วัดเจดีย์ทองแห่งนี้ แล้วท่านก็ได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนา ที่เมืองหงษาวดี  ขณะที่ท่านเดินทางกลับจากการไปศึกษาเล่าเรียนมาถึง ณ เมืองมะละแหม่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่ง ได้สนทนาปราศรัยกัน จึงทราบว่าท่านมีนามว่า พระอาจารย์ต่วน เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งท่านได้เล่าเรียนอยู่ที่เมืองมะละแหม่งนั้นเอง และกำลังจะเดินทางกลับเมืองไทย จึงได้ชักชวนกันไปเดินเที่ยว จนได้เจอร้านจำหน่ายพระพุทธรูปร้านหนึ่ง ท่านได้เห็นพระพุทธรูป ๒ องค์มีลักษณะสวยงามมาก สร้างจากหินหยกแก้วขาวเนื้อดีมาก จึงได้ขอเช่าและอัญเชิญกลับมาบูชาที่เมืองไทย โดยนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ ๑ องค์ ซึ่งก็คือหลวงพ่อขาวองค์นี้ และอีก ๑ องค์ได้นำไปประดิษฐานที่วัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก ยิ่งหากมองนานๆ ก็จะไม่เบื่อตา อีกทั้งยังมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นที่นับถือกันอย่างดีสำหรับชาวบ้านเจดีย์ทองแห่งนี้ และชาวบ้านละแวกใกล้เคียง หากใครได้กราบไหว้ขอพรก็จะสมมาตรปรารถนา
...ข้อมูลจาก จารึกประวัติหลวงพ่อขาว วัดเจดีย์ทอง





พระประธานพระอุโบสถ วัดเจดีย์ทอง















Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2558 20:39:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดสิงห์ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ชมศาสนสถานโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 4844 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2558 18:07:02
โดย Kimleng
หลวงปู่บุญธรรม ญาณวโร วัดสามัคคียาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1784 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2559 19:04:51
โดย ใบบุญ
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1504 กระทู้ล่าสุด 03 สิงหาคม 2560 13:44:48
โดย ใบบุญ
หลวงปู่บุญธรรม ญาณวโร วัดสามัคคียาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 697 กระทู้ล่าสุด 27 มกราคม 2563 15:48:12
โดย ใบบุญ
หลวงปู่หร่ำ เกสโร วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 601 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2563 08:49:29
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.504 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 เมษายน 2567 04:40:15