[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 17:38:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 79 80 [81] 82 83 ... 1125
1601  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'iLaw' ย้ำทำไมสมัคร สว. ถึงสำคัญกับการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 15:30:09
'iLaw' ย้ำทำไมสมัคร สว. ถึงสำคัญกับการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 13:38</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>iLaw ย้ำทำไมการสมัครรับเลือกตั้ง ‘สว.’ ที่จะเริ่มในกลางปีนี้ ถึงสำคัญกับการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ พร้อมอธิบายหลักการโดยคร่าวของ ระบบเลือกตั้ง ‘กลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง’ ระบบเลือกตั้งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน </p>
<p> </p>
<p>19 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (18 ก.พ.) ที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เวลาประมาณ 17.37 น. ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และสมาชิกโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ 'ไอลอว์' มาร่วมพูดคุยกับสมาชิกเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ 'พีมูฟ' ถึงกระบวนการสมัครรับเลือกตั้ง และการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. หนึ่งในหมุดหมายที่จะนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และมาร่วมอธิบายระบบเลือกตั้ง ซึ่งคราวนี้มีการใช้ระบบใหม่ที่เรียกว่า "กลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง"</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53538524253_c1eb343724_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) ยิ่งชีพ อัชฌานนท์</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">5 คูหา: 2 เลือกตั้ง 3 ประชามติ มุ่งหน้าสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน</span></h2>
<p>'เดียร์' กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องผ่าน 5 คูหา โดยแบ่งเป็นการทำประชามติ 3 ครั้ง และมีการเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง แบ่งได้ดังนี้</p>
<p><strong>คูหาที่ 1:</strong> ประชามติครั้งที่ 0 ซึ่งมีคำถามประชามติ เพื่อถามว่า พวกเราอยากจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันไหม ก่อนหน้านี้กลุ่ม ConForAll เคยเสนอคำถามประชามติ 2 คำถามหลัก คือ แก้ไขได้ทุกหมวดทุกมาตรา และแก้ไขโดยผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. อย่างไรก็ตาม การทำประชามติครั้งนี้ยังไม่มีการเริ่มทำ </p>
<p><strong>คูหาที่ 2:</strong> เลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ซึ่งจะเริ่มขึ้นช่วงกลางปี 2567 เนื่องจาก สว.ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวน 250 คน จะหมดวาระในวันที่ 11 พ.ค. 2567 นี้ และจะมีการเปิดรับสมัคร สว.ชุดใหม่ ช่วงระหว่างวันที่ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2567 โดยระบบการเลือกตั้งจะใช้เป็นระบบใหม่ ที่เรียกว่า “ระบบกลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง” จากนั้น เราก็จะได้ สว. ชุดใหม่จำนวน 200 คน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมต้องเลือกตั้ง สว.</span></h2>
<p>ยิ่งชีพ ระบุว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง สว. เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ 2560 สว.มีอำนาจอย่างมาก ในการออกกฎหมาย และเราต้องการเสียงโหวต 1 ใน 3 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญชุดใหม่ เพราะว่าตอนนี้ สว.ที่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีไม่ถึง 1 ใน 3 หรือมี สว. เห็นด้วยกับการแก้ไข รธน. แค่ 3 คน ถ้าเราปล่อยไป แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ </p>
<p><strong>คูหาที่ 3: </strong>คือการทำประชามติ แก้ไขมาตรา 256 ซึ่งเดิมรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ให้เราแก้ไขได้ โดยเราต้องไปแก้ไขวิธีการ เพื่อเปิดช่องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ได้จริงๆ และต้องใช้เสียง สว. 1 ใน 3 </p>
<p><strong>คูหาที่ 4: </strong>คือการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อให้ สสร.มาจากการเลือกตั้ง และมาเขียนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เราอ่าน ปัจจุบัน เรื่องนี้ยังมีข้อถกเถียงระหว่าง ฝั่งที่เอา สสร.มาจากการเลือกตั้ง 100% กับอีกฝั่งขอให้ สสร.มีสัดส่วนมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งผสมกัน </p>
<p>ยิ่งชีพ ระบุว่า แนวโน้มจะมี สสร. แต่ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ เขาไม่อยากให้เราเลือกตั้ง สสร. 100% เพราะถ้าให้เราเลือกตั้ง 100% เขาจะแพ้ คนของเราจะเยอะ และคนของเขาจะน้อย เขาอยากคุมเกมไม่ได้ เขาน่าจะมีการออกแบบ สสร.ที่ทำให้เขาเอาคนของตัวเองเข้ามาได้มากกว่าเรา ดังนั้น พอเขาคิดไม่ออก มันเลยไม่คืบหน้าเรื่อง สสร.</p>
<p><strong>คูหาที่ 5: </strong>สภาร่างรัฐธรรมนูญ เขาจะร่างรัฐธรรมนูญให้เราอ่าน ก็จะมีการทำประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเราต้องคิดต่อว่าจะให้เขาร่างเอง หรือเราจะมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เลือกตั้ง สว.มาแน่</span></h2>
<p>ยิ่งชีพ ระบุว่า การเลือกตั้งตั้งแต่คูหาที่ 1 ถึง 5 นี้ คูหาที่ 1 ยังไม่ได้เริ่มทำ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร แต่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนคือการเลือกตั้งเลือกสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ 200 คน ซึ่งตามกฎหมายระบุไว้แล้ว และจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ (2567)</p>
<p>สว. ชุดใหม่จะมีจำนวน 200 คน โดยแบ่งเป็น 20 กลุ่มอาชีพ อาชีพละ 10 คน โดยระบบการเลือกตั้งมาจากระบบแบบใหม่ที่ไม่เคยมีที่ไหนบนโลกเคยใช้ คิดค้นโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ หนึ่งในทีมร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53538341676_2d3813c742_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รู้จักระบบเลือกตั้ง สว. ที่ไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน คือ "กลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง" ขั้นตอนสุดมึนงง</span></h2>
<p>ยิ่งชีพ ระบุว่า แต่เรื่องราวไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น เพราะว่าคนที่จะใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สว. ชุดใหม่ก่อน ยกตัวอย่าง เขาทำอาชีพกฎหมายอยู่ แต่เขาจะเข้าไปใช้สิทธิโหวตนักกฎหมายด้วยกันเองได้ ต้องเริ่มจากไปสมัครเข้าไปว่าอยากเป็น สว. และเราก็ไปบอกเจ้าหน้าที่ว่าเราทำอาชีพอะไร และเขาจะนำเราไปรวมกลุ่มกับอาชีพอื่นๆ เช่น คุณประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร่ ชาวประมง นักกฎหมาย และอื่นๆ สมตติว่า เราประกอบอาชีพประมง เขาก็จะเอาคุณไปอยู่กับผู้รับสมัครเลือกตั้ง สว. อาชีพประมง คนอื่นๆ และผู้สมัครรับเลือกตั้ง สว. อาชีพประมง จะเลือก สว. ในกลุ่มอาชีพของเขากันเองในหมู่ผู้สมัคร</p>
<p>ทั้งนี้ การเลือก สว. จะมีการเลือกทั้งหมด 3 ระดับ เริ่มจากระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับ ประเทศ และจะไม่ได้เลือกแค่อาชีพของตัวเอง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระดับอำเภอ</span></h2>
<p>ยิ่งชีพ ยกตัวอย่าง ระดับอำเภอ เขาสมัครรับเลือกตั้ง สว. กลุ่มอาชีพนักกฎหมาย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สว.ทั้งหมดจะได้เลือกผู้สมัคร สว. อาชีพนักกฎหมาย ด้วยกันเอง โดยโหวตได้ไม่เกิน 2 โหวต เพื่อหาผู้สมัคร สว.กลุ่มอาชีพนั้นที่ได้รับคะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก </p>
<p>จากนั้น ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกของกลุ่มอาชีพนั้นจะต้องจับฉลากด้วยว่าจะได้ใช้สิทธิโหวตผู้สมัครรับเลือกตั้ง สว.กลุ่มอาชีพอื่นๆ กลุ่มไหน อาทิ ยิ่งชีพ สมัครรับเลือกตั้ง สว. กลุ่มนักกฎหมาย และได้รับโหวตคะแนนสูงสุดในระดับอำเภอ 5 อันดับแรก ยิ่งชีพต้องมาจับฉลากกลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งเขาจับได้กลุ่มแพทย์ ประมง และชาวนา ยิ่งชีพ ก็ต้องเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง สว. กลุ่มอาชีพ ชาวนา ประมง และแพทย์ โดยโหวตได้กลุ่มละ 1 โหวต</p>
<p>จากนั้น ผู้รับสมัครเลือกตั้ง สว. แต่ละกลุ่มอาชีพตัวเองที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกในระดับอำเภอ และให้คนกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก จะได้เข้าไปเลือกตั้ง สว. ในระดับจังหวัด โดยใช้ระบบเดียวกันลักษณะนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระดับจังหวัด</span></h2>
<p>ผู้ที่ได้ผ่านเข้ารอบจากระดับอำเภอ จะได้เข้ามาโหวตในระดับจังหวัด ผู้สมัคร สว. กลุ่มนักกฎหมายในระดับจังหวัด จะเลือกกันเองได้คนละ 2 โหวต และหาผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก จากนั้น ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก จะเข้าไปจับฉลากเพื่อหาว่าเราจะใช้สิทธิโหวตเลือกอาชีพอื่นๆ อาชีพใด เช่น การศึกษา การท่องเที่ยวการโรงแรม และอื่นๆ จากนั้น ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการเลือกภายในกลุ่มอาชีพของตัวเอง จะได้ใช้สิทธิโหวตกลุ่มอาชีพอื่นๆ กลุ่มละ 1 โหวตตามที่จับฉลากได้ เพื่อหาคนที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรก จากการโหวตข้ามอาชีพ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ในระดับประเทศ </span></h2>
<p>ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในระดับจังหวัด 2 อันดับแรกจากการโหวตข้ามอาชีพ จะได้เข้ามาโหวตในระดับประเทศ จากนั้น ผู้สมัครฯ สว. กลุ่มอาชีพจะใช้สิทธิโหวตไม่เกิน 10 โหวต เลือกภายในกลุ่มอาชีพของตัวเอง และเลือกผู้ได้คะแนนสูงสุด 40 อันดับแรกของแต่ละกลุ่มอาชีพ จากนั้น 40 อันดับแรกนี้จะต้องมาจับฉลากเพื่อหาว่าพวกเขาจะได้โหวตเลือกผู้สมัครฯ สว. กลุ่มอาชีพอื่นๆ อาชีพใดที่ไม่ใช่กลุ่มอาชีพของตัวเอง กลุ่มละ 5 โหวต และหา 10 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุด ในสายนั้นๆ เพื่อเข้าไปเป็น สว.ชุดใหม่ ทั้งนี้ อันดับ 11-15 ของแต่ละกลุ่มอาชีพ จะได้เข้าไปเป็นรายชื่อสำรอง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่ง่าย ต้องช่วยกันสมัครเข้าไปเป็น สว.</span></h2>
<p>"แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น"</p>
<p>ยิ่งชีพ กล่าวว่า อุปสรรคของการสมัครเลือกตั้ง สว. มีหลายประการ เขาระบุว่า ถ้าเราอยู่ดีๆ เดินเข้าไปสมัครโดยไม่มีใครรู้จัก คนในกลุ่มวิชาชีพของเราก็จะไม่มีใครโหวตให้ เพราะว่าเขาไม่รู้จักเรา กลับกัน ถ้าผู้สมัคร สว.เป็นผู้มีอิทธิพลในวงการอาชีพนั้นๆ เช่น เป็นประธานสมาคม หรือมีเพื่อนฝูงจำนวนมาก สามารถระดมสมัครพรรคพวกไปเลือกเขาได้ </p>
<p>ถ้าคุณเป็นชาวนา และไปสมัคร สว.กลุ่มชาวนา เราจะเจอชาวนาที่มีเส้นสาย หรือเพื่อนฝูงเยอะ เราก็จะแพ้ นี่คือระบบมีชัย ออกแบบเพื่อให้เขาได้ สว.คนของเขาอีก 200 คนเข้าไปข้างในสภา</p>
<p>ยิ่งชีพ กล่าวต่อว่า ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องสมัครรับเลือกตั้ง สว. เราไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่า เราสมัครเพื่อไปเป็น สว. แต่เราสามารถเข้าไปสมัครเพื่อใช้สิทธิโหวตคนที่เป็นด้วยกับประชาธิปไตย หรือไม่อยู่กลุ่มก้อนอำนาจการเมืองใด เพราะถ้าเราไม่สนใจอะไรเลย พวกเจ้าพ่อแต่ละเมืองแต่ละจังหวัด พวกคนใหญ่คนโตที่รับงานรับเงินแต่ละจังหวัด เขาก็จะจัดตั้งคนของตัวเองเข้าไปสมัครเยอะๆ เพื่อให้โหวตพวกเขาเป็น สว. และเราก็จะได้คนหน้าเดิมๆ ที่เข้าไปขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และขวางการเปลี่ยนแปลง </p>
<p>“สิ่งที่ผมอยากให้เราเข้าใจก็คือว่าจริงๆ แล้ว กระบวนการนี้เรามีส่วนร่วมได้ ถ้าเรานอนอยู่บ้าน เราไม่สนใจอะไร เดี๋ยวเขาไปสมัครเขาเลือกเสร็จเรียบร้อย แต่ถ้าเราสนใจจริงๆ เรามีส่วนร่วมได้ ก็คือเราต้องเดินไปสมัคร ถ้าเรานอนอยู่บ้าน และเราจะไปเข้าคูหา แบบเลือกตั้ง สส. ไม่มีนะ แต่เราต้องไปสมัครก่อน เราต้องเดินไปสมัครก่อนว่าเราอยากเข้าร่วมกระบวนการ สว. ชุดใหม่” ยิ่งชีพ กล่าว</p>
<p>นอกจากนึ้ ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ สำหรับการเข้าไปเลือกตั้งเป็น สว. เช่น ค่าใช้จ่ายในการสมัคร จำนวน 2,500 บาท ค่าเดินทาง ครอบครัวส่งสมาชิกสมัครเลือกตั้ง สว.ได้เพียงคนเดียว ต้องไม่มีหุ้นสื่อ ไม่เป็นข้าราชการหรือทำงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องอายุอย่างต่ำ 40 ปี และอื่นๆ ขณะเดียวกัน คุณสมบัติก็เปิดโอกาสให้ประชาชน และสมาชิกจากพีมูฟ สามารถสมัครเข้าไป เพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศได้ </p>
<p>"ประชาชนใครก็ได้ที่มีหัวใจเป็นประชาธิปไตย เป็นใครก็ได้ ไม่ต้องแบบประชาธิปไตยสุดๆ ถ้าเดินไปสมัคร 1 หมื่นคน ผมเชื่อว่าเราจะได้ สว. ที่โอเค ถึงประมาณ 1 ใน 3 ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้ แต่ถ้ามีคนหัวใจโอเคเดินไปสมัคร 2 หมื่นคน เราได้ สว.เกินครึ่งแน่นอน …และอะไรก็ตามที่นำเสนอสู่สภา ผมเชื่อว่าทำได้" สมาชิกไอลอว์ ระบุ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108134
 
1602  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “จตุพร” เย้ย “ทักษิณ” จัดฉาก จงใจให้เห็นภาพนั่งรถออกจาก รพ.ตำรวจ จับตาเปลี่ยนแปล เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 15:04:48
“จตุพร” เย้ย “ทักษิณ” จัดฉาก จงใจให้เห็นภาพนั่งรถออกจาก รพ.ตำรวจ จับตาเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
         


“จตุพร” เย้ย “ทักษิณ” จัดฉาก จงใจให้เห็นภาพนั่งรถออกจาก รพ.ตำรวจ จับตาเปลี่ยนแปลงรัฐบาล" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“จตุพร” เย้ย “ทักษิณ” จัดฉาก จงใจให้เห็นภาพนั่งรถออกจาก รพ.ตำรวจ จับตาเปลี่ยนแปลงรัฐบาล สว.กำลังจะหมดวาระ
         

https://www.sanook.com/news/9245962/
         
1603  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยลาววันนี้ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 14:31:07
หวยลาววันนี้ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาววันนี้ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 19/2/67 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 19 ก.พ. 67 หวยลาวย้อนหลัง หวยลาว 6 ตัว วันนี้ออกอะไร งวด 19 กุมภาพันธ์ 2567 Laolottery หวยลาว ออกรางวัลทุก วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์

         

https://www.sanook.com/news/9246298/
         
1604  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เมื่อ 'นักฟุตบอลต่างชาติ' เล่าเรื่อง 'การค้ามนุษย์' ในโปรตุเกส เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 14:00:05
เมื่อ 'นักฟุตบอลต่างชาติ' เล่าเรื่อง 'การค้ามนุษย์' ในโปรตุเกส
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 12:33</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานพิเศษจากสหพันธ์นักฟุตบอลนานาชาติ (FIFPRO) นำเสนอเรื่องราวของนักฟุตบอลต่างชาติที่เดินทางไปยัง 'โปรตุเกส' มุ่งหวังจะเริ่มต้นอาชีพเพื่อก้าวไปสู่การสร้างชื่อในวงการฟุตบอลยุโรป แต่กลับประสบกับความยากลำบากและความผิดหวัง ซึ่งกรณีของพวกเขาอาจเข้าข่ายการถูก 'ค้ามนุษย์'</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53536432133_e110b9f2a7_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: FIFPRO</span></p>
<p>สหพันธ์นักฟุตบอลนานาชาติ (FIFPRO) ระบุว่าสหภาพแรงงานนักฟุตบอลโปรตุเกส (SJPF) ได้ช่วยเหลือบรรดานักฟุตบอลจำนวนมาก หลังจากที่พวกเขาติดอยู่ในโปรตุเกส โดยนักฟุตบอลเหล่านี้มีความหวังที่จะเริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลในยุโรป แต่ส่วนใหญ่กลับประสบกับความยากลำบากและความผิดหวัง ในรายงานชิ้นนี้ขอเสนอ 3 กรณีตัวอย่างที่ได้สะท้อนถึงอุปสรรคที่นักฟุตบอลเหล่านี้ต้องเผชิญ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">นักเตะอาร์เจนติน่า 12 คน ในบ้านพักที่ทรุดโทรม</span></h2>
<p>ในเดือน ก.ค. 2019 มีนักฟุตบอล 12 คน จากอาร์เจนตินาเดินทางมาถึงโปรตุเกส พวกเขาได้เข้าร่วมการทดสอบในบัวโนสไอเรส และได้รับข้อเสนอค่าจ้าง 850 ยูโรต่อเดือนพร้อมโบนัสเพื่อเข้าร่วมทีม AD Oliveirense ทีมดิวิชั่น 3 ของโปรตุเกส ซึ่งขณะนั้นมีประธานสโมสรเป็นชาวอาร์เจนตินา แต่เงื่อนไขคือพวกเขาต้องออกค่าตั๋วเครื่องบินและค่าเอกสารทั้งหมดเอง</p>
<p>เมื่อมาถึง Oliveirense พวกเขาพบว่ามีนักฟุตบอลจากอาร์เจนตินาอยู่ที่นี่แล้วถึง 13 คน หลังจากซ้อมกับสโมสรได้ 1 สัปดาห์ นักฟุตบอลทั้ง 12 คน ถูกส่งต่อไปยังสโมสร GD Mirandes โดยพวกเขาเซ็นสัญญา 2 ปี ได้รับค่าจ้าง 750 ยูโรต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าที่ Oliveirense เสนอมา 100 ยูโร</p>
<p>อย่างไรก็ตาม Mirandes ไม่เคยจ่ายเงินค่าจ้างให้กับนักฟุตบอลทั้ง12 คน สโมสรจัดหาบ้านพักที่มีสภาพทรุดโทรม ไม่มีหน้าต่าง และมีเพียงน้ำเย็น นักฟุตบอลต้องนอนรวมห้องกัน 2-3 คน และได้รับอาหารจากสโมสรในปริมาณจำกัด "บางครั้งเราก็หิวเพราะมีอาหารน้อยมาก พวกเราบ่อยครั้งมารวมตัวกันแล้วร้องไห้" หนึ่งในนักเตะเล่าให้กับสหภาพแรงงานนักฟุตบอลโปรตุเกสภายหลัง</p>
<p><img alt="" src="https://fifpro.org/media/efhmo43w/sjpf_4.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา 4 คนที่สหภาพแรงงานนักฟุตบอลโปรตุเกสช่วยเหลือ | ที่มาภาพ: FIFPRO</span></p>
<p>สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีกในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากสภาพอากาศภายในบ้านหนาวเหน็บ และยิ่งย่ำแย่ไปอีกเมื่อนักฟุตบอลต้องรอจนถึงเดือน ม.ค. 2020 ถึงจะมีสิทธิ์ลงเล่น ไม่นานหลังจากนั้น โรคระบาดโควิด-19 ก็เริ่มต้นขึ้น</p>
<p>ด้วยสภาพที่ไร้เงิน นักฟุตบอลหันไปพึ่งความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงาน SJPF เมื่อประมาณเดือน มี.ค. 2020 เกือบ 1 ปี หลังจากพวกเขามาถึงอาร์เจนตินา สหภาพแรงงานจัดหาอาหารและที่พักให้พวกเขา และช่วยนักฟุตบอล 10 คน กลับไปยังอาร์เจนตินา ขณะที่อีก 2 คนเลือกที่จะอยู่ต่อในโปรตุเกส</p>
<p>สหภาพแรงงาน SJPF ชนะคดีความในศาลแรงงานให้กับนักฟุตบอล 8 คน จากกรณีฟ้องร้อง GD Mirandes โดยนักฟุตบอลได้รับเงินชดเชยรวมกว่า 130,000 ยูโร สำหรับค่าจ้างค้างจ่ายและชดเชยความเสียหาย แต่ GD Mirandes ก็ได้ยื่นอุทธรณ์คำตัดสิน ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ศาลอุทธรณ์</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ขายมอเตอร์ไซค์เพื่อความฝันเป็นนักฟุตบอลอาชีพ</span></h2>
<p>อัลลัน (Allan) นักฟุตบอลวัย 21 ปี เชื้อสายฝรั่งเศส-โปรตุเกส เดินทางจากฝรั่งเศสเพื่อมาเป็นนักฟุตบอลอาชีพในประเทศโปรตุเกส เขาติดต่อกับนายหน้าที่อ้างว่าสามารถช่วยนักนักฟุตบอลหาต้นสังกัดเพื่อลงเล่นได้ เริ่มแรก อัลลันได้รับอนุญาตให้ซ้อมกับทีม Vieira de Minho ในลีกดิวิชั่น 5 เพียง 5 วัน นายหน้าก็บอกว่าสโมสรสนใจที่จะเก็บเขาไว้ แต่ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างได้</p>
<p>ต่อมานายหน้าก็เสนอโอกาสให้อัลลันเข้าร่วมทีมในลีกอาชีพ โดยบอกว่าการจ่ายเงินให้สโมสรเป็นเรื่องปกติในโปรตุเกส อัลลันหลงเชื่อจึงตัดสินใจขายมอเตอร์ไซค์ของตัวเองและจ่ายเงิน 12,000 ยูโร (ประมาณ 432,000 บาท) ให้กับนายหน้าเพื่อเข้าร่วมทีม Varzim ในลีกดิวิชั่น 2</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://fifpro.org/media/nrxjcxva/estadio-do-varzim-sport-club.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">สนามของสโมสร Varzim | ที่มาภาพ: FIFPRO</span></p>
<p>อัลลันได้รับเชิญจากนายหน้าให้เซ็นสัญญาที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองบรากา โดยไม่มีเจ้าหน้าที่สโมสร Varzim อยู่ด้วยขณะเซ็น เขาต้องจ่ายเงินเพิ่มให้กับนายหน้าอีก 1,000 ยูโร และได้รับอนุญาตให้ซ้อมกับทีมสำรองของ Varzim แต่ไม่สามารถลงเล่นแมตช์ใด ๆ</p>
<p>นายหน้าอ้างว่ากำลังแก้ไขปัญหาแต่ต้องการเงินอีก 6,000 ยูโร อัลลันปฏิเสธ เขาต้องการให้ทุกอย่างถูกจัดการอย่างถูกต้องและได้รับอนุญาตให้ลงเล่นก่อนจ่ายเงินเพิ่ม</p>
<p>หนึ่งเดือนหลังจากมาถึงโปรตุเกส อัลลันติดต่อสหภาพแรงงาน SJPF และพบว่าสัญญาของเขาไม่เคยได้รับการลงทะเบียนกับสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส สัญญาไม่เคยได้รับการเซ็นโดยสโมสร และไม่มีชื่อหรือเลขประจำตัวของผู้เล่น</p>
<p>อัลลันกลับไปฝรั่งเศส ปัจจุบันทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ เขาเล่าว่า "ผมขึ้นเครื่องบินจากฝรั่งเศสด้วยความคิดว่า 'ฝันของฉันกำลังจะเริ่มต้น ฉันกำลังจะเริ่มอาชีพของฉัน' แต่สุดท้ายผมกลับโดนหลอก มันเศร้าใจมาก"</p>
<p>ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพแรงงาน SJPF อัลลันยื่นฟ้องอาญากับนายหน้า โดยมีกำหนดพิจารณาคดีในเดือน มี.ค. 2024 นี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">3 หนุ่มอเมริกัน ถูกทิ้งไว้ที่สนามบิน</span></h2>
<p>วอลเตอร์ (Walter) อายุ 20 ปี, จาห์เวห์ (Jahveh) อายุ 23 ปี และเฮนรี่ (Henry) อายุ 20 ปี 3 หนุ่มชาวอเมริกันตัดสินใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลัง เดินทางมายังโปรตุเกสด้วยความหวังเริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอล พวกเขาได้รับข้อมูลจากเพื่อนคนหนึ่ง ว่าทีม AD Camacha ทีมในลีกดิวิชั่น 4 กำลังมองหาผู้เล่นใหม่ และเพื่อนคนนั้นถามพวกเขาว่าสนใจหรือไม่</p>
<p>ข้อเสนอที่ได้รับคือสัญญา 1 ปี มีสวัสดิการอาหารรวมที่พัก และค่าจ้าง 400 ยูโรต่อเดือน ถึงเงินเดือนจะน้อย แต่หนุ่ม ๆ ทั้ง 3 ก็ยอมรับเพราะมีเป้าหมายเดียวคือการสร้างชื่อในวงการฟุตบอลยุโรป</p>
<p>แต่ละคนจ่ายเงิน 200 ยูโร ให้กับนายหน้าที่อ้างว่าจะจัดการเรื่องจดหมายเชิญจากสโมสร (เป็นหลักฐานยืนยันว่าสโมสรต้องการตัวพวกเขา) และพวกเขาก็จัดการเรื่องตั๋วเครื่องบินเดินทางไปโปรตุเกสด้วยตัวเอง พวกเขาปฏิเสธการจ่ายเงิน 1,300 ยูโร ให้กับนายหน้าเพื่อดำเนินเรื่องเอกสาร</p>
<p>เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงสนามบินลิสบอน กลับไม่มีใครมารับตัว ทั้งๆ ที่นายหน้ารับปากว่าจะมีคนจากสโมสรรออยู่ พวกเขาโทรติดต่อนายหน้า ผู้ที่อ้างเป็นผู้อำนวยการสโมสร AD Camacha บอกว่า "ทุกอย่างเรียบร้อย" ขอให้พวกเขาจองห้องพักในโรงแรม เขาจะจัดการปัญหาเรื่องนี้เอง</p>
<p>เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่อ้างเป็นผู้อำนวยการสโมสร AD Camacha แจ้งว่า "แผนเปลี่ยนไป"  พวกเขาจะไม่ได้ไป Camacha แต่จะไปที่ Uniao de Madeira แทน และจะมีคนมารับพวกเขาที่สนามบิน</p>
<p>ทั้ง 3 รอคอยที่สนามบิน แต่ผ่านไป 2 วันก็ยังไม่มีใครมารับ พวกเขาพยายามติดต่อนายหน้า รวมถึงผู้ที่อ้างเป็นผู้อำนวยการสโมสร AD Camacha และเพื่อนที่แนะนำมา ก็ติดต่อไม่ได้ ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจน</p>
<p><img alt="" src="https://fifpro.org/media/cmwptutq/sjpf_5.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">วอลเตอร์, จาห์เวห์ และเฮนรี่ ปรึกษากับทนายความของสหภาพแรงงาน SJPF | ที่มาภาพ: FIFPRO</span></p>
<p>วอลเตอร์ กล่าวว่า "หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ พวกเราเริ่มสงสัยทุกอย่างที่ได้รับฟัง ครอบครัวเรากังวล เงินเราก็เริ่มหมด เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อใช้เงิน แต่เรามาที่นี่เพื่อหาเงิน"</p>
<p>นักฟุตบอลทั้ง 3 คนติดต่อสหภาพแรงงาน SJPF ซึ่งช่วยจัดหาที่พัก การเดินทาง อาหาร รวมถึงช่วยให้พวกเขากลับบ้านอย่างปลอดภัย</p>
<p>จาห์เวห์ กล่าวว่า "เราต้องหยุดพฤติกรรมแบบนี้ มีเด็กอีกมากมายที่มีความฝันอยากเป็นนักฟุตบอล อยากเล่นในยุโรป เราไม่สามารถปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพวกเขาได้"</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Human trafficking in Portugal: Footballers tell their story (FIFPRO, 31 January 2024)
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108133
 
1605  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ยิปซี คีรติ" ทัวร์บ้านสามีฝรั่ง หลังใหญ่มาก! เปิดโมเมนต์น่ารัก ญาติๆ ต้อนรับล เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 11:59:04
"ยิปซี คีรติ" ทัวร์บ้านสามีฝรั่ง หลังใหญ่มาก! เปิดโมเมนต์น่ารัก ญาติๆ ต้อนรับลูกสะใภ้
         


&quot;ยิปซี คีรติ&quot; ทัวร์บ้านสามีฝรั่ง หลังใหญ่มาก! เปิดโมเมนต์น่ารัก ญาติๆ ต้อนรับลูกสะใภ้" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"ยิปซี คีรติ" บ้านสามีฝรั่ง "นิโคลัส" ที่แอฟริกาใต้ หลังใหญ่หรูหรามาก! พร้อมเปิดโมเมนต์ญาติๆ ต้อนลูกสะใภ้สุดอบอุ่น
         

https://www.sanook.com/news/9242806/
         
1606  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เทียบกรณีเกาหลีใต้กับการนิรโทษกรรม ไม่ง่าย แต่เป็นก้าวแรกที่ต้องทำ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 09:28:12
เทียบกรณีเกาหลีใต้กับการนิรโทษกรรม ไม่ง่าย แต่เป็นก้าวแรกที่ต้องทำ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 00:05</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่กำลังผลักดันกันอยู่ในขณะนี้ สำหรับสติธรที่ศึกษาการคลี่คลายความขัดแย้งในกรณีเกาหลีใต้ แม้จะเป็นความหวังในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อพูดคุย แต่เป็นเพียงก้าวแรกสำหรับก้าวต่อๆ ไป หากใช้แนวคิดกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านยังมีองค์ประกอบอื่นที่ต้องทำ สติธรแนะให้สร้างกลไกพิเศษที่ทุกฝ่ายยอมรับและอย่าเพิ่งคาดหวังว่าฝ่ายที่ต้องการนิรโทษกรรมจะได้ทุกอย่าง ขอเพียงเกิดความคืบหน้าก็ถือเป็นก้าวสำคัญในการไปต่อ</p>
<p>ความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เริ่มขึ้นในปี 2548 ถึงปัจจุบันก็เกือบ 20 ปี ทว่า ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะยุติลงได้ ต่างฝ่ายต่างก็มีมุมมองต่อสาเหตุแตกต่างกันไป ผลพวงจากความขัดแย้งทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี และจำคุก เครือข่ายนิโทษกรรมประชาชนจึงผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประชาชนทุกฝ่ายรวมถึงคดี 112 โดยไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมเกินแก่เหตุและความผิดตามมาตรา 113 ที่เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ</p>
<p>หลายฝ่ายเห็นพ้องว่านี่จะเป็นก้าวแรกของการสร้างความปรองดองในสังคมไทยอีกครั้ง แต่จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่กฎหมายจะผ่านสภาและเมื่อผ่านแล้วจะสร้างความปรองดองได้ นั่นยังเป็นคำถามที่ต้องรอการพิสูจน์</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/7832/45543426855_e336251b64_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สติธร ธนานิธิโชติ (แฟ้มภาพ)</span></p>
<p>สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อํานวยการสํานักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ผู้ศึกษาความขัดแย้งทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนในเกาหลีใต้ เห็นด้วยกับการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม แต่เขาอยากชวนดูบทเรียนจากเกาหลีใต้เพื่อสะท้อนกลับมายังประเทศไทย เพราะแม้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี หากการไปถึงเป้าหมายอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จากเหลือง-แดงสู่คดี 112 ใจกลางปัญหาที่เปลี่ยนไป</span></h2>
<p>“จากประสบการณ์ของตัวเองซึ่งมีส่วนไปทํางานวิจัยเรื่องการสร้างความปรองดองในช่วงปี 54 ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างเหลืองแดง ทําให้มีโอกาสได้คุยกับทุกฝ่ายที่ถือว่าเป็นคู่ขัดแย้งคนหลักๆ ก็พบพบว่าเรื่องนิรโทษกรรมเป็นเรื่องที่เขาค่อนข้างจะเห็นตรงกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะการนิรโทษกรรมประชาชนผู้ชุมนุม”</p>
<p>ขณะที่ในระดับแกนนําควรพิจารณาเป็นรายๆ ไปว่ามีการกระทําเกินเลย ยั่วยุ ปลุกปั่นหรือไม่ และต้องการให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนคดี 112 ต่างฝ่ายก็เห็นว่าควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติเพราะเป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์</p>
<p>แต่ความพยายามนิรโทษกรรมในรอบนี้มีบริบทที่ต่างออกไปนั่นคือคดี 112 ได้กลายซึ่งเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งรอบล่าสุดคือในการชุมนุมปี 2563 ซึ่งมีความพยายามจะตั้งคณะทําการศึกษาโดยรัฐสภาสมัยชวน หลีกภัย แต่ไม่เห็นความคืบหน้าในทางสาธารณะจึงยังไม่มีคําตอบว่า ถ้าเป็นคดี 112 อันเป็นใจกลางของปัญหาในรอบหลังมีการตกผลึกออกมาอย่างไร</p>
<p>“มันได้คําตอบเดียวกับตอนยุคโน้นไหมว่าให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ซึ่งผมก็เดาใจว่าไม่น่าหรอกเพราะไม่อย่างนั้นแคมเปญออกคงไม่ออกมาโทนนี้ ในความเห็นผมเรื่องพวกนี้ต้องการการยอมรับจากทุกฝ่าย แปลว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษทั้งหมด ในกลุ่มประชาชนไม่ว่าจะเป็นฐานความผิดใด ผมคิดว่าอาจต้องมีกระบวนการพูดคุยกันก่อนที่จะตัดสินใจ”</p>
<p>หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่สภา สติธรเชื่อว่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการเปิดพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยประเด็นนี้กับอีกหลายประเด็นว่าสุดท้ายแล้วการนิรโทษกรรมควรจะครอบคลุมแค่ไหน เพราะหัวใจของเรื่องนี้คือการยอมรับของทุกฝ่ายและรัฐสภาคือที่ที่จะทําให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่ายได้ ซึ่งการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คือโอกาสเปิดเวทีของการคุยเรื่องนี้ให้ชัดและตกผลึก</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53522890321_9ea11dbffd_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน</span></h2>
<p>อย่างไรก็ตาม การนิรโทษกรรม (ซึ่งต้องการการยอมรับจากทุกฝ่าย) ก็ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่การปรองดองและเดินหน้าต่อไป สติธรอธิบายว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง ต่อเนื่องยาวนาน มีความยืดเยื้อ ลงลึก เข้าไปอยู่ในชีวิตประจําวันของผู้คน ความขัดแย้งลักษณะนี้กระบวนการยุติธรรมตามปกติอาจจะใช้ได้ไม่ทั้งหมดในแง่การสร้างการยอมรับ</p>
<p>เขายกตัวอย่างว่ามีผู้ชุมนุมไปปิดถนนซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย เช่น กฎหมายจราจร ข้อบังคับกรุงเทพมหานครเรื่องความสะอาด ถ้าใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ผู้ชุมนุมต้องเสียค่าปรับหรือถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง ถ้าเป็นคดีอาญาก็ถูกจําคุก เหตุการณ์แบบนี้การใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติย่อมสร้างปัญหา</p>
<p>“มันจึงเกิดสภาวะที่ต้องมีการใช้กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในประสบการณ์ของต่างประเทศพบว่าหลังจากที่เหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้นไปแล้ว มันจะมีวิธีจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไรดี ซึ่งหนึ่งในนั้นต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมายทต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมเข้าไปจัดการ แต่การใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติอาจจะไม่สร้างความยุติธรรมได้อย่างแท้จริงจึงต้องมีกระบวนการเฉพาะขึ้นมา”</p>
<p>สติธรอธิบายต่อว่าในหลายประเทศเมื่อเกิดความขัดแย้ง มันไม่ใช่สภาวะปกติ ผู้กระทำอาจสําคัญผิดจากการถูกยั่วยุจากสื่อของรัฐทําให้เกิดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงและคิดว่าคนเหล่านั้นเป็นอาชญากร เป็นภัยภัยคุกคามต่อประเทศ และต้องการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศโดยการทำร้ายหรือสังหารผู้อื่น ถ้าขึ้นศาลปกติย่อมผิดแน่นอน จึงต้องสร้างศาลพิเศษขึ้นมาเพื่อให้แต่ละฝ่ายกล้าให้ข้อมูล สมมติว่าศาลนี้ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าใครให้ข้อมูลความจริงจะไม่ลงโทษเพื่อจูงใจให้คนยอมให้ข้อมูลที่เป็นจริง</p>
<p>“การใช้ศาลพิเศษ การใช้กระบวนการพิเศษในการค้นหาข้อเท็จจริง รวมไปถึงการนิรโทษกรรมคือการให้อภัยแม้เรารู้ว่ามีความผิดเกิดขึ้น แต่ทุกคนสํานึกและขอโทษกัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ให้อภัย คืนความรู้สึกดีๆ ต่อกัน ส่วนใครที่เสียหายมีญาติพี่น้องบาดเจ็บล้มตายก็มีกระบวนการเยียวยา อันนี้คือสิ่งที่กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านต้องทําตั้งแต่หาความจริง พิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ว่าใครถูกใครผิด ใครต้องรับผิดชอบ แล้วใครทําดีก็ยกย่อง ใครทําผิดแล้วก็ต้องหาวิธีให้เกิดการสํานึกผิด แล้วในบางเรื่องที่มันจําเป็นต้องให้อภัยกันก็ให้อภัย”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">นิรโทษกรรมเป็นแค่ 1 ใน 4 องค์ประกอบของการคลี่คลายความขัดแย้ง</span></h2>
<p>การสร้างความปรองดองในในเกาหลีใต้จากเหตุการณ์การประท้วงที่กวางจูประกอบด้วยหลักการสําคัญอย่างน้อย 4 ข้อคือการดําเนินคดีกับผู้นํารัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงนับจากเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ๑๙๘๐, การปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์ในการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยท่ามกลางการประกาศกฎอัยการศึก, การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่อและ/หรือญาติของผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และการค้นหาความจริงเพื่อนําไปสู่กระบวนการชําระสะสางความผิดพลาดที่รัฐเป็นผู้กระทําในอดีต</p>
<p>เมื่อดูจากองค์ประกอบทั้ง 4 พบว่าในไทยมีเพียงข้อ 3 ข้อเดียวซึ่งอาจไม่สามารถนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและเดินหน้าประเทศต่อไปได้ สติธรกล่าวว่าความขัดแย้งในปี 2549 ปี 2553 และ 2554 มีความพยายามที่จะค้นหาความจริงและสร้างกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน แต่กรณีรัฐประหารปี 2557 เป็นต้นมากลับไม่เห็นกระบวนการเหล่านี้อย่างจริงจัง เมื่อไม่เกิดการค้นหาความจริงซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดก็ไม่อาจเกิดองค์ประกอบข้อ 1</p>
<p>“ถ้าเกิดการชําระอย่างจริงจังแล้ว เชิงบวกสุดส่วนใหญ่พอสร้างองค์ประกอบที่ 4 ปุ๊บเขาจะรีบไปองค์ประกอบที่ 2 เพราะว่ามันชัดและเป็นผลเชิงบวก แล้วองค์ประกอบ 2 กับ 3 มันจะทําพร้อมกัน เพราะรู้แล้วว่าใครเสียหายก็ทำการเยียวยา รู้แล้วว่าที่ประชาชนออกมาเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เราก็ต้องยกย่องส่งเสริม ใครที่ออกมาโดยสุจริต เจตนาดีก็ก็ต้องปกป้องไม่ให้ถูกดําเนินคดี ส่วนที่ถูกดําเนินคดีไปแล้วก็ต้องหาทางนิรโทษกรรม แล้วค่อยไปองค์ประกอบข้อ 1 ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่</p>
<p>ถึงกระนั้น สติธรก็มีความเห็นว่าการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมจะเป็นประตูบานหนึ่งไปสู่การค้นหาความจริง เพราะการที่จะนิรโทษกรรมใครหรือไม่ อย่างไร ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องดำเนินการค้นหาความจริงควบคู่กันไปโดยใช้เวทีรัฐสภาเป็นพื้นที่พูดคุย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐบาลประนีประนอมกับกลุ่มอำนาจเดิม ความเหมือนของเกาหลีใต้และไทย</span></h2>
<p>เมื่อเทียบกับบทเรียนในเกาหลีใต้มีจุดหนึ่งที่คล้ายคลึงกับไทยในตอนนี้ กล่าวคือรัฐบาลของประธานาธิบดีคิม ยองซัมที่ตั้งขึ้นในปี 1993 ต้องเผชิญแรงกดดันจากประชาชนเกาหลีให้มีการสอบสวนและลงโทษอดีตผู้นำทหารทั้งสองคนคือชุน ดูวานและโร แดวู แต่คิม ยองซัมไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเนื่องจากเขาได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองที่เป็นอดีตนายทหาร โดยคิม ยองซัมอ้างว่าความจริงทั้งหมดควรถูกเก็บรักษาไว้สำหรับเป็นข้อพิจารณาทางประวัติศาสตร์ในอนาคต</p>
<p>กลับมาดูการจัดตั้งรัฐบาลของเศรษฐา ทวีสินก็ดูจะไม่ต่างกันกับรัฐบาลของคิม ยองซัมนักที่ประนีประนอมกับกลุ่มอำนาจเดิมที่เคยทำรัฐประหาร ซึ่งจุดนี้อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชนถูกตีตก สติธรเห็นด้วยว่าเป็นอุปสรรค เขาอธิบายว่า</p>
<p>“ต้องดูบริบทเหมือนกันว่าเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นในต่างประเทศเป็นเพราะอะไร พอโยงกลับมาเราจะพบว่าเขากระทํารัฐประหารและก็ยังอยู่ในอํานาจ เขายังไม่ได้ยอมรับว่าสิ่งที่เขาทําไปมันเป็นความผิด เขาอาจจะมองว่าตัวเองเข้ามาหยุดไม่ให้คนไทยฆ่ากันเองด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นเวลาบอกว่าเราจะออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่มีข้อยกเว้น ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องปกติที่จะยกเว้นกลุ่มระดับนําของสังคมและหนึ่งในนั้นคือผู้ทํารัฐประหาร</p>
<p>“แต่ว่าถ้ามันมีกลิ่นอายของการประณามเขาตั้งแต่ต้น โอกาสที่เขาจะให้ความร่วมมือก็ยาก จริงๆ การกันคนที่เป็นระดับนำให้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ความจริงตามปกติหรือจะเป็นหรือจะสร้างกระบวนการพิเศษมาให้เขาพิสูจน์ความจริง ในหลักการและประสบการณ์ต่างประเทศก็ทํากัน แต่เราอาจจะต้องมีวิธีการเขียนให้มันเกิดการยอมรับว่าคนเหล่านั้นต้องเข้าสู่กระบวนการแล้วก็เป็นกระบวนการที่เขาไม่รู้สึกว่าเหมือนตั้งธงตั้งแต่ต้นว่ายังไงเขาโดนแน่”</p>
<p>ในบริบทไทยสติธรคิดว่าคงไม่ใช่การรื้อฟื้นความผิดและลงโทษ เพราะจากประสบการณ์ในต่างประเทศที่พอจะได้ข้อยุติและยอมรับได้คืออย่างน้อยผู้กระทำต้องสํานึกว่าสิ่งที่ทําไม่ได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อเกิดผลเสียแล้วก็น้อมรับความผิดและเอ่ยคําขอโทษ ในหลายประเทศสุดท้ายศาลพิพากษาคดีจําคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต แต่สุดท้ายเมื่อยอมรับความผิด เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะเกิดกระบวนการนิรโทษกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การอภัยโทษโดยประมุขของรัฐนั้น</p>
<p>“ของไทยก็เช่นเดียวกันครับคือนอกจากนิรโทษกรรมแล้วอาจจะมีการพระราชทานอภัยโทษได้ เรื่องพวกนี้มันต้องคิดไปทั้งกระบวนการ”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้างกลไกพิเศษที่ทุกฝ่ายยอมรับ</span></h2>
<p>นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่าการนิรโทษกรรมไม่เคยเกิดขึ้นโดยฝ่ายประชาชน อย่างการนิรโทษกรรมฐานเป็นคอมมิวนิสต์ก็เกิดจากคำสั่งที่ 66/2523 ในสมัยเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งสติธรเห็นว่าจะเรียกว่าเป็นการนิรโทษกรรมก็ไม่ใช่ความหมายที่ตรงความเป็นจริง เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารต่อฝ่ายอัยการไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีซึ่งถือเป็นการตัดตอนคดีไม่ให้ไปสู่ศาล</p>
<p>แต่หลังรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมามาตรการลักษณะนี้ไม่สามารถใช้ได้ เพราะอัยการเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้าจะนำแนวคิดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาใช้ก็ต้องออกกฎหมายพิเศษเฉพาะขึ้นมา ซึ่งก็มีความพยายามทำตลอดช่วงรัฐธรรมนูญปี 2550 จนนําไปสู่กฎหมายนิรโทษสุดซอย</p>
<p>“เพื่อสร้างกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับความขัดแย้งพวกนี้ แต่พอทําจริงกลายเป็นว่าคุณอยากจะลบความทรงจําเลย นิรโทษทุกคนไม่ต้องสนใจความจริงความเท็จ มันก็เลยไม่สําเร็จ แปลว่าวันนี้ถ้าเราจะทํากระบวนการนี้อีกครั้ง การเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็อยากให้คิดเสมอว่ามันคือส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านขึ้นมา ที่ไม่ใช่แค่ว่าเลิกแล้วต่อกันไป มองแต่ในมุมของตัวเอง ฝ่ายประชาชนบอกว่าประชาชนไม่ผิดทุกอย่างต้องเคลียร์ แต่ผู้นําต้องผิด ต้องหาทางลงโทษ ส่วนผู้นําก็จะบอกว่าไม่ ต้องเหมาหมด ถ้ามันอยู่อย่างนี้ก็เกิดกระบวนการไม่ได้ มันต้องยอมมีตรงกลางก่อน</p>
<p>“โอเคจุดจบมันอาจจะนำไปสู่การยกโทษทุกฝ่าย แต่ว่าระหว่างทางต้องใส่กระบวนการที่ทําให้เกิดการยอมรับ การนิรโทษกรรมต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนโอเคหมด ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนด้วยฉันนิรโทษกรรมแก แกก็นิรโทษกรรมฉัน อย่างนี้มันไม่ใช่”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52332491637_a67c3574bb_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คดี 112 ศูนย์กลางความขัดแย้งใหม่ อาจใช้แนวทางอภัยโทษแทนนิรโทษ</span></h2>
<p>ทว่า ความท้าทายที่ถือเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของการนิรโทษกรรมครั้งนี้อยู่ที่คดี 112 เพราะแน่นอนว่าย่อมมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มาตรา 112 เปรียบได้กับเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งของการเมืองไทยในเวลานี้ สติธรชวนคิดต่องว่าจุดกึ่งกลางของเรื่องนี้จะอยู่ตรงไหน เขาเสนอว่าควรสร้างกลไกพิเศษขึ้นมาพิจารณาเพื่อแยกผู้กระทำว่าทำด้วยเจตนาอะไร</p>
<p>“พูดง่ายๆ คือโยนความยากไปที่การสร้างกลไกแทนที่จะโยนความยากไปที่การตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวาหรือขาวกับดําซึ่งยากกว่าเพราะมันคือคําตอบแล้ว ซึ่งไม่มีใครยอมใครในแง่คําตอบ แต่ถ้าแค่ย้อนมาหาคนตัดสินว่าคนที่จะบอกว่านิรโทษหรือไม่นิรโทษ อันนี้อาจจะง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ได้ง่ายมากนะ แล้วสร้างกลไกนี้ให้ได้ก่อนและกลไกนี้จะเป็นตัวกรองเอง ถ้าเขายอมรับว่ากลไกนี้มันกรองได้แปลว่ามันพอทําหน้าที่ของมัน ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษคดี 112 คุณก็ต้องรับผลมัน”</p>
<p>สติธรย้ำอีกครั้งว่าจำเป็นต้องสร้างกลไกที่ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้รวมไปถึงศาล เพราะหากผ่านสภาได้แต่เสียงข้างมากของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญก็จบ</p>
<p>“แปลว่ากระบวนการนําเข้ากฎหมายสู่รัฐสภาเพื่อเป็นพื้นที่ที่เป็นทางการสําหรับการพูดคุยทุกเรื่องที่เป็นความขัดแย้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือกฎหมายที่จะสามารถนําไปสู่การนิรโทษกรรมได้ มันเลยต้องเป็นกระบวนการใหญ่ที่ไม่ได้แค่คิดในมิติเดียวว่ายกโทษหรือไม่ยกโทษใคร มันต้องเอาเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านทั้งหมดใส่เข้าไป ต้องมีกระบวนการว่ากว่าที่เราจะได้คําตอบ เราต้องได้ข้อมูลความจริงจากจากมุมมองของแต่ละฝ่าย แล้วก็ค่อยคัดฐานความผิดต่างๆ ว่าอะไรคือความผิดหรือการกระทําที่เป็นเจตนาทางการเมืองที่ควรจะได้รับการยกโทษ อะไรที่เป็นเจตนาแอบแฝงที่ควรจะต้องถูกลงโทษ</p>
<p>“พอแยกแยะได้แล้วจะต้องถูกลงโทษด้วยวิธีการอะไร ใครจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ตัวเองเพื่อจะบอกว่าฉันไม่ได้มีความผิดด้วยวิธีการอะไร มันก็เข้าสูตร พูดง่ายๆ ว่ามันไม่ใช่แค่คิดว่าจะนิรโทษใคร ไม่นิรโทษใคร แต่อาจจะต้องมีกลไกพิเศษสําหรับการจัดการเฉพาะเรื่องนี้และตีกรอบว่าเรื่องนี้ขอบเขตคืออะไร เงื่อนเวลาเอาปีไหนถึงปีไหน”</p>
<p>สติธรกล่าวอีกว่าสุดท้ายแล้วการนิรโทษกรรมอาจไม่เหมาะกับคดี 112 ก็ได้ แต่เหมาะกับอีกคําหนึ่งมากกว่าคือ อภัยโทษ เพราะเป็นความผิดที่มีต่อผู้มีความชอบธรรมในการให้อภัย เพียงแต่ประชาชนไม่สามารถเสนอกฎหมายได้เพราะเป็นพระราชอํานาจซึ่งก็เป็นอีกกลไกหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรเก็บไว้พิจารณา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาลเข้าข้างฝ่ายชนะ</span></h2>
<p>อีกหนึ่งบทบาทที่จะลืมไม่ได้ในกรณีเกาหลีใต้ก็คือบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญและอัยการที่มีบทบาทต่อการตีความเพื่อใช้กฎหมายพิเศษจนสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญและอัยการของไทยกลับต่างออกไปและดูจะเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นในทางการเมืองทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือ ในมุมของสติธรแม้เขาจะด้วยว่าศาลรัฐธรรมนูญและอัยการมีบทบาทดังกล่าวจริง แต่ก็เป็นบทบาทภายหลังประชาชนได้รับชัยชนะแล้ว</p>
<p>“ศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีมีส่วนในตอนจบที่ช่วยทําให้กระบวนการสร้างความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง ก็ต้องยอมรับว่าเขาเข้ามาหลังจากฝ่ายประชาชนชนะแล้ว ถามว่าเขาเอียงไหมเขาก็เอียงและเขาเอียงข้างผู้ชนะ แต่บังเอิญว่าผู้ชนะรอบหลังของเกาหลีคือประชาชนฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านเราจะพบว่าต่อให้เป็นระบบศาลยุติธรรมที่เป็นทางการ เป็นระบบปกติ ก็อาจจะไม่ใช่คําตอบ เพราะสุดท้ายเขาก็จะเข้ามาเลือกข้างผู้ชนะ”</p>
<p>ในหลายประเทศที่ระบบศาลปกติใช้การไม่ได้เพราะเขาต้องเอียงข้างผู้มีอํานาจ ณ เวลานั้น การสร้างศาลหรือกลไกพิเศษเฉพาะเรื่องจึงยังเป็นสิ่งที่สติธรเน้นย้ำอีกครั้งว่าต้องสร้างขึ้น</p>
<p>“ต้องยอมรับว่าฝ่ายตุลาการเองก็ถูกดีไซน์โดยการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่หลังจากมีความขัดแย้ง เช่น รัฐธรรมนูญปี 2550 ย์ต่อเนื่องมาถึงรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งกลายเป็นว่าศาลอาจถูกมองเป็นคู่ขัดแย้งซะเองจนศาลตัดสินแล้วคนไม่ยอมรับทั้งหมด ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นสิ่งที่ต้องทําก็คือต้องสร้างกลไกตัดสินที่ทุกคนยอมรับขึ้นมาใหม่ใช้ศาลตามปกติไม่ได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">นิรโทษกรรมที่อาจไม่ได้ทั้งหมด แนะก้าวที่ละก้าวเพื่อก้าวต่อไป</span></h2>
<p>มาถึงตรงนี้ความเข้มแข็งของภาคประชาชนจะเป็นตัวตัดสินว่าจะสามารถกดดันรัฐบาลให้สร้างกลไกพิเศษดั่งกล่าวขึ้นได้หรือไม่ สำหรับสติธรมีความเห็นว่าความเข้มแข็งภาคประชาชนอย่างเดียวไม่พอ จากบทเรียนในอดีตไม่ใช่แค่ประชาชนฝ่ายเดียว แต่ในระดับผู้นําเองก็ต้องยอมรับด้วย ต้องมีแรงจูงใจหรือแรงกดดันจากกลุ่มชนชั้นนําด้วยเหมือนกันที่จะทําให้เขารู้สึกว่าการนิรโทษกรรมคือคําตอบและความจําเป็นแล้วค่อยมาบวกกับภาคพลังของภาคประชาชน</p>
<p>ทว่า บริบทสังคมไทยนั้นต่างออกไป สติธรยกตัวอย่างอย่างเกาหลีใต้ที่เกิดความขัดแย้งจากระดับผู้นำจนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้นําอีกฝ่ายหนึ่งที่ถูกกระทำโดยไม่ชอบธรรม ขณะที่ปัญหาของไทยตั้งแต่ยุคเหลืองแดงมีความซับซ้อนตรงที่ผู้นําก็ขัดแย้งกันและประชาชนเองก็แบ่งฟากฝ่าย</p>
<p>“วันนี้เราถามว่าประชาชนมีพลังเข้มแข็ง เรากําลังพูดถึงประชาชนฝ่ายไหน คําถามคือมีประชาชนอีกกลุ่มที่เค้าไม่เอาด้วยกับประชาชนกลุ่มนี้ไหม คําตอบคือมี เพียงแต่ว่าวันนี้ยังไม่ออกตัวมาและในทุกครั้งความขัดแย้งที่มเกิดขึ้นไม่ว่าจะรอบเหลืองรอบแดง รอบเด็กเยาวชน มันก็มีคนอีกกลุ่มออกมาเสมอที่เป็นคู่ขัดแย้งในระดับภาคประชาชนด้วยกัน</p>
<p>“เรื่องนี้จะสําเร็จได้ภาคประชาชนอย่างเดียวไม่พอต้องถามด้วยว่าภาคประชาชนทุกฝ่ายหรือยัง หรือคู่ขัดแย้งสําคัญๆ ในภาคประชาชนเข้าสู่กระบวนการนี้ด้วยกันหรือยัง แล้วถึงจะมีแรงพอที่จะไปกดดันผู้นําที่มีความขัดแย้งกันให้ลงเอยได้”</p>
<p>อย่างไรก็ตาม สติธรยังเชื่อว่าการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้มีความหวังและเป็นก้าวแรกสำหรับก้าวต่อๆ ไปแต่ไม่ใช่ก้าวสุดท้ายก้าวเดียวแล้วจบ เขาเสนอว่าถ้าต้องการเห็นความคืบหน้าควรนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมที่มีเจตนาบริสุทธิ์ ไปชุมนุมเรียกร้องจริงๆ ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้น</p>
<p>“ถ้าเทียบกับเคสเกาหลีใต้นอกจากต้องมีการนิรโทษกรรมแล้ว ต้องมีกฎหมายออกมายกย่องด้วยซ้ำว่านี่คือคนที่ออกไปเรียกร้องประชาธิปไตย ยังไม่มีเลยด้วยซ้ําเพราะเราติดกับ พอเราจะเข้าโหมดนิรโทษกรรม ให้อภัย เราคิดเป็นพวงไปหมด มันก็รุงรัง มันมีคนที่ยังไม่สมควร ถ้าเราก้าวทีก้าว ปลดไปทีละล็อก อะไรที่ยากอยู่ก็อย่าเพิ่ง แต่อย่างน้อยเอาเรื่องหลักก่อนให้ได้ไปหน่อยพอไปได้หนึ่งก้าวเดี๋ยวมันก็มีก้าวสองก้าวสามตามมาเอง ผมหวังอย่างนั้น สมมุติว่าถ้าเราจะมีความหวังกับมันได้มันน่าจะต้องค่อยๆ สําเร็จทีละก้าว</p>
<p>“ตัวนิรโทษเองก็ก็อย่าเพิ่งคิดการใหญ่ว่าจะได้ทั้งหมด อาจจะได้แค่บางเรื่องที่เห็นตรงกัน อย่างน้อยๆ มันจะเกิดความคืบหน้า ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นว่าเราพูดเรื่องนิรโทษปุ๊บ คนจะปฏิเสธทันทีโดยไม่ดูสาระ”</p>
<p>ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคือก้าวแรกสู่การคลี่คลายความขัดแย้งตลอด 2 ทศวรรษของการเมืองไทย แต่ไม่ใช่ก้าวที่ง่ายแน่นอน ถึงกระนั้นมันก็เป็นก้าวแห่งความหวังตามที่สติธรกล่าวไว้</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108126
 
1607  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - วัดจุฬามณีแทบแตก บวงสรวงใหญ่ท้าวเวสสุวรรณ "รอง เค้ามูลคดี" ร่วมพิธีเล่าประสบ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 09:28:11
วัดจุฬามณีแทบแตก บวงสรวงใหญ่ท้าวเวสสุวรรณ "รอง เค้ามูลคดี" ร่วมพิธีเล่าประสบการณ์ตรง
         


วัดจุฬามณีแทบแตก บวงสรวงใหญ่ท้าวเวสสุวรรณ &quot;รอง เค้ามูลคดี&quot; ร่วมพิธีเล่าประสบการณ์ตรง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;วัดจุฬามณีแทบแตก บวงสรวงใหญ่ท้าวเวสสุวรรณ พ่อรอง เค้ามูลคดี โผล่ร่วมพิธีเล่าประสบการณ์ตรง เป็นเหตุให้ศรัทธามาตลอดหลายปี
         

https://www.sanook.com/news/9245634/
         
1608  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - แฮชแท็ก #ทักษิณ เดือดขึ้นเทรนด์ โซเชียลสงสัยใส่เฝือกทำไม แถมผมไม่หงอกเลย เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 09:04:13
แฮชแท็ก #ทักษิณ เดือดขึ้นเทรนด์ โซเชียลสงสัยใส่เฝือกทำไม แถมผมไม่หงอกเลย
         


แฮชแท็ก #ทักษิณ เดือดขึ้นเทรนด์ โซเชียลสงสัยใส่เฝือกทำไม แถมผมไม่หงอกเลย" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;แฮชแท็ก #ทักษิณ เดือดขึ้นเทรนด์ โซเชียลสงสัยป่วยเป็นอะไร ถึงใส่เฝือกคอ-พยุงแขน สุดจะทึ่งอยู่ รพ. 180 วัน ผมไม่หงอกเลย
         

https://www.sanook.com/news/9242802/
         
1609  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจนักเรียน ม.ปลาย ไม่อยากเรียนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมแล เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 07:54:14
'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจนักเรียน ม.ปลาย ไม่อยากเรียนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและวรรณคดีไทยมากที่สุด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 01:01</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก แฟ้มภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธำรงศักดิ์ นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เผยผลสำรวจ Gen Z มัธยมปลาย ไม่ชอบไม่อยากเรียนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและวรรณคดีไทยมากที่สุด ไม่ใช่วิชาประวัติศาสตร์ ให้ย่นย่อวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ไปรวมกับวิชาอื่น</p>
<p>19 ก.พ.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (18 ก.พ.) ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์รายงานวิจัยผ่าน เฟซบุ๊ก 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' โดยระบุว่า งานวิจัยส่วนบุคคลของตน เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 15-19 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 504 คน (13 พ.ย. ถึง 1 ธ.ค. 2566)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">1. ข้อคำถามว่า “วิชาหรือกิจกรรมใดที่ท่านรู้สึกไม่ชอบหรือไม่อยากเรียน (เลือกได้ไม่เกิน 4 ตัวเลือก)”</span></h2>
<p>ผลการวิจัยพบว่า คน Gen Z มัธยมปลาย ไม่ชอบหรือไม่อยากเรียน</p>
<p>1. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม ร้อยละ 40.8 (204)</p>
<p>2. วรรณคดี ร้อยละ 40.2 (201)</p>
<p>3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ร้อยละ 24.6 (123)</p>
<p>4. งานฝีมือ หรือการงานอาชีพ ร้อยละ 19.8 (99)</p>
<p>5. ประวัติศาสตร์ ร้อยละ 16.4 (82)</p>
<p>6. ภาษาไทย ร้อยละ 15.6 (78)</p>
<p>7. สุขศึกษาและพละศึกษา ร้อยละ 10.0 (50)</p>
<p>8. ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 9.0 (45)</p>
<p>9. สังคมศึกษา ร้อยละ 8.2 (41)</p>
<p>คำอธิบาย คน Gen Z มัธยมปลายที่ไม่ชอบหรือไม่อยากเรียน (สามลำดับแรก)</p>
<p>กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เช่น วิชาที่บังคับทำกิจกรรมก็ไม่เรียกว่าส่งเสริมคุณธรรมแล้วละ, ส่งเสริมคุณธรรมต้องเรี่ยไรเงินบริจาคของนักเรียนด้วยรึ, ทำไมต้องนั่งสมาธิ ไม่อยากทำ, ครูในวิชาบางคนช่างพูดจาร้าย, โตไปไม่โกง ก็โกงกันทั้งประเทศแล้ว, กิจกรรมที่ไม่มีความจริงใจ, ไม่ทำไม่ได้คะแนน</p>
<p>วรรณคดี เช่น ให้เป็นวิชาเลือกของคนสนใจดีกว่า, ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย, เยอะเกิ๊น, จะจำจะสอบไปทำไม, อ่านนิยายสมัยใหม่ดีกว่า</p>
<p>กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ เช่น จิตสาธารณะต้องบังคับใช้แรงงานกันหรอ, ทำเพื่อคะแนนไม่ใช่จิตสาธารณะ, ครูทำได้เงินเดือน พวกหนูเสียเวลา, ต้องจดลงสมุดทำความดี ก็สอนให้โกหกแล้ว,</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">2. ข้อคำถามว่า “วิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ยังต้องมี หรือควรยกเลิก หรือควรย่นย่อไปรวมกับวิชาอื่น”</span></h2>
<p>ผลการวิจัยพบว่า คน Gen Z มัธยมปลาย เห็นว่ายังต้องมี ร้อยละ 14.8 (74 คน) ควรยกเลิก ร้อยละ 12.6 (63 คน) ควรย่นย่อไปรวมกับวิชาอื่น ร้อยละ 65.1 (325 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 7.4 (37 คน)</p>
<p><strong>ข้อมูลพื้นฐาน Gen Z มัธยมปลาย</strong></p>
<p>เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากโรงเรียนมัธยมปลายในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร รวม 6 จังหวัด</p>
<p>มีผู้ตอบคำถามทั้งสองข้อนี้ข้อละ 501 คน</p>
<p>เพศ : หญิง 235 คน (46.6%) ชาย 232 คน (46.0%) เพศหลากหลาย 37 คน (7.4%)</p>
<p>โรงเรียนมัธยมปลาย: กรุงเทพฯ 109 คน (21.6%) สมุทรปราการ 160 คน (31.7%) นครปฐม 90 คน (17.9%) ปทุมธานี 117 คน (23.2%) นนทบุรี 20 คน (4.0%) สมุทรสาคร 8 คน (1.6%)</p>
<p>(หมายเหตุ: ปี 2566 โรงเรียนมัธยมปลายทั้งประเทศ มี 2505 โรง มีนักเรียน 1,073,311 คน)   </p>
<p>อายุ : อายุ 15 ปี 104 คน (20.6%) อายุ 16 ปี 136 คน (27.0%) อายุ 17 ปี 130 คน (25.8%) อายุ 18 ปี 95 คน (18.8%) อายุ 19 ปี 39 คน (7.8%)</p>
<p>ระดับชั้นการศึกษา : ม.4 จำนวน 182 คน (36.9%) ม.5 จำนวน 129 คน (26.2%) ม.6 จำนวน 182 คน (36.9%) (ระบุข้อนี้ 493 คน)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108128
 
1610  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - โอ้ว! "เต้ย จรินทร์พร" สลัดผ้าแล้ว โชว์หุ่นแซ่บซ่อนรูป แต่ละช็อตทำใจระทวย เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 06:53:29
โอ้ว! "เต้ย จรินทร์พร" สลัดผ้าแล้ว โชว์หุ่นแซ่บซ่อนรูป แต่ละช็อตทำใจระทวย
         


โอ้ว! &quot;เต้ย จรินทร์พร&quot; สลัดผ้าแล้ว โชว์หุ่นแซ่บซ่อนรูป แต่ละช็อตทำใจระทวย" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ตัวเล็ก แต่แซ่บระดับพริกขี้หนูยกสวน "เต้ย จรินทร์พร" สลัดผ้าแล้ว โชว์หุ่นซ่อนรูป ขอบอกแต่ละช็อตทำใจระทวย
         

https://www.sanook.com/news/9243894/
         
1611  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - นายกฯ สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 06:23:56
นายกฯ สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 01:11</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นายกฯ สั่ง หน่วยงานเร่งแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ รมว.สำนักนายกฯ นำร่อง สกลนคร 10 วัด สั่ง พศ.  ดำเนินการด่วน </p>
<p> </p>
<p>19 ก.พ.2567 ทีมสื่อพรรคเพื่อไทย รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วานนี้ (18 ก.พ.67) เวลา 10.30 น. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังวัดถ้ำผาแด่น ต.ดงมะไฟ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร  เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามโครงการอารามภิรมย์ และการขออนุญาตให้ทางวัดในพื้นที่ จ.สกลนคร ใช้ที่ดินป่าไม้และพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน </p>
<p>นายกรัฐมนตรีได้เข้ากราบสักการะหลวงพ่ออุดมสมบูรณ์ และกราบพระครูปลัดอุดมวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาแด่น และได้ถวายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ให้แก่ วัดและสำนักสงฆ์ที่ประสบปัญหาที่ดิน จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ 1.วัดถ้ำผาแด่น 2.ที่พักสงฆ์นางเลิงนฤมิตร 3.ที่พักสงฆ์ป่าภูน้อย 4. ที่พักสงฆ์ป่าภูโล้น 5. ที่พักสงฆ์เกาะแก้ว 6. ที่พักสงฆ์บ้านเม่นน้อย 7. ที่พักสงฆ์ดอนแสงธรรมประชารัฐ 8. ที่พักสงฆ์ป่าสว่างธรรม 9. ที่พักสงฆ์ป่าศรัทธาธรรม และ 10. ที่พักสงฆ์ป่าโคกหินแผง ซึ่งเป็นไปตามที่ ส.ส.สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 13 ก.พ. 2567 แม้วัดและที่พักสงฆ์ดังกล่าวได้รับการผ่อนผัน ให้ใช้ที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้รับพิจารณาแต่อย่างใด ทำให้พระสงฆ์และชาวบ้านในชุมชนไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ จนกระทั่งล่าสุดนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เร่งแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด </p>
<p>รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงต่อความเป็นอยู่ของคณะสงฆ์และการปฎิบัติศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้สั่งการเร่งให้ความช่วยเหลือและแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง  ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย  กรมป่าไม้ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร และลงพื้นที่จริง พบว่ามีวัดและที่พักสงฆ์หลายแห่งทั่วประเทศประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จึงได้สั่งการให้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเร่งรวบรวมและติดตามให้ความช่วยเหลือ โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างใกล้ชิด ในอนาคตเราตั้งเป้าจะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับวัดและที่พักสงฆ์ทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง วันนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีเราสามารถช่วยเหลือที่วัดและสำนักสงฆ์ 10 แห่งของ จ.สกลนคร ได้ถือเป็นความสำเร็จที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือทั้งคณะสงฆ์และประชาชน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108129
 
1612  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - หน.ก้าวไกลปลุกสมาชิกร่วมเดินหน้าสร้างพรรค ดึงสติสังคม ทำงานทางความคิดเพื่อเ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 04:38:06
หน.ก้าวไกลปลุกสมาชิกร่วมเดินหน้าสร้างพรรค ดึงสติสังคม ทำงานทางความคิดเพื่อเปลี่ยนใจคนเห็นต่าง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 01:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ชัยธวัช' หน.พรรคก้าวไกลปลุกสมาชิกร่วมเดินหน้าสร้างพรรค ช่วยกันดึงสติสังคมไทย ทำงานทางความคิดเพื่อเปลี่ยนใจคนเห็นต่างให้มากที่สุด ย้ำก้าวไกลไม่ใช่ภัยคุกคามสังคมไทย แต่คือสะพานเชื่อมระหว่างอดีตกับอนาคต</p>
<p>19 ก.พ.2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วานนี้ (18 ก.พ.67) พรรคก้าวไกลจัดกิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์ ร่วมพบปะสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคในเขตบางแคและใกล้เคียง โดยมีแกนนำและ สส.พรรคก้าวไกลหลายคนร่วมกิจกรรม ทั้งชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล, ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ, พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล, วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ เป็นต้น</p>
<p>ในการนี้ ชัยธวัชได้กล่าวกับสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ ถึงสถานการณ์ที่พรรคก้าวไกลกำลังเผชิญ และการเดินต่อไปข้างหน้าของพรรคก้าวไกลในอนาคต โดยระบุว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน พรรคก้าวไกลกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายสองประการ ประการแรก คือสภาวะ “นิติสงคราม และตุลาการภิวัฒน์” ที่พรรคก้าวไกลต้องตั้งหลักในการต่อสู้คดีเพื่อปกป้องพรรคและผู้แทนราษฎรของพรรค โดยยืนยันว่าการดำเนินคดีถึงขั้นยุบพรรคหรือตัดสิทธิผู้แทนราษฎรทั้ง 44 คน เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล ไม่ถูกต้อง และไม่ได้สัดส่วน</p>
<p>ประการที่สอง คือสถานการณ์ที่มีความพยายามสร้างภาพให้พรรคก้าวไกลเป็น “ปีศาจตนใหม่” ของสังคมไทย เป็นภัยคุกคามต่อสังคมไทยที่หลายคนหวงแหน ซึ่งยิ่งปรากฏชัดเมื่อมีกรณีขบวนเสด็จ และมีความพยายามปั่นเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อชี้เป้ามาที่พรรคก้าวไกล ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงไม่มีความเกี่ยวข้องกัน</p>
<p>ชัยธวัชกล่าวต่อไปว่า สมาชิกพรรคอาจมีความกังวลใจว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรดีในสถานการณ์เช่นนี้ สำหรับตนแล้ว สิ่งที่เราทำได้คือต้องช่วยกัน “ดึงสติ” สังคม ตั้งหลักให้ดีว่าในช่วงสถานการณ์ที่อ่อนไหวเช่นนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่ควรสร้างเงื่อนไขด้วยการผลักให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสุดขั้วไปมากกว่านี้ เราต้องช่วยกันดึงสติให้ทุกฝ่ายเข้าใจสถานการณ์ที่ถูกต้อง เข้าใจวิธีการคลี่คลายปัญหาทางการเมือง ตามวิถีทางที่ทำให้ต่างฝ่ายที่มีความเห็นต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันได้</p>
<p>ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะเป็นสมาชิกพรรค ผู้สนับสนุนพรรค หรือผู้ลงคะแนนให้พรรคหลายคน เมื่อเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ก็พร้อมที่จะปะทะคารม แต่หลายเรื่องก็น่าเป็นห่วงว่าจะเป็นส่วนในการเติมน้ำมันเข้ากองไฟโดยไม่รู้ตัว จึงต้องย้ำว่าพรรคก้าวไกลมีเป้าหมายในการทำงานการเมืองเพื่อเอาชนะทางความคิด ด้วยความเชื่อว่าสังคมการเมืองเปลี่ยนได้ ความคิดของสังคมก็มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น เมื่อพบกับความเห็นที่แตกต่างจากเรา การพยายามทำความเข้าใจกับพวกเขาให้เข้มข้นมากขึ้น ย่อมดีกว่าผลักให้เขามีช่องว่างกับเรา การทำให้พวกเขาพร้อมเปิดใจรับฟังเรามีความสำคัญอย่างยิ่ง การทำงานทางความคิดที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ต้องทำให้คนที่ไม่เข้าใจหรือคิดไม่เหมือนเราเข้าใจเรามากขึ้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปใช้วิธีการผลักคนออกไป</p>
<p>นอกจากการทำงานทางความคิดโดยใช้สติแล้ว ชัยธวัชระบุว่า ในสถานการณ์เช่นนี้พวกเราก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงาน ทั้งต่อประชาชนที่สนับสนุนและคาดหวังต่อพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว และประชาชนที่ยังไม่เข้าใจเรา เราต้องพิสูจน์ด้วยการทำงานที่เป็นจริง ทำให้เห็นว่าเราเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนตั้งความหวังไว้ได้ ทั้งในสถานการณ์เฉพาะหน้าและระยะยาว รวมถึงการสร้างพรรคให้เข้มแข็งจากฐานราก ทำให้เป็นพรรคการเมืองที่ทำงานตอบสนองสังคมได้มากขึ้น พร้อมมีความเข้มแข็งสำหรับทุกสถานการณ์</p>
<p>“เราต้องใช้การเมืองแห่งความรักเพื่อการเปลี่ยนแปลง เข้าใจได้ว่าพวกเราต่างมีความคับแค้นใจ แต่เราต้องเชื่อจริง ๆ ว่าต้องใช้การทำงานการเมืองด้วยความรักและความปรารถนาดีพิสูจน์ให้คนเชื่อ ไม่ใช่การเมืองแห่งการทำลายล้าง การตอบโต้อาจได้ความสะใจ แต่ก็ยิ่งตกไปในเกมการเมืองแห่งการสร้างความเกลียดชังที่ดำเนินมากว่า 20 ปีแล้ว ลดช่องว่าง เปลี่ยนใจคน ให้คนรับฟัง” ชัยธวัชกล่าว</p>
<p>ชัยธวัชกล่าวต่อไปว่า เราพูดบ่อยเรื่องการทำงานทางความคิด พาสังคมไทยออกจากการเมืองแบ่งขั้วเหลืองแดง ก็เพราะที่ผ่านมาประชาชนถูกแบ่งให้มาปะทะขัดแย้งกัน ซึ่งไม่ได้นำพาสังคมไทยไปข้างหน้า และมีคนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากเกมการเมืองแบบนี้ เวลามีคนมาบอกว่าพรรคก้าวไกลเป็นสลิ่มเฟสสอง ตนไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไร เพราะการทำให้คนที่เคยเป็นสลิ่มหรือเสื้อเหลืองเปลี่ยนใจมายอมรับในระบอบประชาธิปไตยได้ ตนถือว่าเป็นความสำเร็จ ต้องเข้าใจว่าที่คนจำนวนหนึ่งเคยยอมรับการรัฐประหาร หรือการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่เคยมีมาแบบเดิมไม่สามารถทำให้คนจำนวนมากเชื่อมั่นในการเมืองแบบการเลือกตั้งได้ เราก็ต้องแก้ปัญหาจุดนี้ให้เขากลับมาศรัทธา ว่าเราสามารถปฏิรูปด้วยการเมืองในระบบเลือกตั้งได้</p>
<p>ท่ามกลางคลื่นลมแรงทางการเมือง ตนเข้าใจดีว่าหลายคนอดไม่ได้ที่บางช่วงเวลาจะรู้สึกท้อใจ หรือหวั่นไหวกับสถานการณ์ข้างหน้า แต่ไม่มีเหตุผลใดที่เราควรหวั่นไหวเลย หากย้อนกลับไปเมื่อการเลือกตั้งครั้งแรกของพรรคอนาคตใหม่ปี 2562 มีใครเคยจินตนาการหรือไม่ว่าจะเกิดการเมืองใหม่แบบวันนี้ ไม่เคยมีใครมองว่าการเมืองแบบอนาคตใหม่จะประสบความสำเร็จเลย แต่ผลการเลือกตั้งออกมาก็หักปากกาเซียนทุกคน มาจนถึงปี 2566 ทุกคนก็ยังไม่เชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะได้ สส. มากกว่า 40 คน แต่ผลการเลือกตั้งออกมากลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง แม้วันนี้พรรคก้าวไกลจะยังไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้ แต่การเลือกตั้งปี 2566 ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว </p>
<p>ชัยธวัชย้ำว่า สิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว นั่นคือจากเดิมที่ไม่มีใครเชื่อว่าการเมืองแบบอนาคตใหม่-ก้าวไกลจะเป็นไปได้ในการเมืองไทย แต่ทุกวันนี้ความคิดนี้ได้พังทลายไปหมดสิ้นแล้ว การเลือกตั้งครั้งหน้าไม่มีคำถามแล้วว่าก้าวไกลจะชนะการเลือกตั้งหรือไม่ มีแต่คำถามว่าก้าวไกลจะได้ 200-250 ที่นั่งหรือไม่ นี่คือต้นทุนทางการเมืองที่พวกเราไม่เคยมีมาก่อน แต่จะมีในการเลือกตั้งหลังจากนี้เป็นต้นไป</p>
<p>ดังนั้น พวกเรามาไกลขนาดไหนแล้วในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี เรามาไกลเกินกว่าจะแพ้ และมาไกลเกินกว่าจะหวั่นไหวแล้ว ตรงกันข้าม คนที่ต้องหวั่นไหวคือผู้มีอำนาจที่อยากแช่แข็งสังคมไทยเอาไว้ หวาดกลัวกับการเปลี่ยนแปลงที่มาเร็วมาก จนพรรคก้าวไกลถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อการเมืองของอดีต และพยายามใช้นิติสงครามหรือการปั่นว่าก้าวไกลเป็นปีศาจที่จะมาทำลายสังคมไทย เพื่อปกป้องพื้นที่การเมืองแบบเก่าที่หดแคบลงเรื่อย ๆ เอาไว้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำวินิจฉัยศาลหรือนิติสงครามต่าง ๆ ล้วนเป็นภาพสะท้อนความหวั่นไหวของพวกเขา คนที่หวั่นไหวจึงไม่ใช่เรา</p>
<p>ชัยธวัชกล่าวทิ้งท้ายว่า จากนี้ขอเพียงพวกเราทั้งหมดจับมือมัดกันให้แน่น เชื่อมั่นในความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลง ทำพรรคของพวกเราให้เข้มแข็ง พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ ทำงานทางความคิดให้คนคิดเหมือนเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ลดช่องว่างทางความคิด ทำให้พวกเขาพร้อมเปิดใจรับฟัง พิสูจน์ตัวเองและความปรารถนาดีของพวกเราต่อบ้านเมือง ด้วยการทำงานให้เห็น ไม่ใช่ผลักคนที่คิดไม่เหมือนเราไปเป็นศัตรู จนทำให้พวกเขาคิดต่างจากพวกเราไปเรื่อย ๆ ตั้งสติให้มั่น เข้าใจสถานการณ์ มองคนที่ไม่เข้าใจเรา และหาวิธีสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงและเข้าใจพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ</p>
<p>“เปลี่ยนความคิดของคนที่ยังไม่เข้าใจพวกเรา ให้เข้าใจการเมืองแบบก้าวไกล ว่าพวกเราไม่ใช่ภัยคุกคามของสังคมไทย ไม่ใช่ภัยคุกคามต่ออดีตที่หลายคนหวงแหนห่วงใย แต่การเมืองแบบก้าวไกลคือเราจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอดีตกับอนาคตของสังคมไทยให้ได้ เราเป็นคนที่มีศักยภาพที่จะเชื่อมระหว่างอดีตกับอนาคต เพราะเรารู้จักอดีต เข้าใจปัจจุบัน และมองเห็นอนาคต การเมืองแบบก้าวไกลจะทำให้เกิดการสมานระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ เพื่อพาสังคมไทยไปเผชิญหน้ากับอนาคตที่ผันผวน” ชัยธวัชกล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108130
 
1613  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - มันส์มาก "NATTY-KITTIE" ทำ Extra Challenge ปั่นจิ้งหรีดช่วงชิงเพลงที่ชอบ เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 04:15:28
มันส์มาก "NATTY-KITTIE" ทำ Extra Challenge ปั่นจิ้งหรีดช่วงชิงเพลงที่ชอบ
         


มันส์มาก &quot;NATTY-KITTIE&quot; ทำ Extra Challenge ปั่นจิ้งหรีดช่วงชิงเพลงที่ชอบ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;NATTY กับ KITTIE  2 เด็กฝึกทำ Extra Challenge ด้วยการปั่นจิ้งหรีดช่วงชิงเพลงที่ชอบ โมเมนต์นี้น่ารักมาก
         

https://www.sanook.com/news/9244062/
         
1614  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - วงถก 'การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม' ห่วงเหตุนักข่าวถูกจับ ทำสิทธิเสรีภาพสื เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 03:03:58
วงถก 'การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม' ห่วงเหตุนักข่าวถูกจับ ทำสิทธิเสรีภาพสื่อถอย ขอรัฐหยุดดำเนินคดี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 01:33</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ฯ จัดวงถก 'การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม' Journalism is not a Crime ห่วงเหตุการณ์นักข่าวถูกจับ ทำสิทธิเสรีภาพสื่อเสื่อมถอย ขอรัฐหยุดดำเนินคดีกับสื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยในสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก เชื่อทุกฝ่ายไม่มีใครอยากใช้ความรุนแรง
 </p>
<p>19 ก.พ.2567 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ฯ จัดเสวนาในหัวข้อ การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม (Journalism is Not a Crime) ณ ห้องประชุมบ้าน(Barn) ชั้น 1 โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่มีนักข่าวและช่างภาพอิสระถูกจับในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ หลังไปทำข่าวกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2566  โดยมี เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท , ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และ พรรษาสิริ กุหลาบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์และอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537154776_3688bac0e3_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เทวฤทธิ์ มณีฉาย</span></p>
<p>เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความน่ากังวลและความน่ากลัวต่อการทำงานข่าวในหลายประเด็น ดังนี้ 1.เรื่องการเป็นผู้สนับสนุน ในกรณีที่ไปทำข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์แล้วถูกรัฐบาลมองว่ามีความผิด จึงตั้งคำถามว่าหากในอนาคตสื่อที่ออกไปทำข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงจะมีความผิดด้วยหรือไม่ เช่น ผิด พ.ร.บ.การชุมนุมฯ 2.กรณีที่ คุณณัฐพล เมฆโสภณ นักข่าวประชาไท ถูกออกหมายจับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 66 แต่เจ้าหน้าที่กลับเพิ่งมาจับกุมตัวเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 67 จึงตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่ถึงปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 9 เดือน อีกทั้งยังเป็นการออกหมายจับ โดยไม่มีการออกหมายเรียกให้ทราบก่อน</p>
<p>นอกจากนี้ ‘เทวฤทธิ์’ ยังมองว่าที่ผ่านมาเวลาเกิดเหตุการณ์ที่นักข่าวมีคดีความ โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางการเมือง สำนักข่าวต้นสังกัดมักจะไม่ออกมาปกป้องคนของตัวเอง ซ้ำยังตัดช่องน้อยแต่พอตัวด้วยการให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวหรือให้ออกจากการทำงาน เขามองว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องน่ากังวลต่อเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน ซึ่งคนภาคสนามเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง ความไม่มั่นคงต่อการทำงานอยู่แล้ว ดังนั้นคุณต้องสร้างอำนาจการต่อรอง ให้บทบาทสื่อมวลชนแข็งแกร่งมากขึ้นหากการตั้งสหภาพแรงงานมีความเข้มแข็งจริงๆ  ไม่ใช่การตั้งสหภาพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นสถาบันคอยตั้งรับปัญหาต่างๆ เพียงอย่างเดียว เพราะเขาเชื่อว่าหากสหภาพไม่มีความเข้มแข็งจะไม่นำไปสู่เสรีภาพของสื่อมวลชนได้อย่างแท้จริง</p>
<p>“สำหรับคนทำงาน ผมเชื่อว่าเสรีภาพมาพร้อมอำนาจของการต่อรอง คุณหมัดเล็กคุณก็โดนข่มตลอดครับ เราไม่ได้ไปสวนเขาหรอกครับ แต่เราต้องมีหมัดเพียงพอที่จะขู่เขาได้ว่าอย่ามาทุบเรานะ เสรีภาพมันมาพร้อมกับการต่อสู้ทั้งหมดครับ ถ้าเรารวมตัวกันโดยเฉพาะคนทำงานภาคสนามต่างๆ ท่านสามารถรวมตัวเป็นสหภาพต่อรองได้ทั้งเรื่องสวัสดิการ สวัสดิภาพ และเสรีภาพในการทำงาน มันจะช่วยการันตีเสรีภาพของคนทำงานมากขึ้น ไม่ใช่หวังแต่นายทุนหรือเจ้าของกิจการสื่อ ที่อยู่ดีคืนดีเขาก็ปลดคุณได้” เทวฤทธิ์ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537595670_02f929d6b0_b.jpg" /></p>
<p>ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แสดงความกังวลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นเหมือนการปิดปากสื่อ ที่อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการนำเสนอข่าวที่มืดลงตามไปด้วย อีกทั้งตอนนี้เรายังอยู่ในสภาวะการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจกัน ทั้งการเมืองสุดที่แม้จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่ก็ยังพบว่ายังมีปัญหาในหลายๆ ประเด็น รวมทั้งเรื่องเสรีภาพสื่อที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการที่คนบางกลุ่มมีความแคลงใจต่อจุดยืนของแอมเนสตี้ จึงอยากขอย้ำจุดยืนของแอมเนสตี้อีกครั้งว่าการนำเสนอข่าวคือเสรีภาพที่สังคมและโลกใบนี้ควรให้ความสำคัญ ไม่ควรมีใครถูกดำเนินคดีหากการทำข่าวนั้นมีเพื่อเปิดเผยข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น</p>
<p>“เราอยู่เคียงข้างเสรีภาพการเเสดงออก เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ และเราอยู่เคียงข้างเสรีภาพของสื่อ สื่อคือแสงสว่างที่ส่องเห็นความมืดทุกมุม เเละเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เราหวังว่ารัฐบาลจะแสดงความเป็นผู้นำและไม่มองว่าสื่อคือคู่ตรงข้ามหรือจับกุมเขา เพียงเพราะเขาทำหน้าที่ของเขาอยู่ อันนี้มันสร้างความหวาดกลัว วันนี้มันเกิดขึ้นกับประชาไท ถ้าเราปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไป วันหนึ่งอาจเป็นคุณ แล้วสื่ออื่นๆ จะทำอย่างไร” ปิยนุช กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53536275177_21e4db2521_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ปิยนุช โคตรสาร</span></p>
<p>ปิยนุช ยังอ้างอิงผลการสำรวจข้อมูลของ คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสื่อ Committee to Protect Journalists (CPJ) ปี 2566 ที่พบว่าทวีปเอชียเป็นภูมิภาคที่มีนักข่าวถูกดำเนินคดีและถูกจำคุกมากที่สุดในโลก และแม้ตอนนี้จะยังไม่มีชื่อประเทศไทยติดอันดับ แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ที่ผู้สื่อข่าวประชาไทและช่างภาพอิสระถูกจับกุม วันที่ 12 ก.พ. 67 ที่ผ่านมาจะทำให้สถานการณ์สื่อในประเทศไทยตกต่ำลง จึงอยากย้ำว่า “ การรายงานข่าวไม่ใช่อาชญากรรม  (Journalism is not a Crime) ”</p>
<p>พรรษาสิริ แนะนำว่ารัฐต้องย้อนกลับมาตั้งหลักใหม่ว่า การดำเนินคดีกับสื่อมวลชนต้องไม่เกิดขึ้นอีก แต่ประเด็นสำคัญคือเราต้องกดดันให้รัฐบาลสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยกันได้อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นความรุนแรง เพราะเชื่อว่าหากมีทางเลือกอื่นที่พูดคุยกันได้ คงไม่มีใครอยากใช้ความรุนแรง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537339498_709b6c9d62_b.jpg" style="width: 1024px; height: 683px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พรรษาสิริ กุหลาบ</span></p>
<p>สำหรับ ‘นิยามของความเป็นสื่อมวลชน’ ทั้ง พรรษาสิริ และ เทวฤทธิ์ เห็นตรงกันว่า ปัจจุบันความเป็นสื่อมวลชน ขยายตัวไปพร้อมพร้อมกับการเติบโตของเทคโนโลยี ดังนั้นสื่อกระแสหลักหรือสถาบันสื่อควรโอบรับความเปลี่ยนแปลงนี้  พรรษาสิริ ย้ำว่าแม้สถาบันสื่อจะบอกว่าเสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน แต่ต้องย้อนกลับไปดูว่า ทำไมเสรีภาพสื่อถึงเป็นเสรีภาพประชาชน นั่นเพราะเสรีภาพประชาชนคือเสรีภาพของสื่อ ถ้าประชาชนไม่มีเสรีภาพ ไม่มีสิทธิ อย่าได้หวังว่าสื่อมวลชนหรือใครก็ตามจะมีเสรีภาพนั้นๆ ได้</p>
<p>โดยช่วงท้ายของการเสวนา ปิยนุชให้กำลังใจให้สื่อทุกคนในการทำหน้าที่ของตัวเองว่า “ขอชื่นชมว่าทุกคนกล้าหาญมาก ที่ต้องมาแบกรับกับความหวาดกลัว แต่เราเชื่อมั่นว่าถ้าทุกคนช่วยกันแสดงเจตนารมณ์นี้และช่วยกันส่งเสียงว่าไม่ยอมแพ้  มันจะยังคงมีความหวังอยู่ เพราะเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของคนทุกคน สิทธิเสรีภาพการแสดงออกเป็นเรื่องของทุกคน รวมถึงเรื่องของเสรีภาพสื่อด้วย สักวันหนึ่งเชื่อว่าจะเกิดความยุติธรรมต่อทุกคนและทุกสิทธิ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108131
 
1615  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ป่วยหนัก แค่ใส่เฝือกดามคอ? "โรม" ตั้งข้อสังเกต พักโทษ "ทักษิณ" จับตาหลังจากน เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 03:03:57
ป่วยหนัก แค่ใส่เฝือกดามคอ? "โรม" ตั้งข้อสังเกต พักโทษ "ทักษิณ" จับตาหลังจากนี้ฟื้นตัวเร็วไหม
         


ป่วยหนัก แค่ใส่เฝือกดามคอ? &quot;โรม&quot; ตั้งข้อสังเกต พักโทษ &quot;ทักษิณ&quot; จับตาหลังจากนี้ฟื้นตัวเร็วไหม" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9243146/
         
1616  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เยาวชนชาติพันธุ์-เชื่อมสัมพันธ์ จัด 'Equal space : เอาะ มึ โอะเก' ร่วมมื้ออาหาร ล้อมพู เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 01:24:50
เยาวชนชาติพันธุ์-เชื่อมสัมพันธ์ จัด 'Equal space : เอาะ มึ โอะเก' ร่วมมื้ออาหาร ล้อมพูดคุยแลกเปลี่ยน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-19 00:38</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์ภาคเหนือ จัด 'Equal space : เอาะ มึ โอะเก' หวังเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการพูดคุยและสร้างสรรค์เมนูอาหารของแต่ละท้องถิ่น</p>
<p>19 ก.พ.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงบ่ายถึงค่ำ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่เครือข่ายกลุ่มเกษตกรภาคเหนือ (คกน.) จ.เชียงใหม่ เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์ภาคเหนือ จัดกิจกรรมชื่อ 'Equal space : เอาะ มึ โอะเก' ซึ่งเป็นคำของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่มีความหมายประมาณว่า มาร่วมมื้ออาหารอย่างเอร็ดอร่อยด้วยกัน ร่วมเรียนรู้ตัวตนและวัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์ผ่านมื้ออาหารบนความแตกต่างที่หลากหลาย ณ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537355784_a18241f6b4_b.jpg" /></p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมถึงบรรยายกาศภายในงานว่า มีการล้อมวงพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ชาติพันธุ์ม้ง, ไทใหญ่ กลุ่ม (Shan Youth Power) ,ปกาเกอะญอ รวมทั้งประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการร่วมกันประกอบอาหารชาติพันธุ์ โดยร่วมวงกินอาหารเย็นแบบกันเองตั้งวงล้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติและร่วมกันรับฟังดนตรีท้องถิ่นจากกลุ่มชาติพันธุ์ </p>
<p>สุขศรี ชิติพัทธ์ ตัวแทนเครือข่ายเยาวชนภาคเหนือ กล่าวว่า การรวมตัวของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละชนเผ่าเพื่อต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาแม้ว่าเราจะมาจากแตกต่างจากเชื้อชาติแต่เราก็ควรได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และทำความรู้จักกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยใช้การพูดคุยและสร้างสรรค์เมนูอาหารที่เป็นอาหารท้องถิ่นของคนที่อยู่บนดอย</p>
<p>“เมนูอาหารที่นำมาประกอบอาหารในวันนี้ก็จะเป็นยำใบชาหรือยำเมี่ยง ที่มาจากไทใหญ่ ข้าวเบอะจากพี่น้องปกาเกอะญอ ต้มไก่สมุนไพร จากชาวม้ง แม้กระทั่งน้ำพริกกะปิ เต้าฮู้ทอดใส่ไส้ของพี่น้องชาวพม่าที่ได้นำมาร่วมแลกเปลี่ยนกันและกัน” สุขศรีกล่าว</p>
<p>ขณะที่ ธดาพงษ์ เสนาะไพร ตัวแทนจากกระเหรี่ยงปกาเกอะญอ กล่าวว่า การเลือกเอาข้าวเบอะมาเป็นประกอบอาหารเพื่อต้องการถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่อยู่บนดอย เมื่อก่อนเราทำไร่ทำนาและได้ข้าวน้อยไม่เพียงพอสำหรับหลายชีวิตก็หาวิธีที่จะทำให้ข้าวที่มีอยู่น้อยนิดแต่กินได้ทั้งครอบครัว หากนำไปหุงเราก็อาจจะกินกันไม่เพียงพอก็เลยนำเอามาต้มใส่ผัก ถ้ามีหน่อไม้เราก็จะใส่เข้าไปด้วย ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณของข้าวได้เพื่อให้เพียงพอต่อคนในครอบครัว</p>
<p>“เราก็ได้เรียนรู้และส่งต่อคุณค่าทางความสุขของชาวปกาเกอะญอ สิ่งสำคัญคือคนให้เข้ากัน เราจะได้รู้ถึงรสชาติว่าได้ใส่อะไรลงไปบ้างจึงประกอบกันเป็นข้าวเบอะ เราจึงเสนอเมนูนี้ที่ใส่หลายๆ สิ่งๆ อย่างลงไป เพราะสะท้อนให้เห็นชีวิตของมนุษย์ที่มีหลากหลายเชื้อชาติ ความหลากหลายของอาหาร ซึ่งสิ่งที่งดงามที่สุดคือการรวมกันและผสมอย่างลงตัวไม่ได้แบ่งแยกกัน” ธดาพงษ์กล่าว</p>
<p>อุทัย จีรเกสร ตัวแทนชาวม้ง บ้านขุนช่างเคี่ยน กล่าวว่า เมนูของเราที่นำมาประกอบอาหารในวันนี้คือ ต้มไก่สมุนไพรหลากหลายชนิดนำมาใส่รวมกับไก่ต้มเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และเมนูต้มไก่นั้นก็เป็นอาหารท้องถิ่นในหลากหลายพื้นที่และเข้าถึงได้ทุก ๆ คน และมักมีเมนูนี้เมื่อมีการรวมตัวกินเลี้ยงพบปะกัน แต่สิ่งสำคัญคือสมุนไพรที่เรานำมาใส่นั้นเกิดขึ้นเฉพาะบนดอยที่เราอาศัยอยู่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537458625_5b2b38b5ef_b.jpg" /></p>
<p>ขณะที่ ศรศักดิ์ ลงหลู่ ตัวแทนจากกลุ่ม Shan Youth Power กล่าวว่า ชาวไทใหญ่มีเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์หาซื้อได้ง่ายอย่างเช่น ข้าวซอยเส้นโก้ยำและเมี่ยงยำ สำหรับข้าวซอยนั้นเป็นอาหารที่มีการสืบทอดกันมายาวนานเป็นอาหารที่หากินง่ายและทำกินได้ง่าย ซึ่งเมนูนี้จะมักพบบ่อยและทำเลี้ยงกันเมื่อมีการจัดงานสังสรรค์ งานบุญประเพณีต่างๆ</p>
<p>“ส่วนยำใบชาก็เป็นของชาวพม่า แต่ได้มีการนำมาแปรรูปให้คนไทยสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและไม่ว่าชนชาติใดก็ตามก็สามารถเข้าถึงเมนูนี้ได้ เราก็เลยต้องการสะท้อนให้เห็นว่าข้าวซอยของภาคเหนือกับข้าวซอยโก้ของชาวไทใหญ่ มีลักษณะอาหารที่คล้ายคลึงกัน และเราก็ควรที่จะโอบรับกันและกัน แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนชาติก็ตาม” ศรศักดิ์ กล่าว</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108127
 
1617  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ฝาแฝดสาวรับจ็อบแซ่บ แค่ 2 ปี รายได้เป็นร้อยล้าน โป๊ะเพราะญาติแอบเป็นลูกค้า เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2567 01:24:49
ฝาแฝดสาวรับจ็อบแซ่บ แค่ 2 ปี รายได้เป็นร้อยล้าน โป๊ะเพราะญาติแอบเป็นลูกค้า
         


ฝาแฝดสาวรับจ็อบแซ่บ แค่ 2 ปี รายได้เป็นร้อยล้าน โป๊ะเพราะญาติแอบเป็นลูกค้า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ฝาแฝดสุดแซ่บ อุบเงียบเรื่องงาน 18+ ไม่บอกแม่ แค่ 2 ปี รายได้สุดอู้ฟู่ สุดท้ายความลับแตก เพราะญาติแอบมาสมัครเป็นลูกค้าเสียเอง
         

https://www.sanook.com/news/9244010/
         
1618  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - นักกิจกรรมจัดปราศรัยควบ 'ยืน หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา' หนุน 3 ข้อเรียกร้อง 'ทา เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2567 23:52:54
นักกิจกรรมจัดปราศรัยควบ 'ยืน หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา' หนุน 3 ข้อเรียกร้อง 'ทานตะวัน-ณัฐนนท์'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-18 22:40</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประมวลภาพบรรยากาศ นักกิจกรรมจัดปราศรัยที่อนุสาวรีย์ชัยฯ "ตามหาความยุติธรรม ให้เพื่อที่ถูกอุ้มหาย และอยู่ในเรือนจำ" และ "ยืน หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา" สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้อง 'ทานตะวัน' และ 'ณัฐนนท์'</p>
<p> </p>
<p>18 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้ง ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. นักกิจกรรมอิสระ จัดกิจกรรม "ตามหาความยุติธรรมทวงความยุติธรรมให้กับเพื่อนที่ถูกอุ้มหายและอยู่ในเรือนจำ" และ "ยืน หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา" ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 18.30 น.</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53535917342_7ffcf79152_b.jpg" /></p>
<p>โดยกิจกรรมครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกบังคับสูญหายและผู้ถูกคุมขังในคดีการเมืองทุกคน ไปจนถึงการสนับสนุนข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ของ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน นักกิจกรรมอิสระอายุ 22 ปี และ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ นักกิจกรรมอิสระอายุ 23 ปี ประกอบด้วย 1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 2. ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่าง และ 3. ประเทศไทยไม่ควรได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งองค์การสหประชาชาติ </p>
<p>บรรยากาศวันนี้มีการพลัดกันขึ้นปราศรัยของนักกิจกรรม ถึงประเด็นการบังคับสูญหายของผู้เห็นต่างทางการเมือง เช่น สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือสุรชัย แซ่ด่าน กึกก้อง บุปผาวัลย์ หรือภูชนะ และคนอื่นๆ มีการร้องเพลง และกิจกรรม 'ยืน หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา' </p>
<p>สำหรับทานตะวัน และณัฐนนท์ ศาลอนุญาตฝากขังทั้ง 2 นักกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 14-25 ก.พ. 2567 หรือรวมระยะเวลา 12 วัน จากคดี พ.ร.บ.คอมฯ และมาตรา 116 กรณีที่คลิปบีบแตรขบวนเสด็จเมื่อ 4 ก.พ. 2567 </p>
<p>ทั้งนี้ ทานตะวัน และณัฐนนท์ ได้ประกาศอดอาหารและน้ำ (Dry fasting) ทันทีที่ทั้งสองคนเข้าเรือนจำ โดยไม่ขอยื่นประกันตัว ปัจจุบัน สองนักกิจกรรมได้อดอาหารและน้ำเป็นวันที่ 5 แล้ว แต่ยังไม่ทราบเรื่องอาการของนักกิจกรรม </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ภาพบรรยากาศ</span></h2>
<p><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53535917367_d8b893bd51_b.jpg" /></span></p>
<p><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537120434_1dc237c6d4_b.jpg" /></span></p>
<p><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537219870_53730ebd54_b.jpg" /></span></p>
<p><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53537120409_eaaac4f064_b.jpg" /></span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108125
 
1619  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวป่วยมะเร็งจัดงานศพให้ตัวเอง อำลากลุ่มคนที่รัก ก่อนลาโลกในอีก 10 วันต่อมา เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2567 22:43:28
สาวป่วยมะเร็งจัดงานศพให้ตัวเอง อำลากลุ่มคนที่รัก ก่อนลาโลกในอีก 10 วันต่อมา
         


สาวป่วยมะเร็งจัดงานศพให้ตัวเอง อำลากลุ่มคนที่รัก ก่อนลาโลกในอีก 10 วันต่อมา" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สาวป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จัดงานศพให้ตัวเอง กล่าวคำอำลาญาติและเพื่อน ๆ เผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญ ก่อนจากไปอย่างสงบในอีก 10 วันต่อมา
         

https://www.sanook.com/news/9244146/
         
1620  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เศรษฐา' ร่วมพิธีมอบใบอนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ราชการ จ.สกลนคร เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2567 22:19:10
'เศรษฐา' ร่วมพิธีมอบใบอนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ราชการ จ.สกลนคร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-18 14:18</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เศรษฐา' ร่วมพิธีมอบใบอนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ของราชการ รับฟังประเด็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จ.สกลนคร ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา หวังให้พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง หล่อหลอมจิตใจ - สั่งหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศนำร่องสกลนคร 10 วัด สั่ง พศ. ดำเนินการด่วน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53536055851_4e41a67933_o_d.png" /></p>
<p>18 ก.พ. 2567 เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่าเมื่อเวลา 10.30 น. ณ วัดถ้ำผาแด่น ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมพิธีมอบใบอนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ของราชการ และพูดคุยประเด็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนครให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมด้วย นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
 
นายกรัฐมนตรีเข้ากราบสักการะหลวงพ่ออุดมสมบูรณ์ และกราบนมัสการพระครูปลัดอุดมวัฒน์ (ปกรณ์ กนฺตวีโร) เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาแด่น จากนั้น นายกรัฐมนตรีรับฟังประเด็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนครให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา จากผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยวัดถ้ำผาแด่นถือเป็นหนึ่งในวัดท่องเที่ยวของโครงการอารามภิรมย์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธาน kick off โครงการอารามภิรมย์ที่วัดถ้ำผาแด่นแห่งนี้ โดยหวังให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าวัดมากขึ้น อันเป็นการช่วยส่งเสริมความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต และการกระจายรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่
 
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมพิธีมอบใบอนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ของราชการ พร้อมกล่าวว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นเทือกเขาภูพาน โดยในสมัยก่อนนั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่มีสันติภาพ มีสงครามสู้รบกับคอมมิวนิสต์มาโดยตลอด แต่วันนี้ผ่านมา 30 ปี สันติภาพเป็นเรื่องที่เราอยู่ร่วมกันมา ทำให้ประชาชนทำมาหากินได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องอันตราย เรื่องสันติภาพจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาเพื่อความสมัครสมานสามัคคี เพราะเราคงไม่อยากกลับไปสู่จุดเดิม ทั้งนี้ ต้องขอบคุณรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้มาพัฒนาและยกที่ดินให้กับพุทธศาสนา ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าชาวไทยพุทธทุกคนมีความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนา เราอยากให้พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางเพื่อหล่อหลอมจิตใจให้มีความรักความสามัคคี นำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน</p>
<p>มติชนออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่านายกรัฐมนตรีได้ถวายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าให้แก่วัดและสำนักสงฆ์ที่ประสบปัญหาที่ดิน จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ 1.วัดถ้ำผาแด่น 2.ที่พักสงฆ์นางเลิงนฤมิตร 3.ที่พักสงฆ์ป่าภูน้อย 4.ที่พักสงฆ์ป่าภูโล้น 5.ที่พักสงฆ์เกาะแก้ว 6.ที่พักสงฆ์บ้านเม่นน้อย 7.ที่พักสงฆ์ดอนแสงธรรมประชารัฐ 8.ที่พักสงฆ์ป่าสว่างธรรม 9.ที่พักสงฆ์ป่าศรัทธาธรรม และ 10.ที่พักสงฆ์ป่าโคกหินแผง ซึ่งเป็นไปตามที่ ส.ส.สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2567 แม้วัดและที่พักสงฆ์ดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ใช้ที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้รับพิจารณาแต่อย่างใด ทำให้พระสงฆ์และชาวบ้านในชุมชนไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ จนกระทั่งล่าสุดนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เร่งแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด</p>
<p>“ท่านนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงต่อความเป็นอยู่ของคณะสงฆ์และการปฏิบัติศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้สั่งการเร่งให้ความช่วยเหลือและแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมป่าไม้ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร และลงพื้นที่จริง พบว่ามีวัดและที่พักสงฆ์หลายแห่งทั่วประเทศประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จึงได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเร่งรวบรวมและติดตามให้ความช่วยเหลือ โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างใกล้ชิด ในอนาคตเราตั้งเป้าจะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับวัดและที่พักสงฆ์ทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง วันนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราสามารถช่วยเหลือวัดและสำนักสงฆ์ 10 แห่งของ จ.สกลนคร ได้ ถือเป็นความสำเร็จที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือทั้งคณะสงฆ์และประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” นางพวงเพ็ชร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108120
 
หน้า:  1 ... 79 80 [81] 82 83 ... 1125
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.966 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 10 พฤศจิกายน 2566 21:55:44