[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 09:32:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 1127
1  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "โยเกิร์ต" สวยฟาดมาก เขียนแคปชั่นโดนใจอีกแล้ว ชัดเจนจนต้องขอกดไลก์รัวๆ เมื่อ: 19 นาทีที่แล้ว
"โยเกิร์ต" สวยฟาดมาก เขียนแคปชั่นโดนใจอีกแล้ว ชัดเจนจนต้องขอกดไลก์รัวๆ
         


"โยเกิร์ต" สวยฟาดมาก เขียนแคปชั่นโดนใจอีกแล้ว ชัดเจนจนต้องขอกดไลก์รัวๆ" width="100" height="100  ส่องโพสต์ล่าสุดของ โยเกิร์ต สวยฟาดสุดๆ พร้อมแคปชั่นโดนใจอีกแล้ว จนแฟนๆ ต้องขอกดไลก์รัวๆ
         

https://www.sanook.com/news/9376354/
         
2  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - อ.เจษฎ์ ร้องหือออ โพสต์ข้อมูลนี้หลัง "ภูมิธรรม" บอกสารมะเร็งในข้าวเก่า "ขัด&quo เมื่อ: 28 นาทีที่แล้ว
อ.เจษฎ์ ร้องหือออ โพสต์ข้อมูลนี้หลัง "ภูมิธรรม" บอกสารมะเร็งในข้าวเก่า "ขัด" ออกได้
         


อ.เจษฎ์ ร้องหือออ โพสต์ข้อมูลนี้หลัง "ภูมิธรรม" บอกสารมะเร็งในข้าวเก่า "ขัด" ออกได้" width="100" height="100  หือออ? "ภูมิธรรม" โพสต์บอก สารก่อมะเร็งในข้าวเก่า "ขัด" ออกได้ นักวิชาการยังบอกฟังแล้วทะแม่งๆ อยู่นะ...
         

https://www.sanook.com/news/9376294/
         
3  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - พ่อโทรหาครู ลูกคิดเลข 1+5+5=11 ทำไมตรวจว่า “ผิด” รู้เฉลยพูดไม่ออก เพราะผิดจริงๆ เมื่อ: 2 ชั่วโมงที่แล้ว
พ่อโทรหาครู ลูกคิดเลข 1+5+5=11  ทำไมตรวจว่า “ผิด” รู้เฉลยพูดไม่ออก เพราะผิดจริงๆ
         


พ่อโทรหาครู ลูกคิดเลข 1+5+5=11  ทำไมตรวจว่า “ผิด” รู้เฉลยพูดไม่ออก เพราะผิดจริงๆ" width="100" height="100  ถกสนั่น การบ้านประถม เด็กคิดเลข 1+5+5=11 ครูตรวจว่า "ผิด" พ่อโทรไปถามเฉลยมีอึ้ง คนโตยังคิดไม่ถึงจริงๆ
         

https://www.sanook.com/news/9375546/
         
4  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวปวดท้องเมนส์น้อยใจสามี จบชีวิตคาบ้าน แม่ย่าหลอนตอนปั๊มหัวใจไฟดับพรึ่บ เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว
สาวปวดท้องเมนส์น้อยใจสามี จบชีวิตคาบ้าน แม่ย่าหลอนตอนปั๊มหัวใจไฟดับพรึ่บ
         


สาวปวดท้องเมนส์น้อยใจสามี จบชีวิตคาบ้าน แม่ย่าหลอนตอนปั๊มหัวใจไฟดับพรึ่บ" width="100" height="100  สาวปวดท้องเมนส์น้อยใจสามี จบชีวิตคาบ้าน แม่ย่าหลอนตอนปั๊มหัวใจไฟดับพรึ่บ ข้อความสุดท้ายตัดพ้อ
         

https://www.sanook.com/news/9375922/
         
5  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หนุ่มจอดเก๋งบนหาดทราย นั่งดื่มเศร้าๆ บนหลังคารถ ตอนจบช็อตฟีลกลายเป็นอุทาหรณ์ เมื่อ: 8 ชั่วโมงที่แล้ว
หนุ่มจอดเก๋งบนหาดทราย นั่งดื่มเศร้าๆ บนหลังคารถ ตอนจบช็อตฟีลกลายเป็นอุทาหรณ์
         


หนุ่มจอดเก๋งบนหาดทราย นั่งดื่มเศร้าๆ บนหลังคารถ ตอนจบช็อตฟีลกลายเป็นอุทาหรณ์" width="100" height="100  ไม่รู้เศร้าอะไร หนุ่มจอดเก๋งบนหาดทรายริมทะเล ปีนนั่งดื่มบนหลังคารถ เฉลยตอนจบช็อตฟีลกลายเป็นอุทาหรณ์
         

https://www.sanook.com/news/9375958/
         
6  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เจ้าของบ่อแทบทรุด สูบน้ำ 2 วัน หวังจับปลาไปขาย แต่สิ่งที่ได้คือ "ปลาซัคเกอร์" เมื่อ: 10 ชั่วโมงที่แล้ว
เจ้าของบ่อแทบทรุด สูบน้ำ 2 วัน หวังจับปลาไปขาย แต่สิ่งที่ได้คือ "ปลาซัคเกอร์"
         


เจ้าของบ่อแทบทรุด สูบน้ำ 2 วัน หวังจับปลาไปขาย แต่สิ่งที่ได้คือ "ปลาซัคเกอร์"" width="100" height="100  สูบน้ำ 2 วัน หวังจับปลาในบ่อไปขาย สิ่งที่ได้แทบทรุด เจอ "ปลาซัคเกอร์" เกือบ 10 ตัน ชาวเน็ตแห่แนะวิธีทวงแค้น
         

https://www.sanook.com/news/9375782/
         
7  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เกิดมาเพิ่งเคยเห็น น้ำป่าสีดำปี๋ หลากลงมาจากเขา ถ้ำธารลอด เฉลยเกิดจากอะไร เมื่อ: 13 ชั่วโมงที่แล้ว
เกิดมาเพิ่งเคยเห็น น้ำป่าสีดำปี๋ หลากลงมาจากเขา ถ้ำธารลอด เฉลยเกิดจากอะไร
         


เกิดมาเพิ่งเคยเห็น น้ำป่าสีดำปี๋ หลากลงมาจากเขา ถ้ำธารลอด เฉลยเกิดจากอะไร" width="100" height="100  คลิปสะพรึง น้ำป่าสีดำ หลากลงมาจากเขา ถ้ำธารลอด จ.กาญจนบุรี ชาวเน็ตอึ้ง เกิดมาเพิ่งเคยเห็น
         

https://www.sanook.com/news/9375646/
         
8  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - อื้อหือ! "นุ่น วรนุช" นั่งเล่นน้ำชิลๆ อยู่ริมทะเล ไม่รู้จะโฟกัสอะไรก่อนเลย เมื่อ: 15 ชั่วโมงที่แล้ว
อื้อหือ! "นุ่น วรนุช" นั่งเล่นน้ำชิลๆ อยู่ริมทะเล ไม่รู้จะโฟกัสอะไรก่อนเลย
         


อื้อหือ! "นุ่น วรนุช" นั่งเล่นน้ำชิลๆ อยู่ริมทะเล ไม่รู้จะโฟกัสอะไรก่อนเลย" width="100" height="100  นุ่น วรนุช นั่งเล่นน้ำชิลๆ อยู่ริมทะเล อื้อหือ...ภาพเซ็ทนี้ไม่รู้จะโฟกัสจุดไหนก่อนเลย
         

https://www.sanook.com/news/9375450/
         
9  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - มันมีเหตุและผล! นักวิทย์ฯ เผย ทำไมมนุษย์ติดนิสัย "นอนห่มผ้า" แม้ในฤดูร้อนตับแ เมื่อ: 18 ชั่วโมงที่แล้ว
มันมีเหตุและผล! นักวิทย์ฯ เผย ทำไมมนุษย์ติดนิสัย "นอนห่มผ้า" แม้ในฤดูร้อนตับแตก
         


มันมีเหตุและผล! นักวิทย์ฯ เผย ทำไมมนุษย์ติดนิสัย "นอนห่มผ้า" แม้ในฤดูร้อนตับแตก" width="100" height="100  ร้อนแล้วทำไมยังนอนห่มผ้า...? นักวิทย์ฯ เผยเหตุผล 4 ข้อ รู้แล้วอุ่นใจขึ้นเยอะ หลับสบายหายห่วง
         

https://www.sanook.com/news/9375382/
         
10  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "เบลล่า" เช็กอินมุมมหาชนสะพานบรูคลินนิวยอร์ก ช็อตนี้โฟกัสกันรัวๆ เลย เมื่อ: 20 ชั่วโมงที่แล้ว
"เบลล่า" เช็กอินมุมมหาชนสะพานบรูคลินนิวยอร์ก ช็อตนี้โฟกัสกันรัวๆ เลย
         


"เบลล่า" เช็กอินมุมมหาชนสะพานบรูคลินนิวยอร์ก ช็อตนี้โฟกัสกันรัวๆ เลย" width="100" height="100  เบลล่า ราณี แฟชั่นลุคเดินเที่ยวสวยๆ ในนิวยอร์ก เช็กอินมุมมหาชนสะพานบรูคลิน แต่ช็อตนี้โฟกัสผิดจุดไปเลย
         

https://www.sanook.com/news/9375138/
         
11  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - รวมเลขเด็ด 16/5/67 เลขมาแรง ปฏิทินจีน เลขดังทุกสำนัก รวมมาให้แล้วที่นี่ เมื่อ: 23 ชั่วโมงที่แล้ว
รวมเลขเด็ด 16/5/67 เลขมาแรง ปฏิทินจีน เลขดังทุกสำนัก รวมมาให้แล้วที่นี่
         


รวมเลขเด็ด 16/5/67 เลขมาแรง ปฏิทินจีน เลขดังทุกสำนัก รวมมาให้แล้วที่นี่" width="100" height="100  เลขเด็ดงวดนี้ 16/5/67 เลขงวดนี้จะมีเลขไหนเด่น ข่าวไหนดังบ้าง โดยเราได้รวบรวมมาให้คุณได้ดูกันแล้ว
         

https://www.sanook.com/news/9371794/
         
12  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สิทธิคนพิการนอกเมืองหลวง: ความเหลื่อมล้ำอันซ้ำซ้อน เมื่อ: วานนี้
สิทธิคนพิการนอกเมืองหลวง: ความเหลื่อมล้ำอันซ้ำซ้อน
 


<span>สิทธิคนพิการนอกเมืองหลวง: ความเหลื่อมล้ำอันซ้ำซ้อน</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-04-29T13:39:09+07:00" title="Monday, April 29, 2024 - 13:39">Mon, 2024-04-29 - 13:39</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สราวุธ ถิ่นวัฒนากูล รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>คนพิการนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากกว่าคนทั่วไปโดยสภาพอยู่แล้ว ด้วยว่าลักษณะทางกายภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ ยิ่งถ้าหากคนพิการคนนั้นมีฐานะยากจน อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกล ขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม มีการศึกษาน้อย ยิ่งมีแต่จะต้องประสบพบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตหลายเท่า&nbsp;</p><p>รัฐอาจจะจัดบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่หลายแห่ง แต่ในประเทศไทยยังมีอีกหลายพื้นที่ซึ่งภาครัฐไม่สามารถจัดหาบริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้อย่างเพียงพอที่จะทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพได้เลย อย่าว่าแต่จะให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติธรรมดาทั่วไปเลย เอาแค่เพียงจะให้สมแก่ฐานานุรูปของพวกเขาก็แทบจะเป็นไปไม่ได้</p><p>ถ้าหากคำขวัญวันเด็กปี 2567 ที่ว่า “มองโลกกว้าง คิดอย่างสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย” เป็นสิ่งที่ใช้ได้เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนของไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพ สารคดีชุดนี้จะทดลองนำคำขวัญที่มีถ้อยคำสวยงามดังกล่าว เข้ามาจับคนพิการดูบ้างว่า แนวคิดนี้จะทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบ้างหรือไม่</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่, 14 ธ.ค. 2566</li><li>ฝ่าระเบียบและปัญหาสารพันในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ (ตอนจบ), 18 ธ.ค. 2566</li><li>เคว้งคว้างอยู่กลางเมืองใหญ่ด้วยสถานะของ ‘คนไร้บ้าน’, 10 ก.พ. 2567</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>มองโลกกว้าง</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633679484_416dd1b713_k.jpg" width="2047" height="1356" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เก่ง ธิติวุธ ดาวเรือง และบังอรศรี มูลมา แม่ของเก่ง</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633552998_6715117ef6_k.jpg" width="2048" height="1358" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">บังอรศรี เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หารายได้เลี้ยงลูกด้วยการขายจิ้งหรีดทอดเพื่อให้มีรายได้พอจุนเจือสองแม่ลูก</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633679449_0c5448c8d9_k.jpg" width="2047" height="1151" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">อัญชลี สิริวงศ์ใจ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดพะเยา</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633340526_1f0854d10a_k.jpg" width="2047" height="1143" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">คาเบล ปริญญา สิงห์แก้ว</p><p>คนเราจะมองโลกกว้างได้จะต้องมีการศึกษาเป็นพื้นฐานที่ดีเสียก่อน ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี คือรัฐจัดบริการทางด้านการศึกษาให้ประชาชนจนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ข้อมูลจากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม แสดงว่าผู้พิการมากกว่า 94% ที่จบแค่ชั้นประถมหรือต่ำกว่า มีผู้พิการแค่ 2% เท่านั้นที่จบระดับอุดมศึกษา</p><p>เก่ง ธิติวุธ ดาวเรือง คงจะพอยืนยันเรื่องนี้ได้ เขาเป็นหนึ่งในเยาวชนผู้พิการด้านสติปัญญา ที่ไม่มีโอกาสได้เรียน เนื่องจากไม่มีสถานศึกษาในละแวกใกล้เคียงบ้านของเขาที่ให้บริการแก่คนแบบเขาได้ &nbsp;“แต่ก่อนมีโรงเรียนสำหรับคนพิการแบบนี้ที่เชียงรายและเชียงใหม่ แต่ที่จังหวัดพะเยายังไม่มี แต่ตอนหลังมีศูนย์คนพิการก็กลับไปเรียนไม่ได้เพราะศูนย์รับอายุไม่เกิน 18 ปี” บังอรศรี มูลมา ผู้เป็นมารดาเล่าให้ฟังถึงการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านการศึกษาของลูกชาย</p><p>ครั้นจะถ่อสังขารพาลูกชายไปรับการศึกษาในเชียงใหม่หรือเชียงรายก็ดูจะเป็นเรื่องไกลเกินฝัน การเดินทางข้ามจังหวัดร่วมร้อยกิโลเมตร มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละครั้งกว่า 2,000 บาท แต่เบี้ยคนพิการที่รัฐจัดให้เพียง 800 บาทต่อเดือนคิดแค่นี้ก็ท้อใจไม่น้อยแล้ว</p><p>บังอรศรี เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หารายได้เลี้ยงลูกเพียงลำพัง วันไหนโชคดีหน่อยตื่นขึ้นมาไม่มีอาการปวดหัวเข่า เธอก็จะนำจิ้งหรีดที่เพาะเลี้ยงเอาไว้ทอดไปขาย มีรายได้พอจุนเจือสองแม่ลูกสัก 200 บาท จะไปทำงานอย่างอื่นที่ต้องออกไปจากบ้านไกลๆก็ลำบาก เพราะทิ้งลูกไว้ลำพังนานไม่ได้</p><p>ในเมื่อไม่มีวุฒิการศึกษา จึงขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ขาดรายได้ และเลี้ยงชีพตนเองไม่ได้ จึงเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ “คนพิการที่พะเยาส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ เขาไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เพราะเขาไม่มีรายได้ ถ้าเกิดสมมติว่าวันหนึ่งผู้ปกครองของเขาไม่อยู่จะมีใครมาดูแลเขา บางคนมีญาติ ญาติก็ไม่ดูแลนะ แล้วการกินการอยู่ของจะเป็นยังไง แล้วถ้าเกิดว่าเจอเขาเดินตามข้างทาง ก็ถูกมองว่าเขาเป็นคนไม่ดีอีกทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนะ แต่ก็เห็นเดินข้างทางไม่ดีล่ะ สติไม่ดีไอ้คนบ้าอะไรอย่างเงี้ย เดี๋ยวพอพ่อแม่ตายไปก็เป็นภาระให้กับสังคมอีก ต้องมาเรี่ยไรรับบริจาคเพื่อที่จะให้เขาอยู่ได้ ซึ่งความเป็นจริงมันไม่ใช่” อัญชลี สิริวงศ์ใจ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่พบเจอในจังหวัดพะเยา</p><p>เธอเล่าต่อว่า ทางชมรมฯ ค่อยๆฝึกให้คนพิการเหล่านี้สามารถอยู่ด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องใช้เวลาเพราะว่าส่วนใหญ่มีความจำกัดในการเรียนรู้ จึงต้องให้เวลาเป็นพิเศษ&nbsp;</p><p>ถ้าหากไม่มีหน่วยงานใดของรัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สุดท้ายคุณภาพชีวิตของผู้พิการ เฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด อาจต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน ที่แม้แต่ความฝันในการมีอาหารครบ 3 มื้อ มีเสื้อผ้าใส่ และได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย ก็ยังเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อม</p><p>คนพิการไม่ว่าด้านไหน ไม่ใช่คนที่จะงอมืองอเท้ายอมรับชะตากรรมรอรับความช่วยเหลือแต่อย่างเดียว ตรงกันข้ามพวกเขาต่อสู้ดิ้นรนอย่างมาก เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของชีวิตเหมือนกับคนปกติทั่วไปเช่นกัน คาเบล ปริญญา สิงห์แก้ว ผู้พิการทางปัญญาอีกคนหนึ่งก็เหมือนกัน เขาใช้ความพยายามอย่างมากในเรียนรู้เทคโนโลยี่สารสนเทศและภาษาอังกฤษจากช่องยูทูป และเรียนการศึกษานอกโรงเรียนจนได้วุฒิการศึกษาถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อให้ถึงชั้นปริญญาตรี เนื่องจากไม่มีมหาวิทยาลัยใกล้บ้านที่เหมาะสำหรับคนพิการประเภท 7 หรือ ออทิสติก สุดท้ายก็ ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ประจำเพียงพอต่อการดำรงชีพ ความฝันเล็กๆที่เหลืออยู่คือ การเปิดร้านขายขนม ขายชาไข่มุกหน้าบ้าน ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเป็นจริงได้ในเร็ววันนี้</p><p>คนพิการที่การศึกษาน้อย แต่มีคนดูแล มีที่อยู่อาศัยก็อาจจะพอดำรงชีพอยู่ได้ วิชาญ อุ่นอก อาสาสมัครดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เล่าให้ฟังถึงผู้พิการรายหนึ่งที่เลือกออกมาหาโอกาส หารายได้เลี้ยงปากท้อง และหลับนอนที่สถานีขนส่ง เนื่องจากความพิการของตนเองนั้นได้สร้างความลำบาก และเกรงจะกลายเป็นภาระของญาติ เขาจึงเลือกที่จะออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย</p><p>“ปัจจุบันกาญจนบุรีมีผู้พิการไร้บ้าน 3 รายที่พูดถึงส่วนใหญ่ก็จะเป็นพิการแขนขา ไม่สามารถที่จะเดินเหินได้ก็ต้องอาศัยรถวิลแชร์มีอยู่ 1 คนแล้วก็ที่เหลืออีก 2 คนก็ใช้การคืบคลานไปและ ยังชีพด้วยการขอรับ ขอทาน เพราะไม่สามารถทำอย่างอื่นได้” วิชาญ กล่าวและเสริมว่า “คนพิการที่ไร้บ้านนั้นจัดเป็นปัญหาซ้ำซ้อน ส่วนใหญ่ก็จะยังชีพด้วยการขอรับบริจาคหรือขอทาน กลุ่มอื่นๆที่เขามีกำลังไหวเราก็ส่งเสริมให้เขาไปมีอาชีพไปรับจ้างหรือว่าไปหางานทำได้ แต่กลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะไปทำงานต่อไม่ได้” วิชาญกล่าวยอมรับว่าการช่วยเหลือผู้พิการไร้บ้านให้มีงานทำนั้นเป็นเรื่องที่ยาก
ถึงแม้ว่าจะผ่านการอบรมเหมือนคนไร้บ้านรายอื่น แต่ก็ไม่มีนายจ้างคนไหนอยากรับผู้พิการเข้าทำงานอยู่ดีทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการไร้บ้านโดยเฉพาะในต่างจังหวัดนั้นจัดได้ว่าย่ำแย่ โลกของพวกเขาจึงดูคับแคบและตีบตันยิ่งนัก</p><p>เมืองใหญ่ที่อื่นอย่างกรุงเทพฯ อาจจะพอมีงาน อาหาร และบริการผู้พิการไร้บ้านที่เข้าถึงได้มากกว่า อย่างเช่นโครงการจ้างวานข้า หรือสดชื่นสถาน จุดบริการห้องน้ำ ซักผ้า อาบน้ำเพื่อคนไร้บ้าน ส่วนผู้พิการไร้บ้านที่ต่างจังหวัดนั้นบางรายไม่ได้อาบน้ำเป็นเดือน เพราะไม่รู้จะไปอาบที่ไหน จะลงไปอาบตามแม่น้ำลำคลองเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้ จะไปใช้ห้องน้ำสาธารณะก็โดนไล่ ดำรงชีพด้วยการหาเศษอาหารประทังชีวิต เมื่อเจ็บป่วยก็ทำได้เพียงนอนซมจนกว่าจะมีใครผ่านมาพบเห็น</p><h2>คิดอย่างสร้างสรรค์&nbsp;</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633679364_c3aebad615_k.jpg" width="2047" height="1179" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วิชาญ อุ่นอก อาสาสมัครดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633553138_c8d65c44d7_k.jpg" width="2047" height="1356" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">วิชาญ อุ่นอก อาสาสมัครดูแลคนไร้บ้าน ลงพื้นที่หลัง บขส.จังหวัดกาญจนบุรี</p><p>&nbsp;</p><p>คำถามว่าใครจะเป็นผู้ที่ต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ อาจจะมีคนพิการที่มีความคิดดีๆ แต่นั่นคงเป็นจำนวนที่น้อยและหาได้ยาก ผู้ที่ต้องคิดอย่างสร้างสรรค์จึงควรจะเป็นภาครัฐมากกว่า ว่าจะให้บริการแก่คนพิการได้อย่างไรจึงจะทั่วถึงและเพียงพอ</p><p>ปัจจุบันรัฐได้จัดตั้ง one stop service หรือศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จขึ้นทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการให้ด้านต่าง ๆ ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอกสาร การออกบัตรประจำตัวคนพิการ บริการด้านสุขภาพ และช่วยเหลือแนะนำการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ คุณภาพชีวิตของผู้พิการจะดีขึ้นมาก ถ้าโครงการนี้ทำได้จริงอย่างที่คิด</p><p>ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จที่ว่านั้นให้บริการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการในการรับคำร้องขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิของคนพิการ และให้คำปรึกษาแนะนำบริการต่างๆ &nbsp;ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556</p><p>“ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดที่สามารถออกบัตรให้กับคนพิการได้อยู่แค่ในตัวเมือง แล้วคนพิการรอบๆ นอกที่เขาอยู่พื้นที่ห่างไกลเขาไม่สามารถมาได้เลยนะ ถ้าเกิดว่าเขาไม่มีใครพามา แล้วถ้าไม่มีใครพามาจริงๆล่ะเขาก็เลยกลายเป็นคนพิการที่ไม่มีบัตร เวลาทำบัตร เค้าต้องมาที่ศาลากลางจังหวัดนะ ทำไมคนจากศาลากลางจังหวัดไม่ไปหาในพื้นที่บ้าง ศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จก็อยู่ที่โรงพยาบาลพะเยา แต่เวลาทำบัตรก็ต้องไปทำบัตรที่ศาลากลาง” อัญชลี สิริวงศ์ใจ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดพะเยา พูดถึงความไม่สะดวกในการใช้บริการ</p><p>“อย่างที่ศูนย์บริการของเราเนี่ยมีการรับรับส่งสมาชิกที่ให้เข้ารับตามสิทธิ อย่างเช่น พาไปโรงเรียนหรือพาไปหาหมอ มันก็มีข้อจำกัดอีกว่าไปหาหมอต้องไม่เกิน 150 กิโลเมตร คือแบบเราให้คุณบริการไปส่งน้องไปโรงพยาบาลได้นะสำหรับเคสที่ไม่มีเงินค่ารถ แต่ระยะทางต้องไม่เกิน 150 กิโลเมตร นอกเหนือจากนั้น เบิกจ่ายเอง” อัญชลี กล่าว</p><p>“บางคนเดินทางมาประมาณ 60 กิโลเมตร เพื่อมาขึ้นรถที่ศูนย์ฯ &nbsp;ถ้าแบบเขาไม่มีรถ เขาก็ต้องจ้างรถมาอีกเหรอ แล้วคนยิ่งไม่มีตังค์อยู่ก็ต้องจ้างรถมาอีกเหรอ แล้วเอาตังค์จากไหนล่ะ” อัญชลี กล่าว</p><p>ปัญหาเรื่องบัตรคนพิการ &nbsp;กลับเป็นอุปสรรคในการเข้าถึง และเงื่อนไขที่ไม่สอดรับกับความเป็นจริงต่างหากที่ทำให้ผู้พิการไม่มีบัตรประจำตัว “คนที่ไม่มีบัตรเนี่ย อย่างเช่น เจออุบัติเหตุแล้วเดินไม่ได้ แต่หมอก็ยังไม่สามารถจะลงความเห็นว่าพิการในทันทีเพราะ บางทีอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูในเรื่องของร่างกายอาจจะลุกเดินได้ ตอนแรกเดินไม่ได้ก็จะให้เวลา 6 เดือนค่อยมาตรวจอีกที บางคน 6 เดือนกลายเป็นติดเตียงแล้วมาไม่ได้ ไม่มีญาติพามาบ้างล่ะ หรือว่าอยู่พื้นที่ห่างไกลเช่นชนเผ่า ที่เขาอยู่บนดอยไกลๆ บางคนไม่รู้ว่าเป็นคนพิการมันมีสิทธิด้วยหรือ คุณจะต้องมาทำบัตรคนพิการเสียก่อนจึงจะได้สิทธิ บางคนไม่มีบัตรก็ไม่มีสิทธิ ทั้งๆที่คุณเป็นคนพิการก็จริงแต่คุณไม่มีบัตร อันนี้ก็คือข้อจำกัดเช่นจังหวัดที่มีอำเภอเยอะๆอย่างเชียงใหม่ แล้วอำเภอห่างไกลอย่างเช่น กัลยาณิวัฒนา หรืออมก๋อย อะไรที่มันไกลมากๆ ที่ติดชายแดนนู่น ก็มีคนพิการที่ยังไม่ได้ทำบัตรหลงเหลืออยู่” ชรีพร ยอดฟ้า ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพะเยา พูดถึงปัญหาที่ผู้พิการในต่างจังหวัดต้องพบเจอเมื่อเข้าใช้บริการของรัฐ</p><p>ในเมืองหลวง คนพิการเรียกร้องให้รถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้พวกเขาสามารถใช้บริการได้เยี่ยงคนทั่วไป แต่ในต่างจังหวัดอย่าว่าแต่รถไฟฟ้าแบบที่มีอุปกรณ์แบบนั้นเลย เอาแค่รถธรรมดาๆที่จะอาศัยเดินทางไปโน่นมานี่บ้างยังหายาก คนที่มีฐานะหน่อยอาจจะมีรถส่วนตัวให้ญาติพี่น้องช่วยขับไปรับส่งได้ แต่ถ้าต้องอาศัยรถโดยสารสาธารณะแล้วดูเรื่องที่ต้องต่อสู้กันเสียเหลือเกิน</p><p>“อย่างเมื่อก่อนตอนลูกเล็กๆ ที่ไปรักษาที่เชียงใหม่ก็ต้องนั่งรถเมล์ไป รถเมล์ประจำทางก็ค่อนข้างจำกัดเราต้องจองตั๋ว 8:00 น. ไปถึงเชียงใหม่เนี่ย เกือบ 11:00 น. เราต้องขอนัดหมอ 11.30น. หรือบ่ายโมงเลยเพื่อจะพบหมอ แล้วเที่ยวสุดท้าย 16:30 น. เราต้องกลับให้ทัน ไม่งั้นเราต้องไปหาที่พักซึ่งมันก็เป็นเรื่องลำบาก เด็กบางคนไม่สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางได้เช่น มีความกลัว ไม่สามารถอยู่กับคนเยอะๆได้ อันนี้คือข้อจำกัดของคนพิการ ถ้าคนพิการร่างกายก็เหมือนกันมันต้องขึ้นบันไดสูง แล้วถ้าคนนั่งวิลแชร์เนี่ยจะขึ้นยังไง ประเทศไทยไม่เหมือนต่างประเทศที่เขามีรถเมล์ชานต่ำสามารถเข็นตัวเองเข้าไปเลย อันนี้ข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางไปรักษาที่ไกลๆนะ” ชรีพร ประธานสภาคนพิการฯ เล่าให้ฟังถึงความยากลำบากในการพาลูกไปหาหมอที่เชียงใหม่เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ปัจจุบันก็ยังเป็นปัญหาอยู่ แม้ปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ตาม</p><p>องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยได้บางหรือเปล่า ? ชรีพร ยอดฟ้า ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพะเยา เล่าว่า “ไม่เข้าใจหรอกว่าระเบียบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขนาดไหน เราเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่เขาบอกว่ารถของเขาเนี่ยถ้าไปส่งในในตัวจังหวัดอะไรพวกนี้เขาบอกว่าเขาไปได้แต่ต้องมาลงชื่อลงอะไรไว้เขาเขียนคำร้องไว้ว่าวันนี้ขอไปโรงพยาบาล แต่ว่าถ้าไปต่างจังหวัดปุ๊บ เขาจะบอกว่ารถเขา ไปนอกพื้นที่เนี่ยมันก็จะมีปัญหา รถไม่พอใช้ มีรถ 2 คันมันต้องใช้ในพื้นที่นู่นนั่นนี่ แล้วคนที่ขับรถไปเขาอาจจะเรียกร้องเรื่องออกไปนอกพื้นที่มีเบี้ยเลี้ยงด้วยมั้ยหรือว่าเขาบอกว่าไม่สะดวกที่จะไปส่งต่างจังหวัด”&nbsp;</p><p>เธอเล่าต่อว่า ที่ศูนย์บริการแห่งนี้ทำเรื่องนำพาคนพิการเข้ารับสิทธิแต่ศูนย์ ไม่มีรถเหมือนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบก็ต้องใช้รถส่วนตัว ซึ่งถ้าไม่มีน้ำใจจะทำให้คงไม่ได้ เพราะเจ้าของรถเบิกได้แต่ค่าน้ำมัน ซึ่งขอเบิกกองทุน แต่ไม่มีค่าจ้างคนขับ ไม่มีค่าเสื่อมสภาพของรถ แต่ที่ต้องทำให้ก็เพื่อบริการสมาชิกเท่านั้นไม่ได้เปิดกว้างทั่วไป&nbsp;</p><p>แม้จะมีกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทนไม่ไหวกับการหยุดพัฒนา ลุกขึ้นมาพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่สุดท้ายความล่าช้าของหน่วยงานราชการนี้อาจเป็นคำตอบว่าทำไมผู้พิการในต่างจังหวัดถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง “เดือนนี้เราเขียนโครงการพัฒนาทักษะผู้พิการและฟื้นฟูครอบครัวออทิสติกไป 3 โครงการแต่ไม่ได้เข้าที่ประชุม เพราะเขาบอกว่า ‘ไม่ทันครับ’ คนตรวจโครงการบอกว่าส่งไม่ทัน ‘รอเข้าเดือนหน้าครับ’ แต่เด็กเขารอไม่ได้ไง” อัญชลี อธิบายถึงระบบการทำงานของราชการ&nbsp;</p><p>“เขียนโครงการหนึ่งไปกว่าจะอนุมัติ กว่าจะไปเถียงกันเสร็จ กว่าจะไปตีกันระหว่างคณะกรรมการเสร็จ มันช้าและมันนานมากๆ ซึ่งคนทำงานเองบางทีก็เริ่มท้อ ต้องมาต่อสู้กับอะไรไม่รู้ เขียนโครงการเดือนนี้ ได้ทำโครงการอีกที 3 เดือนข้างหน้าประมาณนั้นเลย ช่วงนี้มันเป็นช่วงที่งบประมาณนี้ยังไม่มาด้วย มีน้องที่ต้องไปหาหมอที่เชียงใหม่ เขามาถามเราว่า ไปส่งหาหมอได้ไหม เพราะว่ามีหมอนัด เราก็เลยตอบไปว่า คือถ้าจะให้เราไปส่งไปส่งได้นะ แต่เราก็ต้องมีคำว่าแต่ เพราะว่างบ 67 ยังไม่มาเลย” อัญชลี กล่าว</p><h2>เคารพความแตกต่าง</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633552948_267d5fda55_k.jpg" width="2047" height="1137" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ชรีพร ยอดฟ้า ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพะเยา</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633552973_c96bd286b3_k.jpg" width="2047" height="1150" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ปาล์ม ขวัญจิรา พินิจสุวรรณ์ ผู้พิการทางสายตาที่เคยเรียนที่เชียงใหม่ ต่อมาไปเรียนนวดและทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนกลับมาบ้านเกิดที่พะเยาในช่วงโควิด-19</p><p>หากรัฐเคารพความแตกต่างของคนพิการบ้าง จังหวัดพะเยาคงมีทางลาด มีระบบขนส่งสาธารณะที่เอื้ออำนวย และมีสถานที่ทำงานให้คนพิการที่มีการศึกษาและมีความรู้ความสามารถ</p><p>แพร์ กาญจนา อินต๊ะ ผู้พิการทางด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวซีกซ้ายอ่อนแรง เป็นอีกหนึ่งในผู้พิการที่ไม่สามารถหางานในพื้นที่จังหวัดพะเยา ถึงแม้จะมีความรู้ความสามารถ มีวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) &nbsp;วิชา เอกเลขานุการ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดแรงงานได้</p><p>ชรีพร ยอดฟ้า ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพะเยา เล่าว่า “แพร์เป็นเด็กกำพร้านะ แม่เสียชีวิตจึงอาศัยอยู่กับป้า เรียน จบปวส. สมัครงานแต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ กำลังจะหาทุนการศึกษาให้เรียนจนถึงปริญญาตรีเพราะว่าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขาจะมีเรียนระดับปริญญาตรี เสาร์-อาทิตย์ เพื่อว่าความเป็นคนพิการที่จบปริญญาตรี จะมีแต้มต่อโดยไม่ต้องผ่านภาค ก. จะสามารถทำงานดีๆ ได้หรือไม่อย่างนั้นก็หาสถานที่ให้คนพิการประกอบกิจการ ตามที่ระบุเอาในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ได้ แต่ในจังหวัดพะเยาก็ค่อนข้างจำกัดอยู่มาก เพราะเป็นจังหวัดเล็กๆ แล้วระดับประเทศเขาก็มีบริษัทที่ไปทำตามกฎหมายได้ แต่ว่าจังหวัดเราเนี่ยถ้าจะได้มันก็ต้องไปอยู่แถวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ซึ่งเขาล็อคไว้หมดแล้ว”&nbsp;</p><p>พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการหรือหน่วยของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม ถ้าไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานสามารถส่งเงินเข้ากองทุนตาม มาตรา 34 ได้ และหากไม่ประสงค์จะทำทั้งสองอย่าง อาจจะให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการหรือจ้างเหมาเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา 35</p><p>จากข้อมูลของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค. 65 - ก.ย. 66) ที่ผ่านมา มีผู้พิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้รับสิทธิตามมาตรา 35 จำนวน 15,651 ราย</p><p>เมื่อเมืองที่อยู่ไม่เหมาะสำหรับผู้พิการ หากอยากมีชีวิตที่ดีก็ต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ปาล์ม ขวัญจิรา พินิจสุวรรณ์ ผู้พิการทางสายตาที่มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนพิเศษตั้งแต่เด็ก ตัดสินใจเดินทางเข้ามาศึกษาต่อและทำงานในเมืองหลวง</p><p>“ตอนนั้นคือยังไม่ได้คิดว่าที่บ้านจะมีงานอะไรให้ทำก็เลยตัดสินใจทำงานที่กรุงเทพฯดีกว่าอย่างน้อยไม่ได้เป็นภาระคุณแม่ด้วยแล้วก็ได้ส่งเงินมาให้ท่านด้วย มีมูลนิธิที่เขาสอนเรื่องนวดโดยเฉพาะอยู่ที่กรุงเทพฯ เรียนนวดอยู่ที่นั่นได้</p><p>ประมาณ 2 ปีไปหาใช้ชีวิตก็ได้ไปหัดเดินทางด้วยไม้เท้าขาว ต่อยอดจากการเรียนที่เชียงใหม่ ระหว่างนั้นฝึกหุงข้าว หัดทำกับข้าวง่ายๆ พอที่จะทำได้ด้วยตัวเอง”</p><p>ปาล์มเล่าว่าการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นมีการเดินทางที่สะดวก มีงานรองรับหลากหลาย ทำให้มีรายได้พอเลี้ยงตัวเองและส่งกลับมาที่บ้านได้ แต่สถานการณ์โควิดทำให้เธอต้องกลับบ้านเกิดอีกครั้ง</p><p>“ที่ตัดสินใจกลับมาเพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่โควิดกำลังระบาดพอดีแล้วคุณแม่เริ่มไม่สบายไม่ไหวแล้ว ท่านป่วยมาก แล้วที่บ้านก็เลยบอกว่าให้กลับมาอยู่กับแม่ อยู่ดูแลจนแกเสียชีวิต จึงได้ผันชีวิตมาเลี้ยงไก่ แต่รายได้ไม่ค่อยพอ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งหมดก็ประมาณ 1,500 บาท รายได้จากเบี้ยคนพิการอีกเล็กน้อย พี่สาวเขาทำงานอยู่ต่างจังหวัดเขาก็ส่งให้บ้าง เพราะรายได้จากไก่จริงๆ ไม่พอหรอก อาศัยใจรักมากกว่าเราก็เลยทำ” ขวัญจิรา เล่าถึงชีวิตของเธอ</p><h2>ชีวิตในเมืองหลวง
ถึงจะต่อสู้ดิ้นรนไม่น้อยแต่ก็มีโอกาสดีกว่า</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53633784285_327fb817d2_k.jpg" width="2047" height="1143" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">น้ำ ภัทรภร เที่ยงนิน ผู้พิการทางการมองเห็น เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อหางานทำ ทั้งงานบริการคอลเซ็นตอร์ข้อมูล รับถอดเทป เปิดหมวก จนถึงขายล็อตเตอรี่</p><p>สำหรับคนพิการ น้ำ ภัทรภร เที่ยงนิน ผู้พิการทางการมองเห็นเล่าให้ฟังถึงชีวิตในต่างจังหวัดก่อนตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ “อยู่กรุงเทพฯมีตัวเลือกงานเยอะ ปัจจุบันได้งาน Call Center ของบริษัททรูทำมา 5 ปีกว่าแล้ว อาชีพรองขายลอตเตอรี่แล้วก็มีไปเปิดหมวกบ้าง แล้วก็รับถอดเทปเสียงภาษาไทย แต่ตอนนี้งานขายลอตเตอรี่เยอะขึ้นก็เลยไม่ได้รับแล้ว”&nbsp;</p><p>“เรียนจบใหม่ๆ ปี 57-58 ก็ยังไม่ได้งานนะ มีไปร้องเพลงตามจังหวัดต่างๆ ไปตามงานกาชาดงานประจำปี ไปเปิดหมวก ก็รู้สึกว่าไหนๆก็เรียนจบปริญญาตรีมาแล้ว อยากจะใช้ความรู้ที่ตัวเองเรียนมา ให้เป็นประโยชน์ อยากลองหางานดู พอดีตอนปี 59 มีบริษัทเขา เปิดรับทำงานตำแหน่ง Call Center นี่แหละแต่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ สัญญาปีต่อปี แล้วเขาขยายสาขาไปตามจังหวัดต่างๆ ก็เลยลองไปสมัครดู ปี 59 ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน พอไปอยู่ที่ขอนแก่น ก็ว่างไปประมาณเดือนครึ่ง พอกลางเดือนมิถุนายนปี 59 ก็ไปทำงานที่แพร่ ถึงประมาณกลางปี 61 ก็ลาออก แล้วก็ย้ายเข้ามาอยู่ที่นี่แหละ ที่กรุงเทพฯช่วงปลายปี 61 ด้วยความที่ตอนนั้นมันเป็นสัญญาปีต่อปี แล้วก็เงินเดือนในความรู้สึกของเรามันยัง ไม่ได้ตามวุฒิ” ภัทรภร เล่า&nbsp;</p><p>เธอเรียนจบ ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 ภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถึงแม้จะมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นแต้มต่อ แต่การหางานประจำในต่างจังหวัดที่ได้เงินเดือนตามวุฒิก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนพิการ</p><p>“เคยไปสมัครที่องค์กรอะไรจำไม่ได้แล้ว เขาก็ให้เหตุผลว่าไม่รับคนตาบอดได้ไหม เพราะว่าคุณมองไม่เห็น ไม่สะดวกเรื่องการเดินทาง ฯลฯ เขาก็ให้เหตุผลมา คือสุดท้ายก็ไม่รับ หมดรูปเป็นโหลเอกสารเป็นแฟ้มเลยนะกับการสมัครงาน” เธอเล่า</p><p>ความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯกับต่างจังหวัดนั้นมีมากเริ่มจากเรื่องการเดินทางสะดวกกว่า การให้บริการตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล การเข้าถึงและเข้าใจคนพิการมากกว่า &nbsp;มีทางเลือกหมายถึงมีอาชีพเสริมให้ เลือกที่จะทำเพื่อหารายได้เพิ่มได้มากกว่าต่างจังหวัดสามารถประกอบและอาชีพเสริมอื่นๆได้มากมาย มีโอกาสในการเข้าอบรมกิจกรรมที่ มีประโยชนได้ความรู้เพิ่มเติม</p><p>“เรื่องการบริการกรุงเทพดีกว่าอย่างเช่น การทำธุรกรรมอย่างการเปิดบัญชีธนาคาร หรือทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินอะไรอย่างนี้ ที่ต่างจังหวัดจะไม่ค่อยเข้าใจว่าต้องให้บริการเรายังไง คนตาบอดจะสามารถทำธุรกรรมแบบนี้ได้ไหม เหมือนเขาจะไม่ค่อยมีความรู้ ไม่ค่อยได้ให้บริการกับกลุ่มคนพิการคนตาบอดก็ได้นะ ในโรงพยาบาลอย่างนี้ก็ต้องมีญาติไปด้วย ไม่งั้นเขาก็ไม่รู้ว่าจะต้องให้บริการเรายังไง ถ้าไปเซ็นเอกสารพาไปเข้าห้องตรวจอะไรอย่างนี้ แต่ว่าถ้าเป็นโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ เอกชนนะโรงพยาบาลจะดูแลเลย พาไปกรอกเอกสารพาไปซักประวัติ ไปห้องตรวจไปรับยา จนกระทั่งส่งกลับบ้าน” ภัทรภร พูดถึงความแตกต่างระหว่างคุณภาพชีวิตในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ</p><p>คำถามจึงอยู่ที่ทำไมผู้พิการในต่างจังหวัดถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบคนกรุงเทพฯไม่ได้ ทั้งที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่มากไม่ว่าจะเป็น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)</p><p>“พมจ. เขาก็เวลามีข่าวหรือว่าเป็นประเด็นมาก็ไปดู เอาเงินสงเคราะห์ให้ ซึ่งการให้เงินสงเคราะห์มันไม่ใช่การแก้ปัญหามันอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าว่าเออให้เงิน 3,000 บาท 2,000 บาท แต่ว่าระยะยาวมันมันยังไม่มีแบบระยะยาวหรือว่าไปดูแบบจริงๆจังๆ เงินกองทุนคนพิการหรือศูนย์บริการจังหวัดมันเป็นแค่หน่วยงานหนึ่งอยู่ในกระทรวง พม. ไม่ใช่พมจ. มีงานเยอะแยะมากมายมันไม่ใช่มีแต่งานคนพิการอย่างเดียว</p><p>คนที่ทำงานที่ศูนย์บริการ ไม่มีความมั่นคง เป็นลูกจ้างกองทุนไม่รับการบรรจุเป็นข้าราชการ คนที่เป็นข้าราชการมีคนเดียวคือผู้อำนวยการศูนย์บริการจังหวัด นอกนั้นเป็นแค่ลูกจ้าง บางคนสอบบรรจุได้ไปที่อื่น มีคนใหม่มา คนใหม่ กว่าจะเข้าใจงานเรื่องคนพิการ กว่าจะมาทำงานด้วยกัน อีกสักพักสอบได้แล้วไปที่อื่น ไม่มีความต่อเนื่อง</p><p>ตอนนี้ทางองค์กรคนพิการเองพยายามต่อสู้เรื่องอยากจะขอกองทุนมาเป็นนิติบุคคล แต่พม.เขาก็ไม่ปล่อย ถ้าหน่วยงานภาครัฐเขากำกับ เขามองว่าเขากำกับดูแลได้ แต่ถ้าเอกชนมาดูแลเงินกองทุนเยอะๆแบบนี้เองเนี่ยเขาก็กลัวมีปัญหาอยู่ มันก็เลยอยู่อย่างนี้” ชรีพร ยอดฟ้า ประธานสภาคนพิการจังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังถึงปัญหาการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคงจากทางภาครัฐเอง ก็แปลกที่หน่วยงานผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือพัฒนาสังคมและความมั่นคงของประชาชน กลับเป็นผู้ที่สร้างความไม่มั่นคงในหน้าที่การงานให้กับพนักงานของตัวเอง&nbsp;</p><p>“สิทธิอย่างหนึ่งคือสิทธิขอผู้ช่วยคนพิการ ซึ่งผู้ช่วยคนพิการก็ไม่ได้มีเยอะพอที่จะไปดูคนพิการหลาย ๆ คนได้ สมมุติว่าตำบลนี้มีผู้ช่วยคนพิการ 1 คน ดูคนพิการได้ 5 คน ที่จริงคนพิการมีหลายร้อยคน เขาก็จำกัดแค่ 5 คน บางตำบลไม่มีผู้ช่วยคนพิการเลย หน้าที่ของผู้ช่วยคนพิการคือ 1. ดูคนพิการที่อยู่คนเดียว 2. คนพิการที่ยากจน ถามว่ามีเยอะไหม เยอะมาก เพราะว่าเดี๋ยวนี้ลูกหลานก็ไปอยู่ที่อื่น อย่างพะเยาไม่มีสถานประกอบการใหญ่ๆนะ งานมันก็มีน้อยมากตำแหน่งงานว่างก็มีน้อย” &nbsp;ชรีพร กล่าว</p><h2>ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย</h2><p>ถ้าประชาธิปไตยเน้นความเสมอภาคเท่าเทียม คนพิการน่าจะเป็นกลุ่มแรกๆที่สะท้อนปัญหานี้ได้ดี ชรีพร ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพะเยา ยกตัวอย่างให้เห็นว่า</p><p>ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีชั้น 2 ผู้พิการบางประเภทไม่สามารถขึ้นไปเข้าร่วมประชุมได้ อบต.มีหน้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกกลุ่ม เขาก็จะมีโครงการของคนพิการให้ความรู้เรื่องสิทธิ</p><p>แต่ในมุมมองของฝ่ายปกครองบางคนหรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมักจะบอกว่า อย่าเอามาเลยคนพิการ เอาผู้ดูแลมา มันก็เลยจบที่ผู้ดูแล ถ้าผู้ดูแลคนนั้นต่อสู้ให้ญาติ ให้ลูกหลาน ให้ผู้ปกครองที่เราปกครองอยู่เข้าถึงสิทธิก็ดี แต่ว่าถ้าผู้ปกครองหรือผู้ดูแลคนนั้นไปนั่งฟังแล้วมันจบที่ตัวเขา มันก็จบ คนพิการก็ไม่รับรู้ถึงสิทธิของเขาอยู่ดี&nbsp;</p><p>เพราะฉะนั้นเวลามีกิจกรรม ประชุมหรือว่าให้คนพิการมีส่วนร่วมจริงๆมัก ก็จะมีแต่คนที่ร่างกายเอื้ออำนวยให้ไปได้ ประเภทอื่นแทบจะไม่มี เพราะบางครั้งไม่มีล่ามภาษามือ ไม่มีอักษรเบล บางครั้งมีปัญหาเรื่องจำนวนคนเข้าร่วม เช่นกำหนดว่าให้คนพิการมาคนเดียว ผู้ดูแลไม่ต้องมาเพราะไม่มีงบประมาณดูแล</p><p>การละเลยโครงสร้างพื้นฐานนี้ บีบให้ผู้พิการต้องแยกตัวออกจากสังคม ไม่สามารถไปร่วมงาน หรือทำกิจกรรมนอกบ้านได้ “คนพิการเองเนี่ยไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ บ้าน วัดโรงเรียน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก จะมีวัดสักกี่วัดที่มีทางลาด มีอักษรเบล เพราะฉะนั้นคนพิการเกือบทุกประเภทไม่เข้าวัดหรอก
13  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - วัดแตก! เสี่ยรับเหมาบวชลูกชาย โปรยทานลุ้นโชคกว่า 2 แสน ฮือฮา แจกของดีๆ ทั้งนั้น เมื่อ: วานนี้
วัดแตก! เสี่ยรับเหมาบวชลูกชาย โปรยทานลุ้นโชคกว่า 2 แสน ฮือฮา แจกของดีๆ ทั้งนั้น
         


วัดแตก! เสี่ยรับเหมาบวชลูกชาย โปรยทานลุ้นโชคกว่า 2 แสน ฮือฮา แจกของดีๆ ทั้งนั้น" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;วัดแทบแตก เสี่ยรับเหมาถมดินบวชลูกชาย จัดแจกโปรยทานลุ้นโชคเงินสด พัดลม ตู้เย็น รวมกว่า200,000 บาท ชาวบ้านแห่ร่วมงานลุ้นโชคคึกคัก

         

https://www.sanook.com/news/9374922/
         
14  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เสียงปืนในประเทศเพื่อนบ้าน : ชีวิต 'ศิลปินพม่า' พลัดถิ่นในไทย เมื่อ: วานนี้
เสียงปืนในประเทศเพื่อนบ้าน : ชีวิต 'ศิลปินพม่า' พลัดถิ่นในไทย
 


<span>เสียงปืนในประเทศเพื่อนบ้าน : ชีวิต 'ศิลปินพม่า' พลัดถิ่นในไทย</span>
<span><span>Pazzle</span></span>
<span><time datetime="2024-04-30T14:54:40+07:00" title="Tuesday, April 30, 2024 - 14:54">Tue, 2024-04-30 - 14:54</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>วรรณา แต้มทอง : เรื่อง/ภาพ</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">3&nbsp;ปี รัฐประหารพม่าแลกมาด้วยเลือดเนื้อของประชาชนที่ไหลนองเต็มท้องถนน กองทัพพม่าใช้ปืนจริง กระสุนจริงปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหารทั้งทางพื้นดินและการโจมตีทางอากาศ หลังพล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่&nbsp;1&nbsp;ก.พ. 2021&nbsp;การปกครองภายใต้การนำของมินอ่องหล่าย และกองทัพพม่าในช่วง 3&nbsp;ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า&nbsp;2.6 ล้านคนต้องพลัดถิ่นฐานจากบ้านเรือนของตัวเองเพราะผลกระทบจากการรัฐประหาร บ้านเรือนกว่า&nbsp;80,000&nbsp;หลังเสียหายจากการโจมตีของกองทัพ และค่าเงินในพม่าเฟ้อแตะ&nbsp;20&nbsp;เปอร์เซ็นต์</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ประชาชนที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล วิศวกร ครูอาจารย์ นักกฎหมาย นักการเมือง ศิลปิน นักแสดง นักศึกษา และอีกหลากหลายอาชีพกลายเป็นคนพลัดถิ่นในบ้านเกิดของตนเอง บางคนต้องหาทางดิ้นรนหนีออกนอกประเทศไปเป็นคนพลัดถิ่นไร้สิทธิไร้เสียงในประเทศอื่น เพียงเพราะยื่นหน้ายื่นมือเข้าไปต่อต้านการรัฐประหาร&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p><h2>“เสียงไวโอลิน”&nbsp;ก็มีความผิด</h2><p>ในห้องเช่าขนาดเล็กที่กลายเป็นบ้านด้วยความจำเป็น บ้านที่ชเว (นามสมมติ) นักไวโอลินจากประเทศเพื่อนบ้านและครอบครัวอาศัยอยู่รวมกัน&nbsp;4 ชีวิต ห้องที่ที่นอน ที่รับแขก ที่ทำอาหาร และที่ซ้อมดนตรีรวมกันอยู่ในพื้นที่เดียว โดยไม่มีการกั้นแบ่งเขตห้องทุกสัดส่วนของห้องถูกมองเห็นทันทีที่เปิดประตูเข้าไป ชเวและภรรยาต้อนรับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม ลูกทั้ง&nbsp;2&nbsp;คนของเขานอนหลับอยู่บนเตียงนอน คีย์บอร์ดถูกตั้งอยู่ปลายเตียงข้างโต๊ะหนังสือที่มีไวโอลินวางอยู่</p><p class="picture-with-caption" style="text-indent:36.0pt;"><span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH">นักไวโอลิน" width="1023" height="682" loading="lazy</span>บรรยากาศภายในห้องเช่าของชเว<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ชเวเคยเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในระดับชนชั้นกลางของพม่า เขาร่วมกับเพื่อนเปิดสตูดิโอสอนเกี่ยวกับศิลปะและดนตรีในย่างกุ้ง ช่วงปี&nbsp;2022&nbsp;หลังการรัฐประหารพม่าเพียงแค่&nbsp;1&nbsp;ปี ชเวเริ่มรับรู้ได้ถึงความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับตัวเขา คืนวันที่&nbsp;26&nbsp;ม.ค. 2022&nbsp;เวลาประมาณ&nbsp;22.00&nbsp;น.&nbsp;มีทหารและตำรวจราว&nbsp;20 คน บุกมาตรวจค้นตึกที่ชวยอาศัยอยู่ โชคดีที่สายของทหารอาจจะรายงานข้อมูลผิดพลาด พวกเขาเข้าไปค้นผิดห้อง ทำให้ชเวไหวตัวทันหนีออกมาได้ เขาหนีการจับกุมตัวของทหารมาพร้อมลูกสาวคนโต ขณะที่ภรรยาและลูกชายคนเล็กตามออกมาทีหลัง ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจออกนอกประเทศพม่า ชเวพยายามพาครอบครัวเปลี่ยนที่นอนไปเรื่อยๆ ตามโรงแรมบ้าง บ้านเพื่อนบ้าง เพื่อไม่ให้ทหารพม่าตามตัวได้&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“ผมยังอยู่ที่ย่างกุ้ง แต่ว่าอยู่บ้านไม่ได้ ต้องไปนอนที่โรงแรมสองคืน แล้วย้ายไปที่อื่น ย้ายที่นอนแบบนั้นไปเรื่อยๆ จนเพื่อนบอกว่า&nbsp;“โอ๊ย คุณจะย้ายแบบนี้มันไม่รอดอยู่แล้ว ออกมาเลย” เพื่อนแนะนําแนะให้เช่ารถแพงๆ มีคนขับไปส่งที่ชายแดน เพื่อไม่ให้คนอื่นจำได้ ก่อนจะหาทางออกนอกประเทศ”&nbsp;ชเวกล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p class="picture-with-caption"><span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH">นักไวโอลิน" width="1023" height="682" loading="lazy</span></p><p class="picture-with-caption"><span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH">นักไวโอลิน" width="1023" height="682" loading="lazy</span>ไวโอลินที่ชเวพกติดตัวมาจากบ้านเกิด<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">เขาเลือกหนีออกนอกประเทศพม่ามาอยู่ที่ไทยเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว ตอนออกมาจากพม่าชเวเล่าว่าเขามีเพียง “ไวโอลินของผม ของภรรยา ของลูกสาว” ติดตัวมา เหตุผลที่ทหารพม่าจับตามองมาที่เขาเป็นผลมาจากการที่เขาและเพื่อนๆ ที่สตูดิโอ รวมถึงลูกศิษย์ประมาณ&nbsp;100&nbsp;คน รวมตัวกันแสดงออกว่าการรัฐประหารของกองทัพพม่าที่เกิดขึ้นไม่ถูกต้องและไม่มีความชอบธรรมผ่านการเล่นดนตรี นอกจากนี้สตูดิโอของชเวยังมีส่วนช่วยทำเพลงสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร จนมีคนในสตูดิโอของเขาถูกจับในข้อหาที่มีการยุ่งเกี่ยวกับกองกำลังชาติพันธุ์ ไม่แปลกที่เขาจะระแวงกับการมาตรวจค้นของทหารพม่าจนต้องหนีออกนอกประเทศ&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">กองทัพพม่าไม่เคยปรานีต่อคนที่ต่อต้านรัฐประหาร&nbsp;</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ความกล้าในการแสดงออกของชเวมาจากการที่เขามองว่า&nbsp;“ก่อนรัฐประหารปี 2021&nbsp;ผู้คนในย่างกุ้งก็เห็นการเล่นดนตรีของสตูดิโอของเรา ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ผู้คนลงถนนต่อสู้ เราจะเงียบไม่ได้ ประชาชนทุกคนก็ลำบาก แล้วเราจะให้กำลังใจคนที่ลงถนนได้อย่างไร ก็เลยตัดสินใจออกมาทำ”<o:p></o:p></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“ครั้งแรกยังไม่แรงเท่าไหร่ แต่หลังจากที่มีการยิงประชาชน นักเรียนนักศึกษาตาย กลางคืนเราก็ไปนั่งตรงที่มีคนเสียชีวิต เล่นไวโอลินไว้อาลัยให้เขา หลังจากนั้นก็ถูกตาม ในพม่ามันเริ่มจากประชากรที่เห็นด้วยกับรัฐประหารจับตากันเอง ใส่ชุดธรรมดาเหมือนเรา ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร อาจจะเป็นประชาชนหรือสายของทหารตำรวจก็ได้ที่ให้เบาะแสเรา”&nbsp;ชเว กล่าว<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">สิ่งที่ชเวทิ้งมาไม่ใช่แค่เพียงสตูดิโอสอนดนตรีในย่างกุ้ง แต่เป็นทุกอย่างในชีวิตของเขา&nbsp;“ถ้าไม่มีการรัฐประหาร หรือถ้าเราไม่ได้ไปร่วมอะไร (ต่อต้านรัฐประหาร)&nbsp;ก็อยู่ได้&nbsp;รายได้ก็โอเค เป็นงานที่เราชอบด้วย แต่หลังจากที่เราตัดสินใจแล้วว่าจะออกมาสู้ ก็ทิ้งทุกอย่างไปหมดเลย”&nbsp;<span style="color:black;font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“ถ้าเราคิดว่าอยู่เงียบๆ ดีกว่า ถ้าทุกคนคิดอย่างนี้เมื่อไหร่ประชาชนจะชนะ เมื่อไหร่ประเทศของเราจะพัฒนา การรัฐประหารจะอยู่แบบนี้ตลอดไป เท่าที่เราทำได้เราต้องแสดงออก ต้องเปิดหน้าเปิดตาให้ทั่วโลกเห็นชีวิตประชาชนในพม่า”&nbsp;ชเว กล่าว<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ชเวไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลว่า ที่ผ่านมาพม่าเคยมีการรัฐประหารมานับครั้งไม่ถ้วน ประชาชนต้องอยู่ภายใต้รัฐประหารจนกระทั่งปี&nbsp;2015&nbsp;ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของ ออง ซาน ซูจี ชนะเลือกตั้ง เป็นช่วงเวลาที่เขาใช้คำว่า&nbsp;“ลมหายใจที่เราหายใจเข้าไป&nbsp;เป็นลมที่สะอาดมาก เป็นช่วงเวลาที่เปิดหน้าเปิดตาให้ประเทศเราพัฒนาขึ้น แต่อยู่ดีๆ ก็คือมีการรัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นมา เหมือนกับว่าเราย้อนกลับไปในอดีตอีกครั้ง”&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“คนรุ่นใหม่ต่างไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและต่างลุกขึ้นสู้ เราก็เป็นอีกคนที่สามารถออกมาต่อสู้ได้ แต่การต่อสู้ของเราไม่ได้ใช้อาวุธรุนแรง เราใช้ศิลปะ ใช้เสียงดนตรีของเรา เป็นการไปสู้ร่วมกับคนอื่นๆ เราเองก็ไม่เห็นด้วย”&nbsp;ชเว กล่าว<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p class="text-align-center picture-with-caption" style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">นักไวโอลิน" width="1023" height="682" loading="lazy &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ชเวขณะซ้อมไวโอลินในห้องเช่า<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ภายใต้การต่อสู้ในระดับที่แตกต่างกันมากระหว่างประชาชนที่มีเพียงเสียงดนตรีกับกองทัพพม่าผู้ทำรัฐประหารที่มีอาวุธครบมือ อาจดูเป็นไปไม่ได้เลย แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเสียงดนตรีของฉเว่คือการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐประหารอย่างเข้มข้นราวกับคลื่นใต้น้ำที่ช่วยประคับประคองการต่อสู้ของประชาชนชาวพม่าไว้อีกแรง<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“เสียงดนตรีกับปืน ถ้ามองตรงๆ&nbsp;ก็สู้ไม่ได้ แต่เราใช้เสียงดนตรีของเราสนับสนุนคนที่ต่อต้าน จัดกิจกรรม หางบประมาณมาสนับสนุนคนที่ใช้อาวุธสู้ด้วย ไม่ใช่แค่ประเทศของเราประเทศอื่นถ้ามีรัฐประหารเกิดขึ้นมา คนทำรับประหารมักจะระวังนักเขียน นักแสดง นักร้อง เพราะคนกลุ่มนี้สามารถใช้เสียงของพวกเขาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารได้ ซึ่งปฏิกิริยาหรือการแสดงออกของเราสามารถหางบประมาณไปสนับสนุนคนอื่นได้”&nbsp;ชเว กล่าว<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ชีวิต&nbsp;1&nbsp;ปีในประเทศไทยชเวยังคงรักษาความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับดนตรีที่เขารักได้ เพียงแต่ต้องระวังตัวจากจากตำรวจไทยบ้าง เพราะพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่ต่อให้มีบัตรหรือมีเอกสารยืนยันตัวตนมาแสดงก็อาจถูกเรียกรับเงินจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ซึ่งชเวยังเอาตัวรอดมาได้ตลอด ขณะที่เพื่อนของเขาที่เป็นหมอเคยถูกคนอ้างตัวเป็นตำรวจไทยจับและเรียกเงิน 200,000&nbsp;บาท&nbsp;“อ้างว่าแม้จะคุณเป็นหมอ แต่ไม่มีสิทธิรักษาที่นี่ ทำงานที่นี่ได้ จับแล้วก็ขอเงินสองแสน สุดท้ายต้องเจรจากันจนยุติไป”</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ชเวอยู่ประเทศไทยโดยหวังว่าสักวันประเทศของเขาจะสงบลง เขาจะได้เดินทางกลับบ้านเกิด&nbsp;“ตัวเราในใจเราอยากอยู่ที่นี่มากกว่าที่ไปประเทศที่สาม”&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“ในครั้งนี้ถ้าเราสู้ไม่ชนะ&nbsp;อนาคตลูกหลานของเราจะเป็นอย่างไง คนรุ่นเราต้องสู้ให้ได้ ต้องสู้ให้ชนะ รัฐประหารครั้งนี้พรากความอิสระของเราไป ทำร้ายชีวิตที่ผ่านมาของประชาชนที่เคยมีอิสระ ในแต่ละวันประชาชนได้แต่ซึมเศร้า ข่าวแต่ละข่าวที่เราได้เห็นได้ฟังไม่มีอะไรที่ทำให้ยิ้มได้ ทุกวันมีแต่น้ำตาของประชาชนที่ตกออกมา”&nbsp;ชเว กล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">เมื่อถามชเวว่าอยากบอกอะไรกับคนที่ทำรัฐประหาร สิ่งที่เขาอยากบอกคือ&nbsp;“วางปืนลงเถอะ พอได้แล้ว”<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53686376730_7bdf86aa24_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy"><h2>&nbsp;</h2><h2>แร็ปกระแทกเผด็จการ<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><strong><o:p></o:p></strong></span></h2><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ซานเจย์ไม่ใช่ชื่อจริงของแร็ปเปอร์หนุ่มชาวพม่าวัย&nbsp;28&nbsp;ปี ที่ต้องหนีการรัฐประหารจากประเทศตัวเองมาอยู่ไทยอย่างแน่นอน เราไม่อาจเรียกเขาด้วยชื่อที่แท้จริงหรือเปิดเผยโลเคชั่นของเขาได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเขาเอง ถ้ามองจากภายนอกซานเจย์ตัวสูง ผิวคล้ำแดด แต่งตัวเรียบง่ายธรรมดาไม่เหมือนแร็ปเปอร์ที่ร้องเพลงเสียดสีใคร เขาดูใจเย็นเกินกว่าจะแร็ปรัวๆ ได้ มองเผินๆ ซานเจย์เหมือนหมอมากกว่าคนเป็นแร็ปเปอร์ด้วยซ้ำ บ้านที่เขาอาศัยอยู่ในไทยไม่ได้มีแค่เขา ยังมีวัยรุ่นชาวพม่าคนอื่นที่ย้ายเข้ามาเพราะการรัฐประหารอยู่ด้วยอีก&nbsp;6 – 7&nbsp;คน เป็นบ้านที่ค่อยข้างสร้างสรรค์มีทั้งโปรดิวเซอร์ นักร้อง นักแต่งเพลง แร็ปเปอร์ อยู่รวมกัน ชั้นสองของบ้านมีห้องที่ถูกทำเป็นห้องอัดเพลง ทำให้พอจะรู้ได้ว่าคนในบ้านหลังนี้เป็นศิลปินที่ทำเพลงกันอย่างจริงจัง<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ถึงภายนอกจะดูเหมือนหมอแต่พอขึ้นเวทีซานเจย์สามารถดึงผู้ชมให้อยู่กับเขาได้ไม่แพ้แร็ปเปอร์คนไหน เขาโชว์คลิปเพลงของตัวเองใน&nbsp;YouTube&nbsp;ให้เราดูทั้ง&nbsp;MV&nbsp;และการแสดงสดจนมั่นใจได้ว่าเขามีความเป็นแร็ปเปอร์มืออาชีพอยู่ในตัวเอง ทุกเพลงที่ซานเจย์ให้ดูต่างมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต้านรัฐประหารในพม่าทั้งสิ้น<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p><p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazy</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53686150408_13e7b1701e_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">ซานเจย์</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ก่อนรัฐประหาร ซานเจย์เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ทำงานปกติเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป แต่เมื่อกองทัพพม่าเข้ายึดประเทศจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เขาจึงลงถนนเข้าร่วมกับ&nbsp;CDM&nbsp;(ขบวนการทำอารยขัดขืนต้านรัฐประหารของประชาชนชาวพม่า&nbsp;Civil Disobedience Movement&nbsp;หรือ&nbsp;CDM)&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“ก่อนการรัฐประหารประเทศของเรามีการพัฒนาอย่างไร แต่หลังจากที่รัฐประหารประเทศของเรามีแต่ความลำบากอย่างไร เราได้มาเรียนรู้ในช่วงนี้ อนาคตของวัยรุ่นอย่างพวกเราหมดสิ้นแล้ว เราก็เลยลงถนนร่วมกับคนอื่นๆ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารในครั้งนี้ ถ้าเราสู้ไม่สำเร็จ คนรุ่นต่อไปก็ต้องได้รับผลของมันอีก” ซานเจย์ กล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ซานเจย์ยืนยันว่าการกระทำของเขาและประชาชนที่ออกไปต่อต้านรัฐประหารบนถนนไม่ได้เป็นการใช้ความรุนแรง ประชาชนเพียงแต่มาแสดงสิทธิอันบริสุทธิ์ของพวกเขาที่ไม่เห็นด้วยกับชะตากรรมภายใต้กระบอกปืนของประเทศ หลังจากร่วมขบวนการต่อต้านรัฐประหารกับ&nbsp;CDM&nbsp;ซานเจย์ต้องทิ้งงานเจ้าหน้าที่รัฐที่เขาทำมากว่า&nbsp;2&nbsp;ปี&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“เจ้าหน้าที่รัฐแสดงออกหรือลงถนนประท้วงแบบนี้ไม่ได้ เขาไม่ให้ทำ หลังเข้าร่วมกับ&nbsp;CDM หน่วยงานของผมก็ตามหาตัว ผมเลยหลบหนีอยู่ในย่างกุ้ง สุดท้ายต้องหนีเข้าไปในรัฐกะเหรี่ยง และข้ามมาประเทศไทย&nbsp;งานที่เราเสียไปกับสิ่งที่คนอื่นเสียสละ ตัวผมยังถือว่าเล็กน้อยมาก” ซานเจย์ กล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazyห้องอัดเพลงในบ้านซานเจย์<o:p></o:p></p><p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazyสมุดโน๊ตที่ซานเจย์ใช้แต่งเพลง</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ระหว่างที่หลบหนีการจับกุมตัวอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยง ซานเจย์ได้รู้จักกับคนกะเหรี่ยงที่เขียนเพลงต่อต้านรัฐประหาร ทำให้เขาเริ่มแต่งเพลงต้านรัฐประหารออกมาบ้าง ต่อมาการสู้รบลามไปถึงรัฐกะเหรี่ยงซานเจย์เริ่มรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัย เขาจึงหนีมาอยู่ที่ประเทศไทยในปี&nbsp;2022 “หลังเข้ามาอยู่ไทยก็ลำบากอยู่ แม้ว่าจะลำบากเพียงใดมันก็ไม่ใช่แค่เราคนเดียว หลายคนก็ลำบากก็ได้รับผลกระทบกันทั้งนั้น” สิ่งหนึ่งที่ซานเจย์และชเวทำเหมือนกันขณะอยู่ในประเทศไทยคือพวกเขาใช้เสียงดนตรีและเสียงเพลงหาเงินสนับสนุนการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร ซานเจย์ยังคงมีความคิดความเชื่อกับการต่อสู้ผ่านเสียงเพลง ถึงรู้ว่าเนื้อหาในเพลงแร็ปของเขาเสี่ยงแค่ไหน เขาก็ยังคงยืนยันที่จะทำมันต่อไป<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“การต่อสู้การต่อต้านมันไม่เกี่ยวว่ามีพลังหรือไม่มีพลัง แม้ฝั่งนู้นจะมีอาวุธสามารถทำร้ายหรือฆ่าคนได้ แต่เพลงของเราสารถเปลี่ยนใจคนได้ เพลงของเราอาจกระตุ้นใจคนฟังให้เขามีพลังได้ ทำให้คนรับรู้ว่าประเทศเรามีปัญหาอะไรที่เรากำลังเผชิญ และเหมือนกับว่าเรายังสู้อยู่กับประชาชน เราไม่ได้ไปไหน และเราไม่ได้อยู่คนเดียว” ซานเจย์ กล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">ซานเจย์รู้ดีว่าการรัฐประหารในพม่าครั้งนี้คร่าชีวิตคนหนุ่มสาวไปในพม่าที่ออกมาเคลื่อนไหวไปเป็นจำนวนมาก “ผมเคยคิดว่าประเทศของเราอาจจะไม่มีรัฐประหารอีกต่อไป ประเทศเราเริ่มก้าวหน้ามาเรื่อยๆ แต่อยู่ดีๆ ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น&nbsp;และแน่นอนว่าถ้ามีการรัฐประหารแบบนี้ประชาชน นักศึกษา หรือชาวบ้านอาจเป็นฝ่ายสูญเสีย แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เขาจะเสียชีวิตไปเอง คนที่เสียชีวิตไปเขาก็มีบทบาทหน้าที่ของเขา เขาออกมาต่อต้านออกมาส่งเสียง ผลกระทบจากรัฐประหารจึงเกิดขึ้นกับชีวิตเขา”<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p>
<p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“การรัฐประหารครั้งนี้เหมือนพาเราย้อนกลับไปในอดีตที่เราเคยผ่านมาแล้ว ปิดปากปิดตาประชาชนไม่ให้เห็นไม่ให้พูดอะไร พรากประเทศเราไป&nbsp;คนที่ทำรัฐประหารขู่ประชาชน ฆ่าประชาชน ทำให้ประชาชนกลัว แต่ครั้งนี้ประชาชนไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กมีการแสดงออก และครั้งนี้เรามั่นใจว่าจะอีกไม่นาน อาจบอกไม่ได้ว่าอีกเท่าไหร่ แต่แน่นอนว่าจะไม่นาน” ซานเจย์ กล่าว&nbsp;<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p>
<p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazy</p><p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazy</p><p class="picture-with-caption">แร็ปเปอร์" width="1023" height="682" loading="lazyMV เพลงที่ซานเจย์มีส่วนร่วม<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">“คนที่ทำรัฐประหารไม่รู้ว่าคุณเอาอะไรคิด ลุกขึ้นมารัฐประหารแบบนี้ สมองเหมือนหมากินขี้ คุณตัดขาดชีวิตตัดความหวังของประชาชน”<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="EN-US"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">นี่เป็นเนื้อเพลงท่อนที่ซานเจย์ชอบ&nbsp;เขาเลือกใช้เพลงที่ตัวเองแต่งพูดกับผู้นำ ถ่ายทอดสิ่งที่อยากพูดออกมากับคนทำรัฐประหาร เขาเชื่อว่าสถานการณ์ในพม่าตอนนี้ต่อให้การรัฐประหารและการสู้รบจะผ่านมา&nbsp;3&nbsp;ปีแล้ว แต่สำหรับเขา&nbsp;“อีกไม่นานแล้ว จะเสร็จแล้ว จะสิ้นสุดแล้ว”<span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;"><o:p></o:p></span></p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">&nbsp;</p><p style="text-align:justify;text-justify:inter-cluster;">&nbsp;</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการการยืนหยัดท่ามกลางวิกฤตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Staying Resilient Amidst Multiple Crises in Southeast Asia) ภายใต้ความริเริ่มของ SEA Junction โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ CMB</strong></p></div><p><span style="font-family:&quot;Angsana New&quot;,serif;font-size:16.0pt;" lang="TH"><o:p></o:p></span><o:p></o:p></p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">รัฐประหารพม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ศิลปินพม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2" hreflang="th">มินอ่องหล่าhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/04/109040
 
15  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - โลกร้อน ภัยแล้ง กระทบคนจน | หมายเหตุประเพทไทย EP.522 (LIVE) เมื่อ: วานนี้
โลกร้อน ภัยแล้ง กระทบคนจน | หมายเหตุประเพทไทย EP.522 (LIVE)
 


<span>โลกร้อน ภัยแล้ง กระทบคนจน | หมายเหตุประเพทไทย EP.522 (LIVE)</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-12T15:55:16+07:00" title="Sunday, May 12, 2024 - 15:55">Sun, 2024-05-12 - 15:55</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/g34-GQVzDao?si=C4cqDv4uIK3lyyPn" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>เมื่อคนจนกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบหนักสุดในสถานการณ์ภัยแล้ง และโลกร้อน ทางออกเชิงนโยบายควรเป็นอย่างไร? ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย Live วันอาทิตย์ที่ 12 พ.ค. เวลา 18.00 น.</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>หลานม่า และสิ่งประกอบสร้างทางอารมณ์ความรู้สึก | หมายเหตุประเพทไทย EP.521</li><li>โค้งสุดท้ายผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม | หมายเหตุประเพทไทย EP.520</li><li>พม่า สงคราม และการสร้างสหพันธรัฐที่ไม่รู้จบ | หมายเหตุประเพทไทย EP.519 [Live]</li></ul></div><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53711540931_53b8ef3e53_k.jpg" width="1920" height="1080" loading="lazy"></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่
16  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - 1 ปีมีครั้งเดียว สรงน้ำ "พระคำตันทองคำ" อายุกว่า 200 ปี จุดธูปได้เลขไปเสี่ยงโชค เมื่อ: วานนี้
1 ปีมีครั้งเดียว สรงน้ำ "พระคำตันทองคำ" อายุกว่า 200 ปี จุดธูปได้เลขไปเสี่ยงโชค
         


1 ปีมีครั้งเดียว สรงน้ำ &quot;พระคำตันทองคำ&quot; อายุกว่า 200 ปี จุดธูปได้เลขไปเสี่ยงโชค" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ชาวบ้านแห่สรงน้ำ "พระคำตันทองคำ" อายุกว่า 200 ปี อัญเชิญให้กราบไหว้ขอพรแค่ปีละครั้ง จุดธูปได้เลข 3 ตัว ไปเสี่ยงโชค
         

https://www.sanook.com/news/9374314/
         
17  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (5) ดูจังหวัดเชียงใหม่รับมือ PM2.5 เมื่อ: วานนี้
ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (5) ดูจังหวัดเชียงใหม่รับมือ PM2.5
 


<span>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (5) ดูจังหวัดเชียงใหม่รับมือ PM2.5</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-13T00:01:54+07:00" title="Monday, May 13, 2024 - 00:01">Mon, 2024-05-13 - 00:01</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>วิชชากร นวลฝั้น</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ของภาคเหนือตอนบนวิกฤตมาตั้งแต่มีนาคม เมษายน เริ่มคลี่คลายหลังฝนตกติดต่อกันหลายวันในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ข้อมูลจากสถานีวัดอากาศ 36T รร.ยุพราชวิทยาลัย พบว่าวันที่ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานอยู่ที่ 80 วัน น้อยกว่าปี 2566 ที่นับได้ 101 วัน แต่ก็ยังมากกว่าปี 2565 ที่มีวันอากาศไม่ดี 43 วัน ขณะเดียวกันเมื่อย้อนทบทวนมาตรการรับมือภาครัฐพบว่าจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงแนวทางและวิธีการในการรับมือ PM2.5 ใหม่ ด้วยการเปิดพื้นที่ เปิดข้อมูล จัดโซนใหม่ ตั้งเป้าหมายลดจุดฮอตสปอต ลดพื้นที่เผาไหม้ ลดจำนวนวันที่อากาศเสีย และลดจำนวนผู้ป่วยทางเดินหายใจ</p><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/c_lzfoh-wW0?si=XCu4EtOnlMd3JmCg" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 หลายปีที่ผ่านมาอยู่ในขั้นเลวร้ายและกระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน ที่ฤดูแล้งทุกปีวัดค่าคุณภาพอากาศเข้าขั้นมลพิษสูงติดอันดับโลก ที่ผ่านมามีการเรียกร้องรัฐบาลให้มีมาตรการป้องกัน และดูแลประชาชนให้มากยิ่งขึ้น อย่างที่จังหวัดเชียงใหม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะมีอากาศที่สะอาดหายใจติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อีกทั้งยังมีภาคประชาสังคมที่ออกมาทำบางอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง</p><p>โดยรายงานข่าวภายใต้โครงการ “ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ” ชวนอ่านบทสนทนากับภาคประชาสังคม เอกชน และส่วนราชการในเชียงใหม่และจังหวัดภาคเหนือตอนบน เรื่องการรับมือปัญหามลพิษทางอากาศ รวมไปถึงมุมมองต่อการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแบ่งนำเสนอทั้งหมด 5 ตอน</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (1) หน้ากาก Masqura X และนวัตกรรมป้องกันอากาศพิษ, 8 มี.ค. 2567</li><li>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (2) ละครเวทีเล่าเรื่องเมืองฝุ่นพิษ, 14 มี.ค. 2567</li><li>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (3) เปลี่ยนจากงดเผาสิ้นเชิง เป็นคุมไฟ ใช้ไฟ, 24 มี.ค. 2567</li><li>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (4) ชุมชนทำไร่หมุนเวียน จัดการไฟอย่างไร, 28 เม.ย. 2567</li><li>ภาคเหนือรับมือ PM2.5 (5) ดูจังหวัดเชียงใหม่รับมือ PM2.5, 13 พ.ค. 2567</li></ul></div><p>สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ภาคเหนือตอนบนเริ่มคลี่คลายหลังมีฝนตกหลายวันติดต่อกัน รวมทั้งการไหลเวียนของอากาศ จากข้อมูลในเพจ PM2.5 aqi Thailand พบว่าจนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2567 เชียงใหม่มีคุณภาพอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐาน (เกณฑ์ US.EPA วัดจาก PM2.5 มากกว่า 35.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร) โดยนับเฉพาะสถานี 36T โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงขณะนี้นับวันอากาศไม่ดีได้ 80 วัน น้อยกว่าปี 2566 ที่มีวันอากาศไม่ดี 101 วัน แต่ก็ยังมากกว่าปี 2565 ที่มีวันอากาศไม่ดี 43 วัน</p><p>เมื่อย้อนกลับไปดูวิธีการรับมือของทางจังหวัด พบว่าตั้งแต่ปลายปี 2566 จังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงแนวทางและวิธีการในการรับมือกับฝุ่น PM2.5 ใหม่ ด้วยการเปิดพื้นที่ เปิดข้อมูล จัดโซนใหม่ ตั้งเป้าหมายลด 50 เปอร์เซ็นต์ให้ได้ 4 ด้าน ได้แก่ ลดพื้นที่ hotspot ลดพื้นที่เผาไหม้ ลดจำนวนวันที่อากาศเสีย และลดจำนวนผู้ป่วยทางเดินหายใจ</p><p>ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ในช่วงเตรียมการรับมือฝุ่น PM2.5 ระบุถึงนโยบายในการรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ของปี 2567 จะมีการ “ถอดบทเรียน” หลังจากปี 2566 ที่ผ่านมาเกิดจุดเผาไหม้หรือ Hotspot สูง มีพื้นที่เผาไหม้สูง วันที่คุณภาพอากาศเกินเกณฑ์ได้เกิดขึ้นหลายวัน หลังจากสถานการณ์สิ้นสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ได้มีการปรับแผนงานกันใหม่ 3 ด้านด้วยกันคือ</p><p>ประการแรก รัฐเองจำเป็นต้องเปิดพื้นที่การทำงาน ต้องเอาภาคีเครือข่าย ภาคประชาชน ภาควิชาการ เอาสิ่งที่ศึกษาวิจัยวิเคราะห์มาใช้</p><p>ประการที่สอง รัฐต้องเปิดข้อมูลข่าวสาร ประชาชนต้องรู้ข้อมูลข่าวสารเหมือนที่รัฐรู้ ต้องมีระบบสื่อสารให้รู้ทันทีเหมือนกัน และปีนี้เราจะขับเคลื่อนด้วย Data Driven คือ การเอาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเป็นตัวตั้ง จากนั้นวิเคราะห์มัน เพื่อทำแนวทางแก้ไขและป้องกัน</p><p>ประการสุดท้าย จะมีการแบ่งกลุ่มการทำงานใหม่ จากเดิมมีการใช้เขตปกครองในการแบ่ง คือ ตำบล อำเภอ จังหวัด แต่ปีนี้เราแบ่งเป็น 7 กลุ่มป่า เนื่องจากว่าจังหวัดเชียงใหม่เรามีป่าเยอะ และในกลุ่มป่านี้มีหลายอำเภอ หลายตำบล หลายหมู่บ้านทับซ้อนกัน อีกทั้งยังบวกหนึ่งพื้นที่พิเศษ ซึ่ง 7 กลุ่มป่านี้มีหัวหน้าทีมหรือที่ปรึกษาที่ไม่ใช่ราชการอย่างเดียว แต่จะเป็นราชการและกลุ่มประชาสังคม สื่อมวลชน มานั่งเป็นหัวหน้าทีมแต่ละชุด แบ่งความรับผิดชอบกัน หัวหน้าทีมจะมีหน้าที่ทำแผนออกมา โดยในรายละเอียดต้องระบุว่าการป้องกันต้องทำอย่างไร การบริหารต้องทำอย่างไร หรือมีคำแนะนำอย่างไร จากนั้นแผนนี้ก็จะถูกส่งไปยังหมู่บ้าน ชุมชน ให้แต่งเติมหรือแสดงความคิดเห็น</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53715145322_7b8d6d7e76_k.jpg" width="2048" height="1536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (แฟ้มภาพ)</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53716268198_24e3e6fc43_k.jpg" width="2048" height="1364" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">การประชุมระดับชาติ เรื่อง มลพิษอากาศ PM2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM2.5 Forum) “เพราะเฮามีลมหายใจ๋เดียวกั๋น” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 ถึง 4 ธันวาคม 2566</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53716397114_181b4e28ca_b.jpg" width="1024" height="682" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">การประชุมระดับชาติ เรื่อง มลพิษอากาศ PM2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM2.5 Forum) “เพราะเฮามีลมหายใจ๋เดียวกั๋น” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 ถึง 4 ธันวาคม 2566</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53716492205_86b5a7a912_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ป้ายรณรงค์เชิญชวนประชาชนใน จ.เชียงใหม่ นำเศษกิ่งไม้และใบไม้ส่งมอบให้กับสถานีใบไม้เพื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก โดยมีจุดรับทิ้ง 2 จุดที่ หมู่ที่ 7 ต.น้ำแพร่ อ.หางดง และ หมู่ที่ 4 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53716268193_f246881b82_b.jpg" width="960" height="720" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">5 ภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน จัดกิจกรรม "คืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น" เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566 มอบกล่องอากาศดีรับมือสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ตั้งเป้าหมายจัดทำห้องปลอดฝุ่นให้กับนักเรียน 304 ห้อง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 145 แห่ง&nbsp;</p><p>ในปี 2567 นี้มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน คือ สถานการณ์ปีที่แล้วเป็นอย่างไร ปีนี้ขอให้ลดลง 50% ซึ่งมี 4 เป้าหมายที่สำคัญได้แก่&nbsp;</p><p>ลด Hotspot ซึ่งในปี 2566 เกิด Hotspot ขึ้นประมาณ 13,000 จุด&nbsp;
ลดพื้นที่เผาไหม้ ซึ่งต้นปี 2566 ได้เกิดการไหม้ 1.1 ล้านไร่&nbsp;
ลดวันที่คุณภาพอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งต้นปี 2566 เกินไป 99 วัน&nbsp;
ลดจำนวนผู้ป่วยทางเดินหายใจ ในปี 2566 นับได้ประมาณ 35,000 ราย</p><p>ในการบริหารสถานการณ์ของฤดูแล้งปี 2567 จังหวัดเชียงใหม่จะเน้นการป้องกันให้มาก ทำงานให้เร็ว ทำงานวันนี้ตอนนี้เลย โดยในบริบทแต่ละพื้นที่จะต่างกัน จึงให้แต่ละพื้นที่ออกแบบการป้องกันขึ้นมาเองเลย ซึ่งตอนนี้ได้มีแผนครบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว</p><p>สำหรับห้องปลอดฝุ่นนั้น ในขณะนี้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดูแลเรื่องนี้ โดยปีที่แล้วตั้งเป้าหมายให้มีห้องปลอดฝุ่น 3,500 จุด แต่ทำไปได้เพียง 600 จุดเท่านั้น จึงกลับมาถอดบทเรียนว่าเป็นเพราะอะไร

รองผู้ว่าเชียงใหม่ บอกว่า ข้อสรุปของสาเหตุคือ ตัวแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการนั้นยุ่งยาก มีคำถามที่เยอะ ประชาชนจึงไม่ให้ความสนใจ ประชาชนและภาคเอกชนยังไม่ตื่นตัวหรือไม่สนใจที่จะทำ ปีนี้จึงจะทำให้แอพพลิเคชั่นใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มีการให้ตราสัญลักษณ์และประชาสัมพันธ์ให้สำหรับภาคเอกชนที่ทำห้องปลอดฝุ่น เพื่อให้ประชาชนมาใช้บริการ เช่น ร้านกาแฟ หรือห้างสรรพสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานห้องปลอดฝุ่นจากหน่วยงานรัฐ</p><p>ส่วนหน้ากากอนามัยมีการมอบหมายให้พาณิชย์จังหวัดสำรวจเครื่องกรองอากาศหรือหน้ากากอนามัย และหามาตรการ เพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินจริง เพื่อเตรียมรับมือในช่วงวิกฤต</p><p>นวัตกรรมใหม่ในปี 2567 ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน คือ เดิมจะใช้มาตรการ 60 วันห้ามเผา ใครเผาถูกจำคุก แต่จากสถิติที่ปรากฎ มีการเผาที่สูงแต่ก็จับใครไม่ได้ จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่ คือ ไม่ห้ามเผา ไม่มีเวลาห้ามเผา แต่ต้องแจ้งก่อนเผาผ่านแอพพลิเคชั่น FireD ซึ่งทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ทำ เมื่อมีการแจ้งมายังแอพพลิเคชั่นแล้วทางการจะทำการวิเคราะห์ ว่าหากจุดไฟวันดังกล่าวจะรุนแรงหรือไม่ ถ้าไม่รุนแรงหรือกระทบมากนักก็สามารถดำเนินการได้ แต่ยังต้องทำตามหลักวิชาการ คือ การทำแนวกันไฟ เตรียมคนดับ ไม่ปล่อยให้ลุกลาออกไป ปีนี้จึงได้นำวิธีนี้มาใช้เป็นปีแรก</p><p>“สุดท้ายนี้อยากให้ผู้คนตระหนัก ตื่นรู้แต่ไม่ตื่นตูม เข้าใจเรื่องนี้อยากมากขึ้น มีทัศนคติค่านิยม และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทุกคนมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ คนในเมืองต้องเข้าใจคนบนดอย คนบนดอยก็ต้องเข้าใจคนในเมือง” ทศพล กล่าว</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53604013095_be97321236_k.jpg" width="1920" height="1080" loading="lazy"></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/pm25" hreflang="th">PM2.5[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" hreflang="th">เชียงใหมhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD" hreflang="th">ภาคเหนืhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8" hreflang="th">คุณภาพอากาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8" hreflang="th">มลพิษทางอากาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ไฟป่http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1" hreflang="th">ทศพล เผื่อนอุดhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">ภัยพิบัตhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109181
 
18  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ผลรางวัล นาฏราช ครั้งที่ 15 "มาตาลดา" มาแรง! คว้า 6 รางวัลใหญ่ ละครยอดเยี่ยม เมื่อ: วานนี้
ผลรางวัล นาฏราช ครั้งที่ 15 "มาตาลดา" มาแรง! คว้า 6 รางวัลใหญ่ ละครยอดเยี่ยม
         


ผลรางวัล นาฏราช ครั้งที่ 15 &quot;มาตาลดา&quot; มาแรง! คว้า 6 รางวัลใหญ่ ละครยอดเยี่ยม" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สรุปผลรางวัล นาฏราช ครั้งที่ 15 มา "มาตาลดา" มาแรง! คว้า 6 รางวัลใหญ่ ละครยอดเยี่ยม ด้าน แอน - อนันดา ควงคู่ นักแสดงนำหญิง-ชายยอดเยี่ยม ละครแบบ Long Form
         

https://www.sanook.com/news/9374362/
         
19  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ส่องเลย! คืนดาวจรัส นาฏราช ครั้งที่ 15 แฟชั่นพรมแดง คนบันเทิงแต่งหรูจัดเต็ม เมื่อ: วานนี้
ส่องเลย! คืนดาวจรัส นาฏราช ครั้งที่ 15 แฟชั่นพรมแดง คนบันเทิงแต่งหรูจัดเต็ม
         


ส่องเลย! คืนดาวจรัส นาฏราช ครั้งที่ 15 แฟชั่นพรมแดง คนบันเทิงแต่งหรูจัดเต็ม" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คืนรวมดาว ณ งานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 ส่องแฟชั่นพรมแดง คนบันเทิงแต่งหรูจัดเต็ม ไม่มีใครยอมใคร
         

https://www.sanook.com/news/9374142/
         
20  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ด.ช. 9 ขวบ ให้เงินคนไร้บ้าน 1 ดอลลาร์ เจอเซอร์ไพรส์กลับ ที่จริงเขาคือเศรษฐี เมื่อ: วานนี้
ด.ช. 9 ขวบ ให้เงินคนไร้บ้าน 1 ดอลลาร์ เจอเซอร์ไพรส์กลับ ที่จริงเขาคือเศรษฐี
         


ด.ช. 9 ขวบ ให้เงินคนไร้บ้าน 1 ดอลลาร์ เจอเซอร์ไพรส์กลับ ที่จริงเขาคือเศรษฐี" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เด็กชายวัย 9 ขวบ ให้เงินคนไร้บ้าน 1 ดอลลาร์ ก่อนเจอเซอร์ไพรส์ใหญ่ ที่จริงชายคนนี้คือเศรษฐี ได้รับสิ่งตอบแทนความดีไปจุก ๆ
         

https://www.sanook.com/news/9374322/
         
หน้า:  [1] 2 3 ... 1127
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.842 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 27 เมษายน 2567 17:12:38